วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

การสอนวรรณคดีในระดับประถมศึกษา และ มัธยมศึกษา




การจัดการเรียนรู้ : การสอนวรรณคดีและวรรณกรรม

 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วรรณคดีไทย"


เรียนรู้อะไรในภาษาไทย : วรรณคดีและวรรณกรรม

วรรณคดีและวรรณกรรม วิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อศึกษาข้อมูล แนวความคิด
คุณค่าของงานประพันธ์ และความเพลิดเพลิน การเรียนรู้และทำความเข้าใจบทเห่ บทร้องเล่นของเด็ก เพลงพื้นบ้านที่เป็นภูมิปัญญาที่มีคุณค่าของไทย ซึ่งได้ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี เรื่องราวของสังคมในอดีต และความงดงามของภาษา เพื่อให้เกิดความซาบซึ้งและภูมิใจ ในบรรพบุรุษที่ได้สั่ง สมสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน




ระดับชั้น ประถมศึกษา
ระดับชั้น
เรื่องที่สอน
ที่มาของเนื้อหา
เทคนิคการสอน
ป.๑
อายุ ๗ ปี
ดอกสร้อยสุภาษิต
ของนายแก้ว
 -นกเอี้ยงเลี้ยงควายเฒ่า
-กาดำ
ของนายทัด เปรียญ
-มดแดง
-แมวเหมียวแยกเขี้ยวยิงฟัง เป็นต้น
อ่านออกเสียงให้นักเรียนออกตาม
กิจกรรมร้องเพลง ดอกสร้อยสุภาษิต
เน้นทักษะการพูด ครูผู้สอนฝึกให้นักเรียนได้ออกเสียงและสามารถอ่านคำที่เหมาะสำหรับช่วงวัย
เพลงกล่อมเด็ก
ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง
-เจ้าทองดี
–เจ้าทองคำ
–เจ้าเนื้อเย็น
–เดือนหงาย
-นกกาเหว่า เป็นต้น
เน้นทักษะการดูการฟัง ให้นักเรียนเกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
ป.๒
อายุ ๘ ปี
ประถม ก กา
ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง เลือกอ่านบางตอน เช่น
ก ข ก กา แม่ กก แม่กง แม่ กด แม่ กม เป็นต้น
เน้นทักษะการอ่าน ให้นักเรียนได้อ่านออกเสียง และทักษะการเขียน ฝึกอ่านและฝึกเขียนในขณะเดียวกัน
บทร้องเล่นของเด็ก 
ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง
-กุ๊กกุ๊ก ไก่
-งูกินหาง
-จิงโจ้
-รีรีข้าวสาร
เป็นต้น
ทำกิจกรรมจากบทร้องเล่น คิดท่าทางประกอบร่วมกัน
ให้ผู้เรียนเกิดจินตนาการความคิด และฝึกทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคม
บทสักวา
พระนิพนธ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ
-สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน
สลับชายหญิง หรือแบ่งกลุ่มสลับกันอ่านทำนองเสนาะ เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจและเพลิดเพลินในการเรียน
ป.๓
อายุ ๙ ปี
นิทานอีสป
ของมหาอำมาตย์โท พระยาเมธาธิบดี
เลือนอ่านบางเรื่อง เช่น
-กระต่ายกับเต่า
-ราชสีห์กับหนู
-อึ่งอ่างกับวัว
-หมาป่ากับลูกแกะ
ข้อคิดจากนิทาน วาดภาพจากจินตนาการของนักเรียน แข่งกันเล่านิทาน
เน้นให้นักเรียนเกิดจินตนาการ และสามารถนำข้อคิดที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
บทละครนอก
เรื่องไชยเชษฐ์ ตอน นารายณ์ธิเบศรพบพ่อ เป็นต้น
เกมส์บัตรคำ จับฉลากแล้วให้นักเรียนหาความรู้
ฝึกให้อ่านเรื่องที่จะเรียนมาล่วงหน้าเพื่อนำมาเล่าให้ครูและเพื่อนฟัง
นิทานชาดก
-นกกระจาบสองฝูง
-กระต่ายตื่นตูม
เป็นต้น
ใช้สื่อวีดีนิทานชาดก  ให้นักเรียนเกิดความสนใจ
เน้นให้นักเรียนเกิดจินตนาการ และสามารถนำข้อคิดที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
ป.๔
อายุ ๑๐ ปี
บทละครเรื่องเงาะป่า
ตอน คนังและไม้ไผ่ไปเที่ยวป่า
แสดงบทบาทสมมติ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดจินตนาการ
บทละครเรื่องสังข์ทอง
ตอน กำเนิดพระสังข์
ระบายสีการ์ตูนสังข์ทอง
ฝึกการทำบันทึกย่อเรื่องที่ได้เรียนไปแล้ว
บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน
ตอน กำเนิดพลายงาม
ใช้สื่อวีดีโอ เรื่องขุนช้างขุนแผน
ฝึกการใช้พจนานุกรม ให้สามารถหาคำแปลของศัพท์ต่าง ๆ ได้รวดเร็ว และให้รู้จักเลือกความหมายให้เข้ากับข้อความ
โคลงโลกนิติ
พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศรให้เลือกบางบท
คติสอนใจ เล่นเกมส์หาความหมายจากบัตรคำ
ป.๕
อายุ ๑๑ ปี
นิทานทองอิน
เรื่อง นากพระโขนงที่สอง
นักเรียนเล่านิทาน จากหนังสือ และหาภาพประกอบ
ฝึกให้อ่านเรื่องที่จะเรียนมาล่วงหน้าเพื่อนำมาเล่าให้ครูและเพื่อนฟัง
นิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณี
ตอน พระอภัยมณีสุวรรณเรียนวิชา กำเนิดสุดสาคร
นักเรียนทำกิจกรรมเล่นเกม ๑๐๘ คำถาม ทายลักษณะ รูปร่าง นิสัยของตัวละครในวรรณคดีไทย เรื่อง พระอภัยมณี
บทละครเรื่องพระร่วง
 พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
จัดให้มีการบรรยายพิเศษโดยใช้วิทยากรที่มีความรู้ความสามารถ มาเล่าเรื่องวรรณคดีตอนสนุก ๆ
สุภาษิต
สภาษิตสอนหญิง
การนำข้อคิดที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
นิทานสำหรับเด็ก
ของ นาคะประทีป (พระสารประเสริฐ)
การนำข้อคิดที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
ป.๖
อายุ ๑๒ ปี
บทละครเรื่องรามเกียรติ์
ตอน สุครีพหักฉัตร ศึกไมยราพ
แบ่งหมู่นักเรียนออกเป็นหมู่ ให้ทำงานหมู่ละ ๑ อย่าง โดยครูวางแผนงานร่วมกับนักเรียนและช่วย
เป็นที่ปรึกษาให้เช่น
หมู่ที่ ๑ ย่อเรื่องที่ได้เรียนไปแล้ว
หมู่ที่ ๒ ทำบัตรคำศัพท์เฉพาะที่ยาก
หมู่ที่ ๓ วาดภาพเหตุการณ์สำคัญหรือตัวละครสำคัญ
หมู่ที่ ๔ เล่นละครหรือแสดงบทบาทตามท้องเรื่อง
หมู่ที่ ๕ ทำแผ่นป้ายสำลีวาดภาพ หรือเขียนข้อความสั้นๆ และบรรยายเรื่องประกอบใน
ขณะที่ติดภาพบนป้ายสำลีตามลำดับ
หมู่ที่ ๖ อภิปรายแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะนิสัยของตัวละคร หรือเหตุการณ์สำคัญ
ในเรื่อง
ราชาธิราช
ตอน กำเนิดมะกะโท
แข่งขันทายปัญหาเกี่ยวกับตัวละครต่างๆในวรรณคดี ที่ได้เรียนไปแล้ว
บทเห่กล่อมพระ
ตอน เห่เรื่องจับระบำ
ฝึกการถอดคำประพันธ์ตอนสั้น ๆ ออกเป็นร้อยแก้วอย่างง่ายๆ แต่ให้สละสลวยได้ความดี
บรรทม

การนำข้อคิดที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
นิทานเทียบสุภาพษิต
นิทานของพระยาสีหราชฤทธิไกร (ทองคำ สีหอุไร)
รวบรวมสำนวนไทยหรือคำคมต่างๆที่ได้จากวรรณคดี


ระดับมัธยมศึกษา
ระดับชั้น
เรื่องที่สอน
ที่มาของเนื้อหา
เทคนิกการสอน
ม.๑
อายุ ๑๓ ปี
โคลงโลกนิติ
พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศรให้เลือกบางบท
เชื่อมโยงเนื้อหาให้กับปัจจุบันและชี้แนะให้นักเรียนเกิดการนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอด
นิราศ ของสุนทรภู่
-นิราศภูเขาทอง
-นิราศพระบาท
ศึกษาประวัติจากบทร้อยกรอง การฝึกให้นักเรียนตีความหมายความเป็นมาของบทร้อยกรอง
สุภาษิตพระร่วง
ฉบับกรมกรมวิชาการ ในหนังสือ ประชุมสุภาษิตพระร่วง
เชื่อมโยงเนื้อหาให้กับปัจจุบันและชี้แนะให้นักเรียนเกิดการนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอด
กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา
ของ สุนทรภู่
เชื่อมโยงกับหลักภาษาให้ผู้เรียนเห็นประโยชน์จากการศึกษาวรรณคดี เน้นสอนวิธีการช่วยจำ หลักการต่างๆในภาษาไทย ช่วยในการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆที่ได้
ม.๒
อายุ ๑๔ ปี
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
พระนิพนธ์ ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
ฝึกให้อ่านเรื่องที่จะเรียนมาล่วงหน้าเพื่อนำมาเล่าให้ครูและเพื่อนฟัง
ศิลาจารึกหลักที่๑
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ศึกษาประวัติศาสตร์จากวรรณคดี
สุภาษิตอิศรญาณภาษิต
พระนิพนธ์ ของ หมองเจ้าอิศรญาณ
การนำข้อคิดที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
กลอนดอกร้อยรำพึงในป่าช้า
ของ พระยาอุปกิตศิลปสาร

เรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก
พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
แข่งขันทายปัญหาเกี่ยวกับตัวละครต่างๆในวรรณคดี ที่ได้เรียนไปแล้ว
ม.๓
อายุ ๑๕ ปี
เรื่องรามเกียรติ์
พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ฝึกให้อ่านเรื่องที่จะเรียนมาล่วงหน้าเพื่อนำมาเล่าให้ครูและเพื่อนฟัง
บรมราโชวาท
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์
ค่านิยม ๑๒ ประการ
ราชาธิราช
ประพันธ์โดย หลวงพัฒนพงศ์ภักดี (ทิม สุขยางค์)
คำยืมจากภาษาต่างประเทศ
นิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณี
พระสุนทรโวหาร (ภู่)
รวบรวมสำนวนไทยหรือคำคมต่างๆที่ได้จากวรรณคดี

ม.๔
อายุ ๑๖ ปี
นมัสการมาตาปิตุคุณนมัสการอาจริยคุณ
พระยาศรีสุนทรโวหาร ( น้อย  อาจารยางกูร )
การสอนเรื่องความกตัญญูกตเวที
บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน
ในสมัยรัชกาลที่ ๒
แข่งขันทายปัญหาเกี่ยวกับตัวละครต่างๆในวรรณคดี ที่ได้เรียนไปแล้ว
สามัคคีเภทคำฉันท์
ชิต บุรทัต
รวบรวมสำนวนไทยหรือคำคมต่างๆที่ได้จากวรรณคดี

นิทานเวตาล
ผู้ประพันธ์ ศิวทาส
จัดให้มีการบรรยายพิเศษโดยใช้วิทยากรที่มีความรู้ความสามารถ มาเล่าเรื่องวรรณคดีตอนสนุก ๆ
โคลนติดล้อ
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเอยู่หัว
ฝึกให้อ่านเรื่องที่จะเรียนมาล่วงหน้าเพื่อนำมาเล่าให้ครูและเพื่อนฟัง
ม.๕
อายุ ๑๗ ปี
บทละครเรื่องอิเหนา
พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
การนำข้อคิดที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
สามก๊ก
ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)
การคิดวิเคราะห์จากวรรณคดีให้นักเรียนนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
นิราศนรินทร์
นายนรินทร์ธิเบศร์ (อิน)
ฝึกให้อ่านเรื่องที่จะเรียนมาล่วงหน้าเพื่อนำมาเล่าให้ครูและเพื่อนฟัง
หัวใจชายหนุ่ม
เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ ๖ )
การนำข้อคิดที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
ม.๖
อายุ ๑๘ ปี
ลิลิตตะเลงพ่าย
ประพันธ์ขึ้นโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์
ฝึกให้อ่านเรื่องที่จะเรียนมาล่วงหน้าเพื่อนำมาเล่าให้ครูและเพื่อนฟัง
ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดร
เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
การนำข้อคิดที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
กาพย์เห่เรือ
บทพระนิพนธ์ในเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์
จัดให้มีการบรรยายพิเศษโดยใช้วิทยากรที่มีความรู้ความสามารถ มาเล่าเรื่องวรรณคดีตอนสนุก ๆ
หรือขับเสภาโดยร้องเพลงตามที่มีในบทเรียน
ไตรภูมิพระร่วง
พระมหาธรรมราชาลิไทย
การนำข้อคิดที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา
พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
ประดิษฐ์ดอกไม้ในวรรณคดีหรือเก็บดอกไม้จริงมาอัดแห้งใส่สมุดวาดเขียนไว้และบอกชื่อกำกับ อาจ
มีคำบรรยายเป็นร้อยกรอง ร้อยแก้วสั้นๆประกอบด้วยก็ได้


8 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น