05.09.2016 Views

คู่มือ

Plant_Identification_Handbook2

Plant_Identification_Handbook2

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

<strong>คู่มือ</strong><br />

จำแนกพรรณไม้<br />

สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช<br />

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช


<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้<br />

ฉบับปรับปรุง<br />

ดร. ก่องกานดา ชยามฤต<br />

ดร. วรดลต์ แจ่มจำรูญ<br />

สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช<br />

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


สำนักงานหอพรรณไม้<br />

ที ่ปรึกษา : ณรงค์ มหรรณพ<br />

วิชัย อ่อนน้อม<br />

ดร. สมราน สุดดี<br />

ผู้เรียบเรียง : ดร.ก่องกานดา ชยามฤต<br />

ออกแบบ/ประสานงาน :<br />

ดร. วรดลต์ แจ่มจำรูญ<br />

เอกนิก ปานสังข์<br />

จำนวนพิมพ์ : 2,000 เล่ม สำหรับเผยแพร่ ห้ามจำหน่าย<br />

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ<br />

สำนักงานหอพรรณไม้<br />

รายละเอียดหนังสือ<br />

ผู้อำนวยการสำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช<br />

หัวหน้าสำนักงานหอพรรณไม้<br />

หัวหน้าฝ่ายอนุกรมวิธานพืช สำนักงานหอพรรณไม้<br />

สำนักงานหอพรรณไม้<br />

สำนักงานหอพรรณไม้<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้.-กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช.<br />

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, 2559.<br />

240 หน้า.<br />

1. การจำแนก 2. พรรณไม้ 3. อนุกรมวิธาน. I. ก่องกานดา ชยามฤต II. วรดลต์ แจ่มจำรูญ III. ชื่อเรื่อง<br />

จัดทำโดย สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 61 พหลโยธิน แขลงลาดยาว<br />

เขตจตุจักร กรุงเทพ<br />

ISBN 978-616-316-304-2<br />

พิมพ์ที่<br />

ห้างหุ้นส่วนจำกัด สิทธิโชค พริ้นติ้ง<br />

12 ซ.เพชรเกษม 77 แยก 1 ถ.เพชรเกษม แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพฯ 10160<br />

โทรศัพท์ : 0 2809 9318, 0 8421 4447 โทรสาร : 0 2421 4447 มือถือ : 089 782 4399, 083 075 1378<br />

E-mail : pook-print@hotmail.com<br />

คำนำ<br />

การจัดทำหนังสือ<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้(ฉบับปรับปรุง) ขึ้นมานี้เป็นการนำหนังสือ<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้ที่เคยตี<br />

พิมพ์จำหน่ายมาปรับปรุงให้ทันสมัย เพื่อให้เป็นเอกสารที่ชาวป่าไม้จะมีไว้เป็น<strong>คู่มือ</strong>ในการตรวจหาชื่อพรรณไม้ ได้พยายาม<br />

ใช้ภาษาที่อ่านง่าย มิได้เป็นฉบับพิสดารแต่อย่างใด หนังสือเล่มนี้จะเป็น<strong>คู่มือ</strong>ให้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่สนใจเข้าอบรมหลักสูตร<br />

ต่าง ๆ ที่มีวิชาพฤกษศาสตร์เข้าไปเกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้สนใจในการจำแนกพรรณไม้ ได้ทำความรู้จักกับวิชาพฤกษศาสตร์<br />

ได้อย่างง่ายดาย วิชาพฤกษศาสตร์ที่กล่าวถึงนี้เป็นวิชาพฤกษศาสตร์ด้านการจำแนก หรืออนุกรมวิธานพืช ซึ่งวิชา<br />

พฤกษศาสตร์ด้านนี้มิใช่มีรายละเอียดเพียงแต่ปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนี้เท่านั้น เพราะผู้เขียนพยายามอย่างเต็มที่ที่จะ<br />

ถ่ายทอดวิชาพฤกษศาสตร์ด้านการจำแนกนี้ให้แก่ผู้ที่มีความสนใจเพียงเล็กน้อยก็สามารถเข้าใจได้<br />

ถ้าท่านใดต้องการ<br />

ศึกษาให้ลึกซึ้งอย่างพิสดาร จำเป็นต้องเปิดตำราเล่มอื่นประกอบซึ่งมีอีกเป็นจำนวนมาก<br />

หนังสือเล่มนี้มุ่งชี้แนะในการจำแนกพรรณไม้ในป่าให้ได้แม่นยำขึ้น เพราะผู้เขียนมักได้ยินเจ้าหน้าที่ป่าไม้ปรารถให้<br />

ฟังอยู่เสมอว่า ทำอย่างไรจึงจะรู้จักพรรณไม้ในป่าได้ทุกชนิด ซึ่งเป็นการยากมากสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับวิชาพฤกษศาสตร์<br />

ด้านการจำแนกนี้ นอกจากจะอาศัยความจำเป็นเลิศเท่านั้น ท่านเหล่านี้ยังบ่นเสมอว่าพฤกษศาสตร์ด้านการจำแนกนี้ยาก<br />

ศัพท์มากมาย ทำยังไงก็ไม่เข้าใจ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้คิดหาวิถีทางมุ่งทำหนังสือเล่มนี้ขึ้นเพื่อสนองความต้องการของ<br />

ชาวป่าไม้ทุกท่าน และผู้ที่สนใจ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า หนังสือเล่มนี้คงพอจะทำให้ท่านได้รู้จักพรรณไม้ขึ้นมาบ้างไม่มากก็น้อย<br />

สำหรับหลักการใช้หนังสือเล่มนี้ก่อนอื่นต้องขออธิบายว่า ชื่อหนังสือเล่มนี้อาจจะทำให้ท่านสนใจ หรืออย่างน้อยก็<br />

เป็นการชักชวนให้ท่านเกิดความสนใจ แต่ขอชี้แจงว่าเมื่อท่านได้เปิดดูแล้วท่านอาจคิดว่าวิชาพฤกษศาสตร์ด้านการจำแนก หรือ<br />

อนุกรมวิธานพืชนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะอย่างน้อยท่านจะต้องใช้เวลาทำความเข้าใจกับลักษณะต่าง ๆ ของพืช ตลอดจน<br />

ศัพท์พฤกษศาสตร์(glossary) ต่าง ๆ เสียก่อน แล้วท่านจึงจะมาใช้รูปวิธาน (key) หรืออ่านลักษณะประจำวงศ์พืชให้เข้าใจได้ แต่<br />

เมื่อท่านมีหนังสือเล่มนี้ท่านไม่จำเป็นต้องท่องจำลักษณะหรือศัพท์ต่าง ๆ ท่านสามารถเปิดย้อนกลับไปมาได้ เมื่อท่านต้องการ<br />

ทำความเข้าใจกับศัพท์พฤกษศาสตร์ใด ๆ ท่านก็อาจจะพลิกมาอ่านคำอธิบาย หรือดูรูปตัวอย่างลักษณะนั้น ๆ ขอเพียงแต่ว่า<br />

ให้ท่านขยันเปิดกลับไปมา อย่าติดค้างคำศัพท์ต่าง ๆ ที ่ท่านไม่เข้าใจไว้ จะยิ่งทำให้ท่านเพิ่มความสับสนหนักขึ้นไปเรื่อย ๆ<br />

อย่างไรก็ตามหนังสือเล่มนี้จะทำให้ท่านจำแนกพืชไปถึงลำดับวงศ์เป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ได้พยายามยกพรรณไม้<br />

วงศ์ใหญ่ ๆ ที่สำคัญ ๆ ที่มีความเกี<br />

่ยวข้องกับการป่าไม้ มาจัดจำแนกให้ได้ถึงสกุลและบางทีถึงชนิด พรรณไม้วงศ์ใดที่ได้<br />

มีการศึกษาวิจัยและตีพิมพ์ในหนังสือ Flora of Thailand หรือ Thai Forest Bulletin (Botany) ซึ่งเป็นหนังสือที่จัดทำโดย<br />

สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชแล้ว ก็ได้<br />

วงเล็บชื่อหนังสือบอกตอนและหน้าไว้ที่ท้ายวงศ์นั้น ๆ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการจะจำแนกพืชถึงชนิดได้ไปเปิดใช้รูปวิธานและ<br />

อ่านคำบรรยายลักษณะพืชต่อได้ แต่สำหรับพืชวงศ์อื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวรายละเอียดไว้ ก็สามารถเปิดหาเพิ่มเติมได้ใน<br />

หนังสือพรรณพฤกษชาติของประเทศเพื่อนบ้านที่ได้เขียนเป็นเอกสารแนะนำไว้<br />

ซึ่งเอกสารเหล่านี้มีอยู่ครบครันใน<br />

ห้องสมุดพฤกษศาสตร์ของหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช<br />

จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นที่ถูกใจชาวป่าไม้ และผู้สนใจทุก ๆ ท่าน นำไปเป็น<strong>คู่มือ</strong>จำแนก<br />

พรรณไม้ในป่าได้ต่อไป ขอให้ท่านทั้งหลายใช้ความพยายามในการใช้หนังสือ<strong>คู่มือ</strong>เล่มนี้ แล้วท่านจะพบว่าพฤกษศาสตร์<br />

ด้านการจำแนกนั้นไม่ยากเลย ขอเพียงให้ท่านมีความสนใจเท่านั้น<br />

ก่องกานดา ชยามฤต<br />

วรดลต์ แจ่มจำรูญ


สารบัญ<br />

1. อนุกรมวิธาน 1<br />

คำจำกัดความ 1<br />

ขอบเขต 1<br />

- การระบุพืช 1<br />

- การบัญญัติชื่อ 2<br />

หมวดหมู่ตามกฎเกณฑ์ที ่กำหนดไว้เป็นสากล 4<br />

อาณาจักรพืช 4<br />

ช่ื่อต่าง ๆ ที ่ต้องเกี่ยวข้องและใช้เป็นประจำ 5<br />

- วงศ์ (Family) 5<br />

- สกุล (Genus) และคำระบุชนิด (Specific epithet) 6<br />

ตัวอย่างชื ่อสกุล (generic name) 8<br />

- ตั้งตามชื่อบุคคล 8<br />

- ตั้งตามลักษณะของพืช 9<br />

- ตั้งตามชื่อพื้นเมือง 9<br />

- ตั้งตามแหล่งที ่พบ 10<br />

ตัวอย่างคำระบุชนิด (specific epithet) 10<br />

- ตั้งตามลักษณะของพืช 10<br />

- ตั้งตามสถานท่ี ่หรือแหล่งที่พบครั้งแรก 10<br />

- ชื่อที่ตั้งให้เป็นเกียรติแห่บุคคล่ 10<br />

การอ้างชื่อผู้ตั้งชื่อพืช 14<br />

การอ่านชื่อพฤกษศาสตร์ 15<br />

การจำแนกพืช 17<br />

ความสำคัญ 21<br />

2. การเก็บตัวอย่างพรรณไม้ 22<br />

วัตถุประสงค์ 22<br />

อุปกรณ์ 22<br />

วิธีเก็บตัวอย่างพรรณไม้ 24<br />

วิธีอัดแห้งพรรณไม้ 28<br />

วิธีอาบนำ้ำยาพรรณไม้ 28<br />

วิธีเย็บพรรณไม้ 30<br />

3. โครงสร้างภายนอกของพืช 32<br />

ลำต้น 32<br />

- ลำต้นบนดิน 33<br />

- ลำต้นใต้ดิน 33<br />

ราก 33<br />

ต 35<br />

ใบ 35<br />

- ก้านใบ 37<br />

- หูใบ 37<br />

- ชนิดของใบ 37<br />

- เส้นใบ 37<br />

- รูปร่างใบ 39<br />

- ปลายใบ 41<br />

- โคนใบ 41<br />

- ขอบใบ 41<br />

- เนื้อใบ 42<br />

- การเรียงใบ 42<br />

- สิ ่งปกคลุมใบ 42<br />

ดอก 44<br />

- สมมาตรดอก 44<br />

- วงกลีบเลี้ยง 44<br />

- วงกลีบดอก 46<br />

- วงเกสรเพศผู้ 49<br />

- วงเกสรเพศเมีย 49<br />

- การติดของไข่ภายในรังไข่ 52


- ชนิดของรังไข่ 52<br />

- ช่อดอก 52<br />

ผล 54<br />

- ผลสด 54<br />

- ผลแห้ง 55<br />

- ผลแห้งแก่ไม่แตก 55<br />

- ผลแห้งแก่แตก 55<br />

เมล็ด 56<br />

4. การวิเคราะห์ตัวอย่างพรรณไม้ 58<br />

ขั้นตอนการวิเคราะห์พรรณไม้ 58<br />

- ระดับวงศ์ 58<br />

- ระดับสกุล 60<br />

- ระดับชนิด 60<br />

- การใช้รูปวิธาน 60<br />

- เอกสารแนะนำ 61<br />

5. รูปธานแยกวงศ์พืชที่พบบ่อยในประเทศไทย 65<br />

6. ลักษณะประจำวงศ์พืช 91<br />

พืชเมล็ดเปลือย (Gymnosperms) 91<br />

พืชดอก (Angiosperms) 100<br />

- พืชใบเลี้ยงคู่ 100<br />

- พืชใบเลี้ยงเดี่ยว 100<br />

ภาคผนวก 170<br />

1. วงศ์พืชที่มีลักษณะประจำวงศ์ค่อนข้างแน่นอน 170<br />

2. วงศ์พืชที่มีลักษณะเฉพาะ 173<br />

3. กลุ่มวงศ์พืชที่มีลักษณะคล้ายกัน 176<br />

คำแปลศัพท์พฤกษศาสตร์ 180<br />

เอกสารอ้างอิง 199<br />

ดรรชนีชื่อพืช 202


คำจำกัดความ<br />

1<br />

อนุกรมวิธานพืช (Plant taxonomy)<br />

การจำแนกพรรณไม้นั้นต้องอาศัย วิชาพฤกษศาสตร์ สาขาอนุกรมวิธานพืช (plant taxonomy) เป็นหลัก<br />

ใหญ่ วิชาพฤกษศาสตร์ด้านนี้จึงเป็นความรู้พื้นฐานที่จำเป็นอย่างยิ่งที<br />

่จะนำไปใช้จำแนกพรรณไม้ได้โดยทั่วไป ไม่ว่า<br />

พรรณไม้นั้น ๆ จะเป็นพรรณไม้ในถิ ่นใด ถึงแม้ว่าจะไม่คุ ้นเคยกับพรรณไม้นั้น ๆ มาก่อนเลยก็ตามถ้านำเอาวิชาการด้าน<br />

นี้เข้าไปช่วยแล้วก็จะจำแนกพรรณไม้ได้อย่างแน่นอน จึงนับได้ว่า อนุกรมธานพืช นี้เป็นหัวใจในการจำแนกพรรณไม้<br />

ดังนั้นผู้ที ่เกี่ยวข้องกับงานด้านนี้ จึงจำเป็นต้องให้ความสนใจกับวิชาการด้านนี้พอสมควร<br />

อนุกรมวิธาน ตรงกับรากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า taxonomy หรือ systematics เป็นศาสตร์ที ่มีขอบเขตกว้าง<br />

ขวางในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับรูปพรรณสัณฐานของ ๆสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยอาศัยข้อมูลหลาย ๆด้านของ ๆสิ่งใดสิ่งหนึ่ง<br />

เหล่านั้น เมื่อนำวิชาอนุกรมวิธานมาใช้ในวิชาพฤกษศาสตร์ จึงหมายถึงวิชา อนุกรมวิธานพืช (plant taxonomy หรือ<br />

plant systematics) ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายคือ การจำแนกพรรณพืชนั่นเอง<br />

วิชาอนุกรมวิธานพืชนี้นับได้ว่าเป็นแม่บทของวิชาพฤกษศาสตร์ เพราะก่อนที ่เราจะเรียนรู้เรื ่องของพืชใน<br />

ด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสัณฐานวิทยา (mor[hology) สรีรวิทยา (physiology) กายวิภาควิทยา (anatomy) ฯลฯ<br />

จำเป็นต้องเรียนรู้ชื่อและลักษณะเด่น ๆ ของพืชนั้น ๆ เสียก่อน จึงอาจกล่าวได้ว่าผู้ที ่เกี่ยวข้องกับพรรณพืชไม่ว่าจะ<br />

เป็นทางด้านนวกรรม เกษตรกรรม เภสัชกรรม ตลอดจนการนำพืชไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ ต่างก็<br />

ต้องอาศัยผลงานของ นักอนุกรมวิธานพืช (plant taxonomist) ด้วยกันทั้งนั้น เพื ่อที่จะรู้จักชื่อพรรณพืชต่าง ๆ อย่าง<br />

ถูกต้องแน่นอน ผลงานวิจัยใด ๆ ที่เกี่ยวกับพืช ถึงแม้ว่าจะมีหลักการและการวางแผนปฏิบัติการดีเพียงใดก็ตาม<br />

ถ้าหากเริ่มต้นด้วยชื<br />

่อของพืชที่ผิดพลาดหรือไม่ถูกต้องตรงตามชนิดแล้ว ผลงานวิจัยนั้นย่อมไร้คุณค่าโดยสิ้นเชิง<br />

ขอบเขต<br />

ขอบเขตของวิชาอนุกรมวิธานพืชมีดังนี้<br />

1. การระบุพืช (Plant Identification) พืชมีอยู่มากมายทั้งที่รู้จักแล้วและไม่รู้จัก ซึ่งต้องมีวิธีการตรวจสอบ<br />

หาชื่อให้ได้ Plant Identification คือการตรวจพิจารณาว่าพืชที่ต้องการตรวจสอบมีลักษณะคล้ายคลึงหรือเหมือนกับ<br />

พืชที่รู้จักแล้วหรือไม่ ตรวจสอบแล้วอาจพบว่าเป็นพืชชนิดใหม่ (new species) หรือถ้าพืชมีอยู่แล้วแต่ไม่เคยมี<br />

รายงานการพบมาก่อนก็เรียกว่าเป็น new record ซึ่งจะต้องมีการเขียนรายงานออกมา การตรวจสอบมีบทบาท<br />

สำคัญในการที ่จะนำเสนอข้อมูลและการสื ่อความหมายว่าพืชนั้น ๆ คืออะไร มีข้อมูลอะไรที ่เกี่ยวข้องบ้าง การที่จะ<br />

ตรวจสอบได้ผู้ตรวจสอบจำเป็นต้องรู้จักส่วนประกอบต่าง ๆ ของพืช การตรวจสอบสามารถทำได้หลายวิธี ตัวอย่าง<br />

เช่น<br />

-ระบุพืชโดยใช้รูปวิธาน (key) ซึ่งมีลักษณะเป็นข้อความที<br />

่บรรยายเกี ่ยวกับลักษณะของพืชที่นำ<br />

มาตรวจสอบ โดยทั่วไปจะมีลักษณะเป็น dichotomous key คือจะมีคู่ของข้อความที ่แยกเป็นสองหัวข้อ โดยมีราย<br />

ละเอียดของลักษณะพืชที่แตกต่างกัน<br />

เพื่อให้ผู้ที<br />

่ทำการระบุเลือกว่าข้อความใดตรงกับลักษณะพืชที ่นำมาตรวจ<br />

สอบ คู่ของข้อความที ่กล่าวถึงสิ ่งเดียวกันแต่มีลักษณะต่างกันใน key นี้เรียกว่า couplet แต่ละข้อความเรียก lead<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้<br />

1


่<br />

2 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

รูปแบบของ dichotomous key มีสองแบบ คือ indented หรือ yoked key และ bracketed key ทั้งสองแบบมีข้อดีและ<br />

ข้อเสียแตกต่างกันไป แบบแรกได้รับความนิยมมากกว่า<br />

-ระบุโดยการเปรียบเทียบ (comparison) โดยนำพืชที ่ยังไม่รู้จักไปเปรียบเทียบลักษณะกับ<br />

ตัวอย่างแห้งของพืชที่มีชื่อที่ถูกต้องกำกับในพิพิธภัณฑ์พืช หรือเปรียบเทียบกับภาพถ่าย ภาพวาด หรือคำบรรยาย<br />

ของพืชที่รู้จักแล้ว ข้อนี้จะใช้เวลาน้อยลงถ้าได้มีการใช้ key ให้ได้ชื่อก่อน แล้วจึงอ่านคำบรรยายและเปรียบเทียบ<br />

ตัวอย่างเพื ่อความมั่นใจ<br />

-ระบุโดยการถามผู้เชี ่ยวชาญที่ทำการศึกษาวิจัยพืชในกลุ่มที่กำลังตรวจสอบอยู่<br />

กรณีนี้ต้องรู้<br />

ก่อนว่าพืชที ่จะตรวจสอบจัดอยู่ในวงศ์ใด รายชื่อผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่รับผิดชอบทำการวิจัยวงศ์ต่าง ๆ สำหรับ<br />

โครงการพรรณพฤกษชาติประเทศไทย สามารถตรวจสอบได้จากโฮมเพจของหอพรรณไม้ (http://www.dnp.go.th/<br />

botany)<br />

2. การบัญญัติชื่อพืช (nomenclature) คือการกำหนดตั้งชื่อพรรณพืช ภายหลังจากที ่ได้ทำการวิเคราะห์<br />

พรรณไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งแล้ว ก็จะต้องให้ชื ่อที่ถูกต้อง (correct name) แก่พรรณไม้นั้น ๆ เป็นหน้าที่ของนักอนุกรม<br />

วิธานพืช ที ่จะพิสูจน์ว่าชื่อใดเป็นที<br />

่ยอมรับ ชื่อใดเป็นชื<br />

่อพ้อง หรือชื่อใดที<br />

่ใช้ไม่ได้<br />

ถึงแม้ว่าพรรณไม้แต่ละชนิดจะมีชื่อเรียกกันอยู่แล้ว เช่น กุหลาบ จามจุรี นนทรี เป็นต้น แต่ชื่อที่กล่าวมานี้<br />

เป็นชื่อทั่วไป (common names) หรือ ชื่อพื้นเมือง (vernacular หรือ local name) ซึ่งเป็นชี่อที่เรียกกันเฉพาะท้องถิ<br />

่น<br />

หนึ่งเท่านั้น ถ้าเรานำไปพูดถึงยังท้องถิ ่นอื่น ๆ ก็อาจจะไม่รู้จักได้ เช่น กรุงเทพฯ เรียก สับปะรด ภาคใต้ เรียก ยานัด<br />

หรือ กรุงเทพฯ เรียก ฝรั่ง ภาคใต้ เรียก ชมพู่ ซึ่งจะมาซำ้ำกับชมพู่ ที่คนกรุงเทพฯ เรียก หมายความถึงไม้อีกชนิดหนึ่ง<br />

พรรณไม้ต้นหนึ ่งเรียกชนิดหนึ ่งที่มีความสำคัญมากอาจมีหลายชื<br />

่อ แต่ถ้าไม่มีความสำคัญก็มักจะไม่มีชื่อ เช่น พวก<br />

ไม้ล้มลุกที่เป็นวัชชพืชมักจะเรียกกันว่า ดอกหญ้าจนเคยปาก ส่วนต้นไม้บางชนิดก็ยังไม่มีข้อยุติจะเรียกอะไรกันแน่<br />

ดังนั้นพรรณไม้ชนิดเดียวมักจะมีหลายชื่อ เรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีหลายชื่อทั้ง<br />

นั้น เช่น จามจุรี ฉำฉา ก้ามปู ชื่อพื้นเมืองบางชื่อก็ซำ้ำกัน คือพรรณไม้ 3-2 ชนิด มีชื่อเหมือนกัน เช่น ต้นรัก มีทั้งที<br />

เป็นไม้ต้นให้ยางรัก ทำเครื่องเขิน ยางเป็นพิษ ถ้าแพ้ก็เกิดอาการคันตามผิวหนัง รักที่เป็นไม้พุ่ม นำมาร้อยมาลัย มี<br />

รักอีกชนิดหนึ่งขึ้นริมทะเล อาจเรียกว่า รักทะเล ถ้าพูดว่าต้นรัก ก็อาจเกิดความเข้าใจผิดกันได้เพราะไม่รู้ว่าต้นไหน<br />

แน่<br />

นอกจากนี้พรรณไม้ชนิดเดียวกัน ต่างชาติต่างภาษาก็เรียกชื่อแตกต่างกันออกไป เช่น น้อยหน่า ไทยเรียก<br />

น้อยหน่า อินเดียเรียก สิตผล ญี่ปุ่นเรียก ปันเรฮิชิ จีนเรียก ฟานลิซี้ (พังไหล) เขมรเรียก เตรียมโสภา ลาวเรียก<br />

หมากเขียบ ญวณเรียก กวาหนา มลายูเรียก พอนา อังกฤษเรียก Castard apple, Sugar apple แม้คนไทยเราเองก็<br />

ยังเรียกแตกต่างกันไปตามสำเนียงของแต่ละภาค และตามชนในเผ่าต่าง ๆ เช่น น้อยหน่า มะนอแน ลาหนัง มะออจ้า<br />

แต่ถ้าเป็นชื่อพฤกษศาสตร์แล้วจะมีเพียงชื่อเดียวเท่านั้น คือ Annona squamosa L.<br />

ดังนั้นเมื่อชื่อ common names และ vernacular names ไม่เหมาะสมในการเรียกชื่อพรรณไม้ นักพฤกษศาสตร์<br />

จึงตกลงที่จะใช้ชื่อ botanical name เป็นชื่อพรรณไม้ เป็นชื่อ ๆเดียวที่ทุก ๆ ชาติ ทุก ๆ ภาษาใช้เรียกพรรณไม้ และเป็น<br />

สากล (International) การบัญญัติชื่อพฤกษศาสตร์นี้ กำหนดให้พรรณไม้แต่ละชนิด มีชื่อเป็น 2 วรรค คือ วรรคแรก<br />

เป็นชื่อสกุล (Generic name) ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรใหญ่ วรรคที่สองเป็นชื่อชนิด (specific epithet) เขียนด้วยตัวอักษร<br />

เล็ก และตามด้วยชื่อคนตั้ง (author) ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรใหญ่ ทั้งหมดนี้เป็นชื่อพฤกษศาสตร์ (Botanical name) ของ<br />

พืช ชื่อพืชจะเป็นภาษาลาติน เพราะเป็นภาษาที่ตาย เรียกการตั้งชื่อแบบนี้ว่า Binomial nomenclature<br />

3<br />

เมื ่อมีการสำรวจพรรณไม้มากขึ้น และพบพรรณไม้ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นก็เกิดปัญหาในการตั้งชื่อพรรณไม้ใหม่<br />

เหล่านั้น เพราะยังไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนของการตั้งชื่อ สำหรับชื่อพรรณไม้ชนิดใดที่ได้ประกาศใช้เป็นชื<br />

่อแรกไป<br />

แล้ว ก็เป็นที่ยอมรับ และไม่ใช้ซำ้ำกันอีก ผู้ที่ตั้งชื่อพรรณไม้ใหม่ ๆก็พยายามหลีกเลี่ยงไม่ใช้ชื่อที่ซำ้ำกัน ด้วยเหตุนี้นัก<br />

พฤกษศาสตร์จึงได้ตั้งกฏเกณฑ์ของการตั้งชื่อขึ้นไว้ให้เป็นระบบสากล เพื่อให้ทุก ๆคนที่ปฏิบัติงานทางด้านอนุกรม<br />

วิธานพืช ได้ใช้ชื ่อที่ถูกต้องไม่ไขว้เขว<br />

การตั้งชื่อจะต้องมีตัวอย่างพรรณไม้ ชื่อผู้ตั้ง (author) ได้ใช้เป็นตัวอย่างในการวิเคราะห์ (indentify) และ<br />

บรรยายลักษณะ (describe) กฎเกณฑ์มีดังนี้ คือ เมื่อพบพรรณไม้ชนิดใหม่ (new species) ที่ยังไม่เคยมีชื่อมาก่อน<br />

เมื่อตั้งชื่อแล้ว จะต้องเขียนบรรยายลักษณะ และตีพิมพ์ในเอกสารพฤกษศาสตร์เผยแพร่ทั่วโลก ในการบรรยาย<br />

ลักษณะก็ต้องดูตัวอย่างพรรณไม้ประกอบไปด้วย ตัวอย่างพรรณไม้ที ่ใช้ดูประกอบนี้ เรียกว่าเป็น type specimen<br />

ในการเรียกชื่อหมวดมู่ของพรรณไม้ใดต้องปฏิบัติตาม ลำดับก่อนหลังของการตีพิมพ์ (Priority of Publication)<br />

คือ ตีพิมพ์ก่อน และถูกต้องตามกฏ คือ ยึดชื่อพรรณไม้ที<br />

่ได้ตั้งชื่อถูกต้องตามกฏเกณฑ์ และได้ตีพิมพ์ในเอกสาร<br />

ก่อนเป็นอันถูกต้อง ชื่อพืชและทุก ๆหมวดหมู่ของพืช (taxonomic group) จึงมีชื ่อที่ถูกต้อง (correct names) เพียงชื่อ<br />

เดียว<br />

การกำหนดชื่อให้กับ taxon (พหูพจน์ taxa) ของพืชให้ถูกต้องตามระบบที่เป็นสากล กฏเกณฑ์ในการตั้งชื่อ<br />

วิทยาศาสตร์ของพืชได้มาจากการประชุม International Botanical Congress (IBC) ซึ่งเป็นการประชุมระดับนานาชาติ<br />

และได้รับการตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือที่เรียกว่า International Code of Nomenclature for algae, fungi, and plants<br />

(ICN) แต่ก่อนใช้ชื ่อว่า International Code of Botanical Nomenclature (ICBN) เหตุผลของการเปลี ่ยนชื่อเนื<br />

่องจากว่า<br />

คำว่า “Botanical” อาจทำให้เกิดความสับสนกับผู้ใช้ว่ากฎเกณฑ์นี้ใช้เฉพาะพืชเท่านั้น แต่ความจริงแล้วกฎเกณฑ์นี้<br />

ครอบคลุมไปถึงการตั้งชื่อของเห็ด รา และสาหร่ายด้วย การเปลี่ยนชื่อนี้เป็นผลมาจากการประชุม International<br />

Botanical Congress (IBC) ครั้งที่ 18 ที่ กรุง Melbourne ประเทศออสเตรเลีย เมื่อเดือนกรกฎาคม 2011 การ<br />

เปลี่ยนแปลงสำคัญอีกอย่างหนึ่งจากจากประชุมครั้งที่ 18 ก็คือ ตั้งแต่ 1 มกราคม ปี 2012 เป็นต้นไป การตั้งชื่อพืช<br />

เห็ดรา หรือสาหร่ายชนิดใหม่ การบรรยายลักษณะสำคัญ (Diagnosis) จะเป็นภาษาอังกฤษหรือละตินก็ได้ ซึ่งแต่<br />

ก่อนให้ใช้ละตินอย่างเดียว และในการตีพิมพ์ครั้งแรก อาจไม่ต้องเป็นรูปแบบการพิมพ์เหมือนแต่ก่อน ซึ่งจะออกมา<br />

เป็นเอกสารตีพิมพ์ในรูปวารสารหรือหนังสือเป็นเล่ม ๆ แต่อนุญาตให้ตีพิมพ์ในรูป online ได้ โดยมีระบบไฟล์เป็น<br />

Portable Document Format (PDF) และมีหมายเลข International Standard Serial Number (ISSN) สำหรับวารสาร<br />

หรือ International Standard Book Number (ISBN) สำหรับหนังสือ การประชุม IBC นี้จะจัดขึ้นทุก 6 ปี โดยเปลี่ยน<br />

สถานที่ประชุมเวียนไปตามประเทศต่าง ๆ ครั้งที่ 17 จัดประชุมที่กรุง Vienna ประเทศออสเตรีย เมื่อเดือนกรกฎาคม<br />

2005 ครั้งที่ 16 ประชุมที่เมือง Saint Louis สหรัฐอเมริกา ในปี 1999 ก่อนหน้านั้นเป็นการประชุมที ่เมือง Yogohama<br />

ประเทศญี่ปุ่น ในปี 1993 การประชุมครั้งที่ 19 จะจัดขึ้นที่เมือง Shenzhen ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 23-29<br />

กรกฎาคม ปี 2017<br />

กฎนานาชาติของการกำหนดชื ่อวิทยาศาสตร์ของพืช (ICN) ประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ<br />

-หลักการ (Principles) เป็นหลักสำคัญที ่กำหนดให้เป็นพื้นฐานของระบบการตั้งชื่อพืช<br />

-กฎ (Rules) เป็นข้อบังคับ ซึ ่งแบ่งออกเป็นมาตรา (Articles) ต่าง ๆ<br />

-ข้อแนะนำ (Recommendations) เป็นข้อแนะนำเพื ่อเสริมให้กฏมีความชัดเจนในการปฏิบัติมากยิ ่งขึ้น<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


4 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

ซึ ่ง ICN นี้มีรายละเอียดปลีกย่อยมาก โดยเฉพาะในเรื่องของชื่อตั้งแต่ระดับวงศ์ลงไป ส่วนชื ่อเหนือระดับ<br />

วงศ์ขึ้นไปนั้นถึงแม้ว่าเราจะไม่ค่อยได้ใช้แต่ในเอกสารฉบับนี้จะแสดงให้ทราบไว้เพื่อให้เข้าใจถึงการให้ชื่อกำกับ<br />

หมวดหมู่ต่าง ๆ ชื่อของ taxon ในลำดับที ่ต้องเกี่ยวข้องและใช้เป็นประจำก็คือชื่อวงศ์ สกุล และชนิด ซึ่งจำเป็นจะ<br />

ต้องเน้นเป็นพิเศษเพื่อให้เกิดความเข้าใจและมีความมั่นใจในการใช้<br />

หมวดหมู่ตามกฎเกณฑ์ที ่กำหนดไว้เป็นสากล เป็นการจัดหมวดหมู่แล้วเรียงเป็นลำดับ มีชื่อกำกับ<br />

หมวดหมู่ตามกฎเกณฑ์ที ่กำหนดไว้เป็นสากล โดยมีคำลงท้ายในแต่ละลำดับแตกต่างกันไป<br />

อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)<br />

Subkingdom เช่น Embryobionta<br />

Division (หมวด) ลงท้ายด้วย -phyta (-mycota สำหรับเห็ดรา เช่น Eumycota)<br />

Thallophyta ใช้ในการแบ่งหมวดหมู่สมัยก่อน หมายถึง Algae, Fungi และ Lichens<br />

Bryophyta ได้แก่ มอส (Mosses), ลิเวอร์เวิร์ต (Liverworts) และ ฮอร์นเวิร์ต (Hornworts)<br />

Pteridophyta ได้แก่ เฟิร์นและกลุ่มใกล้เคียงเฟิร์น (fern & fern allies) ได้แก่ หวายตะมอย<br />

(Psilotum) หญ้าถอดปล้อง (Equisetum) สามร้อยยอด (Lycopodium) และตีนตุ๊กแก<br />

(Selaginella)<br />

Spermatophyta ได้แก่พืชมีเมล็ด ประกอบไปด้วยพืชเมล็ดเปลือย (Gymnosperm) และพืช<br />

ดอก (Angiosperm)<br />

Pteridophyta กับ Spermatophyta อาจรวมเรียกว่า Tracheophyta (พืชมีท่อลำเลียง)<br />

Subdivision Spermatophytina (-mycotina สำหรับเห็ดรา เช่น Eumycotina)<br />

Class (ชั้น) Magnoliopsida (-phyceae สำหรับสาหร่าย เช่น Chlorophyceae<br />

-mycetes สำหรับเห็ดรา เช่น Basidiomycetes)<br />

Subclass Rosidae (-phycidae สำหรับสาหร่าย เช่น Cyanophysidae<br />

-mycetidae สำหรับเห็ดรา เช่น Basidiomycetidae)<br />

Order (อันดับ) Rosales<br />

Suborder Rosineae<br />

Family (วงศ์) Rosaceae<br />

Subfamily Rosoideae<br />

Tribe Roseae<br />

Subtribe<br />

Rosinae<br />

Genus (สกุล) -a, -is, -on, -us, -um Rosa, Castanopsis, Rhododendron, Lithocarpus,<br />

Pterospermum<br />

Subgenus<br />

Section<br />

Subsection<br />

Series<br />

Species (ชนิด)<br />

Subspecies<br />

Variety<br />

Subvariety<br />

Forma<br />

Rosa subgenus Eurosa<br />

Rosa section Gallicanae<br />

Rosa subsection Pimpinellifoliae<br />

Rosa series Stylosae<br />

Rosa gallica<br />

Syzygium cacuminis ssp. inthanonense<br />

Markhamia stipulata var. kerrii<br />

Saxifraga aizoon var. aizoon subvar. brevifolia<br />

Tectona grandis f. punctata<br />

หมายเหตุ ตัวเข้ม ต้องการเน้นเพื ่อให้ทราบว่าเป็นคำลงท้ายที ่บังคับ ตัวขีดเส้นใต้เป็นลำดับที ่มีความสำคัญซึ ่งมี<br />

การใช้อยู่เป็นประจำ<br />

สำหรับคำว่า Division กับ Phylum แต่ก่อนใช้แทนกันได้ คืออาจจะเห็นการใช้คำว่า Phylum กับ<br />

พืช แต่ปัจจุบันนิยมใช้คำว่า Division สำหรับพืช และใช้คำว่า Phylum สำหรับสัตว์<br />

ศัพท์ที ่มักพบบ่อยได้แก่ พืชดอก (Angiosperm) พืชเมล็ดเปลือย (Gymnosperm) ซึ่งทั้งพืชดอก<br />

และพืชเมล็ดเปลือยมักรวมเรียกว่า พืชมีเมล็ด (Spermatophyte หรือ Phanerogams) ส่วนพืชกลุ่มที ่เหลือจัดเป็นพืช<br />

ไร้เมล็ด (Cryptogams) แต่ถ้ารวมเฟิร์นและพืชกลุ่มใกล้เคียงเฟิร์น (pteridophyte) เข้ากับพืชเมล็ดเปลือย<br />

(Gymnosperm) และพืชดอก (Angiosperm) จะเกิดกลุ่มที่เรียกว่าพืชมีท่อลำเลียง (tracheophyte หรือ vascular<br />

plant) ส่วนพืชกลุ่มมอส ลิเวอร์เวิร์ต และฮอร์นเวิร์ต จัดเป็นกลุ่มพืชไม่มีท่อลำเลียง (bryophyte หรือ non vascular<br />

plant)<br />

วงศ์ (Family) ชื<br />

ชื่อต่าง ๆ ที ่ต้องเกี่ยวข้องและใช้เป็นประจำ<br />

่อวงศ์จะต้องลงท้ายด้วย –aceae ตามกฎของ ICN แต่มีข้อยกเว้นสำหรับชื่อพืชบางวงศ์ที่ไม่ได้ลงท้าย<br />

ด้วย –aceae โดยชื่อเหล่านี้ถูกใช้มาเป็นเวลานานและเป็นที่คุ้นเคยหรือนิยมมากกว่า ICN จึงอนุญาตให้ใช้ชื่อวงศ์เหล่านี้ได้<br />

เรียก alternative names ซึ่งหมายถึงชื่อที่สามารถถูกเลือกใช้แทนชื่อวงศ์ที่ถูกต้องตามกฎได้ ชื่อวงศ์เหล่านี้ได้แก่<br />

5<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


6 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

Alternative name ชื่อตามกฎ ICBN สกุลต้นแบบ<br />

ตัวอย่าง<br />

(type genus)<br />

Compositae Asteraceae Aster L. สาบเสือ ทานตะวัน โด่ไม่รู้ล้ม<br />

Cruciferae Brassicaceae Brassica L. ผักกาด คะน้า กะหล่ำปลี<br />

Gramineae Poaceae Poa L. หญ้า ไผ่ แขม อ้อย ข้าว<br />

Guttiferae Clusiaceae Clusia L. ติ้ว รง ชะมวง มังคุด กระทิง<br />

Labiatae Lamiaceae Lamium L. สัก ซ้อ ตีนนก กะเพรา<br />

Leguminosae Fabaceae Faba Mill. แดง ประดู่ มะค่าโมง ถั่ว<br />

Palmae Arecaceae Areca L. หมาก ปาล์ม หวาย มะพร้าว<br />

Umbelliferae Apiaceae Apium L. ผักชี ผักชีฝรั่ง<br />

สำหรับวงศ์ถั่ว (Leguminosae หรือ Fabaceae) ซึ ่งเป็นวงศ์ใหญ่ สถาบันทางพฤกษศาสตร์บางแห่งใช้ระบบ<br />

การจำแนกที ่แบ่งเป็น 3 วงศ์ย่อย (subfamily) ได้แก่ Caesalpinioideae, Mimosoideae และ Papilionoideae (หรือ<br />

Faboideae) ส่วนบางแห่งอาจใช้ระบบการจำแนกที ่แบ่งเป็น 3 วงศ์ได้แก่ Caesalpiniaceae, Mimosaceae และ<br />

Papilionaceae (หรือ Fabaceae) ดังนั้นการใช้คำว่า Fabaceae จึงมีความหมายได้ 2 แบบ คือ แบบแรกหมายถึงวงศ์<br />

ใหญ่ทั้งวงศ์ (ใช้สลับกับ Leguminosae ได้) เป็นความหมายแบบกว้าง แบบที่สองถ้าวงศ์ถั่วถูกแบ่งแยกเป็น 3 วงศ์<br />

คือ Caesalpiniaceae, Mimosaceae และ Papilionaceae คำว่า Fabaceae จะใช้สลับกับ Papilionaceae ได้ เป็นความ<br />

หมายแบบแคบ<br />

สกุล (Genus) และคำระบุชนิด (Specific epithet) ชื<br />

่อสกุลและคำระบุชนิดชนิดมักถูกใช้คู่กัน<br />

เสมอเป็นชื่อพฤกษศาสตร์ (Botanical name) หรือชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) ของพืช ชื่อพฤกษศาสตร์กับชื<br />

่อ<br />

วิทยาศาสตร์มีความหมายเหมือนกันและใช้แทนกันได้ สกุลในภาษาอังกฤษใช้คำว่า genus ถ้าหลายสกุลเป็น<br />

พหูพจน์ให้ใช้คำว่า genera<br />

ชื่อพฤกษศาสตร์ของพืชในสมัยโบราณมักประกอบด้วยคำสามคำหรือมากกว่าขึ้นไป เรียกว่า polynomials<br />

ตัวอย่างเช่น ในหนังสือของ Clusius (1583) เขียนชื่อของต้นหลิวชนิดหนึ<br />

่งเป็น Salix pumila angustifolia altera<br />

เป็นการอธิบายว่าเป็นต้นแคระ ใบแคบและเรียงสลับ ซึ่งเป็นชื่อที<br />

่ยาวมาก ไม่สะดวกในการใช้ ปัจจุบันชื่อ<br />

พฤกษศาสตร์ของพืชใช้ระบบ binomial nomenclature ซึ่งประกอบไปด้วยคำ 2 คำ คือชื่อสกุลกับคำระบุชนิด<br />

หนังสือ Species Plantarum ของ Linnaeus ที่ตีพิมพ์ในปี 1753 ถือเป็นจุดเริ ่มต้นของระบบ binomial nomenclature<br />

ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน<br />

ชื่อพฤกษศาสตร์หรือชื่อวิทยาศาสตร์ของพืชกำหนดให้เป็นภาษาละติน<br />

หรือคำที ่มาจากภาษาอื่นแต่ถูก<br />

แปลงให้เป็นภาษาละตินแล้ว ที่พบได้บ่อยคือคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกโบราณ เหตุที่กำหนดชื่อพฤกษศาสตร์<br />

ให้เป็นภาษาละตินเพราะภาษาละตินเป็นภาษาเก่าแก่ เป็นรากภาษาของชาติต่าง ๆ ในยุโรป ภาษาละตินไม่มีการ<br />

เคลื่อนไหวเปลี<br />

่ยนแปลงอีกต่อไปแล้ว ทำให้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของความหมาย หรือไม่มีการกร่อนของภาษา และ<br />

ไม่ได้ใช้เป็นภาษาพูดประจำชาติใดชาติหนึ่งในปัจจุบัน ซึ่งทำให้ผู้ใช้เกิดความเต็มใจ ไม่เกิดอคติเวลาใช้ (ไม่ควรเรียก<br />

ว่าเป็นภาษาที ่ตายแล้วดังปรากฏตามเอกสารต่าง ๆ)<br />

เหตุที ่ต้องใช้ชื่อพฤกษศาสตร์สำหรับพืชเพราะว่า ชื่อสามัญ (ชื่อในภาษาอังกฤษ)ชื่อพื้นเมือง หรือชื่อท้องถิ่น<br />

7<br />

(ชื่อในภาษาใด ๆ ที่ไม่ใช่ภาษาละตินและอังกฤษ) ไม่สามารถสื ่อความหมายหรือแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์<br />

ระหว่าง genus และ family เช่น ถ้าเขียนคำว่า มะม่วงหรือ Mango จะไม่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ใด ๆ แต่ถ้าเขียน<br />

ชื่อพฤกษศาสตร์เพิ<br />

่มขึ้นมาเป็น Mangifera indica L. จะทำให้ทราบว่ามะม่วงนั้นอยู่ในสกุล Mangifera ซึ ่งจัดอยู่ใน<br />

วงศ์ Anacardiaceae หรือเมื่อเขียนชื<br />

่อพืชชนิดหนึ่งว่า ‘รัก’ โดยไม่มีชื่อพฤกษศาสตร์กำกับ ก็ไม่อาจทราบได้ว่า<br />

หมายถึงพืชชนิดใดกัน เพราะชื่อต้นไม้ที<br />

่มีชื่อพื้นเมืองเรียกว่า ‘รัก’ หมายถึงพืชหลายชนิดและอยู่ต่างวงศ์กัน แต่ถ้า<br />

มีชื่อพฤกษศาสตร์กำกับเป็น Gluta laccifera (Pierre) Ding Hou ก็ทำให้ทราบว่าเป็นไม้ต้นที่อยู่ในวงศ์ Anacardiaceae<br />

เช่นเดียวกับมะม่วง โดยรักชนิดนี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า รัก แต่ทางภาคอีสานเรียก นำ้ำเกลี้ยง ทางใต้เรียกรักเขา เป็นต้น<br />

นอกจากนี้ชื่อสามัญ ชื่อพื้นเมือง หรือชื ่อท้องถิ่นไม่สามารถนำไปใช้ในการสื<br />

่อความหมายทางวิชาการได้<br />

เนื่องจากเป็นชื<br />

่อที่ใช้อยู่เฉพาะท้องที่ใดท้องที<br />

่หนึ่ง ไม่เป็นภาษาสากล นอกจากปัญหาในความไม่เป็นสากลของชื ่อ<br />

สามัญ ชื่อพื้นเมือง หรือชื ่อท้องถิ่นแล้ว พืชบางชนิดอาจมีชื่อสามัญ ชื่อพื้นเมือง หรือชื่อท้องถิ่นหลายชื<br />

่อมาก และ<br />

ในทางตรงข้ามพืชหลายชนิดอาจมีชื่อสามัญชื่อเดียวกันหรือเหมือนกัน รวมทั้งพืชบางชนิดไม่มีชื่อสามัญ ชื่อพื้น<br />

เมือง หรือชื่อท้องถิ<br />

่นให้ใช้เรียก สำหรับหนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทยของ ศ. เต็ม สมิตินันทน์ ในอดีตเป็น<br />

หนังสือที ่รวบรวมชื่อพฤกษศาสตร์เฉพาะพืชที่มีชื่อพื้นเมืองเรียกเท่านั้น แต่ในฉบับปรับปรุงใหม่ปี 2557 ได้ใส่ชื่อ<br />

พฤกษศาสตร์ของพืชจากหนังสือพรรณพฤกษชาติประเทศไทยที ่ตีพิมพ์แล้วแต่ยังไม่มีชื่อพื้นเมืองไว้ด้วย ยังมีพืชป่า<br />

ไทยอีกจำนวนมากที ่ไม่มีชื่อพื้นเมืองเรียก หรือมีแต่ผู้บันทึกข้อมูลไม่ทราบ<br />

ชื ่อพฤกษศาสตร์หรือชื่อวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยคำสองคำ เป็นระบบชื่อที่เรียกว่า binomial nomenclature<br />

ดังกล่าวข้างต้น คำแรกเป็นชื่อสกุล (generic name) คำที่สองเป็นคำระบุชนิด (specific epithet) ไม่ใช่เป็นชื่อ species<br />

อย่างที่ชอบเรียกหรือเข้าใจผิดกัน ตัวอย่างเช่นไม้ซ้อมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gmelina arborea Roxb. ชื่อ species ของ<br />

ซ้อคือ Gmelina arborea ไม่ใช่เฉพาะ arborea คำหลัง หรือมะม่วงมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Mangifera indica L. ชื่อ<br />

species ของมะม่วงคือ Mangifera indica ไม่ใช่เฉพาะ indica คำหลัง ในการเขียนชื่อพฤกษศาสตร์ที<br />

่สมบูรณ์จะต้อง<br />

มีชื่อบุคคลผู้ตั้งชื่อพืชนั้น (author) ต่อท้ายด้วย ดังเช่นตามตัวอย่างข้างต้น Roxburg และ Linnaeus เป็นผู้ตั้งชื่อ<br />

พฤกษศาสตร์ของซ้อและมะม่วงตามลำดับ หลักการเขียนชื่อ author ให้ยึดตามหนังสือ Authors of Plant Names<br />

ของสวนพฤกษศาสตร์คิว สหราชอาณาจักร<br />

ชื ่อพฤกษศาสตร์มักมีชื่อพ้อง (synonym) เสมอ ชื่อใดเป็นชื่อที<br />

่ถูกต้อง (correct name) ต้องถือหลัก priority<br />

เป็นสำคัญ ชื่อใดที่ตีพิมพ์ก่อนและถูกต้องตามกฎ ICN จะได้รับการยอมรับให้เป็นชื ่อที่ถูกต้องซึ่งทุกประเทศยอมรับ<br />

ชื่อใดจะเป็นชื่อที่ถูกต้องนั้นเป็นหน้าที่ของนักพฤกษศาสตร์สาขาอนุกรมวิธานพืชที่จะต้องศึกษาทบทวนเพราะต้อง<br />

ใช้ความรู้และประสบการณ์มาก ตัวอย่างเช่น แต่ก่อนเรารู้จักชื ่อพฤกษศาสตร์ของพะยอมว่า Shorea talura Roxb.<br />

แต่ภายหลังชื ่อที่ถูกต้องของพะยอมถูกเปลี<br />

่ยนเป็น Shorea roxburghii G. Don เป็นต้น ชื่อ Shorea talura Roxb. จึง<br />

กลายเป็นชื่อพ้องไป หรือในทำนองเดียวกัน กล้วยไม้ดินนางอั้วสาคริก Pecteilis hawkessiana (King & Pantl.) C. S.<br />

Kumar มี Pecteilis sagarikii Seidenf. เป็นชื ่อพ้อง เป็นต้น<br />

ชื ่อ generic name ให้เขียนขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่ ส่วนชื่อ specific epithet ให้เขียนขึ้นต้นด้วยตัวเล็ก ยกเว้นชื่อ<br />

ที่มาจากชื่อบุคคล หรือชื่อที<br />

่เคยเป็นชื่อสกุลมาก่อน ในอดีตอาจเขียนขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่ แต่ปัจจุบันนิยมให้เขียนเป็น<br />

ตัวเล็กหมด (เช่น พุดราชา Clerodendrum Schmidtii ให้เขียนเป็น Clerodendrum schmidtii) ทั้ง generic name และ<br />

specific epithet ให้ขีดเส้นใต้ พิมพ์เป็นตัวหนา หรือพิมพ์เป็นตัวเอน เพื่อให้รู้ว่าเป็นชื<br />

่อในภาษาละติน ส่วนชื่อ author<br />

ให้เขียนไปตามปกติ คือไม่ขีดเส้นใต้ ไม่เป็นตัวหนา หรือไม่เป็นตัวเอน ตัวอย่างเช่น<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


์<br />

8 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

ยางนา Dipterocarpus alatus Roxb. ex G. Don มะม่วง Mangifera indica L.<br />

Dipterocarpus alatus Roxb. ex G. Don Mangifera indica L.<br />

Dipterocarpus alatus Roxb. ex G. Don Mangifera indica L.<br />

การขีดเส้นใต้ ปกตินิยมใช้เมื่อเขียนด้วยมือหรือพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีด<br />

ส่วนการพิมพ์ด้วยเครื่อง<br />

คอมพิวเตอร์นิยมให้เป็นตัวเอนหรือตัวหนา ปัจจุบันตามเอกสารทางวิชาการทั่วไปนิยมใช้เป็นตัวเอนมากที ่สุด ถ้ามี<br />

subspecies (ใช้ตัวย่อ subsp. หรือ ssp. ) หรือ variety (ใช้ตัวย่อ var.) ให้คำว่า subsp., ssp. หรือ var. เขียนเป็นตัว<br />

ปกติ คือ ไม่ขีดเส้นใต้ ไม่หนาหรือเอน ตัวอย่างเช่นติ้วขน Cratoxylum formosum (Jack) Dyer supsp. pruniflorum<br />

(Kurz) Gogel. หรือ Cratoxylum formosum (Jack) Dyer ssp. pruniflorum (Kurz) Gogel. งิ้วป่าดอกขาว Bombax<br />

anceps Pierre var. anceps<br />

ถ้าเป็นชื่อพันธุ์ปลูก (cultivar names) ให้เขียนชื่อพันธุ์ขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่ในเครื<br />

่องหมายอัญประกาศเดี ่ยว<br />

‘ ’ (ไม่ใช่ “ ”) และให้เขียนเป็นตัวปกติ คือไม่เอียง ไม่เอน ไม่หนา ชื่อ author ไม่ต้องอ้าง เช่น คัทลียาควินสิริกิติ<br />

Cattleya ‘Queen Sirikhit’ ดอนญ่าควินสิริกิติ ์ Mussaenda philippica ‘Queen Sirikit’ ไทรย้อยใบด่าง Ficus benjamina<br />

‘Variegata’ ไฮแดรนเยีย Hydrangea macrophylla ‘Ami Pasquier’ ตัวย่อ cv. แต่ก่อนอนุญาตให้ใช้ได้แต่ปัจจุบัน<br />

ห้ามใช้ ตัวอย่างเช่น กุหลาบควีนสิริกิติ์ Rosa cv. Queen Sirikit หรือ Rosa cv. ‘Queen Sirikit’ เป็นการเขียนที่ผิด<br />

ที่ถูกต้องคือ Rosa ‘Queen Sirikit’ โดยต้องตัดคำว่า cv. ออก การเขียนและตั้งชื่อพันธุ์ปลูกถูกควบคุมโดย<br />

International Code of Nomenclature for Cultivated Plants<br />

ถ้าเป็นชื่อลูกผสม (hybrid names) จะมีเครื่องหมายคูณ (×) แสดงให้ทราบว่าเป็นลูกผสม ตัวอย่างเช่น<br />

Agrostis L. × Polypogon Desf.; Mentha aquatic L. × M. arvensis L. × M. spicata L. เครื่องหมายคูณ (×) ต้องไม่<br />

เอียง ถ้าไม่มีเครื่องหมายนี้ในคอมพิวเตอร์ให้ใช้ตัวอักษร x แทนได้ แต่ต้องเป็นตัวพิมพ์เล็กเท่านั้น ในเอกสารทาง<br />

วิชาการทั่วไป ชื่อ generic name เมื่อกล่าวถึงเป็นครั้งที่สอง อาจใช้ตัวย่อจากอักษรตัวแรกที ่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ได้<br />

ตราบใดที่ไม่ทำให้เกิดความสับสน ตัวอย่างเช่น เมื่อกล่าวถึง ประดู่ป่า Pterocarpus macrocarpus Kurz แล้ว เมื่อ<br />

กล่าวถึงประดู่กิ ่งอ่อนทีหลัง อาจใช้ตัวย่อได้ เช่น P. indicus Willd. เป็นต้น ส่วนการกล่าวถึงชื่อสกุลถ้ากล่าวถึงโดย<br />

รวมโดยไม่ระบุว่าเป็นชนิดใดอาจใช้ spp. ต่อท้ายชื ่อสกุลได้ เช่นถ้าต้องการเขียนป้ายปักไว้หน้าแปลงกล้าไม้ในสกุล<br />

ยางซึ่งมีหลายชนิด แต่ไม่มีการระบุให้แน่ชัดว่าเป็นชนิดใดบ้าง อาจเขียนเป็น Dipterocarpus spp. แต่ถ้าเป็นการ<br />

กล่าวถึงต้นไม้ชนิดเดียวที่ทราบชื่อสกุลแต่ไม่ทราบว่าเป็นชนิดใดให้ใช้ sp. ต่อท้าย ตัวอย่างเช่นต้องการเขียนป้าย<br />

แสดงชื่อต้นไม้ต้นหนึ<br />

่งตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติซึ่งทราบแน่นอนว่าเป็นพืชสกุลยางแต่ไม่ทราบชนิด อาจเขียนได้<br />

เป็น Dipterocarpus sp. กรณีนี้ห้ามใช้ Dipterocarpus spp. โดยเด็ดขาดเพราะเป็นพหูพจน์หมายถึงหลายชนิด<br />

ชื ่อสกุล (generic name) และคำระบุชนิด (specific epithet) อาจมีที่มาได้หลายทาง อาจกำหนดตาม<br />

ลักษณะของพืช ชื ่อบุคคล ชื่อพื้นเมือง หรือแหล่งที่พบพืช<br />

ตัวอย่างชื ่อสกุล (generic name)<br />

ตั้งตามชื่อบุคคล ตัวอย่างเช่น<br />

สกุลเอื้องศรี (ศรีประจิม ศรีอาคะเนย์ และศรีเชียงดาว) Sirindhornia (Orchidaceae) เป็นสกุลกล้วยไม้ และ<br />

สกุลเครือเทพรัตน์ Thepparatia (Malvaceae) ตั้งให้เป็นเกียรติแก่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี<br />

9<br />

สกุลถั่วแปบช้าง Afgekia (Leguminosae-Papilionoideae), สกุลปาล์มเจ้าเมืองถลาง Kerriodoxa (Palmae)<br />

ตั้งให้เป็นเกียรติแก่ A. F. G. Kerr นายแพทย์ชาวไอริช ผู้บุกเบิกสำคัญในการสำรวจพรรณพฤกษชาติของ<br />

ประเทศไทย ท่านได้เก็บพันธุ์ไม้ทั่วประเทศมากกว่า 25,000 หมายเลข<br />

สกุลเสี้ยว Bauhinia (Leguminosae-Caesalpinioideae) ตั้งให้เป็นเกียรติแก่ Caspar Bauhin<br />

นักพฤกษศาสตร์ชาวสวิส<br />

สกุลไม้ฝาง Caesalpinia (Leguminosae-Caesalpinioideae) ตั้งให้เป็นเกียรติแก่ Andrea Caesalpino<br />

นักพฤกษศาสตร์ชาวอิตาเลียน ซึ ่งเป็นนักอนุกรมวิธานพืชคนแรก<br />

สกุล Garrettia (Labiatae) ตั้งให้เป็นเกียรติแก่ H. B. G. Garrett ชาวอังกฤษ อดีตข้าราชการกรมป่าไม้<br />

สำรวจและเก็บตัวอย่างพันธุ์ไม้บริเวณจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย<br />

สกุลเอื้องเข็มหนู Smitinandia (Orchidaceae) ตั้งให้เป็นเกียรติแก่ ศ. ดร. เต็ม สมิตินันทน์ ผู้เชี่ยวชาญ<br />

ด้านพฤกษศาสตร์ผู้มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งโครงการพรรณพฤกษชาติประเทศไทย (Flora of Thailand Project)<br />

สกุลแคสันติสุข Santisukia (Bignoniaceae) ตั้งให้เป็นเกียรติแก่ ศ. ดร. ธวัชชัย สันติสุข ผู้เชี่ยวชาญ<br />

ด้านสำรวจและจำแนกพันธุ์ไม้ประจำหอพรรณไม้<br />

สกุลเอื้องหนวดพราหมณ์ Seidenfadenia (Orchidaceae) ตั้งให้เป็นเกียรติแก่ Dr. Gunnar Seidenfaden<br />

อดีตเอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำประเทศไทย ผู้บุกเบิกการศึกษาทางด้านอนุกรมวิธานของกล้วยไม้เมืองไทย<br />

สกุล Thawatchia (Podostemaceae) สกุลพืชดอกขนาดเล็กชอบขึ้นบนลานหินในลำธารมีนำ้ำไหล ตั้งให้เป็น<br />

เกียรติแก่ ศ. ดร. ธวัชชัย สันติสุข และนายธวัชชัย วงศ์ประเสริฐ นักพฤกษศาสตร์หอพรรณไม้<br />

ตั้งตามลักษณะของพืช ตัวอย่างเช่น<br />

สกุลประดู่ Pterocarpus (Leguminosae-Papilionoideae) ตั้งตามลักษณะผลที่มีปีก Ptero-carpus มาจาก<br />

รากศัพท์ในภาษากรีกว่า Pteran ซึ ่งแปลว่าปีก กับ karpos ซึ ่งแปลว่า ผล<br />

สกุลเทียน Impatiens (Balsaminaceae) ตั้งตามลักษณะของผลที ่แตกง่ายเมื ่อสัมผัส impatiens เป็นภาษา<br />

ละตินหมายถึง impatient ในภาษาอังกฤษ ซึ ่งแปลว่า ไม่อดทน หรือใจร้อน<br />

สกุลคราม Indigofera (Leguminosae-Papilionoideae) ตั้งตามลักษณะพืชที่ให้สีนำ้ำเงินซึ่งใช้ย้อมผ้า indigo<br />

เป็นเฉดสีหนึ่งของสีนำ้ำเงิน ส่วน fera มาจาก fer แปลว่า ชักนำ หรือทำให้เกิด<br />

สกุลยาง Dipterocarpus (Dipterocarpaceae) ตั้งตามลักษณะผลที ่มีปีกยาว 2 ปีก คล้ายกับชื ่อสกุล<br />

Pterocarpus แต่มีคำว่า di ซึ ่งแปลว่าว่า สอง<br />

สกุลตังตาบอด Excoecaria (Euphorbiaceae) ตั้งตามลักษณะยางที ่มีพิษทำให้ตาบอด<br />

ตั้งตามชื่อพื<br />

้นเมือง ตัวอย่างเช่น<br />

สกุลอบเชย Cinnamomum (Lauraceae) ตั้งตามชื่อพื้นเมืองภาษากรีก Kinnamomon<br />

สกุลกล้วย Musa (Musaceae) ตั้งตามชื่อภาษา อาราบิค Mauz, Mouz หรือ Muza<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


10 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

ตั้งตามแหล่งที ่พบ ตัวอย่างเช่น<br />

สกุลว่านแผ่นดินไทย Thaia (Orchidaceae) เป็นสกุลกล้วยไม้ดินที่พบเฉพาะในประเทศไทย (endemic)<br />

สกุลกกเขาสก Khaosokia (Cyperaceae) เป็นกกสกุลใหม่พบบนหน้าผาหินปูนเหนืออ่างเก็บนำ้ำเขื่อนรัชช<br />

ประภา อุทยานแห่งชาติเขาสก<br />

ตัวอย่างคำระบุชนิด (specific epithet)<br />

ตั้งตามลักษณะของพืช ที่พบส่วนใหญ่จะเป็นคำคุณศัพท์ ตัวอย่างเช่น alba (สีขาว)<br />

rubra (สีแดง) alatus (มีปีก) angustifolia (ใบแคบ) aquaticus (อยู่ในนำ้ำ) aureus (สีทอง) barbatus (มีขน) bicolor (สอง<br />

สี) canescens (สีเทา) edulis (กินได้) erectus (ตั้งตรง) foetidus (กลิ่นเหม็น) grandiflorus (ดอกใหญ่) macrophyllus<br />

(ใบใหญ่) nigrescens (สีดำ) parviflorus (ดอกเล็ก) viridis (สีเขียว)<br />

ตั้งตามสถานที ่หรือแหล่งที ่พบครั้งแรก ตัวอย่างเช่น thailandica, siamensis,<br />

siamense (ไทย) chinensis, chinense (จีน) japonica (ญี ่ปุ่น) malayana (มาเลเซีย) nepalensis (เนปาล) annamense<br />

(ภาคกลางของเวียดนาม) attopeuensis (แขวงอัตตะปือ ลาว) chiangdaoense (เชียงดาว เชียงใหม่) การตั้งชื่อ<br />

ลักษณะนี้ไม่ได้หมายความว่าพืชที่เรากล่าวถึงจะพบได้มาก หรือพบเฉพาะในที ่นั้น ๆ เท่านั้น (เป็นเพีงแค่การตั้งชื่อ<br />

อาจพบมากหรือน้อยก็ได้) ตัวอย่างเช่น เกล็ดตะเข้ Albizia attopeuensis (Pierre) I. C. Nielsen (Leguminosae-<br />

Mimosoideae)) ไม่ได้หมายความว่าพืชชนิดนี้มาจากแขวงอัตตะปือ ภาคใต้ของลาว หรือพบมากเฉพาะที ่แขวงอัตตะ<br />

ปือเท่านั้น เป็นเพียงแต่ว่าเมื ่อมีการตั้งชื่อครั้งแรก พืชที่นักพฤกษศาสตร์ตรวจสอบเป็นพืชที่เก็บมาจากแขวงอัตตา<br />

ปือ ในไทยสามารถพบพืชนิดนี้ได้ทั่วไปในป่าเต็งรัง อีกตัวอย่างหนึ่ง เช่นก่วมเชียงดาว Acer chiangdaoense Santisuk<br />

(Aceraceae) พบครั้งแรกที่ดอยเชียงดาว เชียงใหม่ แต่เมื ่อมีการสำรวจเพิ่มขึ้นก็พบได้อีกที่เขาหินปูนดอยตุง<br />

เชียงราย เป็นต้น<br />

ชื่อที่ตั้งให้เป็นเกียรติแก่บุคคล ตัวอย่างเช่น<br />

โมกราชินี Wrightia sirikitiae D. J. Middleton & Santisuk (Apocynaceae) ตั้งให้เป็นเกียรติแก่สมเด็จ<br />

พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ<br />

สิรินธรวัลลี Bauhinia sirindhorniae K. Larsen & S. S. Larsen (Leguminosae-Caesalpinoideae) และจำปี<br />

สิริธร Magnolia sirindhorniae H. P. Nooteboom & P. Chalermglin (Magnoliaceae) ตั้งให้เป็นเกียรติแก่สมเด็จ<br />

พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี<br />

เปล้าสันติสุข Croton santisukii H. K. Airy Shaw (Euphorbiaceae) ตั้งให้เป็นเกียรติแก่ ศ. ดร.ธวัชชัย สันติสุข<br />

ประกายแสด Mallotus kongkandae Welzen & K. Phattarahirankanok (Euphorbiaceae) เปล้าศรีราชา<br />

Croton kongkandanus Esser (Euphorbiaceae) ตั้งให้เป็นเกียรติแก่ ดร. ก่องกานดา ชยามฤต<br />

ดอกใต้ต้น Sauropus poomae Welzen & Chayamarit (Euphorbiaceae) ตั้งให้เป็นเกียรติแก่ ดร.ราชันย์ ภู่มา<br />

เสม็ดนำ้ำ Syzygium putii P. Chantaranothai & J. Parnell (Myrtaceae) ตั้งให้เป็นเกียรติแก่นายพุฒ<br />

ไพรสุรินทร์ ผู้ช่วยหมอคาร์<br />

11<br />

หนาดคำ Clerodendrum vanprukii Craib ตั้งให้เป็นเกียรติแก่พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ เศวตศิลา)<br />

มะพลับเจ้าคุณ Diospyros winitii H. R. Fletcher (Ebenaceae) ตั้งให้เป็นเกียรติแก่พระยาวินิจวนันดร<br />

เหยื่อเลียงผา Impatiens kerriae Craib (Balsaminaceae) ตั้งให้เป็นเกียรติแก่ภรรยาหมอคาร์<br />

เทียนนายเนย Impatiens noei Craib (Balsaminaceae) ตั้งให้เป็นเกียรติแก่นายเนย อิศรางกูร ณ อยุธยา<br />

ผู้ช่วยหมอคาร์<br />

ตองแห้งอนันต์ Hedyotis nalampoonii Fukuoka (Rubiaceae) ตั้งให้เป็นเกียรติแก่นายอนันต์ ณ ลำพูน<br />

อดีตข้าราชการกรมป่าไม้<br />

กระดุมเต็ม Eriocaulon smitinandii Moldenke (Eriocaulaceae) หญ้ากาบแดง Fimbristylis smitinandii T.<br />

Koyama (Cyperaceae) กุลเขา Madhuca smitinandii Chantar. (Sapotaceae) กรกนก Typhonium smitinandii<br />

Sookch. & J. Murata (Araceae) ตั้งให้เป็นเกียรติแก่ ศ. ดร.เต็ม สมิตินันทน์<br />

โมกการะเกตุ Wrightia karaketii D. J. Middleton (Apocynaceae) ตั้งให้เป็นเกียรติแก่นายปรีชา การะเกตุ<br />

เจ้าหน้าที่หอพรรณไม้ผู้ถ่ายภาพและเก็บตัวอย่าง<br />

ข้อสังเกต ชื<br />

่อสกุล (generic name) กับคำระบุชนิด (specific epithet) จะต้องสอดคล้องกัน ถูกต้อง<br />

ตามกฎไวยากรณ์ละติน ชื่อ specific epithet จะต้องสอดคล้องกับเพศของ generic name ซึ่งแบ่งได้เป็นเพศชาย<br />

(Masculine) เพศหญิง (Feminine) และไม่มีเพศ (Neuter) การกำหนดเพศให้กับชื่อสกุลให้เป็นไปตามธรรมเนียม<br />

ปฏิบัติทางพฤกษศาสตร์ ถ้าไม่มีธรรมเนียมปฏิบัติ ก็ให้เป็นไปตามที ่ author สำหรับสกุลนั้น ๆ กำหนด สิ่งเหล่านี้เป็น<br />

เรื่องยุ่งยาก ต้องใช้ประสบการณ์ และมีข้อยกเว้นมากมาย แม้แต่นักพฤกษศาสตร์เองก็ใช่ว่าทุกคนจะเข้าใจได้<br />

ถ่องแท้ อย่างไรก็ตามพอยกตัวอย่างได้คร่าว ๆ สำหรับคำที่ลงท้ายด้วย a, us, um และ is ซึ่งต้องสอดคล้องระหว่าง<br />

ชื่อสกุลกับคำระบุชนิดดังนี้<br />

ชื่อสกุลเพศหญิง<br />

ชื่อสกุลเพศชาย<br />

ชื่อสกุลไม่มีเพศ<br />

Rosa damascena Pterocarpus indicus Clerodendrum paniculatum<br />

กุหลาบมอญ ประดู่กิ ่งอ่อน<br />

พนมสวรรค์<br />

(a, us, um คำลงท้ายของคำระบุชนิดต้องเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสกุลเพศหญิง ชาย และสกุลไม่มีเพศ)<br />

Vanilla siamensis Calamus siamensis Baliospermum siamense<br />

พลูช้าง หวายขม เปล้าตองแตก<br />

(is คำลงท้ายของคำระบุชนิดสำหรับสกุลเพศหญิงและชายใช้เหมือนกัน เปลี่ยนเฉพาะสกุลไม่มีเพศ)<br />

คำระบุชนิด (specific epithet) ที่ไม่ลงท้ายด้วย a, us, um และ is ตามแบบข้างต้น แต่ลงท้ายด้วยคำอื่น เช่น<br />

-ans, -ens, -or, -x ไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าชื่อสกุลจะเป็นเพศหญิง เพศชาย หรือไม่มีเพศ ตัวอย่างเช่น<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


12 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

ชื่อสกุลเพศหญิง<br />

ชื่อสกุลเพศชาย<br />

ชื ่อสกุลไม่มีเพศ<br />

Rosa elegans Acanthus elegans Allium elgans<br />

Rosa simplex Acanthus simplex Allium simplex<br />

Ludwigia repens Ranunculus repens Trifolium repens<br />

Ludwigia bicolor Ranunculus bicolor Trifolium bicolor<br />

จะเห็นว่า is ใช้ลงท้าย specific epithet ได้ทั้งสกุลที่เป็นเพศชายและเพศหญิง (Vanilla siamensis<br />

ชื่อสกุลเป็นเพศหญิง Calamus siamensis ชื่อสกุลเป็นเพศชาย) ส่วน e ใช้ลงท้าย specific epithet ของสกุลไม่มีเพศ<br />

เท่านั้น เพราะฉะนั้น ถ้าเห็นคำระบุชนิด (specific epithet) ลงท้ายด้วย ensis ชื่อสกุลอาจเป็นเพศชายหรือหญิงก็ได้<br />

แต่ถ้าลงท้ายด้วย ense แสดงว่าเป็นชื ่อสกุลที่ไม่มีเพศ<br />

สกุลของไม้ต้นบางสกุลที ่ลงท้ายด้วย –us ถึงแม้ว่าคำลงท้ายจะแสดงว่าเป็นเพศชาย แต่<br />

ธรรมเนียมปฏิบัติให้ถือเป็นเพศหญิง ตัวอย่างเช่น<br />

ก่อขี้กวาง<br />

ก่อตาควาย<br />

พลัม<br />

กุหลาบหิน<br />

Quercus acutissima (ไม่ใช่ acutissimus)<br />

Quercus brandisiana (ไม่ใช่ brandisianus)<br />

Prunus domestica (ไม่ใช่ domesticus)<br />

Rhamnus crenata (ไม่ใช่ crenatus)<br />

สำหรับ Eucalyptus ไม่มีธรรมเนียมปฏิบัติวางไว้ ผู้ตีพิมพ์ครั้งแรกได้กำหนดให้เป็นเพศหญิง ดังนั้นชื่อชนิด<br />

จึงเขียนเป็น Eucalyptus alba แทนที่จะเป็น Eucalyptus albus<br />

ชื่อสกุลที่ลงท้ายด้วย -ceras, -dendron, -nema, -stigma, -stoma และสกุลส่วนใหญ่ที ่ลงท้ายด้วย -ma<br />

เป็นกลุ่มสกุลไม่มีเพศ ตัวอย่างเช่น<br />

กล้วยไม้น้อย<br />

กุหลาบผ<br />

ไม้ขัน<br />

เครือน่อง<br />

เขียวหมื ่นปี<br />

เอื้องข้าวตอกหิน<br />

ย่านเลือด หรือนมวัว<br />

โคลงเคลง<br />

หางเสือลาย<br />

Pteroceras ciliatum (= Biermannia ciliata)<br />

Rhododendron longiflorum<br />

Amesiodendron chinense<br />

Anodendron affine<br />

Aglaonema modestum<br />

Amitostigma thailandicum<br />

Fissistigma rubiginosum<br />

Melastoma malabathricum<br />

Platostoma cochinchinense<br />

ดังนี้<br />

ประดับหินอัสสัม<br />

แห้วประดู่<br />

Argostemma khasianum<br />

Eriosema chinense<br />

ชื ่อคำระบุชนิด (specific epithet) ที่ตั้งให้เป็นเกียรติแก่บุคคล โดยมีคำลงท้ายเป็น -i, -ii, -ae, -iae มีหลัก<br />

ถ้าชื่อบุคคลลงท้ายด้วย e, i, o, u, y หรือ er ให้เติม i สำหรับเพศชาย ae สำหรับเพศหญิง ยกเว้นลงท้าย<br />

ด้วย a ให้เติม e ไม่ว่าเป็นเพศชายหรือหญิง ตัวอย่างเช่น<br />

เปล้าเลือด<br />

ตานหก<br />

Croton poilanei Gagnep. ตั้งให้เป็นเกียรติแก่ Mr. E. Poilane<br />

Litsea pierrei Lecomte ตั้งให้เป็นเกียรติ Mr. L. Pierre<br />

- Cleistocalyx phengklaii Chantar. & J. Parn. ตั้งให้เป็นเกียรติแก่<br />

ดร. จำลอง เพ็งคล้าย (Phengklai)<br />

(เพศหญิง)<br />

- Cynanchum katoi Ohwi ตั้งให้เป็นเกียรติแก่ Mr. Kato<br />

เอื้องผึ้ง<br />

กุหลาบขาว<br />

Dendrobium lindleyi Steud. ตั้งให้เป็นเกีรติแก่ Mr. J. Lindley<br />

Rhododendron lyi H. Lév. ตั้งให้เป็นเกียรติแก่ Mr. Ly<br />

- Smitinandia helferi (Hook. f.) Garay ตั้งให้เป็นเกียรติแก่ Mr. Helfer<br />

หม้อแกงลิง<br />

Nepenthes hookerae Hort. ex G. Beck ตั้งให้เป็นเกียรติแก่ Mrs. Hooker<br />

ประกายแสด Mallotus kongkandae Welzen & K. Phattarahirankanok ตั้งให้เป็นเกียรติแก่<br />

ดร. ก่องกานดา ชยามฤต (Kongkanda)<br />

(Pooma)<br />

ดอกใต้ต้น<br />

Sauropus poomae Welzen & Chayamarit ตั้งให้เป็นเกียรติแก่ ดร.ราชันย์ ภู่มา<br />

กาบเชิงเทียน Aglaonema chermsiriwattanae Sookch. ตั้งให้เป็นเกีรติแก่ ดร. จิรายุพิน<br />

จันทรประสงค์ (นามสกุลเดิม เจิมศิริวัฒน์, Chermsiriwattana)<br />

ถ้าชื่อบุคคลลงท้ายด้วยพยัญชนะ (ยกเว้น er) ให้เติม i ไปก่อนหนึ่งตัว แล้วตาม i อีกหนึ่งถ้าเป็นเพศชาย<br />

หรือตามด้วย ae ถ้าเป็นเพศหญิง ตัวอย่างเช่น<br />

โมกราชีนี Wrightia sirikitiae D. J. Middleton & Santisuk ตั้งให้เป็นเกียรติแก่สมเด็จ<br />

พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ (Sirikit)<br />

สิรินธรวัลลี Bauhinia sirindhorniae K. Larsen & S. S. Larsen ตั้งให้เป็นเกียรติแก่สมเด็จ<br />

พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (Sirindhorn)<br />

(Santisuk)<br />

เปล้าสันติสุข<br />

Croton santisukii H. K. Airy Shaw ตั้งให้เป็นเกียรติแก่ ศ. ดร. ธวัชชัย สันติสุข<br />

13<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


14 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

การตั้งชื่อให้เป็นเกียรติแก่บุคคลต้องยึดถือตามกฎดังกล่าวข้างต้น ถ้ามีข้อผิดพลาด ให้ถือว่าเป็นความ<br />

ผิดพลาดซึ่งตามกฎ ICN สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้เมื ่อมีการเขียนชื่อโดยไม่ต้องทำการตีพิมพ์ใหม่ (หมายถึงการตี<br />

พิมพ์ที่ต้องทำตามกฎเกณฑ์ทางพฤกษศาสตร์) ชื่อสมัยก่อนจะพบมากที่ตั้งให้เป็นเกียรติแก่ผู้หญิงที่มีคำลงท้ายชื่อ<br />

เป็นพยัญชนะ แล้วเติมเฉพาะ ae โดยไม่เติม i ก่อน ตัวอย่างเช่น มังกรคาบแก้ว (Clerodendrum thomsoniae) ตั้งชื่อ<br />

ให้เป็นเกียรติแก่นาง Thomson (ชื่อลงท้ายด้วยพยัญชนะ n) ในเอกสารสมัยก่อนจะพบชื ่อพฤกษศาสตร์เขียนเป็น<br />

Clerodendrum thomsonae (ไม่มี i ตามหลัง n) ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นลักษณะนี้ ในปัจจุบันเวลาเขียนชื่อให้เติม i ไปได้<br />

เลย เป็น Clerodendrum thomsoniae<br />

ตัวอย่างพืชที่มักเขียนชื่อพฤกษศาสตร์ผิด<br />

ชื่อที่มักเขียนผิด<br />

ชื่อที่ถูกต้อง<br />

กิ่งขึ้น Mitrephora collinsae Mitrephora collinsiae<br />

พลับยอดดำ Diospyros collinsae Diospyros collinsiae<br />

หญ้าใต้ใบ Actephila collinsae Actephila collinsiae<br />

เสียว Phyllanthus collinsae Phyllanthus collinsiae<br />

ขาเปี๋ย Premna collinsae Premna collinsiae<br />

ตะแบกใบเล็ก Lagerstroemia collinsae Lagerstroemia collinsiae<br />

พิลังส Ardisia collinsae Ardisia collinsiae<br />

ข่อยหิน Gardenia collinsae Gardenia collinsiae<br />

เข็มใหญ่ Ixora collinsae Ixora collinsiae<br />

เข็มขาว Tarenna collinsae Tarenna collinsiae<br />

หนอนตายหยาก Stemona collinsae Stemona collinsiae<br />

รสสุคนธ์ Tetracera loureiri Tetracera loureiroi<br />

จันทน์ผ Dracaena loureiri Dracaena loureiroi<br />

ปาล์มสิบสองปันนา Phoenix loureiri Phoenix loureiroi<br />

แห้วกระต่าย Murdannia loureiri Murdannia loureiroi<br />

ชื่อกลุ่มแรกเป็นชื<br />

่อที่ตั้งให้เป็นเกียรติแก่ Mrs. D. J. Collins ผู้สำรวจและเก็บตัวอย่างพันธุ์ไม้แถบ<br />

ศรีราชาในยุคเดียวกับหมอคาร์ ชื ่อกลุ่มที่สองเป็นชื่อที่ตั้งให้เป็นเกียรติแก่ Mr. Loureiro<br />

การอ้างชื่อผู้ตั้งชื<br />

่อพืช (Author Citation)<br />

ชื่อ author มีรูปแบบการย่อที่เป็นมาตรฐานตามหนังสือ Authors of plant names ของ Brummitt & Powell<br />

15<br />

ตีพิมพ์โดยสวนพฤกษศาสตร์ Kew สหราชอาณาจักร หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทยของ ศ. ดร. เต็ม สมิติ<br />

นันทน์ ก็ยึดรูปแบบการย่อตามหนังสือเล่มนี้ ตัวอย่างเช่นชื่อย่อของ Linnaeus ให้ย่อว่า L. ไม่ใช่ Linn. ซึ่งอาจจะ<br />

สับสนกับชื่อย่อ Linn (ไม่มีจุดตามหลัง) ของ Manson Bruce Linn นักพฤกษศาสตร์ที ่ทำการวิจัยเกี ่ยวกับเห็ดรา<br />

(Mycology) ทำนองเดียวกัน ชื ่อย่อของลูกชายลินเนียสให้ย่อว่า L. f. ไม่ใช่ Linn. f.<br />

ชื ่อ author มีความสำคัญเพราะจะสามารถชี้ให้เห็นความเป็นมาหรือประวัติของชื่อได้ ที่พบบ่อยคือชื่อใน<br />

วงเล็บ ชื่อที<br />

่เชื่อมด้วย ex, et หรือ & ตัวอย่างเช่น<br />

Nuttall ตั้งชื่อ Gossypium tomentosum แต่ไม่ได้ตีพิมพ์ให้ถูกต้องตามกฎ ภายหลัง Seemann ได้มาทำการ<br />

ตีพิมพ์ให้ถูกต้อง ชื่อพฤกษศาสตร์อาจเขียนได้เป็น Gossypium tomentosum Nutt. ex Seem. หรือ Gossypium<br />

tomentosum Seem. โดยไม่อ้าง Nutt. ก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะอ้างเพื ่อเป็นการให้เกียรติผู้ที่ตั้งชื่อไว้ก่อน<br />

เมื่อคนสองคนร่วมกันตั้งชื่อ ให้เชื่อมด้วย et หรือเครื ่องหมาย & เช่น สิงโตอาจารย์เต็ม พบที่เขาหลวง<br />

นครศรีธรรมราช จะใช้ชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Bulbophyllum smitinandii Seidenf. et Thorat หรือ Bulbophyllum<br />

smitinandii Seidenf. & Thorat ก็ได้ ถ้ามากกว่าสองคนร่วมกันตั้งชื่อ ให้อ้างชื ่อทุกคนในการตีพิมพ์ครั้งแรก ภายหลัง<br />

เมื่อมีการอ้างถึง อาจใช้เฉพาะชื ่อคนแรกแล้วตามด้วย “et al.” หรือ “& al.” ตัวอย่างเช่น Aporusa glabra<br />

Hesseltine, J. N. Porter, Deduck, Hauck, Bohonos & J. H. William เมื่อตีพิมพ์ครั้งแรกให้อ้างทั้งหมด ภายหลังเมื่อ<br />

เรานำชื่อมาใช้ อาจอ้างได้เป็น Aporusa glabra Hesseltine et al. หรือ Aporusa glabra Hesseltine & al.<br />

ชื ่อพฤกษศาสตร์เมื ่อมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ยกระดับจาก variety หรือ subspecies เป็น species หรือย้าย<br />

จากสกุลหนึ ่งไปยังอีกสกุลหนึ่งและยังคงชื<br />

่อคำระบุชนิด (specific epithet) เดิมไว้ ให้ใส่ชื่อ author เดิมไว้ในวงเล็บ<br />

แล้วตามด้วยชื ่อ author ที่ทำการย้ายหรือเปลี่ยนแปลงนั้น ตัวอย่างเช่นเมื ่อ Medicago polymorpha var. orbicularis<br />

L. ถูกยกระดับขึ้นให้เป็น species โดย Allioni ชื่อใหม่ที<br />

่ได้จะเขียนเป็น Medicago orbicularis (L.) All. หรือถ้าเป็นการ<br />

ย้ายสกุล เช่น ขี้เหล็กไทย Cassia siamea Lam. ตั้งโดย Lamarck แต่ Irwin และ Barneby เห็นว่าน่าจะจัดอยู่ในสกุล<br />

Senna ก็ทำการย้ายเป็น Senna siamea (Lam.) Irwin & Barneby ชื่อเดิมก่อนการเปลี่ยนแปลงเรียกว่า basionym ใน<br />

ที่นี้คือ Medicago polymorpha var. orbicularis L. และ Cassia siamea Lam. ตามลำดับ<br />

การอ่านชื ่อพฤกษศาสตร์ การอ่านชื<br />

่อพฤกษศาสตร์มักเป็นปัญหาเสมอสำหรับผู้ที ่ต้องใช้ชื ่อเป็นประจำ<br />

เช่นเจ้าหน้าที ่ป่าไม้ หรือนิสิต นักศึกษาในสาขาชีววิทยา ทั้งนี้เนื ่องจากไม่มีความมั่นใจว่าควรจะออกเสียงชื่อนั้น ๆ<br />

อย่างไร การอ่านชื่อพฤกษศาสตร์ไม่มีข้อบังคับที<br />

่แน่นอนในการออกเสียง แต่ละชาติแต่ละสถาบัน หรือแม้แต่<br />

นักพฤกษศาสตร์ในสถาบันเดียวกันก็มีการออกเสียงไม่เหมือนกัน ถ้ามีความรู้เกี ่ยวกับชื่อนั้น ๆ อยู่บ้าง หรือรู้ภาษา<br />

ละตินพอสมควร ก็จะช่วยเพิ ่มความมั่นใจในการอ่านออกเสียงมากยิ ่งขึ้น อย่างไรก็ตามพอจะแบ่งการอ่านได้เป็น<br />

2 แบบ คือ English Method กับ Continental Method (หรือ Academic Method, Latin Method) การอ่านแบบแรกจะ<br />

นิยมในประเทศที ่พูดภาษาอังกฤษ การอ่านแบบที ่สองนิยมในยุโรปผืนแผ่นดินใหญ่ (ไม่รวมเกาะอังกฤษและ<br />

ไอร์แลนด์) ข้อแตกต่างส่วนใหญ่จะอยู่ที ่การออกเสียงตัวท้ายของ generic name และ specific epithet ตัวอย่างเช่น<br />

(English Method) (Continental Method)<br />

ระฟ้าปู Psilotum nudum ไซโลตัม นูดัม ซิโลตุม นูดุม<br />

ก่อหมี Lithocarpus auriculatus ลิโทคาปัส ออริคูลาตัส ลิโทคาปุส ออริคูลาตุส<br />

ขี้ขม Ligustrum confusum ไลกัสตรัม คอนฟูซัม ไลกัสตรุม คอนฟูซุม<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


16 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

เจ็ดช้างสาร Lasianthus marginatus ลาซิแอนทัส มาจินาตัส ลาซิแอนทุส มาจินาตุส<br />

มะลิไส้ไก่ Jasminum elongatum จัสไมนัม อีลองกาตัม จัสมีนุม อีลองกาตุม<br />

เนื่องจากไม่มีข้อบังคับในการอ่านว่าแบบไหนถูกแบบไหนผิด ถ้าดูคำแนะนำหน้า (6)-(8) ใน<br />

หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ (ฉบับแก้ไขเพิ ่มเติม 2544) ก็จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการอ่านได้<br />

บ้าง เพื่อความมั่นใจในการอ่านและเพื<br />

่อเป็นตัวอย่าง จะขอยกตัวอย่างการออกเสียงตามแบบภาษาอังกฤษดังนี้<br />

คำที่ขึ้นต้นด้วยตัว cn, ct, gn, kn, mn, pn, ps, pt, tm ให้อ่านออกเสียงเน้นไปที่ตัวหลัง ตัวอย่าง เช่น<br />

หงอนไก่หน่วย<br />

ผักกะเหรียง<br />

Cnestis palala เนส-ทิส ปา-ลา-ลา<br />

Gnetum gnemon นี-ตัม นี-มอน<br />

- Gnaphalium แนบ-ฟา-เลียม<br />

ซ้อ<br />

เลือดแรด<br />

Gmelina arborea เมล-ไล-นา อา-บอ-เรีย<br />

Knema globularia นี-มา กโล-บู-ลา-เรีย (Kn ออกเสียงเหมือน kn ใน knife)<br />

- Gentiana pneumonanthe เจน-ทิ-อา-นา นิว-โม-แนน-เท<br />

เฒ่าหลังลาย<br />

บุกเขา<br />

Pseuderanthermum graciliflorum ซู-เดอ-แรน-เทอ-มัม กรา-ซิ-ลิ-ฟลอ-รัม<br />

Pseudodracontium kerrii ซู-โด-ดรา-คอน-เตียม เคอ-รี-ไอ<br />

ฝรั่ง Psidium guajava ไซ-เดียม กวา-จา-วา<br />

งูก้านปล้อง<br />

กระบาก<br />

เครือเขาขม<br />

กูดเกี๊ยะ<br />

กูดหางค่าง<br />

ประดู่ป่า<br />

ปออีเก้ง<br />

แก้วตาไว<br />

กะหนานปลิง<br />

Psychotria serpens ไซ-โค-เตรีย เซอ-เพนส<br />

Anisoptera costata อนี-ซอบ-เทอ-รา คอส-ตา-ตา<br />

Myriopteron extensum ไม-ริ-โอ-เทอ-รอน เอ๊ก-ซ-เทน-ซัม<br />

Pteridium aquilinum เทอ-ริ-เดียม เอ-ควิ-ไล-นัม<br />

Pteris biaurita เทอ-ริส ไบ-ออ-ริ-ตา<br />

Pterocarpus macrocarpus n เทอ-โร-คาร-ปัส แมค-โคร-คาร-ปัส<br />

Pterocymbium tinctorium เทอ-โร-ซิม-เบียม ทิงค-ทอ-เรียม<br />

Pterolobium macropterum เทอ-โร-โล-เบียม แมค-โคร-เทอ-รัม<br />

Pterospermum acerifolium เทอ-โร-สเปอร-มัม อา-เซอ-ริ-โฟ-เลียม<br />

- Tmesipteris มี-ซิบ-เทอ-ริส<br />

การอ่านออกเสียงสระ บางครั้งอ่านได้หลายแบบ ตัวอย่างเช่น<br />

ae ออกเสียงเหมือนเป็นตัว e เช่น laevis ลีวิส หรือ เลวิส<br />

17<br />

oe ออกเสียงเหมือนเป็นตัว e หรือ o เช่น Aloe อโล Rhoeas รีแอส dioecious ไดอีเชียส<br />

monoecious โมนีเชียส Ipomoea ไอโปเมีย Phoenix ฟีนิก Lagerstroemia ลาเกอร์สโตรเมีย (ตั้งให้เป็นเกียรติแก่<br />

Magnus Lagerstroem ชาว Swedish เพื ่อนของ Linnaeus) Boea เบีย หรือ โบเอีย Coelogyne ซีโลไกเน หรือซีโลจินี<br />

y, j ออกเสียงเหมือนเป็นตัว i เช่น Berrya เบอร์เรียหรือเบอร์รีอา Buddleja บัดเลีย Byttneria บิททเนอเรีย<br />

Cryptocarya คริบโตคาเรีย Cyrtandra เซอร์แทนดรา Myrtaceae เมอร์เตซี Microstachys ไมโครสเตคีส Eurya ยูเรีย<br />

eu ออกเสียงเป็น u เช่น Eucalyptus ยูคาลิปตัส Eurycarpus ยูริคาร์ปัส<br />

ph ออกเสียงเป็น f เช่น Phyllanthus ฟิลแลนทัส<br />

ch ออกเสียงเป็น k เช่น Chloranthus คลอแรนทัส<br />

คำบางคำมีเครื่องหมายจุดสองจุดอยู่ด้านบน<br />

ตัวหน้า เช่น Isoëtes อ่านว่า ไอโซอีเทส หรือ ไอโซอีทิส<br />

เป็นการแสดงให้รู้ว่าต้องออกเสียงแยกจากพยัญชนะ<br />

3. การจำแนก (Classification) คือ การจำแนกพรรณพืชขึ้นเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ การจำแนกอย่างง่าย ๆ คือ<br />

จัดพืชเป็นพวกไม้ต้น ไม้พุ่ม ไม้เถา และไม้ล้มลุก หรือจัดเป็นจำพวกผักกูด จำพวกไม้สน จำพวกพืชใบเลี้ยงคู่<br />

ใบเลี้ยงเดี่ยว เหล่านี้ พอจะกล่าวได้ง่าย ๆ ว่าการจำแนกคือ การจัดหมวดหมู่พืชที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเข้าไว้ด้วย<br />

กัน ตามหลักปฏิบัตินั้นพรรณพืชที่มีลักษณะคล้ายกันหลายประการนั้นก็จัดขึ้นเป็นสกุลหนึ่ง (genus) ดังเช่น กุหลาบ<br />

ทุกชนิด (species) นั้นต่างก็กำหนดให้อยู่ในสกุล Rosa เป็นต้น พืชสกุลอื่น ๆที่มีลักษณะละม้ายคล้ายกุหลาบ เช่น<br />

ท้อ สตรอเบอรี ่ เชอรี ่ ก็ถูกจัดอยู่ในสกุลอื ่น ๆ แต่พืชเหล่านี้ถูกจำแนกให้รวมอยู่ในวงศ์ (family) เดียวกัน คือ<br />

Rosaceae<br />

หน่วยของการจำแนกที ่ใช้กันเสมอ ๆ ก็คือ<br />

Kingdom<br />

Division<br />

Class<br />

Order<br />

Family<br />

Genus<br />

Species<br />

Variety<br />

การจำแนกพืช (Plant Classification) เป็นการจัดพืชให้เป็นกลุ่มหรือหมวดหมู่โดยอาศัยลักษณะความ<br />

คล้ายคลึง (similarities) และความแตกต่าง (differences) ของลักษณะต่าง ๆ ที่ศึกษา กลุ่มพืชที่ถูกจำแนกตามหลัก<br />

อนุกรมวิธานนี้เรียก หน่วยอนุกรมวิธาน (taxon) ซึ่งมีการจัดระดับเป็นหมวดหมู่ที<br />

่มีขนาดใหญ่เล็กลดหลั่นกันไปตาม<br />

ลำดับ โดยหมวดหมู่ที ่เป็นหลักสำคัญมี 7 ระดับได้แก่ Kingdom, Division, Class, Order, Family, Genus, Species<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


่<br />

18 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

ทั้งนี้รายละเอียดในการจำแนกของนักพฤกษอนุกรมวิธานแต่ละคน หรือในแต่ละยุคสมัยอาจแตกต่างกัน ทำให้<br />

ระบบของการจัดจำแนก (system of classification) อาจมีได้หลายระบบ<br />

การจัดลำดับหมวดหมู่ทางพฤกษอนุกรมวิธานมีจุดเริ่มต้นจากการนำเอาพืชซึ<br />

่งมีอยู่ในสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว<br />

มาใช้ประโยชน์ เช่นเป็นอาหาร ยารักษาโรค หรือบางชนิดเป็นอันตราย มีพิษ กลุ่มบุคคลที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับพืชก่อน<br />

บุคคลอื่นคือหมอหรือนักสมุนไพร (Herbalists) ซึ่งจำเป็นต้องรวบรวมพืชไว้เพื่อใช้ศึกษา เมื่อจำนวนชนิดของพืชเพิ่ม<br />

มากขึ้นจึงต้องพยายามหาวิธีที่จะทำให้รู้จักหรือจดจำพืชได้ง่ายขึ้น ดังนั้นจึงเริ่มมีการจำแนกพืชออกเป็นกลุ่ม ตาม<br />

ลักษณะบางประการที ่เหมือนหรือใกล้เคียงกัน และยังทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างกลุ่มที ่จำแนกได้อีกด้วย ใน<br />

สมัยโบราณลักษณะง่าย ๆ ที่ใช้ในการจำแนกพืชได้แก่ ลักษณะวิสัย เช่น ไม้ต้น ไม้พุ่ม ไม้เลื้อย ต่อมาจึงใช้ลักษณะ<br />

อื่น ๆ เพิ่มเติมประกอบขึ้นมา เช่นลักษณะดอก ทั้งนี้เพื่อให้กลุ่มที่จัดหรือจำแนกมีความสอดคล้องหรือใกล้เคียงกับ<br />

ความเป็นจริงของที่เกิดขึ้นในธรรมชาติมากที่สุด<br />

ต่อมาเมื ่อมีวิวัฒนาการมากขึ้นก็มีการตั้งชื่อให้แต่ละกลุ่มที<br />

่แบ่ง<br />

แยกไว้ ต่างคนต่างทำก็เกิดการซำ้ำซ้อนกัน ต้องมีการประชุมและตั้งกฎเกณฑ์ขึ้นมาใช้บังคับในเรื่องการตั้งชื่อพืช<br />

(Plant Nomenclature)<br />

การจัดลำดับพืชให้เป็นหมวดหมู่ตามที ่กล่าวข้างต้น สามารถแบ่งคร่าว ๆ ได้ 3 ระบบตามแนวความคิดที<br />

พัฒนาหรือเปลี ่ยนแปลงไปในแต่ละยุคสมัย ได้แก่ Artificial classification, Natural classification และ Phylogenetic<br />

classification<br />

Artificial classification เป็นการจัดหมวดหมู่โดยดูจากลักษณะที่สังเกตได้ง่าย ๆ เช่นดูลักษณะวิสัยว่า<br />

เป็นไม้ล้มลุก ไม้พุ่ม หรือไม้ต้น ดูสีหรือจำนวนของลักษณะต่าง ๆ ที่เหมือนกัน จำนวนลักษณะที ่ใช้อาจมีไม่มาก มัก<br />

ใช้เพียงหนึ ่งถึงสองลักษณะ เช่น การจัดหมวดหมู่แบบ sexual system ของลินเนียส ที่ใช้จำนวนเกสรเพศผู้เป็น<br />

ลักษณะในการจำแนกพืชดอกจัดว่าเป็น Artificial classification ระบบการจำแนกตามแนวคิดแบบนี้ทำให้มีการรวม<br />

กลุ่มพืชที่มีความแตกต่างกันอย่างมากเอาไว้ด้วยกัน<br />

เนื่องจากใช้ลักษณะที<br />

่มีร่วมกันเพียงลักษณะเดียวหรือสอง<br />

สามลักษณะเท่านั้น<br />

Natural classification เป็นการจัดหมวดหมู่โดยนำเอาลักษณะที่เหมือนกันหลาย ๆ ลักษณะให้มากที่สุด<br />

เท่าที่จะทำได้มาใช้ในการจัดกลุ่ม ในอดีตนิยมใช้เฉพาะลักษณะทางสัณฐานวิทยาเท่านั้น ต่อมาภายหลังจึงได้ใช้<br />

ลักษณะอื่น ๆ เข้ามาประกอบ เช่น ลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ของพืช (Plant Anatomy) เอ็มบริโอโลยี<br />

(Embryology) เป็นต้น ตัวอย่างระบบการจำแนกที ่มีชื่อเสียงตามแนวคิดนี้คือหนังสือ Genera Plantarum ในศตวรรษ<br />

ที่ 18 ที ่เขียนโดย Bentham และ Hooker นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษซึ ่งทำงานอยู่ที ่สวนพฤกษศาสตร์ Kew<br />

Phylogenetic classification เป็นการจัดหมวดหมู่ที ่พิจารณาและให้ความสำคัญเกี ่ยวกับความสัมพันธ์ทางด้าน<br />

วิวัฒนาการของหมวดหมู่ที ่จัดขึ้น โดยอาศัยแนวความคิดที่ว่าพืชที<br />

่มีบรรพบุรุษร่วมกัน น่าจะจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน<br />

การจำแนกระบบนี้เป็นการจัดลำดับพืชให้เป็นหมวดหมู่สมัยใหม่โดยยึดเอาความสัมพันธ์ทางด้านพันธุกรรมและ<br />

วิวัฒนาการของพืชเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ มาเกี่ยวข้องมากมาย เช่น<br />

สัณฐานวิทยาของพืช (Plant Morphology) พันธุศาสตร์ (Genetics) กายวิภาคศาสตร์ของพืช (Plant Anatomy)<br />

สรีรวิทยาของพืช (Plant Physiology) เซลวิทยา (Cytology) เรณูวิทยา (Palynology) วิวัฒนาการ (Evolution) เอมบริ<br />

โอโลยี (Embryology) ชีวเคมี (Biochemistry) ธรณีวิทยา (Geology) นิเวศวิทยา (Ecology) และการศึกษาทางด้าน<br />

บรรพพฤกษศาสตร์ (Paleobotany) เป็นต้น<br />

ระบบการจำแนกหรือจัดหมวดหมู่พืชที่ค่อนข้างได้รับความนิยม มีการอ้างอิงถึงเป็นจำนวนมากในหลายปี<br />

19<br />

ที่ผ่านมาได้แก่ระบบของ Robert F. Thorne (Classification and Geography of Flowering Plants), Athur Cronquist<br />

(The Evolution and Classification of Flowering Plants) และ Armen Takhtajan (Diversity and Classification of<br />

Flowering Plants) สองคนแรกเป็นนักอนุกรมวิธานพืชชาวอเมริกัน ส่วน Takhtajan เป็นชาวรัสเซียน ระบบของทั้ง<br />

Thorne, Cronquist และ Takhtajan มักถูกกล่าวถึงว่าเป็นการจัดระบบโดยอาศัยความเหมือนหรือแตกต่างของ<br />

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาเป็นหลัก ซึ ่งไม่สะท้อนถึงความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการที ่แท้จริงของไม้ดอก<br />

การจัดหมวดหมู่ที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบันนอกจากจะใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและศาสตร์ต่าง ๆ<br />

ดังกล่าวข้างต้นมาช่วยแล้ว ยังมีการใช้ศาสตร์ทางด้านชีววิทยาโมเลกุล (Molecular Biology) เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย<br />

คือใช้ข้อมูล DNA ร่วมกับข้อมูลจากศาสตร์ด้านอื ่น ๆ ในการศึกษาถึงความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของพืช ซึ่งต้อง<br />

มีการสกัด DNA จากใบพืช ผ่านขั้นตอนกระบวนการต่าง ๆ ในห้องปฏิบัติการ แล้วใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยใน<br />

การศึกษาหารูปแบบของความสัมพันธ์ ผลที่ได้จะอยู่ในรูปแผนภูมิที่เรียก phylogenetic tree หรือ cladogram ซึ่ง<br />

ต้องอาศัยความรู้ความชำนาญในการตีความหรือแปลความหมายของรูปแบบความสัมพันธ์ที ่เกิดขึ้นบน cladogram<br />

ระบบที่กำลังมีความก้าวหน้าเป็นอย่างดีในปัจจุบันคือระบบของ APG (Angiosperm Phylogeny Group) ซึ่งเป็นกลุ่ม<br />

ที่เกิดจากการรวมตัวของนักวิจัยที่มีความสนใจศึกษาอนุกรมวิธานของพืชดอกกลุ่มหนึ่ง โดยได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผล<br />

งานครั้งแรกในวารสาร Missouri Botanical Garden ฉบับที่ 85 ปี 1998 เรียกว่า APGI และมีการศึกษาข้อมูลเพิ ่มเติม<br />

และตีพิมพ์อีกครั้งในวารสาร Botanical Journal of the Linnean Society ฉบับที่ 141 ปี 2003 เรียกว่า APGII ปัจจุบัน<br />

ได้มีการปรับปรุงและตีพิมพ์เป็น APGIII โดยตีพิมพ์ในวารสาร Botanical Journal of the Linnean Society ฉบับที่ 161<br />

(2) ปี ในปี 2009 ในระบบของ APG ไม่ได้แบ่งพืชดอกออกเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่เหมือนดั่งที<br />

่เคยเป็นมา<br />

แต่แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ พืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocots) พืชใบเลี้ยงคู่ (Eudicots) และกลุ่มพืชใบเลี้ยงคู่เดิมที่ถูก<br />

จับแยกออกมา และไม่ถูกจัดให้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวหรือพืชใบเลี้ยงคู่ โดยพืชดอกทั่วโลกถูกจำแนกออกเป็น 413<br />

families ใน 59 orders (APGIII)<br />

วิวัฒนาการของพืชที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ทำให้พืชที่เห็นอยู่ในปัจจุบันมีลักษณะที<br />

่แสดงถึงความใกล้ชิดกับ<br />

พืชที่เป็นบรรพบุรุษน้อยลงเรื<br />

่อย ๆ การนำหมวดหมู่พืชมาเรียงเป็นลำดับชั้นเพื่อแสดงความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการ<br />

จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ<br />

่ง<br />

ปัจจุบันพืชมีเมล็ดในโลก (seed plants) คาดว่ามีประมาณ 250,000 ชนิด เฟิร์นและกลุ่มใกล้เคียงเฟิร์น<br />

(pteridophyte หรือ fern & fern allies) ประมาณ 12,000 ชนิด ไบรโอไฟต์ (bryophyte) ประมาณ 23,000 ชนิด<br />

สาหร่าย (algae) ประมาณ 17,000 ชนิด และยังมีเห็ดราต่าง ๆ อีกมากมาย นักพฤกษศาสตร์ตั้งแต่อดีตจนถึง<br />

ปัจจุบันได้จัดระบบการจำแนกพืชไว้หลายระบบ ซึ่งอาจมีทั้งความแตกต่างหรือคล้ายคลึงกัน หรือมีข้อดีและข้อ<br />

ด้อยในแต่ละระบบที ่แตกต่างกันไป โดยไม่มีระบบใดที่จัดได้ว่าดีที่สุด ปัจจุบันนักพฤกษอนุกรมวิธานยังคงทำการ<br />

ศึกษากันอยู่อย่างต่อเนื ่อง มีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ความก้าวหน้าของการศึกษาอยู่เป็นระยะ ซึ่งนักพฤกษศาสตร์จะ<br />

ต้องติดตามการเปลี ่ยนแปลงต่าง ๆ ให้ทัน แล้วนำมาดัดแปลงใช้หรือถ่ายทอดให้ผู้ที ่ทำงานเกี่ยวข้องทราบถ้า<br />

พิจารณาแล้วเห็นว่ามีความเหมาะสม<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


20 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

21<br />

อย่างไรก็ตามนักพฤกษศาสตร์จำต้องใส่ใจอยู่เสมอว่า พืชที ่มีลักษณะละม้ายคล้ายคลึงกัน ไม่จำเป็นจะต้องมีความ<br />

สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด (สายพันธุ์เดียวกัน) เสมอไป เช่น พืชสกุล Euphorbia จำพวกสลัดได ของวงศ์ Euphorbiaceae<br />

ลำต้นและลักษณะภายนอกดูอย่างผิวเผินคล้ายคลึงกับวงศ์ Cactaceae (กะบองเพชร) เป็นอันมาก แต่ตามหลัก<br />

ความสัมพันธ์ทางชาติวงศ์ (Phylogeny) แล้วพืชทั้งสองสกุลนี้มีความสัมพันธ์กันน้อยมาก กล่าวได้ว่ามีวิวัฒนาการ<br />

คนละสายพันธุ์ แต่ความละม้ายคล้ายคลึงที่เกิดขึ้นได้นั้นเนื่องมาจากพืชทั้งสองกลุ่มนี้ ต่างปรับตัวให้เข้ากับสภาพ<br />

ภูมิอากาศแห้งแล้งนั่นเอง เมื่อความรู้เรื่องพรรณพฤกษชาติของโลกมีเพิ่มมากขึ้น นักอนุกรมวิธานพืชก็สามารถรู้<br />

ถึงความสัมพันธ์ซึ ่งกันและกันของพรรณพืชต่าง ๆ และได้อาศัยความรู้นี้กำหนดวิธีการจำแนกพรรณพืชให้ดียิ่งขึ้น<br />

อีกทั้งการสืบสาวและหาพืชชนิดใหม่ ๆ ที่มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับชนิดพืชที่ทำการศึกษาวิจัยอยู่เดิม อันอาจจะ<br />

นำไปสู่การปรับปรุงพันธุ์ใหม่ หรือพบพันธุ์ใหม่ที่อาจเป็นทรัพยากรพืชที่มีค่าของประเทศต่อไป<br />

ความสำคัญ<br />

อนุกรมวิธานพืชจึงมีบทบาทสำคัญอยู่มาก แต่มักจะถูกละเลย จุดประสงค์เบื้องแรกของอนุกรมธานพืชไม่<br />

ใช่เพียงให้คนได้แต่จะรู้จักชนิดพรรณพืชเท่านั้น ยังได้รู้ซึ้งไปถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ของพืชอีกด้วย การศึกษาด้าน<br />

อนุกรมธานพืช (Plant taxonomy) จึงเป็นรากฐานสำคัญของการศึกษาความหลากลายของทรัพยากรธรรมชาติของ<br />

ที่ใดที่หนึ่ง เพื่อประเมินค่าของวัตถุดิบต่าง ๆ ในกิจกรรมทั้งหลาย เช่น วนกรรม เภสัชกรรม เกษตรกรรม ตลอดจน<br />

อุตสาหกรรม วิชาอนุกรมวิธานพืชสอนให้เราทราบเรื ่องความผิดแปลกแตกต่างของพืชตามธรรมชาติและความ<br />

สัมพันธ์ซึ ่งกันและกัน ความรู้เหล่านี้มีประโยชน์ต่อการศึกษาศาสตร์ด้านอื่น ๆ เช่น ด้านพันธุ์ศาสตร์ (genetics) และ<br />

วิวัฒนาการ (evolution) เป็นต้น นักพฤกษศาสตร์สาขาต่าง ๆ เช่น สาขาสรีรวิทยา นิเวศวิทยา กายภาควิทยา<br />

เซลวิทยา ฯลฯ ต่างก็ได้อาศัยความรู้ด้านอนุกรมวิธานพืช ช่วยวิเคราะห์หาชื่อพรรณพืชซึ่งตนดำเนินการศึกษาอยู่<br />

ปัจจุบันยังมีพืชอีกหลายร้อยหลายพันชนิดในอาณาจักรพืชที ่มนุษย์ยังไม่รู้จักและหาทางนำมาใช้ประโยชน์ ปัญหา<br />

ใหญ่และหน้าที ่หลักของนักอนุกรมธานพืช ก็คือพยายามรีบเร่งศึกษา ค้นคว้า วิจัยพืชชนิดต่าง ๆ ในโลก เพื่อให้ได้<br />

ข้อมูลเบื้องต้นทางพฤกษศาสตร์ไว้ก่อนให้ได้มากที ่สุด ก่อนที ่พืชบางชนิดจะสูญพันธุ์ไป<br />

CLASSIFICATION OF ORDERS AND FAMILIES OF FLOWERING PLANTS APGIII<br />

Cladogram แสดงการจำแนกพืชดอกในระดับ orders และ families ของ APG (Angiosperm Phylogeny<br />

Group) ตีพิมพ์ลงในวารสาร Botanical Journal of the Linnean Society ฉบับที ่ 161 (2) ปี ในปี 2009<br />

4. การบรรยายลักษณะ (description) พืชแต่ละชนิดก็มีรูปพรรณสัณฐานลักษณะต่าง ๆ แตกต่างกันไป<br />

เมื่อวิเคราะห์ (identify) พืชชนิดใดชนิดหนึ ่งได้อย่างถูกต้อง ต่อไปจำเป็นจะต้องบรรยายลักษณะต่าง ๆ ของพืชขนิด<br />

นั้น เช่น ลักษณะลำต้น เรือนยอด เปลือก ใบ ดอก ผล เมล็ด ฯลฯ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อความกระจ่างในการถ่ายทอด<br />

ข้อมูลตามหลักอนุกรมวิธานพืช นอกจาก description ของ species แล้ว ก็มี description ของสกุล (genus) และวงศ์<br />

(family) อื ่น ๆ อีก<br />

5. ความสัมพันธ์ (relationships) ของพืช ช่วยให้เราจำแนกชื่อพรรณไม้ได้อย่างถูกต้อง หรือใกล้เคียงมาก<br />

ที่สุด พืชในสกุล (genus) เดียวกัน จะมีความละม้ายคล้ายคลึงกันมากกว่าพืชในสกุลอื่น ๆ หรือพืชวงศ์ (family) อื่น ๆ<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


22 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

วัตถุประสงค์<br />

2<br />

การเก็บตัวอย่างพรรณไม้<br />

การที่จะทำความรู้จักกับพรรณไม้ต่าง ๆ นั้น ก็ต้องอาศัยการสำรวจพรรณไม้เป็นหลักใหญ่ แม้ว่าจะได้มี<br />

การสำรวจพรรณไม้กันมาในประเทศเป็นเวลากว่า 100 ปีแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่สิ้นสุด เพราะพื้นที่ป่าของประเทศไทย<br />

มีอยู่กว้างขวางประกอบขึ้นด้วยพรรณไม้มากมายหลายชนิด คาดกันว่าเฉพาะพืชดอกประเภทเดียว ก็มีไม่น้อยกว่า<br />

10,000 ชนิดแล้ว ถ้าต้องการจะทราบจำนวนชนิดของพรรณไม้ในท้องที ่ต่าง ๆ ก็จะต้องทำการสำรวจพร้อมทั้งเก็บ<br />

ตัวอย่างพรรณไม้ แล้วนำมาวิเคราะห์หาชื่อ<br />

งานสำรวจพรรณไม้นั้นนับได้ว่าเป็นงานที ่ต้องใช้เวลา ท้องที่หนึ่ง ๆที่ต้องทำการสำรวจใช่ว่าจะเข้าไปครั้ง<br />

เดียวแล้วได้พรรณไม้ครบทุกชนิด พรรณไม้ที่จะเก็บมาวิเคราะห์ จะต้องมีกิ่งที่มีทั้งใบ ดอก หรือผลติดอยู่ ดังนั้น<br />

การเข้าไปแต่ละครั้งพรรณไม้บางชนิดอาจไม่ติดดอกหรือติดผล ต้องเฝ้าติดตามคอยฤดูกาลที่ออกดอกติดผล<br />

การสำรวจพรรณไม้จึงต้องหมั่นสำรวจ จึงจะได้พรรณไม้จำนวนมากชนิดเท่าที่จะมากได้<br />

อุปกรณ์<br />

ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการเก็บตัวอย่างพรรณไม้ คือ<br />

1. เพื่อนำมาวิเคราะห์หาชื่อที่แน่นอน เพื ่อให้ทราบจำนวนชนิดของพืชในท้องที ่ต่าง ๆที่ทำการสำรวจ<br />

2. เพื่อเก็บตัวอย่างไว้เป็นหลักฐานอ้างอิง ไว้เทียบเคียงในการตรวจวิเคราะห์หาชื่อพรรณไม้ในครั้งต่อไป<br />

3. เพื่อเป็นการทราบถึงจำนวนประชากร ถิ่นกำเนิด และเขตการกระจายพันธุ์ ของพรรณไม้ต่าง ๆ ด้วย<br />

4. เป็นการรวบรวมจำนวนพรรณพฤกษชาติของประเทศไทย ว่ามีจำนวนทั้งสิ้นกี่ชนิด<br />

ในการสำรวจและเก็บตัวอย่างพรรณไม้ มีอุปกรณ์ที ่จำเป็นต้องใช้ดังนี้<br />

1. แผงอัดพรรณไม้ พร้อมด้วยเชือกรัด แผงนี้อาจทำง่าย ๆ ด้วยไม้ไผ่ โดยผ่าเป็นซีกแล้วสานแบบขัดแตะ<br />

หรืออาจทำด้วยไม้อื ่น หรือทำด้วยลวดเหล็กอื่น ๆ ก็ได้ เพื่ออัดพรรณไม้ให้เรียบอยู่ตัว ไม่หงิกงอเมื่อแห้ง แผงนี้มี<br />

ขนาดประมาณ 12 นิ้ว x 18 นิ้ว หนึ่งคู่ ประกอบเป็น 1 แผง (ภาพที่ 5) ในการเก็บพรรณไม้ตามท้องที ่ เพื่อเป็นการ<br />

ประหยัดและทุ่นแรงงาน ควรใช้ไม้ไผ่ เพราะหาได้ง่ายมีอยู่ทั่วไปประกอบกับนำ้ำหนักเบา แม้จะไม่เป็นการถาวร แต่<br />

ก็ได้ประโยชน์ดีเช่นเดียวกับแผงที ่ทำด้วยลวดเหล็ก<br />

2. กระดาษอัดพรรณไม้ ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ในการประกอบอัดพรรณไม้ในแผง เพื ่อกระดาษจะได้ดูด<br />

ซึมความชื้นจากพรรณไม้<br />

3. กรรไกรตัดกิ่ง ใช้ตัดกิ่งไม้และตกแต่งกิ่งเมื่ออัด ในการเก็บพรรณไม้ควรมีมีดคม ๆติดไปด้วย ขณะที่เก็บ<br />

พรรณไม้จากต้นแล้ว นอกจากนี้พลั่วมือบางครั้งจำเป็นสำหรับการขุดพรรณไม้ที่ต้องการทั้งรากหรือหัวใต้ดินด้วย<br />

4. ถุงพลาสติกสำหรับใส่พรรณไม้เมื ่อเก็บจากต้นแล้วขณะเดินป่า จะป้องกันพรรณไม้เหี ่ยวแห้งก่อนอัดใน<br />

แผงได้อย่างดี<br />

5. ดินสอดำอย่างดี ในการบันทึกข้อความควรใช้ดินสอดำดีกว่าปากกา เพราะเวลาฝนตกเปียกนำ้ำจะไม่<br />

เปรอะเปื้อนหรือจางไป<br />

6. สมุดบันทึก อาจทำสมุดพิเศษที่ออกแบบสำหรับการเก็บพรรณไม้โดยเฉพาะ (ภาพที่ 1)<br />

Locality<br />

Altitude<br />

Local name<br />

Notes<br />

Collector<br />

Date<br />

No.<br />

ภาพที่ 1 สมุดบันทึกที่ออกแบบสำหรับการเก็บพรรณไม้<br />

23<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


่<br />

24 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

รายละเอียดในการบันทึก มีดังนี้<br />

1. ท้องที่ที่เก็บ (locality) โดยระบุจังหวัด อำเภอ ตำบล ท้องที ่ป่า ฯลฯ<br />

2. ความสูงจากระดับนำ้ำทะเล (altitude) ใช้เครื่องวัดความสูงจากระดับนำ้ำทะเลวัด ขณะที่เก็บพรรณไม้<br />

จากระดับนั้น ๆ<br />

3. วันที ่ (date) หมายถึงวันที่ที่เก็บพรรณไม้นั้น จะทำให้ทราบถึงฤดูกาลการออกดอกออกผลของ<br />

พรรณไม้นั้น ๆ ด้วย<br />

4. ชื่อพื้นเมือง (local name หรือ vernacular) คือ ชื่อที่เรียกพรรณไม้นั้นในท้องที่นั้น ๆ ควรสอบถามชื่อจาก<br />

ชาวบ้านแถบนั้น<br />

5. บันทึก (notes) ควรบันทึกดังต่อไปนี้<br />

5.1 ชนิดป่า เช่น ป่าดิบ ป่าผลัดใบ ป่าชายเลน ฯลฯ ขึ้นตามสันเขาหุบเขา ริมห้วย<br />

5.2 จำนวนประชากรพืชว่ามีมากน้อยเพียงใด<br />

5.3 ลักษณะของพรรณไม้ ตั้งแต่ลักษณะของลำต้น ใบ ดอก ผล โดยมีรายละเอียดดั้งนี้ คือ<br />

- วิสัยพืช เป็นไม้ต้น ไม้พุ่ม ไม้เลื้อย หรือไม้ล้มลุก บอกส่วนสูงโดยประมาณ ถ้าเป็นไม้ต้นบอก<br />

ขนาดโตวัดรอบต้นสูงจากดิน 1.30 ม. ไว้ด้วย<br />

- ลำต้น ตรง คด มีพูพอน รากคำ้ำจุน ฯลฯ<br />

- เปลือก บันทึกเป็นสองลักษณะ<br />

1. เปลือกชั้นนอกสีอะไร เรียบ ขรุขระ แตกเป็นร่อง หรือล่อนเป็นสะเก็ด ฯลฯ<br />

2. เปลือกชั้นในเมื่อสับดูสีอะไร มีกลิ่นอย่างไร มีนำ้ำยางหรือไม่ ถ้ามีสีอะไร ข้น หรือใส<br />

- ใบ ตามปกติลักษณะของใบย่อมบ่งชัดอยู่ในตัวเองแล้ว ข้อที ่ควรบันทึกก็คือ สีของใบอ่อนและ<br />

ใบแก่ที่จวนจะร่วง หรือหากมีข้อสังเกตอื่นที่เมื่อใบแห้งแล้วจะมองไม่เห็นก็ให้บันทึกไว้ด้วย<br />

- ดอก สีของดอก กลิ่น ดอกไม้บางชนิดไม่มีกลิ ่น แต่อาจมีแมลงตอมอยู่ ก็ควรบันทึกไว้ด้วย<br />

- ผล ส่วนมากผลไม้เมื่ออ่อนสีเขียว หากเป็นสีอื่น ก็ควรบันทึกไว้ด้วย แต่เมื่อแก่หรือสุกจะมีสี<br />

ต่างจากสีของผลอ่อน ต้องบันทึกไว้ นอกจากนี้ก็มีกลิ่นและรส รับประทานได้หรือไม่ หรือเป็นพิษ<br />

- ประโยชน์ หากทราบว่ามีการใช้ประโยชน์จากส่วนใดส่วนหนึ่งของพรรณไม้นี้ ควรบันทึกไว้ด้วย<br />

6. ชื่อผู้เก็บและหมายเลข (Collector No.) ให้ลงชื่อผู้เก็บและหมายเลขเรียงตามลำดับไว้ ผู้เก็บแต่ละคนใช้<br />

หมายเลขของตนติดต่อกันไปไม่ว่าจะเดินทางไปเก็บในท้องที ่ใด เช่น สมศรี เจริญชัย 1 หรือ S. Charoenchai 1<br />

เป็นต้น<br />

วิธีเก็บตัวอย่างพรรณไม้<br />

การตรวจหาชื ่อพรรณไม้ (Identification) นั้น ต้องอาศัยลักษณะต่าง ๆ ของใบ ดอก และผล เป็นหลัก<br />

สำคัญ ส่วนมากตรวจจากส่วนประกอบต่าง ๆ ของดอก คือ จำนวนลักษณะ ขนาดของเกสรเพศผู้ และเกสรเพศเมีย<br />

รังไข่ กลีบดอก และกลีบเลี้ยง และลักษณะขนาดของผล พืชบางชนิดมีลักษณะเด่นชัด สามารถตรวจหาชื ่อได้<br />

(identify) เพียงแต่เห็นใบ บางชนิดต้องตรวจถึงดอกด้วย แต่บางชนิดตรวจจากใบและดอกเท่านั้นยังไม่พอ ต้อง<br />

อาศัยลักษณะของผลช่วยด้วยจึงจะหาชื ่อได้ ดังนั้นในการเก็บตัวอย่างพรรณไม้ จึงต้องพยายามเก็บให้ได้ตัวอย่างที<br />

สมบูรณ์ คือ มีครบทั้งใบ ดอก และผล เพื่อสะดวกในการตรวจหาชื่อ วิธีเก็บตัวอย่างพรรณไม้นั้น แล้วแต่ประเภทของ<br />

พรรณไม้<br />

ประเภทไม้ต้น ไม้พุ่ม หรือไม้ล้มลุกบางชนิด เก็บแต่เฉพาะกิ<br />

่งที ่มีดอก หรือผลที่ติดกับใบ<br />

ขนาดยาวประมาณ 1 ฟุต (ภาพที่ 3A) หากช่อดอกหรือใบมีลักษณะยาวเกินหน้ากระดาษอัดก็ควรหักพับให้พอดี ไม่<br />

ต้องตัดทิ้ง เพราะจะได้ทราบขนาดที ่แท้จริง ควรเก็บใบ ดอก ผล และเนื้อไม้จากต้นเดียวกัน ข้อควรสังเกตคือ<br />

1. ใบ เลือกเก็บแต่ใบที ่สมบูรณ์ไม่ถูกแมลงหรือสัตว์กัดทำลาย หรือใบเป็นโรคหงิกงอ ไม่ควรเก็บใบที่เกิด<br />

ตามหน่อหรือแตกจากตอ หรือกิ่งที่ถูกตัดไป เพราะมักจะมีขนาดสัดส่วนผิดไปจากปกติ ควรเป็นใบที ่แก่จัด และเก็บ<br />

มาทั้งช่อ ไม่ใช่เด็ดมาเป็นใบ ๆ ถ้าเป็นใบประกอบ เช่น ใบของเงาะ ลำใย ตาเสือ หรือยมหิน ฯลฯ ก็ต้องเก็บตลอด<br />

ความยาวของกิ ่งใบใหญ่ พร้อมทั้งใบย่อยครบทุกใบ (ภาพที ่ 2)<br />

2. ดอก เก็บเป็นช่อ ควรเก็บให้ได้ทั้งดอกตูมและดอกบานเต็มที ่แล้ว แต่ไม่ใช่ดอกที ่ร่วงหล่นจากต้น และ<br />

เก็บช่อดอกที่ติดกับใบด้วย<br />

3. ผล เก็บให้ติดกับใบเช่นกัน ควรเก็บให้ได้ทั้งผลอ่อนและผลแก่จัด ซึ่งติดอยู่บนต้น ไม่ควรเก็บผลที่หล่น<br />

อยู่ใต้ต้น ถ้าผลเป็นผลแห้งขนาดใหญ่ เช่น ผลกะเบา นุ่น ช้างแหก สะบ้า หรือผลสด เช่น มะม่วง ตังหน ก็ให้ตากแห้ง<br />

แล้วติดป้ายหมายเลขให้ตรงกับหมายเลขของตัวอย่างใบและดองไว้ ผลสดนี้อาจตากแห้งโดยผ่านผ่าครึ ่งตามยาว<br />

เพื่อรักษารูปทรงของผลนั้นไว้ หรืออาจใช้ดองในขวดที ่ใส่แอลกอฮอล์ 70 % และติดป้ายที่ขวดไว้เช่นกัน<br />

ประเภทไม้ล้มลุกต้นเล็ก ๆ เช่น หญ้า หรือพวกพืชชั้นตำ่ำอื่น ๆ เช่น มอสส์ เฟิร์นต้นเล็ก ๆ ให้เก็บทั้งต้นทั้ง<br />

รากถ้ามี (ภาพที ่ 3B)<br />

พรรณไม้ชนิดหนึ่งนั้นให้เก็บตัวอย่างประมาณ 8-3 ชิ้น แล้วแต่กรณี เก็บใส่ถุงพลาสติกเมื่อเวลาเดิน<br />

สำรวจ และนำออกมาอัดในแผงอัดพรรณไม้ ถ้าเป็นไปได้ควรรีบอัด เพื่อพรรณไม้จะคงความเขียว และจัดแต่งง่าย<br />

ใบจะเรียบ แต่ถ้าไม่มีเวลาก็นำมาอัดเมื ่อกลับถึงที่พักในตอนเย็นก็ได้<br />

25<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


26 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

27<br />

ภาพที่ 2 การตัดกิ ่งต้องตัดให้ก้านใบติดกับส่วนของลำต้น A. ใบเดี่ยว (simple leaf), B. ใบประกอบแบบขนนก<br />

(pinnate leaf); C. ใบประกอบแบบนิ้วมือ (palmate leaf)<br />

ภาพที่ 3 A. เก็บตัวอย่างที่สมบูรณ์มีทั้งใบ ดอก หรือผล; B. เก็บตัวอย่างพืชล้มลุก เช่น หญ้า มอสส์ และพืชขนาดเล็ก<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


่<br />

28 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

วิธีอัดแห้งพรรณไม้<br />

เมื่อได้เก็บพรรณไม้โดยตัดกิ<br />

่งจากต้นที ่ต้องการแล้ว ก็เขียนชื ่อผู้เก็บพร้อมหมายเลขลงบนป้ายติดไว้กับ<br />

พรรณไม้ และบันทึกข้อความต่าง ๆ ลงในสมุดบันทึก ในการอัดจะจัดเรียงตัวอย่างพรรณไม้วางลงในหน้ากระดาษ<br />

หนังสือพิมพ์ซึ ่งพับเป็นคู่ ๆ จัดให้ขนาดพอดี อย่าให้เกินหน้ากระดาษและแผงอัด ถ้าใหญ่เกินแผงให้หักพับบ้าง เรียง<br />

ให้ใบควำ่ำบ้างหงายบ้าง (ภาพที่ 4) เพื่อจะได้เห็นลักษณะของใบทั้งสองด้านขณะแห้งแล้ว แล้วพลิกกระดาษแผ่นที<br />

เป็นคู่นั้นปิดทับลงไป ระหว่างพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ๆ นั้นให้สอดกระดาษลูกฟูกขั้นไว้เพื ่อช่วยให้ความชื้นระเหยออกไป<br />

ได้เร็ว เสร็จแล้วก่อนผิดแผง ใช้กระดาษลูกฟูกปิดทับทั้งสองด้ านและผูกมัดไว้ให้แน่น เพื่อเวลาแห้งพรรณไม้จะได้เรียบ<br />

แผงหนึ่ง ๆ อัดพรรณไม้ได้หลายตัวอย่าง (ภาพที ่ 5)<br />

นำแผงที่อัดแล้วนี้ตากแดด โดยให้วางตั้งแผงขึ้นทางใดทางหนึ่ง อย่าวางนอนตามด้านราบ ทั้งนี้เพื่อให้<br />

ความชื้นในพรรณไม้ได้ระเหยได้ง่าย การตากแดดพรรณไม้มักจะแห้งช้า ฉนั้นต้องหมั่นเปิดออกตรวจ เพราะบางที<br />

อาจมีแมลงกัดกินดอกใบอยู่ ก็เก็บออกเสีย และเปลี ่ยนกระดาษใหม่ เอากระดาษที่ชื้นออก เพื่อช่วยให้แห้งเร็วขึ้น<br />

การตากแดดนี้หากมีแดดและเอาใจใส่ดีประมาณ 3 วัน พรรณไม้ก็จะแห้ง และมีสีสดเกือบเหมือนธรรมชาติ<br />

ถ้าในท้องที ่ใดไม่มีแสงแดด เช่น ไปตั้งที ่พักในป่าดิบ หรือในฤดูฝน การทำให้พรรณไม้แห้งต้องอาศัยความ<br />

ร้อนจากไฟช่วย ต้องทำร้านย่างสูงจากดินประมาณ 1 เมตร การตั้งแผงก็ทำเช่นเดียวกันกับการตากแดด การใช้ไฟ<br />

ย่างต้องเอาใจใส่ดูแลอยู่เสมอ เพราะไฟอาจไหม้ติดกระดาษหรือแผงพรรณไม้ไหม้เกรียมเสียหมด ต้องคอยหมั่น<br />

กลับแผง และใช้ไฟให้พอเหมาะอย่าแรงเกินไป เมื่อแห้งสนิทแล้วก็เลิกย่างได้ ถ้าไปในที่มีไฟฟ้าเข้าถึงสมควรจะเอา<br />

เตาอบพรรณไม้ชนิดเคลื่อนที่ติดไปด้วย ใช้หลอดไฟเป็นอุปกรณ์ทำความร้อน ตามวิธีนี้พรรณไม้จะแห้งเร็วมาก<br />

เป็นการทุ่นเวลาและแรงงานมาก ตัวอย่างพรรณไม้เมื ่อทำให้แห้งได้ที่ดีแล้ว<br />

ก็เก็บรวบรวมเข้ากล่องที ่พร้อมจะ<br />

ดำเนินการตรวจหาชื ่อต่อไป<br />

วิธีอาบน้ำยาพรรณไม้<br />

พรรณไม้ที ่อบหรือผึ่งแห้งเสร็จแล้วนั้น ถ้าจะเก็บไว้นาน ๆ เป็นเวลาหลายสิบปี ก็จะต้องนำพรรณไม้แห้ง<br />

เหล่านั้นไปอาบนำ้ำยากันแมลงเสียก่อน มิฉะนั้นแล้วเพียงเวลาไม่เกิน 2 ปีแมลงจะกัดทำลายเสียหายหมด นำ้ำยาที่ใช้<br />

อาบที่หอพรรณไม้ กรมป่าไม้ ใช้อยู่ในปัจจุบันมีส่วนผสมดังนี้<br />

วิธีอาบ<br />

1. Mercuric chloride 250 มิลลิลิตร<br />

2. Phenol 50 มิลลิลิตร<br />

3. Alcohol 90% 10 ลิตร<br />

เอานำ้ำยาที่ผสมและคนเข้ากันดีแล้ว ใส่ลงในภาชนะที ่ปากกว้าง ๆ เช่น กะละมัง หรืออ่างพลาสติก เป็นต้น<br />

เอาปากคีบหนีบพรรณไม้จุ่มลงในนำ้ำยา พยายามกดให้เปียกนำ้ำยาทั่วถึงกัน แช่ไว้ประมาณครึ่งนาที<br />

แล้วคีบ<br />

พรรณไม้ออกวางบนกระดาษหนังสือพิมพ์เดิมที่วางซ้อนอยู่บนกระดาษลูกฟูก ทำเช่นนี้ไปเรื ่อย ๆ จนหมดพรรณไม้<br />

ที่จะอาบ แล้วแบ่งมัดเป็นแผง ๆ เอาเข้าอบอีกครั้งหนึ่งจนแห้งสนิท<br />

29<br />

ภาพที่ 4 A. การจัดเรียงตัวอย่างพรรณไม้ลงในกระดาษและแผงอัด 1. เล็มใบทิ้งบางส่วน 2. พับใบ 3. ตัดตัวใบทิ้งแต่<br />

เหลือส่วนโคนไว้ 4. ตัดกิ ่งทิ้ง; B. พับกิ่งเพื่อให้พอดีกับกระดาษ; C. ตัดใบที ่บังดอกหรือผลออก<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


30 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

31<br />

ภาพที่ 5 แผงอัดพรรณไม้ที ่มัดเรียบร้อยแล้ว<br />

ข้อควรระวังในการอาบนำ้ำยา พยายามอย่าให้ส่วนใดส่วนหนึ ่งของร่างกายถูกนำ้ำยาเป็นอันขาด เวลาอาบ<br />

นำ้ำยาควรใส่ถุงมือยาง และมีผ้ากรองอากาศหรือหน้ากากสวมป้องกันพิษ ในขณะอาบนำ้ำยาพรรณไม้ดอกเล็ก ๆ<br />

มักจะร่วงหล่น จะต้องใช้ปากคีบใส่ซองกระดาษแล้วสอดไว้กับพรรณไม้ชนิดนั้นให้หมด สำหรับพรรณไม้แห้งที ่จะ<br />

นำเข้าเก็บในพิพิธภัณฑ์พรรณไม้ จำเป็นต้องทำการเก็บหรือประกอบพรรณไม้ติดกับกระดาษ<br />

วิธีเย็บพรรณไม้<br />

พรรณไม้ที ่อาบนำ้ำยาและอบแห้งดีแล้ว ถ้าต้องการเก็บไว้เป็นตัวอย่างอ้างอิง จะเก็บด้วยการหุ้มกระดาษ<br />

อ่อนนั้น ย่อมจะไม่สะดวกแก่การนำเข้าๆ ออก ๆ ในการตรวจดูภายหลัง เพราะพรรณไม้ยิ ่งเก็บไว้นานก็จะยิ ่งเปราะ<br />

หักง่าย ฉะนั้นก่อนเก็บก็ต้องนำพรรณไม้มาประกอบติดกับกระดาษแข็ง ให้มีความหนาประมาณ 300 แกรม ขนาด<br />

27 x 42 ซม. เสียก่อนชิ้นพรรณไม้ที่จะเอามาประกอบติดกับกระดาษแข็ง จะต้องเลือกเอาชิ้นที่สมบูรณ์ที<br />

่สุด ให้มี<br />

พร้อมทั้งใบ ดอกหรือผล แล้ววางลงบนกระดาษแข็ง เอาด้ายเย็บพรรณไม้ให้ติดกับกระดาษอีกทีหนึ่ง ถ้าไม่ใช้ด้าย<br />

อาจใช้กาวทาติดกับกระดาษ หรือใช้กระดาษชิ้นเล็ก ๆ ทากาวติดก็ได้ แต่การทากาวติดนี้มีข้อเสียคือ เมื่อเก็บไว้นาน ๆ<br />

จะทำให้กระดาษที่ทากาวยึดพรรณไม้ไว้กับกระดาษแข็งล่อนหรือฉีกขาดได้ ทำให้พรรณไม้หลุดจากกระดาษแข็ง ส่วน<br />

ดอกหรือผลที ่ร่วงจะต้องเอาใส่ซองกระดาษติดไว้ที ่กระดาษแข็งนั้นด้วย ที่มุมด้านล่างของกระดาษให้ติดป้ายแสดง<br />

รายละเอียดต่าง ๆ ที ่จดบันทึกไว้ในขณะเก็บพรรณไม้ไว้ด้วย (ภาพที ่ 6)<br />

ภาพที่ 6 เลือกพรรณไม้ชิ้นที่สมบูรณ์จัดเรียงบนกระดาษแข็งแล้วเก็บ A. ติดกระดาษบันทึก B. ดอกหรือผลที่ร่วง<br />

เอาใส่ซองกระดาษแข็งอีกทีหนึ่ง; C. พืชขนาดเล็ก นำบางชิ้นมาเย็บติดส่วนที ่เหลือเก็บไว้ในซองกระดาษ<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


่<br />

32 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

3<br />

โครงสร้างภายนอกของพืช<br />

การจำแนกชนิดพืชดอก (Amgiosperms) นั้น ใช้ลักษณะโครงสร้างของดอกและผลเป็นหลัก นอกจากนี้<br />

ลักษณะต่าง ๆ ที่เด่นชัดของพืช ก็เป็นลักษณะที ่สนับสนุนการจำแนกชนิดได้ ถึงแม้ลักษณะบางลักษณะเราคิดว่าจะ<br />

ไม่ใช่ลักษณะสำคัญ แต่ลักษณะเหล่านี้ก็เป็นลักษณะสำคัญของพืชบางวงศ์ เช่น ลักษณะพืชที่เป็นไม้ต้น ไม้พุ่ม หรือ<br />

ไม้ล้มลุก พืชในอันดับ Amentiferae นั้น พืชต่างก็เป็นไม้ต้นเนื้อแข็งแทบทั้งสิ้น ดังนั้นถ้าเรามีตัวอย่างพืชที่เป็นไม้พุ่ม<br />

ละไม้ล้มลุก ก็สรุปได้เลยว่าไม่ใช่พืชที่อยู่ในอันดับ Amentiferae แน่นอน นอกจากนี้ลักษณะโครงสร้างภายนอกของ<br />

พืชนี้ยังได้นำมาใช้บรรยบายรูปพรรณสัณฐานของพืช ใช้จำแนกพืชออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ เช่น วงศ์ (family) สกุล<br />

(genus) ชนิด (species) โดยดูจากลักษณะที ่คล้ายกันหรือลักษณะที่แตกต่างกัน การเรียนรู้ถึงลักษณะโครงสร้าง<br />

ภายนอกของพืชจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการศึกษาด้านอนุกรมวิธาน<br />

ลำต้น (stem)<br />

ลำต้น ประกอบด้วย<br />

ลักษณะโครงสร้างภายนอกของพืชเรียงตามลำดับ มีดังต่อไปนี้<br />

ข้อ (node) คือรอยต่อเป็นระยะ ๆ<br />

ปล้อง (internode) คือส่วนของลำต้นระหว่างข้อ<br />

ลำต้นของพืชดอกจะแตกต่างกันที ่ขนาดอายุ และลักษณะที่ปรากฏให้เห็นเรียกว่า วิสัยของพืช (plant<br />

habit) ทำให้แบ่งพืชออกได้ดังนี้<br />

ไม้ล้มลุก (herb) มีลำต้นอ่อนนุ่ม เนื่องจากประกอบด้วยเนื้อเยื<br />

่อที่เป็นเนื้อไม้เพียงเล็กน้อย ลำต้น<br />

จะตายไปเมื่อหมดฤดูเจริญเติบโต แบ่งย่อยเป็น<br />

ตายไป<br />

-พืชปีเดียว (annual) พืชมีอายุได้ 1 ปี ดดยจะมีวงจรชีวิตที่สมบูรณ์ภายใน 1 ปี หรือ 1 ฤดูกาลแล้ว<br />

- พืชสองปี (biennial) พืชมีอายุได้ 2 ปี ขะออกดอกในปีที ่ 2 โดยมีการเจริญเติบโตที ่ไม่เกี่ยวกับ<br />

การสืบพันธุ์ในปีที ่หนึ่ง<br />

- พืชหลายปี (perennial) พืชมีอายุได้หลายปีและมักจะอกดอกทุกปี<br />

ไม้พุ่ม (shrub) เนื้อแข็ง ขนาดเล็กหรือขนาดกลาง มักมีหลายลำต้น แต่ไม่มีลำต้นหลัก เช่น ทรง<br />

บาดาล กระถิน ฯลฯ<br />

ไม้ต้น (tree) เนื้อแข็ง สูง มีลำต้นหลักเพียงหนึ่งเห็นได้ชัด เช่น ประดู่ อินทนิล มะขาม ฯลฯ<br />

ไม้เถา (climber) ลำต้นมีได้ทั้งที่เป็นเนื้ออ่อน (herbaceous) และเนื้อแข็ง (woody) ลำต้นมักจะเล็ก<br />

เรียว เลื้อยพันกับไม้อื่นเพื่อพยุงลำต้น เช่น พวงชมพู รสสุคนธ์ ฯลฯ<br />

33<br />

ลำต้นนอกจากเป็นที ่ติดของใบและดอกแล้ว ลำต้นอาจเปลี ่ยนรูปร่างและหน้าที่ไปได้ ซึ่งมีทั้งลำต้นบนดิน<br />

และลำต้นใต้ดิน ดังนี้ คือ<br />

ลำต้นบนดิน (aerial stem) ลำต้นของพืชส่วนมากจะเจริญอยู่บนดิน แยกเป็นชนิดต่าง ๆ คือ<br />

-ไหล (stolon, runner) ลำต้นจะทอดราบไปตามพื้นดิน มีปล้องยาว ราก ใบ ดอก เกิดที่ข้อ เช่น บัวบก<br />

- ลำต้นคล้ายใบ (phylloclade) ลำต้นที ่มีลักษณะและทำหน้าที่คล้ายใบ มีสีเขียว เช่น สลัดได<br />

- มือพัน (stem tendril) ลำต้นเปลี่ยนไปทำหน้าที<br />

่เกาะหรือยึดกับสิ่งที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ตำลึง พวงชมพู<br />

ฟักทอง องุ่น ฯลฯ<br />

ลำต้นใต้ดิน (subterranean stem) พืชบางชนิดมีลำต้นอยู่ใต้ดิน ทำหน้าที่เก็บสะสมอาหาร<br />

ส่วนมากมักมีปล้องสั้น ๆ แยกเป็นชนิดต่าง ๆ คือ<br />

-เหง้า (rhizome) ลำต้นมักขนานไปกับพื้นดิน มีปล้องและข้อสั้น ๆ มีใบเกล็ด (scale leaf) คลุมที่ข้อ มีตาที<br />

ข้อ ซึ่งจะเติบโตเป็นใบและแทงขึ้นสู่พื้นดิน เช่น ขิง ข่า ขมิ้น ฯลฯ<br />

- หัวแบบมันฝรั่ง (tuber) ลำต้นสูงใหญ่มีตา (bud) โดยรอบ เช่น มันฝรั่ง ฯลฯ<br />

- หัวแบบเผือก (corm) ลำต้นอวบอ้วน บริเวณส่วนกลางมักพองโต มีข้อและปล้องสั้น ๆ มีใบ เกล็ดหุ้มที่<br />

ข้อ เช่น แห้ว ฯลฯ<br />

- หัวแบบหอม (bulb) ลำต้นตรง ตามปล้องมีใบเกล็ดซ้อนกันหลายชั้นหุ้มลำต้นไว้ บางส่วนอาจพ้นดินขึ้น<br />

มาบ้าง ใบเกล็ดด้านนอกจะบางเพราะไม่มีอาหารสะสมไว้ ส่วนในสุดเป็นลำต้นที ่แท้จริง มีข้อและปล้องสั้น ๆ มีราก<br />

งอกออกมาด้วย เช่น หัวหอม กระเทียม พลับพลึง เป็นต้น<br />

ราก (root)<br />

ชนิดของ ราก แบ่งออกได้ดังนี้ คือ<br />

1. รากแก้ว (primary root หรือ tap root) เป็นรากแรกของพืชที่งอกจากมล็ดและหยั่งลึกลงไปในดินทาง<br />

แนวดิ่งทำให้ต้นไม้ยืนต้นอยู่ได้<br />

2. รากแขนง (secondary root หรือ lateral root) เป็นรากที่แตกแขนงจากรากแก้ว แผ่ออกไปตามแนวระดับ<br />

รากที่เกิดตามใบหรือตามลำต้นทำหน้าที<br />

่ต่าง ๆ กัน ได้แก่<br />

3. รากพิเศษ (adventitious root) เป็นรากที่เกิดตามใบหรือตามลำต้น ทำหน้าที่ต่าง ๆ กัน<br />

นอกจากนี้ยังมีรากที่ดัดแปลงไป (modified root) คือ<br />

- รากคำ้ำจุน (prop root) เป็นรากที ่แตกจากข้อของลำต้นที ่อยู่เหนือพื้นดินแล้วพุ่งลงสู่ดินเพื่อคำ้ำ<br />

ยันลำต้น เช่น โกงกาง เตย ไทรย้อย<br />

- รากสังเคราะห์แสง (photosynthetic root) เป็นรากที ่แตกจากลำต้นหรือกิ่งห้อยอยู่ในอากาศ<br />

ส่วนปลายสีเขียว สังเคราะห์แสงได้ เช่น กล้วยไม้<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


34 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

35<br />

- รากหายใจ (pneumatophore) เป็นรากที่แทงตั้งฉากขึ้นมาจากผิวดินเพื่อทำหน้าที่หายใจ เช่น<br />

ลำพู ลำแพน ประสัก<br />

พลู พริกไทย<br />

ตา (bud)<br />

ใบ (leaves)<br />

- รากเกาะ (climbing root) เป็นรากที่แตกออกมาจากข้อของลำต้น เกาะหลัก เสา หรือไม้อื่น เช่น<br />

- รากสะสมอาหาร (shorage root) เป็นรากที ่มีลักษณะอวบ อุ้มนำ้ำ เช่น กระชาย แครอท<br />

ตา ของต้นพืช แบ่งตามตำแหน่งที ่เกิดได้ ดังนี้<br />

-ตายอด (terminal bud) เป็นตาที ่ปลายสุดของลำต้นหรือกิ ่ง<br />

-ตาข้าง (lateral bud หรือ axillary bud) เป็นตาที ่อยู่ด้านข้างของลำต้น หรืออยู่บริเวณง่ามใบ<br />

นอกจากนี้ตายังแบ่งการพัฒนาไปเป็นส่วนต่าง ๆ ของพืชได้ คือ<br />

ใบ ประกอบด้วย<br />

- ตาใบ (leaf bud) เป็นตาที ่เจริญไปเป็นใบ<br />

- ตาดอก (flower bud) เป็นตาที ่เจริญไปเป็นดอก<br />

- ตารวม (mixed bud) เป็นตาที ่มีเนื้อเยื ่อที่จะเจริญไปเป็นทั้งใบและดอก<br />

- แผ่นใบ (blade หรือ lamina)<br />

- ก้านใบ (petiole หรือ leaf stalk) และ<br />

- หูใบ<br />

แผ่นใบ (leaf blade หรือ lamina) ลักษณะเป็นแผ่น มีขนาด รูปร่าง และเนื้อใบแตกต่างกันไป<br />

แผ่นใบประกอบด้วย<br />

1. เส้นกลางใบ (midrib)<br />

2. เส้นใบ (vein)<br />

3. ปลายใบ (apex)<br />

4. โคนใบ (base)<br />

5. ขอบใบ (margin)<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


่<br />

่<br />

36 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

ก้านใบ (petiole) ติดกับแผ่นใบตรงโคนใบ ยกเว้นบางชนิด ก้านใบติดลึกเข้ามาจากโคนใบ เช่น ใบ<br />

บัว เรียกว่า peltate ใบที่มีก้านใบเรียกว่า petiolate ใบไม่มีก้านใบ เรียกว่า sessile พืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด ตอนโคน<br />

ของก้านใบหรือก้านใบทั้งหมดแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น เรียกว่า กาบใบ (leaf sheath)<br />

37<br />

หูใบ (stipules) เป็นรยางค์หนึ<br />

่งคู่ อยู่ที ่โคนก้านใบ ใบอาจจะมีหูใบ เรียกว่า stipulate หรือไม่มีหูใบ<br />

เรียกว่า exstipulate พืชบางชนิดหูใบอาจดัดแปลงไปเป็นหนามซึ ่งเรียกว่า stipular spines<br />

ชนิดของใบ<br />

ใบ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ<br />

1. ใบเดี่ยว (simple leaf) คือ ใบที ่มีแผ่นใบเดียวและมีก้านใบเดียว<br />

2. ใบประกอบ (compound leaves) คือ ใบที่ประกอบด้วยแผ่นใบมากกว่า 1 เรียกใบเหล่านี้ว่า ใบย่อย<br />

(leaflets) ใบประกอบมีหลายแบบ คือ<br />

2.1 ใบประกอบแบบขนนก (pinnately compound leaves) เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยออก 2 ข้าง<br />

ของแกนกลาง (rachis) ซึ่งเป็นส่วนที<br />

่ต่อจากก้านใบ ใบประกอบแบบขนนกนี้ มีทั้งที่เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี<br />

(odd-pinnate หรือ imparipinnate) เช่น ใบประกอบของต้นประดู่ คูน และใบประกอบแบบขนนกปลายคู่<br />

(even-pinnate หรือ paripinnate) เช่น ใบประกอบของต้นลิ้นจี ่ เงาะ<br />

ใบประกอบแบบขนนก แบ่งออกเป็น<br />

2.1.1 ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น (bi-pinnately compound leaves) เป็นใบประกอบ<br />

แบบขนนกที ่แกนกลางแตกแขนงออกเป็นแกนกลางที ่สองแล้วจึงจะมีใบย่อยแบบขนนก<br />

2.1.2 ใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น (tri-pinnately compound leaves) เป็นใบประกอบที<br />

แกนกลางที่ 2 แตกออกเป็นแกนกลางที ่ 3 จึงจะมีใบย่อยแบบขนนก เช่น ปีบ มะรุม<br />

2.2 ใบประกอบแบบนิ้วมือ (palmately compound leaves) เป็นใบประกอบที่ก้านใบย่อยทุกใบ<br />

ออกจากตำแหน่งเดียวกันตรงปลายก้านใบ<br />

เส้นใบ (vein)<br />

การเรียงตัวของเส้นใบ (leaf venation) บนแผ่นใบมี 3 แบบ คือ<br />

1. เส้นใบขนาน (parallel vein) ส่วนมากพบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มี 2 แบบ<br />

- เส้นใบขนานตามความยาวของใบ (longitudinal parallel vein) คือ เส้นใบที ่เรียงขนานกันตั้งแต่<br />

ฐานใบถึงปลายใบ เช่น ใบหญ้า อ้อย ข้าวโพด เป็นต้น<br />

- เส้นใบเรียงขนานกันแบบขนนก (pinnately parallel vein) คือเส้นใบที ่เรียงขนานกันจากเส้น<br />

กลางใบไปสู่ขอบใบ เช่น ใบกล้วย ขิง ข่า พุทธรักษา เป็นต้น<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


38 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

2. เส้นใบร่างแห (netted หรือ reticulated vein) มี 2 แบบ<br />

- เส้นใบร่างแหแบบขนนก (pinnately netted vein) คือ เส้นใบที่แยกจากเส้นกลางใบทั้ง 2 ข้าง<br />

เช่น ใบมะม่วง ขนุน ชบา เป็นต้น<br />

- เส้นใบร่างแหแบบนิ้วมือ (palmately netted vein) คือ เส้นใบที่ออกจากจุดเดียวกันที่โคนใบไป<br />

ถึงปลายใบ เช่น มะละกอ อบเชย ฟักทอง เป็นต้น<br />

รูปร่างใบ (leaf shape)<br />

กว้าง = 3 : 1<br />

เท่า ๆ กัน<br />

3 : 2<br />

ใบ มีรูปร่างต่าง ๆ กันดังนี้ คือ<br />

รูปลิ ่มแคบ (subulate) ใบค่อนข้างสั้น สอบแคบจากโคนใบไปยังปลายใบ<br />

รูปเข็ม (acicular) ใบเล็กแหลมคล้ายเข็ม<br />

รูปแถบ (linear) ใบยาวและแคบ ขอบใบเกือบจะขนานกัน<br />

รูปขอบขนาน (oblong) ใบมีขอบสองข้างขนานกัน ความยาวเป็น 2 เท่าของความกว้าง<br />

รูปใบหอก (lanceolate) ใบรูปคล้ายใบหอก โคนใบกว้างค่อย ๆ แคบสู่ปลายใบ ความยาว : ความ<br />

รูปใบหอกกลับ (oblanceolate) ใบมีรูปร่างคล้ายใบหอกกลับ<br />

รูปรี (elliptic) ใบมีรูปร่างรี ส่วนกว้างที่สุดอยู่ตรงกลางใบ เมื่อแบ่งใบออกเป็น 2 ส่วน จะได้ 2 ข้าง<br />

รูปไข่ (ovate) ใบมีรูปร่างคล้ายไข่ ส่วนกว้างที ่สุดอยู่ตำ่ำกว่ากึ่งกลางใบ ความยาว : ความกว้าง =<br />

รูปไข่กลับ (obovate) ใบมีรูปร่างคล้ายไข่กลับ<br />

รูปสามเหลี่ยม (deltoid) ใบมีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม<br />

รูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด (rhomboid) ใบมีรูปร่างคล้ายสี ่เหลี่ยมข้าวหลามตัด<br />

รูปไต (reniform) ใบมีรูปร่างคล้ายไต<br />

รูปวงกลม (orbicular) ใบมีรูปร่างคล้ายวงกลม<br />

รูปหัวใจ (cordate) ใบมีรูปร่างคล้ายหัวใจ<br />

รูปเคียว (falcate) ใบมีรูปร่างคล้ายเคียวเกี่ยวข้าว<br />

รูปช้อน (spathulate) ใบมีรูปร่างคล้ายช้อน<br />

39<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


40 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

ปลายใบ (leaf apex)<br />

ปลายยาวคล้ายหาง (caudate) ปลายใบค่อย ๆสอบเข้าหากัน แล้วเรียวแหลมยื ่นออกไปคล้ายหาง<br />

โคนใบ (leaf base)<br />

ขอบใบ (leaf margin)<br />

ปลายติ่งแหลม (cuspidate) ปลายใบแหลมเป็นติ ่งแข็ง<br />

ปลายติ่งหนาม (mucronate) คล้าย cuspidate แต่มีติ่งสั้นต่อเนื่องจากเส้นกลางใบแข็ง<br />

ปลายแหลม (acute) ขอบใบทั้งสองด้านสอบเข้าชนกันที ่ปลาย<br />

ปลายเรียวแหลม (acuminate) ปลายแหลมแต่ตรงปลายใบคอดเว้าเข้าเล็กน้อย<br />

ปลายมน (obtuse) ปลายใบมน<br />

ปลายตัด (truncate) ปลายใบตัด<br />

ปลายเว้าบุ๋ม (retuse) ปลายเว้าเป็นแอ่งตื้น ๆตรงกลาง<br />

ปลายเว้าตื้น (emarginate) ปลายเว้าหยักลึก<br />

โคนรูปลิ ่ม (cuneate) โคนใบเรียวสอบมาตรง ๆ แล้วจรดกันคล้ายรูปลิ ่ม<br />

โคนสอบเรียว (attenuate) โคนใบค่อย ๆ เรียวสอบลงมาคล้ายก้านใบมีครีบ<br />

โคนเฉียง หรือ เบี้ยว (oblique) โคนใบไม่เท่ากัน หรือโคนใบเบี้ยว<br />

โคนมน (obtuse) โคนใบมน<br />

โคนตัด (truncate) โคนใบตัด<br />

โคนรูปหัวใจ (cordate) โคนใบรูปหัวใจ<br />

โคนรูปเงี ่ยงลูกศร (sagittate) โคนใบรูปลูกศร<br />

โคนรูปเงี ่ยงใบหอก (hastate) คล้าย sagittate แต่ส่วนโคนจะผายออก<br />

ขอบใบเรียบ (entire)<br />

ขอบใบเป็นคลื ่น (undulate)<br />

ขอบใบหยักหรือมน (crenate)<br />

ขอบใบจักซี ่ฟัน (dentate)<br />

ขอบใบจักฟันเลื ่อย (serrate)<br />

ขอบใบจักเป็นพู (lobed)<br />

41<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


42 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

ขอบใบจักแบบขนนก (pinnatifid)<br />

เนื้อใบ (leaf texture)<br />

ขอบใบแฉกแบบนิ้วมือ (palmatifid)<br />

ใบอวบนำ้ำ (succulent)<br />

ใบคล้ายแผ่นหนัง (coriaceous)<br />

ใบคล้ายกระดาษ (chartaceous)<br />

การเรียงใบ (phyllotaxy)<br />

ห่างเท่ากัน<br />

ใบบางคล้ายเยื่อ (membranaceous)<br />

เรียงสลับ (succulent) ใบเรียงสลับบนกิ่ง ไม่เป็นระเบียบ ช่วงระยะห่างไม่เท่ากัน<br />

เรียงสลับระนาบเดียว (distichous) ใบเรียงสลับระนาบเดียวกันบนกิ่งอย่างมีระเบียบ ช่วงระยะ<br />

เรียงตรงข้าม (opposite) ใบเรียงตรงข้ามกันบนกิ ่งในระนาบเดียวกัน<br />

เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก (decussate) ใบเรียงตรงข้ามกันบนกิ ่ง แต่ละคู่ตั้งฉากซึ่งกันและกัน<br />

เรียงเป็นกระจุก (fasciculate) ใบเรียงเป็นกระจุกบนกิ ่ง<br />

เรียงวงรอบ (whorl) ใบเรียงวงรอบที่จุดเดียวกันบนกิ่ง มากกว่า 2 ใบ ขึ้นไป<br />

สิ่งปกคลุมใบ (indumentum)<br />

เกลี้ยง (glabrous) ผิวใบเรียบเกลี้ยงไม่มีสิ่งปกคลุม<br />

ขนสั้นนุ่ม (pubescent) ผิวใบมีขนสั้นนุ่ม<br />

ขนกำมะหยี ่ (velutinous) ผิวใบมีขนยาวนุ่ม ตรง หนาแน่นคล้ายกำมะหยี ่<br />

ขนสั้นหนานุ่ม (tomentose) ผิวใบมีขนยาวนุ่ม หงิกงอไปกับผิวใบ<br />

ขนหยาบแข็ง (hirsute) ผิวใบมีขนหยาบแข็ง<br />

ขนรูปดาว (stellate) ผิวใบมีขนรูปดาว<br />

หนามเกิดจากผิว (prickly) ผิวใบมีหนามแข็ง ดค้ง คล้ายหนามพุทรา<br />

43<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


44 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

ดอก (flower)<br />

ดอก มีส่วนประกอบ 4 วง คือ<br />

1. วงกลีบเลี้ยง (calyx) ประกอบด้วย กลีบเลี้ยง (sepal)<br />

2. วงกลีบดอก (corolla) ประกอบด้วย กลีบดอก (petal)<br />

3. วงเกสรเพศผู้ (androecium) ประกอบด้วย เกสรเพศผู้ (stamen)<br />

4. วงเกสรเพศเมีย (gynoecium) ประกอบด้วย เกสรเพศเมีย (pistil)<br />

ดอกของพืชที ่มีครบทั้ง 4 วงนี้ เรียกว่า ดอกสมบูรณ์ (complete flower) และดอกที ่ขาดไปวงใดวงหนึ ่งเรียก<br />

ว่า ดอกไม่สมบูรณ์ (incomplete flower) ส่วนดอกที ่มีทั้งเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียอยู่ในดอกเดียวกัน เรียกว่า<br />

ดอกสมบูรณ์เพศ (perfect flower หรือ hermaphrodite) และดอกที่ขาดเพศใดเพศหนึ<br />

่งไป เรียกว่า ดอกเพศเดียว<br />

(unisexual) ดอกเพศเดียวนี้แบ่งออกเป็น<br />

- ดอกเพศผู้ (staminate flower) เป็นดอกที ่มีแต่เกสรเพศผู้ (stamen)<br />

- ดอกเพศเมีย (pistillate flower) เป็นดอกที ่มีแต่เกสรเพศเมีย (pistil)<br />

พวกดอกเพศเดียวนี้ ถ้าดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน เรียกว่า ดอกต่างเพศร่วมต้น<br />

(monoecious plant) เช่น สนทะเล ถ้าดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่คนละต้น เรียกว่า ดอกต่างเพศต่างต้น<br />

(dioecious plant) เช่น สนประดิพัทธ์<br />

สมมาตรของดอก (symmetry of flower)<br />

สมมาตรของดอก แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ<br />

1. ดอกสมมาตรตามรัศมี (actinomorphic หรือ regular flower) คือ ดอกที่เมื่อแบ่งผ่านศูนย์กลาง<br />

แล้วจะได้ 2 ส่วนที่เหมือนกันทุกประการทุกระนาบ<br />

2. ดอกสมมาตรด้านข้าง (zygomorphic หรือ irregular flower) คือ ดอกที่เมื่อแบ่งผ่านศูนย์กลาง<br />

แล้วจะได้ 2 ส่วนที่เหมือนกันทุกประการได้เพียงระนาบเดียว<br />

วงกลีบเลี้ยง (calyx)<br />

ดอกส่วนมากมีวงกลีบเลี้ยง ดอกที่มีกลีบเลี้ยง (sepal) เรียกว่า sepalous flower พืชบางชนิดดอกไม่มีกลีบ<br />

เลี้ยง เรียกว่า asepalous กลีบเลี้ยงนี้บางทีแยกจากกันเป็นอิสระ เรียกว่า polysepalous บางครั้งกลีบเลี้ยงเชื่อมติด<br />

กัน เรียกว่า gamosepalous<br />

45<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


46 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

วงกลีบดอก (corolla)<br />

ดอกมีวงกลีบดอก หรือมีกลีบดอก (petal) เรียกว่า petalous flower ถ้าไม่มีกลีบดอกเรียกว่า apetalous<br />

กลีบดอกอาจแยกจากกันเป็นอิสระ เรียกว่า polypetalous บางครั้งกลีบดอกเชื่อมติดกัน เรียกว่า sympetalous หรือ<br />

gamopetalous<br />

ส่วนดอกบางชนิดทั้งกลีบเลี้ยง (sepal) และกลีบดอก (petal) มีลักษณะเหมือนกันแยกไม่ออก เรียกวงนี้ว่า<br />

วงกลีบรวม (perianth) และเรียกแต่ละกลีบว่า กลีบรวม (tepal)<br />

ดอกที ่ กลีบดอกแยกจากกัน (polypetalous) มีรูปร่างต่าง ๆ กันดังนี้<br />

- รูปกากบาท (cruciform) กลีบดอก 4 กลีบ แต่ละคู่ตั้งฉากกัน เช่น ดอกมะเขือ<br />

- รูปดอกถั่ว (papilionaceous flower) ลักษณะของดอกถั่ว ประกอบด้วยกลีบดอก 5 กลีบ มี<br />

ลักษณะแตกต่างกันคือ มีกลีบกลางใหญ่ เรียกว่า standard เรียงอยู่วงนอกสุด มีกลีบข้าง 1 คู่ เรียกว่า wings และมี<br />

กลีบคู่ล่างเชื่อมติดกันเป็นกระโดง เรียกว่า keel<br />

- รูปดอกหางนกยูง (caesalpinaceous flower) ดอกคล้าย ลักษณะของดอกหางนกยูง กลีบดอก<br />

มี 5 กลีบ 4 กลีบมีรูปร่างคล้ายคลึงกันเรียงอยู่ในวงเดียวกัน ส่วนกลีบบนสุดเรียงอยู่วงในสุด มีขนาดและรูปร่าง<br />

แตกต่างไป<br />

เดียวกัน<br />

ดอกที ่ กลีบดอกเชื่อมติดกัน (gamopetalous) มีรูปร่างต่าง ๆ กันดังนี้ คือ<br />

- รูปวงล้อ (rotate) กลีบดอกเชื่อมติดกันคล้ายรูปล้อ<br />

- รูปดอกเข็ม (salverform) กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวยแคบหรือทรงแจกัน<br />

- รูปกรวย รูปแตร หรือรูปลำโพง (funnelform) กลีบดอกเชื่อมติดกันคล้ายรูปแตรหรือกรวยกว้าง<br />

- รูประฆัง (campanulate) กลีบดอกเชื่อมติดกันคล้ายรูประฆัง<br />

- รูปคนโท หรือ รูปโถ (urceolate) กลีบดอกเชื่อมติดกันคล้ายรูปคนโท หรือหม้อดิน<br />

- รูปหลอด หรือ ท่อ (tubular) กลีบดอกติดกันเป็นรูปหลอดหรือรูปทรงกระบอก<br />

- รูปปากเปิด (bilabitae) กลีบดอกติดกันที่โคน ปลายแยกเป็น 2 ส่วน ลักษณะและขนาดไม่เท่ากัน<br />

การเรียงของกลีบในตาดอก (aestivation)<br />

กลีบดอกหรือกลีบรวมจะมีการเรียงตัวเมื ่ออยู่ในตาดอก ดังนี้ คือ<br />

1. เรียงซ้อนเหลื่อมกัน (imbricate) คือ กลีบดอกหรือกลีบรวมเรียงโดยขอบซ้อนและเหลื ่อมกัน<br />

2. เรียงจรดกัน (valvate) คือ กลีบดอกหรือกลีบรวมเรียงโดยขอบมาจรดกัน<br />

3. เรียงบิดเวียน (convolute หรือ contorted) คือกลีบดอกหรือกลีบรวมเรียงโดยม้วนบิดไปทาง<br />

47<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


48 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

วงเกสรเพศผู้ (androecium)<br />

วงนี้ประกอบด้วยเกสรเพศผู้ตั้งแต่ 1 ถึงจำนวนมาก เกสรเพศผู้ (stamen) ประกอบด้วย<br />

- ก้านชูอับเรณู (filament) เป็นที ่ติดของอับเรณู<br />

- อับเรณู (anther) อาจประกอบด้วย 1 หรือ 2 เซลล์<br />

- ละอองเรณู (pollen grain) อยู่ภายในอับเรณู<br />

เกสรเพศผู้ที ่ก้านชูอับเรณูอาจเชื่อมติดกันเป็นกลุ่มเดียว หรือมัดเดียว เรียกว่า monadelphous เกสรเพศผู้<br />

ที่ก้านชูอับเรณูเชื<br />

่อมติดกันเป็นสองกลุ่ม เรียกว่า diadelphous บางทีเกสรเพศผู้อาจมีอับเรณูติดกัน แต่ก้านเกสร<br />

แยกจากกันเป็นอิสระ เรียกว่า syngenesious นอกจากนี้เกสรเพศผู้อาจจะสั้นยาวไม่เท่ากัน ถ้าเกสรเพศผู้มี 4 อัน<br />

สั้น 2 ยาว 2 เรียกว่า didynamous ถ้าเกสรเพศผู้มี 6 อัน สั้น 2 ยาว 4 เรียกว่า tetradynamous เกสรเพศผู้นี้บางที<br />

ติดอยู่บนกลีบดอกเรียกว่า epipetalous<br />

ก้านชูอับเรณูกับอับเรณูนั้นมีลักษณะการติดกันหลายแบบดังนี้ คือ<br />

- ก้านชูอับเรณูติดที่โคนอับเรณู (basifixed)<br />

- ก้านชูอับเรณูติดที่ด้านหลังอับเรณู (dorsifixed)<br />

- ก้านชูอับเรณูติดที่กลางอับเรณู ทำให้อับเรณูเคลื ่อนไหวได้ (versatile)<br />

วงเกสรเพศเมีย (gynoecium)<br />

วงนี้ประกอบด้วยเกสรเพศเมียตั้งแต่ 1 ถึงหลายอัน เกสรเพศเมีย (pistil หรือ carpel) นี้ประกอบด้วย<br />

- รังไข่ (ovaryX<br />

- ไข่ (ovule) อยู่ภายในรังไข่<br />

- ก้านเกสรเพศเมีย (style)<br />

- ยอดเกสรเพศเมีย (stigma)<br />

ดอกของพืชอาจประกอบด้วย pistil หรือ carpel เดียว เรียกว่า simple pistil แต่มีดอกของพืชหลายชนิด<br />

ประกอบด้วย pistil หรือ carpel มากกว่า 1 อัน และถ้า carpel เหล่านั้นแยกจากกัน เรียกว่า apocarpus แต่ถ้า<br />

ประกอบด้วยหลาย carpel และ carpel เหล่านั้นเชื่อมติดกัน เรียกว่า syncarpous กรณีนี้รังไข่อาจมี 1 ช่อง หรือ<br />

มากกว่า<br />

49<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


50 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

51<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


่<br />

52 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

การติดของไข่ที ่พลาเซนตาภายในรังไข่ (placentatium)<br />

คือ<br />

บริเวณที่ไข่ติดกับผนังรังไข่นั้น เรียกว่า รก (placenta) การติดของไข่ที่พลาเซนตาภายในรังไข่ มีหลายแบบ<br />

1. พลาเซนตาตามแนวตะเข็บ (parietal placentation) คือ ไข่อ่อนที่ติดผนังของรังไข่ตรงรอยต่อที<br />

carpel มาเชื ่อมติดกับรังไข่เป็นแบบ syncarpous ovary ภายในมี 1 ช่อง<br />

2. พลาเซนตารอบแกนร่วม (axile placentation) คือ ไข่อ่อนติดที่แกนกลางของรังไข่ที<br />

่เป็น<br />

syncarpous ovary แต่ภายในมีช่องมากกว่า 1 ช่อง<br />

มีเพียงช่องเดียว<br />

ชนิดของรังไข่<br />

3. พลาเซนตารอบแกน (free-central placentation) คือ ไข่อ่อนที ่ติดแกนกลางของรังไข่ที ่ภายใน<br />

4. พลาเซนตาที ่ฐาน (basal placentation) คือ ไข่อ่อนติดที่ฐานของรังไข่ที<br />

่ภายในมีเพียงช่องเดียว<br />

ชนิดของรังไข่ เป็นลักษณะสำคัญอย่างหนึ ่งที่ใช้ในการจำแนกพรรณพืช แบ่งออกเป็น<br />

ช่อดอก (inflorescence)<br />

- รังไข่เหนือวงกลีบ (superior ovary) เป็นดอกที ่ส่วนต่าง ๆ ของดอกติดอยู่ใต้รังไข่<br />

- รังไข่กึ่งใต้วงกลีบ (half-inferior ovary) เป็นดอกที ่ส่วนต่าง ๆ ของดอกติดอยู่ที่กึ่งกลางรังไข่<br />

- รังไข่ใต้วงกลีบ (inferior ovary) เป็นดอกที ่ส่วนต่าง ๆ ของดอกติดอยู่เหนือรังไข่<br />

ดอกอาจออกเป็น ดอกเดี่ยว (solitary flower) บางครั้งพบดอกออกเป็นช่อ โดยมีดอกมากกว่า 1 ดอก ติด<br />

บนแกนกลางที ่เรียกว่า rachis ช่อดอกมีแบบต่าง ๆ ดังนี้ คือ<br />

- ช่อเชิงลด (spike) ช่อดอกที ่ดอกย่อยไม่มีก้าน<br />

- ช่อกระจะ (raceme) ช่อดอกที ่ดอกย่อยมีก้าน<br />

- ช่อหางกระรอก (catkin) ช่อดอกแบบ spike แต่ดอกมักจะมีเพศเดียว ช่อเกิดบนกิ่งห้อยลง<br />

- ช่อซี่ร่ม (umbel) ช่อดอกที ่ก้านดอกย่อยทุกดอกยาวเท่ากัน และออกจากจุดเดียวกัน<br />

- ช่อกระจุกแน่น (head หรือ capitulum) ช่อดอกที่ดอกอัดแน่นอยู่บนฐานดอกรูปถ้วย หรือรูป<br />

จาน เช่น ช่อดอกทานตะวัน<br />

เดียวกัน<br />

- ช่อกระจุกซ้อน (dichasium) ช่อดอกที่ปลายช่อมีดอกย่อยแตกออกเป็นจำนวน 3 ดอก<br />

- ช่อกระจุก (cyme) ช่อดอกแตกแบบ dichasium ก้านดอกย่อยเจริญขึ้นมาเกือบอยู่ในระดับ<br />

- ช่อแยกแขนง (panicle) ช่อดอกที ่แตกแขนง<br />

53<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


54 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

- ช่อเชิงหลั่น (corymb) ช่อดอกที ่ดอกย่อยส่งก้านยาวออกไปอยู่ในระดับเดียวกัน<br />

- ช่อเชิงลดมีกาบ (spadix) ช่อดอกแบบ spike ที่มีดอกแยกเพศ ติดอยู่กับแกนขนาดใหญ่ มีกาบ<br />

หุ้ม (spathe) ช่อดอก เช่น ช่อดอกหน้าวัว<br />

ผล (fruit)<br />

ผลเจริญมาจากรังไข่หลังจากที ่ดอกได้รับการปฏิสนธิ (fertilization) แล้ว ผนังหรือเนื้อของผลเจริญมาจาก<br />

ผนังของรังไข่ ซี ่งเรียกว่า ผนังผล pericarp ผนังผลนี้แบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ<br />

- ผนังผลชั้นนอก (exocarp) เป็นผิวเปลือกซึ ่งบางทีอ่อน เช่น มะม่วง มะปราง แต่บางทีแข็งและ<br />

เหนียว เช่น มะพร้าว นำ้ำเต้า ฟักทอง<br />

- ผนังผลชั้นกลาง (mesocarp) เป็นชั้นถัดเข้ามาจากเปลือก มักเป็นเนื้ออ่อนนุ่ม เช่น มะม่วง<br />

มะปราง ท้อ บางทีเป็นเส้นเหนียว ๆ เช่น กาบมะพร้าว ตาล จาก<br />

- ผนังผลชั้นใน (endocarp) เป็นชั้นในสุดของผนังผลบางทีแข็ง เช่น กะลามะพร้าว บางทีเป็น<br />

เปลือกหุ้มเมล็ด เช่น มะม่วง มะปราง<br />

ผลบางชนิดบางที ผนังผลชั้นนอก (exocarp) และ ผนังผลชั้นกลาง (mesocarp) รวมติดกันเป็นเนื้อเดียว<br />

เรียกรวมชั้นนี้เป็น exocarp เช่น มะเขือเทศ กล้วย มะละกอ แตงกวา<br />

ติดกันก็ได้<br />

ผล มีหลายประเภท ดังนี้ คือ<br />

1. ผลเดี ่ยว (simple fruit) ได้แก่ ผลที่เกิดจากดอกเดียว ซึ ่งมี carpel เดียว หรือหลาย carpel เชื่อม<br />

2. ผลกลุ่ม (aggregate fruit) ได้แก่ ผลที่เกิดจากดอกเดียว ซึ่งมาจากหลาย carpel แยกจากกัน<br />

(apocarpous) รังไข่แต่ละอันก็เจริญเป็นผลเดี่ยว 1 ผล ซึ่งเบียดติดกันเป็นกลุ่มหรือกระจุก ดูคล้าย ๆ กับว่า เป็นผล<br />

เดียว เช่น น้อยหน่า กระดังงา สตรอเบอรี ่ หวาย<br />

3. ผลรวม (multiple fruit) ได้แก่ ผลที่เกิดจากช่อดอกซึ่งเบียดกันแน่นเมื่อเป็นผล ดูคล้ายผลเดี่ยว<br />

เช่นกัน เช่น ขนุน สาเก ยอ สับปะรด<br />

ผลเดี ่ยว (simple fruit) แบ่งออกเป็นผลชนิดต่าง ๆ ดังนี้ คือ<br />

1. ผลสด (fleshy fruit) เป็นผลเนื้อนุ่ม มีหลายชนิด คือ<br />

- ผลเมล็ดแข็ง (drupe) ผลสดที่มีเมล็ดเพียงเมล็ดเดียว ผนังผลชั้นใน (endocarp) แข็ง<br />

ผนังผลชั้นกลาง (mesocarp) เป็นเนื้อนุ่ม เช่น มะปราง มะม่วง มะกอก พุทรา หรือไม่ก็เป็นเส้นเหนียว ๆ เช่น มะพร้าว<br />

ส่วนที่เรียกว่ากาบ ตาล<br />

- ผลมีเนื้อหลายเมล็ด (berry) ผลสดที่มีหลายเมล็ด ผนังผล (pericarp) ของผลอ่อนนุ่ม<br />

ทั้งหมด ผลสดชนิดนี้แบ่งได้เป็น<br />

- ผลแบบส้ม (hesperidium) ได้แก่ ผลจำพวกส้ม ผนังผล (pericarp) หนา มีต่อมนำ้ำมัน<br />

55<br />

จำนวนมากเยื ่อหุ้มกลีบส้มคือ endocarp เนื้อส้มที ่ใช้รับประทานคือ pulp ซึ ่งเป็นขนสะสมอาหารของ endocarp<br />

- ผลแบบแตง (pepo หรือ gourd) ผลที่มี exocarp แข็งและเหนียว mesocarp และ<br />

endocarp อ่อนนุ่ม ภายในคล้าย berry ได้แก่ ฟัก แตงโม บวบ นำ้ำเต้า<br />

- ผลแบบแอปเปิ้ล (pome) ผลที่มี pericarp บาง ฐานดอกขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นเนื้อ<br />

ของผลส่วนใญ่เกิดจาก inferior ovary ได้แก่ แอปเปิ้ล สาลี ่ ชมพู่<br />

เมล็ด เช่น ผลทานตะวัน<br />

วงศ์หญ้า Gramineae ข้าว<br />

2. ผลแห้ง (dry fruit) แบ่งเป็น<br />

2.1 ผลแห้งแก่ไม่แตก (dry indehiscent fruit) แบ่งออกเป็น<br />

- ผลแห้งเมล็ดล่อน (achene) ผลขนาดเล็ก มี 1 เมล็ด pericarp แห้งและบาง ไม่ติดกับ<br />

- ผลธัญพืช (caryopsis หรือ grain) ผลคล้าย achene แต่ pericarp ติดกับเมล็ด เช่น พืช<br />

- ผลปีกเดียว (samara) ผลมีปีกยาว เช่น พะยุง ยางนา หรือผลมีปีกกลมล้อมรอบ เช่น ประดู่<br />

- ผลเปลือกแข็ง (nut) ผลมีเมล็ดเดียว perticarp แข็งและมัน<br />

- ผลแตกสองครั้ง (schizocarp) ผลที่มาจาก carpel เชื่อมติดกันแต่เมื่อแก่เต็มที่ carpel<br />

จะแยกจากกัน เรียกว่า ซีกผล (mericarp) แต่ละซีกผลจะมีเมล็ด 1 เมล็ด เช่น พืชบางชนิดในวงศ์ชบา Malvaceae<br />

และ วงศ์ผักชี ยี่หร่า Umbelliferae<br />

2.2 ผลแห้งแก่แตก (dry dehiscent fruit) แบ่งออกเป็น<br />

- ฝักแตกแนวเดียว (follicle) ผลเกิดจาก 1 carpel หรือ apocarpous แตกตามรอยตะเข็บ<br />

1 ด้าน มักแตกทางด้านหลัง เช่น สำโรง พุงทะลาย<br />

ตามรอยตะเข็บ 2 ด้าน<br />

- ฝักแบบถั่ว (legume) ผลของพืชวงศ์ถั่ว (Leguminosae) เกิดจาก 1 carpel มักจะแตก<br />

- ฝักแบบผลผักกาด (slilique) เกิดจาก 2 carpel ซึ่งติดกัน เมื่อแก่แตกออกเป็น 2 ซีก<br />

จากก้านไปยังปลายมักมีผนังบาง ๆ กั้นกลางเหลืออยู่ เช่น ต้อยติ ่ง ผักกาดต่าง ๆ<br />

ผลแห้งแตก (capsule) ผลเกิดจาก carpel เชื่อมติดกัน (syncarpous) รังไข่มีมากกว่า 1 ช่อง<br />

ผลชนิดนี้แบ่งออกได้ดังนี้<br />

รอยประสาน<br />

- ผลแตกกลางพู (loculicidal capsule) ผลเมื ่อแก่แตกตรงกลางระหว่างพู เช่น ทุเรียน<br />

- ผลแตกตามรอยประสาน (septicidal capsule) ผลเมื่อแก่แตกตรงผนังกั้นพู หรือ ตรง<br />

- ผลแตกตามขวาง (circumcissile capsule) ผลเมื ่อแก่แตกตามขวาง มีฝาเปิด ผลชนิด<br />

นี้มีหลายเมล็ด หรือ จำนวนมาก<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


56 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

- ผลกระเปาะ (utricle) ผลเมื ่อแก่แตกโดยมีฝาเปิด ผลชนิดนี้ผนังบางและมีเมล็ดเดียว<br />

เมล็ด (seed)<br />

- ผลแตกเป็นช่อง (poricidal capsule) ผลที่แตกเป็นช่องเล็กให้เมล็ดออกที่ปลาย เช่น ฝิ่น<br />

เมล็ด คือ ไข่ (ovule) ที ่เจริญขึ้นมาหลังจากที่ได้รับการปฏิสนธิ (fertilization) ประกอบด้วย<br />

เปลือกเมล็ด (seed coat)<br />

เอนโดเสปิร์ม (endosperm) เป็นเนื้อเยื่อที<br />

่เก็บสะสมอาหารอยู่นอกเอมบริโอ เมล็ดของพืชบาง<br />

ชนิดอาจไม่มี endosperm เรียกเมล็ดชนิดนี้ว่า exalbuminous<br />

เจริญเป็นยอดอ่อน<br />

เป็นลำต้น<br />

เอมบริโอ (embryo) เป็นต้นอ่อนอยู่ในเมล็ด ประกอบด้วย<br />

- ใบเลี้ยง (cotyledon) คือ ใบแรกของต้นอ่อน<br />

- ลำต้นเหนือใบเลี้ยง (epicotyl) คือ ส่วนที่อยู่เหนือใบเลี้ยง ขณะอยู่ในเมล็ดส่วนนี้จะ<br />

- ลำต้นใต้ใบเลี้ยง (hypocotly) คือ ส่วนที่อยู่ใต้ใบเลี้ยง ขณะอยู่ในเมล็ดส่วนนี้จะเจริญ<br />

- รากแรกเกิด (radicle) คือ ส่วนที ่อยู่ล่างสุด จะเจริญเป็นรากอ่อน<br />

57<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


58 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

4<br />

การวิเคราะห์ตัวอย่างพรรณไม้<br />

การวิเคราะห์ตัวอย่างพรรณไม้นั้น อุปกรณ์อย่างง่ายที ่จำเป็นต้องมีก็คือ แว่นขยายขนาด 8 ถึง 10 เท่า มีด<br />

สำหรับใช้ผ่าตัดส่วนต่าง ๆ ของดอก อาจใช้ใบมีดโกนก็ได้ ปากคีบหนึ ่งอัน นอกจากนี้ก็ต้องมีหนังสือ<strong>คู่มือ</strong> (manual)<br />

หรือหนังสือพรรณพฤกษชาติ (flora) โดยเฉพาะอย่างยิ ่งฉบับที่มีรูปวิธาน (key) อยู่ด้วย หนังสือประเภทนี้มีอยู่เป็น<br />

จำนวนมากในห้องสมุดพฤกษศาสตร์ของหอพรรณไม้ กรมป่าไม้<br />

ขั้นตอนการวิเคราะห์พรรณไม้<br />

1. ระดับวงศ์<br />

ขั้นแรกจะต้องแยกพืชชั้นตำ่ำ ในที่นี้จะกล่าวถึงพวกเฟิร์น (Pteridophytes) หรือ พวกที่เกี่ยวข้อง<br />

กับเฟิร์น (Fern allied) ออกจากพืชชั้นสูง คือพืชมีเมล็ด (Spermatophytes) ให้ได้เสียก่อน พืชพวกเฟิร์นซึ ่งเป็น<br />

พืชชั้นตำ่ำนี้จะไม่มีดอกแต่มีสปอร์ เฟิร์นสังเกตได้ง่ายโดยดูลักษณะของใบ ส่วนวงศ์พืชที่เกี<br />

่ยวข้องกับเฟิร์น คือ วงศ์<br />

Selaginellaceae และ Lycopodiaceae (ทั้งสองวงศ์นี้บางครั้งคล้ายกับพวกมอสส์ขนาดใหญ่) Isoetaceae (คล้ายพวก<br />

หญ้า) Psilotaceae และ Equisetaceae (hoesetails) พวกที่เกี<br />

่ยวข้องกับเฟิร์นมีไม่มากชนิด และเมื่อเราได้เจอครั้งหนึ่ง<br />

แล้ว ก็จะจดจำได้ง่ายขึ้น<br />

ขั้นที่สองคือ การสังเกตพวกพืชเมล็ดเปลือย (gymnosperms) ถึงแม้พืชเมล็ดเปลือย gymosperms จะให้<br />

เมล็ด แต่พวกนี้จะไม่มีดอกที่แท้จริง ไข่อ่อนจะไม่มีอะไรห่อหุ้ม (นั่นคือจะไม่อยู่ในรังไข่) โดยทั่วไปอับสปอร์และไข่<br />

อ่อนจะเกิดอยู่ใน strobili หรือโครงสร้างที ่คล้ายโคน (cone) พืชเมล็ดเปลือยมี orders ต่าง ๆ ดังนี้คือ Cycadales<br />

Ginkgoales Coniferae และ Gnetales (ยกเว้นวงศ์ Gnetaceae ซึ่งมีลักษณะคล้ายพืชใบเลี้ยงคู่ (ดูภาพผนวกที ่ 3) เมื่อ<br />

ได้เห็นครั้งหนึ่งแล้วจะจำได้ง่ายขึ้น<br />

ส่วนพืชดอก (Angiosperms) นั้นในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 280 วงศ์ โดยมีตั้งแต่วงศ์ที ่มีพืชชนิดเดียว<br />

(monotypic families) จนถึงพืชวงศ์ใหญ่ ๆ ที่มีสมาชิก 100 กว่าสกุล จำนวน 600-400 ชนิด พืชวงศ์เล็ก ๆ ส่วนมาก<br />

แล้วจะมีเขตการกระจายพันธุ์แคบ ๆ และจะจำได้ต่อเมื ่อผู้ที่สนใจศึกษาพืชในเขตนั้น ๆ ถ้าเราเริ่มต้นจำลักษณะวงศ์<br />

พืชที่เราพบบ่อย ๆ จะเป็นวิธีที่ดีที่สุด พืชในวงศ์เหล่านี้บางทีจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละท้องที ่ ส่วนพืชหลาย<br />

วงศ์ที่มีการแพร่กระจายกว้างขวางพบอยู่ในทุก ๆ ท้องที่ บางพื้นที่พืชบางวงศ์ง่ายต่อการจดจำขณะที<br />

่พืชวงศ์อื่น ๆ<br />

จำได้ยากกว่า แต่เหนือสิ ่งอื่นใดการวิเคราะห์พืชนี้ต้องอาศัยประสบการณ์และการจดจำลักษณะเฉพาะประจำวงศ์<br />

พืชนั้น ๆ<br />

ในพืชดอก (angiosperms) สิ่งแรกที่ต้องแยกให้ออก คือข้อแตกต่างระหว่างพืชใบเลี้ยงคู่ (Dicotyledons)<br />

และพืชใบเลี้ยงเดี ่ยว (Monocotyledons) ลักษณะใหญ่ ๆที ่พอสังเกตได้มีดังนี้<br />

พืชใบเลี้ยงคู่ พืชใบเลี้ยงเดี่ยว<br />

1. ไม้เนื้อแข็ง 1. ไม้เนื้ออ่อน บางครั้งพบเป็นไม้ต้น ได้แก่พวกปาล์ม<br />

และกล้วย<br />

2. ใบโดยทั่วไปมีเส้นใบเป็นร่างแห (netted vein)<br />

ขอบเรียบหรือจัก มักมีก้านใบ หายากที่ก้านใบ<br />

เป็นกาบ มักจะมีหูใบ<br />

59<br />

2. ใบโดยทั่วไปมีเส้นเรียงแบบขนาน ขอบเรียบ หายาก<br />

ที่ มีก้านใบ ก้านใบมักจะแผ่ออกเป็น กาบหุ้มลำต้น<br />

ไม่มีหูใบ<br />

3. ดอกมีส่วนต่าง ๆ 4 หรือ 5 หรือทวีคูณของ4 หรือ 5 3. ดอกมีส่วนต่าง ๆ 4 หรือ 5 รือทวีคูณของ 4 หรือ 5<br />

4. ต้นอ่อนมีใบเลี้ยง 2 ใบ 4. ต้นอ่อนมีใบเลี้ยง 1 ใบ<br />

เมื ่อตัวอย่างที ่มีแยกออกได้แล้วว่าเป็นพืชใบเลี้ยงคู่<br />

ลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้ คือ<br />

หรือใบเลี้ยงเดี่ยว<br />

1. ดูว่าเป็นใบเดี่ยว หรือ ใบประกอบ ถ้าใบประกอบ เป็นใบประกอบชนิดใด<br />

1.1 ใบติดแบบใด ตรงข้าม หรือเรียงสลับ<br />

1.2 ขอบใบเรียบ หรือจัก<br />

1.3 มีหูใบหรือไม่<br />

2. ดูว่าดอกออกที ่ใด และแบบใด<br />

ต่อไปก็ได้พิจารณา<br />

2.1 ดอกเป็นแบบสมมาตรตามรัศมี (actinomorphic) หรือสมมาตรด้านข้าง (zygomorphic)<br />

2.2 กลีบดอกแยก หรือ เชื ่อมติดกัน<br />

2.3 ส่วนต่าง ๆ ของดอกนี้มีจำนวนเท่าใด และเรียงแบบใด ทั้งกลีบเลี้ยง กลีบดอก<br />

เกสรเพศผู้ และเกสรเพศเมีย<br />

2.4 ตรวจดูเกสรเพศเมีย (gynoecium) นับจำนวนเกสรเพศเมีย (pistils) ก้านเกสรเพศเมีย<br />

(styles) และยอดเกสรเพศเมีย (stigmas)<br />

2.5 ผ่าดอกออกตามยาวตามแกนกลางของดอก ดูตำแหน่งที่ตั้งของรังไข่ (ovary) ว่า<br />

เป็นชนิดติดเหนือวงกลีบ (superior) ติดใต้วงกลีบ (inferior) หรือติดกึ่งใต้วงกลีบ (half-inferior)<br />

2.6 ดึงกลีบดอก เกสรเพศผู้ออกให้หมด แล้วตัดรังไข่ตามขวาง ตรวจนับจำนวนช่องใน<br />

รังไข่ และจำนวนคร่าว ๆ ของไข่ (ovule) แล้วดูว่า placenta เป็นแบบใด marginal, axile, parietal หรือ free-central<br />

placentation บางทีไข่จะมีเพียงเมล็ดเดียว หรืออาจมีสองสามเมล็ด ในกรณีนี้ก็ให้วินิจฉัยว่า placenta จะเป็น basal<br />

หรือ pendulous<br />

3. ผลเป็นแบบใด<br />

ลักษณะต่าง ๆ ที่เหมือนกันหรือต่างกันของพืชเหล่านี้จะปรากฏอยู่ในวงศ์พืชต่าง ๆ กัน จะทำให้วิเคราะห์<br />

พืชสู่กลุ่มวงศ์ได้ เช่น ถ้าตัวอย่างพืชที่มีอยู่เป็นพืชใบเดี<br />

่ยว ติดตรงข้าม ขอบใบเรียบ มีหูใบ ดอกสมมาตรตามรัศมี<br />

กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ รังไข่ติดใต้วงกลีบ พืชนั้นอาจเป็นสมาชิกอยู่ในวงศ์ Rubiaceae หรือถ้าพืชมีใบเดี่ยว<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


่<br />

่<br />

60 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

ติดตรงข้าม ขอบใบจักเป็นคลื ่น ไม่มีหูใบ กลีบดอกเชี่อมติดกันเป็น 2 ปาก รังไข่ติดหนือวงกลีบ พืชนั้นอาจยู่ในวงศ์<br />

Labiatae, Acanthaceae, Gesneriaceae หรือ Scrophulariaceae หลังจากนี้จะต้องตรวจดูลักษณะอื ่น ๆ เพื่อจำแนก<br />

พืชต่อไป (ดูภาคผนวก 3)<br />

ถ้าต้องการจะให้แน่ใจว่าเราได้วิเคราะห์พืชนั้น ๆ อยู่ในวงศ์ที ่ถูกต้องแล้ว ก็ควรจะตรวจสอบดูกับลักษณะ<br />

ประจำวงศ์อีกทีหนึ่ง ซึ่งสามารถหาอ่านได้ในหนังสือพรรณพฤกษชาติต่าง ๆ ที่แนะนำไว้ อีกทั้งตัวอย่างพรรณไม้<br />

ของเราถ้าเป็นตัวอย่างที ่สมบูรณ์ เราก็สามารถใช้รูปวิธานในหนังสือวิเคราะห์ได้ โดยเลือกรูปวิธานที ่ครอบคลุมพืช<br />

ทั่วไปในทุกพื้นที<br />

2. ระดับสกุล<br />

ถ้าเป็นพืชสกุลที่เราไม่รู้จัก การวิเคราะห์จะค่อนข้างยาก ซึ่งเป็นเรื่องจริงในพืชวงศ์ใหญ่ ๆ เช่น Compositae,<br />

Orchidaceae หรือ Leguminosae ซึ ่งพืชวงศ์เหล่านี้ ผู้ที่จะจำสกุลของพืชได้จะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะวงศ์ ถ้าเรา<br />

จะได้รู้จักสกุลหลัก ๆ ของพืชในวงศ์ต่าง ๆ ในแถบภูมิภาคของเราไว้ก็จะเป็นการดี โดยเฉพาะสกุลที่เป็นไม้เด่นอยู่ใน<br />

สังคมพืชแถบบ้านเรา ซึ่งลักษณะของสกุลเหล่านี้เราต้องศึกษาไว้เพื่อการจดจำพืชสกุลนั้น ๆ เช่น พืชสกุลยาง<br />

Dipterocarpus, พะยอม Shorea, ก่อ Lithocarpus, Castanopsis และ Quercus ฯลฯ<br />

พืชสกุลที่เราไม่รู้จักสามารถวิเคราะห์ได้โดยใช้<strong>คู่มือ</strong>หรือหนังสือ Flora ดังที่กล่าวมาแล้ว นอกจากนี้ยังดูได้<br />

จากบัญชีรายชื่อพืช (Check-list) ของพืชเฉพาะถิ่น ถ้าไม่มี<strong>คู่มือ</strong>เลยสามารถทำได้ แต่ต้องใช้เวลามาก โดยไปดู<br />

ตัวอย่างในหอพรรณไม้ ให้ดูรายชื่อสกุล ในแต่ละวงศ์และดูท้องถิ ่นของพืชควบคู่ไปด้วย เมื่อเราได้ตรวจดูแล้ว เรา<br />

จะได้รายชื่อพืชที่ขึ้นอยู่ในท้องถิ<br />

่นที่เราสำรวจซึ่งจะใช้ในการจำแนกพืชและสามารถใช้ไปได้เรื<br />

่อย ๆ แต่เราควรจะ<br />

ตรวจสอบกับเอกสารอ้างอิงด้วย เพราะบางสกุลอาจจะไม่มีตัวอย่างเก็บไว้ในหอพรรณไม้ หรือได้รวมไว้ในสกุลอื ่น<br />

หรือแยกเป็นสกุลใหม่ไปแล้ว หลังจากนั้นจึงนำพืชที่สงสัยไปเทียบกับตัวอย่างพืชที่มีชื่ออยู่ในหอพรรณไม้ต่อไป<br />

ดังนั้นเราจึงควรจดจำลักษณะประจำวงศ์ของพืชไว้ โดยเฉพาะพืชวงศ์ใหญ่ ๆ เราต้องพยายามจำลักษณะ<br />

ที่ใช้แยกกลุ่มพืชเป็นวงศ์ย่อย (sub-families) หรือเป็นเผ่า (tribe) ซึ่งจะทำให้เราตัดจำนวนสกุลที<br />

่ไม่เกี่ยวข้องออกไป<br />

แต่ถ้าเป็นพืชที ่เรารู้ถิ่นกำเนิดเราสามารถตรงไปใช้ key ในหนังสือ flora ประจำถิ ่นได้เลย<br />

3. ระดับชนิด<br />

การวิเคราะห์พืชสู่ชนิดนั้นก็เช่นเดียวกันกับการวิเคราะห์ขั้น วงศ์ และสกุล โดยการจดจำชนิดพืช หรือ<br />

วิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบกับตัวอย่างพืชที่มีชื่อแล้วในหอพรรณไม้ หรือโดยการใช้รูปวิธาน<br />

ถ้าต้องการใช้เอสารอ้างอิง ก็จำเป็นต้องรู้ว่าเอกสารใดที ่เกี่ยวข้องกับพืชกลุ่มของเรา เอกสารพวกนี้ได้แก่<br />

พวก Monograph, Revision หรือถ้าในภูมิภาคก็จะออกมาในรูปของ Flora หรือ Check-list<br />

การใช้รูปวิธาน<br />

รูปธานที ่ใช้ในการวิเคราะห์พรรณไม้นั้นคือ การจัดลำดับลักษณะต่าง ๆ ของพันธุ์ไม้ที ่แตกต่างกันไว้ให้เป็น<br />

ระเบียบ โดยคัดเอาลักษณะที ่ไม่มีในพรรณไม้ที ่ต้องการวิเคราะห์นั้นออกไป คงเหลือแต่ลักษณะต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่<br />

ในพรรณไม้ที ่กำลังวิเคราะห์อยู่นั้น ซึ่งก็จะได้ผลลัพธ์ในขั้นสุดท้าย<br />

รูปวิธานที ่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เรียกว่า รูปวิธานแบบ dichotomous (dichotomous key) คือใช้ลักษณะที่<br />

ผิดแผกแตกต่างกันเทียบเป็นคู่ ๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้<br />

1. กลีบเลี้ยง (sepals) และกลีบดอก (petals) มีจำนวน 4<br />

2. เกสรเพศผู้มีจำนวน 6 ,4 หรือกว่านั้น รังไข่มีช่องเดียว placenta แบบ parietal กลีบดอก ค่อนข้าง Zygomorphic<br />

Capparaceae<br />

2. เกสรเพศผู้มีจำนวน 6, tetradynamous, รังไข่มีผนังกั้นออกเป็น 2 ช่อง, กลีบดอก actinomorphic<br />

61<br />

Cruciferae<br />

1. กลีบเลี้ยง (sepals) และกลีบดอก (petals) มีจำนวน 5 เกสรเพศผู้มีจำนวน 5 เรียงสลับกันกับ staminodes ที<br />

เรียวยาว จำนวน 3 ถึง 5 อัน รังไข่มีช่องเดียว มี placenta แบบ parietal ดอก zygomorphic Moringaceae<br />

หากไม่ใช่หมายเลขนำน้าคู่ที ่แตกต่างกันตามตัวอย่างนี้ อาจจะใช้อักษรแทนก็ได้ เช่น A, B หรือ ก. ข. ก็ได้<br />

ตามตัวอย่างที ่ได้ให้ไว้นี้จะเห็นได้ว่ารูปวิธานนี้มี 2 คู่ด้วยกัน แต่ละคู่จะมีข้อชี้ลักษณะแตกต่างกัน ข้อชี้หนึ่งเป็น<br />

ลักษณะหนึ่ง อีกข้อหนึ ่งเป็นลักษณะที่แย้งกัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าข้อที ่ 1 ของคู่แรกถูกกับลักษณะตัวอย่างพืชที ่กำลัง<br />

วิเคราะห์อยู่นั้น ก็จงพิจารณาดูต่อไปอีกว่า ข้อชี้ที่ 1 ของคู่แรกถูกกับลักษณะตัวอย่างพืชที่กำลังวิเคาะห์อยู่นั้น ก็จง<br />

พิจารณาดูต่อไปอีกว่า ข้อชี้ที่หนึ่งหรือสองของคู่ที<br />

่สองนั้นจะตรงกันกับพืชที่กำลังศึกษาอยู่หรือไม่ เมื่อได้ใช้รูปวิธาน<br />

ดังนี้แล้ว ก็จะจำแนกพืชนั้น ๆ เข้าวงศ์ (family) สกุล (genus) หรือชนิด (species) ได้ในที ่สุด<br />

โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ในตำรานั้น จะมีรูปวิธานของ order ต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ต่อมาก็จะมีรูปวิธานของวงศ์<br />

(families) ต่าง ๆ ใน order แต่ละวงศ์ก็มีรูปวิธานของสกุล (genera) ต่าง ๆ และสกุลต่าง ๆ นั้นก็จะมีรูปวิธานของ<br />

ชนิดต่อไป<br />

ในทางปฏิบัติแล้วการวิเคราะห์ชื่อพรรณพืชโดยใช้รูปวิธานจนกระทั่งได้ชื่อพืชแล้วยังไม่เป็นการยุติ จำเป็น<br />

ต้องนำพรรณพืชนั้น ๆ ไปเทียบเคียงกับลักษณะรูปพรรณของตัวอย่างพืชนั้น ๆ ที่มีชื<br />

่ออยู่แล้วในหอพรรณไม้เพื ่อ<br />

ความแน่นอนอีกชั้นหนึ่งก่อน ถ้าปรากฏว่ารูปพรรณของพืชที่เราวิเคราะห์ได้มีลักษณะผิดเพี้ยนไปจากลักษณะรูป<br />

พรรณของตัวอย่างพืชในหอพรรณไม้ ก็ถือได้ว่าการวิเคราะห์นั้นไม่ถูกต้อง ต้องนำไปวิเคาะห์กันใหม่อีกครั้งหนึ่ง<br />

เอกสารแนะนำ<br />

เอกสารแนะนำที ่เกี่ยวกับการจำแนกพรรณพืชในประเทสไทย ได้จัดไว้เป็นหมวด ๆ ดังนี้ คือ<br />

พจนานุกรมชื ่อพืช (Dictionaries of plant names)<br />

พระยาวินิจวนันดร. 2503. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (ชื่อพื้นเมือง-ชื่อพฤกษศาสตร์), กรมป่าไม้.<br />

เต็ม สมิตินันทน์. 2523. รายชื่อพรรรไม้อห่งประเทศไทย (ชื่อพฤกษศาสตร์-ชื่อพื้นเมือง). ฟันนี่พับบลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ.<br />

สอาด บุญเกิด และคณะ. 2525. ชื ่อพรรณไม้ในเมืองไทย. คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.<br />

Jackson, B. Daydon. 1895-1955. Index Kewensis. Vol. 1-2 and Supplements. Clarendon Press, Great Britain.<br />

Mabberley D.J. 1989. The Plant Book. Cambridge University Press, Cambridge.<br />

Willis, J.C. 1973. A Dictionary of the Flowering Plants and Ferns. Cambridge University Press Cambridge.<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


62 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

พรรณพฤกษชาติประจำถิ่น (Flora)<br />

Smitinand, T. and Kai Larsen. 1970-1997. Flora of Thailand. Vol. 2-6. Chutima Press, Bangkok.<br />

Santisuk, T. (ed.) 1997-1954. Thai Forest Bulletin (Botany) เล่ม 25-1. Forest Herbarium, Royal Forest<br />

Department, Bangkok.<br />

Craib, W.G. 1925-1931. Florae Siamensis Enumeratio. Vol. 1-2. Siam Society, Bangkok.<br />

Hookerm J.D. 1881-1897. Flora of British India, Vol. 1-7. L. Reeve, Kent.<br />

Kurz, S. 1877. Forest Flora of British Burma. Vol. 1-2. Office of the Superintendent of Government Printing,<br />

Calcutta.<br />

Backer, C.A. and R.C. Bakhuizen van den Brink. 1963-1968. Flora of Java. Vol. 1-3. P. Noordhoff, Groningen.<br />

Gagnepin, F. 1907-1951. Flora Générale de L’Indochine. Vol. 1-7. Museum National of Histoire Naturelle, Paris.<br />

Aubreville, A. 1960-1997. Flora du Cambodge du Laos et du Vietnam. No. 2-29. Museum National d’Histoire, Paris<br />

Steenis, c.G.G.J. van. 1949-1979. Flora Malesiana. Vol 4-12. P. Noordhoff, The Netherlands.<br />

Brandis, D. 1906. Indian Tree. Bishen singh Mahendra Dal Singh, Dehra Dun.<br />

Corner, E.J.H. 1951. Wayside Tree of Malaya. Government Printer, Singapore.<br />

Ridleyy, H.N. 1922-1925. The Flora of the Malay Peninsula. Vol. 1-5, L. Reeve, Kent.<br />

Dassanayake, M.D. 1980-1991. A Revised Hanbook to the Flora of Ceylon. Vol. 1-7. Amerind Publishing, Delhi.<br />

Whitmore. T.C. (ed.). 1972-1980. Tree Flora of Malaya. Vol. 1-4. Longman, Malaysia.<br />

Hsuan, Keng. 1978. Order and Families of Malayan Seed Plants. Univerity of Malaya Press, Kuala Lumpur.<br />

Henderson, M.R. 1949. Malayan Wild Flowers Dicotyledons. Malayan Nature Society, Kuala Lumpur.<br />

Merill, Elmer D. 1923. An Enumeration of Philippine Flowering Plants. Vol. 1-2. Bureau of Printing, Manila.<br />

หนังสือที่เกี่ยวกับพันธุ์ไม้ไทย<br />

คณิตา เลขะกุล (บรรณาธิการ). 2530. พรรณไม้ในสวนหลวง ร.9.<br />

คณิตา เลขะกุล (บรรณาธิการ). 2537. ไม้ดอกไม้ประดับ สำนักเอกลักษณ์ไทย<br />

จำลอง เพ็งคล้าย และคณะ. 2526-2515. ไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจของไทย. ตอนที ่ 3-1. กรมป่าไม้<br />

จำลอง เพ็งคล้าย. 2535. พรรณไม้ในสวนป่าสิริกิตติ์ภาคกลาง (จังหวัดราชบุรี). กรมป่าไม้<br />

ชวลิต นิยมธรรม. 2534. พรรณไม้ป่าพรุ จังหวัดนราธิวาส. กรมป่าไม้.<br />

เต็ม สมิตินันทน์ และคณะ. 2518. พันธุ์ไม้ป่า. กรมป่าไม้.<br />

เต็ม สมิตินันทน์. 2520. พันธุ์ไม้อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. กรมป่าไม้.<br />

ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, บุศบรรณ ณ สงขลา และ ก่องกานดา ชยามฤต. 2540-2525. สมุนไพรไทย. ตอน 6-1. กรมป่าไม้<br />

วีระชัย ณ นคร. 2540-2535. พรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สิริกิติ์ 4-1. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์.<br />

หนังสือเกี่ยวกับอนุกรมวิธานพืช<br />

Benson, L. 1957. Plant classification. D.C. Heath & Co., Boston.<br />

Davis, P.H., and V.H. Heywood. 1963 Principles of Angiosperm Taxonomy. Oliver & Boyd, Edinburgh.<br />

Hutchinson, J. 1959. The Families of Flowering Plants. 2 Vols. Oxford.<br />

Jackson, B.D. 1928. A Glossary of Botanical Terms. Duckworth, London.<br />

Lawrence, G.H.M. 1951. Taxonomy of Vascular Plants. The Macmillan Co., New York.<br />

Stearn, W. T. 1983. Botanical Latin. David & Charles, Newton Abbot (England).<br />

Websites ด้านพฤกษศาสตร์ที ่สำคัญ<br />

JSTOR Plant Science: http://plants.jstor.org/<br />

Royal Botanic Gardens, Kew: http://www.kew.org/<br />

Herbarium Catalogue<br />

Library Catalogue<br />

World Checklist of Selected Plant Families<br />

World Checklist of Monocotyledons<br />

World Checklist of Rubiaceae<br />

Kew Bibliographic Database (KBD)<br />

http://www.kewbooks.com/<br />

The New York Botanical Garden: http://www.nybg.org/<br />

The C. V. Starr Virtual Herbarium<br />

Vascular Plant Types Catalog<br />

Nationaal Herbarium Nederland: http://www.nhn.leidenuniv.nl/index.php/<br />

Malesian Orchid Genera Illustrated<br />

63<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


64 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

Euphorbiaceae from Thailand<br />

Harvard University Herbaria<br />

HUH-Databases: http://kiki.huh.harvard.edu/databases/<br />

International Association for Plant Taxonomy: http://www.iapt-taxon.org/index_layer.php<br />

Index Herbariorum<br />

Names in Current Use (NCU)<br />

Flora of China: http://flora.huh.harvard.edu/china/<br />

GRIN Taxonomy for Plants: http://www.ars-grin.gov/cgi-bin/npgs/html/taxfam.pl<br />

Orchids of Vietnam: http://www.hoalanvietnam.org/Article.asp?ID=320<br />

Botanicus Digital Library: http://www.botanicus.org/<br />

Biodiversity Heritage Library: http://www.biodiversitylibrary.org/<br />

Taxonomic Literature II (TL-2):<br />

http://www.sil.si.edu/digitalcollections/tl-2/index.cfm<br />

BPH Online: http://fmhibd.library.cmu.edu/fmi/iwp/cgi?-db=BPH_Online&-loadframes<br />

The Plant List: http://www.theplantlist.org/<br />

Angiosperm Phylogeny Website: http://www.mobot.org/MOBOT/research/APweb/welcome.html<br />

http://en.wikipedia.org/wiki/APG_III_system<br />

The International Plant Names Index: http://www.ipni.org/<br />

IK: Index Kewensis<br />

GCI: Gray Card Index<br />

APNI: Australian Plant Names Index<br />

Tropicos: http://www.tropicos.org/<br />

Index Fungorum: http://www.indexfungorum.org/Names/Names.asp<br />

Natural History Bookstore: http://www.nhbs.com/index.php<br />

5<br />

รูปวิธานแยกวงศ์พืชที่พบบ่อยใบประเทศไทย<br />

รูปวิธานทั่วไป<br />

1. ไข่และเมล็ดไม่มีสิ่งห่อหุ้ม เกิดบนขอบของคาร์เพล หรือ megasporophylls) หรือบนเกล็ด บางครั้งอาจพบล้อมรอบ<br />

ด้วยกาบคล้ายวงกลีบรวม (perianth-like sheath)<br />

1. Gymnospermae<br />

1. ไข่อยู่ในรังไข่ รังไข่เกิดจากส่วนโคน โคนของคาร์เพลม้วนเข้าหากัน หรือคาร์เพลเชื ่อมติดกัน<br />

65<br />

2. Angiospermae<br />

2. ต้นอ่อนมีใบเลี้ยง 2 ใบ ท่อลำเลียงเรียงเป็นวงในลำต้น และเจริญเพิ่มขนาดความหนาขึ้น ใบมีเส้นใบแบบร่างแห<br />

ดอกมักมีส่วนต่าง ๆ เป็น 5-4<br />

2.1. Dicotyledonae<br />

2. ต้นอ่อนมีใบเลี้ยง 1 ใบ ท่อลำเลียงเรียงกระจัดกระจายในลำต้น ไม่เพิ ่มขนาดความหนา ใบมีเส้นใบแบบขนาน<br />

ดอกมักมีส่วนต่าง ๆ เป็น 3<br />

2.2. Monocotyledonae<br />

1. พืชเมล็ดเปลือย (Gymnospermae)<br />

1. ใบประกอบแบบขนนก ขนาดใหญ่ ออกเป็นกระจุกที ่ปลายลำต้น อวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียมีขนาดใหญ่<br />

อยู่แยกกัน ที่ตรงกลางปลายยอด<br />

Cycadaceae<br />

1. ใบเดี่ยว ขนาดเล็กหรือขนาดกลาง อยู่ตามกิ ่งก้านทั่วไป อวัยวะสืบพันธุ์มีขนาดเล็ก เกิดตามง่าม หรือส่วนบน ๆ<br />

ของกิ ่ง หรือเป็นวงรอบกิ ่ง<br />

2. ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม มีท่อยางชัน เนื้อไม้ไม่มี vessel ที่แท้จริง อวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมีย เกิดบนแกนกลางใบ<br />

หรือใบส่วนบน ๆ<br />

3. เมล็ดเดี ่ยว ล้อมรอบด้วยชั้นที่อวบนำ้ำ (epimatium) และมักรองรับด้วยฐานดอกที ่หนานุ่ม<br />

Podocarpaceae<br />

3. เมล็ดมี 2 อยู่บนเกล็ด (ovuliferous scale) และเกล็ดเหล่านี้รวมตัวเป็นอวัยวะที ่เรียกว่า cone แข็ง ใบรูปเข็ม<br />

Pinaceae (Pinus)<br />

2. ไม้ต้น หรือไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ไม่มีท่อยางชัน เนื้อไม้มี vessel ที่แท้จริง อวัยวะสืบพันธุ์เป็นเพศเดียว (บางทีเป็น<br />

สองเพศแต่ไม่สมบูรณ์) ดอกเรียงเป็นวงรอบข้อ<br />

Gnetaceae (Gnetum)<br />

2. พืชดอก (Angiospermae)<br />

2.1. พืชใบเลี ้ยงคู่ (Dicotyledonae)<br />

1. มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก แยกจากกันอย่างชัดเจน (บางครั้งกลีบเลี้ยงและกลีบดอกลักษณะเกือบคล้ายกัน แต่<br />

แบ่งเป็น 2 วง หรือมากกว่า)<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


66 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

2. กลีบดอก (หรือกลีบรวมวงใน) แยกจากกัน หรือเกือบแยกจากกัน มักจะหลุดร่วงเป็นกลีบ ๆ<br />

3. รังไข่เหนือวงกลีบ<br />

4. เกสรเพศผู้มีจำนวนมากกว่าสองเท่าของกลีบดอก กลุ่ม 1<br />

4. เกสรเพศผู้มีจำนวนจำกัด ไม่เกินสองเท่าของกลีบดอก กลุ่ม 2<br />

3. รังไข่ใต้วงกลีบ หรือกึ่งใต้วงกลีบ<br />

5. เกสรเพศผู้มีจำนวนมากกว่าสองเท่าของกลีบดอก กลุ่ม 3<br />

5. เกสรเพศผู้มีจำนวนจำกัด ไม่ถึงสองเท่าของกลีบดอก กลุ่ม 4<br />

2. กลีบดอกเชื ่อมติดกัน และจะหลุดร่วงทั้งหมด<br />

6. รังไข่เหนือวงกลีบ กลุ่ม 5<br />

6. รังไข่ใต้วงกลีบ หรือ กึ่งใต้วงกลีบ กลุ่ม 6<br />

1. ไม่มีกลีบดอก หรือมีวงกลีบรวมแต่ละกลีบมีลักษณะคล้ายกันหมด และมักจะอยู่เป็นวงเดียวหรือไม่มีวงกลีบรวม<br />

กลุ่ม 7<br />

กลุ่ม 1<br />

(มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก แยกจากกัน รังไข่เหนือวงกลีบ เกสรเพศผู้จำนวนมากกว่าสองเท่าของกลีบดอก)<br />

1. พืชนำ้ำ คาร์เพลมีจำนวนมาก จมอยู่ในฐานดอกที ่ขยายขึ้น<br />

1. พืชบก<br />

2. เกสรเพศเมียประกอบด้วย 2 คาร์เพลหรือมากหว่า คาร์เพลแยกจากกัน<br />

3. ก้านเกสรเพศผู้แยกจากกัน<br />

4. กลีบดอกและเกสรเพศผู้ติดใต้รังไข่<br />

5. พืชไม่มีเนื้อใบ<br />

6. มีหลายคาร์เพล เมล็ดไม่มีเยื่อหุ้มเมล็ด<br />

6. มีสามคาร์เพล เมล็ดมีเยื่อหุ้มเมล็ด<br />

5. พืชมีเนื้อไม้<br />

7. ไม้ต้น ลำต้นตรง หรือไม้พุ่ม ดอกเด่นและสมบูรณ์เพศ<br />

8. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกซ้อนเหลื่อมกัน ผลมักเป็นผลแห้ง เมล็ดเรียบ<br />

9. เมล็ดไม่มีเยื่อหุ้มเมล็ด<br />

Nymphaeaceae (Nelumbo-บัว)<br />

Ranunculaceae<br />

Dilleniaceae (Acrotrema)<br />

10. มีหลายคาร์เพล ออกเวียนสลับบนแกนกลางที่ยืดยาว<br />

67<br />

Magnoliaceae<br />

10. มีคาร์เพลติดเป็นวงรอบแกนสั้น ๆ Illiciaceae (Illicium)<br />

9. เมล็ดโดยทั่วไปมีเยื่อหุ้มเมล็ด เยื ่อหุ้มเมล็ดอวบนำ้ำ หรือเป็นครุย<br />

Dilleniaceae<br />

8. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเรียงจรดกัน ผลนุ่ม เมล็ดย่น Annonaceae<br />

7. ไม้เลื้อย<br />

11. ดอกเพศเดียว<br />

12. ผลกลม เป็นกลุ่มของคาร์เพลหลายคาร์เพล Schisandraceae (Kadsura)<br />

12. ผลเป็นสาม (สองหรือหนึ ่ง) ผลสดเมล็ดแข็ง<br />

11. ดอกสมบูรณ์เพศ<br />

13. ผลมี 5-2 คาร์เพล คาร์เพลหนาคล้ายหนัง เมล็ดมีเยื่อหุ้มเมล็ด เอ็นโดสเปิร์มไม่ย่น<br />

13. ผลเป็นกลุ่มของคาร์เพล คาร์เพลนุ่ม เมล็ดไม่มีเยื่อหุ้มเมล็ด เอ็นโดสเปิร์มย่น<br />

Menispermaceae<br />

Dilleniaceae<br />

Annonaceae<br />

4. กลีบดอกและเกสรเพศผู้ติดรอบรังไข่ Rosaceae<br />

3. ก้านเกสรเพศผู้เชื ่อมติดกันเป็นหลอด<br />

2. เกสรเพศเมียมีหนึ่งคาร์เพลหรือมาจาก 2 คาร์เพล หรือมากกว่า ที่เชื่อมติดกัน<br />

Malvaceae<br />

14. แผ่นใบแบน มีต่อมขน Droseraceae<br />

14. ใบไม่มีต่อมขน<br />

15. กลีบเลี้ยงมี 2 กลีบ (หรือเป็นใบประดับคล้ายกลีบเลี้ยง) Portulacaceae (Talinum)<br />

15. กลีบเลี้ยงมี 4 หรือ 5<br />

16. นำ้ำยางข้นคล้ายนม<br />

17. นำ้ำยางสีขาว ใบออกเรียงสลับ หรือออกตรงข้าม ก้านเกสรเพศผู้แยกจากกัน รังไข่โดยทั่วไปมี 3 ช่อง<br />

Euphorbiaceae<br />

17. นำ้ำยางสีขาวหรือเหลือง ใบออกตรงข้าม ก้านเกสรเพศผู้เชื ่อมติดกันเป็นกลุ่ม รังไข่มี 3-1 ช่อง<br />

Guttiferae<br />

16. นำ้ำยางใส<br />

18. ใบออกเรียงสลับ<br />

19. ก้านเกสรเพศผู้แยกจากกัน หรือบางครั้งพบติดเป็นกระจุก แต่ไม่ใช่ติดเป็นกลุ่มเดียวกัน<br />

20. รังไข่มีก้าน (gynophore) กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 4 กลีบ Capparaceae<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


68 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

20. รังไข่ไม่มีก้าน หรือ ก้านสั้นมาก<br />

21. ไม้เถาเนื้อแข็ง ผลมีเปลือกหนามัน เมล็ดมีเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นครุย<br />

21. ไม้ต้น ตั้งตรง หรือไม้พุ่ม<br />

Dilleniaceae (tetracera)<br />

22. ผลแก่ไม่แตก มีปีก 5-2 ปีก ปีกเกิดจากกลีบเลี้ยง Dipterocarpaceae<br />

22. ผลไม่มีปีก<br />

23. ผลแห้งแตก แบบ capsule มีหนามหรือขนมัน<br />

24. ใบมีเส้นใบแบบนิ้วมือ ไม่มีเกล็ด ผลเล็ก Bixaceae<br />

24. ใบมีเส้นใบแบบขนนก มีเกล็ด ผลใหญ่ Malvaceae-Bombacoideae<br />

23. ผลมีหลายแบบ ถ้าเป็นผลแห้งแบบ capsule มักไม่มีหนามหรือขนมัน เส้นใบเป็นแบบขนนก<br />

25. ใบมีจุดนำ้ำใส มีกลิ ่น<br />

25. ใบไม่มีจุดนำ้ำมันใส<br />

26. รังไข่มีพูลึก 10-3 พู เจริญเป็นกลุ่มผล มีสีดำ เมล็ดแข็ง ตั้งอยู่บนฐานดอกสีแดง<br />

26. รังไข่ไม่เป็นพู ผลแห้งแบบ capsule หรือผลสดแบบมีเนื้อหลายเมล็ด<br />

27. กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเล็กน้อย<br />

Rutaceae<br />

Ochnaceae<br />

28. กลีบดอกมี 5 กลีบ ขอบเรียบ Linaceae (Ixonanthes)<br />

28. กลีบดอกมีจำนวนมาก ขอบขนานแคบ Gonystylaceae<br />

27. กลีบเลี้ยงแยกจากกัน<br />

29. กลีบเลี้ยงเรียงซ้อนเหลื ่อมกัน ดอกเดี่ยว หรืออยู่เป็นกลุ่ม มี 3-2 ดอก<br />

29. กลีบเลี้ยงเรียงจรดกัน ดอกเล็กออกเป็นช่อกระจุกแตกแขนง<br />

Theaceae<br />

Malvaceae-Grewioideae<br />

19. ก้านเกสรเพศผู้โคนเชื ่อมติดกัน หรือเชื่อมติดกันเป็นหลอด หรือเชื่อมเป็นหลอดติดกันหลายหลอด<br />

30. ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ผลแห้งแบบ capsule เมล็ดมันคล้ายไหม เกสรเพศผู้ติดกันเป็นมัด<br />

Malvaceae-Bombacoideae<br />

30. ใบเดี่ยว<br />

18. ใบออกตรงข้าม<br />

69<br />

31. อับเรณูมี 1 เซลล์ หลอดเกสรเพศผู้เชื ่อมติดกันที่โคนกลีบดอก Malvaceae-Malvoideae<br />

31. อับเรณูมี 2 เซลล์ หลอดเกสรเพศผู้ไม่เชื่อมติดกับกลีบดอก Malvaceae-Sterculioideae<br />

32. ใบมีจุดโปร่งแสง ไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่ม ผลแห้งแบบ capsule Hypericaceae<br />

32. ใบไม่มีจุดโปร่งแสง ไม้ต้นหรือไม้พุ่ม<br />

33. กลีบเลี้ยงแยกจากกัน ซ้อนเหลื ่อมกัน ผลสด<br />

33. กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน เรียงจรดกัน ผลแห้งแบบ capsule<br />

กลุ่ม 2<br />

(มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก แยกจากกัน รังไข่เหนือวงกลีบ เกสรเพศผู้มีจำนวนจำกัด)<br />

1. เกสรเพศเมียประกอบด้วยคาร์เพล 2 ถึงหลายคาร์เพล<br />

2. เกสรเพศผู้ติดบนฐานดอกใต้รังไข่<br />

Clusiaceae<br />

Lythraceae<br />

3. ใบมีจุดนำ้ำมันใส Rutaceae<br />

3. ใบไม่มีจุดนำ้ำมันใส<br />

4. ใบเดี่ยว<br />

5. ใบออกตรงข้าม ผลมีปีก Malpighiaceae<br />

5. ใบออกเรียงสลับ ผลไม่มีปีก<br />

6. ไม้เถา เนื้อแข็ง หรือ ไม่มีเนื้อไม้ ดอกเพศเดียวและต่างเพศต่างต้น Menispermaceae<br />

6. ไม้ต้น ตั้งตรง ดอกสมบูรณ์เพศ Anacardiaceae (Buchanania)<br />

4. ใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ Simaroubaceae<br />

2. เกสรเพศผู้ติดอยู่ในหลอดกลีบเลี้ยง เหนือรังไข่<br />

7. มีหูใบ Rosaceae<br />

7. ไม่มีหูใบ Connaraceae<br />

1. เกสรเพศเมียประกอบด้วยหนึ ่งคาร์เพลหรือมาจาก 2 หรือ หลายคาร์เพล<br />

8. ก้านเกสรเพศเมียมี 5-2 หรือ แตกเป็น 5-2 แฉก<br />

9. ใบแบน มีต่อมขน Droseraceae<br />

9. ใบไม่มีต่อมขน<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


70 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

10. ใบออกตรงข้าม<br />

11. กลีบเลี้ยง (หรือใบประดับคล้ายกลีบเลี้ยง) มี 2 กลีบ ใบนุ่ม Portulacaceae<br />

11. กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ใบไม่นุ่ม<br />

12. ไม้พุ่ม หรือไม้เถาเนื้อแข็ง ผลสดแบบกล้วย หรือผลมีปีก Malpighiaceae<br />

12. ไม้ต้น ตั้งตรงหรือไม้ล้มลุก ผลแห้งแบบ capsule<br />

13. ดอกสมมาตรด้านข้าง Polygalaceae<br />

13. ดอกสมมาตรตามรัศมี<br />

14. ผลแห้งแบบ capsule เป็นพู ไม้พุ่ม หรือไม้ต้น Staphyleaceae<br />

14. ผลแห้งแบบ capsule ไม่มีพู มักไม่มีเนื้อไม้ ปลายกลีบดอกมักจะเป็น 2 แฉก Caryophyllaceae<br />

10. ใบออกเรียงสลับ หรือ ออกเป็นกระจุกใกล้ราก<br />

15. กลีบเลี้ยง (หรือใบประดับคล้ายกลีบเลี้ยง) มี 3 กลีบ ใบอวบนำ้ำ Portulacaceae<br />

15. กลีบเลี้ยงมักมี 5 กลีบ<br />

16. ไม้เถา<br />

17. เกสรเพศผู้มี 5 มักมีกระบังรอบ (corona) มีมือพัน Passifloraceae<br />

17. เกสรเพศผู้มี 10 ไม่มีกระบังรอบ มีหนามแข็ง Linaceae (Indorouchera)<br />

16. ไม้ต้น หรือ ไม้พุ่ม<br />

18. กลีบเลี้ยงเชื่อมเป็นรูปปากแตร ปลายมี 10-5 แฉก ติดทน เกสรเพศผู้มี 7-1 ออกเรียงสลับกับต่อม<br />

Flacourtiaceae (Homalium)<br />

18. กลีบเลี้ยงไม่เหมือนข้างบน<br />

19. ใบเดี่ยว<br />

20. รังไข่มี 3 ช่อง ผลสด เมล็ดแข็ง กลีบดอกมีรยางค์ 2 อัน Erythroxylaceae<br />

20. รังไข่มีช่องเดียว กลีบดอกไม่มีรยางค์<br />

21. ดอกเด่น มีไข่และเมล็ดจำนวนมาก Turneraceae<br />

21. ดอกไม่เด่นชัด มีไข่และเมล็ดน้อย Anacardiaceae<br />

19. ใบประกอบ<br />

22. กลีบเลี้ยงเรียงซ้อนเหลื ่อมกันในตาดอก<br />

23. กลีบเลี้ยงแยกจากกัน หรือเชื่อมติดกันเล็กน้อย<br />

24. ดอกสมมาตรตามรัศมี รังไข่มี 5 ช่องไข่ติดห้อยลง ผลสด มี 5 สัน หรือผลแห้งแบบ capsule<br />

Oxalidaceae<br />

24. ดอกมักสมมาตรด้านข้าง รังไข่มี 4-1 ช่อง ไข่ติดตรง ผลแห้ง หรือผลสด ไม่เป็นสัน 5 สัน<br />

Sapindaceae<br />

23. กลีบเลี้ยงเชื ่อมติดกันที่โคน<br />

25. ไข่และเมล็ดติดห้อยลง เปลือกต้นขม Simaroubaceae<br />

25. ไข่และเมล็ดติดตรง Anacardiaceae (Spondias)<br />

22. กลีบเลี้ยงเรียงจรดกันในตาดอก ไม้ต้น มียางเป็นชัน Burseraceae<br />

8. ก้านเกสรเพศเมียมีอันเดียว<br />

26. ใบออกตรงข้าม หรือออกเป็นวงรอบ รังไข่มี 5-2 ช่อง<br />

27. ดอกสมมาตรด้านข้าง<br />

28. รังไข่มี 2 ช่อง กลีบเลี้ยงไม่มีเดือย เกสรเพศผู้มี 8 ,5 หรือ 10 แยกจากกัน หรือเชื่อมติดกัน<br />

Polygalaceae<br />

28. รังไข่มี 5 ช่อง กลีบเลี้ยง 1 หรือ 2 กลีบจะมีเดือย เกสรเพศผู้มี 5 อาจเชื่อมติดกัน<br />

27. ดอกสมมาตรตามรัศมี<br />

71<br />

Balsaminaceae<br />

29. เกสรเพศผู้มี 6 ยาว 4 สั้น 2 กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมี 5 กลีบ Cruciferae<br />

29. เกสรเพศผู้ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกไม่เหมือนข้างบน<br />

30. ใบมีจุดนำ้ำมันใส Rutaceae<br />

30. ใบไม่มีจุดนำ้ำมันใส<br />

31. ก้นเกสรเพศผู้แยกจากกัน<br />

32. ผลแห้งแบบ capsule มีเมล็ดเล็ก ๆ จำนวนมาก เกสรเพศเมียมี 4 หรือ 8 ติดในหลอดกลีบเลี้ยง<br />

32. ผลมีหลายแบบ มีเมล็ด 3-1 เกสรเพศผู้มี 5-2 ติดที่ขอบของจานดอก<br />

Lythraceae<br />

33. เกสรเพศผู้ติดตรงข้ามกับกลีบดอก Rhamnaceae<br />

33. เกสรเพศผู้ติดสลับกับกลีบดอก<br />

34. เกสรเพศผู้มี 3 ผลสดแบบมีเนื้อหลายเมล็ด Celastraceae (Salacia)<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


72 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

34. เกสรเพศผู้มี 5-4 ผล มีหลายแบบ<br />

35. ไม่มีเกสรเพศผู้เป็นหมัน เมล็ดมีเยื่อหุ้ม<br />

35. มีเกสรเพศผู้เป็นหมัน เมล็ดไม่มีเยื่อหุ้ม<br />

31. ก้านเกสรเพศผู้โคนเชื ่อมติดกัน<br />

26. ใบออกเรียงสลับ หรืออกเป็นกระจุกใกล้ราก<br />

36. รังไข่มี 5-2 ช่อง<br />

37. ดอกสมมาตรตามรัศมี<br />

38. ก้านเกสรเพศผู้แยกจากกัน หรือเชื่อมติดกันเล็กน้อย<br />

39. ใบมีเส้นใบรูปฝ่ามือ หรือเป็นใบประกอบ<br />

Celastraceae<br />

Olacaceae<br />

Malpighiaceae<br />

40. ไม้เถา มีมือพัน กลีบดอกบางทีหลุดออกเป็นหมวก ผลสดแบบมีเนื้อหลายเมล็ด Vitaceae<br />

40. ไม้พุ่ม ตั้งตรง กลีบดอกแยกจากกัน ผลแห้งแบบ capsule Malvaceae-Byttnerioideae<br />

39. ใบมีเส้นใบแบบขนนก หรือเป็นใบประกอบ<br />

41. ใบประกอบ<br />

42. ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม มียางชัน หรือนำ้ำมัน กลีบเลี้ยงเรียงจรดกัน Burseraceae<br />

42. ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม ไม่มียางชัน หรือนำ้ำมัน กลีบเลี้ยงเรียงซ้อนเหลื่อมกัน<br />

43. เกสรเพศผู้มี 10-8 รังไข่แต่ละช่องมีไข่ 3-1 Sapindaceae<br />

43. เกสรเพศผู้มี 5 ที่สืบพันธุ์ได้มี 2 ที่ด้านปลายขยายออก ส่วนอีก 3 หายไป<br />

41. ใบเดี ่ยว<br />

Sabiaceae (Meliosma)<br />

44. ผลแก่ไม่แตก มีปีก 5-2 ปีก ติดทน ปีกเจริญมาจากกลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้มี 10-5 หรือมากกว่า<br />

นั้น<br />

Dipterocarpaceae<br />

44. ผลไม่มีปีก<br />

45. เกสรเพศผู้ที ่สืบพันธุ์ได้ มี 6-4<br />

46. รังไข่แต่ละช่องมีไข่หลายเมล็ด Pittosporaceae<br />

46. รังไข่แต่ละช่องมีไข่ 2-1 เมล็ด<br />

47. เกสรเพศผู้ติดตรงข้ามกับกลีบดอก ผลแห้งแบบ capsule หรือผลสดเมล็ดแข็ง<br />

73<br />

48. ไม่มีหูใบ Rhamnaceae<br />

48. ใบไม่มีหูใบ<br />

49. จานดอกเป็นวงแหวน ติดอยู่รอบโคนรังไข่ กลีบเลี้ยงเล็ก ปลายแยกเป็นพู ไข่ตั้งตรง<br />

Olacaceae<br />

49. จานดอกเป็นต่อมเชื ่อมติดกันแค่โคน แต่ไม่ติดกับรังไข่ กลีบเลี้ยงเล็กหรือไม่มีเลย ไข่ห้อยลง<br />

Opiliaceae<br />

47. เกสรเพศผู้ติดเรียงสลับกับกลีบดอก<br />

50. ผลส่วนมากเป็นแบบผลแห้งแตก ฐานดอกเห็นชัดและมีเกสรเพศผู้ติดอยู่ Celastraceae<br />

50. ผลสดเมล็ดแข็ง ไม่มีฐานดอก<br />

51. กลีบดอกเรียงซ้อนเหลื่อมกัน<br />

Aquifoliaceae<br />

51. กลีบดอกเรียงจรดกัน Icacinaceae<br />

45. เกสรเพศผู้ที ่สืบพันธุ์ได้มี 10<br />

38. ก้านเกสรเพศผู้เชื ่อมติดกัน<br />

52. ใบประกอบ<br />

53. ใบประกอบแบบขนนก<br />

54. เกสรเพศผู้ มี 10-8 ใบมักเป็นใบประกอบแบบขนนกธรรมด Meliaceae<br />

54. เกสรเพศผู้ มี 5 ใบเดี ่ยว หรือใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น<br />

53. ใบประกอบแบบนิ้วมือ<br />

Leeaceae<br />

55. เกสรเพศผู้มี 5-2 มักมีก้านชูเกสรร่วม (androgynophore) Malvaceae–Sterculioideae<br />

55. เกสรเพศผู้มี 10 ไม่มีก้านชูเกสรร่วม Styracaceae<br />

37. ดอกสมมาตรด้านข้าง<br />

56. ดอกเกือบคล้ายรูปดอกถั่ว กลีบเลี้ยงด้านใน 2 กลีบเด่น และกลีบดอกเด่น 3 กลีบ Polygonaceae<br />

56. ดอกไม่เหมือนข้างบน<br />

57. ใบเดี่ยว ดอกมีเดือย ส่วนต่าง ๆ ของดอกมีจำนวน 5 ผลแห้งแบบ capsule แบน<br />

Balsaminaceae<br />

57. ใบประกอบแบบขนนก 3-2 ชั้น ดอกไม่มีเดือย ส่วนต่าง ๆ ของดอกมีจำนวน 4 ผลแห้งแบบ capsule พอง<br />

36. รังไข่มี 1 ช่อง (บางครั้งรังไข่ดูเหมือนถูกแบ่งทำให้เห็นเป็นมากกว่า 1 ช่อง)<br />

Sapindaceae (Cardiospermum)<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


74 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

58. ดอกสมมาตรตามรัศมี<br />

59. ผลสด มักมีฐานดอก Anacardiaceae<br />

59. ผลแห้ง ถ้าเป็นผลสด จะไม่มีฐานดอก<br />

60. กลีบดอกเรียงซ้อนเหลื ่อมกัน<br />

61. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 4 เกสรเพศผู้มี 6<br />

62. ฝักมีก้านยาว เกสรเพศผู้มีความยาวเท่ากัน Capparaceae (Cleome)<br />

62. ฝักไม่มีก้าน เกสรเพศผู้ยาวไม่เท่ากัน Cruciferae<br />

61. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5<br />

63. เกสรเพศผู้มี 10<br />

64. ผลเป็นฝัก (legume) ดอกอัดแน่นเป็นกระจุก หรือเป็นช่อเชิงลด (spikes) Leguminosae<br />

64. ผลแห้งเมล็ดล่อน (achene) หรือเป็นฝักแตกแนวเดียว (follicle) ดอกเป็นช่อกระจะ (racemes)<br />

หรือช่อเชิงหลั่น (corymbs) Rosaceae<br />

63. เกสรเพศผู้มี 5 ผลแห้งแตก Pittosporaceae<br />

60. กลีบดอกเรียงจรดกัน Icacinaceae<br />

58. ดอกสมมาตรด้านข้าง<br />

กลุ่ม 3<br />

65. ดอกไม่มีเดือย รังไข่มีพลาเซนตาแนวเดียว (marginal placenta) ผลเป็นปีก Leguminosae<br />

65. ดอกมีเดือย รังไข่มีพลาเซนตาติดตามแนวตะเข็บ (parietal placenta) 3 ตะเข็บ Violaceae<br />

(มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก แยกจากกัน รังไข่ใต้วงกลีบหรือกึ่งใต้วงกลีบ เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก)<br />

1. ก้านเกสรเพศเมียมีมากกว่า 1 บางทีจะเชื่อมติดกันเล็กน้อย<br />

2. พืชนำ้ำ มีใบและดอกลอยเหนือนำ้ำ Nymphaeaceae<br />

2. พืชบก<br />

3. ดอกเพศเดียว กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 2 Begoniaceae<br />

3. ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5-4<br />

4. ผลแบบแอปเปิ้ล (pome) มักออกเดี ่ยว ๆ<br />

Rosaceae<br />

4. ผลแห้งแตก แข็ง มี 2 ลิ้น (bi-valved) มักอยู่เป็นกลุ่ม Hamamelidaceae<br />

1. ก้านเกสรเพศเมียมี 1<br />

5. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีจำนวนไม่จำกัด และไม่ค่อยแตกต่างกัน มีหนามและอวบนำ้ำ Cactaceae<br />

5. กลีบดอกมักมี 4 หรือ 5<br />

6. ไม้ป่าชายเลน หรือไม้พุ่ม ใบออกตรงข้าม มีหูใบร่วมอยู่ระหว่างโคนก้านใบ Rhizophoraceae<br />

6. ไม้ป่าบก<br />

7. แฉกของกลีบเลี้ยงเรียงจรดกัน ผลมักใหญ่ แข็ง แก่ไม่แตก หรือแตกโดยมีฝา ใบไม่มีต่อมโปร่งแสง<br />

Lecythidaceae<br />

7. แฉกของกลีบเลี้ยงเรียงซ้อนเหลื ่อมกัน ผลเล็กกว่า พบน้อยที ่แตกโดยมีฝา ใบมักมีต่อมโปร่งแสง<br />

8. ใบมักออกตรงข้าม มีต่อมโปร่งแสง Myrtaceae<br />

8. ใบออกเรียงสลับ ไม่มีต่อมโปร่งแสง Theaceae (Anneslea)<br />

กลุ่ม 4<br />

(มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก แยกจากกัน รังไข่ใต้วงกลีบหรือกึ่งใต้วงกลีบ เกสรเพศผู้มีจำนวนจำกัด)<br />

1. ก้านเกสรเพศเมียมีสอง หรือหลายอัน<br />

2. กลีบเลี้ยง (หรือใบประดับคล้ายกลีบเลี้ยง) มี 2 พืชอวบนำ้ำ Portulacaceae<br />

2. กลีบเลี้ยงมักมี 5-4<br />

3. พืชล้มลุก มีกลิ่น ผลแก่แตกออกเป็น 2 คาร์เพล<br />

3. พืชมีเนื้อไม้ ผลแก่ไม่เหมือนข้างบน<br />

4. ผลแห้ง<br />

75<br />

Umbelliferae<br />

5. ไม้เถา มีขอ ผลเปลือกแข็ง มีปีกใหญ่ติดแน่น ปีกเกิดจากกลีบเลี้ยง Ancistrocladaceae<br />

5. ไม้ต้น ตั้งตรง หรือไม้พุ่ม ขนเป็นรูปดาว ผลแห้งแตก แข็ง มี 2 ลิ้น Hamamelidaceae<br />

4. ผลสดนุ่ม ไม่มีขนรูปดาว<br />

6. เกสรเพศผู้มี 10 หรือมากกว่า มีหูใบ Rosaceae<br />

6. เกสรเพศผู้มี 5-4 ไม่มีหูใบ Araliaceae<br />

1. ก้านเกสรเพศเมียมีอันเดียว ใบแตกเป็นแฉก<br />

7. ไม้พุ่ม มักเป็นกึ ่งพืชเบียนบนไม้ต้น ใบเดี ่ยว ออกตรงข้าม<br />

7. ไม้พุ่ม หรือไม้ต้น ไม่เป็นพืชเบียน<br />

Loranthaceae<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


76 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

8. ไม้ป่าชายเลน ใบออกตรงข้าม มีหูใบร่วมที ่โคนก้านใบ<br />

8. ไม้ป่าบก<br />

9. เกสรเพศผู้มีจำนวนเท่ากลีบดอก และติดตรงข้ามกับกลีบดอก<br />

Rhizophoraceae<br />

10. มีหูใบ Rhamnaceae<br />

10. ไม่มีหูใบ<br />

11. ไข่ตั้งตรง Olacaceae<br />

11. ไข่ห้อยลง Opiliaceae<br />

9. เกสรเพศผู้มีจำนวนไม่เท่ากับกลีบดอก หรือถ้าจำนวนเท่ากับกลีบดอก จะติดสลับกับกลีบดอก<br />

12. ไม้เถา มีมือพัน ดอกมีเพศเดียว Cucurbitaceae<br />

12. ไม้ต้น ไม้พุ่ม หรือไม้ล้มลุก<br />

13. รังไข่แต่ละช่องมีไข่ตั้งแต่ 2 ถึงหลายเมล็ด<br />

14. ใบมีเส้นใบตามยาว 9-3 เส้น อับเรณูมีรยางค์ เปิดโดยมีรูปิด Melastomataceae<br />

14. ใบมีเส้นกลางใบเป็นหลัก อับเรณูไม่มีรยางค์<br />

15. ผลมักมีปีก รังไข่มี 1 ช่อง ไข่ห้อยลง Combretaceae<br />

15. ผลไม่มีปีก รังไข่มี 2 ถึงหลายช่อง ไข่มักเป็นพลาเซนตาแบบติดตามแกน (axile placentation)<br />

16. ใบมีต่อมโปร่งแสง แฉกกลีบเลี้ยงมักเรียงซ้อนเหลื ่อมกัน<br />

16. ใบไม่มีต่อมโปร่งแสง แฉกกลีบเลี้ยงมักเรียงจรดกัน<br />

Myrtaceae<br />

17. ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม Escalloniaceae (Polyosma)<br />

17. ไม้ล้มลุก Onagraceae<br />

13. รังไข่แต่ละช่องมีไข่ 1 เมล็ด หรือรังไข่มีช่องเดียว และมีไข่เมล็ดเดียว ใบเดี่ยว ไม่มีหูใบ<br />

กลุ่ม 5<br />

(มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก กลีบดอกเชื่อมติดกัน รังไข่เหนือวงกลีบ)<br />

Cornaceae<br />

1. พืชกินซาก (saprophyte) หรือ พืชเบียน (parasite) ไม่มีใบ มักมีสีเหลือง ดอกสมมาตรด้านข้าง<br />

Orobanchaceae<br />

1. ไม่เป็นพืชกินซาก หรือ พืชเบียน<br />

2. พืชนำ้ำ หรือพืชในดินแฉะ มีถุงเล็ก ๆ ตามกิ ่งก้านที่โคน<br />

Lentibulariaceae<br />

2. พืชบก<br />

3. เกสรเพศเมียประกอบด้วย 2 ถึงหลายคาร์เพล คาร์เพลค่อนข้างแยกจากกัน<br />

4. คาร์เพล 5-4 ยางใส พืชอวบนำ้ำ Crassulaceae (Kalanchoe)<br />

4. คาร์เพล 2 แยกกันค่อนข้างชัดเจน ยางขาวคล้ายนม พืชมีใบอวบนำ้ำ<br />

5. ก้านเกสรเพศผู้แยกกันชัดเจน บางครั้งเชื่อมกันที<br />

่ปลาย ก้านเกสรเพศเมียมี 1<br />

5. ก้านเกสรเพศผู้เชื ่อมกัน ก้านเกสรเพศเมียเชื ่อมติดกันที่ยอดเกสร<br />

3. เกสรเพศเมียประกอบด้วยคาร์เพล 1 หรือ 2 หรือลายคาร์เพล คาร์เพลเชื ่อมติดกัน<br />

6. เกสรเพศผู้มีจำนวนมากกว่าจำนวนแฉกของกลีบดอก<br />

7. รังไข่มี 2ถึงหลายช่อง<br />

8. เกสรเพศเมียมี 2 ถึงหลายแฉก<br />

9. ก้านเกสรเพศผู้มักจะเชื ่อมกันที่โคน ดอกสมบูรณ์เพศ<br />

77<br />

Apocynaceae<br />

Asclepiadaceae<br />

Theaceae<br />

9. ก้านเกสรเพศผู้แยกจากกัน ดอกเพศเดียว Ebenaceae<br />

8. ก้านเกสรเพศเมียมี 1<br />

10. เกสรเพศผู้ติดบนกลีบดอก รังไข่ที ่โคนมี 5-3 ช่อง<br />

11. รังไข่แต่ละช่องมีไข่ 2 ถึงหลายเมล็ด Styracaceae<br />

11. รังไข่แต่ละช่องมีไข่ 1 เมล็ด Sapotaceae<br />

10. เกสรเพศผู้ไม่ติดบนกลีบดอก รังไข่มี 5 ช่อง อับเรณูเปิดโดยรูเปิดที่ปลาย Ericaceae (Rhododendron)<br />

7. รังไข่มี 1 ช่อง<br />

12. ผลแห้งเมล็ดร่อน (achene) มีสัน ลำต้นมักมีหูใบเป็นกาบหุ้มข้อ หรือถ้าไม่มีกาบหุ้มลำต้นจะเลื้อย<br />

Polygonaceae<br />

12. ผลไม่เป็นแบบผลแห้งเมล็ดล่อน<br />

13. ผลเป็นฝัก Leguminosae<br />

13. ผลมีเนื้อหลายเมล็ด (berry) Caricaceae<br />

6. เกสรเพศผู้มีจำนวนเท่ากับหรือน้อยกว่าจำนวนแฉกของกลีบดอก<br />

14. ไม้เลื้อยมีมือพัน (tendril)<br />

15. ดอกไม่เด่นชัด สมมาตรตามรัศมี ผลมีเนื้อหลายเมล็ด Vitaceae<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


78 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

15. ดอกเด่นชัด สมมาตรด้านข้าง ผลแห้งแตก Bignoniaceae<br />

14. ไม้ล้มลุก ไม้พุ่ม ไม้เลื้อยไม่มีมือพัน หรือไม้ต้น<br />

16. เกสรเพศผู้มีจำนวนเท่ากับแฉกกลีบดอก และติดตรงข้ามกับกลีบดอก<br />

17. ก้านเกสรเพศเมียแตกเป็น 5 แฉก รังไข่มี 1 ช่อง แต่ละช่องมีไข่ 1 เมล็ด Plumbaginaceae<br />

17. ก้านเกสรเพศเมียมี 1<br />

18. รังไข่มี 2 ถึงหลายช่อง แต่ละช่องมีไข่ 1 เมล็ด แฉกกลีบดอกมักมีรยางค์เล็ก ๆ (ที ่เป็นเกสรเพศผู้เป็น<br />

หมัน) ที ่โคน<br />

Sapotaceae<br />

18. รังไข่มี 1 ช่อง มีไข่ตั้งแต่ 3-2 หรือหลายเมล็ด กลีบดอกไม่มีรยางค์ Myrsinaceae<br />

16. เกสรเพศผู้มีจำนวนเท่ากับหรือน้อยกว่าแฉกกลีบดอก ติดสลับกับกลีบดอก<br />

19. รังไข่มี 2 ถึงหลายช่อง<br />

20. ผลประกอบด้วย 4 ผลย่อย เป็นผลเปลือกแข็งเล็ก แต่ละผลย่อยมี 1 เมล็ด บางทีผลย่อยอาจเป็นพูมี<br />

เมล็ดแข็ง (ถ้าเป็นผลสด กลีบดอกสมมาตรด้านข้าง)<br />

21. เกสรเพศผู้สืบพันธุ์ได้มี 5 กลีบ ดอกสมมาตรด้านข้าง ใบออกเรียงสลับ ช่อดอกเป็นกระจุก<br />

Boraginaceae<br />

21. เกสรเพศผู้สืบพันธุ์ได้ มี 4 หรือ 2 กลีบดอกมักสมมาตรด้านข้าง ใบออกตรงข้าม หรือออกเป็นวง<br />

รอบข้อ ช่อดอกไม่เป็นกระจุก<br />

22. รังไข่เรียบ ก้านเกสรเพศเมียออกที่ปลายยอดรังไข่<br />

Verbenaceae<br />

22. รังไข่เป็น 4 พู ก้านเกสรเพศเมียออกระหว่างพูของรังไข่ Labiatae<br />

20. ผลแห้งแตก หรือผลมีเนื้อหลายเมล็ด (ถ้าผลสด กลีบดอกมักสมมาตรตามรัศมี)<br />

23. เกสรเพศผู้ที ่สืบพันธุ์ได้เท่ากับจำนวนแฉกกลีบดอก<br />

24. ใบออกตรงข้าม หรือออกเป็นวงรอบข้อ Loganiaceae<br />

24. ใบออกเรียงสลับ หรือออกที่โคนใกล้ราก<br />

25. ไม้นำ้ำล้มลุก Gentianaceae (Nymphoides)<br />

25. ไม้ต้น ไม้พุ่ม หรือไม้เลื้อย<br />

26. รังไข่มี 10-3 ช่อง Aquifoliaceae<br />

26. รังไข่มักมี 2-1 ช่อง บางครั้งจะมีช่องเทียม<br />

27. กลีบเลี้ยงแยกเป็น 5 กลีบ หรือเชื่อมติดกันที่โคน ก้านเกสรเพศเมียมี หรือ 2 มักจะแยกเป็น<br />

แฉก<br />

79<br />

28. มักเป็นพืชเลื้อย ช่อดอกไม่ม้วน กลีบดอกพับจีบในตาดอก Convolvulaceae<br />

28. เป็นพืชตั้งตรง หรือแตกกิ่งก้านยุ่งเหยิง ช่อดอกแบบช่อกระจุก มักจะม้วน (scorpioid)<br />

กลีบดอกไม่พับจีบในตาดอก<br />

Hydrophyllaceae<br />

27. กลีบเลี้ยงมักจะมี 5-4 แฉก หรือเป็นซี่ฟัน ก้านเกสรเพศเมียไม่แตกเป็นแฉก<br />

29. ใบออกเรียงสลับ ดอกออกเดี ่ยว ๆ หรือเป็นช่อกระจุก ผลมีเนื้อหลายเมล็ด หรือผลแห้งแตก<br />

(แต่ไม่แตกตามขวาง)<br />

Solanaceae<br />

29. ใบเป็นกระจุกใกล้ราก ดอกเป็นช่อเชิงลดแน่น ผลแห้งแตกตามขวาง Plantaginaceae<br />

23. เกสรเพศผู้สืบพันธุ์ได้มี 4-2 น้อยกว่าจำนวนแฉกของกลีบดอก<br />

30. พืชล้มลุก ดอกสีแดง หรือขาว ผลแห้งแตก ยาวประมาณ 1 นิ้ว เป็นร่อง มีขนแข็งและจงอยสั้น<br />

30. พืชลักษณะไม่เหมือนข้างบน<br />

Pedaliaceae<br />

31. ใบส่วนมากออกเรียงสลับ ตอนบน ๆ บางทีติดตรงข้าม พลาเซนตารอบแกนร่วม (axileplacentation)<br />

32. รังไข่แต่ละช่องมีไข่ 2-1 ไม้เลื้อย ใบประกอบ ดอกสีเหลือง หรือขาว Oleaceae<br />

32. รังไข่แต่ละช่องมีไข่หลายเมล็ด<br />

33. แฉกกลีบดอกเรียงซ้อนเหลื่อมกันในตาดอก พืชเมื ่อบดละเอียด ไม่มีกลิ่นฉุน<br />

Scrophulariaceae<br />

33. แฉกกลีบดอกเรียงจรดกันในตาดอก พืชเมื่อบดละเอียดมีกลิ่นฉุน<br />

31. ใบส่วนมากออกตรงข้าม หรือออกเป็นวงรอบข้อ หรือออกเป็นกระจุกใกล้ราก<br />

34. พลาเซนตาตามแนวตะเข็บ (parietal placentation) ไม้เนื้อแข็ง เมล็ดมีปีกหรือเมล็ดแบน<br />

34. พลาเซนตารอบแกนร่วม (axile placentation) เมล็ดไม่มีปีก<br />

Solanaceae<br />

Bignoniaceae<br />

35. กลีบดอกสมมาตรตามรัศมี เกสรเพศผู้มี 2 Oleaceae<br />

35. กลีบดอกสมมาตรด้านข้าง เกสรเพศผู้มี 4-2<br />

36. อับเรณูมักแยกจากกัน รังไข่แต่ละช่องมีไข่หลายเมล็ด Scrophulariaceae<br />

36. อับเรณูมักชิดติดกัน หรือเชื ่อมติดกัน อย่างน้อยก็ติดกันหนึ ่งคู่ รังไข่แต่ละช่องมีไข่ 3-2 ถึง<br />

หลายเมล็ด<br />

Acanthaceae<br />

19. รังไข่มี 1 ช่อง บางทีดูเหมือนมีหลายช่อง<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


่<br />

80 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

37. กลีบดอกสมมาตรตามรัศมี เกสรเพศผู้สืบพันธุ์ได้มี 5<br />

38. ใบส่วนมากออกที ่โคนใกล้ราก<br />

Gesneriaceae<br />

38. ใบออกตรงข้าม หรือออกเป็นวงรอบข้อ ไม้พุ่มรอเลื้อย Apocynaceae (Allamanda)<br />

37. กลีบดอกมักสมมาตรด้านข้าง เกสรเพศผู้สืบพันธุ์ได้มี 4 หรือ 2<br />

39. ไม้ต้น ผลยาวประมาณ 1 ฟุต หรือมากกว่า เปลือกแข็ง Bignoniaceae<br />

39. ไม้บ้มลุก หรือไม้พุ่ม ผลแห้งแบบ capsule มีขนาดเล็ก Gesneriaceae<br />

กลุ่ม 6<br />

(มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก กลีบดอกเชื่อมติดกัน รังไข่ใต้วงกลีบ หรือกึ่งใต้วงกลีบ)<br />

1. ไม้พุ่มกึ ่งพืชเบียน หลอดกลีบดอกปริออกด้านเดียว<br />

1. ไม่เป็นพืชเบียน<br />

Loranthaceae<br />

2. พืชเลื้อยมีมือเกาะ Cucurbitaceae<br />

2. พืชไม่มีมือเกาะ<br />

3. พืชอวบนำ้ำและมีหนาม ใบลดรูป Cactaceae<br />

3. พืชไม่เหมือนข้างบน<br />

4. อับเรณูแยกจากกัน<br />

5. เกสรเพศผู้ไม่ติดกับหลอดกลีบดอก<br />

6. เกสรเพศผู้มีจำนวนเท่ากับแฉกกลีบดอก อับเรณูไม่เปิดเป็นรูที ่ปลาย<br />

7. กลีบดอกสมมาตรตามรัศมี ผลแห้งแบบ capsule Campanulaceae<br />

7. กลีบดอกสมมาตรด้านข้าง ผลสดแบบกล้วย (baccate) Goodeniaceae<br />

6. เกสรเพศผู้มีจำนวนเป็นสองเท่าของแฉกกลีบดอก อับเรณูเปิดที ่รูที่ปลาย ผลแบบกล้วย<br />

5. เกสรเพศผู้ติดอยู่บนหลอดกลีบดอก<br />

8. เกสรเพศเมียมี 2 คาร์เพล คาร์เพลเชื่อมกันที<br />

่โคน มียางขาว<br />

8. เกสรเพศเมียมี 2-1 คาร์เพล หรือมากกว่า คาร์เพลเชื ่อมติดกัน ไม่มียางขาว<br />

9. เกสรเพศผู้มีอย่างน้อยที ่สุดเท่ากับแฉกกลีบดอก<br />

10. ใบออกเรียงสลับ<br />

Ericaceae<br />

Apocynaceae (Plumeria)<br />

11. เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก Symplocaceae<br />

81<br />

11. เกสรเพศผู้มี 5 Campanulaceae (Pentaphragma)<br />

10. ใบออกตรงข้าม หรือออกเป็นวงรอบข้อ<br />

12. ใบออกตรงข้ามและมีหูใบ ถ้าออกเป็นวงรอบข้อจะไม่มีหูใบ Rubiaceae<br />

12. ใบออกตรงข้าม หรือออกเป็นวงรอบข้อ หายากที ่มูใบ และถ้ามีหูใบก็เล็กมาก<br />

9. เกสรเพศผู้มีจำนวนน้อยกว่าแฉกกลีบดอก มักมี 2 หรือ 4 หายากที่มี 5<br />

4. อับเรณูเชื ่อมเป็นหลอดติดกับเกสรเพศเมีย<br />

13. ดอกไม่ออกเป็นก้อน<br />

Caprifoliaceae<br />

Gesneriaceae<br />

14. กลีบดอกสมมาตรตามรัศมี หรือสมมาตรด้านข้าง เกสรเพศผู้มี 5 Campanulaceae<br />

14. กลีบดอกสมมาตรด้านข้าง เกสรเพศผู้มี 2 Stylidiaceae<br />

13. ดอกออกเป็นก้อน โดยมีวงใบประดับ กลีบดอกสมมาตรตามรัศมี หรือสมมาตรด้านข้าง Compositae<br />

1. พืชเบียนเนื้อนุ่ม<br />

กลุ่ม 7<br />

(ไม่มีกลีบดอก หรือไม่มีวงกลีบรวม)<br />

2. เนื้อเยื่อที<br />

่ไม่เกี่ยวกับเพศ (vegetative tissue) ลดขนาดเป็นคล้ายกลุ่มใยรา (mycelium-like) และแตกสาขาที<br />

รากของพืชถูกเบียน ดอกมีเพศเดียวแตกกิ ่ง<br />

Rafflesiaceae (Rafflesia)<br />

2. อวัยวะที่ไม่เกี่ยวกับเพศลดขนาดเป็นคล้ายหลอด เหง้าแตกแขนง ดอกขนาดเล็ก ส่วนมากมีเพศเดียวเป็นช่อ<br />

หนาแน่น<br />

Balanophoraceae<br />

1. ไม้เนื้อแข็ง หรือไม่มีเนื้อไม้ ไม่เป็นพืชเบียน<br />

3. ไม้ต้น คล้ายพวกสนเขา ใบออกเป็นวงรอบข้อ และลดลงเป็นเกล็ดเล็ก ๆ รอบข้อ Casuarinaceae<br />

3. ไม้เนื้อแข็ง หรือไม่มีเนื้อไม้ ใบแบบธรรมดา<br />

4. ดอกเรียงเป็นช่อแบบหางกระรอก (catkins)<br />

5. ไม้เนื้อแข็ง<br />

6. ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ในช่อดอกเดียวกัน (ส่วนมากดอกเพศผู้อยู่ด้านบน ดอกเพศเมียอยู่ด้านล่าง)<br />

มักมีกลีบเลี้ยง<br />

7. รังไข่เหนือวงกลีบ ผลมักเป็นผลแห้งแตก มี 3 พู หรือเป็นผลกลม 3 พู Euphorbiaceae<br />

7. รังไข่ใต้วงกลีบ<br />

8. ผลเมล็ดแข็ง มักมีปีก Combretaceae (Terminalia)<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


82 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

8. ผลเปลือกแข็งมีกาบรูปถ้วย (acorn) Fagaceae<br />

6. ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างช่อกัน มักเป็นพืชแบบต่างเพศต่างต้น (dioecious) แต่บางครั้งก็พบเป็นพืช<br />

แบบต่างเพศร่วมต้น (monoecious)<br />

9. ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียเป็นแบบหางกระรอก ดอกไม่มีกลีบเลี้ยง รังไข่เหนือวงกลีบ<br />

10. ผลแห้งแตก เมล็ดมีกระจุกขน พืชแบบต่างเพศต่างต้น ดอกมีต่อมเล็ก ๆ รองรับ Salicaceae<br />

10. ผลสดเมล็ดเดียว แข็ง ไม่มีกระจุกขน พืชแบบต่างเพศต่างต้น หรือแบบต่างเพศร่วมต้นดอกไม่มีต่อม<br />

Myricaceae<br />

9. ช่อดอกเพศผู้เป็นแบบหางกระรอก มักมีกลีบเลี้ยง หรือมีชั้นของกลีบรวม<br />

11. รังไข่เหนือวงกลีบ ผลสด หรืออวบนำ้ำ<br />

12. มียางใส ไข่ติดที่ฐานของรังไข่ และตั้งตรง<br />

Urticaceae<br />

12. มียางขาว รังไข่มักติดแบบห้อยจากปลายรังไข่ Moraceae<br />

11. รังไข่ใต้วงกลีบ ผลแห้ง<br />

13. ใบเดี ่ยว ผลเปลือกแข็งมีกาบรูปถ้วย<br />

Fagaceae<br />

13. ใบประกอบแบบขนนก (pinnate) ผลเป็น 3 ปีก Juglandaceae (Engelhardtia)<br />

5. พืชไม่มีเนื้อไม้<br />

14. ดอกมีกลีบเลี้ยง หรือมีกลีบรวมหนึ ่งชั้น<br />

15. รังไข่มี 3 พู Euphorbiaceae<br />

15. รังไข่มีพูเดียว<br />

16. กลีบรวม (perianth) แห้ง Amaranthaceae<br />

16. กลีบรวมอวบนำ้ำ Urticaceae<br />

14. ดอกเปลือย ไม่มีทั้งกลีบเลี้ยงและกลีบดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ หรือดอกแยกเพศ มักจะรองรับด้วยใบ<br />

ประดับ 1 ใบ<br />

Piperaceae<br />

4. ดอกไม่เป็นช่อแบบหางกระรอก<br />

15. เกสรเพศเมียมี 2 หรือหลายคาร์เพล คาร์เพลแยก มีกลีบเลี้ยง<br />

16. ส่วนต่าง ๆ ของดอกติดใต้รังไข่ ฐานดอกไม่เจริญ<br />

17. ไม้ล้มลุก หรือไม้เลื้อยเนื้อแข็ง เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก แยกอิสระ กลีบเลี้ยงแยก<br />

Ranunculaceae (Clematis)<br />

17. ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม ตั้งตรง เกสรเพศผู้เชื ่อมติดกันเป็นหลอด กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันที่โคน<br />

83<br />

Malvaceae (Sterculia)<br />

16. ส่วนต่าง ๆ ของดอกติดรอบรังไข่ เกสรเพศผู้ติดบนฐานดอกรูปถ้วย หรือบนท่อกลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้มี 4<br />

แยกจากกัน<br />

Monimiaceae<br />

15. เกสรเพศเมียมีคาร์เพลเดียว หรือตั้งแต่ 2 ถึงหลายคาร์เพลและเชื ่อมติดกัน<br />

18. ไม่มีกลีบเลี้ยง (หรือไม่มีกลีบรวม)<br />

19. ดอกออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลด (spike) หรือช่อกระจะ (raceme) ดอกสมบูรณ์เพศ หรือดอกแยกเพศ<br />

เกสรเพศผู้มี 10-1 รังไข่มี 1 ช่อง ไข่ 1 เมล็ด ยางไม่เป็นยางขาว<br />

20. ใบออกเรียงสลับ รือ หายากที่ออกตรงข้าม ช่อเชิงลดไม่แตกกิ ่ง เกสรเพศผู้ส่วนมากมีตั้งแต่ 6-2<br />

แยกอิสระ มัดท่อลำเลียง (vascular bundles) เรียงมากกว่า 1 วงศ์<br />

Piperaceae<br />

20. ใบออกตรงข้าม ช่อเฃิงลดแตกกิ ่งก้าน เกสรเพศผู้มี 3-1 เชื่อมติดกัน มัดท่อลำเลียง เรียงเป็น 1 วง<br />

Chloranthaceae<br />

19. ดอกออกเป็นช่อรูปถ้วย (cyathia) ดอกเพศเมียเปลือย ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกล้อมรอบด้วยดอก<br />

เพศผู้หลายดอก ซึ่งแต่ละดอกประกอบด้วยเกสรเพศผู้ 1 อันติดบนก้านช่อดอกย่อย และกลุ่มดอก<br />

ทั้งหมดล้อมรอบด้วยวงใบประดับ รังไข่มักมี 3 ช่อง ไข่ 3 เมล็ด ยางขาว Euphorbiaceae<br />

18. มีกลีบเลี้ยง (หรืออย่างน้อยก็มีวงกลีบรวมหนึ่งชั้น)<br />

21. ดอกอยู่รวมเป็นก้อนกลม หรือช่อเชิงลด (spike) แน่น หรือภายในฐานดอกกลวง ไม้เนื้อแข็ง<br />

22. ผลเป็นฝัก (legume) ใบประกอบแบบขนนก หรือก้านใบกลายเป็นใบ (phyllode)<br />

Leguminosae (Acacia)<br />

22. ผลเป็นผลรวม (syncarp) หรือภายในฐานดอกกลวง Moraceae<br />

21. ดอกไม่อยู่รวมเป็นก้อนกลม หรือถ้าเป็นก้อนกลม พืชจะไม่เป็นไม้เนื้อแข็ง<br />

23. รังไข่เหนือวงกลีบ<br />

24. ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม<br />

25. ใบออกตรงข้าม<br />

26. ดอกออกเป็นช่อกระจุก (cyme) ใหญ่ที ่ปลายยอด หรือเป็นก้อนกลม ใบมักมีขนาดใหญ่<br />

26. ดอกออกเดี ่ยว ๆ หรือเป็นกระจุกเล็ก โดยมากออกตามง่ามใบ<br />

Saxifragaceae (Hydrangea)<br />

27. รังไข่มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่ 2 เมล็ด Buxaceae<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


่<br />

84 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

27. รังไข่มี 1 หรือ 2 ช่อง แต่ละช่องมีไข่ 1 เมล็ด<br />

28. ใบมีเส้นใบ 3 เส้นออกจากโคนใบ ดอกสีออกเหลือง Lauraceae (Cinnamomum)<br />

28. ใบมีเส้นใบ 1 เส้นออกจากโคนใบ ดอกสีกุหลาบหรือสีม่วงแดง Thymelaeaceae<br />

25. ใบออกเรียงสลับ<br />

29. ใบเดี่ยว แต่บางครั้งจะจักเป็นพู<br />

30. อับเรณูเปิดเป็นรู<br />

31. พืชมีกลิ่นหอม ผลเมล็ดเดียว<br />

Lauraceae<br />

31. พืชไม่มีกลิ่นหอม ผลเปลือกแข็งอยู่ในวงใบประดับสีขาวพอง มีรอยเปิดปลายที<br />

Hernandiaceae (Hernandia)<br />

30. อับเรณูเปิดเป็นรอยแตก<br />

32. รังไข่แต่ละช่องมีไข่หลายเมล็ด<br />

33. รังไข่มีหนึ่งช่อง ก้านเกสรเพศเมียมี 1 เกสรเพศผู้มี 10 ถึงจำนวนมาก ไม้ต้นหรือไม้พุ่ม<br />

34. เกสรเพศผู้ติดสลับกับเกสรเพศผู้ที ่เป็นหมัน เปลือกต้นไม่มีกลิ่นอัลมอนด์<br />

34. ไม่มีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน เปลือกต้นมีกลิ่นอัลมอนด์<br />

33. รังไข่มี 8-2 ช่อง<br />

35. เกสรเพศผู้เชื่อมติดกันเป็นหลอด ก้านเกสรเพศเมียมี 1 ผลแห้ง<br />

35. เกสรเพศผู้แยกจากกัน ก้านเกสรเพศเมียมีตั้งแต่ 4 ถึงหลายก้าน ผลสด<br />

32. รังไข่แต่ละช่องมีไข่ 2-1 เมล็ด<br />

36. รังไข่มีตั้งแต่ 2 ถึงหลายช่อง<br />

Flacourtiaceae<br />

Rosaceae<br />

Sterculiaceae<br />

Flacourtiaceae<br />

37. เกสรเพศผู้มีจำนวนเท่ากับกลีบเลี้ยง และติดสลับกับกลีบเลี้ยง Rhamnaceae<br />

37. เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก Euphorbiaceae<br />

36. รังไข่มี 1 ช่อง<br />

38. ก้านและยอดเกสรเพศเมียมี 4-2 ผลสดเปลือกแข็งเมล็ดเดียว Ulmaceae<br />

38. ก้านและยอดเกสรเพศเมียมี 1<br />

29. ใบประกอบ<br />

85<br />

39. ก้านเกสรเพศเมียออกใกล้โคนรังไข่ Rosaceae<br />

39. ก้านเกสรเพศเมียออกที ่ปลายรังไข่<br />

40. ไม้เลื้อย เนื้อแข็ง ดอกล้อมรอบด้วยวงใบประดับ Nyctaginaceae (Bougainvillea)<br />

40. ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม ดอกไม่มีใบประดับ<br />

45. มี 3 ใบย่อย<br />

41. ใบมักมีต่อมโปร่งแสง ผลสด เมล็ดมีเนื้อ Myristicaceae<br />

41. ใบไม่มีต่อมโปร่งแสง ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม มักมีผลแห้ง เมล็ดไม่มีเนื้อ<br />

42. กลีบเลี้ยงสีเขียว แยกเป็น 5 แฉก<br />

43. ดอกออกเป็นช่อกระจุกแยกแขนง (cymose-panicles) ตามง่ามใบ เกสรเพศผู้มี 5 ติดตรง<br />

ข้ามกับแฉกกลีบเลี้ยง<br />

Opiliaceae<br />

43. ดอกออกเป็นช่อกระจะ (raceme) ตามง่ามใบ เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ติดบนขอบของท่อ<br />

กลีบเลี้ยง<br />

Rosaceae (Prunus)<br />

42. กลีบเลี้ยงคล้ายกลีบดอก มี 4 แฉก ดอกเดี่ยว หรือเป็นช่อแบบกระจะ (raceme) หรือเป็นกระจุก<br />

(heads) ดอกสมบูรณ์เพศ หรือถ้าดอกแยกเพศ พืชจะเป็นแบบต่างดอกต่างต้น (dioecious)<br />

44. เกสรเพศผู้มี 4 ติดตรงข้ามกับท่อกลีบเลี้ยง Proteaceae (Helicia)<br />

44. เกสรเพศผู้มี 8 หรือ 10 Thymelaeaceae<br />

46. ไม้ต้น เกสรเพศผู้ มี 10-5 อับเรณูเปิดโดยรอยแยก ผลแห้งมี 3 พู ขนาดใหญ่<br />

Euphorbiaceae (Hevea)<br />

46. ไม้พุ่มรอเลื้อย เกสรเพศผู้มี 4 อับเรณูมีลิ้นปิดเปิด ผลมีปีก (samara) 4-2 ปีก<br />

Hernandiaceae (Illigera)<br />

45. ใบประกอบยอดคู่ มีใบย่อย 8-4 ใบ<br />

47. ผลชุ่มนำ้ำ ใบย่อยปลายแหลม Sapindaceae<br />

47. ผลเป็นฝักหนามัน แก่ไม่แตก ใบย่อยปลายมน Leguminosae<br />

24. พืชไม่มีเนื้อไม้ บางครั้งพบมีเนื้อไม้ที่โคน<br />

48. ใบดัดแปลงไปทำหน้าที ่ดักแมลง<br />

48. ใบไม่ดัดแปลง<br />

49. รังไข่มี 2 ถึงหลายช่อง<br />

Nepenthaceae<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


86 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

50. ใบรูปแถบ หรือรูปช้อน นุ่ม ผลแห้งแตก ไม่มีหนาม Aizoaceae<br />

50. ใบเป็นแฉกรูปนิ้วมือ ไม่นุ่ม ผลแห้งแตก มีหนาม Euphorbiaceae (Ricinus)<br />

49. รังไข่มี 1 ช่อง<br />

51. ก้านเกสรและยอดเกสรเพศเมียมี 5-2<br />

52. หูใบเป็นกาบหรือปลอกหุ้มลำต้น Polygonaceae<br />

52. หูใบไม่เป็นกาบ<br />

53. ผลแห้งเมล็ดล่อน (achene) มีกลีบเลี้ยงหรือใบประดับติดแน่น พืชมีกลิ่นหอม ดอกเป็นแบบต่างเพศ<br />

ต่างต้น (dioecious)<br />

Moraceae<br />

53. ผลเป็นแบบกระเปาะ (utricle) หรือคล้ายผลแห้งเมล็ดล่อน พืชไม่เป็นต่างเพศต่างต้น<br />

54. ดอกมีใบประดับบางและแห้งรองรับ Amaranthaceae<br />

54. ดอกไม่มีใบประดับบางและแห้งรองรับ Chenopodiaceae<br />

51. ก้านและยอดเกสรเพศเมียมี 1<br />

55. กลีบเลี้ยงเด่นและคล้ายกลีบดอก ดอกล้อมรอบด้วยวงใบประดับสีออกเขียว Nyctaginaceae<br />

55. กลีบเลี้ยงไม่เด่น ดอกไม่มีวงใบประดับ Urticaceae (Pilea)<br />

23. รังไข่ใต้วงกลีบ หรือกึ่งใต้วงกลีบ<br />

56. ใบและตามลำต้นกิ ่งก้านเป็นขุย โดยมีเกล็ดรูปโล่หรือรูปดาว ไม้พุ่ม<br />

56. ใบและตามลำต้นกิ ่งก้านไม่เป็นขุย<br />

Elaeagnaceae<br />

57. ไม้เลื้อย ส่วนต่าง ๆ ของดอกมีจำนวน 3 เกสรเพศผู้มี 6 หรือ 12 ติดกับยอดเกสรเพศเมีย ผลแห้ง<br />

แตก<br />

Aristolochiaceae<br />

57. ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม<br />

58. ใบออกเรียงสลับ<br />

59. ก้านเกสรเพศเมียมี 4 พืชต่างเพศต่างต้น (dioecious) Datiscaceae (Tetrameles)<br />

59. ก้านเกสรเพศเมียมี 1<br />

60. ดอกออกเป็นช่อเชิงลด (spikes) หลวม ๆ เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ผลแข็งแห้งแตก<br />

Myrtaceae (Eucalyptus)<br />

60. ดอกออกเดี ่ยว ๆ หรือเป็นช่อรูปร่ม หรือเป็นก้อน เกสรเพศผู้มี 10 ผลสด เมล็ดเดียว<br />

Combretaceae (Terminalia)<br />

58. ใบออกตรงข้าม ไม้พุ่มกึ ่งพืชเบียน ดอกออกเป็นช่อกระจุก ตามง่ามใบ<br />

2.2. พืชใบเลี ้ยงเดี่ยว (Monocotyledonae)<br />

1. ไม่มีวงกลีบรวม หรือวงกลีบรวมไม่เจริญ เป็นเพียงหนาม หรือเกล็ด ไม่คล้ายกลีบดอก<br />

2. ดอกออกตามง่ามใบประดับ ใบประดับแห้งคล้ายเกล็ดบาง (glumes หรือ scales) และซ้อนเหลื ่อมกัน<br />

3. ใบออกเป็นสามแถว กาบใบขอบเชื ่อมติดกัน ลำต้นแข็ง ผลแห้งเมล็ดล่อน หรือเปลือกแข็งเมล็ดเดียว<br />

87<br />

Santalaceae<br />

3. ใบออกเป็นสองแถว กาบใบแตกออกด้านเดียว ลำต้นมักกลวง ผลเป็นเมล็ดแบบผลธัญพืช (caryopsis)<br />

Gramineae<br />

2. ดอกไม่ออกตามง่ามใบประดับ กลีบรวมไม่มี หรือเป็นเกล็ด 8-4 เกล็ด<br />

4. พืชนำ้ำ<br />

5. พืชเป็นเพียงเกล็ดสีเขียว เล็ก รูปเลนส์ ลอยอยู่เหนือนำ้ำจืด Lemnaceae<br />

5. พืชล้มลุก จมอยู่ในนำ้ำจืด หรือนำ้ำกร่อย<br />

6. ใบบางและจักเป็นซี ่ฟัน ดอกเล็กเกิดที่โคนก้าน<br />

6. ใบหนา รูปดาบ ดอกเพศเดียว ออกเป็นช่อเชิงลด (spike) แน่นที ่ปลาย<br />

4. เป็นพืชบกส่วนมาก ถ้าเป็นพืชนำ้ำ ลักษระไม่เหมือนข้างบน<br />

Najadaceae<br />

Typhaceae<br />

7. พืชไม่มีเนื้อไม้เป็นส่วนมาก ใบกว้าง ดอกเพศเดียวและต่างเพศร่วมต้น (monoecious) หรือดอกสมบูรณ์เพศ<br />

Araceae<br />

7. พืชเนื้อแข็ง ตั้งตรงหรือเลื้อย ใบยาว แข็ง ขอบจักเป็นซี ่ฟัน ออกเวียนสลับ ดอกเพศเดียวและต่างเพศต่างต้น<br />

(dioecious)<br />

Pandanaceae<br />

1. มีวงกลีบรวม มักเรียงเป็นสองวง ทั้งสองวงหรือวงในสุดคล้ายกลีบดอก ไม่มีหนามหรือเกล็ด<br />

8. เกสรเพศเมียประกอบด้วยคาร์เพล 2 หรือหลายคาร์เพล แยกจากกัน<br />

9. พืชล้มลุกกินซาก (saprophyte) ขนาดเล็ก ไม่มีใบ ดอกเพศเดียว Triuridaceae<br />

9. พืชล้มลุก ใบสีเขียว ดอกมักเป็นดอกสมบูรณ์เพศ<br />

10. ไข่มี 3-2 เมล็ด ผลแห้งไม่แตก Alismataceae<br />

10. ไข่มีหลายเมล็ด ผลแห้งแตก Butomaceae<br />

8. เกสรเพศเมียประกอบด้วย คาร์เพล 1 หรือ 2 หรือหลายคาร์เพล คาร์เพลเชื ่อมติดกัน<br />

11. รังไข่เหนือวงกลีบ<br />

12. ไม้เนื้อเข็ง มักคล้ายไม้ต้น บางครั้งเลื้อย ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ หรือใบประกอบแบบขนนกขนาดใหญ่ แข็ง<br />

Palmae<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


่<br />

88 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

12. พืชไม่มีเนื้อไม้ หรือถ้าเป็นไม้เนื้อแข็ง ใบเป็นใบเดี่ยว แคบ<br />

13. วงกลีบรวมวงนอกคล้ายกลีบเลี้ยง วงในคล้ายกลีบดอก<br />

14. วงกลีบรวมลดรูปเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 2 กลีบ ใบแคบ ดอกมีใบประดับคล้ายกาบ มีขนแบบขนแกะ (wooly)<br />

มีเกสรเพศผู้ 1<br />

Philydraceae<br />

14. ดอกไม่เหมือนข้างบน<br />

15. ใบมีจำนวนมาก ซ้อนกันหรือเป็นกาบหุ้มลำต้น ดอกสีชมพู หรือนำ้ำเงิน Commelinaceae<br />

15. ใบมีน้อย ไม่ซ้อนกันหรือเป็นกาบหุ้มลำต้น ดอกมีหลายสี Liliaceae<br />

13. วงกลีบรวมวงนอกและวงในคล้ายกัน มักจะคล้ายกลีบดอกทั้งหมด<br />

16. ดอกมักมีขนาดเล็ก ออกเป็นกระจุกที ่ปลายก้าน<br />

17. ใบประดับของกระจุกดอกแข็ง สีเข้ม ดอกสมบูรณ์เพศ สีเหลือง ค่อนข้างเด่น Xyrisdaceae<br />

17. ใบประดับของกระจุกดอกบาง สีอ่อน ดอกเพศเดียว ขนาดเล็กสีขาว Eriocaulaceae<br />

16. ดอกและช่อดอกไม่เหมือนข้างบน<br />

18. ช่อดอกก้านโดด (scapose) เป็นช่อแบบซี ่ร่ม รองรับด้วยใบประดับคล้ายกาบ ค่อนข้างบางคล้ายเนื ่อ<br />

19. มีหัวใต้ดิน พื้ชตั้งตรง Amaryllidaceae (Allium)<br />

19. มีเหง้าใต้ดิน พืชเลื้อยโดยหูใบที ่เปลี่ยนไปเป็นมือพัน<br />

18. ช่อดอกไม่เป็นแบบซี ่ร่ม หรืออาจเป็นกึ ่งซี่ร่ม แต่ไม่มีใบประดับคล้ายกาบ<br />

20. ดอกสมมาตรตามรัศมี ไม่ใช่พืชนำ้ำ<br />

Smilacaceae<br />

21. รังไข่แต่ละช่องมีไข่ 1 เมล็ด Flagellariaceae<br />

21. รังไข่แต่ละช่องมักมีไข่หลายเมล็ด<br />

22. พืชเนื้อแข็ง และทนแล้ง ใบส่วนมากมีเส้นใย ก้านเกสรเพศเมียมี 1 ดอกมักออกเป็นช่อกระจาย<br />

Agavaceae<br />

22. พืชไม่มีเนื้อไม้ และไม่ทนแล้ง หรือทนแล้งได้เล็กน้อย ใบไม่มีเส้นใย ก้านเกสรเพศเมียแตกเป็น<br />

แฉก ดอกเป็นช่อหลายแบบ<br />

Liliaceae<br />

20. ดอกสมมาตรด้านข้าง พืชนำ้ำ Pontederiaceae<br />

11. รังไข่ใต้วงกลีบ หรือกึ่งใต้วงกลีบ<br />

23. เกสรเพศผู้ที่สืบพันธุ์ได้มี 3 หรือมากกว่า ไม่มีเกสรเพศผู้ที ่เป็นหมันและคล้ายกลีบดอก<br />

24. พืชนำ้ำ จมอยู่ใต้นำ้ำหรือลอยนำ้ำ ดอกส่วนมากเป็นดอกเพศเดียว Hydrocharitaceae<br />

24. พืชบก หรือพืชอิงอาศัย (epiphyte) ดอกมักเป็นดอกสมบูรณ์เพศ<br />

25. วงกลีบรวมมีสองวง วงนอกและวงใน แตกต่างกันทั้งขนาด รูปร่าง และสี<br />

26. กลีบดอกไม่เหมือนกัน พืชมีขนาดใหญ่คล้ายไม้ต้น เกสรเพศผู้มี 5 Musaceae<br />

26. กลีบดอกมี 3 คล้ายกัน พืชขนาดเล็ก<br />

27. เกสรเพศผู้มี 6 Amaryllidaceae<br />

27. เกสรเพศผู้มี 3 Iridaceae<br />

25. วงกลีบรวมคล้ายกลีบดอก<br />

28. ไม้เถา ไม่มีเนื้อไม้ ดอกเพศเดียว ขนาดเล็ก Dioscoreaceae<br />

28. ไม้ล้มลุก ดอกสมบูรณ์เพศ<br />

29. เกสรเพศผู้ 3-1<br />

30. เกสรเพศผู้มี 1 หรือ 2 เชื่อมติดกับก้านเกสรเพศเมียเป็นเส้าเกสร (column)<br />

89<br />

Orchidaceae<br />

30. เกสรเพศผู้มี 3 ก้านเกสรเพศเมียแยกเป็น 3 แฉก Iridaceae<br />

29. เกสรเพศผู้มี 6<br />

31. รังไข่กึ ่งใต้วงกลีบ พืชล้มลุก ดอกก้านโดด (scapose) ใบเป็นแถบแคบ<br />

31. รังไข่ใต้วงกลีบ<br />

Liliaceae<br />

32. ดอกออกแน่น ล้อมรอบด้วยใบประดับเด่น ดอกในมักเป็นเส้นยาวคล้ายเส้นด้าย Taccaceae<br />

32. ดอกไม่เหมือนข้างบน<br />

33. วงกลีบรวมเป็นท่อ มีปีก 3 ปีก Burmanniaceae<br />

33. วงกลีบรวมไม่เป็นท่อและไม่มีปีก<br />

34. ดอกเป็นดอกก้านโดด ก้านเดียวหรือลายก้าน ช่อดอกเป็นซี่ร่ม มักรองรับด้วยใบประดับ<br />

คล้ายกาบ อับเรณูติดที่ฐาน<br />

35. โคนลำต้นเป็นหัวคล้ายหัวหอม (bulbous) Amaryllidaceae<br />

35. ไม่มีหัวคล้ายหัวหอม Hypoxidaceae<br />

34. ดอกมีจำนวนมาก ออกเป็นช่อกระจาย ไม่มีใบประดับรองรับ อับเรณูติดกับก้านเกสรเพศผู้ที<br />

ตรงกลางอับ (versatile)<br />

Agavaceae<br />

23. เกสรเพศผู้ที ่สืบพันธุ์ได้มี 1 หรือบางครั้งมี 2 เกสรเพศผู้เป็นหมัน ถ้ามีจะเห็นชัดกว่าวงกลีบรวม<br />

35. เกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียแยกกัน รังไข่ไม่บิด<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


90 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

36. เกสรเพศผู้มีอับเรณูสองเซลล์ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นท่อคล้ายกาบ พืชมีกลิ่นหอม<br />

36. เกสรเพศผู้มีอับเรณูเซลล์เดียว กลีบเลี้ยงแยกจากกันพืชไม่มีกลิ่นหอม<br />

Zingiberaceae<br />

37. ดอกมีขนาดใหญ่ มักมีสีแดงหรือเหลือง รังไข่แต่ละช่องมีไข่จำนวนมาก Cannaceae<br />

37. ดอกมักมีขนาดเล็ก สีขาว รังไข่แต่ละช่องมีไข่ 1 เมล็ด Marantaceae<br />

35. เกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียเจริญรวมกันเป็นเส้าเกสร รังไข่มักบิด Orchidaceae<br />

6<br />

ลักษณะประจำวงศ์พืช<br />

พืชที่จะกล่าวถึงนี้อยู่ในหมวด (Division) พืชมีเมล็ด (Spermatophyta หรือ Seed plants) ทั้งหมด พืชพวกนี้<br />

ใช้เมล็ดในการขยายพันธุ์ แยกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ พืชเมล็ดเปลือย (Gymnosperms) และพืชเมล็ดอยู่ในรังไข่ หรือ<br />

พืชดอก (Angiosperms) พรรณพืชมีเมล็ดนี้ในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 300 วงศ์ เป็นการยากที ่จะกล่าวถึงพืชทุก<br />

วงศ์ในที ่นี้ จึงขอเลือกกล่าวถึงเฉพาะวงศ์พืชที่เกี่ยวข้องกับการป่าไม้ และวงศ์ที่พบเห็นอยู่บ่อย ๆ โดยจะกล่าวถึง<br />

ลักษณะประจำวงศ์ เรียงตามลำดับชาติวงศ์ (Phylogyny) ของพืช วงศ์พืชที่มีลักษณะใกล้เคียงกันจะอยู่ด้วยกัน<br />

เป็นกลุ่มใหญ่ก่อน เรียกว่า อันดับ (Order) แล้วจากอันดับนี้จะแบ่งออกเป็นวงศ์ (Family) โดยมีรูปวิธานแยกวงศ์<br />

(Key to families) ต่อจากนั้นในวงศ์จะมีรูปวิธานแยกสกุล (Key to genera) ทั้งนี้จะเลือกกล่าวถึงสกุลพืชที่พบเป็นอยู่<br />

บ่อย ๆ ดังที ่ได้กล่าวมาแล้ว บางสกุลอาจมีรูปธานแยกชนิด (Key to species) ด้วย<br />

1. พืชเมล็ดเปลือย (Gymnosperms)<br />

พืชในกลุ่มนี้เป็นพืชที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ นับว่าเก่าแก่ที่สุดในบรรดาพืชมีเมล็ดทั้ง<br />

หลาย ในปัจจุบันมีสมาชิกเหลืออยู่ประมาณ 700 ชนิด ล้วนแล้วแต่เป็นพืชที่มีโครงสร้างเป็นเนื้อไม้ทั้งสิ้น แต่ท่อ<br />

ลำเลียงนำ้ำเลี้ยงต่าง ๆ ใน xylem นั้นได้อาศัย tracheids ไม่มี vessels ที่แท้จริง ยกเว้นแต่ในอันดับ Gnetales เท่านั้น<br />

ที่เนื้อไม้มี vessels ที ่แท้จริง<br />

พืชเมล็ดเปลือยที่พบอยู่ในประเทศไทยนั้นอยู่ในอันดับ Cycadales, coniferales และ Gnetles<br />

รูปวิธานแยกอันดับ<br />

1. ใบประกอบแบบขนนก ขนาดใหญ่ เรียงตัวเป็นกลุ่มอยู่ที ่ปลายยอดของลำต้น อวัยวะสืบพันธุ์ (strobili) เพศผู้และ<br />

เพศเมียขนาดใหญ่ เกิดอยู่ตรงกลางกลุ่มใบ และอยู่ต่างต้นกัน<br />

1. Cycadales<br />

1. ใบเดี่ยว ขนาดเล็ก หรือขนาดกลาง เรียงกระจายกันอยู่ตามกิ ่งของลำต้น อวัยวะสืบพันธุ์ (strobili) ทั้งสองเพศมี<br />

ขนาดเล็ก เกิดอยู่ตามง่ามใบ หรือตอนปลาย ๆ กิ ่ง<br />

2. ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม ตั้งตรง เนื้อไม้มีท่อชัน (resin ducts) และไม่มี vessels ที่แท้จริง strobili เกิดตามง่ามใบหรือ<br />

ตามปลาย ๆ กิ ่ง ส่วนมากอยู่บนต้นเดียวกัน บางทีแยกกันอยู่คนละต้น<br />

2. Coniferales<br />

2. ไม้ต้น ตั้งตรง หรือไม้เลื้อย ลำต้นมีเนื้อไม้แข็ง เนื้อไม้ไม่มีท่อชัน และมี vessels ที่แท้จริง strobili เกิดตามลำต้น<br />

หรือบางทีตามกิ่ง แยกกันอยู่คนละต้น strobili เพศเดียว หรือทั้งสองเพศอยู่รวมกันแต่ไม่สมบูรณ์ เรียงเป็นวง<br />

รอบข้อเมื ่อเจริญเต็มที ่จะหักหลุดเป็นข้อ ๆ<br />

3. Gnetales<br />

1. อันดับ Cycadales<br />

พรรณพืชในอันดับนี้นับได้ว่าเนพืชมีเมล็ดที่เก่าแก่ที่สุด ในประเทศไทยมีวงศ์เดียว คือ Cycadaceae<br />

91<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


92 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

วงศ์ปรง Cycadaceae<br />

ไม้ต้น มีลักษณะคล้ายพืชจำพวกปาล์ม ใบ ประกอบแบบขนนก ขนาดใหญ่ ใบอ่อน ปลายใบม้วนขดลง<br />

เหมือนใบอ่อนของผักกูด (fern) อวัยวะเพศ แยกกันอยู่คนละช่อ และอยู่ต่างต้นกัน เกิดเป็นกลุ่มหรือเดี่ยว ๆ ตรง<br />

กลางกลุ่มใบ ใบสร้างอับไมโครสปอร์ (microsporophylls) แบนราบ มีอับไมโครสปอร์ (microsporangia) มากมายอยู่<br />

ทางด้านล่าง และมีเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ที่เคลื่อนไหวได้ ใบสร้างเมกะสปอร์ (megasporphylls) รูปแบบขนนก เรียง<br />

เวียนสลับซ้อนกันหลวม ๆ เมล็ด ใหญ่มีลักษณะคล้ายผลเมล็ดแข็ง (drupe) มีใบเลี้ยง 2 ใบ<br />

พืชในวงศ์นี้ในประเทศไทยมีอยู่เพียงสกุลเดียว คือ Cycas มีอยู่ด้วยกัน 6 ชนิด คือ ปรงเหลี่ยม หรือ<br />

ตาลปัตรฤาษี C. siamensis Miq. พบขึ้นตามป่าเต็งรังทั่ว ๆไปในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่ ๆ มีกรวดลูกรังหรือ<br />

โขดหินแกรนิต เช่น บริเวณตาก-เถิน และตาก-สุโขทัย เป็นต้น ปรงทะเล C. rumphii Miq. พบขึ้นตามป่าชายหาด<br />

และตามเกาะต่าง ๆ ปรงเขา C. pectinata Griff. ชอบขึ้นตามป่าดิบทั่ว ๆไป โดยเฉพาะอย่างยิ ่งตามเทือกเขาหินปูน<br />

ปรง C. circinalis L. พบขึ้นตามป่าดิบชื้นทางภาคใต้ มะพร้าวเต่า C. micholitzii Dyer var. simplicipinna Smitin. และ<br />

ปรงญี่ปุ่น C. revolute Thunb. พบขึ้นตามป่าดิบตามไหล่เขา ตั้งแต่ระดับ 600 เมตรขึ้นไป ทางภาคเหนือและภาค<br />

ตะวันออกเฉียงเหนือ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ Flora of Thailand. Vol. 2(2): 185-192. 1972.)<br />

2. อันดับ Coniferales<br />

ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม เนื้อไม้มีชัน (resin) ลำต้นมีกิ่งก้านสาขามาก ใบเดี่ยว มีจำนวนมาก ตัวใบแคบ บางทีลด<br />

ขนาดเป็นรูปเข็ม หรือเป็นเกล็ด อวัยวะเพศ แยกกันอยู่ต่างต้นกัน หรือบนต้นเดียวกัน เมล็ด มีเยื่อหุ้มเมล็ด หรือแห้ง<br />

บางทีมีปีก มีใบเลี้ยงสองใบหรือมากกว่า<br />

พืชในอันดับนี้มี 7 วงศ์ด้วยกัน เท่าที่พบมีอยู่ในประเทศไทยเพียง 4 วงศ์ คือ Podocarpaceae,<br />

Cephalotaxaceae, Cupressaceae และ Pinaceae<br />

รูปวิธานแยกวงศ์<br />

1. เมล็ดอยู่เดี่ยว ๆ มักจะมีเยื่อ (epimatium) นุ่ม ๆ หุ้ม คล้ายผลชนิด drupe ใบกว้าง หรือแคบ หรือลดขนาดลง<br />

เป็นเกล็ด หรือเป็นรูปสว่าน ไม่อยู่รวมเป็นกระจุก<br />

2. ใบกว้างหรือแคบ หรือลดขนาดลงเป็นเกล็ด หรือเป็นรูปเข็ม เรียงเวียนสลับ ท้องใบไม่มีต่อม สีขาว<br />

1. Podocarpaceae<br />

2. ใบแคบขอบขนาน เรียงสลับกันสองข้างกิ ่ง ท้องใบมีต่อมสีขาวไปตามทางยาวขนานกับเส้นกลางใบ<br />

2. Cephalotaxaceae<br />

1. เมล็ดมี 2-1 หรือมากกว่า มีกาบแข็งหุ้ม กาบนี้มีจำนวนมากประกอบขึ้นเป็นรูปกรวยแข็ง ๆ (cone) ใบรูปเข็ม<br />

อยู่รวมเป็นกระจุก เรียงเวียนสลับ หรือเป็นเกล็ด เรียงตรงข้ามและตั้งฉากกัน (decussate) แนบอยู่กับกิ ่ง<br />

3. ใบรูปเข็ม รวมกันเป็นกระจุก ๆ ละ 3-2 ใบ เรียงเวียนสลับ เกล็ดหุ้มเมล็ดหนึ่ง ๆ มีเมล็ดที่มีปีกเกล็ดละ 2<br />

เมล็ด เกล็ดหุ้มเมล็ดและกาบรองเกล็ดแยกกัน<br />

3. Pinaceae<br />

3. ใบเป็นเกล็ด เรียงตรงข้ามและตั้งฉากกัน แนบอยู่กับกิ ่ง เกล็ดหุ้มเมล็ดและกาบรองเกล็ดเชื ่อมติดกัน<br />

4. Cupressaceae<br />

1. วงศ์พญาไม้ Podocarpaceae<br />

ไม้พุ่ม หรือไม้ต้น ใบเดี ่ยว เรียงสลับ หรือเรียงเวียนสลับ มีลักษณะต่าง ๆ กัน ตั้งแต่ลดขนาดลงเป็นเกล็ด<br />

เป็นรูปเข็ม หรือรูปใบหอก อวัยวะเพศ (strobili) แยกกันอยู่ มักจะอยู่ต่างต้น และออกตามง่ามใบตอนปลาย ๆกิ่ง<br />

อวัยวะเพศผู้มี microsporophylls หลายอัน เรียงซ้อนสลับกัน แต่ละอันมี microsporangia 2 อัน microspores มีปีก<br />

อวัยวะเพศเมียอยู่เดี่ยว ๆ มีไข่เพียงเมล็ดเดียว ไข่มีเยื่อ (epimatium) หุ้ม อยู่บนฐานที ่ประกอบขึ้นด้วยเกล็ดที ่เชื่อม<br />

ติดกัน เมล็ด มีเยื่อหุ้มมิด หรือหุ้มอยู่เพียงครึ่งเดียว ใบเลี้ยงมี 2 ใบ<br />

พืชในวงศ์นี้พบขึ้นในประเทศไทย 3 สกุล คือ สกุล Dacrydium, Podocarpus และ Dacrycarpus<br />

รูปวิธานแยกสกุล<br />

1. ช่อดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ที่ปลายกิ่ง เมล็ดมีขนาดกว้างไม่เกิน 5 มม. ยาวไม่เกิน 3 มม ใบเป็นเกล็ดหรือรูป<br />

สว่าน เรียงสลับ<br />

Dacrydium, Dacrycarpus<br />

1. ช่อดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ตามกิ่ง เมล็ดมีขนาดกว้างประมาณ 11 มม. ยาวประมาณ 10 มม. หรือกว่านั้น<br />

ใบกว้าง หรือแคบเรียว<br />

Podocarpus<br />

พันธุ์ไม้ในสกุล Dacrydium มีอยู่ในประเทศไทยเพียงชนิดเดียว คือ สนสามพันปี D. elatum (Roxb.) Wall.<br />

พบขึ้นในป่าดิบเขาทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และตะวันออกเฉียงใต้<br />

พันธุ์ไม้ในสกุล Podocarpus มีด้วยกัน 5 ชนิด พบขึ้นตามป่าดิบทั่ว ๆ ไปในประเทศ เป็นไม้หวงห้ามประเภท ข.<br />

1. เส้นกลางใบเห็นชัด ไม่มีเส้นใบ<br />

2. ปลายใบแหลม<br />

รูปธานจำแนกชนิด<br />

3. ช่อดอกเพศผู้อยู่เดี่ยว ๆ จำนวน 3-2 ตามง่ามใบ ดอกเพศเมียก้านยาว 10 มม. ใบยาวถึง 20 ซม. กว้าง<br />

1.8 ซม. เรียวสอบไปหาปลายใบ 1. ซางจิง P.neriifolius D. Don<br />

3. ช่อดอกเพศผู้มีจำนวน 5-3 ตามง่ามใบ ดอกเพศเมียก้านยาว 2 มม. ใบยาวถึง 7 ซม. กว้าง 0.5 ซม. ปลาย<br />

ค่อนข้างสอบ<br />

2. สนใบเล็ก P. Polystachyus R. Br.<br />

2. ปลายใบมนหรือทู่ 3. พญาไม้ใบสั้น P. pilgeri Foxw.<br />

1. เส้นกลางใบเห็นได้ไม่ชัด มีเส้นใบ<br />

4. ช่อดอกเพศผู้อยู่เดี ่ยว ๆ ใบรูปรี กว้าง 2.5 ซม. ยาว 5 ซม. ฐานรองรับเมล็ดยาว 10 มม.<br />

4. ช่อดอกเพศผู้จำนวน 6-3 ใบรูปขอบขนานหรือรูปไข่แกมขอบขนาน ขนาดใหญ่กว่า<br />

93<br />

4. พญาไม้ P. motleyi (Part.) Dum.<br />

5. ขุนไม้ P. wallichianus Presl.<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


94 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

ส่วน Dacrycarpus นั้นพบหนึ ่งชนิด คือ มะขามป้อมดง D. imbricatus (Blume) de Laub. var. patulus de<br />

Laub. ใบประดับที ่เชื่อมติดกันและรองรับเมล็ด ด้านหนึ ่งเป็นสันเห็นได้ชัด เมื ่อผลโตเต็มที่ ใบเล็กเรียว แผ่แบน<br />

(ดูรายละเอียดเพิ ่มเติมในหนังสือ Flora of Thailand. Vol. 2(3): 197-203. 1975.)<br />

2. วงศ์พญามะขามป้อม Cephalotaxaceae<br />

ไม้พุ่ม หรือไม้ต้น ดอกเพศผู้และเพศเมียแยกกันอยู่คนละต้น ใบแคบเรียว ปลายแหลม ติดเรียงสลับกัน มี<br />

ท่อชัน (resin duct) ขนาดใญ่อยู่ทางด้านหลังใบขนานกันไปกับเส้นกลางใบ และมีต่อมสีขาวตามยาวของใบ ดอกเพศ<br />

ผู้มีจำนวน 11-6 รวมกันอยู่เป็นก้อนกลม ๆ ตามง่ามกาบบาง ๆ และมีเกล็ดเล็ก ๆ เป็นกระจังรองรับอยู่ ดอกหนึ ่ง ๆ<br />

มีเกสรเพศผู้ 12-7 อัน แต่ละอันเป็นเกล็ดรูปโล่ มีก้านเชื่อมต่อกับแกนช่อดอก ภายใต้เกล็ดมีอับเรณู 3-2 อัน<br />

ละอองเรณูกลม ดอกเพศเมียรวมกันอยู่เป็นรูปกรวยเล็ก ๆ มีก้านส่ง อยู่ตามกาบตอนปลาย ๆกิ่ง กรวยหนึ ่ง ๆมี<br />

20-6 เกล็ด อยู่บนแกนที ่อวบนำ้ำ เกล็ดหนึ ่งมีไข่ 2 ใบอยู่ที ่โคน ไข่นี้จะเจริญขึ้นเป็นเมล็ดเพียงเมล็ดเดียว เมื่อไข่เจริญ<br />

ขึ้นเกล็ดเหล่านี้จะเชื่อมติดกัน ทำให้คล้าย ๆเป็นเมล็ด ในระยะที่เจริญขึ้นมานั้นมีเยื่อหนานุ่มหุ้มอยู่ครึ<br />

่งหนึ่ง เมล็ด มี<br />

ขนาดใหญ่และมีจำนวนหนึ่งหรือ 2 เมล็ดต่อกรวยหนึ ่ง เปลือกชั้นนอกหนานุ่ม มีชัน ชั้นในบางแข็ง<br />

ในประเทศไทยมีอยู่เพียงชนิดเดียวคือ พญามะขามป้อม Cephalotaxus griffithii Hook.f. พบขึ้นตามป่าดิบ<br />

เขาทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื้อไม้เลื่อยผ่าตบแต่งง่าย เป็นไม้หวงห้ามประเภท ข.<br />

3. วงศ์สนสามใบ Pinaceae<br />

ไม้ต้น ไม่ผลัดใบ ใบ เดี่ยว รูปเข็ม ขึ้นเป็นกลุ่ม อวัยวะเพศ แยกกันอยู่คนละช่อ และมักจะอยู่บนต้นเดียวกัน<br />

เป็นส่วนมาก ดอกเพศผู้ประกอบด้วยใบที ่สร้างอับสปอร์เพศผู้ (microsporophylls) จำนวนมากเรียงสลับเวียนกัน<br />

แต่ละอันมีอับสปอร์เพศผู้ (microsporangia) คู่หนึ่ง สปอร์เพศผู้ (microspores) มีปีก ดอกเพศเมียมีเกล็ดรองรังไข่<br />

หลายอัน เรียงสลับเวียนกัน แต่ละเกล็ดมีไข่อยู่ 2 เมล็ด อยู่ทางด้านบน ทางด้านล่างของแต่ละเกล็ดมีกาบรองรับ<br />

อยู่ ดอกเพศเมียนี้เมื่อเจริญขึ้นจะเป็นรูปกรวย เกล็ดแข็ง เมล็ด มีจำนวน 2 ต่อเกล็ด และมักมีปีก<br />

ในประเทศไทยมีเพียงสกุลเดียวคือ Pinus และมีอยู่เพียง 2 ชนิดคือ สนสองใบ P. merkusii Jungh. & de<br />

Vries และ สนสามใบ P. kesiya Royle ex Gord. พบขึ้นตามป่าดิบเขาทั่ว ๆ ไปทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียง<br />

เหนือ เป็นไม้หวงห้ามประเภท ข.<br />

สนทั้งสองชนิดนี้สังเกตความแตกต่างกันได้ดังนี้คือ สนสองใบ นั้น ใบกลุ่มหนึ่งมี 2 ใบ เปลือกลำต้นสี<br />

นำ้ำตาลเข้มเกือบดำ แตกเป็นร่องลึกตามยาวและตามขวางดูคล้าย ๆ หนังจระเข้ส่วนสนสามใบ นั้น ใบกลุ่มหนึ่งมี<br />

สามใบ เปลือกลำต้นสีนำ้ำตาลแกมชมพู ล่อนเป็นสะเก็ด<br />

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ Flora of Thailand. Vol. 2(2): 193-194. 1972.)<br />

4. วงศ์แปกลม Cupressaceae<br />

ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม ใบเรียงตรงข้ามและตั้งฉากกัน หรือเรียงในระนาบเดียวกันรอบกิ่ง ใบบางทีแคบยาว<br />

ปลายแหลม แต่ส่วนมากเป็นเกล็ด ท้องใบมีต่อมสีขาว ดอก ทั้งสองเพศอยู่บนต้นเดียวกันหรือแยกกันอยู่คนละต้น<br />

ดอกเพศผู้สั้น ๆ microsoporophyll เป็นรูปโล่ มี sporangia หลายอัน เกล็ดหุ้มเมล็ดและกาบรองเกล็ดเชื ่อมติดกัน<br />

และอยู่ชิดกันประกอบเป็นกรวยสั้น ๆ เกล็ดหุ้มเมล็ดมีติ่งยื่นออกมาค่อนไปทางด้านล่างเป็นที<br />

่ตั้งของเมล็ด เมล็ด<br />

จำนวน 2-1 ใบเลี้ยงส่วนมากมี 2 ใบ<br />

พืชในวงศ์นี้มี 19 สกุลด้วยกัน ส่วนใหญ่เป็นพืชอยู่ในเขตอบอุ่น ประเทศไทยมีอยู่สกุลเดียว คือ แปกลม<br />

Calocedrus macrolepis Kurz พบขึ้นอยู่ตามริมลำธารในป่าดิบเขาระดับสูง เป็นไม้หวงห้ามประเภท ข.<br />

พันธุ์ไม้วงศ์นี้สกุลอื่นที่ได้นำมาปลูกเป็นไม้ประดับ คือ สนแผง Thuja orientakis สนญี ่ปุ่น หรือ สนจีน<br />

Cupressus และ สนหางสิงห์ Chamaecyparis เป็นต้น<br />

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ Flora of Thailand. Vol. 2(2): 196. 1972.)<br />

3. อันดับ Gnetales<br />

พืชในอันดับนี้ในประเทศไทยพบเพียงวงศ์เดียว คือ วงศ์ Gnetaceae<br />

วงศ์เมื ่อย Gnetaceae<br />

ส่วนมากเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง มีสองสามชนิดที่เป็นไม้ยืนต้น กิ่งเป็นข้อต่อกันและตามข้อจะบวมพอง ใบ<br />

เดี่ยว ติดตรงข้าม เส้นใบแบบเส้นร่างแห อวัยวะเพศแยกกันอยู่คนละช่อหรือถ้ารวมกันอยู่ดอกก็ไม่สมบูรณ์ ดอก<br />

เพศผู้ยาวเป็นข้อ ๆ ตามข้อมีดอกเพศผู้เรียงอยู่โดยรอบ ดอกหนึ ่ง ๆ นั้นมีกาบรอง 2 อัน ซึ่งเชื่อมติดกันเป็นกระจังดู<br />

คล้าย ๆ กลีบดอก ดอกเพศผู้นี้มีอับเรณูอันเดียว ตอนปลายอับเรณูนี้มี 2 ตอน ดอกเพศเมียเป็นช่อยาวและเป็นข้อ<br />

เหมือนกัน รอบ ๆ ข้อมีไข่เรียงอยู่ ไข่หนึ ่งจะมีผนังหุ้มอยู่ 3 ชั้น ชั้นนอกสดคล้ายเป็นกลีบดอก อีกสองชั้นถัดเข้าไป<br />

คล้ายเป็นเปลือกชั้นนอกและชั้นใน เปลือกชั้นในจะงอกยาวออกไปเป็นท่อเกสรเพศเมีย (stylar tube) เมล็ด จะมี<br />

กลีบนุ่มหรือหนาคล้ายหนังหุ้มอยู่<br />

ในประเทศไทยพบเพียงสกุลเดียวคือ Gnetum มี 8 ชนิด เช่น<br />

ผักกะเหรี ่ยง หรือ ผักเมี่ยง G. gnemon L. var. tenerum Markgraf ผลอ่อนใช้รับประทานสด ๆ ได้รสชาติ<br />

เหมือนเนื้อวัวต้ม<br />

เมื ่อย G. montanum Markgraf และ เมื่อยดูก G. macrostachyum Hook.f. เมล็ดเผาให้สุกใช้รับประทานได้<br />

มะเมื่อย G. gnemon L. var. gnemon Markgraf เป็นไม้ต้น ในประเทศอินโดนีเซียใช้เมล็ด ทำแป้งข้าวเกรียบเรียกว่า<br />

กรุปุก ซึ่งนำมาทอดรับประทานรสชาติหอมมันอร่อย พันธุ์ไม้ชนิดนี้มักพบปลูกกันตามหมู่บ้านเพื ่อใช้ประโยชน์จาก<br />

เมล็ด ชาวไทยอิสลามเรียกกันว่า ปีแซ<br />

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ Flora of Thailand. Vol. 2(3): 204-210. 1975.)<br />

95<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


96 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

97<br />

แปกลม<br />

มะขามป้อมดง<br />

สนสามใบ<br />

เหมียง<br />

Calocedrus macrolepis Kurz<br />

Cephalataxus mannii Hook.f.<br />

Pinus kesiya Royle ex Gordon<br />

Gnetum gnemon L.var. tenerum Markgr.<br />

(Cupressaceae)<br />

(Cephalotaxaceae)<br />

(Pinaceae)<br />

(Pinaceae)<br />

ปรงเขา<br />

ปรง<br />

เมื่อย<br />

เมื่อยดูก<br />

Cycas pectinata Griff.<br />

Cycas clivicola K.D. Hill<br />

Gnetum cuspidatum Blume<br />

Gnetum macrostachyum Hook.f.<br />

(Cycadaceae)<br />

(Cycadaceae)<br />

(Gnetaceae)<br />

(Gnetaceae)<br />

ภาพที่ 20<br />

ภาพที่ 21<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


98 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

99<br />

จำปีเพชร<br />

จำปา<br />

ก้านร่ม<br />

หน่วยนกงุ้ม<br />

Magnolia mediocris (Dandy) Figlar<br />

(Magnoliaceae)<br />

Magnolia champaca (L.) Baill. ex Pierre<br />

(Magnoliaceae)<br />

Actinodaphne sesquipedalis (Wall. ex Kuntze) Hook.f.<br />

& Thomson ex Meisn. var. gladra Kochummen<br />

(Lauraceae)<br />

Beilschmiedia gammieana King ex<br />

Hook.f.<br />

(Lauraceae)<br />

ภาพที่ 22<br />

มหาพรหม<br />

Mitrephora keithii Ridl.<br />

(Annonaceae)<br />

หนวดปลาดุก<br />

Polyalthia stenopetala (Hook. f. & Thomson)<br />

Finet & Gagnep.<br />

(Annonaceae)<br />

ภาพที่ 23<br />

นางพญาเสือโคร่ง<br />

Prunus cerasoides D. Don<br />

(Rosaceae)<br />

ไข่ปูใหญ่<br />

Rubus alceifolius Poir.<br />

(Rosaceae)<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


100 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

2. พืชดอก (Angiosperms)<br />

ในปัจจุบันประมาณกันว่าพืชในกลุ่มนี้มีอยู่ประมาณ 250,000 ชนิด พืชกลุ่มนี้มักเรียกกันว่า พืชดอก เป็น<br />

พืชกลุ่มใหญ่ที่สุดในบรรดาพรรณพืชทั้งหลาย พืชกลุ่มนี้มีลักษณะสำคัญเด่นชัด เมล็ดเกิดในรังไข่ เนื้อไม้มี vessele<br />

ทำหน้าที่ลำเลียงนำ้ำเลี้ยงต่าง ๆ อยู่ใน xylem<br />

พืชกลุ่มนี้จำแนกออกได้เป็น 2 ชั้น (class) คือ พืชใบเลี้ยงคู่ (Dicotyledonae) และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว<br />

(Monocotyledonae) ลักษระของพืชทั้งสองชั้นมีดังนี้<br />

1. พืชใบเลี้ยงคู่ Dicotyledonae ท่อนำ้ำและท่ออาหาร (vascular bundle) เรียงเป็นวงรอบแกนของลำต้น<br />

มีชั้นเจริญเติบโต (cambium) อยู่ระหว่างท่ออาหาร (sylem) และท่อนำ้ำ (phloem) ทำหน้าที่เสริมสร้างความเจริญ<br />

เติบโตต่อไป ใบมีเส้นใบแบบร่างแห (net-veined) ส่วนต่าง ๆ ของดอกมีจำนวนชั้นละ 4 หรือ 5 หรือกว่านั้นในอัตรา<br />

ทวีคูณ embryo มีใบเลี้ยง 2 ใบอยู่ข้าง ๆ<br />

2. พืชใบเลี้ยงเดี<br />

่ยว Monocotyledonae ท่อนำ้ำและท่ออาหาร (vascular bundle) เรียงกระจายกันไป<br />

ในลำต้น แต่ละกลุ่มมีขอบเขตล้อมรอบ และไม่มีชั้นเจริญเติบโต (cambium) ใบส่วนมากมีเส้นใบขนานกัน (parallelveined)<br />

ส่วนต่าง ๆ ของดอกมีจำนวนชั้นละ 3 หรือกว่านั้นในอัตราทวีคูณใบเลี้ยงมีเพียงใบเดียวอยู่ตอนปลายของ<br />

embryo<br />

ชั้นพืชใบเลี้ยงคู่ (Class Dicotyledonae)<br />

เนื ่องจากพรรณไม้ในชั้นนี้ได้จำแนกออกไปมากมายหลายอันดับ จึงเลือกเอาเฉพาะอันดับที ่มีความสำคัญ<br />

มาจำนวน 15 อันดับด้วยกัน<br />

1. กลีบดอก (petals) แยกจากกันหรือไม่มี<br />

2. กลีบดอกแยกจากกัน<br />

3. รังไข่ (ovary) ส่วนมากอยู่เหนือวงกลีบ (superior)<br />

รูปวิธานแยกอันดับ<br />

4. ส่วนต่าง ๆ ของดอกมีจำนวนมาก เรียงเวียนสลับ เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เกสรเพศเมียมีจำนวนน้อยหรือมาก<br />

และเด่นชัด (หายากที ่ส่วนต่าง ๆของดอกเรียงเป็นวงรอบ (whorl)และมีเกสรเพศเมียเพียงอันเดียว)<br />

1. Ranales<br />

4. ส่วนต่าง ๆ ของดอกมีจำนวน 5 เรียงเป็นวงรอบ (whorl)<br />

5. รังไข่มีหลายอันแยกจากกัน หรือเชื่อมติดกัน หรือมีเพียงอันเดียว กลีบดอกและเกสรเพศผู้โดยมากอยู่รอบ<br />

หรือเหนือเกสรเพศเมีย<br />

2. Rosales<br />

5. รังไข่ส่วนมากเชื ่อมติดกัน กลีบดอกและเกสรเพศผู้อยู่ใต้เกสรเพศเมีย<br />

6. เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก แยกจากกันหรือเชื่อมติดกันเป็นกลุ่ม ๆ หรือเป็นหลอด disc เห็นไม่ชัดหรือไม่มี<br />

7. กลีบเลี้ยงเรียงซ้อนเหลื ่อมกัน (imbricate) placenta ส่วนมากเป็นชนิด parietal หรือ axile<br />

8. placenta ส่วนมากเป็นแบบ parietal 3. Passiflorales<br />

8. placenta ส่วนมากเป็นแบบ axile 4. Guttiferales<br />

7. กลีบเลี้ยงเรียงจรดกัน (valvate) placenta เป็นชนิด axile มักมีขนเป็นกระจุก และมีเมือกเหนียว<br />

9. Malvales<br />

6. เกสรเพศผู้มีจำนวนเป็น 2 เท่าของกลีบเลี้ยง บางทีมีน้อยกว่า ส่วนมากแยกจากกัน placenta ส่วนมาก<br />

เป็นแบบ axile หรือ marginal มักมี glandular disc เห็นได้ชัด<br />

9. เกสรเพศผู้ตามปกติมี 2 ชั้น ชั้นนอกอยู่ตรงข้ามกับกลีบดอก ไข่ห้อยหัวลง มีรอย raphe ทางด้านหน้<br />

10. Geraniales<br />

9. เกสรเพศผู้ตามปกติมี 1 หรือ 2 ชั้นถ้ามี 2 ชั้น ๆ นอกจะอยู่สลับกับกลีบดอก ไข่ห้อยหัวลง มีรอย raphe<br />

ทางด้านหลัง<br />

11. Sapindales<br />

3. รังไข่ส่วนมากอยู่ใต้วงกลีบ (inferior) ไข่มีจำนวนมาก ใบส่วนมากเรียงตรงข้ามกัน 8. Myrtales<br />

2. ไม่มีกลีบดอกที่แท้จริง<br />

10. perianth มักมีชั้นเดียวลักษณะคล้ายกัน เกสรเพศผู้อยู่ตรงข้ามและติดกับกลีบ perianth ไข่มีจำนวนน้อยหรือ<br />

เพียงเมล็ดเดียว ส่วนมากห้อยหัวลง (pendulous)<br />

11. ช่อดอกเป็นแบบ raceme หรือ spike เกสรเพศผู้ติดตรงข้ามกับกลีบดอก ก้านเกสรเชื่อมติดกันกับกลีบดอก<br />

เมล็ดไม่มี endosperm<br />

5. Proteales<br />

11. ช่อดอกเป็นแบบต่าง ๆ ก้านเกสรเพศผู้แยกจากกลีบดอก เมล็ดมี endosperm 7. Urticales<br />

10. perianth ส่วนมากไม่มี ดอกมีแต่ใบประดับ (bracts หรือ bracteoles) รองรับ ดอกมีเพศเดียว ช่อดอกเพศผู้<br />

เป็นแบบหางกระรอก<br />

6. Amentiferae<br />

1. กลีบดอก (petals) เชื ่อมติดกันไม่มากก็น้อย (หายากที ่แยกจากกัน)<br />

12. รังไข่ส่วนมากติดเหนือวงกลีบ เกสรเพศผู้ติดกับหลอดกลีบดอก<br />

13. เกสรเพศผู้ส่วนมากมีจำนวนเป็น 2 เท่าของจำนวนกลีบดอก ส่วนมากมี 4 หรือ 5 กลีบ หรือมากกว่า รังไข่<br />

มี 5-2 ช่อง หรือมากกว่า<br />

12. Ebenales<br />

13. เกสรเพศผู้ส่วนมากมีจำนวนเท่ากัน หรือน้อยกว่าจำนวนกลีบดอก ส่วนมากมี 5 กลีบ รังไข่มี 3-1 ช่อง<br />

14. กลีบดอกส่วนมากมีขนาดเท่ากัน กลีบบิดเวียนตามกันไป เกสรเพศผู้ติดอยู่ที่โคนหลอดกลีบดอก รังไข่มี<br />

2 ช่อง เชื่อมติดกันหรือแยกกันตอนปลาย ใบเรียงตรงข้าม<br />

13. Gentianales<br />

14. กลีบดอกขนาดไม่เท่ากัน เรียงซ้อนเหลื่อมกัน (imbricale) เกสรเพศผู้ติดกับหลอดกลีบดอก (corolla tube)<br />

ที ่ค่อนข้างยาว รังไข่มี 2 ช่อง (หายากที ่มี 3 หรือ 5 ช่อง) เชื่อมติดกัน ใบเรียงสลับหรือตรงข้าม<br />

15. Tubiflorae<br />

101<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


่<br />

่<br />

102 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

12. รังไข่ติดใต้วงกลีบ อับเรณูแยกจากกัน หายากที ่เชื่อมติดกัน ใบเรียงตรงข้ามหรือเป็นวงรอบส่วนมากมีหูใบ<br />

14. Rubiaceae<br />

1. อันดับ Ranales<br />

ดอกสมบูรณ์เพศ บางทีเป็นดอกเพศเดียว วงกลีบรวมมีจำนวนมาก แยกจากกัน ลักษณะคล้ายกัน ไม่แยก<br />

ออกเป็นกลีบเลี้ยงหรือกลีบดอกได้ชัด เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เกสรเพศเมียมีจำนวนมาก แยกจากกัน หายากที<br />

เชื่อมติดกันหรือลดจำนวนลงเหลือเพียงอันเดียว รังไข่เหนือวงกลีบ endosperm มีมาก หายากที่ย่นหรือไม่มี embryo<br />

มักมีขนาดเล็ก<br />

อันดับนี้ประกอบด้วยพืชประมาณ 12 วงศ์ด้วยกัน แต่จะนำมากล่าวเพียง 5 วงศ์เท่านั้น ตามลักษณะต่าง ๆ<br />

ของดอกนั้นจะแบ่งพืชในอันดับนี้ออกได้เป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ Magnoliaceae และ Annonaceae กลุ่มหนึ่ง เพราะ<br />

กลีบดอกมีจำนวนมาก เกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียมีจำนวนมาก แยกจากกันและติดอยู่บนฐานหรือแกน (torus)<br />

เดียวกัน ดอกเป็นชนิด bisexual อีกกลุ่มหนึ ่งนั้นคือ Myristicaceae, Lauraceae และ Menispermaceae ซึ่งต่างก็มี<br />

จำนวนกลีบจำกัดและเรียงกันอยู่เพียงชั้นเดียว ดอกเป็นชนิด unisexual<br />

1. พืชมีต่อมนำ้ำมัน ส่วนมากเป็นไม้ต้น หรือไม้พุ่ม<br />

รูปวิธานแยกวงศ์<br />

2. ดอกออกเดี่ยว ๆ ที่ปลายกิ่ง ตามง่ามใบ หรือเป็นกระจุก (fascicle) ตามกิ ่ง หรือตามลำต้น เกสรเพศผู้จำนวน<br />

มาก เรียงเวียนสลับ (spiral) อับเรณูแตกเป็นช่องตามยาว หรือเป็นรูที ่ปลายสุด เกสรเพศเมียมีหลายคาร์เพล<br />

3. เมล็ดมีอาหารสะสม (albumen) เรียบ ดอก bisexual เกสรเพศผู้แยกจากกัน 1. Magnoliaceae<br />

3. เมล็ดมีอาหารสะสม (albumen) ย่นเป็นร่อง เกสรเพศเมียบางทีมีคาร์เพลเดียว<br />

4. ดอก bisexual เกสรเพศเมียมีหลายอัน ผลกลุ่ม (aggregate) แต่ละผลอวบนำ้ำ คาร์เพลแยกจากกัน (หายากที<br />

เชื ่อมติดกัน) เกสรเพศผู้แยกจากกัน<br />

2. Annonaceae<br />

4. ดอก unisexual เกสรเพศเมียมีคาร์เพลเดียว ผลคล้าย drupe แตกออกเป็นสองซีก เกสรเพศผู้ติดกันเป็นหลอด<br />

หรือเชื่อมติดกันตรงโคนเท่านั้น<br />

3. Myristicaceae<br />

2. ดอกออกเป็นช่อ panicle ตามปลายกิ ่ง หรือเป็นกระจุก (fascicle) ตามง่ามใบ เกสรเพศผู้มีจำนวนจำกัด มักมี<br />

จำนวน 6 ถึง 12 เรียงเป็นวง (whorl) อับเรณูแตกออกเผ็นช่องตามยาว หรือแบบช่องหน้าต่างตามขวาง<br />

4. Lauraceae<br />

1. พืชไม่มีต่อมนำ้ำมัน ส่วนมากเป็นไม้เถา ดอกมักเป็น unisexual ออกดอกเป็นช่อยาวตามง่ามใบ หรือตามกิ่งแก่<br />

และตามลำต้น กลีบดอกเล็ก embryo โค้งมีขนาดใหญ่<br />

5. Menispermaceae<br />

1. วงศ์จำปี จำปา Magnoliaceae<br />

ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม มักมีกลิ่นหอม ใบ เดี่ยว เรียงสลับ หูใบมีขนาดใหญ่ หุ้มปิดตามิด ส่วนมากติดเชื่อมกับ<br />

ก้านใบ แต่หลุดร่วงได้ง่าย เหลือรอยแผลเป็นไว้บนกิ ่งและโคนก้านใบ ดอก มีขนาดใหญ่ ออกเดี่ยว ๆที่ปลายกิ่ง หรือ<br />

ตามง่ามใบ ดอกสมบูรณ์เพศ สมมาตรตามรัศมี กลีบดอกมีหลายชั้น แยกไม่ออกว่าเป็นกลีบเลี้ยงหรือกลีบดอก<br />

103<br />

เรียกรวมกันว่ากลีบรวม (tepal) ส่วนใหญ่มีจำนวนตั้งแต่ 9 กลีบหรือมากกว่า เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก แยกจากกัน<br />

อับเรณู (anthers) เรียวยาว ส่วนมากหันหน้าเข้าหาแกน เกสรเพศเมียมีจำนวนมาก แยกจากกันเรียงสลับเวียนบน<br />

แกนยาวตรงกลางดอก รังไข่หนึ่ง ๆ มีจำนวนไข่สองเมล็ด ผล มักเป็นพวง (follicetum) ส่วนใหญ่เป็นผลแห้งและแก่<br />

แตก ที่แก่ไม่แตกพบน้อยมาก เมล็ดมี endosperm มาก embryo เล็ก<br />

พืชในวงศ์นี้ต่างเป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สังเกตได้โดยง่ายที่เปลือกมีกลิ่นฉุ่น ๆ หูใบเชื่อมติดกันกับก้านใบใน<br />

ระยะหนึ่ง แล้วจะหลุดร่วงไปทิ้งรอยแผลเป็นไว้เป็นร่อง ใบแห้งที่หล่นอยู่ตามพื้นป่าจะเห็นเส้นร่างแหปรากฏชัดทาง<br />

ด้านหลังใบ<br />

พืชในวงศ์นี้มีอยู่ด้วยกัน 4 สกุลด้วยกัน ส่วนมากพบขึ้นทั่วไปในเขตอบอุ่นและเขตร้อนของโลก เท่าที่<br />

สำรวจพบในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน 1 สกุล ประมาณ 29 ชนิด<br />

สกุล Magnolia เท่าที่พบมีอยู่ 29 ชนิด เช่น จำปีป่า หรือไม้ช้อน M. henryi Criab พบตามป่าดิบทางภาค<br />

เหนือ หัวเต่า หรือ จำปีเขา M. craibiana Dandy พบตามป่าดิบขึ้นทางภาคใต้ อีกชนิดหนึ ่งเป็นไม้ประดับมีถิ่นกำเนิด<br />

อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน คือ ยี ่หุบหนู หรือ ยี ่หุบน้อย M. coco (Lour.) DC.<br />

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ Flora of Thailand. Vol. 2(2): 251-267. 1975.)<br />

หมายเหตุ ในปี พ.ศ. 2539 มีการจัดจำแนกพรรรไม้ในวงศ์จำปาทั่วโลกขึ้นใหม่ ตาม World Checklist an<br />

Bibliography of Magnoliaceae โดยยุบรวมหลายสุกลเข้าด้วยกัน จนเหลือ 7 สกุล และมีจำนวนทั้งหมด 223 ชนิด<br />

คือ สกุล Elmerrillia สกุล Kmeria สกุล Liriodendron สกุล Magnolia สกุล Manglietia สกุล Michelia สกุล<br />

Pachylarnax ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 ก็ได้มีการยุบสกุล Elmerrillia สกุล Kmeria และสกุล Manglietia เข้ามาไว้ในสกุล<br />

Magnolia ทำให้เหลือเพียง 4 สกุล คือ สกุล Liriodendron สกุล Magnolia สกุล Manglietia และสกุล Pachylarnax<br />

ต่อมาได้มีการยุบรวมจนในประเทศไทยเหลือเพียง 1 สกุล คือ สกุล Magnolia<br />

2. วงศ์กระดังงา Annonaceae<br />

ไม้ต้น ไม้พุ่ม หรือไม้เถาเนื้อแข็ง เปลือกและใบมีกลิ่นฉุน ใบ เดี่ยว เรียงสลับ ไม่มีหูใบ ดอก ส่วนมากสีเขียว<br />

เหลือง หรือม่วงแดง ออกเดี่ยว ๆ ตามปลายกิ ่ง ตรงข้ามกับใบ ตามง่ามใบ หรือเป็นกระจุก เป็นช่อสั้น ๆ ตามกิ่งแก่<br />

ๆ และตามลำต้น ดอกส่วนมากเป็นดอกสมบูรณ์เพศ (bisexual) หายากที่เป็นดอกเพศเดียว (unisexual) แกนดอก<br />

แบนราบ โค้งครึ่งวงกลมหรือเป็นรูปกรวยควำ่ำ กลีบเลี้ยง (sepals) มีจำนวน 3 หายากที่มี 2 แยกจากกันหรือเชื ่อม<br />

ติดกันในลักษณะต่าง ๆ กลีบดอกมีจำนวน 6 กลีบ เรียงกันอยู่เป็น 2 ชั้น เกสรเพศผู้จำนวนมาก เรียงเวียนสลับกัน<br />

หลายชั้น เกสรเพศเมียมีจำนวนมาก หายากที่มีจำนวนน้อยหรือเพียงอันเดียว แยกจากกัน หายากที ่เชื่อมติดกัน<br />

รังไข่มีช่องเดียว placenta เป็นแบบ parietal ผล มีก้านส่งเป็นอิสระ บางทีพบเป็นผลกลุ่ม (aggregate) ที ่มีผิวอวบนำ้ำ<br />

เช่น น้อยหน่า (Annona squamosa L.) เมล็ดมีเยื่อหุ้ม หรือบางทีก็ไม่มี endosperm มีปริมาณมากและย่นเป็นร่อง<br />

พืชในวงศ์นี้มีจำนวนสมาชิกมากสกุลและมากชนิด ประมาณ 122 สกุล และ 1,100 ชนิด มีเขตกระจายพันธุ์<br />

กว้างขวางในเขตร้อนของโลก ส่วนมากพบขึ้นอยู่ตามป่าดิบในระดับตำ่ำ ในประเทศไทยเท่าที ่สำรวจพบมีอยู่ 34 สกุล<br />

ด้วยกัน แต่ที่มีคุณค่าสำคัญทางเศรษฐกิจมีอยู่เพียงไม่กี<br />

่สกุล เช่น สกุล Mezzettia คือ หัวค่าง M. leptopoda Oliv.<br />

สกุล Polyalthia คือ ยางโอน P.viridis Craib สกุล Cananga คือ เฝิง หรือ สะแกแสง C. latifolia Finet & Gagnep. สกุล<br />

Platymitra คือ หำช้าง หรือ หำโจร P. siamensis Craib และสกุล Cyathocalyx คือ นางเลว C. martabanicus Hook.f.<br />

& Thoms.<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


104 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

นอกจากนี้มีบางสกุลที่นำมาปลูกเป็นไม้ประดับเพราะดอกมีกลิ่นหอม เช่น สายหยุด Desmos chinensis<br />

Lour. การเวก Artabotrys siamensis Miq. ลำดวน Melodorum fruticosum Lour. นมแมว Rauwenhoffia siamensis<br />

Scheff. และ กระดังงา Cananga odorata Hook.f. & Thoens. เป็นต้น<br />

พืชในวงศ์นี้จะสังเกตได้โดยง่ายที ่ใบและเปลือกมีกลิ่นฉุน ยอดมักมีขนละเอียดสีนำ้ำตาลปกคลุม และ<br />

เปลือกเมื่อสับดูใต้เปลือกมักจะมีสีดำหรือนำ้ำตาลแกมดำ ชั้น cambium ลอกออกได้เป็นเยื ่อโปร่งบาง ๆ<br />

3. วงศ์จันทน์ป่า จันทน์แดง Myristiaceae<br />

ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม ไม่ผลัดใบ เปลือกมีนำ้ำเลี้ยงใสสีแดง ใบ เดี ่ยว ไม่มีหูใบ เรียงสลับ ดอก เล็ก เป็นดอกเพศ<br />

เดียว (unisexual) ต่างเพศต่างต้น ออกเป็นช่อ หรือเป็นกระจุก หรือเดี ่ยว ๆตามง่ามใบ กลีบดอกเชื ่อมติดกันมี<br />

จำนวน 4-2 กลีบ ส่วนมากแล้วมี 3 กลีบ เกสรเพศผู้มีจำนวน 30-3 ก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นหลอด หรือเป็นฐาน<br />

ราบ ๆ รังไข่มีอันเดียว และมีไข่เพียงเมล็ดเดียว ผล สด แบบ drupe แตกออกเป็น 2 ซีก เมล็ดใหญ่ มักจะมีเยื่อสีแดง<br />

หุ้ม embryo เล็ก endosperm ย่นเป็นร่อง<br />

พืชในวงศ์นี้มี 15 สกุล ขึ้นในเขตร้อนของโลก ในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน 4 สกุล พืชทั้ง 4 สกุลนี้เป็นไม้ต้น<br />

ทั้งสิ้น คือ Myristica, Gymnaranthera, Horsfieldia และ Knema<br />

สกุล Myristica หรือจันทน์ป่า เป็นไม้หวงห้ามประเภท ข. เพราะเมล็ดใช้เป็นสมุนไพรและเครื่องเทศ<br />

นอกนั้นเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.<br />

รูปวิธานแยกสกุล<br />

1. เยื่อหุ้มเมล็ดแฉกลึกลงมาเกือบถึงโคน เกสรเพศผู้เชื ่อมติดกันเป็นหลอดยาว<br />

2.อับเรณูเชื่อมติดกันกับหลอดเกสรตอนปลายมักมีส่วนที<br />

่เป็นหมันมีใบประดับติดอยู่ที่โคนกลีบ ดอกทางด้านใด<br />

ด้านหนึ ่ง<br />

Myristica<br />

2. อับเรณูแยกจากกันตอนปลาย หลอดดอกสั้นหรือไม่มี ไม่มีใบประดับ Gymnacranthera<br />

1. เยื่อหุ้มเมล็ดเรียบหรือแฉกเพียงตอนปลายเท่านั้น เกสรเพศผู้มีลักษณะต่าง ๆ<br />

3. เยื่อหุ้มเมล็ดเรียบ หุ้มมิดเมล็ด ตอนปลายหยักหรือม้วน เกสรเพศผู้เป็นรูปกลม ๆ รูปถ้วยรูปสามเหลี ่ยม หรือ<br />

รูปทรงกระบอก เกือบไม่มีก้าน อับเรณูเชื ่อมติดกับหลอดเกสรเกือบตลอดอัน ไม่มีกาบรองกลีบดอก<br />

Horsfieldia<br />

3. เยื่อหุ้มเมล็ดแฉกเพียงตอนปลาย เกสรเพศผู้มีก้านเป็นรูปร่ม หรือรูปจานสามเหลี ่ยมอับเรณูแยกจากกัน มีใบ<br />

ประดับ<br />

Knema<br />

4. วงศ์อบเชย Lauraceae<br />

ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม ส่วนต่าง ๆ มักมีกลิ่นหอม ใบเดี่ยว เรียงสลับ บางทีเรียงตรงข้าม เส้นใบแบบขนนก หรือ<br />

แบบนิ้วมือ ไม่มีหูใบ ดอก bisexual หรือ unisexual กลีบดอกมีจำนวน 6 เรียงอยู่เป็น 2 ชั้น เกสรเพศผู้มีจำนวน 6<br />

หรือ 9 เรียงอยู่เป็น 3-2 ชั้น อับเรณูแตกแบบช่องหน้าต่าง 2 หรือ 4 ช่อง รังไข่มีอันเดียว และมีไข่เมล็ดเดียว ผล สด<br />

แบบ drupe ตอนโคนมักมีก้านดอกที่พองโตขึ้นมาหุ้ม (hypanthium) เมล็ดไม่มี endosperm<br />

105<br />

พืชในวงศ์นี้มีกว่า 30 สกุล ขึ้นอยู่ตามเขตร้อนของโลก ในประเทศไทยเท่าที่สำรวจพบมีอยู่ 12 สกุลด้วยกัน<br />

คือ Persea, Phoebe, Dehaasia, Beilschmiedia, Cinnamomum, Actinodaphne, Alseodaphne, Temmodaphne,<br />

Cryptocarya, Litsea, Neolitsea และ Lindera<br />

สกุล Cinnamomum เป็นไม้หวงห้ามประเภท ข.<br />

สกุล Litsea, Beilschmiedia, Dehaasia และ Neolitsea เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ส่วนมากพบขึ้นตาม<br />

ป่าดิบทั่ว ๆไป<br />

รูปวิธานแยกสกุล<br />

1. ดอกออกเป็นช่อแบบ panicle แต่ถ้าเป็นแบบ umbel จะไม่มีใบประดับรองรับ<br />

2. ผลไม่มีก้านดอกที่พองโตหุ้ม<br />

3. อับเรณูมี 4 ช่อง Persea, Phoebe<br />

3. อับเรณูมี 2 ช่อง Dehaasia, Beilschmiedia<br />

2. ผลมีก้านดอกที่พองโตหุ้มตอนโคน หรือหุ้มมิดผล<br />

4. ผลมีถ้วยหุ้มตอนโคน อับเรณูมี 4 ช่อง<br />

Cinnamomum, Actinodaphne, Alseodaphne, Temmodaphne<br />

4. ผลมีถ้วยหุ้มมิดผลอับเรณูมี 2 ช่อง Cryptocarya<br />

1. ดอกออกเป็นช่อแบบ umbel มีใบประดับใหญ่เรียงตรงข้ามตั้งฉากกันรับดอก ผลมีถ้วยรองรับ<br />

5. อับเรณูมี 4 ช่อง Litsea, Neolitsea<br />

5. อับเรณูมี 2 ช่อง Lindera<br />

5. วงศ์บอระเพ็ด Menispermaceae<br />

ไม้เถา ส่วนมากเนื้อแข็ง มักมีนำ้ำยางสีเหลืองหรือสีขาว ใบ เดี่ยว เรียงสลับ ไม่มีหูใบ ดอก ขนาดเล็กมาก<br />

ดอกเพศเดียว และต่างเพศต่างต้น กลีบเลี้ยงมี 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น กลีบดอกมี 6 กลีบ หรือน้อยกว่านี้ หรือบางที<br />

ก็ไม่มี เกสรเพศผู้มี 3 หรือ 6 เกสรเพศเมียมีอันเดียว หรือ 3 หรือ 6 มีไข่เพียงเมล็ดเดียว มักจะมีเกสรเพศผู้เป็นหมัน<br />

(staminodes) และเกสรเพศเมียเป็นหมัน (pistillodes) ผล สดแบบ drupe เมล็ดมักจะโค้ง endosperm มีหรือไม่มี<br />

พืชในวงศ์นี้มีจำนวน 80-70 สกุล ขึ้นอยู่ทั่ว ๆ ไป ตามเขตร้อนของโลก ในประเทศไทยเท่าที ่สำรวจพบมีอยู่<br />

ด้วยกัน 22 สกุล 51 ชนิด มีหลายชนิดที่เป็นสมุนไพร เช่น บอระเพ็ด Tinospora crispa (L.) Hook.f. & Thoms. ใบก้น<br />

ปิด Stephania japonica (Thunb.) Miers var. discolor (Blume) Forman และ โกฐหัวบัว หรือ สบู่เลือด S. pierrei Diels<br />

พืชมีพิษ เช่น ขมิ้นเครือ Anamirta cocculus (L.) Wight & Arn. Arcangelisia flava (L.) Merr. เมล็ดมีพิษร้ายแรงรับ<br />

ประทานทำให้เกิดอันตรายถึงเสียชีวิตได้ บางชนิดเป็นอาหาร เช่น เถาย่านาง Tiliacora triandra Diels ใช้ต้มแก้รสขื ่น<br />

ของหน่อไม้ เป็นต้น<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


่<br />

106 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ Flora of Thailand. Vol. 5(3): 300-356. 1991.)<br />

2. อันดับ Rosales<br />

ดอก ส่วนมากเป็น bisexual มีชั้นละ 5 actinomorphic หรือ zygomorphic เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก แยก<br />

จากกันหรือเชื ่อมติดกันเป็นกลุ่มเดียว (monadelphous) หรือ 2 กลุ่ม (diadelphous) เกสรเพศเมียแยกจากกันหรือ<br />

เชื่อมติดกัน หรือมีเพียงอันเดียว placenta เป็นแบบ axile หายากที่เป็นแบบ parietal รังไข่ติดเหนือวงกลีบ (superior)<br />

บางทีติดใต้วงกลีบ (inferior) มี endosperm มาก หรือไม่มีเลย embryo เล็กหรือใหญ่ ใบ เดี่ยว หรือใบประกอบ ส่วน<br />

มากมีหูใบ (stipule)<br />

พืชในอันดับนี้มีจำนวนสมาชิก และมีลักษณะแตกต่างกันแต่ละวงศ์ มีดอกตั้งแต่ actinormorphic ถึง<br />

zygomorphic และดอกตั้งแต่ hypogynous ถึง epigynous ลักษณะที่พบทั่วๆ ไปคือ ดอกมีถ้วย (hypanthium) เป็นที<br />

ตั้งของส่วนต่าง ๆ ของดอก ในลักษณะนี้รังไข่จะเป็นแบบ perigynous เช่น พืชสกุล Rosa (Rosaceae) ในกรณีที่ดอก<br />

เป็นแบบ epigynous นั้น รังไข่จะเชื ่อมกับถ้วยดอกเป็นเนื้อเดียวกัน<br />

สำหรับพรรณพืชของไทยที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจมีอยู่ด้วยกัน 3 วงศ์ คือ Rosaceae, Leguminosae และ<br />

Hamamelidaceae<br />

1. รังไข่เหนือวงกลีบ (superior ovary)<br />

2. ดอกสมมาตรตามรัศมี (actinomorphic flower)<br />

รูปวิธานแยกวงศ์<br />

3. ผลเป็นฝักแบบถั่ว (legume) เกสรเพศเมียมีรังไข่ช่องเดียว 2.1. Fabaceae (Mimosoideae)<br />

3.ผลเป็นแบบผลเมล็ดแข็ง(drupe)หรือผลมีเนื้อหลายเมล็ด(berry)เกสรเพศเมียมีช่องเดียวหรือหลายช่อง<br />

1. Rosaceae (บางสกุล)<br />

2. ดอกสมมาตรด้านข้าง (zygomorphic flower) ผลเป็นแบบฝักถั่ว<br />

4. ดอกแบบ caesalpinaceous 2.2. Fabaceae (Caesalpinioideae)<br />

4. ดอกแบบ papilionaceous 2.3. Fabaceae (Papilionoideae)<br />

1. รังไข่กึ ่งใต้วงกลีบ (half-inferior ovary) หรือรังไข่ใต้วงกลีบ (inferior ovary)<br />

5. ใบเดี่ยว หรือใบประกอบ มักมีหูใบ ดอก bisexual รังไข่มีจำนวน 2 หรือมากกว่า แยกจากกันหรือเชื่อมติดกัน<br />

เมล็ดไม่มี endosperm<br />

1. Rosaceae (บางสกุล)<br />

5. ใบเดี่ยว ไม่มีหูใบ ดอก unisexual รังไข่มีจำนวน 2 หรือมากกว่า เชื่อมติดกัน ผลเป็นแบบ capsule มีสองช่อง<br />

เปลือกแข็ง เมล็ดมี endosperm<br />

3. Hamamelidaceae<br />

ภาพที่ 24<br />

ทองกวาว<br />

Butea monosperma (Lam.) Taub.<br />

(Fabaceae)<br />

ลำภูรา<br />

Maniltoa polyandra (Roxb.) Harms.<br />

(Fabaceae)<br />

107<br />

ประดู่บ้าน<br />

Pterocarpus indicus Willd.<br />

(Fabaceae)<br />

หย่อง<br />

Archidendron quocense (Pierre) I. C. Nielsen<br />

(Fabaceae)<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


108 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

109<br />

สะบ้าลิง<br />

อรพิม<br />

ส้านดิน<br />

รสสุคนธ์<br />

Entada glandulosa Pierre ex Gagnep.<br />

Lysiphyllum winitii (Craib) de Wit<br />

Dillenia hookeri Pierre<br />

Tetracera loureireii (Finet & Gagnep.) Pierre ex Craib<br />

(Fabaceae)<br />

(Fabaceae)<br />

(Dilleniaceae)<br />

(Dilleniaceae)<br />

เสี้ยวภูลังกา<br />

กระเบากลัก<br />

กระทิง<br />

ติ้วขาว<br />

Phanera nakhonphanomensis (Chatan) Mackinder &<br />

R. Clarke<br />

(Fabaceae)<br />

Hydnocarpus ilicifolia King<br />

(Flocourtiaceae)<br />

Calophyllum inophyllum L.<br />

(Calophyllaceae)<br />

Cratoxylum formosum (Jacq.) Benth. & Hook.f. ex<br />

Dyer<br />

(Hypericaceae)<br />

ภาพที่ 25<br />

ภาพที่ 26<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


110 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

ภาพที่ 27<br />

ยางเหียง<br />

Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. Ex Miq.<br />

(Dipterocarpaceae)<br />

ตะเคียนทอง<br />

Hopea odorata Roxb.<br />

(Dipterocarpaceae)<br />

พันจำ<br />

Vatica odorata (Griff.) Symington<br />

(Dipterocarpaceae)<br />

เคี่ยม<br />

Cotylelobium lanceolatum Craib<br />

(Dipterocarpaceae)<br />

1. วงศ์กุหลาบ Rosaceae<br />

ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม หายากที ่เป็นไม้ล้มลุก ใบ เดี่ยว หรือใบประกอบ ติดเรียงสลับ มีหูใบ ดอก มักเป็นแบบ<br />

bisexual, regular ส่วนมาก perigynous กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นถ้วย มี 5 กลีบ ด้านในมีจานดอก (disc) กลีบดอก<br />

มีจำนวน 5 กลีบ ติดอยู่บน disc เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก โค้งอยู่ในดอกตูม รังไข่มีอันเดียวหรือหลายอัน แยกหรือ<br />

เชื่อมติดกัน และเชื่อมติดกับถ้วยดอก (hypanthium) รังไข่แต่ละช่องมีไข่ 2 เมล็ด ก้านเกสรเพศเมียมีอันเดียว หรือ<br />

หลายอัน ผล เป็นแบบแอปเปิ้ล (pome) หรือผลแห้งเมล็ดล่อน (achene) เมล็ดมี endosperm น้อยหรือไม่มี<br />

พืชในวงศ์นี้มีประมาณ 120 สกุล ส่วนมากเป็นพืชเขตอบอุ่นเหนือ ในประเทศไทยเท่าที ่สำรวจพบมีอยู่ด้วย<br />

กัน 21 สกุล 61 ชนิด สกุลที ่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจก็คือ Prunus, Rosa, Parinari และ Rubus<br />

สกุลพืชที่อยู่ในเขตอบอุ่นเหนือที<br />

่มีเขตการกระจายพันธุ์เข้ามาถึงประเทศไทย ส่วนมากพบตามเทือกเขาใน<br />

ระดับสูง เช่น สกุล Sorbus (2 ชนิด) Cotoneaster (1 ชนิด) Docynia (1 ชนิด) Rubus (23 ชนิด) Duchesnea (1 ชนิด)<br />

Potentilla (1 ชนิด) Agrimona (1 ชนิด) Rosa (6 ชนิด) และ Prunus (8 ชนิด) ชนิดที่เป็นพืชเขตอบอุ่นที<br />

่แท้จริงเพียงชนิด<br />

เดียว คือ นางพญาเสือโคร่ง P. cerasoides D. Don<br />

พืชที่เป็นไม้ต้นในสกุล Parinari เป็นไม้หวงห้ามประเภท ข. ในผลมีนำ้ำมัน คือ หมักมื่อ P. anamense Hance<br />

สกุล Prunus นูดต้น P. arborea (Blume) Kalkman เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้ชนิดนี้เปลือกมีกลิ่นหอมฉุน<br />

นอกจากนี้มีพรรณไม้ที่เป็นไม้ผล ได้แก่ สตรอเบอรี่ Fragaria x ananassa Duchesne ท้อ Prunus persica<br />

(L.) Batsch สาลี ่ Pyrus pyrifolia (Burm.f.) Nakai แอปเปิ้ล Malus sp. มีมากกว่า 1,000 พันธุ์ปลูก (cultivar)<br />

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ Flora of Thailand. Vol. 2(1): 31-74. 1970.)<br />

2. วงศ์ถั่ว Fabaceae (Leguminosae)<br />

ไม้ต้น ไม้พุ่ม หรือไม้ล้มลุก ใบ เรียงสลับ มักเป็นชนิดใบประกอบแบบสามใบ (trifoliate) หรือ ใบประกอบ<br />

แบบขนนก (pinnate) มีหูใบ ดอก ใหญ่หรือเล็ก regular หรือ irregular ส่วนมาก bisexual ช่อดอกแบบ raceme หรือ<br />

panicle กลีบเลี้ยงส่วนมากมีจำนวน 5 กลีบ (หายากที่มีจำนวน 4 กลีบ) แยกหรือเชื่อมติดกัน กลีบดอกมีจำนวน 5<br />

กลีบ บางทีน้อยกว่า หายากที่ไม่มีเลย เกสรเพศผู้ตามปกติมีจำนวน 10 บางทีมีน้อยกว่า หายากที่มีจำนวนมาก<br />

เกสรเพศเมียมีอันเดียว รังไข่ superior มักมีก้านส่ง (gynophore) ไข่มีเมล็ดเดียวหรือหลายเมล็ด ผล ตามปกติเป็น<br />

ชนิดฝักแบบถั่ว (legume) แยกออกจากกันหรือไม่แยก เมล็ดมีเมล็ดเดียวหรือหลายเมล็ด<br />

พืชในวงศ์นี้มีประมาณ 550 สกุลทั่วโลก ในประเทศไทยเท่าที ่สำรวจพบมี 95 สกุล พืชวงศ์นี้นับได้ว่ามี<br />

สมาชิกมากเป็นที ่สามของพืชต่าง ๆ ในโลก รองลงมาจากวงศ์ทานตะวัน Compositae และวงศ์กล้วยไม้ Orchidaceae<br />

ตามปกตินักพฤกษศาสตร์ได้จำแนกวงศ์นี้ออกไปเป็น 3 วงศ์ย่อย (sub-families) หรือบางทีก็ได้ยกฐานะขึ้นเป็นวงศ์<br />

ต่างหาก 3 วงศ์ด้วยกัน แต่ในที ่นี้จะแยกเป็ยวงศ์ย่อย<br />

รูปวิธานแยกวงศ์ย่อย<br />

1. ดอก actinomorphic กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเรียงจรดกัน (valvate) เมื ่อดอกยังตูม<br />

1. ดอก Zygomorphic กลีบดอกส่วนมากเรียงซ้อนเหลื ่อมกัน (imbricate) เมื ่อดอกยังตูม<br />

111<br />

2.1. Mimosoideae<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


112 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

2. กลีบดอกเป็นแบบ caesalpinaceous คือ กลีบบนสุดเรียงอยู่รอบในสุด กลีบดอกมีจำนวน 5 กลีบและแยก<br />

จากกัน<br />

2.2. Caesalpinioideae<br />

2. กลีบดอกเป็นแบบ papilionaceous คือ กลีบบนสุดเรียงอยู่รอบนอกสุด กลีบดอกคู่ล่างมักจะเชื ่อมประสานกัน<br />

ทางด้านล่าง<br />

2.3. Papilionoideae<br />

1. วงศ์ย่อยแดง Mimosoideae<br />

ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม ใบ ส่วนมากเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น (bipinnate) ดอกสมมาตรตามรัศมี (regular)<br />

เล็ก อยู่รวมกันแน่นเป็นก้อน หรือเป็นช่อยาวแบบ spike เกสรเพศผู้มี 10 ถึง 14 แยกหรือเชื่อมติดกันเป็นท่อ ผล<br />

ส่วนมากมีก้าน<br />

ในวงศ์ย่อยนี้ประกอบด้วยพืชสกุลต่าง ๆ ที่มีความสำคัญ คือ สกุล Acacia, Adenanthera, Albizia, Entada,<br />

Parkia, Archidendron และ Xylia<br />

รูปวิธานแยกสกุล<br />

1. ดอกเรียงชิดติดกันเป็นกระจุกแน่น (head) หรือเป็นช่อแยกแขนง (panicle)<br />

2. ดอกเป็นกระจุกแน่น และมีก้านช่อยาวห้อยลงตรงปลายกิ ่ง<br />

2. ก้านดอกเป็นช่อแยกแขนง<br />

3. แกนกลางใบ (rachis) กิ ่งและลำต้นมีหนาม<br />

3. แกนกลางใบ กิ ่ง และลำต้นไม่มีหนาม<br />

Parkia<br />

Acacia<br />

4. ผลบิดเวียนเป็นก้นหอย ผิวหนาคล้ายแผ่นหนัง ใบย่อยติดตรงข้ามกัน Archidendron<br />

4. ผลตรง<br />

5. ผลแคบยาวหนาคล้ายแผ่นหนัง Albizia<br />

5. ผลกว้างยาวพอกัน แข็ง Xylia<br />

1. ดอกเรียงชิดติดกันเป็นช่อยาวแบบ spike<br />

6. ไม้เถา เนื้อแข็ง ผลกว้างและยาวมาก โค้ง แก่จัดหักหลุดเป็นข้อ ๆ เมล็ดสีนำ้ำตาล Entada<br />

6. ไม้ต้น ผลแคบยาวบิดเวียนเป็นก้นหอย เมล็ดเป็นมัน สีแดง หรือแดงจุดดำ Adenanthera<br />

สกุล Parkia ในประเทศไทยมี 4 ชนิดด้วยกัน แต่ละชนิดเป็นไม้ต้นสูงใหญ่ ลำต้นตรง เนื้อไม้ค่อนข้างอ่อน<br />

สีชมพูแกมนำ้ำตาล ส่วนมากเรียกชื ่อว่า สะตอ P. speciosa Hassk., P. leiophylla Kurz, P. sumatrana Miq. อีกชนิด<br />

หนึ่งพบทางภาคใต้เรียกกันว่า เหรียง P. timoriana (DC.) Merr. ทุกชนิดเมล็ดรับประทานได้<br />

สกุล Acacia ส่วนมากเป็นไม้เถา ที่เป็นไม้ต้นและใช้ประโยชน์เนื้อไม้ก็มี กระถินพิมาน A. tomentosa Willd.<br />

แฉลบขาว A. leucophloea (Roxb.) Willd. และ สีเสียดแก่น A. catechu (L.f.) Willd.<br />

113<br />

สกุล Archidendron เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ในประเทศไทยมี 9 ชนิด ที่เป็นไม้หวงห้ามได้แก่ เนียง A. jiringa<br />

(Jack) Nielsen เนียงนก A. bubalium (Jack) Nielsen<br />

สกุล Entada เป็นไม้เถา ในประเทศไทยมี 3 ชนิด คือ สะบ้า E. glandulosa Pierre ex Gagnep. สะบ้า E.<br />

rheedii Spreng, E. spiralis Ridl.<br />

สกุล Xylia มีชนิดเดียวคือ แดง X. xylocarp (Roxb.) Taub. var. kerrii (Craib & Hutch.) Nielsen<br />

สกุล Albizia มีหลายชนิด ที่เป็นไม้หวงห้ามมี 3 ชนิด พฤกษ์ A. lebbeck (L.) Benth. คาง A. odoratissima<br />

(L.f.) Benth. และ ถ่อน A. procera (Roxb.) Benth. เป็นต้น<br />

สกุล Adenanthera มีพบอยู่ 2 ชนิด คือ มะกลำ่ำต้น ไพเงินกำ่ำ A. pavonina L. var. pavonina และ A. pavonina<br />

L. var. microsperma (Teijsm. & Binn.) Nielsen<br />

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ Flora of Thailand. Vol. 4(2): 131-222. 1970.)<br />

2. วงศ์ย่อยราชพฤกษ์ Caesalpinioideae<br />

ส่วนมากเป็นไม้ต้น หรือไม้พุ่ม ใบ มักเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว หรือ 2 ชั้น (pinnate หรือ<br />

bipinnate) หายากที่เป็นใบเดี่ยว ดอก ใหญ่ หรือเล็ก ออกเป็นช่อกระจะ (raceme) หรือ ช่อเชิงลด (spike) กลีบดอก<br />

มีจำนวน 5 กลีบ (หรือบางทีลดจำนวนลงน้อยกว่า ในสกุล Bauhinia บางชนิด และสกุล Crudia ไม่มีกลีบดอกเลย)<br />

กลีบบนสุดเรียงอยู่รอบในสุด เกสรเพศผู้ส่วนมากมีจำนวน 10 บางทีมีจำนวนน้อยกว่า หายากที่ไม่มีเลย แยกหรือ<br />

เชื่อมติดกันเป็นท่อ ผล แยกจากกัน มักมีก้าน<br />

ในวงศ์ย่อยนี้ประกอบด้วยพืชสกุลต่าง ๆ ที่เป็นไม้หวงห้ามอยู่ 13 สกุล คือ สกุล Afzelia, Bauhinia,<br />

Caesalpinia, Cassia, Crudia, Cynometra, Dialium, Intsia, Koompassia, Peltophorum, Saraca, Sindora และ<br />

Tamarindus<br />

1. ใบเดี่ยว ปลายใบหยักลึกหรือลึกถึงโคนใบ<br />

1. ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว หรือ 2 ชั้น<br />

2. ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว<br />

3. ใบยอดเดี ่ยว<br />

รูปวิธานแยกสกุล<br />

Bauhinia<br />

4. กลีบดอกมี 5 กลีบ ผลมีปีก Koompassia<br />

4. ไม่มีกลีบดอก ผลไม่มีปีก<br />

5. กลีบเลี้ยงมี 5 เกสรเพศผู้มี 2 ไข่อ่อนมี 2 ผลค่อนข้างกลมแกมรูปไข่ แก่ไม่แตก มี 1 เมล็ด Dialium<br />

5. กลีบเลี้ยงมี 4 เกสรเพศผู้มี 10-6 ไข่อ่อนมี 6-1 ผลแบน กลมหรือรูปไข่แกมรี แก่แตก มี3-1 เมล็ด Crudia<br />

3. ใบยอดคู่<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


114 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

6. ไม่มีกลีบดอก ฐานดอกยาว กลีบเลี้ยงมี 4 คล้ายกลีบดอก สีแดงหรือออกเหลือง Saraca<br />

6. มีกลีบดอก<br />

7. กลีบเลี้ยงเรียงจรดกันในตาดอก ฐานดอกสั้นมาก กลีบดอกมี 1 เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์มี 9 นอกนั้นเป็นหมัน<br />

ผลมักมีหนาม เมล็ดมีเนื้อ<br />

Sindora<br />

7. กลีบเลี้ยงเรียงซ้อนเหลื ่อมกันในตาดอก<br />

8. อับเรณูเปิดโดยรูกลม หรือรอยแตกสั้น ๆ ผลแคบยาว แก่จัดสีดำ Cassia<br />

8. อับเรณูเปิดโดยรอยแตกยาว<br />

9. เกสรเพศผู้มี 3 หรือน้อยกว่า<br />

10. กลีบดอกมี 3 กลีบใหญ่ 2 กลีบเล็ก ใบย่อยมี 18-10 คู่ ใบย่อยยาวถึง 3 ซม. Tamarindus<br />

10. กลีบดอกมี 1 ใบย่อยมี 5-2 คู่ ใบย่อยยาวกว่า 4 ซม. Intsia<br />

9. เกสรเพศผู้มี 7 หรือมากกว่า<br />

11. มีใบประดับย่อยยาว 9-6 มม เกสรเพศผู้ที ่สมบูรณ์มี 7 กลีบดอกมี 1 ผลแข็ง หนา 7 -5 มม. กว้าง<br />

9-7 ซม. ยาว 20-15 ซม. เมล็ดมีเนื้อ Afzelia<br />

11. ใบประดับหลุดร่วง เกสรเพศผู้ที ่สมบูรณ์มี 10 เกสรเพศผู้แยกจากกัน หรือเชื่อมติดกันแค่โคน<br />

Cynometra<br />

2. ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น<br />

12. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกขนาดไม่เท่ากัน ยอดเกสรเพศเมียเป็นตุ่ม ผลที่ขอบมีปีกเป็นครีบยาวตลอด ใบย่อยติด<br />

ตรงข้าม มี 22-6 คู่ กว้าง 8-5 มม. ยาว 55-12 มม.<br />

Peltophorum<br />

12. กลีบเลี้ยงขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอกขนาดเท่าหรือไม่เท่ากัน ยอดเกสรเพศเมียไม่เป็นตุ่ม ผลไม่มีปีก หรือมีที่<br />

ขอบเฉพาะตอนบน ใบย่อยติดตรงข้ามหรือเรียงสลับ มี 20-2 คู่ กว้าง 6-0.5 ซม. ยาว 10-1 ซม.<br />

Caesalpinia<br />

สกุล Afzelia มีเพียงชนิดเดียวคือ มะค่าโมง A. xylocarpa (Kurz.) Craib<br />

สกุล Bauhinia ที่เป็นไม้เถานำมาปลูกเป็นไม้ประดับกันบ้าง เช่น คิ้วนาง หรือ อรพิม B. winitii Craib ที่เป็น<br />

ไม้ต้น ชงโค B. variegate L.<br />

สกุล Caesalpinia เป็นไม้เถามีหนาม ใช้เนื้อไม้ย้อมสีผ้า คือ ฝาง C. sappan L.<br />

สกุล Cassia เป็นไม้ต้น หรือไม้ล้มลุก ที่ใช้เป็นสมุนไพร คือ ชุมเห็ด C. occidentalis L. ชุมเห็ดเทศ C. alata<br />

L. ราชพฤกษ์ หรือ คูน C. fistula L. ชัยพฤกษ์ C. bakeriana Craib ขี้เหล็กเลือด C. timoriensis DC. ที่ใช้เนื้อไม้มี ขี้<br />

เหล็กบ้าน C. siamea Lamk. และ แสมสาร C. garrettiana Craib<br />

สกุล Crudia เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ใช้ผลเป็นสมุนไพร คือ สะดือ C. chrysantha (Pierre) K.<br />

Schum. เนื้อไม้ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์<br />

สกุล Cynometra ใช้เนื้อไม้ในการก่อสร้าง คือ มะคะ C. ramiflora L.<br />

สกุล Dialium เป็นไม้ต้นมีหลายชนิด เนื้อไม้แข็งหนักใช้ในการก่อสร้าง ผลรับประทานได้ เช่น หยี เชลง D.<br />

cochinchinense Pierre หยีท้องบึ้ง D. platysepalum Bak. เป็นต้น<br />

สกุล Intsia พบขึ้นทั่วไปทางภาคใต้ เนื้อไม้คล้ายไม้ มะค่าโมง นิยมใช้กันมากทางภาคใต้ คือ หลุมพอ I.<br />

palembanica Miq. ที ่พบตามป่าชายหาด และด้านหลังป่าชายเลน คือ หลุมพอทะเล I. bijuga (Colebr.) O. Kuntze<br />

สกุล Koompassia เป็นไม้ต้นสูงใหญ่ ลำต้นตรง เนื้อไม้ทนทานพอสมควร เช่น ไม้ยวน K. excelsa (Becc.)<br />

Taubert หรือ ยวนแหล K. malaccensis Maingay ex Benth.<br />

สกุล Peltophorum มี นนทรี P. pterocarpum (DC.) Back. ex K. Heyne และ อะราง หรือ คางฮุง P. dasyrachis<br />

(Miq.) Kurz เนื้อไม้สีนำ้ำตาลแกมชมพู ใช้ในการก่อสร้าง<br />

สกุล Saraca คือ โสก มี 3 ชนิด ส่วนมากเป็นไม้ต้นขนาดกลาง มักปลูกเป็นไม้ประดับ เช่น โสกนำ้ำ S. indica<br />

L. โสกเหลือง S. thaipingensis Cantley ex Prain และโสกเขา S. declinata (Jack) Miq.<br />

สกุล Sindora เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ลำต้นตรง เปลือกเรียบ เรือนยอดแผ่กว้าง และแบนราบ ที่พบขึ้นใน<br />

ป่าดิบแล้งคือ มะค่าแต้ S. siamensis Teijsm. ex Miq. ผลมีหนามหรือไม่มี ที่พบขึ้นตามป่าดิบชื้นนั้น ชนิดที่ผลมี<br />

หนามแหลมเรียกว่า มะค่า หรือ ขานาง S. echinocalyx Prain ชนิดที่ไม่มีหนามหรือหนามน้อย เรียกกันว่า อ้ายกลิ้ง<br />

S. coriacea (Bak.) Prain<br />

สกุล Tamarindus มีเพียงชนิดเดียว คือ มะขาม T. indica L.<br />

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ Flora of Thailand. Vol. 4(1): 1-129. 1984.)<br />

3. วงศ์ย่อยประดู่ Papilionoideae<br />

ไม้ต้น หรือ ไม้ล้มลุก ใบ เดี่ยว มีเส้นใบแบบนิ้วมือ (palmate) หรือเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ดอก<br />

สมมาตรด้านข้าง (zygomorphic) แบบดอกถั่ว papilionaceous กลีบดอกมีจำนวน 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน กลีบบน<br />

สุดใหญ่สุด เรียกว่า stand สองกลีบข้าง ๆขนาดเล็กกว่า และมักจะกิ่วคอดตอนโคน เรียกว่า wings กลีบคู่ล่างสุด<br />

มักกิ่วคอดตอนโคนและเชื<br />

่อมประสานกันเป็นรูปท้องเรือเรียกว่า keel เกสรเพศผู้ตามปกติมีจำนวน 10 เชื่อมติดกัน<br />

สองกลุ่ม (diadelphous) (กลุ่มหนึ่งมี 9 อีกกลุ่มหนึ ่งมีอันเดียว) หรือกลุ่มเดียว (monadelphous) หรือหายากที ่แยก<br />

จากกัน ผล แก่แตก หรือไม่แตก ไม่มีก้านหรือมี<br />

พืชในวงศ์ย่อยนี้มีคุณค่าทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เพราะมีมากสกุล เช่น ถั่วชนิดต่าง ๆ ที่มนุษย์ใช้เป็น<br />

อาหาร อยู่ในสกุล Arachis, Canavalia, Vigna, Vicia, Physeolus, Dolichos, Cajanus และ Glycine เป็นต้น ที่ใช้เป็น<br />

ยารักษาโรคและปราบศัตรูพืชคือ พืชในสกุล Derris, Sophora, Crotalaria ที่ใช้เนื้อไม้ในการก่อสร้าง ซึ่งนับว่าเป็น<br />

ประโยชน์โดยตรงทางการป่าไม้ คือไม้ในสกุล Dalbergia, Millettia, Antheroporum และ Pterocarpus<br />

115<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


่<br />

116 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

1. ใบย่อยติดเรียงสลับ<br />

รูปวิธานแยกสกุล<br />

2. ผลกลมแบน มีปีกโดยรอบ (samara) Pterocarpus<br />

2. ผลแบนแคบยาว Dalbergia<br />

1. ใบย่อยติดตรงข้าม ขอบของฝักทั้งสองข้างเป็นสันหน Millettia<br />

สกุล ประดู่ Pterocarpus มีลักษณะเด่น คือ ฝักมีลักษณะเป็นครีบกลมคล้ายรูปโล่ เมล็ดอยู่ตรงกลางฝักซึ ่ง<br />

พอง หนาและแข็ง ส่วนรอบ ๆ เมล็ดจะบางคล้ายเป็นปีกรอบ ประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ ประดู่บ้าน P. indicus Willd.<br />

เปลือกลำต้นแตกเป็นแผ่นบาง ๆ กิ่งยาวห้อยย้อยลง ฝักขนาด 4.5-3 ซม. และประดู่ป่า P. macrocarpus Kurz<br />

เปลือกลำต้นแตกเป็นร่องลึก ปลายกิ ่งมักชี้ขึ้น ฝักขนาด 10-6 ซม.<br />

สกุล ชิงชัน Dalbergia ฝักจะยาวและเมล็ดเรียงตามยาวของฝัก ไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ได้แก่ พะยุง D.<br />

cochinchinensis Pierre ชิงชัน D. oliveri Gamble เก็ดดำ D. cultrata Craib<br />

สกุล กระพี้เขาควาย Millettia ฝักจะเป็นรูปขอบขนาน เปลือกฝักหนาแข็ง ขอบของฝักเป็นสันหนา ไม้ที่<br />

สำคัญคือ แซะ M. atropurpurea Benth. กระพี้เขาควาย หรือ ขะเจาะ M. leucantha Kurz สะท้อน หรือ สาธร M.<br />

pendula Benth. (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ Thai Forest Bulletin (Botany) No. 22: 26-28. 1994.)<br />

3. วงศ์สบ กระตุก Hamamelidaceae<br />

ไม้ต้น หรือ ไม้พุ่ม ใบ เดี่ยว ติดเรียงสลับ มีหูใบ ดอก ส่วนมากเป็นดอกเพศเดียว ออกเป็นช่อแบบ raceme,<br />

spike หรือรวมเป็นกระจุก (capitae) กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีจำนวน 4 ถึง 5 กลีบ กลีบดอกมักลดขนาดลง หรือ<br />

บางทีก็ไม่มี เกสรเพศผู้มีจำนวน 4 หรือมากกว่า เรียงอยู่ชั้นเดียว รังไข่กึ ่งใต้วงกลีบ (half-inferior) หรือใต้วงกลีบ<br />

(inferior) มี 2 คาร์เพล 2 ช่อง แต่ละช่องมีไข่เมล็ดเดียว หรือมากกว่า ผล เป็นชนิด capsule เปลือกแข็งมาก แตก<br />

ออกเป็น 2 เสี่ยง เมล็ดมี endosperm<br />

พืชในวงศ์นี้มีประมาณ 23 สกุล ขึ้นอยู่ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนของทวีปเอเซีย เท่าที่สำรวจพบใน<br />

ประเทศไทยนั้นมีอยู่เพียง 7 สกุล ที่สำคัญ คือ สกุล Altingia พบเพียงชนิดเดียว คือ A. siamensis Noranha ที่เรียก<br />

กันว่า ไม้หอม สบ หรือ กระตุก เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ขึ้นตามริมลำธารในป่าดิบเขาทั่ว ๆ ไปในภาคเหนือและภาค<br />

ตะวันออกเฉียงเหนือ พันธุ์ไม้ชนิดนี้ใบมีกลิ่นเหมือนการบูน เนื้อไม้มีกลิ่นการบูนจาง ๆ<br />

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ Thai Forest Bulletin (Botany) No. 15: 1-14. 1985; Flora of Thailand 7(3): 400-<br />

411. 2001; Thai Forest Bulletin (Botany) No. 31: 132-135. 2003; Thai Forest Bulletin (Botany) No. 43: 1-3. 2015)<br />

3. อันดับ Passiflorales<br />

ดอก ส่วนมากเป็นดอกสมบูรณ์เพศ (bisexual) ส่วนต่าง ๆ ของดอกมีจำนวน 5 กลีบ ดอกแยกหรือเชื่อม<br />

ติดกัน (เช่นในวงศ์ Cucurbitaceae) เกสรเพศผู้มีจำนวนมากหรือน้อย รังไข่ติดเหนือวงกลีบ (superior ovary) หรือติด<br />

ใต้วงกลีบ (inferior ovary) เชื่อมติดกันเป็นช่องเดียว parietal placentation เมล็ดมี endosperm มากหรือน้อย หรือๆ<br />

ไม่มีเลย ใบ เดี ่ยว ติดตรงข้าม หรือติดเรียงสลับ โดยมากมีหูใบ<br />

117<br />

พืชในอันดับนี้ประกอบด้วยพืชวงศ์ต่าง ๆ 9 วงศ์ด้วยกัน วงศ์ที ่จะกล่าวถึงมีอยู่ 2 วงศ์ คือ Achariaceae<br />

และ Datiscaceae<br />

1. วงศ์กะเบา Achariaceae<br />

ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม ลำต้นตรง หรือเป็นเถา ใบ ติดเรียงสลับ มีหูใบ ดอก regular เล็ก ส่วนมาก unisexual<br />

ออกเป็นช่อกระขุก (cyme) กลีบเลี้ยงมี 2 ถึง 8 กลีบดอกจำนวนเท่ากับกลีบเลี้ยง หรือบางทีลดจำนวนลง เกสรเพศ<br />

ผู้จำนวนมาก แยกหรือติดเป็นกลุ่ม บางครั้งเป็นเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน (staminodes) รังไข่ superior หายากที่เป็น<br />

half-inferior มี 10-2 คาร์เพล รังไข่มีช่องเดียว ไข่มีจำนวนมากติดบน placenta ชนิด parietal ก้านเกสรเพศเมีย<br />

(style) มีแฉกเดียวหรือหลายแฉก ผล เป็นชนิด baccate หรือ capsule เมล็ดมัน มีเยื่อหุ้ม และมี endosperm<br />

พืชในวงศ์นี้มีมากกว่า 80 สกุล ส่วนมากเป็นพืชในเขตร้อน ในประเทศไทยเท่าที ่ได้สำรวจพบมีอยู่ด้วยกัน<br />

4 สกุล แต่ที ่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจป่าไม้มีอยู่ด้วยกันเพียง 1 สกุล คือสกุล Hydnocarpus ได้แก่ กะเบา ชนิดต่าง ๆ ที<br />

เป็นไม้หวงห้ามประเภท ข. คือ กะเบานำ้ำ หรือกะเบาใหญ่ H. anthelminthicus Pierre ex Laness. เมล็ดให้นำ้ำมัน<br />

กะเบา (Chaulmogra oil) ใช้เป็นยารักษาโรคเรื้อน (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ Flora of Thailand Vol. 13(1):<br />

1-17)<br />

2. วงศ์สมพง Datiscaceae<br />

ไม้พุ่ม หรือไม้ต้น ใบ เดี่ยว หรือใบประกอบ ติดเรียงสลับ ไม่มีหูใบ ดอก เล็ก เพศเดียว (unisexual) ออก<br />

เป็นช่อแยกแขนง (panicle) กลีบเลี้ยง 9-4 กลีบดอก 9-4 หรือไม่มีเลย เกสรเพศผู้มี 4 ถึงจำนวนมาก แยกจากกัน<br />

รังไข่ inferior มี 4-3 คาร์เพล รังไข่มีช่องเดียว ไข่มีจำนวนมากติดอยู่บน placenta ชนิด parietal ผล capsule เป็นช่อง<br />

ตรงปลายผล เมล็ดขนาดเล็กมาก ไม่มี endosperm<br />

พืชในวงศ์นี้มีอยู่ด้วยกันเพียง 3 สกุลเท่านั้นในโลก สกุลหนึ่งเป็นพันธุ์พืชประจำทวีปอเมริกาเขตร้อน อีก 2<br />

สกุลเป็นพืชของทวีปเอเซีย ในประเทศไทยพบขึ้นอยู่เพียงสกุลเดียวคือ Tetrameles พันธุ์ไม้สกุลนี้มีอยู่เพียงชนิด<br />

เดียวในโลก คือ งุ้น กะพง หรือ สมพง T. nudiflora R. Br. ex Benn. เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ มีพูพอนใหญ่ เปลือกเรียบ<br />

พบขึ้นตามป่าดิบทั่ว ๆไปในประเทศไทย โดยเฉพาะตามเขาหินปูน เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.<br />

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ Thai Forest Bulletin (Botany) No. 22: 95-100. 1994.)<br />

4. อันดับ Guttiferales<br />

ดอก ส่วนมาก bisexual และ actinomorphic มีกลีบดอก เกสรเพศผู้มักจะมีจำนวนมาก เรียงกันอยู่เป็น<br />

หลายชั้น แยกหรือเชื่อมติดกันอยู่ในลักษณะต่าง ๆ เกสรเพศเมียแยกจากกัน แต่โดยมากแล้วเชื ่อมติดกัน มี placenta<br />

แบบ axile (บางทีก็เป็นชนิด parietal) รังไข่ส่วนมาก superior เมล็ดมี endosperm มีมาก น้อย หรือไม่มีเลย ใบ ส่วน<br />

มากติดเรียงสลับ และเป็นพืชที่มีเนื้อไม้<br />

พืชในอันดับนี้ประกอบด้วยวงศ์ต่าง ๆ 8 วงศ์ด้วยกัน พบขึ้นอยู่ในประเทศไทยทั้งสิ้น แต่ที ่มีคุณค่าทาง<br />

เศรษฐกิจคือ วงศ์ Dilleniaceae, Guttiferae, Theaceae และ Dipterocarpaceae<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


118 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

1. วงศ์ส้าน Dilleniaceae<br />

ไม้ต้น ไม้พุ่ม หรือไม้เถา หายากที่เป็นไม้ล้มลุก ใบ เดี่ยว ติดเรียงสลับ ขอบเรียบ หรือจักหยาบเป็นซี่ฟัน<br />

เส้นใบเด่นชัดขนานกัน ไม่มีหูใบ ถ้ามีก็เชื่อมติดกันกับก้านใบ ช่อดอกมีหลายแบบแตกต่างกันไปแต่ละสกุล ดอกเล็ก<br />

หรือขนาดกลาง หายากที ่มีขนาดใหญ่ สีขาว หรือเหลือง ดอกสมบูรณ์เพศ หายากที่เป็นดอกเพศเดียวและแยกกัน<br />

อยู่คนละต้น กลีบเลี้ยง 5 เรียงซ้อนเหลื ่อมกัน (imbricate) แน่น กลีบดอก 5 แยกจากกัน เรียงซ้อนเหลื ่อมกัน เมื่อยัง<br />

ไม่บานพับย่นยู่ยี ่ เมื่อดอกบานจะหลุดร่วงไปโดยเร็ว เกสรเพศผู้มีจำนวนมากอยู่เหนือเกสรเพศเมีย แยกจากกัน<br />

หรือเชื่อมติดกันเป็นกลุ่ม ๆ ตอนโคน ไม่หลุดร่วงไป และมักติดค้างอยู่จนเป็นผล รังไข่แยกจากกันหรือเชื่อมประสาน<br />

กันเล็กน้อย หายากที ่มีเพียงอันเดียว ไข่มีจำนวนมากหรือมีเพียงเมล็ดเดียว อยู่ตรงพื้นล่างของรังไข่ หรือเรียงเป็น 2<br />

แถวตามผนังทางด้านที ่อยู่ตามแนวแกนของดอก ก้านเกสรเพศเมีย (style) แยกโค้งออกจากกัน แต่ละอันต่างมียอด<br />

เกสรเพศเมีย ผล แตกแยกออกจากกัน หรือมีลักษณะคล้าย berry เมล็ดมีจำนวนน้อยหรือเพียงเมล็ดเดียว มักจะมี<br />

หงอนหรือเยื ่อเป็นฝอยหุ้ม<br />

พืชในวงศ์นี้มีอยู่ด้วยกันในโลก 18 สกุล ประมาณ 530 ชนิด ขึ้นอยู่ทั่ว ๆ ไปในเขตร้อนของโลก ใน<br />

ประเทศไทยเท่าที ่ได้สำรวจพบมีอยู่ด้วยกัน 3 สกุล คือ สกุล รสสุคนธ์ Tetracera เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง สกุล ส้านเต่า<br />

หรือ ปดขน Acrotrema มีชนิดเดียว คือ A. costatum Jack<br />

สกุล Dillenia ได้แก่ ส้าน ชนิดต่าง ๆ เป็นไม้ต้นและไม้พุ่ม เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.<br />

รูปวิธานแยกชนิด<br />

1. ดอกออกตามปลายยอดกิ่งสั้น ๆ มีใบประดับหุ้มดอกหลายอัน ออกก่อนหรือพร้อมๆ กันกับใบอ่อน เป็นพืช<br />

ผลัดใบ<br />

2. ดอกมีขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-2.5 ซม. ช่อหนึ่งมี 7-5 ดอก เกสรเพศเมียมีจำนวน 8-5 ผลโตเส้นผ่าน<br />

ศูนย์กลาง 18-15 มม. (วัดรวมกลีบเลี้ยงที่หุ้มอยู่ด้วย)<br />

3. กลีบเลี้ยงด้านนอกเกลี้ยง มี 6-(5) คาร์เพล ดอกโตเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-2.5 ซม. ใบมีขนแนบกับแผ่นใบไป<br />

ทางด้านล่างและหลุดร่วงไป<br />

ส้านหิ่ง D. pentagyna Roxb.<br />

3. กลีบเลี้ยงด้านนอกมีขนเป็นมันคล้ายเส้นไหม รังไข่ จำนวน 8-5 คาร์เพล ดอกโตวัดผ่านศูนย์กลาง 5 ซม. ใบมี<br />

ขนสั้นแข็งไปทางด้านล่าง<br />

ส้านแคว้ง D. parviflora Griff.<br />

2. ดอกมีขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 16-10 ซม. ช่อดอกมี 3-1 ดอก มี 14-9 คาร์เพล ผลโต เส้นผ่าน<br />

ศูนย์กลาง (รวมกลีบเลี้ยง) 4-3 ซม.<br />

4. ใบรูปไข่กลับ หรือขอบขนาน เรียวสอบและหยักเข้าหาก้านใบไม่เท่ากันทั้งสองข้าง ก้านใบยาว 6.5-3 ซม.<br />

ดอกโตเส้นผ่านศูนย์กลาง 12-10 ซม. ก้านดอกยาว 12-5 ซม.<br />

ส้านหลวง D. aurea Smith<br />

4. ใบรูปไข่กลับ ค่อย ๆ เรียวสอบลงมาหาก้านใบ ก้านใบยาว 4-1.5 ซม. ดอกโต เส้นผ่านศูนย์กลาง 16-14 ซม.<br />

ก้านดอกยาวอย่างมาก 4 ซม. หายากที ่ยาวถึง 5 ซม. ส้านใหญ่ D. obovata (Blume) Hoogl.<br />

1. ดอกเดี่ยว หรือเป็นช่อตามปลายยอดกิ ่งในชั้นแรก ต่อมาจะอยู่ตรงข้ามกับใบ บางทีดอกออกตามง่ามใบเดี ่ยว ๆ<br />

หรือเป็นกลุ่มละ 3-2 ดอก ไม้ผลัดใบหรือไม่ผลัดใบ<br />

5. ผลัดใบ ลำต้นมีรากคำ้ำตอนโคน ดอกออกเป็นช่อสั้น ๆ แยกแขนงและอยู่เป็นกลุ่ม ออกพร้อมใบอ่อน<br />

6. มี 6-4 คาร์เพล ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้มีความยาวไร่เรี ่ยกัน<br />

6. มี 10-9 คาร์เพล มีกลีบดอกแต่หลุดร่วงเมื ่อดอกบาน เกสรเพศผู้มี 2 ขนาด<br />

5. ไม่ผลัดใบ ไม่มีรากคำ้ำที่โคนต้น ดอกออกเดี ่ยว ๆ หรือช่อชนิด raceme<br />

119<br />

ส้าน D. grandifolia Wall.<br />

ส้าน D. reticulate King<br />

7. ช่อดอกมี ดอก 12-3 ดอก ผลแตกแยกจากกัน ส้าน D. excelsa Martelli<br />

7. ดอกออกเดี ่ยว ๆหรือบางทีเป็นช่อมี 2 ดอก ผลไม่แตก<br />

8. กลีบดอกสีเหลือง มี (12-10)-8 คาร์เพล ผลโตเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-5 ซม. ใบมีขนหนาแน่นและสั้นแข็ง<br />

ทางด้านล่าง<br />

ส้านใบเล็ก D. ovata Wall.<br />

8. กลีบดอกสีขาว มี 20-14 คาร์เพล ผลโตเส้นผ่านศูนย์กลาง 10-8 ซม. ใบอย่างมากมีขนยาวทางด้านล่าง<br />

มะตาด หรือ ส้านป้าว D. indica L.<br />

2. วงศ์พะวา มังคุด Guttiferae (ปัจจุบันแยกออกเป็น Clusiaceae,<br />

Hypericaceae, Calophyllaceae)<br />

ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม เปลือกมีนำ้ำยางเหนียวสีเหลือง ใบ เดี่ยว ติดตรงข้าม เนื้อใบหนา ไม่มีหูใบ ดอก สมบูรณ์<br />

เพศ หรือเพศเดียว กลีบเลี้ยงและกลีบดอกจำนวนอย่างละ 5-4 เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก มักติดกันเป็นกลุ่ม ๆ รังไข่<br />

มี 5-3 คาร์เพล มีช่องเดียวหรือหลายช่อง axile placentation หรือ basal placentation โดยมากแล้วบน placenta<br />

หนึ่งมีไข่เมล็ดเดียว หรือสองสามเมล็ด ยอดเกสรเพศเมียเป็นรูปร่ม (peltate) ผล baccate หรือ drupe ไม่มี<br />

endosperm<br />

พืชในวงศ์นี้มีประมาณ 35 สกุล พบขึ้นทั่ว ๆ ไปในเขตร้อน ในประเทศไทยมีพบอยู่ 7 สกุล แต่ชนิดที่มี<br />

คุณค่าทางเศรษฐกิจนั้นมีอยู่เพียง 4 สกุล<br />

รูปวิธานแยกสกุล<br />

1. ดอกเพศเดียว ต่างเพศต่างต้น รังไข่มี 12-2 ช่อง แต่ละช่องมีไข่เมล็ดเดียว Garcinia (Clusiaceae)<br />

1. ดอกสมบูรณ์เพศ รังไข่มี 1 หรือ 2 ช่อง<br />

2. ใบมีเส้นแขนงใบถี่ รังไข่มีช่องเดียวและมีไข่เมล็ดเดียว<br />

3. ใบมีเส้นเรียบขอบใบ Mammea<br />

3. ใบไม่มีเส้นเรียบขอบใบ Calophyllum (Calophyllaceae)<br />

2. ใบไม่เหมือนข้างบน หลังใบขาว รังไข่มี 2-1 ช่อง และมีไข่ 2-1 เมล็ด Mesua<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


120 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

พรรณไม้สกุล Garcinia มีมากชนิด ที่เป็นไม้หวงห้ามประเภท ข. คือ รง G. hanburyi Hook.f. นอกนั้นเป็นไม้<br />

หวงห้ามประเภท ก. ที่ใช้ในการระกอบอาหาร เช่น มะดัน G. schomburgkiana Pierre ชะมวง G. cowa Roxb. และ<br />

ส้มพะงุน G. atroviridis Griff. สกุล Mammea คือ สารภี M. siamensis Kosterm. เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. สกุล<br />

Calophyllum มีมากชนิดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. เรียกกันว่า พะอง และ ตังหน สกุล Mesua เป็นไม้หวงห้ามคือ<br />

บุนนาค หรือ นาคบุตร M. ferrea L. พบขึ้นตามป่าดิบทั่ว ๆไปจัดได้ว่าเป็นไม้ที ่มีเนื้อแข็งและหนักที่สุดของ<br />

ประเทศไทย<br />

นอกจากนี้ยังมี สกุล Cratoxylum (Hypericaceae) ไม้ต้น เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. พันธุ์ไม้ในสกุลนี้ส่วน<br />

มากลำต้นเมื ่ออายุยังน้อยอยู่มีหนามแหลม เกิดจากกิ่งที่ได้แปรสภาพไป ชนิดที่พบขึ้นทั่วไปตามป่าเบญจพรรณคือ<br />

ติ้ว Cratoxylum cochinchinensis Blume ติ้วขาว C. formosum Dyer ที่พบตามป่าดิบมี แต้ว C. maingayi Dyer ที่พบ<br />

ตามป่าพรุ คือ โงงงัง C. arborescens Blume<br />

3. วงศ์ทะโล้ สารภีดอย Theaceae<br />

ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม ใบ เดี่ยว ติดเรียงสลับ ไม่มีหูใบ ดอก ส่วนมากสมบูรณ์เพศ สมมาตรตามรัศมี มักมีใบ<br />

ประดับหุ้ม กลีบเลี้ยงและกลีบดอกตามปกติมีจำนวนชั้นละ 5 หายากที่มีจำนวนมากกว่านี้ เกสรเพศผู้จำนวนมาก<br />

แยกจากกัน หรือเชื ่อมติดกันเป็นกลุ่ม ๆ อับเรณูติดกับก้านเกสรเพศผู้ตรงโคนอับ หรือแกว่งไปมาได้ รังไข่มีจำนวน<br />

5-3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่เมล็ดเดียวหรือหลายเมล็ด ก้านเกสรเพศเมียมีอันเดียว หรือ 5-3 แฉก ผล เป็นชนิด baccate<br />

หรือ capsule เมล็ดมี endosperm น้อย หรือไม่มีเลย<br />

พืชในวงศ์นี้มีประมาณ 35 สกุล ส่วนมากเป็นพืชในเขตร้อนของโลก ในประเทศไทยเท่าที ่สำรวจพบมีอยู่<br />

9 สกุลด้วยกัน แต่ที ่พบบ่อยตือ สกุล Schinma, Ternstroemia, Annesles และ Adinandra<br />

รูปวิธานแยกสกุล<br />

1. ผลสดชนิด baccate อับเรณูติดกับก้านเกสรเพศผู้ที ่โคนอับเรณู (basifixed)<br />

2. รังไข่เหนือวงกลีบ (superior ovary)<br />

3. ใบติดเวียนสลับกัน อับเรณูเกลี้ยง ผลมีเมล็ดน้อย Ternstroemia<br />

3. ใบติดเรียงสลับเป็น 2 แถว อับเรณูมีขน ผลมีเมล็ดมาก Adinandra<br />

2. รังไข่กึ่งใต้วงกลีบ (half-inferior ovary)<br />

1. ผลแห้งชนิด capsule เปลือกแข็ง แก่แตก เมล็ดมีปีก อับเรณูติดกับก้านเกสรเพศผู้ที่กึ่งกลาง<br />

อับเรณูแกว่งไปมา (versatile)<br />

Anneslea<br />

Schima<br />

สกุล Adinandra เรียกกันว่า ตีนจำดง มีหลายชนิดที่พบขึ้นตามป่าดิบทั่ว ๆไป สกุล Annelea มีชนิดเดียวคือ<br />

สารภีดอย หรือ โมงนั่ง A. fragrans Wall. สกุล Schima มีชนิดเดียว คือ ทะโล้ หรือ คายโซ่ S. wallichii Korth. เป็น<br />

ไม้หวงห้ามประเภท ก. สกุล Camellia ชา หรือ เมี่ยง C. sinensis Kumtze var. assamica Kitam. เป็นพืชเศรษฐกิจ<br />

4. วงศ์ยาง Dipterocarpaceae<br />

ไม้ต้น ส่วนมากมีขนาดสูงใหญ่ เนื้อไม้มีชัน (resin) ใบเดี่ยว ติดเรียงสลับ มีหูใบ ดอก สมบูรณ์เพศ (bisexual)<br />

สมมาตรตามรัศมี (regular) ออกเป็นช่อแยกแขนง (pinicle) กลีบเลี้ยงมี 5 แยกจากกันหรือเชื่อมติดกัน กลีบดอก 5<br />

เรียงสลีบเวียนกัน แยกหรือเชื่อมติดกันเล็กน้อยที<br />

่โคน เกสรเพศผู้มีจำนวน 10 หรือมากกว่า หายากที่มี 5 แยกจาก<br />

กัน รังไข่ส่วนมากมี 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่ 2 เมล็ดหรือมากกว่าติดอยู่บน placenta ชนิด axile ก้านเกสรเพศเมียมัก<br />

พองตอนโคนเรียกว่า stylopodium ผล ส่วนมากมีเมล็ดเดียว ผิวแข็ง มักมีปีกจำนวน 3 ,2 หรือ 5 ปีก เกิดจากกลีบ<br />

เลี้ยงที่เจริญขยายตัวในระยะที<br />

่เป็นผล เมล็ดไม่มี endosperm ใบเลี้ยงมักจะพับหรือบิด<br />

พืชในวงศ์นี้มีประมาณ 25 สกุล ส่วนมากอยู่ในทวีปเอเซีย มี 3-1 สกุลในทวีปแอฟริกา ในประเทศไทยเท่า<br />

ที่สำรวจพบมีอยู่ด้วยกัน 9 สกุล ประมาณ 50 ชนิด<br />

1. กลีบเลี้ยงเจริญขยายออกไปเป็นปีกมีขนาดไม่เท่ากัน<br />

2. ปีกยาว 2 ปีก สั้น 3 ปีก<br />

3. ปีกยาวมีเส้นเห็นชัด 3 เส้น<br />

4. ถ้วยกลีบเลี้ยงไม่เชื่อมติดกับผล<br />

4. ถ้วยกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกับผล<br />

3. ปียาวมีเส้นเห็นชัด 7-5 เส้น<br />

5. ปีกยาวมีเส้น 5 เส้น<br />

รูปวิธานแยกชนิด (อาศัยลักษณะของผล)<br />

121<br />

Dipterocarpus<br />

Anisoptera<br />

6. ผลมีขนสั้นนุ่มปกคลุม เส้นแขนงใบโค้งจรดกันห่างจากขอบใบเข้ามา Cotylelobium<br />

6. ผลเกลี้ยง เส้นใบเป็นแบบร่างแห หรือขั้นบันได Vatica<br />

5. ปีกยาวมีเส้นอย่างน้อย 7 เส้น Hopea<br />

2. ปีกยาว 3 ปีก สั้น 2 ปีก Shorea<br />

1. กลีบเลี้ยงเจริญขยายออกไปเท่า ๆกันหรือเกือบเท่ากัน<br />

7. กลีบเลี้ยงเจริญเป็นปีก พ้นตัวผลออกไป โคนกลีบกิ่งเล็กเป็นก้าน<br />

7. กลีบเลี้ยงไม่เจริญเป็นปีก<br />

8. กลีบเลี้ยงเรียงซ้อนสลับกันหรือเชื่อมติดกันเป็นกระทงหุ้มรอบผลหรือเชื่อมติดกับฐานของผล<br />

9. กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกับผล<br />

9. กลีบเลี้ยงไม่เชื่อมติดกกับผล<br />

Parashorea<br />

Vatica stapfiana van Slorten<br />

10. ผลยาวประมาณ 5 ซม. Balanocarpu<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


122 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

10. ผลยาวประมาณ 2 ซม. Hopea apiculata Sym.<br />

8. กลีบเลี้ยงไม่เชื่อมติดกันเป็นกระทงหุ้มรอบผล<br />

11. กลีบเลี้ยงแข็งมาก<br />

12. กลีบเลี้ยงมนเป็นรูปหูหนู กางออกไปทางแนวระดับ Shorea sumatrana Sym.<br />

12. กลีบเลี้ยงหนาไม่กางออกไปทางแนวระดับ Vatica pauciflora (Korth.) Blume<br />

11. กลีบหนาคล้ายหนัง Vatica diospyroides Sym.<br />

พรรณไม้ในวงศ์นี้ต่างเป็นไม้ที ่มีค่าทางเศรษฐกิจทุกชนิด ยกเว้น จันทน์กะพ้อ Vatica diospyroides Sym.<br />

ซึ่งเป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ปลูกเป็นไม้ประดับเพราะดอกมีกลิ่นหอมมาก ชนิดที่เป็นไม้หวงห้าม<br />

ประเภท ข. คือ ตะเคียนชันตาแมว Balanocrpus heirmii King เพื่อสงวนไว้เก็บหาชันที<br />

่มีคุณสมบัติสูงกว่าชันชนิดอื่น<br />

ๆ นอกนั้นเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.<br />

สกุล ยาง Dipterocarpus พวกนี้มีปีกยาว 2 ปีก มีด้วยกันประมาณ 19 ชนิด ชนิดที่ขึ้นในป่าเต็งรัง ได้แก่<br />

เหียง D. obtusifolius Teijsm. ex Miq. พลวง D. tubercultus Gaertn.f. และ กราด D. intricatus Dyer<br />

สกุล กะบาก Anisoptera พวกนี้มีปีกยาว 2 ปีก ต่างจาก Dipterocarpus ที่ถ้วยรองกลีบดอกเชื่อมติดก้าน<br />

ผล มีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิด เช่น A. costata Korth.<br />

สกุล เต็ง Shorea พวกนี้มีปีกยาว 3 ปีก ขึ้นอยู่ตามป่าเต็งรัง มีอยู่ด้วยกันประมาณ 20 ชนิด เช่น เต็ง S.<br />

obtuse Wall. พะยอม S. roxburghii G. Don เป็นต้น<br />

เส้น<br />

สกุล เคี่ยม Cotylelobium มีอยู่เพียงชนิดเดียวเคือ C. melanoxylon Pierre มีปีกยาว 2 ปีก ปีกยาวมีเส้น 5<br />

สกุล ตะเคียน Hopea พวกนี้มีปีกยาว 2 ปีก ปีกยาวมีเส้นอย่างน้อย 7 เส้น มีประมาณ 16 ชนิด เช่น ตะเคียน<br />

ทอง H. odorata Roxb. ตะเคียนหิน H. ferrea Laness. หงอนไก่บก หรือ กะบกกรัง H. helferi Brandis ชันภู่ H. recopei<br />

Pierre ex Laness หมอราน H. oblongifolia Dyer<br />

สกุล ไข่เขียว Parashorea มีอยู่ชนิดเดียว คือ P. stellata Kurz ปีก 5 ปีก เจริญพ้นตัวผลออกไป โคนกลีบ<br />

กิ่วเล็กเป็นก้าน<br />

สกุล พันจำ Vatica มีอยู่ด้วยกัน 7 ชนิด เช่น จันทน์กะพ้อ V. diospyroides Sym. พวกนี้กลีบเลี้ยงไม่เจริญ<br />

เป็นปีก แต่เรียงสลับกันหรือเชื ่อมติดกันเป็นรยางค์เชื ่อมติดก้านผล<br />

สกุล ตะเคียนชันตาแมว Balanocarpus มีชนิดเดียวคือ B. heimii King กลีบเลี้ยงไม่เจริญเป็นปีก กลีบไม่<br />

เชื่อมติดกับผล<br />

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ Thai Forest Bulletin (Botany) No. 12: 1-133. 1979.)<br />

5. อันดับ Proteales<br />

ดอก bisexual หรือ unisexual ส่วนมากมีชั้นละ 4 กลีบ perianth เหมือนกลีบดอก เกสรเพศผู้จำนวน 4 อยู่<br />

123<br />

ตรงข้ามกับกลีบและมักเชื่อมติดกับกลีบ ส่วนอับเรณูแยกจากกัน รังไข่ superior ไข่มีจำนวนเมล็ดเดียวหรือหลาย<br />

เมล็ด ติดอยู่บน placenta ชนิด parietal<br />

พรรณไม้ในอันดับนี้มีเพียงวงศ์เดียว คือ Proteaceae มีเขตการกระจายพันธุ์จำกัดอยู่แต่ทางแถบใต้ของ<br />

โลกเท่านั้น<br />

วงศ์เหมือด Proteaceae<br />

ไม้ต้น หรืไม้พุ่ม ใบ เดี่ยว ออกเรียงสลับ (บางทีมีขอบจักลึกมาก) ไม่มีหูใบ ดอก bisexual หรือ unisexual<br />

ออกเป็นช่อชนิด receme หรือ spike กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายมี 4 กลีบ ลักษณะคล้ายกลีบดอก เกสรเพศ<br />

ผู้มีจำนวน 4 อยู่ตรงข้ามกับกลีบ และเชื่อมติดกันกับกลีบนั้น อับเรณูแยก รังไข่ superior มีช่องเดียว ไข่มีเมล็ดเดียว<br />

หรือหลายเมล็ด ก้านเกสรเพศเมียยาวมาก ผลเป็นชนิด drupe เมล็ดไม่มี endosperm<br />

พรรณไม้ในวงศ์นี้มีอยู่ประมาณ 55 สกุล ส่วนมากอยู่ในทวีปออสเตรเลียและแอฟริกาใต้ มีน้อยในทวีป<br />

อเมริกาเขตร้อน ในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกันเพียง 2 สกุล คือ Helicia ดอก bisexual ใบเดี่ยวมีแบบเดียว และ<br />

Heliciopsis ดอก unisexual ใบเดี ่ยวมีสองแบบ (dimorphic)<br />

ไม้ทั้งสองสกุลนี้เรียกกันทั่ว ๆไปว่า เหมือดคน ทั้งหมดมีอยู่ด้วยกันประมาณ 10 ชนิด พันธุ์ไม้ออสเตรเลีย<br />

ชนิดหนึ ่งได้นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยนานมาแล้ว คือ สนอินเดีย (หรือ Silky oak tree) Grevillea robusta A. Cunn.<br />

ex R. Br.<br />

6. อันดับ Amentiferae<br />

ดอก ส่วนมาก unisexual มักอยู่รวมกันเป็นช่อห้อยแบบหางกระรอก (catkin) กลีบ perianth มักไม่มี รังไข่<br />

มักมี 2 ช่อง endosperm บางหรือไม่มี ใบ ออกเรียงสลับ หายากที ่ออก รอบกิ่ง การผสมพันธุ์อาศัยลม<br />

พันธุ์ไม้ในอันดับนี้มี 5 วงศ์ มีอยู่ทั่วไปในเขตอบอุ่นของโลก ในเขตร้อนมีน้อยชนิด จะกล่าวถึง 2 วงศ์ คือ<br />

Casuarinaceae และ Fagaceae<br />

1. วงศ์สนทะเล สนประดิพัทธ์ Casuarinaceae<br />

ไม้ต้น กิ ่งสีเขียว เรียว และหักหลุดเป็นข้อ ๆ ใบ จำนวน 16-4 เรียงอยู่ในระดับเดียวกันรอบกิ ่ง ลดขนาดลง<br />

เป็นรูปเขี้ยว โคนใบเชื ่อมติดกัน ดอก unisexual เรียงอยู่รอบแกนช่อดอก ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อเรียว ดอกเพศเมีย<br />

ออกรวมกันเป็นกลุ่มกลม ๆ ไม่มีกลีบ perianth เลย มีแต่เพียงกาบรองดอก ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้เพียงอันเดียว<br />

รังไข่ในชั้นแรกมี 2 ช่อง ต่อมาลดลงเหลือเพียงช่องเดียว ไข่จำนวน 2 เมล็ด แต่เจริญเพียงเมล็ดดียว ผล รวมกัน<br />

เป็นกระจุกคล้ายผลของสนเขา แต่ละผลมีขนาดเล็ก ผิวแข็งมีปีก มีกาบรองดอกแข็ง ๆ 2 อันหุ้มอยู่ เมล็ดไม่มี<br />

endosperm<br />

พรรณไม้ในวงศ์นี้มีอยู่เพียงสกุลเดียวในโลก ส่วนมากเป็นพืชพื้นเมืองของทวีปออสเตรเลีย ในประเทศไทย<br />

พบขึ้นตามป่าชายหาดที ่เป็นทรายชนิดเดียว คือ สนทะเล Casuarina equisetifolia J.R. Forster & G. Forster อีกชนิด<br />

คือ สนประดิพัทธ์ C. junghuhniana Miq. นั้นเป็นพันธุ์พืชต่างประเทศได้นำเข้ามาปลูกกันกว่า 100 ปีมาแล้ว เข้าใจ<br />

ว่าจะเป็นพันธุ์ผสม เนื่องจากเมื<br />

่อนำเข้ามาเป็นครั้งแรกนั้นเป็นต้นเพศผู้ พันธุ์ไม้ชนิดนี้จึงแยกขยายพันธุ์ได้ด้วยการ<br />

ตัดแยกรากหรือตอนกิ่งเท่านั้น<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


่<br />

124 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

2. วงศ์ก่อ Fagaceae<br />

ไม้ต้น ใบ เดี่ยว ออกเรียงสลับกัน หายากที่เรียงอยู่รอบ ๆ กิ่ง มีหูใบแต่กลุดร่วงไปก่อนที ่ใบจะเจริญเต็มที<br />

ดอก เล็กมาก unisexual อยู่บนช่อเดียวกัน หรือแยกกันอยู่คนละช่อ กลีบ perianth มีจำนวน 6-4 กลีบ เกสรเพศผู้<br />

จำนวนน้อย รังไข่ inferior มี 4-3 ช่อง ช่องหนึ ่งมีไข่สองเมล็ด ผล เปลือกแข็ง โดยมากมีเมล็ดเดียว มีกาบเป็นรูปถ้วย<br />

(cupule) หุ้มอยู่ กาบนี้มีรอยเป็นชั้น ๆ มีเมล็ดเรียงเป็นแถวหรือมีหนามแหลมอยู่ทางด้านนอก เมล็ดไม่มี endosperm<br />

พรรณไม้ในวงศ์นี้มีประมาณ 8 สกุล ส่วนมากเป็นไม้เขตอบอุ่นหรือเขตร้อนของโลก ในประเทศไทยเท่าที่<br />

สำรวจพบมีอยู่ 4 สกุลด้วยกัน เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ทั้งสิ้น<br />

รูปวิธานแยกสกุล<br />

1. ดอกเพศผู้มักมีเกสรเพศเมียเป็นหมัน (pistillodes) ปรากฏอยู่ เกสรเพศผู้ส่วนมากมี 12 อับเรณูเล็กติดกับก้าน<br />

เกสรทางด้านหลัง หลอดเกสรเพศเมียเป็นรูปท่อ ยอดเกสรเล็กมาก กาบรองผลหุ้มผลมิด หรือไม่มิด<br />

2. กาบรองผลมักมีหนามแหลม หุ้มผลมิด เวลาแก่จัดจะแยกออกจากกัน กาบหนึ ่งมีผลจำนวน 3-1 ใบเรียงสลับ<br />

ท้องใบมีเกล็ดสีนำ้ำตาลเป็นมัน<br />

Castanopsis<br />

2. กาบรองผลไม่มีหนาม เป็นรูปถ้วยตื้นหรือลึก กาบหนึ่งมีผลเพียงผลเดียว ท้องใบไม่มีเกล็ด ลักษณะเหมือน<br />

ข้างบน<br />

Lithocarpus<br />

1. ดอกเพศผู้ไม่มีเกสรเพศเมียเป็นหมัน (pistillode) เกสรเพศผู้มี 6 อับเรณูใหญ่กว่าติดกับก้านทางโคนอับ กาบรอง<br />

ผลไม่หุ้มมิดผล ขอบเรียบหรือหยักเว้า<br />

3. ผลกลมเมื ่อดูทางรอยตัดตามขวาง กาบรองผลมีผลอยู่เดี ่ยว ๆ เป็นรูปถ้วยขอบไม่หยักเว้า<br />

Quercus<br />

3. ผลเป็นรูปสามเหลี ่ยมเมื่อดูทางรอยตัดตามขวาง กาบรองผลมีผล 3-1 หรือมากกว่า และขอบหยัก<br />

Trigonobalanus<br />

พรรณไม้ในวงศ์นี้เรียกกันทั่ว ๆไปว่า ก่อ เท่าที่มีอยู่ในประเทศไทยมีจำนวนกว่า 80 ชนิด สกุลที่มีสมาชิก<br />

มากที่สุดคือ Lithocarpus พบขึ้นตั้งแต่ในป่าดิบพื้นราบจนถึงป่าดิบเขาในระดับสูง บางชนิดพบขึ้นในป่าดิบแล้ง เช่น<br />

ก่อขี้หมู L. harmandii A. Camus พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก<br />

ไม้ก่อในสกุล Castanopsis และ Lithocarpus มีลักษณะใกล้เคียงกันมาก แต่จะสังเกตดูได้ที่ท้องใบของ<br />

สกุล Castanopsis นั้น มีเกล็ดละเอียดสีนำ้ำตาลติดแนบกับผิวดูเป็นมันเลื่อม ลักษณะนี้มีประโยชน์มากในการ<br />

วิเคราะห์เมื่อพรรณไม้ยังไม่มีดอกหรือผล ช่อดอกของสองสกุลนี้ก็คล้ายกันคือ บางทีดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่รวม<br />

กันในช่อเดียวกัน และช่อดอกตั้งตรงออกตามปลายกิ ่ง หรือตามง่ามใบใกล้ปลายกิ ่ง<br />

ส่วนสกุล Quercus และ Trigonobalanus นั้น ดอกทั้งสองเพศแยกกันอยู่คนละช่อ ดอกเพศเมียในสกุล<br />

Quercus มักจะสั้นมากและมีน้อยดอก ส่วนของ Trigonobalanus นั้น เป็นช่อยาวคล้าย ๆ ช่อดอกของสองสกุลแรก<br />

พรรณไม้สกุล Trigonobalanus นี้ ปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันเพียง 2 ชนิด ชนิดหนึ ่งพบทางประเทศมาเลเซีย และ<br />

แคว้นซาบาห์ในเกาะบอร์เนียว อีกชนิดหนึ่งนั้นพบทางภาคเหนือของประเทศไทยคือ T. doichangensis (A. Camus)<br />

Forman<br />

ภาพที่ 28<br />

ก่อบังบาตร<br />

Lithocarpus corneus (Lour.) Rehder<br />

(Fagaceae)<br />

ก่อหมวก<br />

Quercus auricoma A. Camus<br />

(Fagaceae)<br />

125<br />

ก่อดาน<br />

Castanopsis purpurea Barnett<br />

(Fagaceae)<br />

ก่อสามเหลี่ยม<br />

Trigonobalanus doichangensis (A. Camus) Forman<br />

(Fagaceae)<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


126 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

127<br />

สนทะเล<br />

เหมือดคนตัวผู้<br />

เฉียงพร้านางแอ<br />

โกงกางใบเล็ก<br />

Casuarina equisetifolia J.R. Forster & G. Forster<br />

Helicia nilagirica Bedd.<br />

Carallia brachiata (lour.) Merr.<br />

Rhizophora apiculata Blume<br />

(Casuarinaceae)<br />

(Proteaceae)<br />

(Rhizophoraceae)<br />

(Rhizophoraceae)<br />

ตำแยช้าง<br />

ไข่ปลา<br />

กะออก<br />

มะเดื่อกวาง<br />

Dendrocnide stimulans Chew<br />

Debregeasia longifolia (Burm.f.) Wedd.<br />

Artocarpus elasticus Reinw. ex Blume<br />

Ficus callosa Willd.<br />

(Urticaceae)<br />

(Urticaceae)<br />

(Moraceae)<br />

(Moraceae)<br />

ภาพที่ 29<br />

ภาพที่ 30<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


128 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

ภาพที่ 31<br />

หว้า<br />

Syzygium cumini (L.) Skeels<br />

(Myrtaceae)<br />

งวงชุ่ม<br />

Combretum pilosum Roxb. ex G. Don<br />

(Combretaceae)<br />

ชมพู่น้ำ<br />

Syzygium siamense (Craib) Chatar. & J. Parn.<br />

(Myrtaceae)<br />

ตะแบกเลือด<br />

Terminalia mucronata Craib & Hutch.<br />

(Combretaceae)<br />

7. อันดับ Urticales<br />

ดอก มีขนาดเล็ก bisexual หรือ unisexual มักอยู่รวมกันแน่นเป็นก้อน กลีบ perianth จำนวน 5-4 กลีบ<br />

หรือหายากที่ไม่มีกลีบเลย เกสรเพศผู้จำนวนมักจะเท่ากันกับกลีบ และอยู่ตรงข้ามกับกลีบ รังไข่ superior ส่วนมาก<br />

มี 2 ช่อง บางทีมีช่องเดียวและไข่เมล็ดเดียว ผล มีลักษณะต่าง ๆ บางทีอยู่รวมกันเป็นแบบ multiple เมล็ดมี<br />

endosperm เป็นไม้ล้มลุก ไม้พุ่ม หรือไม้ยืนต้น<br />

พรรณไม้ในอันดับนี้มีอยู่ด้วยกัน 3 วงศ์คือ Ulmaceae, Urticaceae และ Moraceae วงศ์ Moraceae และ<br />

Ulmaceae ส่วนใหญ่เป็นไม้ต้นและไม้พุ่ม วงศ์ Urticaceae ส่วนใหญ่เป็นไม้ล้มลุก มีบางชนิดเป็นไม้ต้นขนาดเล็กและ<br />

มีขนเป็นพิษ<br />

รูปวิธานแยกวงศ์<br />

1. เกสรเพศเมียตั้งตรงในตาดอก ไม้ต้นหรือไม้พุ่ม ยางใส ใบติดเรียงสลับ โคนมักเบี้ยว ผลสด แบบ drupe<br />

1. Ulmaceae<br />

1. เกสรเพศเมียโค้งเข้าในตาดอก (จะตั้งตรงในวงศ์ Moraceae บางชนิด) ไม้ต้น ไม้พุ่ม หรือไม้ล้มลุก ยางใสหรือ<br />

ขาว ใบส่วนมากติดเรียงสลับ บางทีพบติดตรงข้ามบ้าง โคนใบเท่ากัน ผลมีหลายชนิด มักเป็นผลรวม (multiple<br />

หรือ syncarp)<br />

2. ไม้ล้มลุก หรือไม้ต้นเนื้ออ่อน มียางใส 2. Urticaceae<br />

2. ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม หายากที ่เป็นไม้ล้มลุก มียางขาว ไข่ติดที่โคนรังไข่<br />

1. วงศ์ขี้หนอนควาย Ulmaceae<br />

129<br />

3. Moraceae<br />

ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม ใบ เดี่ยว เรียงสลับ มีหูใบ ดอก เล็ก สมบูรณ์เพศหรือเพศเดียว ออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นกระ<br />

จุกตามง่ามใบ กลีบรวมมักมี 5-4 แฉก เกสรเพศผู้มี 5-4 (หรืออาจน้อยกว่า) ติดตรงข้ามกับแฉกกลีบรวม ก้านชูอับ<br />

เรณูตั้งตรงในตาดอก เกสรเพศเมียมี 2 คาร์เพล รังไข่มี 1 ช่อง มีไข่ 1 เมล็ด ก้านเกสรเพศเมียมี 2 แฉก ผล สดแบบ<br />

drupe หรือผลแห้งมีปีก เมล็ดไม่มี endosperm<br />

พรรณไม้ในวงศ์นี้มี 15 สกุล พบในซีกโลกภาคเหนือ ประเทศไทยพบ 4 สกุล<br />

รูปวิธานแยกสกุล<br />

1. ผลแห้ง ปีกกว้าง เมล็ดแบน Ulmus<br />

1. ผลสดแบบ drupe เมล็ดกลม<br />

2. หูใบเชื ่อมติด ดอกเพศเดียว กลีบเลี้ยงของดอกเพศผู้เรียงซ้อนเหลื่อมกัน<br />

2. หูใบแยก<br />

3. ดอกเพศเดียว กลีบเลี้ยงของดอกเพศผู้เรียงซ้อนเหลื ่อมกัน drupe แห้ง<br />

Gironniera<br />

Celtis<br />

3. ดอกสมบูรณ์เพศ หรือ บางทีเพศเดียวกลีบเลี้ยงเรียงจนดกัน drupe มีเนื้อ Trema<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


130 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

สกุล Gironniera เช่น ขี้หนอนควาย G.nervosa สกุล พังแหร Trema เช่น พังแหรใบใหญ่ T. orientalis Blume<br />

พบเป็นไม้พุ่ม หรือ ไม้ต้นทั่วไป สกุล ลูบลีบ Ulmus มีชนิดเดียว คือ U. lancifolia Roxb.<br />

2. วงศ์ตำแย Urticaceae<br />

ไม้ล้มลุก มีเส้นใย ไม้พุ่ม ไม้ต้นเนื้ออ่อน ใบ เดี่ยว ติดตรงข้ามหรือติดเรียงสลับ มีหูใบ ดอก เล็ก เพศเดียว<br />

ออกเป็นกระจุก กลีบรวมมี 5-4 แฉก เกสรเพศผู้มี 5-4 ติดตรงข้ามกับแฉกกลีบรวม ก้านชูอับเรณูโค้งในตาดอก<br />

รังไข่มี 1 ช่อง ไข่ 1 เมล็ด ก้านเกสรเพศเมียมีอันเดียว ผล แห้ง หรือผลสด มักมีกลีบรวมติดอยู่<br />

1. ไม้ต้นหรือไม้พุ่ม ตั้งตรง หรือไม้ล้มลุก<br />

2. ดอกออกเป็นช่อกระจุก แยกแขนง (panicle)<br />

รูปวิธานแยกสกุล<br />

3. ไม้ล้มลุก แข็ง ตั้งตรง ใบใหญ่ มีขนคาย Laportea, Dendrocnide<br />

3. ไม้ล้มลุก ขนาดเล็ก ใบเล็ก ไม่มีขนคาย Pilea, Boehmeria<br />

2. ดอกออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ หรือ บนฐานดอกมีเนื้อ ใบ equilateral Pouzolzia<br />

1. ไม้เลื้อย หรือ ไม้อิงอาศัย Poikilospermum<br />

พืชวงศ์นี้ สกุล Laportea และ Dendrocnide มีขนทำให้ระคายเคืองผิวหนัง ได้แก่ กะลังตังช้าง Laportea bulbifera<br />

Wedd. ตำแยตัวเมีย L. interrupta Chew ตำแยช้าง Dendrocnide stimulans Chew กะลังตังช้าง D. sinuate Chew<br />

3. วงศ์มะเดื ่อ Moraceae<br />

ไม้ต้น และไม้พุ่ม มีนำ้ำยางขุ่นขาวคล้ายนำ้ำนม ใบ เดี่ยว เรียงสลับ หูใบ (stipules) เล็กหรือใหญ่ และหุ้มปิด<br />

ปลายยอด ดอก มีขนาดเล็ก เพศเดียว (unisexual) ออกเป็นช่อสั้น ๆ (cyme) หรือเป็นก้อน (head) หรือฝังตัวอยู่บน<br />

ฐานรูปโถ (urn-shaped receptacle) กลีบ perianth มีจำนวน 4 หายากที่ไม่มี เกสรเพศผู้มีจำนวน 4 (อยู่ตรงข้ามกับ<br />

กลีบ perianth หรือลดจำนวนลงเหลือเพียง 1 หรือ 2 เท่านั้น) เกสรเพศเมียมี 2 อัน รังไข่มีช่องเดียวและเมล็ดเดียว<br />

ก้านเกสรเพศเมีย (style) ส่วนมากมี 2 อัน ผล ผิวแข็งแบบ nut หรือผิวอุ้มนำ้ำแบบ drupe หรือผลแห้งแบบ achene<br />

มักรวมกันอยู่เป็นก้อนกลม หรือมีฐานอวบหุ้มอยู่<br />

พรรณไม้วงศ์นี้มีประมาณ 53 สกุล ส่วนมากเป็นพรรณไม้ในเขตร้อน ในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 8 สกุล<br />

ที่เป็นไม้หวงห้ามก็คือ สกุล ขนุน มะหาด Artocarpus พรรณไม้ในสกุลนี้ต่างเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ใบ<br />

เดี่ยว และมักจะมีสองแบบ ใบของต้นอ่อนขอบมักหยักเว้าลึก ใบแก่ขอบเรียบ ส่วนมากมีขนสากคายตามกิ ่งอ่อน<br />

และตัวใบ ออกเรียงสลับกัน ดอกเพศผู้เล็กมาก อยู่ชิดกันเป็นช่อแน่น รูปขอบขนาน มีท่อก้านยาวออกตามง่ามใบ<br />

ปลายกิ่ง หรือตามกิ ่งแขนงสั้น ๆ ตามลำต้น ดอกเพศเมียคล้ายกับดอกเพศผู้แต่มีขนาดใหญ่กว่า ผลเชื่อมติดกันเป็น<br />

แบบ multiple ขนาดใหญ่ ผิวผลรวมนี้เป็นตุ่มขรุขระหรือเป็นเส้นค่อนข้างแข็ง เช่น หาด หรือ มะหาด A. lakoocha<br />

Roxb. ไม้สกุลนี้เป็นไม้ผล คือ ขนุน A. heterophyllus Lamk.<br />

ไม้วงศ์นี้ที ่รู้จักกันทั่วไป คือ สกุล มะเดื่อ และ ไทร Ficus เช่น มะเดื่ออุทุมพร F. racemosa L. ทรย้อยใบ<br />

แหลม F. benjamina L.<br />

8. อันดับ Myrtales<br />

ดอก โดยมากสมมาตรตามรัศมี (actinomorphic) สมบูรณ์เพศ (bisexual) กลีบเลี้ยงโดยมากเรียงจรดกัน<br />

(valvate) เกสรเพศผู้จำนวนมาก มักจะมีรูปร่างโดยเฉพาะ แยกหรือเชื่อมติดกัน มักมีจานดอก (disc) เกสรเพศเมีย<br />

เชื่อมติดกัน (syncarpous) พลาเซนตารอบแกนร่วม (axile placentation) รังไข่เหนือวงกลีบ (superior) กึ ่งใต้วงกลีบ<br />

(half-inferior) หรือ ใต้วงกลีบ (inferior) ก้านเกสรเพศเมีย (style) มีอันเดียว เมล็ดมี endosperm น้อยหรือไม่มีเลย<br />

ใบ เดี่ยว ส่วนมากออกตรงข้าม มักมีจุดต่อม<br />

พรรณไม้ในอันดับนี้สังเกตได้ที ่มีใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ส่วนมากไม่มีหูใบ รังไข่เชื่อมติดกันกับถ้วยกลีบ<br />

เลี้ยง (hypanthium) เช่น ในวงศ์ Lythraceae และ Myrtaceae ที่พบในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน 9 วงศ์ แต่จะกล่าวถึง<br />

วงศ์ที่สำคัญคือ Rhizophoraceae, Combretaceae, Myrtaceae, Lythraceae และ Thymelaeaceae<br />

1. วงศ์โกงกาง Rhizophoraceae<br />

ไม้ต้น หายากที ่เป็นไม้พุ่ม เป็นพรรณไม้ป่าชายเลน ใบ เดี่ยว ส่วนมากออกตรงข้ามและแต่ละคู่ตั้งฉากกัน<br />

(decussate) และมีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ (interpetiolar stipule) ดอก มีขนาดเล็กหรือใหญ่ สมมาตรตามรัศมี<br />

(regular) ส่วนมากเป็นแบบสมบูรณ์เพศ (bisexual) ออกเดี่ยว ๆ หรือออกเป็นกระจุก (cyme) ตามง่ามใบ กลีบเลี้ยง<br />

โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 8-4 กลีบ (หรือ 16-3 กลีบ) กลีบดอกแยกจากกัน มีจำนวนเท่ากับกลีบเลี้ยง และ<br />

มักจะมีขนาดเล็กกว่า เกสรเพศผู้ส่วนมากมีจำนวนมากกว่ากลีบดอก มักอยู่เป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกลีบดอก รังไข่ inferior<br />

หรือ superior มีจำนวน 6-2 ช่อง (บางครั้งมีเพียงช่องเดียว) แต่ละช่องมีไข่ -2หลายเมล็ด ผล สดมีเนื้อหลายเมล็ด<br />

(baccate) หรือ ผลแบบ drupe เมล็ดของพรรณไม้ป่าชายเลนมีคุณลักษณะพิเศษผิดแปลกกว่าวงศ์อื ่น ๆ คือ เมล็ด<br />

สามารถงอกเป็นต้นอ่อนได้ในขณะที ่ผลยังติดอยู่บนต้น (vivipary) เมล็ดส่วนใหญ่มี endosperm<br />

พรรณไม้วงศ์นี้มีประมาณ 20 สกุล พบในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ในไทยที่สำคัญมีอยู่ 5 สกุลด้วยกันคือ<br />

สกุล โกงกาง Rhizophora สกุล พังกา ประสัก รุ่ย Bruguiera สกุล เฉียงพร้านางแอ Carallia สกุล รังกะแท้ Kandelia<br />

และ สกุล โปรง Ceriops<br />

รูปวิธานแยกสกุล<br />

1. พืชขึ้นในป่าชายเลนเมล็ดงอกเมื ่อผลยังติดคาต้น คอราก (hypocoty) เจริญเมื่อยังเป็นผล<br />

2. กลีบเลี้ยงมีจำนวน 4 กลีบดอกขอบเรียบ ไม่มีรยางค์ Rhizophora<br />

2. กลีบเลี้ยงมีจำนวน 16-5 แฉก กลีบดอกหยักเป็น 2 หรือหลายแฉก แต่ละแฉกมีครุย<br />

3. กลีบเลี้ยงมีจำนวน 6-5 แฉก กลีบดอกมีครุยหรือมีหลายแฉก<br />

4. กลีบเลี้ยงรูปไข่ กลีบดอกมีครุยตอนปลายกลีบ คอรากมีสัน Ceriops<br />

4. กลีบเลี้ยงรูปขอบขนานแคบ กลีบดอกมีหลายแฉก คอรากเรียบ Kandelia<br />

3. กลีบเลี้ยงมีจำนวน 16-8 แฉก กลีบดอกหยักเป็น 2 แฉก ตรงกลางเป็นแอ่ง Bruguiera<br />

1. พืชขึ้นในป่าบก เมล็ดไม่งอกคาต้น กลีบดอกขอบหยักไม่เป็นระเบียบ Carallia<br />

131<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


่<br />

่<br />

132 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

พรรณไม้ในวงศ์โกงกาง Rhizophoraceae คล้ายคลึงกับวงศ์เข็ม Rubiaceae มาก โดยที่มีลักษณะใบออก<br />

ตรงข้ามและแต่ละคู่ตั้งฉากกัน (decussate) และมีหูใบแบบ interpetiolar stipules เช่นเดียวกัน แต่พรรณไม้พวก<br />

Rhizophoraceae มีกลีบดอกเป็นอิสระแยกจากกันเป็นกลีบ ๆ ส่วนพวก Rubiaceae มีกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็น<br />

หลอด (corolla tube)<br />

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ Flora of Thailand Vol. 2(1): 5-15. 1970.)<br />

2. วงศ์สมอ Combretaceae<br />

ไม้ต้น และไม้พุ่ม ไม้เถามีบ้างไม่มากนัก ใบ เดี่ยว ออกเรียงสลับ หรือออกกึ่งตรงข้าม (semi-opposite)<br />

ไม่มีหูใบ ดอกมีขนาดเล็ก สมมาตรตามรัศมี (regular) สมบูรณ์เพศ หรือเพศเดียวออกเป็นช่อยาวแบบหางกระรอก<br />

(catkin) อาจเป็นแบบ raceme, spike หรือ panicle กลีบเลี้ยงมี 5-4 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย หรือหลอด หลุด<br />

ร่วงได้ยาก กลีบดอกมี 5-4 กลีบ บางพวกไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้มี 8-5-4 หรือ 10 อัน ตามปกติเกสรเพศผู้มี<br />

จำนวนเป็น 2 เท่าของจำนวนกลีบเลี้ยง และมีอยู่ 2 แถว รังไข่ inferior มีเพียง 1 ช่อง ไข่มี 6-2 เมล็ด แขวนห้อยหัว<br />

ลง ก้านเกสรเพศเมีย (style) มีเพียงอันเดียว ผล มีทั้งแบบผลแห้งส่วนมากเมื ่อแก่ไม่แตก และผลสดแบบ drupe มี<br />

ลักษณะค่อนข้างกลมหรือแบน หรือเป็นเหลี่ยม หรือมีครีบ 5-2 ครีบ และมีเพียงเมล็ดเดียว เมล็ดไม่มี endosperm<br />

พรรณไม้วงศ์นี้มีประมาณ 20 สกุล ชอบขึ้นอยู่ในเขตร้อน สำหรับพรรณไม้ของไทยที ่สำคัญมี 3 สกุล คือ<br />

สกุล สมอ รกฟ้า Terminalia สกุลฝาด Lumnitzera และ สกุลตะเคียนหนู Anogeissus<br />

รูปวิธานแยกสกุล<br />

1. ไม่มีกลีบดอก ดอกเล็ก ผลรูปรี หรือมักแบนแผ่ออกไปเป็นปีก Terminalia<br />

1. มีกลีบดอก<br />

2. ดอกเล็กออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ผลแบนมีครีบข้าง ๆ และตอนปลายมียอดเรียวแหลม Anogeissus<br />

2. ดอกขนาดกลาง เรียงเป็นช่อแบบ raceme สั้น ๆ ตามปลายกิ ่ง<br />

3. วงศ์ชมพู่ Myrtaceae<br />

Lumnitzera<br />

ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม ใบ เดี่ยว มักออกตรงข้ามกัน ตัวใบมีต่อมโปร่งแสง ไม่มีหูใบ ดอก สมมาตรตามรัศมี<br />

(regular) สมบูรณ์เพศ (bisexual) กลีบเลี้ยงและกลีบดอกจำนวน 4 หรือ 5 เกสรเพศู้มีจำนวนมาก ก้านชูอับเรณู<br />

เรียวยาว บางทีเชื่อมติดกันเป็นกลุ่ม ๆ รังไข่ inferior มีช่องเดียวหรือหลายช่อง ไข่แต่ละช่องมีจำนวน 2 หรือมากกว่า<br />

ก้านเกสรเพศเมีย (style) มีอันเดียว ผล เป็นชนิด berry หรือ capsule เมล็ดไม่มี endosperm<br />

พรรณไม้ในวงศ์นี้มีประมาณ 80 สกุล เป็นพรรณไม้เขตร้อน ที ่พบขึ้นอยู่ในประเทศไทยประมาณ 6 สกุล<br />

พรรณไม้ที ่นำมาปลูกเป็นไม้ผล เช่น ฝรั่ง Psidium guajava L. สกุล ชมพู่ Syzygium เช่น ชมพู่นำ้ำดอกไม้ S.<br />

jambos (L.) Alsoton ชมพู่สาแหรก S. malaccensis (L.) Merr. และชมพู่นาก หรือ ชมพู่แก้มแหม่ม S. samarangense<br />

(Blume) Merr. & L.M. Perry var. smarangense หว้า S. cumini (L.) Skeels ที่ปลูกเป็นไม้เศรษฐกิจ เช่น ยูคาลิป<br />

Eucalyptus ที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติใช้เปลือกห่อได้ และใบกลั่นเอานำ้ำมัน คือ เสม็ด Melaleuca leucadendra L. ver.<br />

Minor Duthie ที ่ปลูกเพื่อใช้ดอกอ่อนเป็นเครื<br />

่องเทศก็มี กานพลู Syzygium aromaticum (L.) Merr.<br />

133<br />

พรรณไม้สกุลนี้มีลักษณะเด่นคือ ใบเดี่ยวออกตรงข้มกัน เส้นใบจะมีเส้นเรียบขอบใบ (intramarginal vein)<br />

ปรากฏให้เห็นชัด<br />

4. วงศ์ตะแบก อินทนิล เสลา Lythraceae<br />

ไม้ต้น ไม้พุ่ม หรือ ไม้ล้มลุก ใบ เดี่ยว ขอบเรียบ มักออกตรงข้ามกัน ไม่มีหูใบ ดอก regular, bisexual ออก<br />

เป็นช่อชนิด raceme หรือ panicle ฐานดอก (hypanthium) เป็นรูปทรงกระบอก หรือรูประฆัง กลีบเลี้ยงมีจำนวน<br />

8-4 กลีบเรียงจรดกัน กลีบดอกมีจำนวนเท่าหรือน้อยกว่ากลีบเลี้ยง ย่นยับ หายากที่ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้มี<br />

จำนวน 4 หรือ 8 หรือจำนวนมาก รังไข่ไม่เชื่อมติดกับฐานดอก มักมีจำนวน 6-2 ช่อง แต่ละช่องมีไข่จำนวนมาก<br />

axile placenta ผล เป็นแบบ capsule มีฐานดอกหุ้ม เมล็ดมีจำนวนมาก มี endosperm<br />

พรรณไม้ในวงศ์นี้มีมากกว่า 20 สกุล พบกระจัดกระจายทั่ว ๆ ไปในเขตอบอุ่น แต่มีมากในเขตร้อนของโลก<br />

ที่พบในประเทศไทยมีอยู่ 6 สกุลด้วยกัน ที่สำคัญคือ สกุลตะแบก เสลา อินทนิล Lagertroemia มีอยู่หลายชนิด ที<br />

เรียกกันว่า ตะแบก นั้นลำต้นมีพูพอนที่โคนต้น เปลือกสีเทาล่อนหลุดออกเป็นสะเก็ด ทิ้งรอยไว้ที่เปลือกเป็นหลุมตื้น<br />

ๆ เช่น ตะแบกเกรียบ L. balansae Koehne ตะแบกนา L. floribunda Jack ส่วนไม้จำพวก เสลา นั้น เปลือกสีเทาค่อน<br />

ข้างดำ แตกเป็นร่องละเอียดตามทางยาว เช่น เสลาเปลือกหนา L. villosa Wall. เสลาใบใหญ่ หรือ อินทรชิต<br />

L. loudonii Teijsm. & Binn. ทั้ง ตะแบก และเสลา เมื ่อสับดูส่วน cambium จะเป็นสีม่วงเมื ่อถูกอากาศ<br />

ส่วน อินทนิล เปลือกค่อนข้างเรียบ หรือ ลอกเป็นสะเก็ดบาง ๆ เช่น อินทนิลนำ้ำ L. speciosa Pers อินทนิล<br />

บก L. macrocarpa Wall. ทั้ง 2 ชนิดต่างกันที่ดอกตูม ขนาดของดอกและผล โดยอินทนิลนำ้ำ ที่ปลายสุดของดอกตูม<br />

ตรงกลางมีตุ่มกลมเล็ก ๆ ดอกบานมีขนาดกว้าง 8-5 ซม. ผลยาว 2.5-2 ซม. ส่วน อินทนิลบก ที่ปลายสุดของดอก<br />

ตูม ตรงกลางมีรอยบุ๋มเป็นแอ่งเล็กน้อย ช่อดอกมีขนาดใหญ่มาก ดอกบานมีขนาดกว้าง 12-10 ซม. ผลยาว 4-3 ซม.<br />

เสลา และ อินทนิล ที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับคือ เสลาใบใหญ่ หรือ อินทรชิต อินทนิลนำ้ำ และ ยี ่เข่ง<br />

L. indica L. พรรณไม้ในสกุลอื่นที่นำมาปลูกเป็นไม้ประดับและไม้ผล ก็คือ ทับทิม Punica granatum L. เป็นพืชถิ่น<br />

เมดิเตอร์เรเนียนและเอเซียตะวันตก ที่นำมาปลูกเป็นสมุนไพรกันบ้างก็คือ เทียนกิ่ง Lawsonia inermis L. เป็นพืชมี<br />

ถิ่นกำเนิดในอินเดีย ให้สีนำ้ำตาลแดงย้อมผม (henna)<br />

5. วงศ์กฤษณา Thymelaeaceae<br />

ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม หายากที ่เป็นไม้ล้มลุก ใบ เดี่ยว ขอบเรียบ ออกเรียงสลับหรือออกตรงข้าม ไม่มีหูใบ ดอก<br />

โดยมาก regular, bisexual หรือ unisexual ออกเดี่ยว ๆหรือเป็นช่อแบบ raceme กลีบ perianth เชื่อมติดเป็นหลอด<br />

ปลายมี 5-4 พู คล้ายกลีบดอก เกสรเพศเมียมี 2 หรือหลายอัน รังไข่มีช่องเดียว ไข่มีเมล็ดเดียว แขวนห้อยอยู่ที<br />

ปลายรังไข่ ก้านเกสรเพศเมียมีอันเดียว ผล เป็นชนิด drupe หายากที่เป็นชนิด capsule เมล็ดมี endosperm หรือไม่มี<br />

พรรณไม้วงศ์นี้มีประมาณ 40 สกุล พบขึ้นทั่วโลกเว้นเขตหนาว ในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน 5 สกุล ที่เป็น<br />

ไม้หวงห้ามประเภท ข. เพียงสกุลเดียว คือ ไม้หอม หรือ กฤษณา Aquilaria นอกนั้นเป็นไม้พุ่ม หรือไม้เถา<br />

ไม้หอม หรือ กฤษณา นี้มีชื่อทางการค้าว่า Englewood ในประเทศไทยมีด้วยกัน 4 ชนิด คือ Aquilaria<br />

subintegra Hou, A. crassna Pierre ex Lec., A. malaccensis Lamk. และ A. hirta Ridl. ส่วนมากพบทางภาคใต้ และ<br />

ภาคตะวันออกเฉียงใต้ เนื้อไม้ของไม้ดังกล่าวนี้จะมีกลิ่นหอม ซึ่งเดิมเชื่อว่ากลิ่นหอมนี้เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งเข้าไป<br />

ทำลายเนื้อไม้ แต่ปัจจุบันได้มีการวิจัยแล้วพบว่ากลิ่นหอมนี้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


่<br />

134 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

ลักษณะเด่นของพรรณไม้ในวงศ์นี้คือ เปลือกมีใยเหนียวมาก และลอกออกได้ง่าย เมื ่อดึงให้ขาดจากกันจะ<br />

เห็นเส้นใยเป็นมันเหมือนเส้นไหม<br />

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ Flora of Thailand Vol. 6(3): 226-245. 1997.)<br />

9. อันดับ Malvales<br />

ใบ เรียงสลับกัน มีหูใบ มักมีขนชนิด stellate ดอก bisexual (บางทีเป็นชนิด unisexual) ส่วนมากเป็นชนิด<br />

regular ส่วนต่าง ๆ มีจำนวนอย่างละ 5 กลีบเลี้ยงเรียงจรดกัน (valvate) เกสรเพศผู้มีจำนวนมากแยกจากกัน หรือ<br />

เชื่อมติดกันบางส่วน หรือเชื่อมติดกันเป็นหลอด หายากที่มีจำนวนน้อย อยู่ตรงข้ามกับกลีบดอก อับเรณูมี 2-1<br />

เซลล์ เกสรเพศเมียเป็นชนิด syncarpous มี placenta ชนิด axile รังไข่ superior เมล็ดมี endosperm มาก หายากที<br />

ไม่มี embryo ใหญ่ตรงหรือโค้ง<br />

พรรณไม้ในอันดับนี้มี 4 วงศ์ คือ Tiliaceae, Malvaceae, Bombacaceae และ Sterculiaceae ทั้ง 4 วงศ์นี้ไม้<br />

ต้นที่เป็นไม้หวงห้ามด้วยกันทั้งนั้น ไม่มากก็น้อยชนิด ทั้ง 4 วงศ์นี้มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก เป็นการยากที ่จะแยก<br />

ออกจากกันได้ หากอาศัยเพียงลักษณะของใบแต่อย่างเดียว<br />

ปัจจุบันได้ยุบรวมอยู่ในวงศ์ Malvaceae โดยแบ่งเป็นวงศ์ย่อยดังนี้<br />

1. Subfamily Malvoideae or Malvaceae sensu stricto<br />

2. Subfamily Bombacoideae or Bombacaceae<br />

3. Subfamily Byttnerioideae or Byttneriaceae<br />

4. Subfamily Grewioideae or Spawmanriaceae<br />

5. Subfamily Tilioideae or Tiliaceae sensu stricto<br />

6. Subfamily Dombeyoideae or Dentapetaceae<br />

7. Subfamily Helicteroideae or Helicteraceae and Durionaceae<br />

8. Subfamily Brownlowioideae or Brownlowiaceae<br />

1. วงศ์ย่อยปอ Grewioideae<br />

ไม้ต้น และ ไม้พุ่ม ใบ เดี่ยว ออกเรียงสลับ มีหูใบ ดอก regular ส่วนมาก bisexual ออกเป็นช่อชนิด cyme<br />

หรือ panicle กลีบเลี้ยงมีจำนวน 5 กลีบ กลีบดอกมีจำนวนเท่ากัน เกสรเพศผู้มีจำนวนมากแยกจากกัน หรือเชื่อม<br />

ติดกันเป็นกลุ่ม ๆ อับเรณูมี 2 เซลล์ มักมี staminode รังไข่มี 10-2 ช่อง ช่องหนึ่ง ๆ มีไข่เมล็ดเดียว หรือมากกว่า<br />

ก้านเกสรเพศเมียมีอันดียว ผล มีลักษณะต่าง ๆ เมล็ดมี endosperm<br />

พรรณไม้ในวงศ์นี้มีมากกว่า 40 สกุล ส่วนมากเป็นพืชเขตร้อน ในประเทศไทยพบอยู่ 11 สกุลด้วยกัน ที่เป็น<br />

ไม้หวงห้ามประเภท ก. คือ สกุล สีเสียดเปลือก หรือ สีเสียดเหนือ Pentace ได้แก่ P. burmanica Kurz สกุล แดงสบ<br />

คือ Schoutenia hypoleuca Pierre สกุล เลียงมัน คือ Berrya ammonilla Roxb. และที่เป็นไม้หวงห้ามประเภท ข. คือ<br />

สกุลจันทนา หรือ จันทน์ชะมด Mansonia gagei Drumm.<br />

135<br />

พรรณไม้ในวงศ์นี้ที่ปลูกใช้ทำปอคือ ปอกระเจา Coechorus capsularis L. มีชื่อทางการค้าว่า jute และที่นำ<br />

มาปลูกเป็นไม้ประดับทั่ว ๆ ไปคือ ตะขบฝรั่ง Muntingia calabura L.<br />

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ Thai Forest Bulletin (Botany) No. 16: 2-118. 1986.)<br />

2. วงศ์ย่อยชบา Malvoideae<br />

ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก หรือไม้ต้น มักมีขนรูปดาว (stellate hairs) ปกคลุม ใบ ออกเรียงสลับ มักจะหยักเว้าแบบ<br />

รูปฝ่ามือ (palmate) มีหูใบ ดอก bisexual, regular มักมีสีสรรสวยงาม ออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นช่อ กลีบเลี้ยงมีจำนวน<br />

5 มักจะมีกลีบ epicalyx รองอยู่อีกชั้นหนึ ่ง กลีบดอกจำนวน 5 ขนาดใหญ่ มักบิดเวียน เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก<br />

เชื่อมติดกันเป็นหลอดเห็นชัด หุ้มรอบเกสรเพศเมีย อับเรณูมีเซลล์เดียว ละอองเรณูผิวมีหนาม รังไข่ 5 ถึงหลายอัน<br />

ก้านเกสรเพศเมียมีจำนวนเท่ากับรังไข่ ผล เป็นชนิด capsule หรือ schizocarp เมล็ดมี endosperm<br />

พรรณไม้ในวงศ์นี้มีกว่า 80 สกุล พบขึ้นทั่วโลก ในประเทศไทยพบอยู่ประมาณ 10 สกุล ที่เป็นไม้หวงห้าม<br />

ประเภท ก. คือ โพทะเล Thespesia populnea (L.) Soland ex Corr. พบขึ้นด้านหลังป่าชายเลน<br />

พรรณไม้ในวงศ์นี้ที่นำมาปลูกเป็นไม้ประดับ คือ ชบา ชนิดต่าง ๆ ในสกุล Hibiscus และ Malvaviscus ที่<br />

ปลูกเป็นพืชกสิกรรม คือ ปอแก้ว Abelmoschus manihot (L.) Medik นอกจากนี้ก็มีฝ้ายพันธุ์ต่าง ๆ และสำลี ซึ่งก็อยู่<br />

ในสกุล Hibiscus<br />

3. วงศ์ย่อยงิ ้ว นุ่น Bombacoideae<br />

ไม้ต้น ขนาดใหญ่ ใบ เดี่ยว หรือใบประกอบแบบนิ้วมือ (palmately compound) ออกเรียงสลับ มักมีขนรูป<br />

ดาว (stellate) หรือเกล็ด (scales) ปกคลุม มีหูใบ ดอก bisexual, regular กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ และมีกลีบ epicalyx<br />

รองรับ กลีบดอกยาว หายากที ่ไม่มี เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก แยกจากกัน หรือเชื ่อมติดกันเป็นกลุ่ม ๆ อับเรณูมี 2-1<br />

เซลล์ หรือมากกว่า ก้านเกสรเพศเมียมีอันเดียว ผล ชนิด capsule มักมีขนาดใหญ่และผิวเป็นหนาม เมล็ดมีเยื่อหุ้ม<br />

(arillate) หรือมีปุยหุ้ม ปุยนี้มีกำเนิดมาจากเปลือกผล เมล็ดมี endosperm น้อยหรือไม่มีเลย<br />

พรรณไม้ในวงศ์นี้มีประมาณ 20 สกุล เป็นพืชเขตร้อน โดยมากอยู่ในทวีปอเมริกา ที่สำรวจพบใน<br />

ประเทศไทยมีเพียง 5 สกุล คือ สกุล งิ่ว Bombax สกุล ทุเรียน Durio เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. สกุล ช้างร้อง<br />

Neesia สกุล นุ่น Ceiba และสกุล พิศวง Paradombeya<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


136 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

137<br />

กฤษณา<br />

พวมพร้าว<br />

ทุเรียนป่า<br />

ปอทะเล<br />

Aquilaria crassna Pierre ex Lec.<br />

Aquilaria malaccensis Lam.<br />

Durio mansonii (Gamble) Bakh.<br />

Hibiscus tiliaceus L.<br />

(Thymelaeaceae)<br />

(Thymelaeaceae)<br />

(Malvaceae)<br />

(Malvaceae)<br />

ตะแบกนา<br />

อินทนิลน้ำ<br />

จันทร์ชะมด<br />

พลากวาง<br />

Lagerstroemia floribunda Jack<br />

Lagerstroemia speciosa (L.) Pers.<br />

Mansonia gagei J.R. Drumm. ex Prain<br />

Pterospermum lanceifolium Roxb.<br />

(Lythraceae)<br />

(Lythraceae)<br />

(Malvaceae)<br />

(Malvaceae)<br />

ภาพที่ 32<br />

ภาพที่ 33<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


138 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

139<br />

ปลาไหลเผือก<br />

ก่วมภูคา<br />

สะเดา<br />

ตะบูนขาว<br />

Eurycoma longifolia Jack.<br />

Acer pseudowilsonii Y.S. Chen<br />

Azedirachta indica A. Juss.<br />

Xylocarpus granatum J. Koenig<br />

(Simaroubaceae)<br />

(Sapindaceae)<br />

(Meliaceae)<br />

(Meliaceae)<br />

มะแฟน<br />

มะกอกเลื่อม<br />

ค้างคาว<br />

แสลงใจ<br />

Protium serratum Engl.<br />

Canarium subulatum Guill.<br />

Aglaia edulis (Roxb.) Pellegr.<br />

Strychnos nuxvomica L.<br />

(Burseraceae)<br />

(Burseraceae)<br />

(Meliaceae)<br />

(Meliaceae)<br />

ภาพที่ 34<br />

ภาพที่ 35<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


140 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

1. ใบเดี่ยว<br />

รูปวิธานแยกสกุล<br />

2. กลีบเลี้ยงมี 5 แยกจากกัน ไม่มีริ้วประดับ (epicalyx) ผลรูปไข่ ปลายแบน ไม้พุ่มรอเลื้อย Paradombeya<br />

2. กลีบเลี้ยงมี 1 มีริ้วประดับ ผลรูปไข่ หรือรี ปลายไม่แบน ไม้ต้น<br />

3. เกสรเพศผู้เชื ่อมติดกัน มี 5 มัด แต่ละมัดเชื ่อมติดกัน รังไข่มีขน ผลมี 5 เหลี ่ยม ไม่มีหนาม<br />

3. เกสรเพศผู้เชื ่อมติดกันเป็น 5 มัด แต่ละมัดแยกจากกัน รังไข่มีเกล็ด ผลไม่เป็นเหลี่ยม แต่มีหนามหนาแน่น<br />

Neesia<br />

1. ใบประกอบรูปนิ้วมือ<br />

4. เกสรเพศผู้มี 6-(5) อัน ผลเรียบมี 5 ร่อง Ceiba<br />

4. เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก (ไม่ตำ่ำกว่า 50) ผลเรียบหรือมี 5 สัน Bombax<br />

สกุล งิ้ว Bombax ในประเทศไทยมีหลายชนิด ชนิดดอกสีแดงมี งิ้วบ้าน B. ceiba L. ชนิดดอกสีขาวมี งิ้วป่า<br />

หรือ งิ้วผา B. anceps Pierre ง้าว B. anceps Pierre var. cambodiense (Pierre) Robyns<br />

สกุล ทุเรียน Durio ที่ผลรับประทานได้ คือ ทุเรียนนก D. griffithii (Mast.) Bakh. ทุเรียนป่า D. mansoni<br />

(Gamble) Bakh. และที่ปลูกขายคือ D. zibethinus L. ดอกทุเรียนอาศัยค้างคาวผสมพันธุ์ เพราะเกสรเพศผู้และเกสร<br />

เพศเมียจะเจริญเต็มที่ตอนยำ่ำคำ่ำ เป็นเวลาที ่ค้างคาวออกหากิน<br />

สกุล Neesia มีเพียงชนิดเดียวคือ ช้างแหก N. altissima (Blume) Blume เป็นไม้ต้นขนาดกลาง พบขึ้นตาม<br />

ริมลำธาร ใบขนาดใหญ่ ผลแก่จัดจะแยกออกเป็น 5 เสี่ยง ตามผนังเสี่ยงมีขนสีนำ้ำตาล ขนนี้จะทำให้เกิดระคายเคือง<br />

ต่อผิวหนังที ่อ่อนนุ่ม ชาวบ้านจะไม่ดื่มนำ้ำในลำธารที<br />

่ไม้ชนิดนี้ขึ้นอยู่ เพราะจะทำให้เกิดอาการคันคออย่างรุนแรง<br />

ที่นำมาปลูกกันทั่ว ๆ ไปก็คือ นุ่น Ceiba pentandra (L.) Gaertn. ปุยของงิ้วชนิดต่าง ๆ ก็ใช้ประโยชน์ได้เหมือนนุ่น<br />

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ Thai Forest Bulletin (Botany) No. 25: 81-101. 1997.)<br />

4. วงศ์ย่อยสำโรง พุงทะลาย Sterculioideae<br />

ไม้ต้น ไม้พุ่ม หรือไม้ล้มลุก ใบ เดี่ยว หรือใบประกอบ มีหูใบ ดอก สมบูรณ์เพศ หรือ เพศเดียว กลีบเลี้ยงมี<br />

5 กลีบดอกมี 5 มีขนาดเล็กลดขนาดลง หรือบางทีก็ไม่มีเลย เกสรเพศผู้มี 2 ชั้น แต่ละชั้นเชื่อมติดกัน ชั้นนอกมัก<br />

เป็น staminode หรือไม่มีเลย ชั้นในเป็นเกสรสมบูรณ์ อับเรณูมี 2 เซลล์ รังไข่มี 5 ช่อง แต่ละช่องมีไข่ 2 หรือมาก<br />

เมล็ด ผล เป็นชนิด capsule หรือเป็นพวง (follicle) เมล็ดมี endosperm<br />

พรรณพืชในวงศ์นี้มีประมาณ 50 สกุล เป็นไม้เขตร้อน หรือกึ่งเขตร้อน ในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ<br />

16 สกุล ที่เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ก็คือสกุล Pterospermum, Sterculia, Pterygota, Firmiana, Pterocymbium<br />

และ Heritiera ส่วนที ่เป็นไม้หวงห้ามประเภท ข. คือ สกุล Scaphium<br />

สกุล Pterospermum นั้น มีดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกใหญ่ ผลเป็น capsule แยกออกเป็น 5 เสี ่ยง เช่น<br />

สลักพาด P.diversifolium Blume<br />

141<br />

สกุล Sterculia, Pterygota, Firmiana, Pterocymbium ดอก unisexual ผลของพืชกลุ่มนี้ต่างเป็น follicle<br />

ยกเว้น Pterygota ซึ ่งเป็น capsule ขนาดใหญ่ แยกออกตามรอยประสานด้านนอก เมล็ดมีปีกตอนปลายเรียงซับ<br />

ซ้อนกันแน่น ส่วนสกุล Heritiera นั้นดอก unisexual ผลเป็น nut มีปีกตอนปลายผล ผสของสกุล Scaphium นั้น มี<br />

เมล็ดเดียว และ รังไข่หุ้มเมล็ด เมล็ดมีเยื่อหุ้ม เมื่อถูกนำ้ำจะพองขยายตัวเป็นวุ้น เช่น พุงทะลาย S. scaphigerum<br />

(G. Don) Guib. & Planch.<br />

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ Thai Forest Bulletin (Botany) No. 23: 62-110. 1995.)<br />

10. อันดับ Geraniales<br />

ดอก actinomorphic หรือค่อนข้างจะเป็น zygomorphic ตามปกติมีชั้นละ 5 ส่วนมากเป็นดอก bisexual<br />

เกสรเพศผู้มีจำนวนจำกัด สั้นยาวไม่เท่ากัน (obdiplostermonous) ส่วนมากมี disc เกสรเพศเมียเป็นชนิด syncarpous<br />

รังไข่ superior ไข่จำนวนมาก หรือมีเพียง 2 หรือ 1 เมล็ด มี endosperm หรือไม่มี<br />

พรรณไม้ในอันดับนี้มี 11 วงศ์ แต่จะกล่าวถึงเพียง 5 วงศ์ คือ Erythroxylaceae, Simaroubaceae,<br />

Burseraceae, Meliaceae และ Euphorbiaceae<br />

1. วงศ์ไกรทอง Erythroxylaceae<br />

ไม้พุ่ม หรือ ไม้ต้น ใบ เดี่ยว ออกเรียงสลับ มีหูใบ ดอก bisexual, recular ก้านเกสรเพศเมียมักสั้นยาวไม่เท่า<br />

กัน กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีจำนวน 5 กลีบ ดอกจะมีติ่งอยู่ทางด้านใน เกสรเพศผู้มี 10 เชื่อมติดกันเป็นหลอดตรง<br />

โคน รังไข่มี 4-3 ช่อง แต่มีช่องเดียวที ่เจริญ ช่องหนึ ่งมีไข่จำนวน 1 หรือ 2 เมล็ด ผล เป็นชนิด drupe เมล็ดมี<br />

endosperm<br />

พรรณไม้ในวงศ์นี้มีอยู่ด้วยกันเพียง 3 สกุล ส่วนมากมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเขตร้อน ในประเทศไทยพบมี<br />

อยู่เพียงสกุลเดียวคือ Erythroxylum มี 2 ชนิด ๆที่เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. คือ ไกรทอง หรือ เจตมูล<br />

E. cuncatum Kurz เป็นไม้ต้น ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งก้านสาขาทางราบ พบขึ้นทั่วไปตามป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบ<br />

พรรณไม้ที ่มีประโยชน์อีกชนิดหนึ ่งคือ Erythroxylum coca L. ที่เรียกกันว่า Coca Plant มีถิ่นกำเนิดในทวีป<br />

อเมริกาเขตร้อน ใช้ใบสกัดเอาธาตุ cocaine<br />

2. วงศ์ยมป่า Simaroubaceae<br />

ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม มักมีเปลือกขม ใบ ส่วนมากเป็นใบประกอบแบบขนนก (pinnate) ไม่มีหูใบ ไม่มีจุดในเนื้อ<br />

ใบ ดอก เล็ก regular, Polygamous หรือ dioecious กลีบเลี้ยงมี 5-3 กลีบดอกมี 5-3 เกสรเพศผู้มีจำนวนเท่ากับ<br />

หรือเป็น 2 เท่าของกลีบดอก disc เป็นรูปวงแหวนหรือเป็นรูปถ้วย ก้านเกสรเพศเมียเชื่อมติดกัน ผลมีลักษณะต่าง ๆ<br />

endosperm บางหรือไม่มีเลย<br />

พรรณไม้ในวงศ์นี้มีกว่า 30 สกุล พบขึ้นทั่วไปในเขตร้อน ในประเทศไทยมีอยู่ 5 สกุลคือ สกุล สีฟันคนฑา<br />

Harrisonia มีชนิดเดียว คือ H. perforate (Blanco) Merr. สกุล กอมขม Picrasma มีชนิดเดียว คือ P. javanica Blume<br />

สกุล ปลาไหลเผือก Eurycoma มี 2 ชนิด คือ E. longifolia Jack และ E. harmandiana Pierre สกุล ยมป่า Ailanthus<br />

มีชนิดเดียว เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. คือ A. triphysa (Dennst.) Alston สกุล ราชคัด Brucea มี 2 ชนิด คือ<br />

B. javanica (L.) Merr. และ B. mollis (Wall.) Kurz<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


142 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

รูปวิธานแยกสกุล<br />

1. แกนกลางใบย่อยมีปีก กิ่งก้านมีหนาม เกสรเพศผู้มีเกล็ด<br />

1. แกนกลางใบย่อยไม่มีปีก กิ ่งก้านไม่มีหนาม เกสรเพศผู้มี หรือไม่มีเกล็ด<br />

2. มีหูใบ หลุดร่วงง่าย เกสรเพศผู้ไม่มีเกล็ด กลีบดอกขยายขึ้นเมื่อเป็นผล<br />

2. มีหูใบ เกสรเพศผู้มี หรือ ไม่มีเกล็ด<br />

Harrisonia<br />

Picrasma<br />

3. ใบย่อยไม่มีก้านใบ หรือ สั้นมาก ติดกับแกนกลางโดยมีข้อต่อเห็นชัด Eurycoma<br />

3. ใบย่อยมีก้าน ก้านใบย่อยยาวอย่างน้อย 2 มม.<br />

4. เกสรเพศผู้มีจำนวนเป็น 2 เท่าของกลีบดอก ช่อดอกแยกแขนง กิ่งก้านหนา มีรอยแผลเป็นที ่ใบหลุดร่วงไป<br />

ขนาดใหญ่ ผลมีปีก<br />

Ailanthus<br />

4. เกสรเพศผู้มีจำนวนเท่ากับกลีบดอก ช่อดอกเป็นกระจุกแยกแขนง กิ ่งก้านไม่เหมือนข้างบน ผลเมล็ดแข็ง<br />

Brucea<br />

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ Flora of Thailand Vol. 2(4): 439-447. 1981.)<br />

3. วงศ์มะเกิ ้ม Burseraceae<br />

ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม เปลือกมักมีชัน (resin) ใบ ส่วนมากเป็นใบประกอบแบบขนนก (pinnate) ออกเรียงสลับ<br />

กัน เนื้อใบมีจุดต่อม (glandular punctuate) ดอก เล็ก regular ส่วนมาก unisexual ออกเป็นช่อแบบ raceme หรือ<br />

panicle กลีบเลี้ยงมี 5-3 กลีบดอกมี 5-3 เกสรเพศผู้มักมีจำนวนเป็น 2 เท่าของกลีบดอก ก้านชูอับเรณูแยกจากกัน<br />

หรือเชื่อมติดกัน และติดกับ disc รังไข่มี 5-2 ช่อง ช่องหนึ ่งมีไข่ 2 เมล็ด ก้านเกสรเพศเมียมีอันเดียวสั้น ผล แบบ<br />

drupe หรือ capsule เมล็ดไม่มี endosperm<br />

พรรณไม้ในวงศ์นี้มีประมาณ 16 สกุล ส่วนใหญ่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาและแอฟริกา ในประเทศไทยมี<br />

อยู่ 5 สกุลด้วยกัน ที่เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. มี 3 ชนิด อยู่ต่างสกุลกัน คือ มะเกิ้ม หรือ มะกอกเลื่อม Canarium<br />

ubulatum Guill. มะแฟน Protium serratum Engl. และ ตะครำ้ำ หรือ หวีด Garuga pinnata Roxb.<br />

4. วงศ์เลี่ยน Meliaceae<br />

ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม ใบ ส่วนมากเป็นใบประกอบแบบ pinnate เนื้อใบไม่มีจุดต่อม ไม่มีหูใบ ดอก regular,<br />

bisexual ช่อดอกเป็นแบบ cymose panicle กลีบเลี้ยงมี 6-3 กลีบ (ส่วนมากมีจำนวน 5) บางทีเชื่อมติดกันตอนโคน<br />

กลีบ เกสรเพศผู้มี 10-8 อัน เชื่อมติดกันเป็นหลอดรอบ ๆ ฐานของ disc รังไข่มี 5-3 ช่อง ช่องหนึ ่งมีไข่ 2-1 เมล็ด<br />

ก้านเกสรเพศเมียมีอันเดียว ยอดเกสรเพศเมียพองโต ผล มักเป็นผลแห้งแบบ capsule หรือผลสดชนิด baccate<br />

เมล็ดมีจำนวนน้อย ขนาดใหญ่ มักมีเยื่อหุ้มหรือมีปีก มี endosperm หรือไม่มี<br />

พรรณไม้ในวงศ์นี้มีประมาณ 50 สกุล ส่วนใหญ่เป็นพืชเขตร้อน ในประเทศไทยมีอยู่ 15 สกุลด้วยกัน ที่เป็น<br />

ไม้หวงห้ามประเภท ก. คือ สะเดา Azadirachta indica A. Juss. เลี่ยน Melia azedarach L. กระท้อนป่า Sandoricum<br />

koetjape (Burm. f.) Merr. จันทน์ชะมด Aglaia pyramidata Hance ตาเสือ Aphanamixis polystachya (Wall.) R.N.<br />

143<br />

Parker และ A. cucullata (Roxb.) Pellegr. กัดลิ้น หรือ ขี้อ้าย Walsura robusta Roxb. และ W. villosa Wall. ex Wight<br />

& Arn. ตะบูนดำ Xylocarpus moluccensis (Lam.) M. Roem. ตะบัน X. gangeticus Parkinson ยมหิน หรือ สะเดาหิน<br />

Chukrasia tabularis A. Juss ยมหอม หรือ สีเสียดอ้ม หรือ สะเดาหิน Toona ciliate M. Roem.<br />

ไม้ต่างประเทศที ่นำมาปลูกกันเป็นไม้ริมถนนคือ มะฮอกกานี Swieteria macrophylla King<br />

สกุล สะเดา Azadirachta และ เลี่ยน Melia มีใบประกอบแบบขนนก 2 หรือ 3 ชั้น ขอบใบจักเป็นฟันเลื ่อย<br />

ผลชนิด drupe กระท้อน Sandoricum ใบประกอบ 3 ใบ (tri-foliate) ผลอวบนำ้ำขนาดใหญ่ ยมหอม Toona และ<br />

ยมหิน Chukrasia ใบประกอบแบบขนนก ผลชนิด capsule ตาเสือ Aphanamixis ใบประกอบแบบขนนก ผลเปลือก<br />

หนา แก่จัดแตกออกเป็นเสี่ยงตามรอยประสาน เมล็ดมีเยื่อหุ้ม ตะบัน และ ตะบูน Xylocarpus ใบประกอบแบบขนนก<br />

ผลเปลือกบาง แก่จัดแตกออกไม่เป็นระเบียบ เมล็ดไม่มีเยื่อหุ้ม<br />

ลักษณะเด่นของพันธุ์ไม้ในวงศ์นี้ก็คือ โคนก้านใบมักจะพองใหญ่<br />

5. วงศ์เปล้า Euphorbiaceae sensu stricto<br />

ไม้ล้มลุก ไม้พุ่ม หรือไม้ต้น มักมีนำ้ำยาง ใบ ส่วนมากติดเรียงสลับ มีหูใบ ดอก มีขนาดเล็ก สมมาตรตาม<br />

รัศมี เพศเดียว และมักต่างเพศร่วมต้น ออกเป็นช่อแยกแขนง กลีบรวม (perianth) มี 5 เรียงเป็น 2-1 วง หรือลดรูป<br />

เกสรเพศผู้มี 1 ถึงจำนวนมาก มักมีจานดอก (disc) รังไข่มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่ 1 เม็ด ห้อยหรือควำ่ำ (anotropous)<br />

ก้านเกสรเพศเมียมี 3 ผล มีหลายแบบ ส่วนมากเป็น 3 พู เมื่อแก่จะแตกตามรอยประสาน มีเมล็ด 6-3 เมล็ดมี<br />

endosperm (ประกอบด้วยวงศ์ย่อย Acalyphoideae วงศ์ย่อย Crotonoideae และวงศ์ย่อย Euphorbioideae)<br />

พืชในวงศ์นี้ทั่วโลกมี 280 สกุล ในประเทศไทยพบ 87 สกุล 425 ชนิด พรรณไม้วงศ์นี้มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ<br />

หลากหลายชนิด ทางด้านสมุนไพร ได้แก่ สกุล เปล้า Croton มีหลายชนิด เช่น เปล้าน้อย C. sublyratus Kurz เปล้า<br />

ใหญ่ C. oblongifolius Roxb. ฯลฯ.<br />

สกุล ขันทองพยาบาท Suregada ได้แก่ S. multiflorum (A. Juss.) Baill. สกุล ลูกใต้ใบ หรือ มะยม Phyllanthus<br />

เช่น ลูกใต้ใบ หรือ มะขามป้อมดิน P. amarus Schum. & Thonn. พืชอาหาร เช่น มะยม Phyllanthus cidus (L.) Skeels<br />

มะขามป้อม P. emblica L. มะไฟ Baccaurea ramiflora Lour. พืชเกษตร ได้แก่ มันสำปะหลัง Manihot esculenta Crantz<br />

ละหุ่ง Ricinus communis L. บางชนิดปลูกเป็นไม้ประดับ เช่น คริสต์มาส Euphorbia pulcherrima Willd.<br />

นอกจากนี้ยังเป็นวัชพืช เช่น นำ้ำนมราชสีห์ Euphorbia hirta L. พืชมีพิษ เช่น สลอด Croton tiglium L.<br />

ปัจจุบันวงศ์เปล้าในบางวงศ์ย่อย และบางเผ่าได้แยกเป็นวงศ์ใหม่ ได้แก่ วงศ์มะขามป้อม Phyllanthaceae<br />

เป็นวงศ์ที่มีออวุล 2 เม็ด(ยกระดับจากวงศ์ย่อย Phyllathoideae) วงศ์สองกระดองเต่า Putranjivaceae (ยกระดับจาก<br />

เผ่า Drypeteae) และวงศ์ Picrodendraceae (ยกระดับจากวงศ์ย่อย Oldfieldioideae)<br />

11. อันดับ Sapindales<br />

ดอก bisexual หรือ unisexual กลีบดอกส่วนมากเรียงซ้อนเหลื่อมกัน (imbricate) disc ถ้ามีจะเชื่อมกับโคน<br />

กลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้มีชั้นเดียว จำนวนเท่ากันกับกลีบดอก หรือสองเท่าของกลีบดอก เรียงเป็น 2 ชั้น เกสรเพศเมีย<br />

syncarpous มี placenta แบบ axile รังไข่ส่วนมาก superior ไข่ห้อยแขวนอยู่ที ่ตอนบน หรือตั้งตรงที่ฐานของรังไข่<br />

เมล็ดมี endosperm น้อย หรือไม่มีเลย ใบ เดี ่ยว หรือประกอบ ไม่มีจุดในเนื้อใบ<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


144 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

พรรณไม้ในอันดับนี้มีลักษณะคล้ายกันกับอันดับ Geraniales ลักษณะที่จะแยกออกจากกันได้ง่าย ๆ ก็คือ<br />

ในอันดับนี้เกสรเพศผู้มีจำนวนจำกัด ไข่ห้อยแขวน ช่อง micropyle อยู่ทางด้านบน<br />

พรรณไม้ในอันดับนี้มีอยู่ 12 วงศ์ด้วยกัน แต่จะกล่าวถึงคือ วงศ์ Celastraceae, Sapindaceae และ<br />

Anacardiaceae เท่านั้น<br />

1. วงศ์สองสลึง Celastraceae<br />

ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม ใบ เดี่ยว ออกตรงข้าม หายากที ่ออกเรียงสลับ ดอก เล็ก regular, bisexual สีเขียวหรือ<br />

ขาว ออกเป็นช่อแบบ cyme กลีบเลี้ยงมี 5-4 เรียงซ้อนเหลื่อมกัน (imbricate) กลีบดอกมี 5-4 เรียงซ้อนสลับกัน<br />

เกสรเพศผู้มีจำนวนเท่ากันกับกลีบดอก หายากที่มีเพียง 3 อัน ติดอยู่ตามขอบของ disc ที่มีขนาดใหญ่ แบนราบ<br />

รังไข่ไม่มีก้านส่ง มี 5-2 ช่อง ช่องหนึ ่งมีไข่ 2 เมล็ด ก้านเกสรเพศเมีย (style) มีอันเดียว ผล ชนิด capsule หรือ<br />

baccate เมล็ดมีเยื่อหุ้ม มี endosperm หรือไม่มี<br />

พรรณไม้ในวงศ์นี้มีประมาณ 90 สกุล พบทั่วไปในโลก ในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน 13 สกุล ที่เป็นไม้หวง<br />

ห้ามมีเพียงสกุลเดียว คือ Lophopetalum มี 3-2 ชนิด เช่น สองสลึง หรือ ยายปู่ L. duperreanum Pierre เนื้อเหนียว<br />

หรือ พันจุลี L. wallichii Kurz และ พวกพร้าว L. javanicum (Zoll.) Turcz.<br />

พรรณไม้ในสกุลนี้เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ พบขึ้นตามป่าดิบทั่ว ๆไป ผลชนิด capsule แก่จัดจะแตกออกเป็น<br />

3 เสี่ยง เมล็ดมีปีกบางใสทั้งสองด้าน<br />

2. วงศ์ลำใย Sapindaceae<br />

ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม หายากที่เป็นไม้เถา ใบ เป็นใบประกอบ ออกเรียงสลับ ดอก เล็ก มักเป็นชนิด unisexual<br />

บางครั้ง zygomorphic กลีบเลี้ยงมี 5-4 กลีบ เรียงซ้อนเหลี ่อมกัน (imbricate) กลีบดอกมี 5-4 หรือบางทีไม่มีเลย<br />

ขนาดไม่เท่ากัน disc มักอยู่ด้านใดด้านหนึ ่ง (unilateral) เกสรเพศผู้มักมี 8 อัน (หรือ 10-5) รังไข่เรียบหรือเป็นพู มัก<br />

มี 3 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียมี 1 ไข่มีจำนวน 2-1 เมล็ดต่อช่อง ผล เป็นชนิด capsule หรือ drupe เมล็ดมีเยื่อหุ้ม หรือ<br />

ไม่มี ส่วนมากไม่มี endosperm<br />

พรรณไม้ในวงศ์นี้มีประมาณ 130 สกุล ส่วนมากเป็นพืชเขตร้อนและกึ ่งเขตร้อน ในประเทศไทยมีประมาณ<br />

23 สกุล ที่เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. มีอยู่ 3 สกุล คือ ขี้หนอน Zollingeria dongnaiensis Pierre ตะกร้อ Schleichera<br />

oleosa (Lour.) Oken และ คอแลน Nephelium hypoleucum Kurz<br />

พรรณไม้ที ่มีประโยชน์อื ่น ๆ ให้ผลใช้รับประทานได้ คือ ลำไย Dimocarpus longana Lour. ลิ้นจี ่, สีรามัน<br />

Litchi chinensis Sonn. เงาะ Nephelium lappacem L. มะหวด Lepisanthes rubiginosa (Roxb.) Leenh. ชำมะเลียง L.<br />

fruticosa (Roxb.) Leenh. เมล็ดใช้แทนสบู่ และเปลือกชั้นนอกก็ใช้หมักทำสบู่ได้เหมือนกัน คือ มะซัก Sapindus rarak<br />

DC.<br />

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ Thai Forest Bulletin (Botany) No. 25: 21-53. 1997.)<br />

ภาพที่ 36<br />

มะขามป้อม<br />

Azedirachta indica A. Juss.<br />

(Phyllanthaceae)<br />

เปล้าภูวัว<br />

Croton poomae Esser<br />

(Euphorbiaceae)<br />

145<br />

สำเภา<br />

Chaetocarpus castanocarpus (Roxb.) Thwaites<br />

(Peraceae)<br />

ประคำไก่<br />

Putranjiva roxberghii Wall.<br />

(Putranjivaceae)<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


146 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

147<br />

กฤษณา<br />

พวมพร้าว<br />

ตะโกนา<br />

พิกุล<br />

Aquilaria crassna Pierre ex Lec.<br />

Aquilaria malaccensis Lam.<br />

Diospyros rhodocalyx Kurz<br />

Mimusops elengi L.<br />

(Thymelaeaceae)<br />

(Thymelaeaceae)<br />

(Ebenaceae)<br />

(Sapotaceae)<br />

ตะแบกนา<br />

อินทนิลน้ำ<br />

โมกสยาม<br />

หญ้าพันเกลียว<br />

Lagerstroemia floribunda Jack<br />

Lagerstroemia speciosa (L.) Pers.<br />

Wrightia siamensis D.J. Middleton<br />

Ceropegia thailandica Meve<br />

(Lythraceae)<br />

(Lythraceae)<br />

(Apocynaceae)<br />

(Apocynaceae)<br />

ภาพที่ 37<br />

ภาพที่ 38<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


่<br />

148 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

ภาพที่ 39<br />

โกงกางเขา<br />

Fagraea ceilanica Thunb.<br />

(Gentianaceae)<br />

เข็มดอย<br />

Duperrea pavettifolia (Kurz) Pit.<br />

(Rubiaceae)<br />

ตะเคียนเฒ่า<br />

Fagraea racemosa Jack<br />

(Gentianaaceae)<br />

เข็มทอง<br />

Ixora javanica (Blume) DC.<br />

(Rubiaceae)<br />

3. วงศ์มะม่วง Anacardiaceae<br />

ไม้ต้น มียาง (resin) ระคายเคืองต่อผิวหนัง เมื ่อถูกอากาศจะกลายเป็นสีดำ ใบ ออกเรียงสลับ หายากที<br />

ออกตรงข้าม ไม่มีหูใบ ดอก เล็ก สีเขียว ขาว หรือชมพู มัก unisexual ออกเป็นช่อ panicle กลีบเลี้ยงและกลีบดอก<br />

จำนวน 5 (หรือ 7-3) มี disc เป็นรูปวงแหวน เกสรเพศผู้ติดอยู่ใต้ฐานของ disc มักมีจำนวนเป็น 2 เท่าของกลีบดอก<br />

บางอันเป็นหมัน เกสรเพศเมียมี 3-2 อัน รังไข่มี 3-1 ช่อง ช่องหนึ่งมีเมล็ดเดียว ก้านเกสรเพศเมียมี 3-1 น ผล มัก<br />

เป็นชนิด drupe บางทีมีปีกที่เกิดจากกลีบดอก เมล็ดไม่มี endosperm<br />

10 สกุล<br />

พรรณไม้ในวงศ์นี้มีประมาณ 60 สกุล ส่วนใหญ่เป็นพืชเขตร้อน ในประเทศไทยมี 18 สกุล เป็นไม้หวงห้าม<br />

1. ใบเดี่ยวออกตรงข้ามหรือเรียงสลับ<br />

รูปวิธานแยกสกุล<br />

2. ใบออกตรงข้าม ผลอวบนำ้ำ Bouea<br />

2. ใบออกเรียงสลับ<br />

3. กลีบดอกร่วงหลุดไปไม่เจริญเป็นปีกรองรับผล<br />

4. ก้านผลบวมใหญ่ Semecarpus<br />

4. ก้านผลไม่บวมใหญ่<br />

5. รังไข่มีอันเดียว ผลใญ่อวบนำ้ำ Mangifera<br />

5. รังไข่มี 5 อัน แยกจากกัน Buchanania<br />

3. กลีบดอกไม่หลุดร่วงและเจริญเป็นปีกรองรับผล<br />

6. กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ผลไม่มีก้านส่ง<br />

149<br />

Gluta<br />

6. กลีบเลี้ยงแยกจากกัน ผลมีก้านส่ง Swintonia<br />

1. ใบประกอบแบบขนนก ผลอวบนำ้ำ<br />

7. เมล็ดมีหลายช่อง<br />

8. ลำต้นกลม ผลัดใบ เมล็ดไม่มีรอยทางด้านบน Spondias<br />

8. ลำต้นใหญ่มีพูพอน ไม่ผลัดใบ เมล็ดมีรอยทางด้านบน 5 รอย Dracontomelon<br />

7. เมล็ดมีช่องเดียว Lannea<br />

พรรณไม้ที่เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. คือ มะยง Bouea oppositifolia (Roxb.) Meisn. รักขี้หมู Buchanania<br />

lanzan Spreng. มะม่วงป่า Mangifera caloneura Kurz, M. lagenifera Griff และ M. sylvatica Roxb. มะม่วงหัว<br />

แมลงวัน Buchanania reticulate Hance เปรียง Swintonia schwenkii (Teijsm. & Binn.) Teijsm. & Binn. มะกอกป่า<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


150 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

Spondias pinnata (L.f.) Kurz พระเจ้าห้าพระองค์ Dracontomelon dao (Blanco) Merr. และ กุ๊ก หรือ อ้อยช้าง Lannea<br />

coromandekica (Houtt.) Merr. ส่วนไม้ รักหลวง หรือ รักใหญ่ Gluta usitata (Wll.) Ding Hou และ G. laccifera (Pierre)<br />

Ding Hou นั้นเป็นไม้หวงห้ามประเภท ข. เนื่องจากยางใช้ทำเครื่องเขิน ลงรักปิดทอง<br />

มะม่วงชนิดต่าง ๆ ที่ปลูกกันเป็นผลนั้นต่างเป็นพันธุ์ของ Mangifera indica L. มะปราง หรือ มะยงชิด ที่ปลูก<br />

กันมีผลใหญ่ คือ Bouea macrophylla Griff. ไม้อีกชนิดหนึ่ง ที่ใช้ยางทำเครื่องเขินได้ก็คือ แกนมอ Rhus succedanea L.<br />

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ Thai Forest Bulletin (Botany) No. 22: 1-25. 1994.)<br />

12. อันดับ Ebenales<br />

ดอก สมมาตรตามรัศมี (actinomorphic) กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อ เกสรเพศผู้บางทีมีจำนวนมาก ติด<br />

อยู่บนกลีบดอก หรือเป็นอิสระ บางทีเรียงสลับกันกับ staminodes รังไข่ superior หรือ inferior มี 8-2 ช่อง placenta<br />

แบบ axile เมล็ดมี endosperm มาก<br />

พรรณพืชในอันดับนี้มี 4 วงศ์ด้วยกัน จะกล่าวถึงเพียง 3 วงศ์เท่านั้น คือ Sapotaceae, Ebenaceae และ<br />

Styraceae<br />

1. วงศ์ละมุด Sapotaceae<br />

ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม มีนำ้ำยางสีขาวเหมือนนำ้ำนม ใบเดี่ยว ขอบใบมักเรียบ ดอกสมบูรณ์เพศ (bisexual)<br />

สมมาตรตามรัศมี (regular) ออกเป็นช่อแบบแยกแขนง (panicle) หรือเป็นกระจุก (cyme) หายากที ่ออกเดี่ยว ๆ กลีบ<br />

เลี้ยง 8-4 มีชั้นเดียวหรือ 2 ชั้น ท่อกลีบดอกสั้น จำนวนแฉกกลีบเท่ากับกลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้ติดอยู่บนกลีบดอก<br />

มักจะเรียงเป็น 2 หรือ 3 ชั้น ชั้นในสุดเป็นเกสรที ่สืบพันธุ์ได้ ชั้นนอกเป็นเกสรที ่เป็นหมัน หรือไม่มี รังไข่เหนือวงกลีบ<br />

(superior) มี 10-4 ช่อง แต่ละช่องมีไข่เมล็ดเดียว placenta แบบ axile ก้านเกสรเพศเมีย (style) มีอันเดียว ผล สด<br />

ชนิด berry<br />

พรรณไม้ในวงศ์นี้มีประมาณ 40 สกุล ส่วนใหญ่เป็นพืชเขตร้อน ในประเทศไทยมีด้วยกัน 9 สกุล เป็นไม้<br />

หวงห้ามอยู่ 6 สกุล<br />

รูปวิธานแยกสกุล<br />

1. กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ เรียงเป็นชั้นเดียว กลีบดอกมี 5 กลีบ<br />

2. ใบมีเส้นใบขนานกันถี ่ ท้องใบมักมีขนสีนำ้ำตาลแดง<br />

Donella<br />

2. ใบไม่เมือนข้างบน Planchonella<br />

1. กลีบเลี้ยงมี 8-4 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ชั้นนอกเรียงจรดกัน (valvate) ชั้นในเรียงซ้อนเหลื ่อมกัน (imbricate)<br />

กลีบดอกมีจำนวนมาก<br />

3. กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ เรียงป็น 2 ชั้น<br />

4. ใบมีเส้นใบแบบขนนกแยกจากเส้นกลางใบ Mahuca<br />

4. ใบมีเส้นใบขนานกับเส้นกลางใบ Payena<br />

3. กลีบเลี้ยงมี 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น<br />

5. เกสรเพศผู้เป็นหมัน (staminodes) มี 6 รังไข่มี 7 ช่อง หรือมากกว่า Manilkara<br />

5. ไม่มีเกสรเพศผู้เป็นหมัน (staminodes) รังไข่มี 6 ช่อง Palaquium<br />

พรรณไม้ที ่เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. คือ ขี้ผึ้ง Donella lanceolata (Blume) Aubreville โพอาศัย หรือ งาไซ<br />

Planchonella obovata Pierre มะซาง Madhuca pierrei H.J. Lam พิกุลเถื่อน Payena lucida A.DC. และ เกด<br />

Manilkxantra hexandra Dubard<br />

ส่วน ขนุนนก Palaquium obovatum (Griff.) Engler นั้น เป็นไม้หวงห้ามประเภท ข. เพื่อสงวนไว้สับเอายาง<br />

ที่เรียกทางการค้าว่า Gutta percha ใช้หุ้มสายโทรเลขใต้นำ้ำ<br />

พรรณไม้ที ่มีประโยชน์ชนิดอื่น ๆ ในวงศ์นี้มี ละมุด Manikaraachras (Mill.) Fosberg ที่ปลูกเป็นไม้ผล ละมุด<br />

สีดา Madhuca grandiflora Fletcher และ M. esculenta Fletcher เป็นพรรณไม้พื้นบ้านเรา พิกุล Mimusops elegi L.<br />

เป็นไม้พื้นเมืองของประเทศอินเดีย ปลูกกันตามวัดทั่ว ๆไปต้นไคนิโต หรือ Star-apple คือ Chrysophyllum cainito L.<br />

ได้มีผู้นำมาปลูกกันบ้างเป็นไม้ผล แต่ไม่นิยมรับประทานกัน<br />

2. วงศ์มะพลับ Ebenaceae<br />

ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม เปลือกมักมีสีดำ ใบ เดี่ยว ขอบเรียบ มักติดเรียงสลับ ดอก เพศเดียว (unisexual) ออก<br />

เดี่ยว ๆ หรือเป็นช่อกระจุกแน่น (cyme) ดอกมีจำนวนน้อย กลีบเลี้ยงมี 5-3 กลีบ และมักจะบิดเวียนตามกันเมื ่อ<br />

บานเต็มที่ เกสรเพศผู้มีจำนวนเท่ากับกลีบดอก หรือมากกว่าเป็น 3-2 เท่า แยกจากกันหรือเชื ่อมกันเป็นกลุ่ม รังไข่<br />

superior มี 5-3 ช่องหรือมากกว่า แต่ละช่องมีไข่ 2-1 เมล็ด ผล สดชนิด berry เปลือกหนาหรืออวบนำ้ำ มีเมล็ดเดียว<br />

หรือหลายเมล็ด เมล็ดมี endosperm ย่นเป็นร่อง<br />

พรรณพืชในวงศ์นี้มี 5 สกุล เป็นพืชในเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อน ในประเทศไทยมีอยู่เพียงสกุลเดียว คือ<br />

Diospyros เป็นไม้หวงห้ามเกือบทุกชนิด มะเกลือ Diospyros mollis Griff. เป็นไม้หวงห้ามประเภท ข. เพราะเนื้อไม้<br />

สีดำเป็นที่ต้องการของท้องตลาดมาก ส่วนผลใช้ย้อมผ้าดำสีไม่ตก นอกจากนั้นยังใช้เป็นยาถ่ายพยาธิได้เป็นอย่างดี<br />

พันธุ์ต่างประเทศที ่ปลูกกันเป็นไม้ผลมี พลับ Diospyros kaki L.f.<br />

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ Flora of Thailand Vol. 2(4): 281-392. 1981.)<br />

3. วงศ์กำยาน Styracaceae<br />

ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม ใบ เดี่ยว ติดเรียงสลับกัน มักมีขนเป็นกระจุกหรือสะเก็ดปกคลุม ดอก bisexual ออกเป็น<br />

ช่อชนิด raceme หรือ panicle กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายมี 5 แฉก หลอดกลีบดอกมักจะสั้น 6-5 กลีบ<br />

แต่ละกลีบขอบขนาน รังไข่ superior มี 5-3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่เมล็ดเดียว หรือสองสามเมล็ด ก้านเกสรเพศเมียรูป<br />

ลิ่มแคบ ผล สดชนิด drupe เมล็ดไม่มี endosperm<br />

พรรณพืชในสกุลนี้มีประมาณ 10 สกุล ส่วนใหญ่เป็นพืชเขตอบอุ่นของโลก ในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน<br />

2 สกุล สกุล Styrax ชนิดที่เป็นไม้ต้น เป็นไม้หวงห้ามประเภท ข. เพื่อสงวนไว้สับเอายางที่เรียกกันว่า กำยาน คือ<br />

กำยาน S. benzoin Dryander กำมะแย S. betongensis Fletcher กำยาน หรือ สะดาน S. benzoides Craib พรรณไม้ใน<br />

สกุลนี้มักจะมี gall ที่แมลงจำพวก Diptera มาวางไข่ เกิดเป็นรูปลักษณะต่าง ๆ พออาศัยใช้เป็นหลักแยกชนิดได้บ้าง<br />

151<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


152 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

13. อันดับ Gentianales<br />

ดอก แบบ actinomorphic กลีบดอกเชื่อมติดกัน กลีบบิดเวียนตามกัน (convolute) เกสรเพศผู้ติดอยู่กับ<br />

หลอดกลีบดอก สลับกันกับแฉกกลีบดอก หายากที ่เชื่อมติดกับเกสรเพศเมียที่ทำให้เกิดส่วนที่เรียกว่า gynostegium<br />

ขึ้น รังไข่ superior มี 2 คาร์เพล มีช่องเดียวหรือ 2 ช่อง เมล็ดมักมี endosperm, embryo เหยียดตรง<br />

พรรณพืชในอันดับนี้ล้วนแต่มีกลีบดอกที่บิดเวียนตามกัน ต่ามีเกสรเพศเมีย 2 อัน และรังไข่ superior มีอยู่<br />

ด้วยกัน 5 วงศ์ จะไดกล่าวถึง 2 วงศ์ คือ Loganiaceae และ Apocynaceae เท่านั้น<br />

1. วงศ์กันเกรา Loganiaceae<br />

ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม หายากที่เป็นไม้ล้มลุก ใบ เดี่ยว ติดตรงข้าม หรือเป็นวงรอบกิ่ง หูใบมักอยู่ตรงกลาง<br />

ระหว่างใบทั้งสอง ดอก สมบูรณ์เพศ (bisexual) สมมาตรตามรัศมี (regular) ออกเป็นช่อชนิดซี่ร่ม (umbel) หรือ<br />

ช่อกระจุกแน่นแตกแขนง (paniculate cyme) กลีบเลี้ยงมี 5-4 กลีบ กลีบดอกเป็นท่อหรือระฆัง ปลายแยกเป็น<br />

5-4 กลีบ เกสรเพศผู้มี 5-4 ติดอยู่บนท่อกลีบดอก รังไข่ superior หรือ half-inferior มี 2 ช่อง ไข่มีจำนวนมากติดอยู่<br />

บน placenta แบบ axile ก้านเกสรเพศเมีย (style) มีอันเดียว ผล สดชนิด berry หรือ ผลแห้งชนิด capsule เมล็ดมี<br />

endosperm<br />

พรรณพืชในวงศ์นี้มีมากกว่า 30 สกุล เป็นพืชเขตอบอุ่น และเขตร้อนของโลก ในประเทศไทยมีอยู่ 8 สกุล<br />

ที่เป็นไม้หวงห้ามมี 2 สกุล<br />

สกุล Fagraea คือ ตำเสา กันเกรา หรือ มันปลา F. fragrans Roxb. พบขึ้นตามป่าดิบทั่วไปและที ่ ๆมีนำ้ำขัง<br />

สกุล Strychnos คือ แสลงใจ S. nux-vornica L. พบขึ้นทั่ว ๆ ไปตามป่าเต็งรัง<br />

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ Flora of Thailand Vol. 6(3): 197-225. 1997.)<br />

2. วงศ์ลั่นทม Apocynaceae<br />

ไม้ต้น หรือไม้พุ่ม หรือไม้เถา หายากที่เป็นไม้ล้มลุก มีนำ้ำยาง ใบเดี่ยว มักออกตรงข้ามกัน หรือเป็นวงรอบ<br />

กิ่ง ดอก สมบูรณ์เพศ (bisexual) สมมาตรตามรัศมี (regular) ออกเป็นช่อกระจุก (cyme) ธรรมดา หรือชนิด<br />

corymbose cyme ท่อกลีบเลี้ยงสั้นปลายมี 5 กลีบ เกสรเพศผู้มักมีต่อม ท่อกลีบดอกมักยาว และเป็นรูปกรวยแคบ<br />

ปลายมี 5 กลีบ บิดเวียนตามกัน เกสรเพศผู้มี 5 อัน ติดอยู่บนกลีบดอก อับเรณูรูปขอบขนาน แยกหรือเชื ่อมประสาน<br />

กัน เกสรเพศเมียมี 2 อัน รังไข่มี 2 คาร์เพล ทั้งสองแยกหรือประสานติดกันตรงโคน มีก้านเกสรเพศเมียอันเดียว<br />

รังไข่ส่วนมาก superior ผล เป็นฝักชนิดแตกตามแนวเดียว (follicles) เป็นพวงคู่หนึ ่ง หรือแบบ drupe หรือ capsule<br />

พรรณพืชในวงศ์นี้มีกว่า 300 สกุล ส่วนใหญ่อยู่ในเขตร้อน ในประเทศไทยมีประมาณ 42 สกุล 126 ชนิด<br />

ที่เป็นไม้หวงห้ามมีด้วยกัน 4 สกุล คือ Alstonia, Dyera, Holarrhena และ Wrightia<br />

1. ใบติดเป็นวงรอบกิ่ง<br />

รูปวิธานแยกสกุล<br />

2. ผลผิวบาง ยาวเรียว ประมาณ 20 เท่าของความกว้าง ห้อยลง โคนต้นมีพูพอน Alstonia<br />

153<br />

2. ผลผิวหนาแข็ง ยาวประมาณ 10 เท่าของความกว้าง ตั้งขึ้น โคนต้นไม่มีพูพอน Dyera<br />

1. ใบติดตรงข้าม<br />

3. เกสรเพศผู้โผล่พ้นท่อกลีบดอก ผลผิวหนา รูปกระสวยยาว Wrightia<br />

3. เกสรเพศผู้ไม่โผล่พ้นท่อกลีบดอก ผลผิวบาง รูปเรียว Holarrhena<br />

สกุล Alsonia, Wrightia และ Holarrhena เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ได้แก่ ตีนเป็ด หรือ สัตบรรณ Alstonia<br />

scholaris (L.) R. Br. ตีนเป็ดพรุ หรือ เทียะ A. spathulata Blume ซึ่งเป็นไม้เบาที<br />

่สุดของประเทศไทย โมกมัน<br />

Wrightia tomentosa Roem. & Schult. โมกหลวง Holarrhena antidysenteria Wall. ส่วนสกุล Dyera นั้น เป็นไม้หวง<br />

ห้ามประเภท ข. เพื่อสงวนเอาไว้สับเอายางทำหมากฝรั่ง คือ ตีนเป็ดแดง หรือ เยลูตง Dyera costulata (Miq.) Hook.f.<br />

พรรณพืชในวงศ์นี้มีจำนวนมากเป็นพืชสมุนไพร ที ่ใช้ผล เช่น ชะลูด Alyxia reinwardtii Blume ใช้ราก เช่น<br />

ระย่อม Rauvolfia serpentina (L.) Benth. ex Kurz ใช้เปลือก เช่น โมกหลวง Holarrhena antidysenteria Wall. เป็นต้น<br />

นอกจากนี้ได้นำเอามาปลูกเป็นไม้ประดับมี บานบุรีเหลือง Allamanda cathartica L. ชวนชม Adenium obesum<br />

(Forsk.) Roem. & Schult แพงพวยฝรั่ง Catharanthus roseus (L.) G. Don ยี่โถ Nerium oleander L. รำเพย Thevetia<br />

peruviana (Pers) K. Schum. หนามแดง Carissa carandus L. ลั่นทมขาว Plumeria obtuse L. ลั่นทมแดง P. rubra L.<br />

พุดฝรั่ง Tabernaemontana divaricata (L.) R. Br. ex Roem. & Schult และหิรัญญิการ์ Beaumontia multiflora Teijsm.<br />

& Binn. เป็นต้น<br />

14. อันดับ Rubiales<br />

ดอก actionmorphic หรือบางที zygomorphic กลีบดอกเชื่อมติดกัน เกสรเพศผู้มีจำนวนเท่ากับกลีบดอก<br />

อับเรณูเป็นอิสระ แตกตามยาว เกสรเพศเมียชนิด syncarpous รังไข่ inferior ช่องหนึ ่งมีไข่เมล็ดเดียว หรือจำนวน<br />

มาก placenta ชนิด axile ก้านเกสรเพศเมียมีอันเดียว เมล็ดส่วนมากมี endosperm ใบติดตรงข้าม หูใบถ้ามีจะอยู่<br />

ระหว่างก้านใบทั้งสอง (interpetiolar stipules)<br />

พรรณไม้ในอันดับนี้มีด้วยกัน 2 วงศ์ จะกล่าวถึงเพียงวงศ์เดียว คือ Rubiaceae<br />

1. วงศ์เข็ม Ribiaceae<br />

ไม้พุ่ม ไม้ต้น หรือ ไม้เถา ใบ เดี่ยว ติดตรงข้าม ขอบเรียบ หูใบชนิด interpetiolar เห็นชัด ดอก สมบูรณ์เพศ<br />

(bisexual) สมมาตรตามรัศมี (regular) มีชั้นละ 5-4 กลีบ ออกเป็นช่อกระจุกแน่น (cyme) ธรรมดา หรือเป็นช่อแยก<br />

แขนง ท่อกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกับรังไข่ ท่อกลีบดอกสั้นหรือยาว ปลายมี 5-4 กลีบ เกสรเพศผู้มีจำนวนเท่ากัน และติด<br />

เรียงสลับกับกลีบดอก รังไข่ inferior มักมี 2 ช่อง แต่ละช่องมีไข่เมล็ดเดียว หรือจำนวนมากติดอยู่บน placenta ชนิด<br />

axile ก้านเกสรเพศเมียมีอันเดียว ผล ชนิด capsule, baccate หรือ drupe, embryo ใหญ่ มี endosperm มาก<br />

พรรณพืชในวงศ์นี้มีประมาณ 400 สกุล ส่วนใหญ่เป็นพืชเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ในประเทศไทยมี<br />

ประมาณ 69 สกุล ที่เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. คือ สกุล ก้านเหลือง Nauclea สกุล กระทุ่ม Anthocephalus<br />

สกุล กว้าว Haldina สกุล ตุ้มกว้าว Mitragyna สกุล ส้มกบ หรือ อุโลก Hymenodictyon สกุล พุด Gardenia และ<br />

สกุล ยอ Morinda<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


154 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

รูปวิธานแยกสกุล<br />

1. ดอกอยู่ชิดติดกันเป็นก้อนกลม หรือกลมเบี้ยว ๆ อยู่ตามปลายกิ่งหรือง่ามใบ ท่อกลีบเลี้ยงแยกจากกันหรือเชื่อม<br />

ติดกัน ผลผิวแห้ง หรือเชื่อมติดกัน อวบนำ้ำ<br />

2. ก้านดอกกลมเบี้ยว ๆท่อกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันสนิทโดยตลอด ผลอวบนำ้ำ<br />

Morinda<br />

2. ก้อนดอกกลม ท่อกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน หรืออยู่ชิดกัน หรือแยกจากกัน เมื่อเป็นผลจะเชื่อมติดกัน หรือเพียงอยู่<br />

ชิดกัน หรือแยกจากกัน<br />

3. ท่อกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน หรืออยู่ชิดกัน ไม่มีใบประดับย่อย (bractlets)<br />

4. ท่อกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ผลคาร์เพลเชื ่อมติดกัน อวบนำ้ำ<br />

Nauclea<br />

4. ท่อกลีบเลี้ยงอยู่ชิดกัน ผลรูปกรวยควำ่ำ มี 2 ช่อง แต่แบ่งออกเป็น 4 ตั้งแต่ส่วนบนลงไป ผิวแข็ง<br />

Anthocephalus<br />

3. ท่อกลีบเลี้ยงแยกจากกัน มีใบประดับย่อย (bractlets)<br />

5. ช่อดอกเป็นก้อนเดี่ยว ๆ หรือถ้าเป็นช่อชนิด panicle ไม่มีใบประดับ (bracts) รองรับ ยอดเกสรเพศเมียเป็นรูป<br />

กระบอง<br />

5. ช่อดอกเป็นชนิด panicle มีใบประดับ (bracts) รองรับ ปลายเกสรเพศเมียเป็นรูปคล้ายฝาชี Mitragyna<br />

1. ดอกเป็นช่อธรรมดาไม่ชิดติดกันเป็นก้อน หรือออกเดี่ยว ๆ<br />

2. ดอกเป็นช่อมีใบประดับ (bracts) ใหญ่รองรับ ก้านใบประดับยาวไม่หลุดร่วง แต่ขยายตัวใหญ่ขึ้นเมื่อเป็นผล<br />

ผลชนิด capsule<br />

Hymenodictyon<br />

2. ดอกออกเดี่ยว ๆ หลอดกลีบดอกยาว หูใบเชื ่อมติดกันหุ้มยอดอ่อนมิด<br />

ผลชนิด baccate<br />

และมีชันเคลือบฉาบอยู่<br />

Gardenia<br />

พรรณไม้หวงห้าม คือ ยอป่า Morinda coreia Ham. และ M. elliptica Ridl. ก้านเหลือง Nauclea orientalis<br />

L. กระทุ่มนำ้ำ หรือ ตะโกส้ม Anthocephalus chinensis (Lamk.) A. Rich. ex Walp. กว้าว Haldina cordifolia (Roxb.)<br />

Ridsdale กระท่อมหมู Mitragyna brunonis (Wall. ex D. Don) Craib อุโลก หรือ ส้มกบ Hymenodictyon excelsum<br />

Wall. พุด หรือ ข่อยด่าน Gardenia collinsae Craib<br />

พรรณไม้ที ่นำมาปลูกเป็นไม้ประดับ พุดซ้อน Gardenia angusta (L.) Merr. ดอนย่าขาว Mussaenda philippica<br />

A. Rich. var. aurorae Sulit ดอนย่าแดง M. erythrophylla Schum. & Thonn. เขี้ยวกระแต Paracoffea merguensis (Ridl.)<br />

Le Roy เข็มอินเดีย Pentas lanceolata (Forssk.) Deflers และเข็มต่าง ๆ Ixora spp.<br />

ชนิดที่เป็นสมุนไพรมี ควินิน Cinchona ledgeriana Moens. และ C. succirubra Pav. ex Klotzsch ที่เป็นพืช<br />

บริโภค ก็มี กาแฟ Coffea arabica L. และ C. canephora Pierre ex Frohner (robusta หรือ congo coffee) ส่วนพืชใน<br />

สกุล เกียวโซ้ Uncaria มักจะมีนำ้ำฝาดสูงใช้ในการฟอกหนังชนิดดี<br />

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือ Thai Forest Bulletin (Botany), No. 9: 15-55. 1975.)<br />

15. อันดับ Tubiflorae<br />

ดอก เป็น actinomorphic ถึง zygomorphic กลีบดอกเชื่อมติดกัน เกสรเพศผู้มีจำนวนเท่ากันและติดเรียง<br />

สลับกันกับกลีบดอก หรือไม่ก็ลดจำนวนลงเหลือเพียง 4 หรือ 2 อันมักจะติดอยู่กับกลีบดอก รังไข่ superior<br />

ส่วนมากมี 2 ช่อง บางทีหยักลึก ก้านเกสรเพศเมีย (style) เป็นชนิด gynobasic ไข่มีจำนวนมาก หรือมีจำนวนเพียง<br />

เมล็ดเดียวหรือสองเมล็ด placenta ชนิด axile, parietal หรือ basal ส่วนมากเป็นพืชล้มลุก ที่เป็นไม้ต้นมีจำนวนน้อย<br />

อันดับนี้นับว่าเป็นอันดับใหญ่ มีพรรณพืชรวมอยู่ด้วยกัน 13 วงศ์ จะกล่าวถึงแต่วงศ์ที่สำคัญคือ<br />

Acanthaceae, Bignoniaceae และ Verbenaceae เท่านั้น<br />

1. วงศ์เหงือกปลาหมอ Acanthaceae<br />

ไม้ล้มลุก หรือไม้พุ่ม ใบ เดี่ยว ติดตรงข้าม ไม่มีหูใบ ดอก สมบูรณ์เพศ (bisexual) สมมาตรด้านข้าง<br />

(irregular) ออกเป็นช่อแบบ raceme หรือ panicle กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ ปลายแยกเป็นซี ่ฟัน<br />

หรือเป็นพู กลีบดอกจะแยกเป็น 2 ปาก เกสรเพศผู้มี 4 หรือ 2 อยู่บนกลีบดอก รังไข่มี 2 ช่อง แต่ละช่องมีไข่ตั้งแต่<br />

2 ถึงหลายเมล็ด ติดอยู่บน placenta ชนิด axile ผล capsule มักแตกจากปลายลงไป เมล็ดมักมีขอ<br />

พรรณพืชในวงศ์นี้มีประมาณ 240 สกุล พบในเขตร้อนและกึ ่งเขตร้อน ในประเทศไทยมีประมาณ 40 สกุล<br />

มีหลายชนิดที ่เป็นไม้ป่าของไทย เช่น ห้อมช้าง Phlogacanthus curviflorus Nees ออกดอกเป็นช่อตั้ง สีส้มแดง พบใน<br />

ป่าดิบชื้น เหงือกปลาหมอ Acanthus ebracteaus Vahl ดอกสีขาว หรือ ม่วงแดง พบตามที่ลุ่มริมแม่นำ้ำลำคลอง<br />

บริเวณนำ้ำกร่อย และป่าชายเลน อังกาบ Barleria cristata L. พบขึ้นตามป่าดิบ ป่าเต็งรัง หัวไร่ปลายนา<br />

นอกจากนี้ยังนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เช่น เข็มม่วง Eranthemum wattii Stapf บาหยา Asystasia gangetica<br />

(L.) Anders. ตรีชวา Justicia betonica L. ที่เป็นสมุนไพร เช่น เสลดพังพอน Barleria lupulina Lindl. ทองพันชั่ง<br />

Rhinacanthus nasutus (L.) Kutz พญาปล้องทอง Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau<br />

2. วงศ์แคหางค่าง Bignoniaceae<br />

ไม้ต้น ไม้พุ่ม หรือไม้เถา ใบ ติดตรงข้าม ส่วนมากเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ (digitate) หรือใบประกอบ<br />

แบบขนนก (pinnate) 2-3 ชั้น บางทีปลายใบแปรสภาพเป็นมือพัน (tendril) ไม่มีหูใบ ดอก เป็นช่อแบบ raceme,<br />

panicle หรือ corymb ดอก bisexual, zygomorphic กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายมี 5 แฉก หรือ 2 แฉก<br />

บางทีก็เป็นกาบ (spathaceous) กลีบดอกมี 5 กลีบ เชื่อมติดกับกลีบบน 2 กลีบ แยกออกเป็นส่วนหนึ ่งจาก 3 กลีบ<br />

ล่าง กลีบดอกเรียงซ้อนเหลื ่อมกัน เกสรเพศผู้มี 5 อัน ติดอยู่กับท่อกลีบดอก หายากที่สมบูรณ์ทั้ง 5 อัน มักจะมี<br />

4 อัน สองอันยาว สองอันสั้น (didynamous) อับเรณูมี 2 เซลล์ แตกออกตามยาว เกสรเพศผู้อันที่ 5 มักจะลดขนาด<br />

ลงหรือหายไปเลย จานดอก (disc) เป็นต่อม รังไข่ superior มี 2 ช่อง หรือช่องเดียว placenta แบบ parietal ไข่มี<br />

จำนวนมาก ก้านเกสรเพศเมีย (style) มี 2 แฉก ผล ชนิด capsule แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดแบนบางมีปีก หรืออวบนำ้ำ<br />

เมล็ดไม่มีปีกฝังตัวอยู่ในเนื้อผล เมล็ดไม่มี endosperm, embryo เหยียดตรง<br />

พรรณพืชในวงศ์นี้มีมากกว่า 100 สกุล ส่วนใหญ่เป็นพืชแถบอเมริกาเขตร้อน ในประเทศไทยพบ 12 สกุล<br />

จำนวน 23 ชนิด ที่เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. คือ สกุล แคขาว Dolichandrone สกุล แคทราย หรือ แคฝอย<br />

Stereospermum สกุล แคหางค่าง Fernandoa และ สกุล แคหัวหมู Markhamia<br />

155<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


156 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

รูปวิธานแยกสกุล<br />

1. ใบย่อยขอบเรียบ ดอกสีขาว เป็นรูปกรวย กลีบยับย่น ยาวถึง 18 ซม. Dolichandrone<br />

1. ใบย่อยขอบจัก ดอกสีม่วงอ่อน หรือเหลืองแกมนำ้ำตาล<br />

2. ดอกสีม่วงอ่อน กลีบยับย่น เป็นรูปกรวย ยาวถึง 6 ซม. ผลเกลี้ยงกลมยาว Stereospermum<br />

2. ดอกสีเหลืองแกมนำ้ำตาล ท่อกลีบดอกมีกระพุ้งด้านข้าง<br />

3. ผลมีขนนุ่ม ค่อนข้างแบนโค้ง ๆ Markhamia<br />

3. ผลมีขนสั้น ๆ กลม มีร่องตามยาว บิด Fernandoa<br />

ไม้หวงห้ามในวงศ์นี้คือ แคขาว หรือ แคนา Dolichandrone spathacea (L.f.) K. Schum แคฝอย Stereospermum<br />

cylindricum Pierre ex G. Don แคหัวหมู Markhamia stipulate (Wall.) Seem ex K. Schum. var. stipulate และ แค<br />

หางค่าง Fernandoa adenophyllum (Wall. ex G. Don) Steenis<br />

พรรณไม้ในวงศ์นี้ส่วนมากมีดอกใหญ่สวยนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับหลายชนิด คือ พวงแสด Pyrostegia<br />

venusta (Ker) Miers กระเทียบมเถา Pachyptera hymenaea (DC.) A. Gentry แคแสด Spathodea camoanulata<br />

Beauv. ทองอุไร Tecoma stans (L.) H.B.K. นำ้ำเต้าญี่ปุ่น Crescentia cujete L. ตีนเป็ดฝรั่ง Crescentia alata H.B.K.<br />

ศรีตรัง Jacaranda mimosifolia D. Don และชมพูพันธ์ทิพย์ หรือ ธรรมบูชา Tabebuia rosea (Bertol.) DC. เป็นต้น<br />

พันธุ์ไม้เหล่านี้ล้วนเป็นไม้ต่างประเทศ สำหรับพันธุ์ไม้ไทยที ่ปลูกกันบ้างมี ปีบ Millingtonia hortensis L.f. ส่วน เพกา<br />

หรือ มะริดไม้ Oroxylum indicum (L.) Kurz ปลูกกันตามชนบทเพื ่อใช้ฝักอ่อนรับประทานเป็นผัก<br />

(ดูรายละเอียดเพิ ่มเติมในหนังสือ Flora of Thailand Vol. 5(1): 32-66. 1987.)<br />

3. วงศ์สัก Lamiaceae (Labiatae)<br />

ไม้ต้น หรือไม้ล้มลุก กิ่งมักเป็นสี่เหลี<br />

่ยม ใบ เดี่ยว หรือใบประกอบ ติดตรงข้าม หรือเรียงเป็นวงรอบกิ ่ง ไม่มี<br />

หูใบ ช่อดอกหลายแบบ ชนิด cyme, spike corymb หรือ thryse ดอก zygomorphic, bisexual มีชั้นละ 5-4 กลีบเลี้ยง<br />

เชื่อมติดกัน และมักเจริญขยายใหญ่เมื ่อเป็นผล มี 5-4 กลีบ กลีบดอกเชื่อมติดกัน มี 5-4 กลีบ เกสรเพศผู้ติดอยู่กับ<br />

ท่อกลีบดอก มักมี 4 อัน didynamous บางทีมีเพียง 2 อัน หายากที่มี 5 อัน (สกุล Tectona) อับเรณูมี 2 ช่อง แตก<br />

ตามยาว รังไข่ superior มี 8-2 ช่อง ส่วนใหญ่มี 4 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียมีอันเดียว แต่ละช่องมีไข่ 2-1 เมล็ดต่อช่อง<br />

ผล ชนิด drupe หรือ berry เมล็ดไม่มี endosperm, embryo ตั้งตรง<br />

พรรณพืชในวงศ์นี้มีประมาณ 100 สกุล ส่วนใหญ่เป็นพืชเขตร้อนและกึ ่งเขตร้อน ในประเทศไทยมีประมาณ<br />

20 สกุล ที่ประกาศเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. มีสกุล สัก Tectona สกุล ตีนนก Vitex สกุล ซ้อ Gmelina สกุล<br />

สักขี้ไก่ Premna โดยบางสกุลของวงศ์ Verbenaceae ได้ย้ายมาอยู่วงศ์ Lamiaceae<br />

ภาพที่ 40<br />

พุดหอมไทย<br />

Rothmannia thailandica Tirveng.<br />

(Rubiaceae)<br />

กะอวม<br />

Acronychia pedunculata (L.) Miq.<br />

(Rutaceae)<br />

ก้านเหลือง<br />

Nauclea orientalis (L.) L.<br />

(Rubiaceae)<br />

มะนาวผี<br />

Atalantia monophylla (L.) DC.<br />

(Rutaceae)<br />

157<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


158 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

159<br />

ระฆังทอง<br />

ปีบทอง<br />

ซ้อ<br />

ผ่าเสี้ยน<br />

Pauldopia ghorta (Buch.-Ham. ex G. Don)<br />

Radermachera hainanensis Merr.<br />

Gmelina arborea Roxb.<br />

Vitex canescens Kurz<br />

(Bignoniaceae)<br />

(Bignoniaceae)<br />

(Lamiaceae)<br />

(Lamiaceae)<br />

แคทะเล<br />

ศรีตรัง<br />

กะเพราตะนาวศรี<br />

น้ำลายผีเสื้อ<br />

Dolichandrone spathacea (L.f.) K. Schum.<br />

Jacaranda obtusifolia Bonpl.<br />

Teucrium scabrum Sudee & A. J. Paton<br />

Callicarpa rubella Lindl.<br />

(Bignoniaceae)<br />

(Bignoniaceae)<br />

(Lamiaceae)<br />

(Lamiaceae)<br />

ภาพที่ 41<br />

ภาพที่ 42<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


160 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

ภาพที่ 43<br />

จากเขา<br />

Eugeissona tristis Griff.<br />

(Arecaceae)<br />

ระกำ<br />

Salacca wallichiana Mart.<br />

(Arecaceae)<br />

ช้างร้อง<br />

Borasssodendron machadonis (Ridl.) Becc.<br />

(Arecaceae)<br />

เต่าร้างดอยภูคา<br />

Caryota obtuse Griff.<br />

(Arecaceae)<br />

1. ใบเดี่ยว<br />

รูปวิธานแยกสกุล<br />

2. เกสรเพศผู้มี 5 อัน Tectona<br />

2. เกสรเพศผู้มี 4 อัน<br />

3. ดอกเล็กสีเขียว ๆ ขาว ๆ ออกเป็นช่อกระจุกแยกแขนง ตามปลายกิ ่ง<br />

161<br />

Premna<br />

3. ดอกใหญ่ สีเหลือง มีแต้มสีนำ้ำตาล ออกเป็นช่อชนิด raceme ตามง่ามใบ Gmelina<br />

1. ใบประกอบแบบนิ้วมือ (digitate) มี 5-3 ใบ ดอกสีม่วงอ่อน Vitex<br />

ไม้หวงห้ามในวงศ์นี้มี สัก Tectona grandis L.f. สักขี้ไก่ Premna tomentosa Willd. ซ้อ Gmelina arborea<br />

Roxb. ตีนนก หรือ กาสามปีก Vitex peduncularis Wall. ex Schauer สวอง Vitex limonifolia Wall. ผาเสี้ยน Vitex<br />

canescena Kurz และ ตีนนก หรือ นน Vitex pinnata L. ไม้ในสกุลที ่นำมาเป็นไม้ประดับ เช่น พวงเงิน Clerodendrum<br />

thomsonae Balf.f. พวงม่วง หรือ เทียนหยด Duranta erecta L. ซึ่งเป็นไม้ต่างประเทศ พันธุ์ไม้พื้นเมืองที ่นำมาปลูก<br />

กันบ้างก็มี เครือออน หรือ พวงประดิษฐ์ Congea tomentosa Roxb. ซ้องแมว Gmelina philippensis Cham. และ<br />

พนมสวรรค์ Clerodendrum paniculatum L. เป็นต้น ตัวอย่างชนิดที่อยู่วงศ์ Verbenaceae เช่น ไม้ในสกุลอื่นที่นำมา<br />

ปลูกเป็นไม้ประดับมี ผกากรอง Lantana camara L. พวงคราม Petrea volubilis L.<br />

ชั้นพืชใบเลี้ยงเดี<br />

่ยว (Class Monocotyledonae)<br />

พรรณพืชใบเลี้ยงเดี่ยวในประเทศไทยมีอย่างน้อย 11 อันดับ อันดับที ่มีความสำคัญที่จะกล่าวถึงมี 2 อันดับ<br />

คือ Palmales และ Glumiflorae<br />

ความจริงพรรณพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์เป็นอย่างมาก เช่น อันดับ<br />

Liliflorae วงศ์ Stermonaceae (ขี้ปุงมดง่าม) มีพืชหลายชนิดที่ใช้เป็นยาฆ่าแมลง วงศ์ Smilacaceae (เข้าเย็นเหนือ เข้า<br />

เย็นใต้) เป็นพืชสมุนไพร วงศ์ Dioscoreaceae (กลอย) เป็นพืชอาหารและสมุนไพร อันดับ Commelinales นั้น<br />

วงศ์ Bromeliaeae (สับปะรด) เป็นพืชอาหาร อันดับ Palmales วงศ์ Palmae เป็นพืชอาหารและวัสดุใช้สอยต่าง ๆ<br />

อันดับ Arales วงศ์ Araceae (บอน) เป็นพืชอาหาร อันดับ Zingiberales วงศ์ Musaceae (กล้วย) เป็นพืชอาหาร<br />

วงศ์ Zingiberaceae (ขิง, ข่า) ให้พืชสมุนไพร อันดับ Orchidales วงศ์ Orchidaceae (กล้วยไม้) ให้พืชที่มีคุณค่าทางพืช<br />

กรรม และ อันดับ Glumiflorae วงศ์ Cyperaceae (กก, แห้ว) ให้พืชอาหารและวัสดุใช้สอย วงศ์ Gramineae (ข้าว, ไผ่)<br />

ให้พืชอาหารและวัสดุใช้สอย<br />

อันดับ Palmales<br />

ไม้ต้น ตั้งตรง ใบ มักใหญ่ ดอก เล็ก regular, bisexual หรือ unisexual ต่างเพศร่วมต้น ออกเป็นช่อ<br />

panicles มักมีกาบใหญ่รองรับ เกสรเพศผู้จำนวน 6 รังไข่ superior ส่วนมาก 3 ช่อง มีไข่ช่องละเมล็ด ผล แบบ berry<br />

หรือ drupe เมล็ดมี endosperm<br />

ลักษณะลำต้นของพืชจำพวก หมาก หวาย ที่เป็นไม้เนื้อแข็ง มีการเจริญเติบโตขึ้นไปทางสูงเรื่อย ๆ ซึ่งเป็น<br />

ลักษณะพิเศษในพวกพืชใบเลี้ยงเดี่ยว<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


162 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

วงศ์หมาก หวาย Arecaceae (Palmae)<br />

ไม้ต้น ตรง หรือไม้พุ่ม บางครั้งเลื้อยพาดไปตามต้นไม้อื ่น ใบ แข็ง เป็นใบประกอบแบบขนนก (pinnate)<br />

หรือแบบนิ้วมือ (palmate) ก้านใบมีกาบหุ้มที่โคน ดอก ส่วนมาก regular เล็ก มักออกเป็นช่อ panicles กลีบดอก<br />

(perianth) มีสองชั้น ๆ ละ 3 กลีบ หนา หรืออุ้มนำ้ำ เกสรเพศผู้ส่วนมากมี 6 อัน รังไข่ส่วนมากมี 3 ช่อง มีไข่ช่องละ<br />

1 เมล็ด ผลแบบ drupe, nut หรือ berry เมล็ดมี endosperm มาก ใบเลี้ยงขยายใหญ่มากในระยะงอก<br />

พืชในวงศ์นี้มีมากกว่า 200 สกุล เป็นพืชเขตร้อนหรือกึ ่งเขตร้อน ในประเทศไทยมีประมาณ 30 สกุล<br />

จำแนกออกได้เป็น 8 วงศ์ย่อย มีหลายสกุลที่นำเข้ามาปลูกเพื<br />

่อเศรษฐกิจ และเป็นไม้ประดับ<br />

รูปวิธานแยกวงศ์ย่อย<br />

1. รังไข่และผลมีเกล็ดหุ้มซ้อนเหลื่อมกัน ใบประกอบแบบขนนก ได้แก่ Calamus, Daemonorops, Eugeissona,<br />

Korthalsia, Metroxylon, Myrialepis, Olectocomia, Plectocomiopsis และ Salacca<br />

1. วงศ์ย่อย Lepidocaryoideae<br />

1. รังไข่และผลไม่มีเกล็ดหุ้มซ้อนเหลื ่อมกัน<br />

2. ใบรูปพัด<br />

3. ช่องรังไข่ทั้งสามแยกต่อกันหรือเชื่อมติดกันเล็กน้อย แต่จะเจริญเป็นผลเพียงช่องเดียว (หายากที่มี 2 หรือ 3 ผล)<br />

มีลักษณะเป็น berry หรือ drupe มี endocarp บาง ได้แก่ Corypha, Johanesteysmannia, Licuala, Livistona,<br />

Pholidocarpus, Rhapis และTrachylospermum<br />

2. วงศ์ย่อย Corphoideae<br />

3. ช่องรังไข่ทั้งสามเชื่อมติดกันเป็นรังไข่ที่มี 3 ช่อง เจริญเป็นผล drupe ใหญ่ มีเมล็ด 3-1 เมล็ด แต่ละเมล็ด<br />

แยกกันอยู่ในช่องที่มีผนัง (endocarp) แข็ง ได้แก่ Borassus และ Borassodendrum<br />

3. วงศ์ย่อย Borassoideae<br />

2. ใบรูปขนนก<br />

4. ผลชนิด drupe มี endocarp แข็ง<br />

5. ผลสมมาตร ช่อดอกมีกาบหุ้ม 2 อัน รังไข่มี 6-3 ช่อง ได้แก่ Cocos, Elaeis 4. วงศ์ย่อย Cocosoideae<br />

5. ผลไม่สมมาตร ช่อดอกมีกาบหุ้มหลายอัน รังไข่ 1 ช่อง ได้แก่ Nypa 5. วงศ์ย่อย Nipoideae<br />

4. ผลมักไม่มี endocarp แข็ง<br />

6. ใบย่อยตอนล่างมักลดรูปเป็นหนาม ช่อดอกมีกาบเดียว รังไข่มี 3 ช่อง แยกจากกัน ได้แก่ Phoenix<br />

6. วงศ์ย่อย Phoemicoideae<br />

6. ใบย่อยตอนล่างไม่ลดรูปเป็นหนาม ช่อดอกมีกาบสองอันหรือมากกว่า รังไข่มี 3-1 ช่อง เชื ่อมติดกัน<br />

7. ผลชนิด berry เนื้อนุ่ม หรือมีเส้นใย อุ้มนำ้ำ ส่วนมากมีเมล็ดเดียว ใบย่อยเมื่อยังอ่อนอยู่เป็นรูปตัว A ได้แก่<br />

Areca, Cyrtostachys, Iguanura, Oncosperma, Orania และ Pinanga 7. วงศ์ย่อย Arecoideae<br />

163<br />

7. ผลชนิด berry เนื้อนุ่ม มี 3-1 เมล็ด ใบย่อยเม่อยังอ่อนอยู่เป็นรูปตัว V ได้แก่ Arenga, Caryota, Didymo<br />

sperma และ Wallichia<br />

8. วงศ์ย่อย Caryotoideae<br />

พืชในวงศ์นี้ต่างมีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ด้วยกันทั้งนั้น ที่ใช้เป็นอาหารก็คือ<br />

สาคู<br />

Metroxylon sagus Rottb. มะพร้าว Cocos nucifera L. ฉก หรือ ต๋าว Arenga pinnata Merr. จาก Nypa fruticans<br />

Wurmb. ระกำ Salacca rumphii Wall. ตาลตะโหนด Borassus flabellifer L. หมาก Areca catechu L. และ ลาน<br />

Corypha lecomtei Becc.<br />

ที่ให้วัสดุใช้สอยในการจักสานและทำเครื<br />

่องเรือนก็คือ หวาย ซึ่งมีหลายสกุลและหลายชนิด ใช้ทำเสาโป๊ะ<br />

คือ ค้อ Livistona speciosa Kurz และ หนามพน Orania sylvicola Moore ใช้ใบมุงหลังคา เช่น จาก Nypa fruticans<br />

Wurmb. ลาน Corypha spp. และ หวาย สกุล Daemonorps spp. นอกจากนี้ ใบ ลานยังใช้ทำวัสดุต่าง ๆ เช่น หมวก<br />

ใช้จารึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา<br />

เนื่องจากหวายชนิดต่าง ๆมีคุณค่าทางป่าไม้เป็นอย่างมาก จึงได้จัดรูปวิธานสำหรับใช้จำแนกสกุลต่าง ๆ ไว้<br />

รูปวิธานแยกสกุลหวาย<br />

1. ออกดอกครั้งเดียวแล้วตาย เป็นผลครั้งเดียวในชีวิต (monocarpic)<br />

2. ช่อดอกแยกแขนงห้อยยาวคล้ายหางกระรอก มีกาบใหญ่แบนซ้อนเหลื ่อมกัน คลุมช่อดอกย่อยมิด<br />

หวายเต่าเพราะ หวายโตงโพล่ง Plectocomia<br />

2. ช่อดอกแยกแขนงมาก แต่ละแขนงมีกาบรูปกรวยเล็ก ๆ ปลายสามเหลี ่ยมรองรับช่อดอกย่อย<br />

3. โคนก้านใบมีหนามกระจายกันห่าง ๆ เกล็ดที ่เปลือกผลใหญ่ เรียงกันเป็นระเบียบ<br />

หวายกุ้งน้ำพราย Plectocomiopsis<br />

3. โคนก้านใบมีหนาม 7-2 อัน เรียงเป็นแถว ในระนาบเดียวกันห่าง ๆ เกล็ดที่เปลือกผลเล็ก ละเอียด เรียงกัน<br />

ไม่เป็นระเบียบ หวายกุ้ง Myrialepis<br />

1. ดอกออกเกือบทุกปี เป็นผลหลายครั้ง (polycarpic)<br />

4. ใบย่อยปลายใบเรียวแหลม ขอบเรียบ เส้นใบขนานกัน<br />

5. กาบรองรับช่อดอกรูปหลอดปลายเรียบ ไม่หุ้มช่อดอก ติดแน่น หวายนั่ง หวายขม หวายตะคร้า Calamus<br />

5. กาบรองรับช่อดอกรูปเรือ หุ้มช่อดอกทั้งหมด หรือไม่หุ้ม หลุดร่วงง่าย<br />

หวายจาก หวายโสมเขา Daemonorops<br />

4. ใบย่อยรูปขนมเปียกปูน โคนสอบแคบ หรือ รูปหอก ขอบจักซี ่ฟัน เส้นใบรูปพัด<br />

อันดับ Glumiflorae<br />

หวายเถาใหญ่ Korthalsis<br />

อันดับนี้มีเพียง 2 วงศ์ คือ Poaceae และ Cyperaceae เป็นพืชล้มลุกอายุปีเดียว เช่น หญ้าชนิดต่าง ๆ และกก<br />

ชนิดต่าง ๆ หรือ อายุหลายปี เป็นไม้พุ่มเป็นกอ เลื้อยพาดไปตามต้นไม้อื่น ลำต้นเป็นปล้อง เนื้อแข็ง เช่น ไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


164 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

วงศ์หญ้า Poaceae (Gramineae)<br />

ลำต้น เป็นปล้อง รูปทรงกระบอก ระหว่างข้อกลวงหรือตัน ใบ เรียงสลับกันในระนาบเดียวกัน (distichous)<br />

ก้านใบเป็นกาบหุ้มรอบลำต้น ระหว่างตัวใบ (lamina) และกาบมีลิ้นใบ (liqule) เป็นแผ่นบางใส (hyaline) อยู่<br />

ดอก ออกเป็นช่อใหญ่ ประกอบด้วยช่อดอกย่อย (spikelet) ดอกย่อย (floret) ส่วนมากเป็นดอกสมบูรณ์เพศ หรือ<br />

ดอกเพศเดียว บางทีต่างเพศต่างต้น (dioecious) ช่อดอกย่อยมักจะรองรับด้วยกาบ 2 กาบ เรียกว่า กาบช่อย่อย<br />

(glume) มีอันล่างและอันบนดอกย่อยแต่ละดอกจะมีกาบล่าง (lemma) และ กาบบน (palea) หุ้มอีกชั้นหนึ่ง<br />

กาบ lemma, palea และ glumes น้จะเรียงสลับในระนาบเดียวกันบนแกนเล็ก ๆ เรียกว่า แกนกลางย่อย (rachilla)<br />

กลีบรวมลดรูปหรือบางทีเป็นเกล็ดอุ้มนำ้ำ 3-2 เกล็ด เรียกว่า กลีบเกล็ด (lodicule) เกสรเพศผู้มี 6-3 อัน (ส่วนมาก<br />

มี 3 อัน) อับเรณูแกว่งได้ รังไข่มี 1 ช่อง แต่ละช่องมีไข่ 1 เมล็ด ยอดเกสรเพศเมียแตกเป็น 3-2 แฉก คล้ายขนนก<br />

ผล เป็นชนิด caryopsis มี endosperm มาก<br />

พืชในวงศ์นี้มีประมาณ 550-500 สกุล จัดแยกออกเป็น 6 วงศ์ย่อย จะกล่าวถึงวงศ์ย่อยไผ่ Bambusoideae<br />

ซึ่งมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจป่าไม้เป็นอย่างมาก<br />

วงศ์ย่อยไผ่ Bambusoideae<br />

ลำต้น แข็ง ส่วนมากมีเหง้าใต้ดิน ใบ มีกาบหุ้มลำต้น (culm sheath) ตอนปลายกาบตรงที ่ต่อกันกับใบจะมี<br />

ลิ้นใบ (ligule) อาจเป็นขนยาว ๆ หรือสั้น ๆ หรือเป็นเยื่อบาง ๆ ดอก ช่อดอกไม่มีกาบหุ้มเหมือนพวกหญ้าอื่น ๆ<br />

ช่อดอกหนึ ่งจะมีช่อดอกย่อย (spikelets) หลายกลุ่ม ที่โคนมีกาบดอกย่อย (glume) 2 อัน และแต่ละช่อดอกย่อยจะ<br />

มีดอกย่อย (floret) ดอกเดี่ยว หรือหลายดอก มีกาบดอกย่อย (lemma) ขนาดใหญ่และหุ้มกาบบน (palea) ไว้มีกลีบ<br />

เกล็ด (lodicule) 3 หรือ 2 เกสรเพศผู้มี 3 หรือ 6 ก้านเกสรเชื ่อมหรือแยกกัน เกสรเพศเมียมักมีขนปกคลุม ผล แบบ<br />

berry หรือ แบบ cryopsis<br />

ไผ่ส่วนใหญ่จะพบขึ้นในเขตร้อน (tropic) มีประมาณ 47 สกุล 1,250 ชนิด ส่วนในประเทศไทยพบประมาณ<br />

12 สกุล 50 กว่าชนิด<br />

รูปวิธานแยกสกุล<br />

1. เหง้าสั้น ไม่ทอดขนานไปทางระดับ มีขนาดใหญ่กว่าลำที ่งอกขึ้นมาจากตาข้างเหง้า<br />

3. คอเหง้า (rhizome neck) คือ ส่วนโคนของแขนงที ่งอกออกไปจากเหง้า ยาวกว่าเหง้า ลำขึ้นห่างกันเป็นระยะกิ ่ง<br />

ตามข้อเรียวยาวเกือบเท่ากันทุกกิ่ง<br />

Melocanna<br />

3. คอเหง้าสั้นกว่าเหง้า ลำขึ้นชิดติดกันไม่เป็นระเบียบ<br />

4. กิ ่งตามข้อเรียวยาวเกือบเท่ากันทุกกิ ่ง<br />

5. กาบหุ้มลำและยอดกาบหนาแข็ง และกรอบ สีหมากสุก ติ ่งกาบ (auricle) คือ ครีบหรือขนที่อยู่ตรงด้านบนทั้ง<br />

สองข้างของกาบที ่มีลักษณะคล้ายหัวไหล่ไม่เจริญเห็นได้ชัด ก้านเกสรเพศเมียมี 3 แฉก<br />

Cephalostachyum<br />

5. กาบหุ้มลำและยอดกาบไม่หนามาก และไม่แข็ง ติ ่งกาบเห็นไม่ชัด ก้านเกสรเพศเมียมี 2 แฉก<br />

Schizostachyum<br />

4. กิ ่งตามข้อเรียวยาวไม่เท่ากันทุกกิ ่ง กิ่งอันกลางใหญ่ที<br />

่สุด<br />

6. ลำทอดเลื้อย หรือพาดพันไปตามต้นไม้อื ่น เนื้อลำบาง<br />

7. ลำทอดเลื้อยไม่แตกแขนง Dinochloa<br />

7. ลำพาดพันปตามต้นไม้อื ่น แตกแขนงมาก<br />

6. ลำต้นตรง เนื้อลำหนา<br />

8. ช่วงระหว่างดอกสั้นมาก ไม่หักหลุดจากกัน<br />

9. กลุ่มดอกมีน้อยดอก ดอกที ่ปลายกลุ่มเจริญเต็มที่ ก้านเกสรเพศผู้แยกจากกัน<br />

165<br />

Teinostachyum<br />

10. ผลรูปกระสวย เปลือกบางแข็ง Dendrocalamus<br />

10. ผลค่อนข้างกลม เปลือกหนาขรุขระ Melocalamus<br />

9. กลุ่มดอกมีมากดอก ดอกที่ปลายกลุ่มไม่เจริญ ก้านเกสรเพศผู้เชื่อมติดกันแน่น หรือมีเยื่อบาง ๆ โยงเชื่อกัน<br />

Gigantochloa<br />

8. ช่วงระหว่างดอกยาวเท่ากับครึ ่งหนึ ่งของความยาวของกลีบนอกสุด และหักหลุดออกจากกันไม่ช้าก็เร็ว<br />

11. กาบหุ้มลำบาง แนบชิดกับลำ ไม่หลุดร่วงเมื ่อลำแก่ ยอดกาบบางเรียวสอบไปหาปลาย ไม่มีติ่งกาบ<br />

ลำตอนล่างไม่แตกแขนง ไม่มีหนาม<br />

Thyrsostachys<br />

11. กาบหุ้มลำหนาแข็ง ไม่แนบชิดกับลำ หลุดร่วงไปเมื ่อลำแก่ ยอดกาบหนาแข็งมักมีขนคาย ทางด้านใน<br />

มีติ่งกาบเห็นได้ชัด ลำตอนล่างมักแตกแขนง และมีหนาม<br />

Bambusa<br />

1. เหง้ายาวและทอดขนานไปทางระดับ ขนาดเล็กเรียวกว่าลำที ่งอกขึ้นมาจากตาข้างเหง้า<br />

2. ไม่มีเหง้าสมทบ (metamorphic axis) คือส่วนโคนของแขนงที ่เจริญออกยางออกไปจนเกือบเหมือนกับเหง้านั้น<br />

Pseudosasa<br />

2. มีเหง้าสมทบ Arundinaria<br />

ไม้ไผ่สกุลต่าง ๆ ในประเทศไทยตามรูปวิธานข้างบนนี้จำแนกชนิดออกได้ดังนี้<br />

1. สกุล Melocanna มีจำนวน 1 ชนิด คือ ไผ่เกรียบ M. humilis Kurz พบทางจังหวัดสุราษฎร์ธานี<br />

2. สกุล Cephalostachyum มีอยู่ 2 ชนิด คือ ไผ่ข้าวหลาม C. pergracile Munro พบในท้องที่ภาคเหนือทั่วๆ ไป และ<br />

จังหวัดกาญจนบุรีตอนเหนือ เนื้อลำหนา และ ไผ่เฮียะ C. virgatum Kurz พบทั่วไปตามป่าเขาทางภาคเหนือ เนื้อลำบาง<br />

3. สกุล Schizostachyum มี 3 ชนิด คือ ไผ่เฮียะ หรือ ไผ่เมี ่ยงไฟ S. zollingeri Steud. และไผ่โป<br />

S. brachycladum Kurz พบในท้องที ่จังหวัดภาคใต้ ส่วน ไผ่หลอด S. acicular Gamble มีพบทั่ว ๆ ไปตามป่าดิบชื้น<br />

4. สกุล Dinochloa มี 1 ชนิด คือ ไผ่คลาน D. scandens พบขึ้นทั่วๆ ไปตามป่าชื้นทางภาคใต้<br />

5. สกุล Teinostachyum มีอยู่ 1 ชนิด คือ ไผ่บงเลื้อย T. griffithii Munro พบทางป่าดิบเขาภาคเหนือ<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


166 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

6. สกุล Dendrocalamus เป็นไม้ไผ่ที่มีขนาดใหญ่ที<br />

่สุด มี 9 ชนิด คือ ไผ่ซาง D. strictus Nees ไผ่หก<br />

D. hamiltonii Nees & Arn. ex Munro ไผ่ลำมะลอก D. longispathus Kurz พบทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้<br />

ไผ่ซางหม่น D. sericeus Munro พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไผ่เป๊าะ D. giganteus Munro ไผ่ซางคำ<br />

D. latiflorus Munro พบทางภาคเหนือ ไผ่ตง D. asper Back. ex K. Heyne พบทางภาคเหนือและปลูกกันทั่วไป<br />

ไผ่ซางดอย D. membranaceus Munro และไผ่บงใหญ่ D. brandisii Kurz พบทางภาคเหนือ<br />

7. สกุล Melocalamus มีชนิดเดียว คือ ไผ่หางช้าง หรือ ไผ่ไส้ตัน M. compactiflorus Benth. พบทั่วไปตาม<br />

ป่าเขาทางภาคเหนือ<br />

8. สกุล Gigantochloam มี 9 ชนิด คือ ไผ่มัน G. auricalata Kurz ไผ่ไร่ G. albociliata Kurz ไผ่ไล่ลอ<br />

G. nigrociliata Kurz ไผ่ด้ามพร้า G. ligulata Gamble ไผ่ตากวาง G. apus Kurz ไผ่ผากมัน G. hasskarliana Back. ex<br />

K. Heyne และนอกจากไผ่ไร่และไผ่ไล่ลอซึ ่งพบขึ้นทั่วประเทศ ไผ่ชนิดอื ่น ๆ ในสกุลนี้พบขึ้นแต่ในป่าดิบทางภาคใต้<br />

แทบทั้งนั้น<br />

9. สกุล Thyrsostachys มี 2 ชนิด คือ ไผ่รวก T. siamensis Gamble พบในป่าแล้งทั่วไป และไผ่รากดำ<br />

T. oliveri Gamble พบในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ<br />

10. สกุล Bambusa มีด้วยกัน 11 ชนิด ส่วนมากเป็นไม้ไผ่ขนาดใหญ่เนื้อลำหนา คือ ไผ่บงดำ B. tulda Roxb.<br />

พบตามป่าดิบริมนำ้ำทั่วไป ไผ่ป่า หรือ ไผ่หนาม B. arundinacea Willd. ไผ่ลำมะลอก B. longispiculata Gamble พบ<br />

ทั่วไป ไผ่เหลือง B. vulgaris Schrad. ไผ่หอม B. polymorpha Munro พบทางภาคเหนือ ไผ่เลี้ยง B. multiplex (Lour.)<br />

Raeusch. ex J.A. & J.H. Schult. var. multiplex มีขนาดเล็ก ปลูกกันทั่ว ๆไป ไผ่สีสุก B. flexuosa Munro พบทาง<br />

ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ปลูกกันทั่วๆ ไป ไผ่บง B. nutans Wall. ex Munro พบขึ้นตามป่าดิบทาง<br />

ภาคเหนือ ไผ่สีสุก B. blumeana Schult และ ไผ่บงหนาม B. burmanica Gamble<br />

11. สกุล Pseudosasa มีอยู่ 1 ชนิด เป็นไม้ไผ่ขนาดเล็ก พบตามเขาในท้องที ่จังหวัดเพชรบูรณ์<br />

12. สกุล Arundinaria มี 2 ชนิด เป็นไม้ไผ่ขนาดเล็ก พบตามป่าแล้งตามภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ<br />

ไผ่เพ็ก A. pusilla Cheval. & A. Camus และไผ่โจ้ด A. ciliate A. Camus<br />

นอกจากนี้ยังมีไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ ที ่คาดว่าจะพบมีอยู่ในประเทศไทย อีกจำนวนมาก ถ้าได้มีการสำรวจอย่าง<br />

ละเอียดต่อไป<br />

หญ้าจิ้มฟันควาย<br />

Arundina graminifolia (D.Don) Hochr. subsp. graminifolia<br />

(Orchidaceae)<br />

เตยห้วย<br />

Pandanus aculescens H. St. John<br />

(Pandanaceae)<br />

167<br />

ภาพที่ 44<br />

กะอวม<br />

Khaosokia caricoides D. A. Simpson<br />

(Cyperaceae)<br />

ไผ่ไร่<br />

Gigantochloa albociliata (Munro) Kurz<br />

(Poaceae)<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


168 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

169<br />

หญ้าไข่เหาดอกแน่น<br />

หญ้าข้าวนก<br />

เอื้องหมายนา<br />

กาหลาถ้วย<br />

Cyrtococcum oxyphyllum (Hochst. ex Steud.) Stapf<br />

Echinochloa colona (L.) Link<br />

Cheilocostus speciosus (J. Koenig) C.D. Specht<br />

Etlingera venusta (Ridl.) R.M. Sm.<br />

(Poaceae)<br />

(Poaceae)<br />

(Costaceae)<br />

(Zingiberaceae)<br />

หญ้าไข่ปู<br />

หญ้าไผ่หยอง<br />

ว่านเข้าพรรษา<br />

กล้วยจะก่า<br />

Eragrostis unioloides (Retz.) Nees ex Steud.<br />

Pogonatherum crinitum (Thunb.) Kunth<br />

Smithatris supraneanae W. J. Kress & K. Larsen<br />

Globba winitii C.H. Wright<br />

(Poaceae)<br />

(Lamiaceae)<br />

(Zingiberaceae)<br />

(Zingiberaceae)<br />

ภาพที่ 45<br />

ภาพที่ 46<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


170 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

ภาคผนวกที ่ 1<br />

วงศ์พืชที่มีลักษณะประจำวงศ์ค่อนข้างแน่นอน<br />

เนื ่องจากบางครั้งนักพฤกษศาสตร์ประสบปัญหาเกี่ยวกับการที่จะต้องจำแนกชนิดพืชที่ตัวอย่าง<br />

ไม่สมบูรณ์ เช่น ตัวอย่างมีแต่ใบเพียงอย่างเดียว ดังนั้นลักษณะเฉพาะวงศ์ของพืชจะช่วยได้ในการวิเคราะห์ตัวอย่าง<br />

พืชเหล่านั้น ทั้งนี้จะต้องพิจารณาลักษณะต่าง ๆ ของพืชควบคู่กันไปด้วย<br />

ใบ<br />

ติดตรงข้าม (หรือ ติดเป็นวงรอบข้อ)<br />

ทั้งหมด<br />

ติดตรงข้าม (หรือ ติดเป็นวงรอบข้อ)<br />

เป็นส่วนมาก<br />

วงศ์พืชที่ใบติดตรงข้ามหรือติดเป็นวงรอบข้อ ทั้งหมดได้แก่<br />

Aceraceae Caprifoliaceae Caryophyllaceae Casuarinaceae<br />

Celastraceae Ceratophyllaceae Chloranthaceae Dipsacaceae<br />

Elatinaceae Guttiferae Hydrangeaceae Labiatae Loganiaceae<br />

Melastomaceae Rubiaceae Salvadoraceae Staphyleaceae<br />

Valerianaceae Verbenaceae<br />

วงศ์พืชที่ใบติดตรงข้ามหรือติดเป็นวงรอบข้อ เป็นส่วนมาก ได้แก่<br />

Acanthaceae Apocynaceae Asclepiadaceae Bignoniaceae<br />

Gentianaceae Loranthaceae Lythraceae Malpighiaceae Molluginaceae<br />

Monimiaceae Myrtaceae Ntyctaginaceae Oleaceae Pedaliaceae<br />

Rhizophoraceae Rutaceae Santalaceae Scrophulariaceae<br />

ติดเรียงสลับ วงศ์พืชที่ใบติดเรียงสลับ ได้แก่ Anacardiaceae Annonaceae<br />

Bombacaceae Burseraceae Combretaceae Datiscaceae<br />

Dipterocarpaceae Ebenaceae Erythroxylaceae Fagaceae<br />

Flacourtiaceae Hamamelidaceae Lauraceae Leguminosae<br />

Magnoliaceae Malvaceae Menispermaceae Moraceae Myristicaceae<br />

Proteaceae Rosacee Sapindaceae Sapotaceae Styracaceae Theaceae<br />

Tiliaceae Ulmaceae<br />

ใบประกอบทั้งหมด<br />

วงศ์พืชที่มีใบประกอบทั้งหมด ได้แก่ Connaraceae Juglandaceae<br />

Ladizabalaceae Moringaceae Oxalidaceae Sapindaceae<br />

ใบประกอบเป็นส่วนมาก<br />

วงศ์พืชที่มีใบประกอบเป็นส่วนมาก ได้แก่ Araliaceae Bignoniaceae<br />

Burseraceae Leguminosae Meliaceae Rosaceae Rutaceae<br />

Simaroubaceae Umbelliferae Valerianaceae Zygophyllaceae<br />

ใบบางครั้งพบเป็นใบประกอบ วงศ์พืชที่บางครั้งพบเป็นใบประกอบ ได้แก่ Aceraceae Anacardiaceae<br />

Berberidaceae Bombaceae Capparaceae Caprifoliaceae<br />

Convolvulaceae Crassulaceae Cucurbitaceae Datiscaceae Dipsaceae<br />

Euphorbiaceae Gentianaceae Geraniaceae Hydrophyllaceae<br />

Menispermaceae Ochnaceae Passifloraceae Polemoniaceae<br />

Proteaceae Ranunculaceae Sabiaceae Saxifragaceae Staphyleacee<br />

Sterculiaceae Verbenaceae<br />

ใบเดี่ยว<br />

วงศ์พืชที่มีใบเดี่ยวทั้งหมด ได้แก่ Acanthaceae Annonaceae Apocynaceae<br />

Celastraceae Ebenaceae Erythroxylaceae Fagaceae Flacourtiaceae<br />

Guttiferae Hammamelidaceae Lauraceae Loganiaceae Lythraceae<br />

Magnoliaceae Malvaceae Menispermaceae Moraceae Myristicaceae<br />

Myrtaceae Proteaceae Rhizophoraceae Rubiaceae Sapotaceae<br />

Styracaceae Theaceae Thymelaeaceae Tiliaceae Urticaceae<br />

ใบไม่มีหูใบ<br />

ใบไม่มีหูใบ<br />

หูใบ<br />

เกสรเพศผู้<br />

เกสรเพศผู้ติดตรงข้ามกลีบดอก<br />

วงศ์พืชที่ใบมีหูใบ ได้แก่ Bigoniaceae Bombacaceae Dipterocarpaceae<br />

Droseraceae Elatinaceae Erythroxylaceae Euphorbiaceae Flacourtiaceae<br />

Magnoliaceae Malvaceae Moraceae Ochnaceae Polygonaceae<br />

Rhamnaceae Rhizophoraceae Rosaceae Rubiaceae Sterculiaceae<br />

Tiliaceae Ulmaceae Urticaceae Zygophyllaceae<br />

วงศ์พืชที่ใบไม่มีหูใบ ได้แก่ Acanthaceae Anacardiaceae Annonaceae<br />

Bignoniaceae Combretaceae Datiscaceae Dilleniaceae Guttiferae<br />

Lauraceae Lythraceae Meliaceae Menispermaceae Myristicaceae<br />

Myrtaceae Proteaceae Simaroubaceae Theaceae Thymelaceae<br />

Verbenaceae<br />

วงศ์พืชที่เกสรเพศผู้มีจำนวนเท่ากลีบดอกและติดตรงข้ามกลีบดอก<br />

ได้แก่ Berberidaceae Ebenaceae Menispermaceae (บางชนิด)<br />

Moraceae Myrsinaceae Olacaceae (บางชนิด) Plumbaginaceae<br />

Portulacaceae (บางชนิด) Primulaceae Rhamnaceae Sabiaceae<br />

(บางครั้งพบอับเรณูเป็นหมัน) Sapotaceae Sterculiaceae (บางชนิด)<br />

Ulmaceae Urticaceae<br />

171<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


172 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

รังไข่<br />

วงศ์พืชที่รังไข่อยู่ใต้วงกลีบดอก ได้แก่ Alangiaceae Araliaceae<br />

รังไข่ใต้วงกลีบ<br />

Balanophoraceae Begoniaceae Cactaceae Caprifoliaceae<br />

Chloranthaceae Combretaceae Compositae Cornaceae Cucurbitacee<br />

Datiscaceae Dipsacaceae Elaeagnaceae Gesneriaceae (บางชนิด)<br />

Goodeniaceae Haloragaceae Hamamelidaceae Juglandaceae<br />

Lobeliacee Loranthaceae Melastomaceae (เกือบทั้งหมด) Myrtaceae<br />

Nymphaeaceae (บางชนิด) Nyssaceae Onagraceae Portulacaceae (มี<br />

เพียง 2-3 ชนิด) Rhizophoraceae (หลายชนิด) Rosaceae (บางชนิด)<br />

Rubiaceae Santalaceae Saxifragaceae (บางชนิด) Stylidiaceae<br />

Styracaceae Umbelliferae Vacciniaceae Valerianaceae<br />

รังไข่เหนือวงกลีบ วงศ์พืชที่รังไข่อยู่เหนือวงกลีบดอก ได้แก่ Acanthaceae Anacardiaceae<br />

Annonaceae Apocynaceae Bignoniaceae Bombacaceae Burseraceae<br />

Celastraceae Dilleniaceae Dipterocarpaceae Ebenaceae<br />

Erythroxylaceae Euphorbiaceae Fagaceae Flacourtiaceae Guttiferae<br />

Lauraceae Leguminosae Loganiaceae Lythraceae Magnoliaceae<br />

Malvaceae Meliaceae Menispermaceae Moraceae Myristicaceae<br />

Proteaceae Sapindaceae Sapotaceae Simaroubaceae Sterculiaceae<br />

Styracaceae Theaceae Tiliaceae Verbenaceae<br />

ภาคผนวกที ่ 2<br />

วงศ์พืชที่มีลักษณะเฉพาะ<br />

ยาง (latex)<br />

ยางขาวคล้ายนม: Apocynaceae Asclepiadaceae Campanulaceae Compositae (tribe Lactuceae)<br />

Euphorbiaceae (tribe Euphorbieae), Lobeliaceae (พบบ่อย) Sapotaceae<br />

ยางขาวคล้ายนำ้ำนม หรือบางทีใส : Moraceae<br />

ยางสีเหลืองหรือสีส้ม : Guttiferae<br />

ยางสีเหลืองข้น หรือใส : Papaveraceae<br />

มือพัน (tendrils)<br />

มือพันบนใบ ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว : สกุล Flagellaria, Gloriosa, Smilax (บนก้านใบ) Bignoniaceae (บางสกุล)<br />

Leguminosae (หลายชนิด) Nepenthaceae<br />

มือเกาะ helical (3-dimensional) : Cucurbitaceae Passifloracee Vitaceae<br />

มีขอเกาะ (hooks) Annonaceae (Artabotrys) Apocynaceae (บางชนิด) Linaceae (สกุล Hugonia)<br />

Loganiaceae (สกุล Strychnos) Rhamnaceae (บางชนิด) Sapindaceae (Cardiospermum) Rubiaceae (สกุล Uncaria)<br />

ใบ (leaves)<br />

ใบเมื ่อขยี้มีกลิ่นหอม : Compositae (มีหลายชนิด) Labiatae Verbenaceae (หลายชนิด) Rutaceae<br />

Myrtaceae Lauraceae Myristicaceae Umbelliferae (บางชนิด) Zingiberaceae Geraniaceae (บางชนิด)<br />

ใบมีจุดใส หรือเส้นใส เมื่อเอาใบส่องกับแสงและดูด้วยเลนส์ขยาย : Rutaceae Myrtaceae Flacourtaceae<br />

(บางชนิด เช่น Casearia) Guttiferae (บางชนิด) Compositae (บางชนิด)<br />

ใบมีจุดดำ หรือมีจุดดำบนดอก : Guttiferae Myrsinaceae Turneraceae (บางชนิด) Violaceae (บางชนิด)<br />

หรือมีจุดสีนำ้ำตาลมีกลิ่นหอม ได้แก่ Labiatae Verbenaceae (บางชนิด) Compositae (บางชนิด)<br />

(Ardisia)<br />

ใบมีต่อมรูปจาน : Bignoniaceae (บางชนิด)<br />

ใบมีแบคทีเรียซึ ่งปรากฏเป็นจุดดำ : Rubiaceae (Pavetta และ Psychotria บางชนิด) และ Myrsinaceae<br />

ใบ หรือส่วนอื่น ๆ มีเกล็ด : Ericaceae (Rhododendron) Hamamelidaceae Malvaceae (บางชนิด)<br />

Bombacaceae Combretaceae (บางชนิด) Euphorbiaceae (เช่น Croton) Elaeagnaceae (บางชนิด) Oleaceae<br />

173<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


174 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

ขน (hairs)<br />

ขนรูปดาว : Bombacaceae Hamamelidaceae Malvaceae Sterculiaceae Tiliaceae และพบอยู่ในวงศ์อื ่น ๆ<br />

เช่น Compositae Euphorbiaceae Guttiferae Meliaceae Rutaceae Tumeraceae Verbenaceae<br />

ขนแตกกิ ่งก้าน : Malpighiaceae Leguminsae (Indigofera) Compositae (บางชนิด)<br />

ขนระคายเคืองต่อผิวหนัง : Urticacee (ส่วนมาก) Euphorbiaceae (Megistostigma)<br />

ใบแห้งเมื ่อหักผ่านเส้นกลางใบและฉีกออก มักมีเส้นใย ได้แก่ สมาชิกหลายชนิดในวงศ์ Celastraceae<br />

(รวมทั้งวงศ์ Hippocrateaceae) วงศ์ Cornaceae (บางชนิด) Anacardiaceae (บางชนิด)<br />

ใบมีเส้นใบหลัก 3 เส้นออกจากโคนใบ (ได้แก่ เส้นกลางใบและเส้นใบ 2 เส้นออกด้านข้าง) ได้แก่<br />

วงศ์ Loganiaceae (Strychnos) Melastomataceae Tiliaceae (Grewia) Ulmaceae (บางชนิด) และ Urticaceae<br />

ก้านใบป่องที ่ปลายและที่โคน พบบ่อยในวงศ์ ที่ใบเป็นใบประกอบ ได้แก่ Bombacaceae Malvaceae<br />

Sterculiaceae Tiliaceae Elaeocarpaceae Euphorbiaceae Flacourtiaceae Bixaceae Violaceae Menispermaceae<br />

Marantaceae Araceae<br />

ก้านใบมีกาบ (sheath) ที่โคน ได้แก่ พืชใบเลี้ยงเดี ่ยวหลายชนิด Polygonaceae Compositae (บางชนิด)<br />

Umbelliferae (บางชนิด)<br />

กลีบดอก (petals)<br />

วงกลีบดอกเรียงเป็น 3 ได้แก่ พืชพวกใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocotyledons) Annonaceae Aristolochiaceae<br />

Berberidaceae Lauraceae Menispermaceae Myristicaceae<br />

รังไข่ (ovary)<br />

รังไข่มี 3 ช่อง ได้แก่ พืชพวกใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocotyledons) Violaceae Euphorbiaceae Celastraceae<br />

(รวมทั้ง Hippocrateaceae) (บางชนิด) Meliaceae (บางชนิด) Sapindaceae (หลายชนิด) มีพบกระจายในวงศ์อื่น ๆ<br />

เช่น Flacourtiaceae (Caseria) Guttiferae (Cratoxylum)<br />

รังไข่ (หรือผล) เกิดอยู่บนก้านยาว (gynophore) ซึ่งมักจะยาวกว่าวงกลีบ ได้แก่ วงศ์ Capparaceae<br />

Leguminosae (บางชนิด) Passifloracee (บางชนิด)<br />

อับเรณู (anthers)<br />

อับเรณูชิดกัน หรือเชื ่อมติดกัน ได้แก่ วงศ์ Apocynaceae (หลายชนิด) Asclepiadaceae Compositae<br />

Lobeliaceae Rubiaceae (Argostemma) Solanaceae (Solanum)<br />

ผล (fruit)<br />

ผลมปีก ได้แก่ วงศ์ Combretaceae Malpighiaceae Polygalaceae (Securidaca) Sapindaceae Leguminosae<br />

(เช่น Pterocarpus) Dipterocarpaceae Simaroubaceat Ulmaceae (Ulmus) Aceraceae Sterculiaceae (บางชนิด)<br />

เมล็ด (seed)<br />

เมล็ดมีปีก ได้แก่ วงศ์ Apocynaceae (Plumeria) Leguminosae (Mimosoideae มี 3-2 ชนิด) Bignoniaceae<br />

(ส่วนมาก) Rubiaceae (Cinchona) Celastraceae (บางชนิด) Oleaceae (Schrebera)<br />

เมล็ดมีขน หรือมีปุกขน ได้แก่ วงศ์ Apocynaceae (หลายชนิด) Asclepiadaceae Bombaceae Compositae<br />

(หลายชนิด) Malvaceae (หลายชนิด) Ranunculaceae (Clematis) Salicaceae<br />

175<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


่<br />

176 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

ภาคผนวกที ่ 3<br />

กลุ่มวงศ์พืชที่มีลักษณะคล้ายกัน<br />

กลุ่มวงศ์พืชที่มีความคล้ายคลึงกันที่ลักษณะบางอย่าง กล่าวคือเมื ่อดูลักษณะชนิดพืชแล้วมักจะสับสน ไม่<br />

สามารถตัดสินได้ว่าพืชนั้น ๆ อยู่ในวงศ์ใดแน่ ดังนั้นจึงจัดรวมกลุ่มวงศ์พืชเหล่านี้ไว้ด้วยกัน และจำต้องพิจารณา<br />

ลักษณะต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการจำแนก ซึ่งลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้เป็นลักษณะที่สังเกตเห็นได้ง่าย หรือบาง<br />

ครั้งอาจต้องใช้เลนส์ขยาย ประมาณ 10 เท่า แต่ในที่นี้จะไม่กล่าวถึงลักษณะทั้งหมดของทั้งวงศ์ เพียงแต่จะชี้ให้เห็น<br />

ลักษณะแตกต่างของกลุ่มวงศ์พืชที่สับสนนั้น ๆ เท่านั้น ถ้าต้องการดูลักษณะประจำวงศ์พืช ก็อาจจะหาเอกสารดูได้<br />

เอกสารเหล่านี้ได้กล่าวไว้ในบทที ่ 6<br />

ในที่นี้จะยกวงศ์พืชที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันออกมาเป็นกลุ่ม ๆ โดยจะเลือกเอากลุ่มวงศ์พืชที่มักพบเสมอ<br />

ๆ แล้วจะบอกลักษณะของพืชที่แตกต่างกัน<br />

กลุ่มพืชที ่มีมือพัน (tendril)<br />

วงศ์ฟัก, แตง Cucurbitaceae – มีมือจับออกตามข้างใบ คือตรงที่อยู่ของหูใบ ผิวใบมักจะหยาบ ดอกส่วน<br />

มากเป็นดอกเพศเดียว รังไข่ติดใต้ส่วนต่าง ๆ ของกลีบดอก (inferior ovary)<br />

วงศ์กระทกรก Passifloraceae - มีมือจับออกตามง่ามใบ (เป็นช่อดอกที ่ดัดแปลงมา) ใบส่วนมากจะมีต่อม<br />

บนใบและบนก้านใบ หรือมีอยู่บนก้านใบที ่เดียว ดอกมักเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มักมี corona รังไข่ติดอยู่เหนือส่วน<br />

ต่าง ๆ ของกลีบดอก (superior ovary) มักติดอยู่บนก้านชู (gynophore) เมล็ดมี pitted testa<br />

วงศ์องุ่น Vitaceae –มีมือจับอยู่ตรงข้ามก้านใบ บางครั้งที ่ปลายจะเป็น disclike sucker ดอกมีขนาดเล็ก<br />

เป็นดอกสมบูรณ์เพศ หรือดอกเพศเดียว<br />

---------------------<br />

วงศ์ชบา Malvaceae – บางทีมี epicalyx เกสรเพศผู้มีจำนวนมากเชื ่อมติดกันเป็นหลอด อับเรณูมีช่องเดียว<br />

(unilocular)<br />

วงศ์สำโรง Sterculiaceae – เกสรเพศผู้ปลอมวงนอกอาจมีหรือไม่มี เกสรเพศผู้จำนวนน้อยกว่า อับเรณูมี<br />

2 ช่อง กลีบดอกมักจะติดแน่น<br />

วงศ์ปอกระเจา Tiliaceae – เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก แยกจากกันเป็นอิสระ หรือ โคนเชื่อมกันเป็นมัด ๆ มี<br />

10-5 มัด อับเรณูมี 2 ช่อง<br />

---------------------<br />

วงศ์ลำไย Sapindaceae – บางครั้งพบเป็นไม้เลื้อยมีมือจับ ดอกบางครั้งเป็นดอกผิดธรรมดา กลีบเลี้ยงมัก<br />

จะแยกจากกัน จานดอก extrastaminal บางครั้ง unilateral กลีบดอกมักจะเป็นเกล็ดหรือเป็นระยางค์ที ่เป็นต่อมที<br />

โคนด้นใน รังไข่มักเป็น 3 ห้อง ผลมีหลากหลาย เมล็ดมักมีเนื้อ<br />

วงศ์มะม่วง Anacardiaceae – ลำต้น โดยเฉพาะที ่เปลือกมีนำ้ำยาง ดอกมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกแยก<br />

177<br />

เพศ จานดอกเป็น intrastaminal ก้านเกสรเพศเมีย มีหนึ่งหรือ 6-2 ก้าน จะแยกจากกัน และบางครั้งห่างกันมาก<br />

รังไข่มี 1 ห้อง ผลสด บางทีมีปีก<br />

วงศ์มะเกิ้ม Burseraceae – ลำต้นโดยเฉพาะที่เปลือกมีนำ้ำมันหอมระเหยหรือนำ้ำมัน เปลือกมักจะบางและ<br />

หลุดง่าย มักมีหนามและช่อดอก มักจะหนาแน่นที ่ปลายกิ่ง ดอกมักเป็นดอกแยกเพศ กลีบเลี้ยงค่อนข้างเชื ่อมติดกัน<br />

ที่โคน จานดอกเป็นวงแหวนหรือรุปถ้วย ก้านเกสรเพศเมียธรรมดา ผลสดหรือบางครั้งพบผลแห้ง<br />

---------------------<br />

วงศ์ลั่นทม Apocynaceae – กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ ไม่มี corona เกสรเพศผู้ epipetalous อับเรณู<br />

แยกจากกันเป็นอิสระ หรือ อาจเชื่อมกันแต่ไม่เชื<br />

่อมกับก้านเกสรเพศเมีย ละอองเรณูเป็น gramular หรือบางครั้งพบ<br />

เป็น 4 (tetrads) รังไข่ติดเหนือส่วนต่าง ๆของดอก ผลเป็นผลสดมีเมล็ดจำนวนมาก (berry) หรือผลสดมีเมล็ดเดียว<br />

(drupe) หรือเป็นผลแห้งแบบ follicle เมล็ดไม่มีขนปุย หรือถ้ามีก็จะติดอยู่ที่ปลายด้านใดด้านหนึ<br />

่งหรือที่ปลายทั้งสอง<br />

ด้าน<br />

วงศ์ไฟเดือนห้า Asclepiadaceae – กลีบดอกแยกกันเป็นรูปวงล้อ (rotate) มี (corona) อับเรณูเชื่อมกันและ<br />

เชื่อมติดกับก้านเกสรเพศเมียด้วย (ที่เรารู้จักกันว่า gynostigma) ก้านเกสรเพศผู้สั้น หรือไม่มีเลย รังไข่ติดอยู่เหนือ<br />

ส่วนต่าง ๆของกลีบดอก หรือติดค่อนข้างจะใต้กลีบดอก (Semiinferior) ละอองเรณูติดกันเป็นก้อน (pollinium) ผล<br />

เป็นผลแห้งแบบ follicle ผลมักมีปุยขนที่ปลายด้านใดด้านหนึ<br />

่งเพียงด้านเดียว<br />

---------------------<br />

วงศ์เข็ม Rubiaceae – มักมีหูใบ รังไข่ติดอยู่ใต้ส่วนต่าง ๆ ของกลีบดอก บางครั้งติดอยู่เหนือส่วนต่าง ๆ<br />

ของดอกก็มีบ้าง<br />

วงศ์กันเกรา Loganiaceae – ไม่มีหูใบ หรือ บางทีพบว่ามีรังไข่ติดอยู่เหนือส่วนต่าง ๆ ของดอก หรือบาง<br />

ครั้งพบติดอยู่เกือบใต้กลีบดอก<br />

วงศ์ลั่นทม Apocynaceae – รังไข่ติดเหนือส่วนต่าง ๆของดอก อับเรณูเชื ่อมติดกัน เมล็ดบางทีมีปุยขน<br />

---------------------<br />

วงศ์ Campanulaceae – ใบติดสลับ กลีบดอกมักจะเชื ่อมติดกันแต่ไม่เสมอไป รังไข่ติดอยู่ใต้วงกลีบ หรือ<br />

กึ่งกลางวงกลีบ อับเรณูแยกกัน หรือเชื่อมติดกัน โคนของเกสรเพศผู้แผ่กว้างออก ทำให้ดูเหมือนเป็นโคนอยู่เหนือ<br />

จานดอก<br />

วงศ์ Lobeliaceae – ใบติดสลับ กลีบดอกเป็นแบบ zygomorphic มักจะแยกออก (splitting) รังไข่ติดอยู่ใต้วง<br />

กลีบ อับเรณูเชื ่อมติดกันรอบ ๆก้านเกสรเพศเมีย HHo<br />

วงศ์แวววิเชียร Scrophulariaceae – ใบติดสลับหรือตรงข้าม กลีบดอกเป็นแบบ zygomorphic รังไข่ติดเหนือ<br />

วงกลีบ อับเรณูมักจะแยกจากกัน<br />

---------------------<br />

วงศ์กะเพรา, โหระพา Labiatae – มักเป็นพวก herbaceous พืชล้มลุก ใบเดี่ยว กลีบดอกเป็นแบบ<br />

zygomorphic อย่างชัดเจน มักเป็นแบบสองลิ้น (bilabiate) ก้านเกสรเพศเมียเป็น gynobasic ผลเป็น 4 nutlet<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


่<br />

่<br />

178 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

วงศ์สัก Verbenaceae – เป็นพืชพวก herbaceous ล้มลุก หรือพวกเนื้อแข็ง ใบเดี่ยว หรือใบประกอบ กลีบ<br />

ดอกจะเป็น zygomorphic เพียงเล็กน้อยจนถึงอย่างชัดเจนแต่ไม่ค่อยพบเป็นแบบ bilabiate ก้านเกสรเพศเมียติดที<br />

ปลายรังไข่ หรือติดอยู่ระหว่างพูของรังไข่ ผลมักจะเป็นผลสด<br />

---------------------<br />

วงศ์เหงือกปลาหมอ Acanthaceae – ใบติดตรงข้าม ลำต้นตรงที ่เหนือข้อมักจะบวมพอง แต่เมื่อแห้งจะหด<br />

งอรัดอย่างเป็นได้ชัด มักมีผลึก (cystolith) เป็น grainy streak ในใบ ช่อดอกมักมีใบประดับย่อย ผลแห้งมีจงอยและ<br />

แตกจากยอดลงมา เมล็ดมักจะเกิดบนโครงสร้างที ่คล้ายตะขอ<br />

วงศ์ Scrophulariaceae – ประมาณ 1 ใน 3 ของพืชวงศ์นี้เป็นพืชกึ่งพาราไซต์ พืชวงศ์นี้เมื่อแห้งจะเปลี<br />

่ยน<br />

เป็นสีค่อนข้างดำ ใบติดตรงข้าม หรือติดสลับ กลีบเลี้ยงมักจะจักลึกเป็นพู ผลแห้งมีเมล็ดจำนวนมาก ผลมักจะยาว<br />

กว่ากลีบเลี้ยง<br />

วงศ์ใบกำมะหยี ่ Gesneriaceae – ใบติดตรงข้าม (ใบที่ติดอยู่คู่กันมักจะมีขนาดไม่เท่ากัน (anisophyllous)<br />

หรือพบบ่อย ๆ ที่ติดเป็นกอ (rosettes) อับเรณูติดเป็นคู่หรือติดกันทั้งหมดเป็น 4 รังไข่ติดอยู่เหนือวงกลีบ หรือใต้วง<br />

กลีบ รังไข่มักจะยาวออก ผลแห้งมีเมล็ดจำนวนมาก<br />

วงศ์กะเพราะ โหระพา Labiatae – ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม ใบติดตรงข้าม พืชวงศ์นี้จะมีต่อมกลิ่น กลีบเลี้ยงมัก<br />

จะเชื่อมเป็นท่อ ปลายมักแยกเป็น 2 ปาก (bilabiate) ก้านเกสรเพศเมียเกิดขึ้นจากโคนของรังไข่ (gynobasic) ผลที<br />

เป็น 4 nutlet ซ่อนอยู่ในท่อกลีบเลี้ยง<br />

---------------------<br />

วงศ์กก Cyperaceae – ลำต้นมักเป็นแท่งสามเหลี ่ยม มักจะตัน และมักจะ unjointed ใต้ช่อดอก ใบส่วนมาก<br />

จะขึ้นเป็นกอจากดิน หรือขึ้นใกล้ ๆโคนต้น ก้านใบมักจะปิด ไม่มี ligule ผลเป็นแบบคล้าย nut มี 1 เมล็ด ดอกจะอัด<br />

แน่นเป็นแบบ spike แต่ละดอกประกอบด้วยเพศผู้และเพศเมีย รองรับด้วยใบประดับซึ ่งมีลักษณะคล้ายเกล็ด เรียก<br />

ว่า glume ไม่มีวงกลีบดอกรือบางทีก็เป็นคล้ายหนาม<br />

วงศ์ Juncaceae – ลำต้นเป็นแท่งสี่เหลี<br />

่ยม มักจะตัน ใบเกิดที่โคนต้นขึ้นเป็นกอ ใบคล้ายหญ้า เป็นแท่งทรง<br />

กระบอกหรือลดรูปลงเป็นเกล็ด กาบใบเปิดหรือปิด ไม่มี ligule ผลแห้งแก่แตก มีเมล็ด 3 ถึงจำนวนมาก<br />

ดอกเกิดเป็นช่อกระจายแบบ panicles, corymbs หรือ เกิดเป็นกระจุก แต่ไม่เป็นแบบ spikelet ดอกเป็น<br />

ดอกสมบูรณ์เพศ ประกอบด้วยส่วนของกลีบดอกซึ่งลดรูปลวดลายเกล็ด 6 อัน ซึ่งจัดเป็น 1 หรือ 2 วง มีวงละ<br />

3 กลีบ เกสรเพศผู้มี 6-3 อัน<br />

วงศ์แส้ม้าฮ่อ Restionaceae - ลำต้นเป็นลำต้นตรงหรือแตกกิ่งก้าน รูปสี่เหลี<br />

่ยมหรือแบบมีข้อ ตันหรือ<br />

กลวง ใบส่วนมากจะลดรูปลงเป็นกาบซึ ่งมีในลดรูปเป็นเกล็ด ส่วนมากไม่มี ligule ผลคล้าย nut หรือเป็นผลแห้ง<br />

สามเหลี่ยม มีเมล็ด 3-1 เมล็ด<br />

ดอกอยู่เป็นกลุ่มแบบ spikelet ดอกแยกเพศ ประกอบด้วยส่วนของกลีบดอกที่ลดลงเป็นเกล็ด 6 ส่วนจัด<br />

เป็น 2-1 วง วงละ 3 เกล็ด เกสรเพศผู้มี 3<br />

วงศ์ญ้า Poaceae – ลำต้นกลม มักจะกลวง แต่ตรงข้อตัน ใบเรียงเป็น 2 แถว หรือเกิดจากโคนเป็นกอ<br />

ภายในมีขอบที ่แยกจากกันและซ้อนกัน ไม่มี ligule ผลมี 1 เมล็ด แก่ไม่แตก เรียกว่า caryopsis<br />

ดอกลดรูปลงเป็น 2 ถึง 3 เหล็ด ล้อมรอบเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย หรือล้อมรอบเกสรเพศเมียแล้วอยู่<br />

เป็นกลุ่มแบบ spikeler ซึ่งมีเกล็ดพิเศษที่รองรับดอกย่อยเหล่านี้ไว้ ช่อดอกมักจะรวมก้านเป็นช่อกระจายแบบ<br />

panicles หรือ raceme บางทีพบออกเดี ่ยว ๆ รังไข่มียอดเกสรเพศเมีย 3-2 อัน คล้ายขนนก เกสรเพศผู้มี 6-3 อัน<br />

บางทีพบมากกว่า<br />

---------------------<br />

วงศ์กระดุมเงิน Eriocaulacee – ใบคล้ายใบหญ้า ออกสลับเป็นกอที ่โคน ช่อดอกไม่ล้อมรอบด้วยวงกลีบ<br />

ประดับ รังไข่ติดอยู่เหนือวงกลีบดอก ส่วนต่าง ๆ ของดอกมีเป็น 3 น้อยครั้งที ่เป็น 2 พืชนี้มักจะขึ้นในที ่ชื้น<br />

วงศ์ทานตะวัน Compositae – ใบไม้เหมือนพวกวงศ์หญ้า ช่อดอกล้อมรอบด้วยวงกลีบประดับ รังไข่ติดอยู่<br />

ใต้วงกลีบ<br />

---------------------<br />

วงศ์ขิง Zingiberaceae – ใบเกิดบนก้านใบธรรมดา distichous มีกลิ่นหอม<br />

วงศ์ Marantaceae – ใบเกิดบนก้านใบที ่บวมพองที่ปลายชัดเจน ไม่มีกลิ่น<br />

---------------------<br />

วงศ์ปรง Cycadaceae – พืชไม่มีเรือนยอด (crown) และดอกที ่แท้จริง ใบไม่พับจีบ ใบใหม่เกิดรอบข้อ หลาย<br />

ใบในข้อเดียวกัน อวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้เป็นรูปโคน อวัยวะสืบพันธุ์เพศเมียคล้ายกัน หรือเกิดที่ปลายยอดของลำต้น<br />

วงศ์ปาล์ม Palmae – พืชมีเรือนยอด และดอกที่แท้จริง ใบ พับจีบ ใบใหม่เกิดขึ้นทีละใบ ดอกเป็นดอกเดียว<br />

หรือแตกกิ ่งก้านสาขา บางทีเกิดเป็นช่อ ไม่เกิดที่โคน<br />

---------------------<br />

วงศ์มะเมื่อย Gnetceae – มักเป็นไม้เลื้อย ไม่ผลัดใบ ใบออกแบบ decussate ช่อดอกเป็น spike-like เรียง<br />

แบบ whorl แต่ละ whorl รองรับด้วย fleshy collar<br />

พวกพืชใบเลี้ยงคู่ที ่วงกลีบลดรูป – ไม่ผลัดใบหรือผลัดใบ ใบออกสลับหรือ decussate ช่อดอกไม่เหมือนพืช<br />

วงศ์ Gnetaceae มักจะไม่มีก้านดอกหรือก็เป็นแบบ catkins<br />

---------------------<br />

179<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


180 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

คำแปลศัพทพฤกษศาสตร์*<br />

GLOSSARY OF BOTANICAL TERMS**<br />

abaxial ไกลแกน เป็นด้านที ่หันออกจากลำต้น หรือแกนหลัก ตัวอย่างเช่น ด้านล่างของใบ<br />

abortion ฝ่อ<br />

acaulescent ไม่มีลำต้น โดยมีลำต้นหลักอยู่ใต้ดิน มีใบและดอกแทงขึ้นเหนือดิน<br />

accrescent ขนาดใหญ่ขึ้นเมื ่อดอกบาน<br />

achene ผลแห้งเมล็ดล่อน เป็นชนิดหนึ่งของผลแห้ง มีขนาดเล็ก เมล็ดเดียว เมื ่อแก่ไม่แตก<br />

acicular รูปเข็ม<br />

actinomorphic flower ดอกสมมาตรตามรัศมี (เหมือน regular flowers)<br />

aculeate มีหนามแหลม (จากผิว)<br />

aculeolate มีหนามขนาดเล็ก<br />

acuminate เรียวแหลม<br />

acute แหลม โดยที ่ปลายชนกันเป็นมุมแหลม<br />

adaxial ใกล้แกน เป็นด้านที ่หันเข้าหาลำต้น หรือแกนหลัก (ดู abaxial ประกอบ)<br />

adherent ชิดกันของโครงสร้างต่างกัน แต่ไม่ได้เชื ่อมติดกันอย่างแท้จริง (ดู adnate และ coherent ประกอบ)<br />

adnate เชื่อมติดกันของโครงสร้างต่างกัน เช่น เกสรเพศผู้เชื่อมติดกับกลีบดอก (ดู adherent และ connate ประกอบ)<br />

adventilious buds ตาพิเศษ คือตาที่เกิดขึ้นที่อื่น ๆ ไม่ใช่ตามที ่เกิดที ่ตามง่ามใบ หรือปลายยอดของกิ ่ง<br />

aestivation การเรียงของกลีบในตาดอก<br />

alternate ติดเรียงสลับ<br />

amentiferous มีช่อดอกแบบหางกระรอก<br />

amplexicaul หุ้มลำต้น เช่น โคนของใบหุ้มลำต้น<br />

androecium วงเกสรเพศผู้<br />

androgynophore ก้านเกสรร่วม เป็นก้านที ่เจริญมาจากฐานดอก เป็นที ่ติดของทั้งเกสรเพศผู้และเพศเมีย<br />

anemophilous ผสมพันธุ์โดยอาศัยลม<br />

anisphyllous ใบคู่หนึ่งที่มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกัน<br />

annual พืชฤดูเดียว<br />

anterior ด้านหน้า<br />

anther อับเรณู เป็นส่วนหนึ ่งของเกสรเพศผู้ ภายในมีละอองเรณู ส่วนมากแบ่งเป็นสองพู (เซลล์)<br />

apiculate ปลายเป็นติ่งแหลม<br />

apocarpous คาร์เพลแยก<br />

appressed แบนราบ<br />

aril เนื้อหุ้มเมล็ด มักจะเกิดจากก้านเมล็ด หรือก้านไข่ (funicle)<br />

aristate แหลมแข็ง<br />

articulated เป็นข้อ<br />

auriculate รูปติ่งหู<br />

awn หนามที่ปลายอวัยวะ ซึ ่งต่อไปจะเป็นหนามแข็ง<br />

axil ง่าม<br />

axil placentation การติดของไข่บนแกนของรังไข่ หรือติดตรงมุมในของคาร์เพลที ่เชื่อมติดกัน<br />

axillary ตามง่ามใบหรือง่ามกิ่ง<br />

axis แกน (ดอก) เป็นส่วนของลำต้นหรือกิ ่งที่ดอกเกิด<br />

baccate คล้ายผลมีเนื้อ หลายเมล็ด (berry-like) เช่น ผลกล้วย<br />

barbed ขนขอ หรือ หนามขอ<br />

barbellate ขนขอสั้น หรือ หนามขอสั้น<br />

basifixed ติดที่ฐาน<br />

bearded มีขนที ่เครา<br />

berry ผลมีเนื้อเมล็ดมาก เช่น มะเขือเทศ<br />

biennial พืชสองฤดู<br />

bifid สองแฉก<br />

bifoliate มี 2 ใบ<br />

bifoliolate ใบประกอบที่มีใบย่อย 2 ใบ<br />

bilabiate รูปปากเปิด ประกอบด้วยปากบนและปากล่าง เมื ่อกลีบเลี้ยงหรือกลีบดอกเชื ่อมติดกัน<br />

181<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


182 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

bilocular มี 2 ช่อง<br />

bipinnate ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น<br />

bisexual สมบูรณ์เพศ<br />

blade ส่วนที ่ขยายออกเป็นแผ่น เช่น แผ่นใบ แผ่นกลีบเลี้ยง แผ่นกลีบดอก ฯลฯ<br />

bract ใบประดับ<br />

bracteole ใบประดับย่อย<br />

bullate ผิวใบที่ยกขึ้นระหว่างเส้นใบ<br />

caduceus หลุดร่วง<br />

caespitose เป็นกระจุก เป็นกอ<br />

calyculate มีริ้วประดับ ล้อมรอบกลีบเลี้ยง ดูคล้ายเป็นชั้นนอกของกลีบเลี้ยง<br />

calyptra หมวกที ่ปกคลุมดอก หรือผล<br />

calyx กลีบเลี้ยง กลีบนอกกลีบแรกของดอก อาจแยกจากกัน หรือเชื่อมติดกัน<br />

calyx-tube ท่อหรือหลอดกลีบเลี้ยง เมื่อกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน โคนจะเชื่อมติดกันเป็นท่อหรือหลอด ส่วนบนจะ<br />

แยกออกเป็นกลีบ เป็นซี่ฟัน หรือเป็นแฉก<br />

campanulate รูประฆัง<br />

canescent ขนสั้นสีเทา<br />

capitate 1. ก้อนกลมคล้ายหัวเข็มหมุด เช่น ยอดเกสรเพศเมีย<br />

2. กระจุกของดอกพืชวงศ์ทานตะวัน Compositae<br />

capsule ผลแห้งแตกประกอบด้วยสองคาร์เพล หรือ มากกว่า คาร์เพลเชื่อมติดกัน เมื่อแก่จะแตกเป็นเสี<br />

่ยง ๆ<br />

เรียกว่า valves (ลิ้น)<br />

carpel เป็นหน่วยของดอกที ่ประกอบด้วยรังไข่ และยอดเกสรเพศเมีย ซึ่งมีต้นกำเนิดจากใบ 1 ใบ รังไข่จะมีไข่หนึ่ง<br />

หรือมากกว่าก็ได้ หนึ ่งหน่วยนี้ เรียกว่า คาร์เพล ดอกหนึ่งอาจมีหนึ่งคาร์เพล หรือมากกว่าหนึ ่ง และ<br />

คาร์เพลนี้อาจจะแยกจากกัน (apocarpous) หรือเชื ่อมติดกัน (syncarpous)<br />

carpophore ฐานดอกที ่ยาวขึ้นชูคาร์เพลหรือรังไข่ เช่น พืชในวงศ์ Ranunculaceae<br />

caruncle ปุ่มเนื้อใกล้ ๆ micropyle ของเมล็ด (ดู aril และ strophiole ประกอบ)<br />

catkin ช่อดอกห้อยลงแบบหางกระรอก<br />

caudate ยาวคล้ายหาง<br />

caudicle ก้านกลุ่มเรณู ในพวกกล้วยไม้ (orchids)<br />

cauliforous ออกดอกตามลำต้น (ดู ramiflorus ประกอบ)<br />

cauline เกิดขึ้นจากลำต้น<br />

cell 1. ช่องว่างในรังไข่<br />

2. อับเรณูที ่แยกออกเป็นเซลล์ มักมีเซลล์เดียวหรือสองเซลล์<br />

ciliate ขนครุยที่ขอบ<br />

circinate ปลายม้วน เช่น ใบอ่อนของพวก fern<br />

circumscissile แตกรอบตามขวาง ส่วนบนเปิดออกคล้ายฝา<br />

clavate รูปคล้ายกระบอง หรือหนาขึ้นไปยังปลาย<br />

claw ก้านกลีบดอก<br />

cleistogamous ผสมพันธุ์เมื ่อดอกยังตูม<br />

climber ไม้เถา ไม้เลื้อย<br />

coccus ส่วนที่แยกออกไปของผลที<br />

่เป็นพู<br />

coherent ชิดกันของโครงสร้างเดียวกัน แต่ไม่เชื ่อมติดกัน (ดู connate ประกอบ)<br />

column ก้านเกสรที่เชื่อมติดกัน ลักษณะที่เป็นแท่งเป็นหลอด หรือเป็นลำ<br />

1. ในกล้วยไม้ เกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียเชื่อมกันเป็นแกนกลางของดอก เรียกว่า เส้าเกสร<br />

2. ท่อของก้านเกสรเพศผู้ที ่เชื่อมติดกัน เช่นในพืชวงศ์ Malvaceae<br />

doma กระจุกขนที ่ปลายของเมล็ดพืชบางชนิด<br />

ommissure แนวเชื่อม เช่น แนวที ่คาร์เพลเชื่อมติดกัน<br />

dompound leaves ใบประกอบ<br />

dompressed แบนทางด้านข้าง (laterally) หรือแบนทางด้านล่าง (dorsally)<br />

donduplicate พับหากัน<br />

donnate เชื ่อมติดของโครงสร้างเดียวกัน เช่น เกสรเพศผู้เชื ่อมติดกันเป็นท่อ<br />

donnective เนื้อเยื ่อที่เชื่อมเซลล์สองเซลล์ของอับเรณู บางครั้งจะยืดยาวออกไปเป็นระยางค์<br />

donnivent รวมด้วยกัน หรือเบนเข้าหากัน เช่น กลีบดอกชิดติดกันที่ปลายบน<br />

dontorted บิดเวียน<br />

dordate รูปหัวใจ โคนค่อนข้างเป็นพูกลมทำให้เกิดช่อง<br />

183<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


184 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

doriaceous หนาคล้ายหนัง<br />

corm หัวแบบเผือก อยู่ใต้ดิน<br />

dorolla กลีบดอก อาจแยกจากกันเป็นอิสระ (polypetalous) หรือเชื่อมติดกัน (grmopetalous)<br />

dorona รยางค์ที่เชื่อมระหว่างกลีบดอกและกสรเพศผู้ หรือระหว่างเกสรเพศผู้และรังไข่ มักจะเชื่อมติดกันเป็นวง<br />

หรือเป็นมงกุฎ เช่น ในพืชวงศ์ Passifloraceae และ Asclepiadaceae<br />

dorymb ช่อเชิงหลั่น เป็นช่อดอกที ่ยอดค่อนข้างแบน โดยก้านดอกย่อยจะเกิดขึ้นที่ตำแหน่งต่าง ๆ บนแกน แต่<br />

ทุกก้านจะเจริญไปที่ระดับเดียวกัน ดอกด้านนอกสุดบานก่อน<br />

dotyledon ใบเลี้ยง<br />

drenate หยักมน<br />

dulm ลำต้นของหญ้า<br />

duneate สอบแคบเป็นรูปลิ่ม<br />

durvinerved ใบที่มีเส้นใบ 4 ,2 เส้น หรือมากกว่า ออกจากโคนใบไปยังปลายใบ เช่น ในพืชวงศ์Melastormataceae<br />

duspidate ติ่งแหลม<br />

dyme ช่อกระจุก เป็นช่อดอกชนิดที่ดอกตรงกลางบานก่อน ช่อดอกที ่ปลายค่อนข้างกลมหรือแบน<br />

dystolith ผนังของเซลล์ที่เจริญขึ้น มักจะมีแตลเซี ่ยมคาร์บอเนต (ดู furuncle ประกอบ)<br />

deciduous ผลัดใบ ร่วง<br />

declinate โค้งลงมาก<br />

decurrent ครีบก้านใบ ขอบใบที ่ยาวไปตามก้านใบคล้ายเป็นปีกแคบ<br />

decussate ใบเรียงตรงข้ามและแต่ละคู่ตั้งฉากกัน เป็นการจัดเรียงตัวแบบหนึ ่งของใบ<br />

dehiscent แก่แตก<br />

deltoid รูปสามเหลี ่ยม<br />

dentate ซี ่ฟัน<br />

depressed แบนจากด้านบน<br />

diadelphous เกสรเพศผู้เชื ่อมติดกันเป็น 2 กลุ่ม เช่น พืชอนุวงศ์ Papilionoideae เกสรเพศผู้มี 10 อัน เชื่อมติดกัน<br />

9 อัน อีก 1 อันแยก<br />

dichotomous แตกเป็น 2<br />

didymous อยู่เป็นคู่<br />

didynamous มีสองคู่ยาวไม่เท่ากัน เช่น เกสรเพศผู้มี 4 ยาว 2 สั้น 2<br />

digitate ใบประกอบรูปนิ้วมือ ใบย่อยออกจากจุดเดียวกัน เช่น พวกงิ้ว (Ceiba) (เหมือน palmate)<br />

dimorphic มีรูปร่าง 2 แบบ<br />

dioecious ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น พืชที่มีดอกเพศผู้อยู่ต้นหนึ<br />

่ง และดอกเพศเมียอยู่อีกต้นหนึ่ง<br />

disc จานดอก เป็นเนื้อเยื่อที่เจริญขึ้นมาระหว่างกลีบดอกและเกสรเพศผู้ มักจะเป็นวง ถ้วย หรือหมอน อาจจะ<br />

เป็นพู หรือแยกเป็นต่อม (disc-glands) ซึ ่งบางครั้งเข้าใจว่าเป็นเกสรเพศผู้ที ่เป็นหมัน<br />

discoid 1. คล้ายจาน<br />

2. ดอกกระจุก ของพืชวงศ์ Compositae ที ่ไม่มีดอกวงนอก (ray-flowers) มีแต่ดอกวงใน (disc-flowers)<br />

dissepiment ผนังกั้น<br />

distal ด้านปลาย ตรงข้ามกับ proximal (ด้านโคน)<br />

distichous สลับระนาบเดียว การเรียงตัวของใบสลับกันอยู่ในระนาบเดียวกัน<br />

distinct แยก แยกกันเห็นชัดเจนของอวัยวะเดียวกัน<br />

divaricate ถ่างมาก แยกออกจากกันมาก ๆ<br />

dorsal ด้านหลัง หรือผิวด้านนอกของอวัยวะ เช่น ด้านล่างของใบ ตรงข้ามกับ ventral (ด้านบน)<br />

dorsifixed ก้านเกสรเพศผู้ติดด้านหลังอับเรณู<br />

drupe ผลมีเนื้อเมล็ดแข็ง<br />

echinate มีหนามแข็ง<br />

elaiosome รยางค์นุ่มที ่ขั้วเมล็ด พบในพืชบางชนิด ซึ ่งรยางค์นี้มีไขมันมาก elaiosome นี้มี 3 ชนิด คือ carunculas<br />

เจริญมาจาก micropyle, strophiolas เจริญมาจาก hilum ที่ปลายอีกด้านหนึ่งของเมล็ด, arils เจริญมา<br />

จาก funicle ใต้เมล็ด elaiosome นี้มีหน้าที่กระจายพันธุ์ของเมล็ด โดยมีมดเป็นพาหะ<br />

ellipsoid ทรงรี<br />

elliptic รูปรี แหลมหรือกลมทั้งสองปลาย ความยาวเป็น 2-1.5 เท่า ของความกว้าง โดยทั้งสองด้านเริ ่มโค้งไปจาก<br />

ตอนกลาง<br />

emarginated เว้าที่ปลาย<br />

embryo เอมไบรโอ พืชที่ยังไม่เจริญ อยู่ในเมล็ด<br />

endemic พืชถิ่นเดียว พืชเฉพาะถิ่น ไม่เป็นพืชพื้นเมืองของที่อื่น<br />

endocarp ผนังผลขั้นใน เป็นชั้นในสุดของผนังผล (pericarp)<br />

185<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


186 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

endosperm แหล่งสะสมอาหารในถุงเอมไบรโอ พบในเมล็ดพืฃหลายชนิด มักจะล้อมรอบเอมไบรโอ เช่น เมล็ดข้าว<br />

และมะพร้าว<br />

entire ขอบเรียบ<br />

epigynous flower ดอกที่กลีบเลี้ยง กลีบดอก และเกสรเพศผู้ติดเหนือรังไข่<br />

epipetalous บนกลีบดอก<br />

epiphyte พืชอิงอาศัย พืชที่ขึ้นอยู่บนพืชอื่นแต่ไม่เบียดเบียนอาหาร เช่น พืชที่ขึ้นบนผิวหน้าหินโดยไม่ได้ส่งราก<br />

ลงไปตามรอยแตก เรียกพืชพวกนี้ว่า lithophytes (พืชชอบขึ้นบนหิน)<br />

exocarp ผนังผลชั้นนอกเป็นผนังชั้นนอกสุดของผนังผล (pericarp)<br />

exserted โผล่ ยื่น เช่น เกสรเพศผู้โผล่พ้นวงกลีบ<br />

exstipulate ไม่มีหูใบ<br />

extra-axillary เกิดนอกง่ามใบ<br />

extra-floral นอกดอก<br />

extrorse หันหน้าออกจากแกนดอก<br />

falcate รูปเคียว<br />

farinose มีนวลแป้ง<br />

fascicle กระจุก เป็นกระจุกดอก หรือกระจุกใบ โดยเกิดขึ้นมาจากจุดเดียวกัน<br />

ferrugineous สีสนิมเหล็ก<br />

filaments ก้านชูอับเรณู<br />

filiform คล้ายเส้นด้าย<br />

flexuous คดไปมา<br />

floccose มีขนปุย<br />

foliaceous คล้ายใบ<br />

follicle ฝักแตกตามยาว เป็นผลแห้งแตก มีคาร์เพลเดียว แตกตามแนวด้านในที ่เมล็ดติดอยู่<br />

forma แบบ เป็นชนิดที่มีลักษณะผิดแผกไปเล็กน้อย มักจะผิดกันที่ถิ่นที่อยู่ เช่น เป็นพืชน ำ้ำ หรือพืชบก<br />

free แยกจากกันเป็นอิสระ<br />

frutescent เป็นพุ่ม<br />

fugacious ร่วงเร็ว<br />

funicle ก้านไข่ติดกับพลาเซนตา<br />

furuncles เนื้อใบที่พองขึ้น พบในตัวอย่างพรรณไม้แห้ง เกิดจากผนังเซลล์ที ่มีแคลเซียมคาร์บอเนต (cystolith) หรือ<br />

ผลึกรูปเข็ม (raphides)<br />

fusiform รูปกระสวย หนาแต่สอบแคบ ไปยังปลายทั้งสอง<br />

gamopetalous กลีบดอกเชื่อมติดกัน อาจเชื่อมติดกันทั้งหมด หรือเชื่อมติดกันเฉพาะที่โคน (เหมือน sympetalous)<br />

gamosepalous กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน อาจเชื่อมติดกันทั้งหมด หรือเชื ่อมติดกันเฉพาะที่โคน<br />

geniculate งอคล้ายเข่า<br />

geophyte พืชมีเหง้าใต้ดิน<br />

gibbous โป่งข้าวเดียว มักเกิดที่ใกล้ ๆ โคน<br />

glabrous เกลี้ยง<br />

gland ต่อม อาจอยู่บนผิว หรือล้อมรอบด้วยโครงสร้างของใบ ดอก ฯลฯ หรือมีก้านชูขึ้น หรือปลายมีขน<br />

glaucous มีนวล<br />

glomerate เป็นกลุ่มแน่น<br />

glumes กาบช่อย่อย ในพืชวงศ์หญ้า Gramineae เป็นใบประดับสองใบ<br />

gynoecium วงศ์เกสรเพศเมีย<br />

gynobasic โคนก้านเกสรเพศเมีย เช่น ในพืชวงศ์ Boraginaceae และ Labiatae<br />

gynophore ก้านชูเกสรเพศเมีย เช่น ในพืชวงศ์ Capparaceae<br />

hastate รูปเงี ่ยงใบหอก โคนทั้งสองข้างเป็นรูปค่อนข้างสามเหลี ่ยมกางออกด้านข้าง<br />

heads ดอกแบบช่อกระจุกแน่น<br />

hermaphrodite ดอกสมบูรณ์เพศ<br />

hetero หลายแบบ<br />

heterogamous มีดอกทั้งสองเพศ เช่น ดอกแบบช่อกระจุกแน่น (heads) ของพืชบางชนิดในวงศ์ Compositae มีทั้ง<br />

ดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย<br />

hilum รอยแผลเป็นบนเมล็ด ตรงที ่ติดกับ funicle หรือ พลาเซนตา<br />

hirsute ขนหยาบแข็ง<br />

hispid ขนสาก<br />

homogamous มีดอกเพศเดียว เป็นดอกแบบช่อกระจุกแน่น (heads) มีดอกเพศเดียวทั้งหมด<br />

187<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


188 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

hyaline ใส<br />

hypogynous flower ดอกที ่กลีบเลี้ยง กลีบดอก และกสรเพศผู้ติดใต้รังไข่<br />

imbricate ซ้อนเหลื่อมกัน<br />

imparipinnate ใบประกอบแบบขนนกปลายคี ่<br />

incised จักลึก<br />

included ไม่โผล่ เช่น เกสรเพศผู้ไม่โผล่พ้นกลีบดอก<br />

indefinite มีจำนวนมาก เช่น จำนวนเกสรเพศผู้<br />

indehiscent แก่ไม่แตก<br />

indigenous เฉพาะถิ่น<br />

indumentums สิ่งปกคลุม เช่น ขน เกล็ด ฯลฯ<br />

induplicate ขอบพับเข้า ขอบของใบ กลีบดอก หรือกลีบเลี้ยงพับเข้า แต่ไม่ซ้อนกัน<br />

indusium 1. ถ้วยคลุมยอเกสรเพศเมีย ของพืชวงศ์ Goodeniaceae<br />

2. เยื ่อคลุมกลุ่มอับสปอร์ในพืชพวกเฟิร์น<br />

inferior ovary รังไข่ใต้วงกลีบ<br />

inflorescence ช่อดอก<br />

infructescence ช่อผล<br />

internode ปล้อง หมายถึงส่วนของลำต้นระหว่างข้อสองข้อ<br />

interpetiolar อยู่ระหว่างก้านใบ ถ้าเป็น interpetiolar stipules เป็นหูใบที่อยู่ระหว่างก้านใบของใบที่ติดตรงข้ามกัน<br />

และมักจะเชื่อมติดกัน เช่น พืชวงศ์เข็ม Rubiaceae<br />

intrapetiolar อยู่ระหว่างก้านใบและลำต้น<br />

introrse หันหน้าเข้าสู่แกนดอก<br />

involucel วงใบประดับย่อย<br />

involucre วงใบประดับ เป็นใบประดับที ่เรียงชิดกันใต้ดอกหรือกลุ่มของดอก เช่น ใบประดับใต้ช่อดอกแบบ umbel<br />

involute ขอบม้วนขึ้น<br />

irregular flower ดอกสมมาตรด้านข้าง เป็นดอกที ่ส่วนต่าง ๆ ของดอกไม่เหมือนกันทุกประการที ่ขนาด และ<br />

รูปร่าง สามารถแบ่งผ่านศูนย์กลางให้ทุกส่วนกันทุกประการได้เพียงระนาบเดียว (เหมือน<br />

zygomorphic flower)<br />

keel กลีบดอกคู่ล่างที ่เชื่อมติดกันของดอกแบบ papilionaceous<br />

keeled เป็นสัน เช่น สันตรงกลางของผล หรือของกลีบดอก<br />

labellum กลีบปาก ใช้กับ<br />

laciniate จักเป็นครุย<br />

lanate แบบขนแกะ<br />

1. กลีบดอกคู่ล่างของดอกกล้วยไม้ (orchids) มักจะขยายใญ่ขึ้นและมีรูปร่าง แตกต่างไปจากกลีบด้านข้าง<br />

2. ปากที ่คล้ายกลีบดอกของพืชวงศ์ขิงข่า Zingiberaceae เป็นเกสรเพศผู้ที ่เป็นหมัน<br />

lanceolate รูปใบหยก ปลายแหลมทั้งสองข้าง หรือใกล้โคนอาจกลม ความยาวเป็น 6-3 เท่าของความกว้าง<br />

legume ฝักแบบถั่ว มี 1 คาร์เพล<br />

lemma กาบล่างของดอกย่อย ในพืชวงศ์หญ้า Gramineae<br />

lenticels ช่องอากาศ<br />

lepidote มีเกล็ดรังแค<br />

ligulate flower ดอกรูปลิ้น เป็นดอกวงนอก (ray flower) ของพืชวงศ์ทานตะวัน Compositae ซึ่งมีกลีบดอกเป็น<br />

รูปลิ้น<br />

ligule 1. ลิ้นใบ เป็นรยางค์ที ่ส่วนบนสุดของก้านใบ ในพืชวงศ์หญ้า Gramineae<br />

limb แผ่นใบ<br />

2. กลีบดอกรูปลิ้น (ray flower) ของดอกวงนอกของพืชวงศ์ทานตะวัน Compositae<br />

linear รูปแถบ โดยมีขอบขนานกัน<br />

lip 1. กลีบปาก เรียกกลีบเลี้ยงหรือกลีบดอกที่เชื่อมติดกัน แล้วแบ่งเป็นส่วนบนและส่วนล่าง<br />

2. กลีบของดอกกล้วยไม้ (orchids) (ดู labellum ประกอบ)<br />

locellate แบ่งเป็นช่องเล็ก ๆ<br />

locular ช่อง เช่น unilocular (ช่องเดียว)<br />

loculicidal ผลแห้งแบบแคปซูล ชนิดที่เมื่อแก่แตกตรงกลางพู<br />

lorate รูปแถบกว้าง<br />

lyrate จักแบบขนนกที ่มีพูบนสุดใหญ่กว่าพูล่าง ๆ<br />

mericarp ซีกผลของผลแบบ schizocarp (ผลแบบผักชี)<br />

189<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


190 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

meocarp ผนังเซลชั้นกลาง เป็นชั้นกลางของผนังผล (pericarp) มักจะอ่อนนุ่ม<br />

micropyle รูเปิดเล็ก ๆที ่ปลายของไข่ ที่ท่อของเรณู (pollen-tube) เจาะลงไป<br />

monadelphous เชื่อมติดกลุ่มเดียว เช่น เกสรเพศผู้ของพืชวงศ์ชบา Malvceae<br />

moniliform รูปคล้ายสายลูกปัด<br />

monochlamydeous ดอกที ่มีวงกลีบชั้นเดียว<br />

monocotyledon พืชใบเลี้ยงเดี่ยว พืชที่มีใบเลี้ยงหนึ<br />

่งใบ เมื่องอกออกมาจากเมล็ด<br />

monoecious ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น พืชที่มีดอกแยกเพศ โดยดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน<br />

mucronate ปลายแหลมเป็นติ ่งหนาม<br />

muricate ผิวคาย เป็นตุ่มแข็ง หรือเป็นหนามแหลม<br />

nervation การเรียงเส้นใบ<br />

nerves เส้นใบ เป็นเส้นที ่ออกจากเส้นกลางใบทั้งสองด้าน เส้นที่แตกจาก nerves ไปเรียกว่า vein net-veined<br />

แบบร่างแห<br />

node ข้อ<br />

nut ผลเปลือกแข็ง แก่ไม่แตก มี 1 ช่อง และ 1 เมล็ด<br />

ob- เป็นภาษาลาติน ที่เติมนำหน้า มักแปลว่ากลับ หรือควำ่ำ เช่น obconical-กรวยควำ่ำ obcordate – หัวใจกลับ<br />

oblanceolate-ใบหอกกลับ obovate – ไข่กลับ<br />

oblique เฉียง เบี้ยว มักใช้กับโคนใบ<br />

oblong ใบรูปขอบขนาน ขอบใบทั้งสองด้านค่อนข้างขนานกัน ปลายทั้งสองด้านบน ความยาว 4-2 เท่า ของความกว้าง<br />

obovate รูปไข่กลับ รูปไข่ที ่ส่วนกว้างสุดอยู่ด้านบน<br />

obovoid ทรงรูปไข่กลับ<br />

obtuse มน หรือกลม ที ่โคนและปลาย<br />

ochreate ปลอก เช่น หูใบที ่เป็นปลอกที่ลำต้นของ Polygonum<br />

opposite ติดตรงข้าม เช่น opposite leaves-ใบสองใบท่ติดอยู่บนข้อเดียวกันแต่คนละด้านของลำต้น stamens<br />

opposite petals-เกสรเพศผู้ติดตรงข้ามกับกลีบดอก เช่น พืชในวงศ์ Rhamnaceae<br />

orbicular รูปวงกลม<br />

ovary รังไข่ เป็นส่วนของเกสรเพศเมีย ซึ ่งมีรังไข่ ก้านเกสรเพศเมียและยอดเกสรเพศเมีย รังไข่จะมีไข่อยู่ภายใน<br />

และรังไข่จะกลายเป็นผล<br />

ovate รูปไข่ ส่วนกว้างที ่สุดจะอยู่ตำ่ำกว่าจุดกึ ่งกลาง<br />

ovoid ทรงรูปไข่<br />

ovule ไข่ เป็นเมล็ดที ่ยังไม่โตเต็มที ่อยู่ในรังไข่ก่อนเกิดการปฏิสนธิ<br />

palea กาบบน ของดอกย่อยในพืชวงศ์หญ้า Gramineae (ดู lemma ประกอบ)<br />

palmate 1. รูปฝ่ามือ (ใบเดี่ยว)<br />

2. แบบนิ้วมือ (ใบประกอบ)<br />

pandurate รูปไวโอลิน<br />

panicle ช่อแยกแขนง ช่อดอกชนิดที่แกนกลางช่อดอกแยกแขนง มีดอกย่อยจำนวนมาก<br />

papilionaceous รูปดอกถั่ว มีกลีบ standard, wings และ keel<br />

papillose มีปุ่มเล็ก<br />

pappus ขนหรือเกล็ดรอบ ๆ ปลายผลของพืชวงศ์ทานตะวัน Compositae<br />

parietal placentation พลาเซนตาตามแนวตะเข็บ การติดของไข่ที ่พลาเซนตาบนผนังของรังไข่<br />

paripinnate ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่<br />

partite จักแต่ไม่ถึงโคน<br />

pectinate จักซี่หวี<br />

pedate แบบตีนเป็ด จักคล้ายฝ่ามือ แต่จักที่พูด้านข้างลึกกว่า<br />

pedicel ก้านดอกย่อย<br />

peduncle ก้านดอก รวมถึงก้านของช่อดอกด้วย<br />

pellucid โปร่งแสง<br />

peltte ใบก้นปิด ก้านใบติดลึกเข้ามาจากขอบใบ เช่น ใบบัวหลวง<br />

pendulous ห้อยลง<br />

penicillate มีขนเป็นกระจุก<br />

perennial พืชหลายปี มีอายุเกินกว่าสองฤดู<br />

perfoliate ใบไม่มีก้านใบ โคนติดรอบลำต้น<br />

perianth วงกลีบรวม ใช้เรียกรวมทั้งวงกลีบเลี้ยงและวงกลีบดอก หรืออาจเรียกวงใดวงหนึ่งในกรณีที่อีกวงหนึ่งไม่มี<br />

pericarp ผนังผล ชั้นต่าง ๆ อาจจะเชื ่อมกันเป็นชั้นเดียว หรืออาจแยกออกจากกันได้เป็น 3 ชั้น คือ ชั้น exocarp,<br />

191<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


192 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

mesocarp และ endocarp<br />

perigynous flower ดอกที ่กลีบเลี้ยง กลีบดอกและเกสรเพศผู้ติดรอบรังไข่<br />

persistent ติดแน่น<br />

perulate มีเกล็ดหุ้ม เช่น ที่ตา (bud)<br />

petal กลีบดอก มักจะมีสีสรร และแผ่กว้าง<br />

petaloid คล้ายกลีบดอก<br />

petiole ก้านใบ<br />

petiolule ก้านที่ค่อนข้างแบนทำหน้าที<br />

่คล้ายใบ<br />

phyllode ก้านใบแบน หรือแกนกลางใบมีรูปร่างและทำหน้าที ่คล้ายใบ<br />

pilose มีขนยาว<br />

pinna ใบย่อยของใบประกอบแบบขนนก<br />

pinnate ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยเรียงตัวสองข้างของแกนกลาง<br />

pinnatifid หยักแบบขนนก<br />

pinnatilobed หยักแบบขนนก จักลึกเกือบกึ ่งกลางก่อนถึงเส้นกลางใบ<br />

pinnatipartite หยักลึกแบบขนนก ลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ<br />

pinnatisect หยักลึกสุดแบบขนนก ลึกถึงเส้นกลางใบ<br />

pinnule ใบย่อยชั้นที่สองหรือที่สาม ในกรณีที่ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองหรือสามชั้น<br />

pistil เกสรเพศเมีย ประกอบด้วยรังไข่ (ovary) ก้านเกสรเพศเมีย (style) และยอดเกสรเพศเมีย (stigma)<br />

pistillode เกสรเพศเมียเนหมัน พบในดอกเพศผู้ของพืชบางชนิด<br />

placenta ส่วนของรังไข่ที ่ไข่ติดอยู่<br />

placentation การติดของไข่ภายในรังไข่<br />

plicate พับจีบ<br />

plinerved ใบหรือใบประดับที ่มีเส้นใบ 4 ,2 เส้น หรือมากกว่านั้น ออกจากโคนใบหรือใกล้โคนใบทั้งสองด้านของ<br />

เส้นกลางใบ และขึ้นไปสักระยะหนึ่ง เช่น -3plinerved, 5-plinerved (ดู curvinerved ประกอบ)<br />

plumose ขนนก เหมือนกับหนามที ่มีขนนุ่มออกไปทั้งสองด้าน<br />

pod ฝักเมื่อแก่แตก มี 2 ชนิด<br />

1. ฝักแบบถั่ว มีคาร์เพลเดียว วงศ์ Leguminosae<br />

2. ฝักแบบ silique ซึ ่งมี 2 เซลล์แยกจากกันโดยเยื ่อบาง ๆ วงศ์ Cruciferae<br />

pollen ละอองเรณูอยู่ภายในอับเรณู<br />

pollen-mass ละอองเรณูที ่จับเป็นก้อน<br />

pollinium ก้อนละอองเรณูมาจับตัวกัน เช่นในวงศ์กล้วยไม้ Orchidaceae และวงศ์ Asclepiadaceae<br />

polygamous มีดอกเพศเดียวและดอกสมบูรณ์เพศในต้นเดียวกันหรือต่างต้นกันของพืชชนิดเดียวกัน<br />

polypetalous กลีบดอกแยก<br />

posterior ด้านหลัง<br />

prickle หนามเกิดจากผิว<br />

proliferous มีตาพิเศษบนใบหรือในดอก ตาเหล่านี้สามารถงอกรากและต้นใหม่ได้<br />

prostrate ทอดนอนไปบนดิน<br />

prot(er)androus อับเรณูแก่ก่อนยอดเกสรเพศเมีย<br />

prot(er)ogynous ยอดเกสรเพศเมียเปิดรับละอองเรณูได้ก่อนที ่อับเรณูจะเปิด<br />

proximal ด้านโคนตรงข้ามกับ distal (ด้านปลาย)<br />

pruinose มีนวล<br />

puberulous ขนสั้นละเอียดนุ่ม<br />

pubescent ขนสั้นนุ่ม<br />

pulverulent มีผง<br />

punctuate จุดโปร่งแสง<br />

pungent ปลายแหลมแข็ง<br />

postulate คล้ายตุ่ม<br />

raceme ช่อกระจะ ช่อดอกที ่ดอกย่อยมีก้านติดอยู่บนแกนกลาง บานจากโคนไปยังปลาย<br />

radical leaves ใบกระจุกใกล้ราก<br />

radicle รากแรกเกิด<br />

ramiflorous ดอกเกิดตามกิ ่ง (ดู cauliflorous)<br />

raphides ผลึกรูปเข็ม อยู่ในเซลล์ของพืช<br />

193<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


194 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

receptacle ฐานดอก เป็นปลายสุดของก้านดอกหรือก้านดอกย่อยเป็นที ่ติดของกลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรเพศผู้<br />

และเกสรเพศเมีย<br />

regular flower ดอกสมมาตรตามรัศมี เป็นดอกที่ส่วนต่าง ๆ ของดอกเหมือนกันทุกประการทั้งขนาดและรูปร่าง<br />

สามารถแบ่งผ่านศูนย์กลางให้ทุกส่วนเท่ากันทุกประการได้ทุกระนาบ (เหมือน actinomorphic flower)<br />

reniform รูปไต<br />

repand เป็นคลื ่นเล็กน้อย<br />

reticulate แบบร่างแห<br />

retuse เว้าบุ๋ม<br />

revolute ใบที่มีขอบม้วนลง<br />

rhachilla แกนกลางของช่อดอกย่อยในพืชพวกหญ้าและกก<br />

rhachis แกนกลาง 1. แกนกลางของช่อดอก<br />

2. แกนกลางที่ต่อจากก้านใบของใบประกอบ เป็นที ่ติดของใบย่อย<br />

rhizome เหง้า เป็นส่วนของลำต้นอยู่ใต้ดิน หรืออย่างน้อยก็เลื้อยไปตามพื้นดิน เหง้าเป็นที่ติดของรากลงไปในดิน<br />

และเป็นที่ติดของกิ<br />

่งก้าน ใบ หรือหน่อที ่ให้ดอกขึ้นมาเหนือดิน เหง้านี้ แยกออกได้จากรากจริง ๆ ของพืช<br />

โดยเหง้าจะมีตา ใบ และเกล็ด<br />

rostellum จะงอยเล็ก พบในกล้วยไม้ เป็นจะงอยอยู่ที ่ขอบบนของยอดเกสรเพศเมีย ข้างหน้าอับเรณู<br />

rostrate มีจะงอย<br />

rosulate เป็นกระจุกแบบกุหลาบซ้อน<br />

rotale รูปกงล้อ กลีบดอกที ่ตอนโคนเชื่อมติดกันเป็นท่อสั้น ตอนปลายแผ่ออกเป็นกลีบ<br />

rufous สีออกแดง<br />

rugose รอยย่น<br />

ruminate เนื้อเมล็ดย่น<br />

runcinate จักแหลมโค้งลง จักแหลมเป็นฟันเลื ่อย โดยซี่ฟันโค้งลงไปทางโคน<br />

saccate รูปถุง<br />

sagittate รูปเงี่ยงลูกศร โคนของใบที ่เป็นพูแหลมตรงไปยังด้านล่าง<br />

samara ผลปีกเดียว ผลแก่ไม่แตก เมล็ดเดียว มีปีก เช่น พืชวงศ์ Malpighiaceae พืชสกุล Acer<br />

scabrid สากมือ มักเนื่องมาจากมีขนแข็งสั้น<br />

scales เกล็ด เกิดจาก 1. ใบที ่ลดรูปลง มักไม่มีก้าน เนื้อบางและแห้ง บางครั้งพบที่มีสีเขียว<br />

2. เป็นสิ ่งปกคลุมชนิดหนึ่งที่เป็นรูปจานแบนเล็ก<br />

scape ก้านดอกโดดเป็นก้นดอกไม่มีใบแทงขึ้นมาจากพื้นดิน<br />

scarious บานและแห้ง สีไม่เขียว<br />

schizocarp ผลแห้งแตกเป็นสองหรือหลายส่วน แต่ละส่วนเรียกว่า mericarp เช่น พืชวงศ์ผักชี ยี่หร่า Umbelliferae<br />

พืชวงศ์ชบา Malvaceae<br />

scorpioid ช่อดอกที่มีแกนกลางช่อดอกขดคล้ายขดลวดอยู่ในตาดอก<br />

second ติดข้างเดียว<br />

segment ส่วน<br />

shoot หน่อ ส่วนยอด<br />

shrub ไม้พุ่ม พืชมีเนื้อไม้ที่ไม่สูงนัก และให้กำเนิดหน่อและลำต้นจากโคน ไม่เหมือนไม้ต้น (tree) ที ่มีลำต้นเดียว<br />

siliqua ฝัก เป็น 2 เซลล์ มักมีผนังบาง ๆกั้น เมื่อแตกจะแตกจากโคนขึ้นมา เช่น พืชวงศ์ Cruciferae<br />

simple leaf ใบเดี่ยว<br />

sinuate เว้าเป็นคลื่น<br />

sinus ส่วนเว้า<br />

spadix ช่อเชิงลดมีกาบ ได้แก่ ช่อดอกแบบหน้าวัว เป็นช่อดอกแบบ spike ที่มีแกนกลางอวบสดและมีกาบใหญ่<br />

รองรับ เช่น พืชวงศ์บุก Araceae<br />

spathe กาบหุ้มช่อดอก โดยช่อดอกเป็นแบบ spadix หรือเนใบประดับ 2 ใบ หรือมากกว่าที ่หุ้มกลุ่มช่อดอก<br />

spthulate รูปช้อน ปลายบนกลม ส่วนโคนยาวและแคบ<br />

spicate คล้ายช่อเชิงลด<br />

spike ช่อเชิงลด เป้นช่อดอกที ่ดอกย่อยไม่มีก้าน ติดอยู่บนแกนกลาง เมื ่อบานจะบานจากโคนไปยังปลาย<br />

spikelet ช่อดอกย่อย (ของพวกหญ้า กก) เป็นช่อเชิงลดขนาดเล็ก ที ่ประกอบด้วยดอกตั้งแต่หนึ่งขึ้นไปอยู่ในกาบ<br />

spine หนามแหลมแข็ง มักจะเกิดจากเนื้อไม้ของลำต้น บางทีเป็นส่วนของใบที ่ลดรูป<br />

spiral เวียนสลับ<br />

spur เดือย เป็นส่วนของดอกที ่ยื่นออกไป มักกลวง<br />

stamen เกสรเพศผู้ ประกอบด้วยก้านชูอับเรณู (filament) และอับเรณู (anther)<br />

staminode เกสรเพศผู้เป็นหมัน<br />

195<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


196 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

standard กลีบกลาง เป็นกลีบดอกกลีบใหญ่อยู่บนสุดของดอกแบบดอกถั่ว<br />

stellate hairs ขนรูปดาว<br />

sterile เป็นหมัน<br />

stigma ยอดเกสรเพศเมีย เป็นที่ติดของละอองเรณู อาจจะไม่มีก้าน หรืออยู่บนปลายสุดของก้านเกสรเพศเมีย<br />

(style) หรือปลายสุดของแฉกของก้านเกสรเพศเมีย<br />

stipe ก้าน อาจจะเป็นก้านของคาร์เพล หรือก้านของเกสรเพศเมีย หรือก้านผล<br />

stipellae หูใบย่อยเล็ก ๆ 1 คู่ อยู่ที่โคนของก้านใบย่อย เช่น ใบของพืชหลายชนิดในวงศ์ Leguminosae<br />

stipitate มีก้าน<br />

stipules หูใบ เป็นระยางค์ 1 คู่ ที่โคนก้านใบ<br />

stolon ไหล เนลำต้นบนดิน มีปล้องยาว ราก ใบ ดอก เกิดที่ข้อ มีรากเกิด<br />

stomata ปากใบ เป็นรูหายใจอยู่บนผิวชั้นบน<br />

striate เป็นริ้ว<br />

strigose ขนแข็งเอน ขนจะเอนชิดกับผิว<br />

strobilus อวัยวะสืบพันธุ์ของพืชเมล็ดเปลือย (Gymnosperums)<br />

strophiole รยางค์นุ่มที ่ขั้วเมล็ดของพืชบางชนิด (ดู aril และ caruncle ประกอบ)<br />

style ก้านเกสรเพศเมีย<br />

sub คำที่ใช้เติมนำหน้าแปลว่า 1. กึ่ง เช่น subacute-กึ ่งแหลม<br />

2. ใต้ เช่น subterranean-ใต้ดิน<br />

subspecies ชนิดย่อยตำ่ำกว่าระดับชนิด (species)<br />

subterranean ใต้ดิน<br />

subulate รูปลิ ่มแคบ<br />

sulcate เป็นร่อง<br />

superior ovary รังไข่เหนือวงกลีบ<br />

suture รอยเชื ่อม<br />

sympetalous กลีบดอกเชื่อมกัน (เหมือนกับ gamopetalous)<br />

syncarpous คาร์เพลเชื่อม ประกอบด้วยคาร์เพลตั้งแต่ 2 หรือมากกว่า เชื ่อมติดกัน<br />

tendril มือพัน<br />

terete คล้ายทรงกระบอก<br />

ternate แยกสาม เป็นกลุ่มของ 3<br />

terrestrial บนดิน<br />

test เปลือกเมล็ด<br />

tetradynamous เกสรเพศผู้มี 6 ยาว 4 สั้น 2 ในพืชวงศ์ผักชี ยี่หร่า Cruciferae<br />

thecae เซลล์อับเรณู<br />

thorn หนาม เป็นหนามแหลมที ่มีกำเนิดเหมือนกันกับอวัยวะอื ่น (ใบ, หูใบ, ฯลฯ)<br />

tomentose มีขนสั้นหนานุ่ม<br />

torilose ทรงกระบอก บวมที ่รอยต่อ<br />

torus ฐานดอกนูน (ดู receptacle ประกอบ)<br />

tree ไม้ต้น มีลำต้นเดียวโดด ๆ<br />

treelet ไม้ต้น ขนาดเล็ก แต่ยังคงมีลำต้นเดียว<br />

trifoliolate ใบประกอบชนิดมี 3 ใบย่อย<br />

trigonous มีสามมุม ไม่แหลม<br />

triquetrous มีสามมุมแหลม<br />

truncate ปลายตัด<br />

tube ท่อ หลอด<br />

tuber หัวแบบมันฝรั่ง เป็นส่วนของรากหรือลำต้นที่ใหญ่ขัน มักอยู่ใต้ดิน<br />

tuberculate มีปุ่ม<br />

tumid พอง<br />

tunicated bulb หัวแบบหัวหอม<br />

turbinate รูปลูกข่าง<br />

umbel ช่อดอกแบบซี ่ร่ม โดยมีก้านดอกย่อยเกิดจากจุดเดียวกัน<br />

undulate เป็นคลื ่น<br />

unguiculate โคนแคบคล้ายเป็นก้าน<br />

197<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


198 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

unisexual มีเพศเดียว อาจมีเฉพาะเกสรเพศผู้หรือเฉพาะเกสรเพศเมีย<br />

urceolate รูปคนโฑ รูปโถ<br />

valvate จรดกัน เมื ่อขอบของกลีบดอกหรือกลีบเลี้ยงมาจรดกัน<br />

valve ลิ้น 1. ลิ้นที ่เกิดจากผลแบบแคปซูลแตกออกเป็นเสี ่ยง<br />

variety พันธุ์<br />

2. ฝาปิดเปิดบนผนังของอับเรณู ของพืชวงศ์อบเชย Lauraceae<br />

velutinous มีขนกำมะหยี ่<br />

venation การเรียงเส้นใบ<br />

ventral ด้านบน หรือผิวติดด้านแกน<br />

vernation การเรียงของใบอ่อนในตาใบ<br />

verrucose เป็นตุ่ม<br />

versatile ก้านเกสรเพศผู้ติดกับอับเรณูที่กึ่งกลางด้านหลังของอับเรณู ทำให้อับเรณูเคลื ่อนไหวได้<br />

verticillate วงรอบ ใบติดเป็นวงรอบข้อ<br />

vexillum กลีบกลาง เป็นกลีบดอกกลีบใหญ่อยู่บนสุดของดอกแบบดอกถั่ว (เหมือน standard)<br />

villous มีขนอุย ขนยาวไม่แข็ง<br />

viviparous งอกคาต้น<br />

whorl วงรอบ ใบติดเป็นวงรอบข้อ<br />

wing ปีก 1. ส่วนที ่ขยายขึ้นเป็นปีก<br />

2. กลีบดอกสองกลีบข้างของดอกแบบดอกถั่ว<br />

zygomorphic flower ดอกสมมาตรด้านข้าง (เหมือน irregular flower)<br />

เอกสารอ้างอิง<br />

จำลอง เพ็งคล้าย และคณะ. 2526-2515. ไม้ที ่มีค่าทางเศรษฐกิจของไทย. ตอนที ่ 3-1. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร<br />

แห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.<br />

จำลอง เพ็งคล้าย และธวัชชัย สันติสุข. 2516. พฤกษศาสตร์ป่าไม้เบื้องต้น. โรงพิมพ์ศาสนา, กรุงเทพฯ.<br />

เต็ม สมิตินันทน์. 2523. ชื ่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (ชื ่อพฤกษศาสตร์-ชื ่อพื้นเมือง). ฟันนี ่พับบลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ.<br />

เต็ม สมิตินันทน์. ไม่ระบุปี. พันธุ์พืชไทยที ่มีความสำคัญต่อการป่าไม้โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ. เอกสาร<br />

ประกอบการบรรยาย. กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.<br />

ธานี พานิชผล. ไม่ระบุปี. การเรียกชื่อทางพฤกษศาสตร์. เอกสารประกอบการบรรยาย. กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ<br />

Bridson, Diane and Leonard Forman. 1992. The Herbarium Handbook. Royal Botanic Gardens Kew, U.K.<br />

De Laubenfels, D.J. 1969. A Revision of the Malesian and Pacific Rainforest Conifers, 1. Podocarpaceae, in<br />

part. Journal of the Arnold Arboretum. 50(3): 315-369.<br />

Keng, Hsuan. 1969. Malayan Seed Plants. University of Malaya Press, Singapore.<br />

Lawrence, George H.M. 1951. Taxonomy of Vascular Plants. Macmillan, New York.<br />

Mabberley, D.J. 1994. The Plant Book. Cambridge University Press, Great Britain.<br />

Porter, C.L. 1959. Taxonomy of Flowering Plants. W.H. Freeman, San Francisco.<br />

Smitinand, T. and Kai Larsen. 1970-1997. Flora of Thailand. Vol. 2-6. Chutima Press. Bangkok.<br />

Wong, K.M. 1993. A revision of Bambusa (Gramineae: Bambusoideae) in the Malay Peninsula, with two new<br />

species. Sandakania. 3: 17-41.<br />

199<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


200 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

201<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


202 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

ดรรชนีชื่อพืช<br />

กก 10,161,163,178,194,195, ก่อขี้หมู 124<br />

กระชาย 35<br />

กอมขม 141<br />

กระดังงา 54,103,104 ก่อหิน -<br />

กระตุก 116<br />

กะบกกรัง 122<br />

กระถินพิมาน 112<br />

กะบาก 122<br />

กระท้อน 142,143<br />

กะเบา 25,117<br />

กระท้อนป่า 142<br />

กะเบานำ้ำ 117<br />

กระท่อมหมู 154<br />

กะเบาใหญ่ 117<br />

กระทิง 6,109<br />

กะพง 117<br />

กระทุ่ม 153<br />

กะพ้อ -<br />

กระทุ่มนำ้ำ 154<br />

กะลังตังช้าง 130<br />

กระเทียม 33<br />

กะออก 127<br />

กระเทียมเถา -<br />

กัดลิ้น 143<br />

กระพี้เขาควาย 116<br />

กันเกรา 125,177<br />

กราด 122<br />

กานพลู 132<br />

กรูปุก -<br />

ก้านเหลือง 153,154,157<br />

กฤษณา 133,136,146 กาแฟ 154<br />

กล้วย 9,37,54,59,70,80,161,181, ก้ามปู 2<br />

กล้วยไม้ 7,8,9,12,33,16,111,161,182การเวก 104<br />

183,189,193,194<br />

กาสามปีก 161<br />

กลอย 74,161<br />

กำมะแย -<br />

กว้าว 161<br />

กำยาน -<br />

กวาหนา 2<br />

กุ๊ก 150<br />

ก่อ 12,124<br />

กุหลาบ 2,17,84,111<br />

ก่อกระดุม -<br />

เกด -<br />

เก็ดดำ 116<br />

เกียวโซ้ 154<br />

แกนมอ 150<br />

แก้มขาว -<br />

โกงกาง 33,127,131,132,<br />

โกงกางเขา 148<br />

โกงกางใบใหญ่ -<br />

โกฐหัวบัว 105<br />

ไกรทอง 141<br />

ขนุน 39,54,130<br />

ขนุนนก 151<br />

ขมัน -<br />

ขมิ้น -<br />

ขมิ้นเครือ 105<br />

ข่อยด่าน 154<br />

ขะเจาะ 116<br />

ขันทอง -<br />

ขันทองพยาบาท 143<br />

ข่า 33,37,187,189<br />

ขานาง 115<br />

ข้าว 6,39,55,161<br />

ข้าวโพด 37<br />

ข้าวหลาม 39,165,202<br />

ขิง 37<br />

ขี้ปุงมดง่าม -<br />

ขี้ผึ้ง -<br />

ขี้หนอน -<br />

ขี้หนอนควาย 130<br />

ขี้หนอนพรุ -<br />

ขี้เหล็กบ้าน 114<br />

ขี้เหล็กเลือด -<br />

ขี้อ้าย 143<br />

ขุนไม้ 94<br />

เข็ม 39,46,65,92,93,94,132,148,1<br />

53,154,177<br />

เข็มม่วง 155<br />

เข็มใหญ่ 14<br />

เข็มอินเดีย 154<br />

เขล็ง -<br />

เข้าเย็นใต้ 161<br />

เข้าเย็นเหนือ<br />

เขี้ยวกระแต 154<br />

ไข่เขียว 122<br />

ไข่ปูใหญ่ 99<br />

คนทีสอ -<br />

คริสต์มาส 143<br />

ตวินิน -<br />

ค้อ 163<br />

คอแลน 144<br />

คาง 113<br />

คางฮุง 115<br />

คายโซ่ 120<br />

คิ้วนาง -<br />

คูน 37,114<br />

เครือออน 161<br />

เคี่ยม -<br />

แคขาว 155,156<br />

แคทราย 155<br />

แคนา 156<br />

แคฝอย 155,156<br />

แครอท 35<br />

แคแสด 156<br />

แคหัวหมู 155,156<br />

แคหางค่าง 155,156<br />

ไคนิโต 151<br />

งาไซ 151<br />

ง้าว 140<br />

งิ้ว 8,140,185<br />

งิ้วบ้าน 140<br />

งิ้วป่า 140<br />

งิ้วผา 140<br />

งุ้น 117<br />

เงาะ 25,37,144<br />

โงงงัง 120<br />

จันทน์กะพ้อ 122<br />

จันทน์ชะมด 134,142<br />

จันทน์แดง 104<br />

203<br />

จันทน์ป่า 104<br />

จันทนา 134<br />

จาก 54,163<br />

จามจุรี 2<br />

จำปา 102,103<br />

จำปาป่า -<br />

จำปี 10,102<br />

จำปีเขา 103<br />

จำปีแขก -<br />

จำปีดง -<br />

จำปีป่า 103<br />

เจตมูล 141<br />

ฉก 163<br />

ฉำฉา 2<br />

เฉียงพร้านางแอ 127,131<br />

แฉลบขาว 112<br />

ชงโค 114<br />

ชบา 39,55,135,176,190<br />

ชมพู่ 2,55,132<br />

ชมพูแก้มแหม่ม 132<br />

ชมพู่นาก 132<br />

ชมพู่นำ้ำดอกไม้ 132<br />

ชมพู่ป่า -<br />

ชมพูพันธ์ทิพย์ 156<br />

ชมพู่สาแหรก 132<br />

ชวนชม 153<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


204 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

ชะมวง 6,120<br />

ตะโกส้ม 154<br />

ตำเสา 152<br />

ทุเรียน -<br />

บวบ 55<br />

ปีแซ 95<br />

205<br />

ชะลูด 153<br />

ตะขบฝรั่ง 135<br />

ติ้ว 6,120<br />

ทุเรียนนก -<br />

บอน 161<br />

ปีบ 37,156<br />

ชันภู่ 122<br />

ตะคร้อ -<br />

ติ้วขาว 109<br />

ทุเรียนป่า 137<br />

บอระเพ็ด 106<br />

เปรียง 149<br />

ชัยพฤกษ์ 114<br />

ตะครำ้ำ 142<br />

ตีนจำดง -<br />

เทียนกิ่ง 133<br />

บัวบก 33<br />

เปล้า 143<br />

ชา -<br />

ตะเคียน 122<br />

ตีนนก 6,161<br />

เทียนหยด -<br />

บานบุรีเหลือง 153<br />

เปล้าน้อย 143<br />

ช้าเลือด -<br />

ตะเคียนชันตาแมว 122<br />

ตีนเป็ด 153<br />

เทียะ -<br />

บาหยา 155<br />

เปล้าใหญ่ 143<br />

ช้างร้อง 135,160<br />

ตะเคียนทอง 110,122<br />

ตีนเป็ดแดง 153<br />

ไทร 130<br />

บุณฑา -<br />

แปกลม 94,95,96<br />

ช้างแหก 25,140<br />

ตะเคียนเผือก -<br />

ตีนเป็ดทะเล -<br />

ไทรย้อย 33<br />

บุนนาค 120<br />

โปรง 131<br />

ชำมะเลียง 144<br />

ตะเคียนหนู 132<br />

ตีนเป็ดพรุ -<br />

ไทรย้อยใบแหลม -<br />

ใบก้นปิด 105,191<br />

ผกากรอง 161<br />

ชิงชัน 116<br />

ตะเคียนหิน -<br />

ตุ้มกว้าว 153<br />

ธรรมบูชา 156<br />

ปดขน 118<br />

ผักกะเหรี่ยง 95<br />

ชุมแสงแดง -<br />

ตะบัน 143<br />

เต็ง 10,92,122,152,155<br />

นน 161<br />

ปรง 92,96,179<br />

ผักกาด 6,55<br />

ชุมเห็ด 114<br />

ตะบูน 139,143<br />

เตย 33,167<br />

นนทรี 2,155<br />

ปรงเขา 96<br />

ผักเมี่ยง 95<br />

ชุมเห้ดเทศ -<br />

ตะบูนดำ 143<br />

เตรียมโสภา -<br />

นมแมว 104<br />

ปรงญี่ปุ่น 92<br />

ผาเสี้ยน 161<br />

เชอรี่ 17<br />

ตะแบก 133<br />

แตงกวา 54<br />

น้อยหนา -<br />

ปรงทะเล 92<br />

ไผ่ 6,161,164<br />

ซ้อ -<br />

ตะแบกเกรียบ 133<br />

แตงโม 55<br />

นาคบุตร 120<br />

ปรงเหลี่ยม -<br />

ไผ่เกรียบ 165<br />

ซ้องแมว 161<br />

ตะแบกแดง -<br />

แต้ว 120<br />

นางพญาเสือโคร่ง 99,111<br />

ประดู่ 6,9,32,37,55,115,116<br />

ไผ่ข้าวหลาม 165<br />

ซาง -<br />

ตะแบกนา 136,146,133<br />

ถ่อน 113<br />

นางแย้มป่า -<br />

ประดู่บ้าน 107,116<br />

ไผ่คลาน 165<br />

ซางจิง 93<br />

ตังหน 25,120<br />

ถั่ว 6,9,46,55,73,106,111,115,189,<br />

นางเลว 103<br />

ประดู่ป่า 8,16,116<br />

ไผ่โจ้ด 166<br />

แซะ 116<br />

ตาลตะโหนด 163<br />

191,193,196,198<br />

นำ้ำเต้า 54,55<br />

ประสัก 35,131<br />

ไผ่ซาง 166<br />

ดอนย่าขาว 154<br />

ตาลปัตรฤาษี 92<br />

เถาย่านาง 105<br />

นำ้ำเต้าญี่ปุ่น 156<br />

ปลาไหลเผือก 138,141<br />

ไผ่ซางคำ 166<br />

ดอนย่าแดง 154<br />

ต๋าว 163<br />

ท้อ 17,54,111<br />

นำ้ำนมราชสีห์ 143<br />

ปอ 134<br />

ไผ่ซางดอย 166<br />

แดง 6,113<br />

ตาเสือ 25,142,143<br />

ทองพันชั่ง 155<br />

นุ่น 25,135,140<br />

ปอกระเจา 135,176<br />

ไผ่ซางหม่น 166<br />

แดงแสม -<br />

ตำแย 130<br />

ทองอุไร 156<br />

นูดต้น 111<br />

ปอแก้ว 135<br />

ไผ่ด้ามพร้า 166<br />

ตรีชวา -<br />

ตำแยช้าง 130<br />

ทะโล้ 120<br />

เนียง -<br />

ปอทะเล 137<br />

ไผ่ตง 166<br />

ตองแข็ง -<br />

ตำแยตัวเมีย 130<br />

ทังเก -<br />

เนียงนก 113<br />

ปันเรฮิชิ -<br />

ไผ่ตากวาง 166<br />

ต้อยติ ่ง 55<br />

ตำลึง -<br />

ทับทิม -<br />

เนื้อเหนียว 144<br />

ปาล์มเจ้าเมืองถลาง 9<br />

ไผ่บง 166<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


206 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

ไผ่บงดำ 166<br />

ฝรั่ง 2,16,132,<br />

พอนา 2<br />

เฟิร์น 4,5,19,25,58,188<br />

มะพร้าว 6,54,163,186<br />

เมื่อย 95,179<br />

207<br />

ไผ่บงเลื้อย 165<br />

ฝาง 9,114<br />

พะยอม 7,60,122<br />

มณฑา -<br />

มะพร้าวเต่า 92<br />

เมื่อยดูก 95,97<br />

ไผ่บงหนาม 166<br />

ฝาด 132<br />

พะยุง 55,116<br />

มณฑาดอย -<br />

มะพลับ 11,151<br />

โมกมัน 153<br />

ไผ่บงใหญ่ 166<br />

ฝาดขาว -<br />

พะวา 119<br />

มอสส์ 25,27,58<br />

มะแฟน 138,142<br />

โมกหลวง 153<br />

ไผ่ป่า 166<br />

ฝิ่น 56<br />

พะอง 120<br />

มะกลำ่ำต้น 113<br />

มะไฟ 143<br />

โมงนั่ง 120<br />

ไผ่เป๊าะ 166<br />

เฝิง 103<br />

พังกา 131<br />

มะกอก 54<br />

มะม่วง 7,8,25,39,54,149,150,176<br />

ไม้ช้อน 103<br />

ไผ่โป 165<br />

พญาปล้องทอง 155<br />

พังแหร 130<br />

มะกอกป่า 149<br />

มะม่วงป่า 149<br />

ไม้หอม 116,133<br />

ไผ่ผากมัน 166<br />

พญามะขามป้อม 94<br />

พังแหรใบใหญ่ 130<br />

มะกอกเลื่อม 138,142<br />

มะม่วงหัวแมลงวัน 149<br />

ยมป่า 141<br />

ไผ่เพ็ก 166<br />

พญาไม้ 93<br />

พันจำ 122<br />

มะเกลือ 151<br />

มะมุด -<br />

ยมหอม 143<br />

ไผ่มัน 166<br />

พญาไม้ใบสั้น 93<br />

พันจุลี 144<br />

มะเกิ้ม -<br />

มะเมื่อย 95,179<br />

ยมหิน 25,143<br />

ไผ่เมี่ยงไฟ -<br />

พนมสวรรค์ 11<br />

พิกุล 147,151<br />

มะขาม 32,115<br />

มะยง 149<br />

ยวน 115<br />

ไผ่รวก 166<br />

พรมคต -<br />

พิกุลเถื่อน 151<br />

มะขามป้อม 94,143,145<br />

มะยงชิด 150<br />

ยวนแหล 115<br />

ไผ่รากดำ 166<br />

พระเจ้าห้าพระองค์ 150<br />

พิศวง 135<br />

มะขามป้อมดง 94,96<br />

มะยม 143<br />

ยอ 54,153<br />

ไผ่ไร่ 166,167<br />

พริกไทย 35<br />

พุงทะลาย 55,140,141<br />

มะเขือเทศ 54,181<br />

มะริดไม้ -<br />

ยอบ้าน -<br />

ไผ่ลำมะลอก 166<br />

พฤกษ์ 113<br />

พุด 153,154,157<br />

มะคะ 115<br />

มะรุม 37<br />

ยอป่า 154<br />

ไผ่เลี้ยง 166<br />

พลวง 122<br />

พุดซ้อน 154<br />

มะค่า 6,114,115<br />

มะละกอ 39,54<br />

ยาง 8,9,60,121<br />

ไผ่ไล่ลอ 166<br />

พลับ 151<br />

พุดฝรั่ง 153<br />

มะค่าแต้ 115<br />

มะหวด 144<br />

ยางนา 55<br />

ไผ่สีสุก 166<br />

พลับพลึง 33<br />

พุทรา 42,54<br />

มะซัก 144<br />

มะหาด 130<br />

ยางโอน 103<br />

ไผ่ไส้ตัน 166<br />

พลู 35<br />

เพกา 156<br />

มะซาง 151<br />

มะออจ้า 2<br />

ย่านนมควาย -<br />

ไผ่หก 166<br />

พวงคราม 161<br />

แพงพวยฝรั่ง 153<br />

มะดัน 120<br />

มะฮอกกานี 143<br />

ยานัด 2<br />

ไผ่หนาม 166<br />

พวงเงิน<br />

โพทะเล 135<br />

มะเดื่อ 127,130<br />

มักขี้หนู -<br />

ยายปู่ 144<br />

ไผ่หลอด 165<br />

พวงชมพู 32,33<br />

โพอาศัย 151<br />

มะเดื่ออุทุมพร 130<br />

มังคุด 6,119<br />

ยี่เข่ง 133<br />

ไผ่หอม 166<br />

พวงประดิษฐ์ 161<br />

ไพเงินกำ่ำ 113<br />

มะตาด 119<br />

มันปลา 152<br />

ยี่โถ 153<br />

ไผ่หางช้าง 166<br />

พวงม่วง 161<br />

ฟัก 55<br />

มะตูมเขา -<br />

มันฝรั่ง 33,197<br />

ยี่หุบ 103<br />

ไผ่เหลือง 166<br />

พวงแสด 156<br />

ฟักทอง 33,39,54,176<br />

มะนอแน 2<br />

มันสำปะหลัง 143<br />

ยี่หุบน้อย 103<br />

ไผ่เฮียะ 165<br />

พวมพร้าว 136,146<br />

ฟานลิซี้ -<br />

มะปราง 54,150<br />

เมี่ยง -<br />

ยี่หุบปรี -<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


208 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

ยี่หุบหนู 103<br />

ลาหนัง 2<br />

สบู่เลือด 105<br />

ส้าน 118,119<br />

แสลงใจ 139,152<br />

หวายขม 11,163<br />

209<br />

ยูคาลิป 17<br />

ลำดวน 104<br />

ส้มกบ 153,154<br />

ส้านแคว้ง 118<br />

โสก 115<br />

หวายจาก 163<br />

เยลูตง 153<br />

ลำพู 11,35<br />

สมพง 117<br />

ส้านเต่า 118<br />

โสกเขา 115<br />

หวายตะค้า -<br />

รกฟ้า 132<br />

ลำแพน 35<br />

ส้มพะงุน 120<br />

ส้านใบเล็ก 119<br />

โสกนำ้ำ 115<br />

หวายเต่าเพราะ -<br />

รง 6<br />

ลำมะลอก 166<br />

สมอ 132<br />

ส้านป้าว 119<br />

โสกเหลือง 115<br />

หวายโตงโพล่ง 163<br />

รสสุคนธ์ 14,32,109,118<br />

ลำไย 144,176<br />

สลอด 143<br />

ส้านหลวง 118<br />

ไส้กรอกแอฟริกา -<br />

หวายเถาใหญ่ 163<br />

ระกำ 163<br />

ลิ้นจี่ 37<br />

สลักพาด 140<br />

ส้านหิ่ง 118<br />

หงอนไก่บก 122<br />

หวายนั่ง 163<br />

ระย่อม 153<br />

รักขาว -<br />

รักขี้หมู 149<br />

รักทะเล 2<br />

รักหลวง 150<br />

รักใหญ่ 150<br />

รัง -<br />

รังกะแท้ 131<br />

ราชดัด -<br />

ราชพฤกษ์ 113,114<br />

รำเพย 153<br />

รุ่ย 131<br />

ละมุด 150,151<br />

ละมุดสีดา 151<br />

ละหุ่ง 143<br />

ลั่นทม 152,177<br />

ลั่นทมขาว 153<br />

ลั่นทมแดง 153<br />

ลาน 163<br />

ลูกใต้ใบ 143<br />

ลูบลีบ 130<br />

เล็งเก็ง -<br />

เลียงมัน -<br />

เลี่ยน 142,143<br />

ศรีตรัง 156,158<br />

สตรเบอรี ่ 200,201<br />

สนจีน -<br />

สนญี่ปุ่น 95<br />

สนทะเล 44,123,126<br />

สนใบเล็ก 93<br />

สนประดิพัทธ์ 44,123<br />

สนแผง 95<br />

สนสองใบ 94<br />

สนสามใบ 94,97<br />

สนสามพันปี 93<br />

สนหางสิงห์ 95<br />

สนอินเดีย -<br />

สบ 116<br />

สลัดได 21,33<br />

สวอง 161<br />

สองสลึง 144<br />

สะแกแสง 103<br />

สะดาน 151<br />

สะเดา 139,142,143<br />

สะเดาหิน 143<br />

สะตอ 112<br />

สะตือ -<br />

สะท้อน 19,116<br />

สะบ้า 25,108,113<br />

สัก 6,156,161,178<br />

สักขี้ไก่ 156,161<br />

สัตบรรณ 153<br />

สับปะรด 2,54,161<br />

สาเก 54<br />

สาคู 163<br />

สาธร 116<br />

สาลี่ 55,111<br />

ส้านใหญ่ 118<br />

สายหยุด 104<br />

สารภี 120<br />

สารภีดอย 120<br />

สาลี่ 55,111<br />

สำโรง -<br />

สิดผล 55,140,176<br />

สีฟันคนฑา 141<br />

สีรามัน -<br />

สีเสียดแก่น 112<br />

สีเสียดเปลือก 134<br />

สีเสียดเหนือ 134<br />

สีเสียดอ้ม 143<br />

เสม็ด 10,132<br />

เสลดพังพอน 155<br />

เสลา 133<br />

เสลาใบใหญ่ 133<br />

เสลาเปลือกหนา 133<br />

แสมสาร 114<br />

หญ้า 2,6,25,27,58,163,164,178,17<br />

9,184,187,189,191,194,195<br />

หน่วยนกงุม -<br />

หนามแดง 153<br />

หนามพน 163<br />

หมอราน 122<br />

หมักมื่อ 111<br />

หมาก 6,161,163<br />

หมากเขียบ 2<br />

หมากแดง -<br />

หยี 115<br />

หยีท้องบึ้ง 115<br />

หลุมพอ 115<br />

หลุมพอทะเล 115<br />

หลุมพี -<br />

หว้า 128,132<br />

หวาย -<br />

หวายกุ้ง 163<br />

หวายกุ้งนำ้ำพราย 163<br />

หวายโสมเขา 163<br />

หวีด 142<br />

ห้อมช้าง 155<br />

แอปเปิ้ลป่า -<br />

หัวค่าง 103<br />

หัวเต่า 103<br />

หัวหอม 33,89,137<br />

หาด 130<br />

หำโจร 103<br />

หำช้าง 103<br />

หิรัญญิการ์ 153<br />

เหงือกปลาหมอ 155,178<br />

เหมือด 123,126<br />

เหมือดคน 123,126<br />

เหรียง 16<br />

เหียง 110,122<br />

แห้ว 13,14,33,161<br />

องุ่น 33,176<br />

อบเชย 9,39,104,198<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


210 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

อรพิม 108<br />

อ้อย 6,37,150<br />

อ้อยช้าง 150<br />

อะราง 115<br />

อังกาบ 155<br />

อ้ายกลิ้ง -<br />

อินทนิลนำ้ำ 136<br />

อินทนิลบก 133<br />

อินทนิล 133<br />

อินทรชิต 133<br />

อุโลก 153,154<br />

แอปเปิ้ล 55,74,111


212 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

INDEX TO BOTANICAL NAMES AND PLANT FAMILIES<br />

Abelmoschus manihot (L.) Medik 135<br />

Acacia 83,112<br />

A. catechu (L.f.) Willd. 112<br />

A. leucophloea (Roxb.) Willd. 112<br />

A. tomentosa Willd. 112<br />

Acanthaceae 60,79,155,170,171,172,178<br />

Acanthus ebracteatus Vahl -<br />

Acrotrema 118<br />

A. costatum Jack.. 118<br />

Actinodaphne 99,105<br />

Adenanthera 112,113<br />

A. pavonina L. var. Microsperma (Teijsm. & Binn.)<br />

Nielsen 113<br />

A. pavonina L. var. pavonina 113<br />

Adenium obesum (Forsk,) Roem. & Schult. -<br />

Adinandra 120<br />

Afzelia 113,114<br />

A. xylocarpa (Kurz) Craib -<br />

Agavaceae 88,89<br />

Aglaia pyramidata Hance 142<br />

Agrimona 111<br />

Ailanthus 141,142<br />

A. triphysa (Dennst.) Alston 141<br />

Aizoaceae 86<br />

Albizia 10,112,113<br />

A. lebbeck (L.) Benth. 113<br />

A. odoratissima (L.f.) Benth. 113<br />

A. procera (Roxb.) Benth. 113<br />

Alismataceae 87<br />

Allamanda 80,153<br />

A. cathartica -<br />

Alseodaphne 105<br />

Alstonia 152,153<br />

A. scholaris (L.) R. Br. -<br />

A. spathulata Blume 153<br />

Altingia 116<br />

A. siamensis Noranha 116<br />

Alyxia reinwandtii Blume -<br />

Amaranthaceae 82,86<br />

Amaryllidaceae 88,89<br />

Amentiferae 32,101,123<br />

Anacardiaceae 7,69,70,71,74,144,149,170,171,172,<br />

174,176<br />

Anamirta 105<br />

A. cocculus (L.) Wight & Arn. -<br />

Ancistrocladaceae 75<br />

Angiospermae 65<br />

Angiosperms -<br />

Anisoptera 16,121,122<br />

A. costata Korth. -<br />

Anneslea 75,120<br />

A. fragans Wall. -<br />

Annona squamosa L. 2,103<br />

Annonaceae 67,98,102,103,170,171,172,173,174<br />

Anogeissus 132<br />

Antheroporum 115<br />

Anthocephalus 153,154<br />

Anthocephalus chinensis (Lamk.) A. Rich. ex Walp. 154A. elegans Blume -<br />

Aphanamixis 142<br />

A. cucullata (Roxb.) Pellegr. 143<br />

A. polystachya (Wall.) R.N. Parker -<br />

Apocynaceae 10,11,77,80,147,152,170,171,172,173,<br />

174,175,177<br />

Aquifoliaceae 73,78<br />

Aquilaria 133,136,146<br />

A. crassna Pierre ex Lec. 133<br />

A. hirta Ridl. 133<br />

A. malacensis Lamk. -<br />

A. subintegra Hou -<br />

Araceae 11,87,161,174,195<br />

Arachis 115<br />

Arales 161<br />

Araliaceae 75,170,172<br />

Arcangelisia flava (L.) Merr. 105<br />

Archidendron 107,112,113<br />

A. bubalinum (Jack) Nielsen -<br />

A. jiringa (Jack) Nielsen -<br />

Areca 6,160,162<br />

A. catechu L. -<br />

Arecoideae 162<br />

Arenga 163<br />

Aristolochiaceae 86,174<br />

Aromadendron -<br />

Artabotrys siamensis Miq. 104<br />

Artocarpus 127,130<br />

A. elasticus Reinw. ex Blume -<br />

A. heterophyllus Lamk. 130<br />

A. lakoocha Roxb. 130<br />

Arundinaria 165,166<br />

A. ciliate A. Camus 166<br />

A. pusilla Cheval. & A. Camus 166<br />

Asclepiadaceae 77,170,173,174,175,177,184,193<br />

Asystasia gangetica (L.) Anders. 155<br />

Azadirachta 142<br />

A. indica A. Juss. -<br />

Baccaurea ramiflora Lour. 143<br />

Balanocarpus 122<br />

B. heimii King 122<br />

Balanophoraceae 81,172<br />

Balsaminaceae 9,11,71,73<br />

Bambusa 165,166,199<br />

213<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


214 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

B. arundinaceae Willd. -<br />

B. anceps Pierre 140<br />

Caesalpinioideae 6,9,106,112,113<br />

Cassia 15,113,114<br />

215<br />

B. blumeana Schult 166<br />

B. anceps Pierre var. cambodiense (Pierre)Robyns 140<br />

Cajanus 115<br />

C. alata L. 114<br />

B. burmanica Gamble 166<br />

B. ceiba L. 140<br />

Calamus 11,12,162,163,165,166<br />

C. bakeriana Craib 114<br />

B. longispiculata Gamble 166<br />

Boraginaceae 78,187<br />

Calocedrus macrolepis Kurz 95,96<br />

C. fistula L. 114<br />

B, multiplex (Lour.) Raeusch. ex J.A. & J.H.<br />

Schult var. multiplex 166<br />

B. nutans Wall. ex Munro 166<br />

B. polymorpha Munro 166<br />

B. vulgaris Schrad. 166<br />

B. tulda Roxb. 166<br />

Bambusoideae 164,199<br />

Barleria cristata L. 155<br />

Barleria luplina Lindl. -<br />

Bauhinia 9,10,13,113,114<br />

B. variegate L. 114<br />

B. wintii Craib -<br />

Beaumontia multiflora Teijsm. & Binn. 153<br />

Begoniaceae 74,172<br />

Beilschmiedia 99,105<br />

B. gammieana King ex Hook.f. -<br />

Berrya ammonilla Roxb. 134<br />

Bignoniaceae 9,78,79,80,155,158,170,171,172,173,<br />

175<br />

Bixaceae 68,174<br />

Boehmeria 130<br />

Bombacaceae 134,170,171,172,173,174<br />

Bombax 8,135,140<br />

Borassoideae 162<br />

Borassus flabellifer L. 163<br />

Bouea 149,150<br />

B. macrophylla Griff. -<br />

B. oppositifolia (Roxb.) Meisn. -<br />

Bougainvillea 85<br />

Bromeliaceae -<br />

Brucea 141,142<br />

B. javanica (L.) Merr. 141<br />

B. mollis (Wall.) Kurz 141<br />

Bruguiera 131<br />

B. sexangula (Lour.) Poir. -<br />

Buchanania 69,149<br />

B. lanzan Spreng. -<br />

B. reticulate Hance -<br />

Burmanniaceae 89<br />

Burseraceae 71,72,138,141,142,170,172,177<br />

Butomaceae 87<br />

Buxaceae -<br />

Cactaceae 21,75,80,172<br />

Caesalpinia 6,9,113,114<br />

C. sappan L. 114<br />

Calophyllum 109,119<br />

C. inophyllum -<br />

C. inophyllum L. -<br />

Camellia 120<br />

C. sinensis Kuntze var. assamica Kitam. -<br />

Campanulaceae 80,81,173,177<br />

Campnosperma coriaceum (Jack) Hall.f. ex Steen. -<br />

Cananga 103<br />

C. latifolia Finet & Gagnep. 103<br />

C. odorata Hook.f. & Thoms. -<br />

Canarium subulatum Guillaumin -<br />

Canavalia 115<br />

Cannaceae 90<br />

Capparaceae 61,67,74,171,174,187<br />

Caprifoliaceae 81,170,171,172<br />

Carallia 127,131<br />

Cardiospermum 73,173<br />

Caricaceae 77<br />

Carissa carandus L. 153<br />

Caryophyllaceae 70,170<br />

Caryota 160,163<br />

Caryotoideae 163<br />

C. garrettiana Craib 114<br />

C. occidentalis L. 114<br />

C. siamea Lamk. 114<br />

C. timoriensis DC. 114<br />

Castanopsis 5,60,124,125<br />

C. pierrei Hance -<br />

Casuarina equisetifolia J.R. Forster & G. Forster<br />

123,126<br />

C. junghuhniana Miq. 123<br />

Casuarinaceae 81,123,126,170<br />

Catharanthus roseus (L.) G. Don 153<br />

Ceiba 135,140,185<br />

C. pentandra (L.) Gaertn. -<br />

Celastraceae 71,73,144,170,171,172,174,175<br />

Celtis 129<br />

Cephalostachyum 164,165<br />

Cephalostachyum pergracile Munro -<br />

C, virgatum Kurz 165<br />

Cephalotaxaceae 92,94,96<br />

Cephalotaxus griffithii Hook.f. 94<br />

Cerbera odollum Gaertn. -<br />

Ceriops 131<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


216 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

C. decandra (Griff.) Ding Hou -<br />

Congea tomentosa Roxb. 161<br />

Chamaecyparis 95<br />

Conifera 58,91,92<br />

Chenopodiaceae 86<br />

Coniferales 91,92<br />

Chloranthaceae 83,170,172<br />

Connaraceae 69,170<br />

Chrysophyllum cainito L. 151<br />

Convolvulaceae 79,171<br />

Chukrasia 143<br />

Corchorus -<br />

C. tabularis A. Juss. -<br />

C. capsularis L. -<br />

Cinchona ledgeriana Moens. 154<br />

Cornaceae 76,172,174<br />

C. succirubra Pav. ex Klotzsch 154<br />

Corypha 162,163<br />

Cinnanomum -<br />

C. lecomtei Becc. -<br />

Clematis 82,175<br />

Coryphoideae -<br />

Cleome 74<br />

Cotoneaster 111<br />

Clerodendrum paniculatum L. 161<br />

Cotylelobium 110,121,122<br />

C. thomsonae Balf.f. -<br />

C. melanoxylon Pierre 122<br />

C. viscosum Vent -<br />

Crassulaceae 77,171<br />

Clethraceae -<br />

Cratoxylum 8,109,120,174<br />

Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau 155 C. arborescens Blume 120<br />

Cocos 162,163<br />

C. formosum Dyer 120<br />

C. nucifera L. -<br />

C. maingayi Dyer 120<br />

Cocossoideae -<br />

Crescentia cujete L. 156<br />

Coffea arabica L. 154<br />

Crotalaria 115<br />

C. canephora Pierre ex Frohner 154<br />

Croton 10,13,143,145,173<br />

Combretaceae 76,81,86,128,131,132,170,171,172,174 C. oblongifolius Roxb. 143<br />

Commelinaceae 88<br />

C. sublyratus Kurz 143<br />

Commelinales 161<br />

C. tiglium L. -<br />

Compositae 172,173,174,175,179,182,185,187,189,191Cruciferae 6,61,71,74,193,195,197<br />

217<br />

Crudia 113,114<br />

Dalbergia 1156,116<br />

C. chrysantha (Pierre) K. Schum. -<br />

Dalbergia cochinchinensis Pierre -<br />

Cryptocarya 17,105<br />

D. cultrate Craib -<br />

Cucurbitaceae 76,80,116,171,173,176<br />

D. oliveri Gamble 116<br />

Cupressaceae 92,93,94,96<br />

Datiscaceae 86,117,170,171,172<br />

Cupressus 95<br />

Dehaasia 105<br />

Cyathocalyx 103<br />

Dendrocalamus 165,166<br />

C. martabanicus Hook.f. & Thoms. 103<br />

D. asper Back. ex K. Heyne 166<br />

Cycadaceae 65,91,96,179<br />

D. brandisii Kurz 166<br />

Cycadales 58,91<br />

D. giganteus Munro 166<br />

Cycas circinalis L. -<br />

Dendrocalamus hamiltonii Nees & Arn. ex Munro -<br />

C. micholitzii dyer var. simplicipinna Smith. - D. latiflorus Munro 166<br />

C. pertinata Griff. -<br />

D. longispathus Kurz 166<br />

C. revolute Thunb. 92<br />

D. membranaceus Munro 166<br />

C. rumphii Miq. 92<br />

D. sericeus Munro 166<br />

C. siamensis Miq. 92<br />

D. strictus Nees 166<br />

Cynometra 113,114,115<br />

Dendrocnide 126,130<br />

C. ramiflora L. 115<br />

D. sinuate Chew 130<br />

Cyperaceae 10,11,161,163,167,178<br />

D. stimulans Chew -<br />

Cyrtostachys 162<br />

Derris 115<br />

C. renda Blume -<br />

Desmos chinensis Lour. 104<br />

Dacrycarpus 93,94<br />

Dialium 113,115<br />

D. imbricatus (Blume) de Laub. var. patulus de Laub. 94 D. cochinchinense Pierre 115<br />

Dacrydium 93<br />

D. platysepalum Bak. 115<br />

D. elatum (Roxb.) Wall. 93<br />

Dicotyledonae 65,100<br />

Daemonorops 162,163<br />

Didymosperma -<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


218 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

Dillenia 66,67,68,109,117,118,171,172<br />

Dolichandrone 155,156,158<br />

D. aurea Smith 118<br />

D. spathacea (L.f.) K. Schum. -<br />

D. excelsa Martelli 119<br />

Dolichos 115<br />

Dillenia grandifolia Wall. -<br />

Donella 150,151<br />

D. indica L. 119<br />

D. lanceolata (Blume) Aubreville -<br />

D. obovata (Blume) Hoogl. 118<br />

Dracontomelon 149<br />

D. ovata Wall. 119<br />

Dracontomelon dao (Blanco) Merr. 150<br />

D. parviflora Griff. 118<br />

Droseraceae 67,69,171<br />

D. pentagyna Roxb. 118<br />

Duchesnea 111<br />

D. reticulate King 119<br />

Duranta erecta L. 161<br />

Dilleniaceae 66,67,68,109,117,171,172 Durio 134,135,137,140<br />

Dimocarpus longana Lour. 144<br />

D. griffithii (Mast.) Bakh. 140<br />

Dinochloa 165<br />

D.mansoni (Gamble) Bakh. 140<br />

D. scandens 165<br />

D. zibethinus L. 140<br />

Dioscoreaceae 89,161<br />

Dyera 152,153<br />

Diospyros 11,14,147,151<br />

D. costulata (Miq.) Hook.f.-<br />

D. kaki L.f. -<br />

Ebenaceae 11,77,147,150,151,170,171,172<br />

D. mollis Griff. -<br />

Ebenales 101,150<br />

Diptera 151<br />

Elaeagnaceae 86,172,173<br />

Dipterocarpaceae 9,68,72,110,117,121,170,171,172,174 Elaeis 162<br />

Dipterocarpus 8,9,110,121,122<br />

Engelhardtia 82<br />

D. intricatus Dyer 122<br />

Entada 108,112,113<br />

D. obtusifolius Teijsm. ex Miq. 122<br />

E. glandulosa Pierre ex Gagnep. 113<br />

D. tuberculatus Gaertn.f. -<br />

E. rheedii Spreng 113<br />

Docynia 111<br />

E. spiralis Ridl. 113<br />

D. indica Decne -<br />

Equisetaceae 58<br />

Eranthemum wattii Stapf 155<br />

Ericaceae 69,77,80,173<br />

Eriocaulaceae 11,88<br />

Erythroxylaceae -<br />

Erythroxylum coca L. 141<br />

E. cuncatum Kurz 141<br />

Escalloniaceae 76<br />

Eucalyptus 12,17,86,132<br />

Eugeissona 160,162<br />

Euphorbia 9,10,21,64,81,82,83,85,86,141,143,145,<br />

171,172,173,174<br />

E. hirta L. -<br />

E. pulcherrima Willd. -<br />

Euphorbiaceae 81,82,83,85,86,141,143,145,171,172,<br />

173,174<br />

Eurycoma 138,141,142<br />

E. harmandiana Pierre 141<br />

E. longifolia Jack 141<br />

Fagaceae 82,123,124,125,170,171,172<br />

Fagraea 148,152<br />

F. ceilanica Thurb. -<br />

F. fragrans Roxb. 152<br />

Fernandoa 155,156<br />

F. adenophyllum (Wall. ex G. Don) Steenis -<br />

Ficus 8,127,130<br />

F. benjamina L. 130<br />

F. racemosa 130<br />

Firmiana 140<br />

Flacourtiaceae 84,170,171,172,174<br />

Flagellariaceae 88<br />

Fragaria x ananassa Duchesne 111<br />

Garcinia 119,120<br />

G. atroviridis Griff. 120<br />

G. cowa Roxb. 120<br />

G. hanburyi Hook.f. 120<br />

G. schomburgkiana Pierre 120<br />

Gardenia 14,153,154<br />

G. augusta (L.) Merr. -<br />

G. collinsae Craib -<br />

Garuga pinnata Roxb. 142<br />

Gentianaceae 148,170,171<br />

Gentiales -<br />

Geraniales 101,141,144<br />

Gesneriaceae 60,80,81,172,178<br />

Gigantochloa 165,166,167<br />

G. albociliata Kurz 166<br />

G. apus Kurz 166<br />

G. auriculata Kurz -<br />

G. hasskarliana Back. ex K. Heyne 166<br />

G. ligulata Gamble 166<br />

G. nigrociliata Kurz 166<br />

Ginkgoales 58<br />

Gironniera 129<br />

219<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


220 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

G. nervosa Planch -<br />

H. cordifolia (Roxb.) Ridsdale -<br />

Hydnocarpus 108,117<br />

Justicia betonica L. 155<br />

221<br />

Glumiflorae 161,163<br />

Hamamelidaceae 74,75,106,116,170,172,173<br />

H. anthelminthicus Pierre ex Laness. 117<br />

Kadsura 67<br />

Gluta 7,149,150<br />

Harrisonia 141<br />

Hydrangea 8,83,170<br />

Kalanchoe 77<br />

G. laccifera (Pierre) Ding Hou 150<br />

H. perforate (Blanco) Merr. 141<br />

Hydrocharitaceae 89<br />

Kandelia 131<br />

G. usitata (Wall.) Ding Hou -<br />

Helicia 85,123,126<br />

Hydrophyllaceae 79,171<br />

Kerriodoxa elegans -<br />

Glycine 115<br />

Heliciopsis 123<br />

Hymenodictyon 153,154<br />

Kigelia Africana (Lamk.) Benth. -<br />

Gmelina 7,16,156,159,161<br />

H. terminalis Sleumer -<br />

H. excelsum Wall. -<br />

Kmeria 103<br />

G. arborea Roxb. -<br />

Heritiera 140<br />

Hypericaceae 69,109,119,120<br />

K. duperreana (Pierre) Dandy -<br />

G. philippensis Cham. -<br />

Hermandia -<br />

Hypoxidaceae 89<br />

Knema 16,104<br />

Gnetaceae 58,65,95,97,179<br />

Hermandiaceae -<br />

Icacinaceae 73,74<br />

Koompassia 113,115<br />

Gnetales 58,91,95<br />

Hevea 85<br />

Iguanura 162<br />

K. excelsa (Becc.) Taubert 115<br />

Gnetum 16,65,95,97<br />

Hibiscus 135,137<br />

Illiciaceae 67<br />

K. malaccensis Maingay ex Benth. 115<br />

G. cuspidatum Blume -<br />

H. tiliaceus L. -<br />

Illicium 67<br />

Korthalsia 162<br />

G. gnemon L. var. gnemon Markgraf 95<br />

Holarrhena 152,153<br />

Illigera 85<br />

Labiatae 6,9,60,78,156,170,173,177,178,187<br />

G. gnemon L. var. tenerum Markgraf 95<br />

H. antidysenterica Wall. -<br />

Indorouchera 70<br />

Lagerstroemia 14,17,136,146<br />

Gnetum macrostachyum Hook.f. 97<br />

Homalium 70<br />

Intsia 113,114,115<br />

L. balance Koehne -<br />

Gonystylaceae 68<br />

H. grandiflorum Benth. -<br />

I. bijuga (Colebr.) O. Kuntze 115<br />

L. calyculata Kurz -<br />

Goodeniaceae 80,172,188<br />

H. tomentosum Benth. -<br />

I. palembanica Miq. 115<br />

L. floribunda Jack 133<br />

Gramineae 6,55,87,161,164,187,189,191,199<br />

Hopea 110,121,122<br />

Iridaceae 89<br />

L. indica L. 133<br />

Grevillea robusta A. Cunn. ex R. Br. 123<br />

H. apiculata Sym. -<br />

Isoetaceae 58<br />

L. loudonii Teijsm. & Binn. 133<br />

Guttiferae 6,67,117,119,170,171,172,173,174<br />

H. ferrea Pierre -<br />

Ixonanthes 68<br />

L. macrocarpa Wall. 133<br />

Guttiferales 101,117<br />

H. helferi Brandis 122<br />

Ixora 14,148,154<br />

L. speciosa Pers 133<br />

Gymnacranthera 104<br />

H. oblongifolia Dyer 122<br />

I. grandifolia Zoll. & Morton -<br />

L. villosa Wall. 133<br />

Gymnospermae 65<br />

H. odorata Roxb. 122<br />

Jacaranda mimosifolia D. Don 156<br />

Lannea 149<br />

Gymnosperms 6,58,91<br />

H. recopei Pierre ex Laness. -<br />

Johanesteysmannia 162<br />

Lannea coromandelica (Houtt.) Merr. -<br />

Haldina 153,154<br />

Horsfieldia 104<br />

Juglandaceae 82,170,172<br />

Lantana camara L. 16<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


222 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

Laportea 130<br />

L. bulbifera Wedd. -<br />

L. interrupta Chew 222<br />

Lauraceae 9,84,99,102,104,170,171,172,173,174,198L. duperreanum Pierre 144<br />

Lawsonia inermis L. 133<br />

Lecythidaceae 75<br />

Leeaceae -<br />

Leguminosae 60,74,77,83,85,106,111,170,172,173,<br />

174,175,193,196<br />

Lemaceae -<br />

Lentibulariaceae 76<br />

Lepidocaryoideae 162<br />

Lepisanthes fruticosa (Roxb.) Leenh. -<br />

L. rubiginosam (Roxb.) Leenh. -<br />

Licuala 162<br />

L. spinosa Wurmb. -<br />

Liliaceae 88,89<br />

Liliaflorae -<br />

Linaceae 68,70,88,173<br />

Lindera 105<br />

Litchi chinensis Sonn. 144<br />

Lithocarpus 5,15,60,124,125<br />

L. encleisacarpus Barnett -<br />

L. harnandii A. Camus -<br />

Litsea 13,105<br />

Livistona 162,163<br />

L. speciosa Kurz -<br />

Loganiaceae 78,152,170,171,172,173,174,177<br />

Lophopetalum 144<br />

L. javanicum (Zoll.) Tucz. -<br />

L. wallichii Kurz 144<br />

Loranthaceae 75,80,83,170,172<br />

Lumnitzera 132<br />

L. racemosa Willd. -<br />

Lycopodiaceae 58<br />

Lythraceae 69,71,131,133,136,146,170,171,172<br />

Madhuca 11,151<br />

M. esculenta Fletcher 151<br />

M. grandiflora Fletcher -<br />

M. pierrei H.J. Lam -<br />

Malus sp. 111<br />

Magnolia 67,98,102,103,170,171,172<br />

M. coco (Lour.) DC. 103<br />

M. craibiana Dandy 103<br />

M. henryi Craib -<br />

Magnoliaceae 10,67,98,102,103,170,171,172<br />

Malpighiaceae 69,70,72,170,174,194<br />

Malvaceae 134,137,170,171,172,173,174,175,176,183,<br />

195<br />

Malvales 101,134<br />

Malvaviscus 135<br />

Mammea 119<br />

M. siamensis Kosterm. 120<br />

Mangifera 7,8,149<br />

M. caloneura Kurz -<br />

M. foetida Lour. -<br />

Mangifera indica L. 7,8,150<br />

M. lagenifera Griff. -<br />

M. sylvatica Roxb. 149<br />

Manglietia 103<br />

M. garrettii Craib -<br />

Manihot esculenta Crantz 143<br />

Manikara 151<br />

M. achras (Mill.) Fosberg -<br />

M. hexandra Dubard -<br />

Mansonia gagei Drumm. 134<br />

Marantaceae 90,174,179<br />

Markhamia 5,155,156<br />

M. stipulate (Wall.) Seem ex K. Schum. var.<br />

stipulate -<br />

Melaleuca leucadendra L. var. minor Duthie -<br />

Melastomataceae 174<br />

Melia 142,143<br />

M. azedarach L. -<br />

Meliaceae 73,139,141,142,170,171,172,174<br />

Meliosma 72<br />

Melocalamus 165,166<br />

223<br />

M. compactiflorus Benth. 166<br />

Melocanna 164,165<br />

M. humilis Kurz 165<br />

Melodorum fruticosum Lour. 104<br />

Menispermaceae 67,69,102,106,170,171,172,174<br />

Mesua 119<br />

M. ferrea L. 120<br />

Metroxylon 162,163<br />

Metroxylon sagus Rottb. 163<br />

Mezzettia 103<br />

M. leptopoda Oliv. 103<br />

Michelia 103<br />

M. alba DC. -<br />

M. champaca L. -<br />

M. figo (Lour.) Spreng. -<br />

Millettia 115,116<br />

M. atropurpurea Benth. 116<br />

M. leucantha Kurz 116<br />

M. pendula Benth. 116<br />

Millingtonia hortensis L.f.Mimosoideae -<br />

Mimusops elengi L. 147<br />

Mitragyna 153,154<br />

M. brunonis (Wall. ex D. Don) Craib -<br />

Monimiaceae 83,170<br />

Monocotyledonae 65,87,100,161<br />

Moraceae 82,83,86,127,129,130,170,171,172,173<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


224 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

Morinda 153,154<br />

Nephelium hypoleucum Kurz 144<br />

Palmales 161<br />

Pentas lanceolata (Forssk.) Deflers 154<br />

225<br />

M. citrifolia L. -<br />

N. lappaceum L. -<br />

Pandanaceae 87,167<br />

Persea 105<br />

M. coreia Ham. -<br />

Nerium oleander L. 153<br />

Papilionoideae 6,9,106,112,115,184<br />

Petrea volubilis L. 161<br />

M. elliptica Ridl. 154<br />

Nipoideae 162<br />

Paradombeta -<br />

Phaseolus -<br />

Moringaceae 61,170<br />

Nyctaginaceae 85,86<br />

Paramichelia -<br />

Philydraceae 88<br />

Muntingia calabura L. 135<br />

Nymphaeaceae 66,74,172<br />

P. baillonii (Pierre) Hu -<br />

Phlogacanthus curviflorus Nees 155<br />

Musaceae 9,89,161<br />

Nymphoides 78<br />

Parashorea 121,122<br />

Phoebe 105<br />

Mussaenda erythrophylla Schum. ex Thonn. -<br />

Nypa 162,163<br />

P. stellata Kurz 122<br />

Phoenicoideae -<br />

M. phillipica A. Rich. var. aurorae Sulit -<br />

N. fruticans Wurmb. -<br />

Parinari 111<br />

Phoenix 14,17,162<br />

M. sanderiana Roxb. -<br />

Ochnaceae 68,171<br />

P. anamense Hance 111<br />

Pholidocarpus 162<br />

Myrialepis 162,163<br />

Olacaceae 72,76,171<br />

Parkia 112<br />

Phyllanthus 14,17,143<br />

Myricaceae 82<br />

Oleaceae 79,170,173,175<br />

P. leiophylla Kurz 112<br />

P. acidus (L.) Skeels -<br />

Myristica 104<br />

Onagraceae 76,172<br />

P. speciosa Hassk. 112<br />

P. amarus Schum. & Thonn. 143<br />

Myristicaceae 85,102,170,171,172,173,174<br />

Oncosperma 162<br />

P. sumatrana Miq. 112<br />

P. emblica L. 143<br />

Myrsinaceae 78,171,173<br />

Opiliaceae 73,76,85<br />

P. timoriana (DC.) Merr. 112<br />

Picrasma 141<br />

Myrtaceae 10,17,75,76,86,128,131,132,170,171,172,<br />

173<br />

Myrtales 101,131<br />

Najadaceae 87<br />

Nauclea 153,154,157<br />

N. orientalis L. -<br />

Neesia 135,140<br />

N. altissima (Blume) Blume 140<br />

Nelumbo 66<br />

Neolitsea 105<br />

Nepenthaceae 85,173<br />

Orania 162,163<br />

O. sylvicola Moore -<br />

Orchidaceae 8,9,10,60,89,90,111,161,167,193<br />

Orchidales 161<br />

Orobanchaceae 76<br />

Oroxylum indicum (L.) Kurz 156<br />

Oxalidaceae 71,170<br />

Pachyptera hymenaea (DC.) A. Gentry 156<br />

Palaquium 151<br />

P. obovatum (Griff.) Engler -<br />

Palmae 6,9,88,161,162,179<br />

Passifloraceae 70,171,176,184<br />

Passiflorales 101,116<br />

Payena 150<br />

P. lucida A. DC. -<br />

Pedaliaceae 79,170<br />

Peltophorum 113,114,115<br />

P. dasyrachis (Miq.) Kurz 115<br />

P. pterocarpum (DC.) Back. ex K. Heyne 115<br />

Pentace 134<br />

P. burmanica Kurz 134<br />

Pentaphragma 81<br />

P. javanica Blume 141<br />

Pilea 86,130<br />

Pinaceae 65,92,94,97<br />

Pinanga 162<br />

Pinus 65,94,97<br />

Pinus kesiya Royle ex Gord. -<br />

P. merkusii Jungh. & de Vries 94<br />

Piperaceae 82,83<br />

Pittosporaceae 72,74<br />

Planchonella 150,151<br />

P. obovata Pierre -<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


226 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

Plantaginaceae 79<br />

Platymitra 103<br />

P. siamensis Craib 103<br />

Plectocomia 163<br />

Plectocomiopsis 162,163<br />

Plumbaginaceae 78,171<br />

Plumeria 80,153,175<br />

P. obtuse L. -<br />

P. rubra L. 153<br />

Podocarpaceae 65,92,93,199<br />

Podocarpus 93<br />

P. motleyi (Parl.) Dum. -<br />

P. neriifolius D. Don 93<br />

P. pilgeri Foxw. 93<br />

P. polystachyus R. Br. 93<br />

P. wallichianus Presl. 94<br />

Poikilospermum 130<br />

P. suaveolens Merr. -<br />

Polyalthia 98,103<br />

P. viridis Craib 163<br />

Polygalaceae 70,71,174<br />

Polygonaceae 73,77,86,171,172<br />

Polyosma 76<br />

Pontederiaceae 88<br />

Portulacaceae 67,70,75,171,172<br />

Potentilla 111<br />

Pouzolzia 130<br />

Premna 14,156,161<br />

P. obtusifolia R. Br. -<br />

P. tomentosa Willd. -<br />

Proteaceae 85,123,126,170,171,172<br />

Proteales 101,122<br />

Protium serratum Engl. 138,142<br />

Prunus 12,85,99,111<br />

P. arborea (Blume) Kalkman 111<br />

P. cerasoides D. Don 111<br />

P. persica (L.) Batsch -<br />

Pseudosasa 165,166<br />

Psilotaceae 58<br />

Psidium guajava L. 132<br />

Pterocarpus 9,11,16,107,115,174<br />

P. indicus Willd. 8,116<br />

P. macrocarpus Kurz 116<br />

Pterocymbium 16,140<br />

Pterospermum 5,16,137,140<br />

P. diversifolium Blume 140<br />

Pterygota 140<br />

Punica granatum L. 133<br />

Pyrostegia venusta (Ker) Miers 156<br />

Pyrus 111<br />

P. pyrifolia (Burm.f.) Nakai -<br />

Quercus 12,60,124,125<br />

227<br />

Quercus semiserrata Roxb. -<br />

Salacca 160,162,163<br />

Rafflesia 81<br />

S. conferta (Griff.) Burr. -<br />

Rafflesiaceae 81<br />

S. rumphii Wall. -<br />

Ranales 100,102<br />

Salacia 71<br />

Ranunculaceae 66,82,171,175,182<br />

Salicaceae 82,175<br />

Rauvolfia serpentine (L.) Benth ex Kurz - Sandoricum 142<br />

Rauwenhoffia siamensis Scheff. 104<br />

S. koetjape (Burm.f.) Merr. -<br />

Rhamnaceae 71,73,76,84,171,173,190 Santalaceae 87,170,172<br />

Rhapis 162<br />

Sa[indaceae -<br />

Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz -<br />

Sapindales 101,143<br />

Rhizophora 127,131<br />

Sapindus rarak DC. 144<br />

R. apiculata Chew -<br />

Sapotaceae 11,77,78,147,150,170,171,172,173<br />

Rhizophoraceae 75,76,127,131,132,170,171,172 Saraca 113,114,115<br />

Rhododendron 5,12,13,77,173<br />

S. declinata (Jack) Miq. 115<br />

Rhus succedanea L. 150<br />

S. indica L. 115<br />

Ricinus 86,143<br />

S. thaipingensis Cantley ex Prain 115<br />

R, communis L. -<br />

Saxifragaceae 171,172<br />

Rosa 106,111<br />

Scaphium 140<br />

Rosaceae 67,69,74,75,84,85,99,106,111,170,171,172S. scaphigerum (G. Don) Guib. & Planch. 141<br />

Rosales 4,100,106<br />

Schima 120<br />

Rubiaceae 102,132,148,153,157,170<br />

S. wallichii Korth. 120<br />

Rubiales 153<br />

Schisandraceae 67<br />

Rubus 99,111<br />

Schizostachyum 164,165<br />

R. alceifolius Poir -<br />

S. aciculare Gamble -<br />

Rutaceae 68,69,71,157,170,173,174<br />

S. brachycladum Kurz 165<br />

Sabiaceae 72,171<br />

S. zollingeri Steud. 165<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


228 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

Schleichera oleosa (Lour.) Oken 144<br />

S. pierrei Diels 105<br />

S. malacensis (L.) Merr. -<br />

T. nudiflora R. Br. ex Benn. 117<br />

229<br />

Schoutenia hypoleuca Pierre 134<br />

Scrophulariaceae 60,79,170,177,178<br />

Selarginellaceae -<br />

Semecarpus 149<br />

S. cochinchinensis Engl. -<br />

Shorea 7,60,121,122<br />

S. obtuse Wall. 122<br />

S. roxburghii G. Don 122<br />

S. siamensis Miq. -<br />

S. sumatrana Sym. -<br />

Simaroubaceae 69,71,138,141<br />

Sindora 113,114<br />

S. coriacea (Bak.) Prain 115<br />

S. echinocalyx Prain 115<br />

S. siamensis Teysm. ex Miq. -<br />

Smilacaceae 88,161<br />

Solanaceae 79,174<br />

Sophora 115<br />

Sorbus 111<br />

Spathodea campanulata Beauv. -<br />

Spondias 71,149,150<br />

S. pinnata (L.f.) Kurz -<br />

Staphyleaceae 70,170<br />

Stephania japonica (Thunb.) Miers var. discolor<br />

(Blume) Forman 105<br />

Sterculia 83,140,141<br />

S. foetida -<br />

Sterculiaceae 73,84,134,171,172,174,176<br />

Stereospermum 155,156<br />

S. cylindricum Pierre ex G. Don -<br />

Stermonaceae 161<br />

Strychnos 139,152,173,174<br />

S. nux-vomica L. -<br />

Stylidiaceae 81,172<br />

Styracaceae 73,77,151,170,171,172<br />

Styrax 151<br />

S. benzoides Craib 151<br />

S. benzoin Dryander 151<br />

S. betongensis Fletcher 151<br />

Suregada 143<br />

S. multiflorum (A. Juss.) Baill. 143<br />

Swietenia macrophylla King -<br />

Swintonia 149<br />

S. floribunda Griff. -<br />

S. schwenkii (Teijsm. & Binn. -<br />

Symplocaceae 80<br />

Syzygium 5,10,128,132<br />

S. aromatica (L.) Merr. -<br />

S. cumini (L.) Skeels 132<br />

S. jambos (L.) Alsoton 132<br />

S. samarangense (Blume) Merr. & L.M. Perry<br />

var. samarangense 132<br />

Syzygium sp. -<br />

Tabebuia rosea (Bertol.) DC. 156<br />

Tabermaemontana divaricata (L.) R. Br. ex Roem.<br />

& Schult. -<br />

Taccaceae 89<br />

Talauma -<br />

T. betongensis Craib -<br />

T. candollei Blume -<br />

T. hodgsonii Hook.f. & Thoms. -<br />

Talauma siamensis Dandy -<br />

Talinum 67<br />

Tamarindus 113,114,115<br />

T. indica L. 115<br />

Tecoma stans (L.) H.B.K. 156<br />

Tectona 5,156,161<br />

T. grandis L.f. -<br />

Teinostachyum 165<br />

T. griffithii Munro 165<br />

Temnodaphne -<br />

Terminalia 81,86,128,132<br />

T. calamansanai Rolfe -<br />

Terstroemia -<br />

Tetracera 14,68,109,118<br />

Tetramele -<br />

Theaceae 75,77,117,120,170,171,172<br />

Thespesia populnea (L.) Soland ex Corr. 135<br />

Thevetia peruviana (Pers.) K. Schum. -<br />

Thuja orientalis -<br />

Thymelaeaceae 84<br />

Thyesostachys..-<br />

T. oliveri Gamble 166<br />

T. siamensis Gamble 166<br />

Tiliaceae 134,170,171,172,174,176<br />

Tiliacora triandra Diels 105<br />

Tinospora crispa (L.) Hook.f. & Thoms. 105<br />

T. Toona -<br />

T. ciliatan M. Rorm -<br />

Trachylospermum 162<br />

Trema 129<br />

T. orientalis Blume 130<br />

Trigonobalanus 124,125<br />

T. doichangensis (A. Camus) Forman 124<br />

Triuridaceae 87<br />

Tubiflorae 101,155<br />

Turneraceae 70,173<br />

Typhaceae 87<br />

Ulmaceae 84,129,170,171,174<br />

Ulmus 129,130,174<br />

U. lancifolia Roxb. 130<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


230 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

Umbelliferae 6,55,75,170,172,173,174,195<br />

Uncaria sp. -<br />

Nielsen -<br />

Xylocarpus 139,143<br />

เพิ่มเติม<br />

231<br />

Urticaceae 82,86,126,129,130,171,174<br />

X. gangeticus Parkinson 143<br />

Urticales 101,129<br />

X. moluccensis (Lam.) M. Roem. -<br />

Uvaria grandiflora Roxb. -<br />

Xyridaceae -<br />

Vatica 110,121,122<br />

Zingiberaceae 90,161,169,173,179,189<br />

V. diospyroides Sym. 122<br />

Zingiberales 161<br />

V. pauciflora (Korth.) Blume -<br />

Zollingeria dongnaiensis Pierre 144<br />

V. stapfiana van Slorten -<br />

Verbenaceae 78,155,156,161,170,171,172,173,174,178<br />

Vicia 115<br />

Vigna 115<br />

Violaceae 74,173,174<br />

Vitex 156,159,161<br />

V. canescena Kurz -<br />

V. limonifolia Wall. -<br />

V. peduncularis Wall. ex Schauer -<br />

V. pinnata L. -<br />

V. trifoliate L. -<br />

Wallichia 163<br />

Walsura robusta Roxb. 143<br />

W. villosa Wall. ex Wight & Arn. 143<br />

Wrightia 10,11,13,147,152,153<br />

W. tomentosa Roem. & Schult. -<br />

Xylia 112,113<br />

X. xylocarpa (Roxb.) Taub. Var. kerrii (Craib & Hutch.) -<br />

<strong>คู่มือ</strong>จำแนกพรรณไม้


232 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช<br />

เพิ่มเติม

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!