03.08.2016 Views

LM July

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

หน่วยงานนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง<br />

๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘ วันคล้ายวันพระราชสมภพ<br />

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ<br />

๙ แผ่นดิน ของการปฏิรูประบบราชการ<br />

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม<br />

ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๙๒ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘<br />

www.lakmuangonline.com


๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๘<br />

ร่วมเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์ ปั่นจักรยานเพื่อแม่<br />

เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ แม่ของแผ่นดิน<br />

รวมพลังแห่งความรัก และสามัคคี<br />

ถวายเป็นพระราชสดุดี<br />

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศาลากลางจังหวัด<br />

โทร. ๑๑๒๒ / www.bikeformom2015.com


ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ข อ ง ส ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม<br />

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์<br />

พล.อ.วันชัย เรืองตระกูล<br />

พล.อ.อ.สุวิช จันทประดิษฐ์<br />

พล.อ.ไพบูลย์ เอมพันธุ์<br />

พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา<br />

พล.อ.ธีรเดช มีเพียร<br />

พล.อ.ธวัช เกษร์อังกูร<br />

พล.อ.สัมพันธ์ บุญญานันต์<br />

พล.อ.อู้ด เบื้องบน<br />

พล.อ.สิริชัย ธัญญสิริ<br />

พล.อ.วินัย ภัททิยกุล<br />

พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ<br />

พล.อ.กิตติพงษ์ เกษโกวิท<br />

พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์<br />

พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์<br />

พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน<br />

พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก<br />

พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์<br />

ที่ปรึกษา<br />

พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล<br />

พล.อ.อ.ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ์<br />

พล.อ.ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ<br />

พล.ร.อ.ชุมนุม อาจวงษ์ ร.น.<br />

พล.อ.วิชิต ศรีประเสริฐ<br />

พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล<br />

พล.อ.นพดล ฟักอังกูร<br />

พล.อ.อดุลยเดช อินทะพงษ์<br />

พล.อ.ชัชวาลย์ ขำเกษม<br />

พล.อ.นิวัติ ศรีเพ็ญ<br />

พล.ท.สุวโรจน์ ทิพย์มงคล<br />

พล.ท.ศิริพงษ์ วงศ์ขันตี<br />

พล.ท.ดำรงศักดิ์ วรรณกลาง<br />

พล.ท.ชุติกรณ์ สีตบุตร<br />

พล.ท.นเรศรักษ์ ฐิตะฐาน<br />

พล.ท.ถเกิงกานต์ ศรีอำไพ<br />

พล.ท.เดชา บุญญปาล<br />

พล.ท.พรรณนพ ศักดิ์วงศ์<br />

พล.ท.ภาณุพล บรรณกิจโศภน<br />

พล.ท.นภนต์ สร้างสมวงษ์<br />

พล.ต.ภราดร จินดาลัทธ<br />

พล.ต.สราวุฒิ รัชตะนาวิน<br />

ผู้อำนวยการ<br />

พล.ต.ณภัทร สุขจิตต์<br />

รองผู้อำนวยการ<br />

พ.อ.ณัฐวุฒิ คล้ายโอภาส<br />

พ.อ.ยุทธนินทร์ บุนนาค<br />

ผู้ช่วยผู้อำนวยการ<br />

พ.อ.ดุจเพ็ชร์ สว่างวรรณ<br />

กองจัดการ<br />

ผู้จัดการ<br />

น.อ.ธวัชชัย รักประยูร<br />

ประจำกองจัดการ<br />

น.อ.กฤษณ์ ไชยสมบัติ<br />

พ.ท.ธนะศักดิ์ ประดิษฐ์ธรรม<br />

พ.ต.ไพบูลย์ รุ่งโรจน์<br />

เหรัญญิก<br />

พ.ท.พลพัฒน์ อาขวานนท์<br />

ผู้ช่วยเหรัญญิก<br />

ร.ท.เวช บุญหล้า<br />

ฝ่ายกฎหมาย<br />

น.ท.สุรชัย สลามเต๊ะ<br />

พิสูจน์อักษร<br />

พ.อ.หญิง วิวรรณ วรวิศิษฏ์ธำรง<br />

กองบรรณาธิการ<br />

บรรณาธิการ<br />

น.อ.พรหมเมธ อติแพทย์ ร.น.<br />

รองบรรณาธิการ<br />

พ.อ.ทวี สุดจิตร์<br />

พ.อ.สุวเทพ ศิริสรณ์<br />

ผู้ช่วยบรรณาธิการ<br />

พ.อ.หญิง ใจทิพย์ อุไพพานิช<br />

ประจำกองบรรณาธิการ<br />

น.ท.ณัทวรรษ พรเลิศ<br />

น.ท.วัฒนสิน ปัตพี ร.น.<br />

พ.ท.ชาตบุตร ศรธรรม<br />

พ.ต.หญิง สิริณี ศรประทุม<br />

พ.ต.จิโรตม์ ชินวัตร<br />

ร.อ.หญิง ลลิดา กล้าหาญ<br />

ร.ท.หญิง พัชรี ชาญชัยพิชิต<br />

ร.ต.จิรวัฒน์ ถนอมธรรม<br />

จ.ส.อ.หญิง ปาลดา สมพงษ์ผึ้ง<br />

จ.อ.หญิง สุพรรัตน์ โรจน์พรหมทอง<br />

น.ท.หญิง รสสุคนธ์ ทองใบ ร.น.<br />

พ.ท.ชุมศักดิ์ สมไร่ขิง<br />

น.ต.ฐิตพร น้อยรักษ์ ร.น.<br />

พ.ต.หญิง สมจิตร พวงโต<br />

ร.อ.หญิง กัญญารัตน์ ชูชาติ ร.น.<br />

ร.ต.ศุภกิจ ภาวิไล<br />

ร.ท.วัชรเทพย์ ปีตะนีละผลิน<br />

ร.ต.หญิง กันยารัตน์ พุกพัก<br />

จ.ส.อ.สมหมาย ภมรนาค<br />

ส.อ.ธีร์นริศวร์ ขอพึ่งธรรม


บทบรรณาธิการ<br />

วารสารหลักเมือง ฉบับประจำเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๘ นี้ แตกต่างจากเดือนกรกฎาคมของ<br />

หลายปีที่ผ่านมา คือ ปัญหาภัยแล้ง ทั้งๆ ที่เป็นการเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูฝน แต่ฝนตกน้อยและมาล่า<br />

กว่าปกติ ในเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการปรับแผนในการเพาะปลูกทำเกษตรกรรม<br />

กับพืชผลทุกชนิด โดยเฉพาะข้าวซึ่งเป็นผลผลิตด้านการเกษตรที่สำคัญของประเทศ ปัญหาภัยแล้ง<br />

และการบริหารจัดการน้ำของประเทศจึงยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญ ทั้งในเรื่องฝนแล้ง น้ำท่วม<br />

โดยปัญหาน้ำท่วมเมื่อเกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องในกรุงเทพมหานคร<br />

อย่างไรก็ตาม ในเรื่องการแก้ปัญหาภัยแล้ง UNESCO ได้กล่าวชื่นชมประเทศไทยในการแก้<br />

ปัญหา ในเรื่องความเท่าเทียมกันของการเข้าถึงทรัพยากรน้ำ และให้ประเทศไทยเป็นตัวอย่างให้กับ<br />

ประเทศในภูมิภาคแถบนี้<br />

ทั้งนี้ เรื่องที่ควรจะต้องสนใจติดตาม และเป็นกระแสสังคมอยู่ขณะนี้ ได้แก่ ความคืบหน้าของ<br />

ร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ พูดได้ว่าเป็นอนาคตของประเทศ เรื่องระหว่างประเทศ หรือในระดับ<br />

สากล มีหลายเรื่องที่พุ่งเป้าถาโถมมาสู่ประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ใบเหลืองการทำประมง<br />

การถูกปักธงแดงจาก ICAO หรือ องค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ เรื่องการค้ามนุษย์ เป็นต้น<br />

นอกจากนี้ ในช่วงปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งมีเรื่องเกี่ยวกับการเปิดบ่อนกาสิโนถูกกฎหมาย<br />

ในประเทศไทยเข้ามาอีก มีกระแสความคิดเห็นจากประชาชน ซึ่งแน่นอนว่าส่วนใหญ่ ประมาณร้อยละ<br />

๔๕ – ๕๕ ของกลุ่มตัวอย่างไม่เห็นด้วย สำหรับในส่วนที่เห็นด้วยให้ความเห็นว่า จะเป็นการสร้าง<br />

รายได้ สำหรับนำเงินไปพัฒนาประเทศได้ โดยความเห็นส่วนตัว กลัวจะเหมือนกับสลากกินแบ่ง<br />

รัฐบาลที่ยังไม่สามารถจะกำกับดูแล หรือควบคุมให้เกิดความเหมาะสมได้ โดยเฉพาะประเด็นของ<br />

“หวยใต้ดิน” หรือ จะให้เป็นไปตามสโลแกนที่ว่า “ช่วยราษฎร์ เสริมรัฐ ยืนหยัดยุติธรรม”<br />

สวัสดีครับ<br />

2


ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๙๒ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘<br />

๔<br />

วันเข้าพรรษา<br />

๖<br />

๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

วันคล้ายวันพระราช<br />

สมภพสมเด็จพระบรม<br />

โอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหา<br />

วชิราลงกรณ สยามมกุฎ<br />

ราชกุมาร<br />

๘<br />

องค์เจ้าฟ้าผู้อนุรักษ์<br />

และรักษาสิ่งแวดล้อม<br />

๑๐<br />

วิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒<br />

๑๒<br />

๙ แผ่นดิน ของการ<br />

ปฏิรูประบบราชการ<br />

พระบาทสมเด็จ<br />

พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

(ตอนที่ ๑)<br />

๑๖<br />

๖ ปี วันคล้ายวัน<br />

สถาปนาสำนักงาน<br />

สนับสนุน สำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

๑๘<br />

๒๕ ปี วันคล้ายวัน<br />

สถาปนา สำนักโยธาธิการ<br />

สำนักงานสนับสนุน<br />

สำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม<br />

๒๐<br />

การเดินทางเข้าร่วมการ<br />

ประชุม IISS Shangri-<br />

La Dialogue ครั้งที่ ๑๔<br />

ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์<br />

๖<br />

๑๖<br />

๒๖<br />

๔๔<br />

๘<br />

๑๘<br />

๓๒<br />

๕๒<br />

๑๒<br />

๒๐<br />

๔๐<br />

๔<br />

๖๒<br />

๒๒<br />

เจาะลึกกลุ่มไอเอส<br />

๒๖<br />

ค่านิยมและความเชื่อ<br />

ที่ฝังแน่น (Enduring<br />

values and beliefs)<br />

กับการกำหนด<br />

ยุทธศาสตร์ความมั่นคง<br />

ของชาติ<br />

๓๒<br />

Watershed Air War<br />

๓๖<br />

ดุลยภาพทางการทหาร<br />

ของประเทศอาเซียน<br />

ฝูงรถรบทหารราบ<br />

บีเอ็มพี-๒<br />

๔๐<br />

เปิดตัว T-14 รถถังใหม่<br />

หรือ Minor Change<br />

๔๔<br />

วัฒนธรรมทางการเมือง<br />

ของสังคมไทยกับ<br />

รัฐธรรมนูญฉบับใหม่<br />

๔๘<br />

การรบใหญ่ที่เมือง<br />

สิเรียม ๒๑๕๖<br />

๕๒<br />

2 days English Camp<br />

๕๔<br />

สาระน่ารู้ทางการแพทย์<br />

“โรคออฟฟิศ ซินโดรม”<br />

๖๒<br />

กิจกรรมสมาคมภริยา<br />

ข้าราชการสำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม<br />

ข้อคิดเห็นและบทความที่นำลงในวารสารหลักเมืองเป็นของผู้เขียน มิใช่ข้อคิดเห็นหรือนโยบายของหน่วยงานของรัฐ และมิได้ผูกพันต่อทางราชการแต่อย่างใด<br />

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถนนสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร./โทรสาร ๐-๒๒๒๕-๘๒๖๒ http://61.19.220.3/opsd/sopsdweb/index_1.htm<br />

พิมพ์ที่ : แผนกโรงพิมพ์ กองบริการ สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ออกแบบ : บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

3


วันเข้าพรรษา<br />

กองประชาสัมพันธ์<br />

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ใ<br />

นเรื่องความเป็นมาของวันเข้าพรรษา<br />

ถ้าว่ากันตามประวัติย่อๆ คือ ใน<br />

ยุคต้นพุทธกาล ก็ยังไม่มีการเข้า<br />

พรรษา เพราะฉะนั้นตลอดทั้งปี เมื่อพระภิกษุ<br />

มีความเห็นว่าท่านควรจะไปเทศน์ ไปสอน<br />

ญาติโยมที่ไหนได้ ท่านพอมีเวลาท่านก็จะไป<br />

แต่เนื่องจากในฤดูฝนมีการทำไร่ทำนากันอยู่<br />

บางครั้งข้าวกล้าของเขาก็เพิ่งหว่านลง<br />

ไปในนา มันเพิ่งงอกออกมาใหม่ๆ บางทีก็ดู<br />

เหมือนหญ้า พระภิกษุก็เดินผ่านไป นึกว่าเป็น<br />

ดงหญ้า ก็เลยย่ำข้าวกล้า ซึ่งก็ทำให้ชาวบ้าน<br />

เดือดร้อน จึงทูลฟ้องพระพุทธเจ้าว่าพระไป<br />

ย่ำข้าวของเขาที่ปลูกเอาไว้ นกกาฤดูฝนมันยัง<br />

อยู่กับรังของมัน พระทำไมไม่รู้จักพักบ้าง เพื ่อ<br />

ตัดปัญหานี้ พระพุทธองค์จึงได้วางระเบียบให้<br />

พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่ง<br />

ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจ<br />

จำเป็นจริงๆ เป็นเวลา ๓ เดือน ในฤดูฝน คือ<br />

เริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ของทุกปี ถ้าปีใด<br />

มีเดือน ๘ สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม ๑<br />

ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น<br />

๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เว้นแต่มีกิจธุระจำเป็นซึ่ง<br />

เมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ใน<br />

วันเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้<br />

คราวหนึ่งไม่เกิน ๗ คืนเรียกว่า สัตตาหะ<br />

หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการ<br />

จำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด<br />

แต่อีกมุมมองหนึ่ง พระองค์ทรงถือ<br />

โอกาสที่เกิดจากปัญหานี้ ได้ทรงเปลี่ยนคำ<br />

ครหาให้กลายเป็นโอกาสดีของพระภิกษุว่า<br />

ถ้าอย่างนั้นพระภิกษุอยู่เป็นที่ในวัดวาอาราม<br />

เพื่อที่จะให้พระใหม่ได้รับการอบรมจาก<br />

พระเก่าได้เต็มที่ เพราะว่าจริงๆ แล้ว ในการอบรม<br />

ถ่ายทอดศีลธรรม ถ่ายทอดธรรมวินัยให้แก่<br />

กันและกันนั้น ถ้าทำอย่างต่อเนื่อง ทำเป็น<br />

ที่เป็นทางต่อเนื่องกันทุกวันๆ อย่างนี้จะ<br />

เป็นการดี การศึกษาธรรมะอย่างต่อเนื่องมีผลดี<br />

เพราะฉะนั้น พระองค์ก็เลยทรงกำหนดขึ้น<br />

มาว่า ให้พระภิกษุอยู่กับที่ในช่วงเข้าพรรษา<br />

อยู่ในวัด แล้วพระใหม่ก็ศึกษาหรือรับการ<br />

ถ่ายทอดธรรมะจากพระเก่า ส่วนพระเก่าก็ทำ<br />

หน้าที่เป็นครูบาอาจารย์ด้วย คือ สอนพระใหม่<br />

เท่านั้นยังไม่พอ พระเก่าก็วางแผน กำหนด<br />

แผนการเลยว่าเมื่อออกพรรษาแล้ว ควรจะ<br />

เดินทางไปโปรดที่ไหน นั่นก็อย่างหนึ ่ง อีกทั้ง<br />

ปรับปรุงหลักสูตรวิธีการเทศน์การสอน การ<br />

อบรมให้เหมาะกับท้องถิ่น ให้เหมาะกับสภาพ<br />

สังคมที่เปลี่ยนไป เป็นต้น และถ้าเราไปตาม<br />

วัดต่างๆ ในฤดูเข้าพรรษานี้เราก็นิยมบวชกัน<br />

แม้จะบวชชั่วคราวแค่พรรษาก็ตาม หรือจะ<br />

บวชระยะยาวก็ตาม ในเมื่อพอเข้าพรรษาแล้ว<br />

พระเก่าพระใหม่ต้องอยู่ที่เดียวกัน พระเก่า<br />

ทำหน้าที่เป็นครูบาอาจารย์ ใครถนัดวิชาไหน<br />

ก็มาสอนวิชานั้นให้แก่พระภิกษุใหม่ ใครถนัด<br />

4<br />

กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


้<br />

พระวินัยก็สอนพระวินัย ใครถนัดสอนนักธรรม<br />

หรือธรรมะก็สอนธรรมะ ใครถนัดสอนพุทธ<br />

ประวัติก็สอนพุทธประวัติ เป็นต้น<br />

ยิ่งกว่านั้น เมื ่อพระใหม่มาอยู่ในวัดกัน<br />

พร้อมหน้าพร้อมตา โยมพ่อโยมแม่ ญาติพี่น้อง<br />

พรรคพวกเพื่อนฝูงของพระใหม่ ได้มาร่วม<br />

ทำบุญที่วัด ได้มาพบพระเพื่อน พบพระลูก<br />

พบพระหลาน ถึงแม้พระลูกพระหลานเหล่านี<br />

ยังเทศน์ไม่เป็น เพราะบวชใหม่ แต่ว่าเมื่อมา<br />

แล้วก็จะได้พบพระครูบาอาจารย์ พระผู้ใหญ่<br />

ท่านที่มาร่วมทำบุญเหล่านี้จึงมีโอกาสฟังเทศน์<br />

จากพระผู้ใหญ่ จึงกลายเป็นฤดูแห่งการศึกษา<br />

ธรรมะไปด้วยในตัวเสร็จ ทั้งของพระ และทั้ง<br />

ของญาติโยม<br />

สำหรับวันเข้าพรรษานี้ ขอเชิญชวน<br />

ทุกท่านร่วมตั้งจิตอธิษฐานพรรษากัน อธิษฐาน<br />

อย่างไร อธิษฐานอย่างนี้ พรรษานี้ สามเดือนนี้<br />

ที่รู้ว่าอะไรเป็นนิสัยที่ไม่ดีในตัวเองที่มีอยู่<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

ก็อธิษฐานเลย พรรษานี้ (เลือกมาอย่างน้อย<br />

หนึ่งข้อ) เราจะแก้ไขตัวเองให้ได้ เช่น บางคนเคย<br />

กินเหล้า เข้าพรรษาแล้วก็อธิษฐานว่า พรรษานี้<br />

เลิกเหล้า เลิกเหล้าให้เด็ดขาด บางคนเคยสูบ<br />

บุหรี่ ก็อธิษฐานว่า อย่างน้อยพรรษานี้จะเลิก<br />

บุหรี่ให้เด็ดขาด เป็นต้น เขาก็มีการอธิษฐาน<br />

กันในวันเข้าพรรษา พรรษานี้จะละความไม่ดี<br />

อะไรบ้าง ทั้งหยาบ ทั้งละเอียด ให้พยายาม<br />

ละกัน คือ ทำตามพระให้เต็มที่นั่นเองในระดับ<br />

ของประชาชน สิ่งใดที่เป็นความดี ก็พยายามที่<br />

จะทำให้ยิ่งๆ ขึ้นไป เช่น เมื่อก่อนนี้ ก่อนจะเข้า<br />

พรรษา ตักบาตรบ้าง ไม่ตักบาตรบ้าง วันไหน<br />

มีโอกาสก็ทำ วันไหนชักจะขี้เกียจก็ไม่ทำ เมื่อ<br />

พรรษานี้ พระอยู่พร้อมหน้าพร้อมตาดีแล้ว<br />

ตั้งใจเลยที่จะตักบาตรให้ได้ทุกเช้า เมื่อก่อน<br />

ไม่ทุกเช้า แค่วันเสาร์ วันอาทิตย์หรือวันโกน<br />

วันพระ พรรษานี้พระอยู่พร้อมหน้า อธิษฐานเลย<br />

จะตักบาตรทุกเช้าตลอดสามเดือนนี้ที่เข้าพรรษา<br />

บางท่านยิ่งกว่านั้น ธรรมดาเคยถือศีลห้า<br />

เป็นปกติอยู่แล้ว พรรษานี้เลยถือศีลแปดทุก<br />

วันพระไปเลย แถมจากศีลห้ายกขึ ้นไปเป็นศีล<br />

แปด จากวันเข้าพรรษาบางท่านเคยถือศีลแปด<br />

ทุกวันพระ ถืออุโบสถศีลมาทุกวันพระแล้ว<br />

เมื่อพรรษาที่แล้ว พรรษานี้ถือศีลแปด ถือ<br />

อุโบสถศีล ทั้งวันโกนวันพระ เพิ่มเป็นสัปดาห์<br />

ละสองวัน บางท่านเก่งกว่านั้นขึ้นไปอีก พรรษา<br />

นี้จะรักษาศีลแปด รักษาอุโบสถศีล กันตลอด<br />

สามเดือนเลย หรือใครที่ไม่เคยทำสมาธิ<br />

ก็อธิษฐานจะทำสมาธิวันละหนึ่งชั่วโมง บางท่าน<br />

ที่ทำอยู่เป็นประจำก็ทำเพิ่มเป็นวันละสองชั่วโมง<br />

สามชั่วโมง ก็ว่ากันไปตามกุศลศรัทธาและท้ายนี้<br />

ขอให้ทุกท่านประสบผลสำเร็จในการทำบุญด้วย<br />

การตั้งจิตอธิษฐานในครั้งนี้ซึ่งอานิสงส์ของท่าน<br />

ที่ได้บำเพ็ญบุญในครั้งนี้จะส่งผลให้ท่านมีความสุข<br />

ความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป<br />

5


๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

วันคล้ายวันพระราชสมภพ<br />

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ<br />

สยามมกุฎราชกุมาร<br />

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์<br />

วันจันทร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๙๕<br />

นับเป็นวันมหาประชาปีติอีกครั้งหนึ่งของพสก<br />

นิกรชาวไทย ที่ได้รับทราบข่าวอันเป็นมิ่งมหา<br />

มงคลคือข่าวพระประสูติกาลของพระราชโอรส<br />

พระองค์แรกและทรงยังเป็นพระราชโอรส<br />

พระองค์เดียว ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทร<br />

มหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้า<br />

สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งเสด็จพระ<br />

ราชสมภพ ในเวลา ๑๗ นาฬิกา ๔๕ นาที<br />

ณ พระที่นั ่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ใน<br />

กาลครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

พระราชทานพระนามเมื่อแรกประสูติว่า<br />

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ<br />

บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรง<br />

สุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพล<br />

นเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์<br />

บรมขัตติยราชกุมาร<br />

ในกาลต่อมา ในวันที่ ๒๘ ธันวาคม<br />

๒๕๑๕ เมื่อทรงมีพระชนมายุ ๒๐ ชันษา<br />

บริบูรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระราช<br />

อิสริยยศขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช<br />

เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร<br />

มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า<br />

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหา<br />

วชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตย<br />

สมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์<br />

มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราช<br />

วิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร นับเป็นสยาม<br />

มกุฎราชกุมารพระองค์ที่ ๓ ของประวัติศาสตร์<br />

ไทย นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมีพระราช<br />

ศรัทธาบรรพชาในพระพุทธศาสนาโดย<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา<br />

โปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีทรงผนวช<br />

ณ พัทธสีมาวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันที่<br />

๖ พฤศจิกายน ๒๕๒๑ โดยมีสมเด็จพระอริยวง<br />

ศาคตญาณ (วาสนมหาเถร) เป็นพระราช<br />

6 พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


อุปัธยาจารย์ ได้รับถวายพระสมณนามว่า<br />

วชิราลงฺกรโณ และได้ประทับจำพรรษา ณ วัด<br />

บวรนิเวศวิหาร<br />

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยาม<br />

มกุฎราชกุมาร ทรงพระอักษรในประเทศใน<br />

ระดับอนุบาลที่พระที่นั่งอุดรภาค พระราชวัง<br />

ดุสิต และโรงเรียนจิตรลดา หลังจากนั้น เสด็จ<br />

พระราชดำเนินไปทรงพระอักษรระดับประถม<br />

ศึกษาที่โรงเรียนคิงส์มิด เมืองซีฟอร์ด แคว้น<br />

ซัสเซกส์ ระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมิลล์ฟิลด์<br />

แคว้นซอมเมอร์เซท ประเทศอังกฤษ และ<br />

วิชาทหารที่โรงเรียนคิงส์ เขตพารามัตตา<br />

นครซิดนีย์ กับวิทยาลัยการทหารดันทรูน<br />

กรุงแคนแบร์รา ประเทศออสเตรเลีย ตลอดจน<br />

ทรงสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา และ<br />

ทรงได้รับปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต (การ<br />

ศึกษาด้านการทหาร) คณะการศึกษาด้านการ<br />

ทหาร มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลล์ ประเทศ<br />

ออสเตรเลีย ภายหลังเสด็จนิวัติประเทศไทย<br />

แล้ว ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเสนาธิการ<br />

ทหารบก หลักสูตรหลักประจำชุดที่ ๕๖<br />

นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัย<br />

ธรรมาธิราช นอกจากนี้ ยังทรงเข้ารับการศึกษา<br />

ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรแห่งสหราช<br />

อาณาจักร และหลักสูตรทางทหาร อาทิ<br />

หลักสูตรการค้นหาชั้นสูง หลักสูตรการลาด<br />

ตระเวนและค้นหาชั้นสูง หลักสูตรวิชาการรบ<br />

พิเศษการทำลายและยุทธวิธีการรบนอกแบบ<br />

หลักสูตรส่งทางอากาศ หลักสูตรการฝึกบิน<br />

เฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ UH-1 และ<br />

เฮลิคอปเตอร์โจมตี แบบ AH-1 คอบรา ของ<br />

บริษัทเบลล์ ตลอดจน ทรงเข้ารับการฝึกและ<br />

ทรงศึกษาหลักสูตรทหารตามโครงการช่วยเหลือ<br />

ทางทหารของกองทัพบกสหรัฐอเมริกาที่<br />

ฟอร์ดแบรกก์ รัฐนอร์ธแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา<br />

ประกอบด้วย หลักสูตรอาวุธประจำกายและ<br />

เครื่องบินยิงจรวด หลักสูตรการปฏิบัติการ<br />

พิเศษ หลักสูตรการต่อต้านการก่อการร้าย<br />

หลักสูตรการสงครามแบบกองโจร หลักสูตร<br />

การฝึกการดำรงชีพ และหลักสูตรทางอากาศ<br />

(ทางบกและทางทะเล)<br />

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยาม<br />

มกุฎราชกุมาร ทรงสนพระราชหฤทัยในกิจการ<br />

บินในกิจการทหารและพลเรือน จึงทรงเข้ารับ<br />

การศึกษาหลักสูตรเกี่ยวกับการบินในหลักสูตร<br />

ตามลำดับ กล่าวคือ หลักสูตรการฝึกบิน<br />

เครื่องบินปีกติดลำตัวแบบ Siai - Marchetti<br />

SF260 MT หลักสูตรการฝึกบินเครื่องบิน<br />

ปีกติดลำตัวแบบ Cessna T- 37 หลักสูตร<br />

การบินเปลี่ยนแบบเป็นเครื่องบินขับไล่แบบ<br />

เอฟ ๕ (พิเศษ) รุ่นที่ ๘๓ หลักสูตรเครื่องบิน<br />

ขับไล่ชั้นสูง รุ่นที่ ๘๓ เอ วี ดับบลิว ที่ฐานทัพ<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

อากาศวิลเลียมส์ รัฐอริโซนา<br />

สหรัฐอเมริกา<br />

ทั้งนี้ ในการทรงพระ<br />

อักษรและการศึกษาทุก<br />

ระดับชั้น สมเด็จพระบรม<br />

โอรสาธิราชฯ สยาม<br />

มกุฎราชกุมาร ได้ทรง<br />

ปฏิบัติตามระเบียบของ<br />

สถานศึกษาเหมือนอย่าง<br />

นักเรียนทั่วไปและเมื่อทรง<br />

เข้าศึกษาวิชาการทหารซึ่ง<br />

มีการฝึกอบรมอย่างเข้ม<br />

งวด ก็ได้ทรงปฏิบัติตามกฎ<br />

ระเบียบโดยสมบูรณ์ โดย<br />

เฉพาะ ในระหว่างเวลาที่<br />

ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียน<br />

คิงส์ สกูล ตำบลพารามัตตา<br />

นครซิดนีย์ ทรงได้รับเลือก<br />

ให้เป็นหัวหน้าบ้านแมค<br />

อาเทอร์เฮาส์ และได้ทรง<br />

ปฏิบัติพระองค์อย่างดีเด่น<br />

และเมื่อเสด็จกลับมา<br />

ประทับอยู่ในประเทศไทย<br />

ในพระสถานะองค์พระ<br />

รัชทายาท ได้ทรงประกอบ<br />

พระราชกรณียกิจสนอง<br />

พระมหากรุณาธิคุณ แทน<br />

พระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ<br />

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ด้วย<br />

ความมุ่งมั่นในพระราชหฤทัย ด้วยความสุขุม<br />

คัมภีรภาพ และเปี่ยมล้นไปด้วยความรับผิดชอบ<br />

จนสำเร็จผลเป็นอย่างดีเสมอมา<br />

สำหรับพระราชกรณียกิจสำคัญในกิจการ<br />

ทหาร ทรงมีพระราชจริยวัตรเพื่อราชการทหาร<br />

ด้วยความมั่นพระราชหฤทัยที่จะพัฒนากิจการ<br />

ทหารไทยให้เจริญรุ่งเรือง และยังทรงปฏิบัติ<br />

พระราชกรณียกิจตามแนวทางการรับราชการ<br />

อย่างเคร่งครัด โดยทรงเริ่มเข้าประจำการ ณ<br />

กองปฏิบัติการทางอากาศพิเศษ เมืองเพิร์ท<br />

รัฐออสเตรเลียตะวันตก ประเทศออสเตรเลีย<br />

สำหรับราชการในประเทศไทย ทรงปฏิบัติ<br />

ราชการครั้งแรก ทรงเข้ารับราชการเป็น<br />

นายทหารประจำกรมข่าวทหารบก กระทรวง<br />

กลาโหม และทรงดำรงตำแหน่งทางทหารที่<br />

สำคัญตามลำดับ กล่าวคือ รองผู้บังคับกองพัน<br />

และผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็กรักษา<br />

พระองค์ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษา<br />

พระองค์ ผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็กรักษา<br />

พระองค์ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหาร<br />

มหาดเล็กรักษาพระองค์ และผู้บัญชาการ<br />

หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษา<br />

พระองค์ นอกจากนี้ ยังทรงร่วมปฏิบัติราชการ<br />

พิเศษ ประกอบด้วย การปฏิบัติการรบในการ<br />

ต่อต้านการก่อการร้าย บริเวณภาคเหนือ ภาค<br />

ตะวันออกเฉียงเหนือ การคุ้มกันพื้นที่บริเวณ<br />

รอบค่ายผู้อพยพชาวกัมพูชา ณ เขาล้าน<br />

จังหวัดตราด การปฏิบัติหน้าที่นักบินที่ ๑<br />

เครื่องบินโบอิ้ง ๗๓๗ - ๔๐๐ ในเที่ยวบินสายใยรัก<br />

แห่งครอบครัวช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย<br />

และจัดหาอุปกรณ์ด้านการแพทย์ สำหรับ<br />

โรงพยาบาลในจังหวัดชายแดนภาคใต้<br />

นอกจากนี้ ยังทรงปฏิบัติพระราช<br />

กรณียกิจแทนพระองค์พระบาทสมเด็จ<br />

พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ<br />

พระบรมราชินีนาถ และพระราชกรณียกิจส่วน<br />

พระองค์ เพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรชาว<br />

ไทยมาโดยตลอด และในวันที่ ๒๘ กรกฎาคม<br />

ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จ<br />

พระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร<br />

ที่จะเวียนมาบรรจบอีกวาระหนึ่งนี้ ผู้เขียน<br />

ใคร่ขอเชิญชวนให้ทุกท่าน ตั้งใจที่จะปฏิบัติตน<br />

ให้เป็นข้าราชการที่ดีและเป็นประชาชนที่ดี<br />

น้อมถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระบรม<br />

โอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์<br />

ผู้ทรงเป็นที่รักศรัทธาของพสกนิกรชาวไทย<br />

ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน<br />

7


องค์เจ้าฟ้าผู้อนุรักษ์<br />

และรักษาสิ่งแวดล้อม<br />

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์<br />

ก<br />

ารอนุรักษ์และรักษาสิ่ง<br />

แวดล้อม มีหลักการสำคัญ<br />

คือการกำหนดมาตรการในการ<br />

ใช้ประโยชน์จากสิ ่งแวดล้อมอย่างมีคุณค่า<br />

มีเหตุผล เพื่อให้เกิดการสร้างและพัฒนาคุณภาพ<br />

ชีวิตที่ดีของมนุษย์ให้เกิดความยั่งยืน ทั้งนี้<br />

มีแนวความคิดในการอนุรักษ์และรักษา<br />

สิ่งแวดล้อมให้บังเกิดผล กล่าวคือ<br />

• ต้องมีความรู้ในการที่จะรักษาทรัพยากร<br />

ธรรมชาติที่จะให้ผลแก่มนุษย์ทั้งประโยชน์<br />

และโทษ ด้วยการสร้างความตระหนักใน<br />

เรื่องความสูญเปล่าของการนำทรัพยากร<br />

ธรรมชาติไปใช้<br />

• รักษาทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นและ<br />

หายากด้วยความระมัดระวัง และรักษา<br />

ทรัพยากรที่ทดแทนได้ให้มีสภาพเพิ่มพูน<br />

เท่ากับอัตราที่ต้องการใช้<br />

• ปรับปรุงวิธีการผลิตและใช้ทรัพยากร<br />

อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพยายามค้นคว้า<br />

ศาสตร์ใหม่เพื่อทดแทนการใช้ทรัพยากร<br />

จากแหล่งธรรมชาติให้เพียงพอต่อความ<br />

ต้องการใช้ของประชากร<br />

• ให้การศึกษาแก่ประชาชนเพื่อเข้าใจถึง<br />

ความสำคัญในการรักษาสมดุลธรรมชาติ<br />

ซึ่งมีผลต่อการทำให้สิ ่งแวดล้อมอยู่ใน<br />

สภาพที่ดี<br />

ในปัจจุบัน หากจะกล่าวถึงเรื่องของการ<br />

อนุรักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อม จะต้องเรียนให้<br />

ทราบว่าเป็นยุคแห่งการตื่นตัวของประเทศ<br />

ทั่วโลก เพราะเป็นเรื่องที่หลายประเทศมี<br />

ความตระหนักในเรื่องการกำหนดมาตรการ<br />

ที่จะช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมมีสภาพที่ดีขึ้นและ<br />

คงทนต่อไปเพื่อส่งมอบให้แก่อนุชนรุ่นต่อไป<br />

จึงต่างกำหนดมาตรการและกรรมวิธีต่างๆ<br />

เพื่อดำเนินการ ซึ่งส่งผลเป็นรูปธรรมหลาย<br />

โครงการ อาทิ การพัฒนาพลังงานทดแทน<br />

การรักษาป่าและต้นน้ำ ซึ่งทุกแนวความคิด<br />

และทุกโครงการล้วนแล้วแต่เพื่ออำนวย<br />

ประโยชน์ของมนุษยชาติด้วยกันทั้งสิ้น<br />

ถือเป็นความโชคดีของประเทศไทย<br />

ที่ประเทศของเรามีองค์พระบาทสมเด็จ<br />

พระเจ้าอยู่หัว และองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์<br />

8<br />

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงบำเพ็ญพระราช<br />

กรณียกิจเพื่ออนุรักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อมมา<br />

โดยตลอด ซึ่งหลากหลายโครงการอันเนื่อง<br />

มาจากพระราชดำริก็ทรงมุ่งพระราชหฤทัย<br />

เพื่อการพิทักษาสภาพแวดล้อมของประเทศ<br />

เพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรชาวไทย และ<br />

ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง องค์สมเด็จพระเจ้า<br />

ลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราช<br />

กุมารี ก็ได้สืบทอดพระราชปณิธานขององค์<br />

ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์มาบำเพ็ญเป็น<br />

พระกรณียกิจอย่างเป็นรูปธรรม กล่าวคือ<br />

พระองค์ทรงให้ความสำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อม<br />

ของประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง ทรงมีพระ<br />

ดำริในการอนุรักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อมใน<br />

หลายแนวทาง โดยทรงนำวิทยาศาสตร์และ<br />

เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่<br />

การพัฒนาประเทศได้อย่างสอดคล้องเหมาะสม<br />

กับการดำรงอยู่ของทรัพยากรธรรมชาติและ<br />

สภาพแวดล้อมของประเทศ ด้วยการพัฒนา<br />

องค์ความรู้ทางการศึกษาและวิจัย เพื่อการวาง<br />

แนวทางด้านการศึกษา ด้านสุขภาพอนามัย<br />

ด้านเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร<br />

ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการป่าไม้<br />

และต้นน้ำ การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในทุก<br />

ภูมิภาค การส่งเสริมเพาะเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ<br />

บนพื้นฐานของการเอาใจใส่ต่อสภาพแวดล้อม<br />

และสังคม การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ฯลฯ<br />

ทั้งยังทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจเป็นผู้นำที่เข้ม<br />

แข็งด้วยพระปณิธานแน่วแน่ในการพัฒนา<br />

และสร้างเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์<br />

สิ่งแวดล้อม ให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกิจการ<br />

สิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและประชาชน<br />

ชาวไทย ควบคู่ไปกับการให้ความช่วยเหลือ<br />

และฝึกอบรมแก่ประเทศเพื่อนบ้านที่กำลัง<br />

พัฒนาเพื่อร่วมพัฒนาและฟื้นฟูสภาพแวดล้อม<br />

ร่วมกัน ตลอดจนพัฒนาเครือข่ายความ<br />

ร่วมมือจากองค์กรสิ่งแวดล้อมระดับนานาชาติ<br />

ในวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ซึ่งเป็นวัน<br />

คล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า<br />

จุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ที่จะเวียน<br />

มาบรรจบอีกวาระหนึ่งนี้ ผู้เขียนใคร่ขอเชิญ<br />

ชวนให้ทุกท่าน ตั้งใจที่จะปรับทัศนคติการ<br />

เพิกเฉยต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อมาช่วยกันอนุรักษ์<br />

และรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อประโยชน์ของ<br />

ส่วนรวม และน้อมถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จ<br />

พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์<br />

อัครราชกุมารี องค์เจ้าฟ้าผู้อนุรักษ์และรักษา<br />

สิ่งแวดล้อม ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

9


วิกฤตการณ์<br />

ร.ศ. ๑๑๒<br />

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์<br />

ใ<br />

นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอม<br />

เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่ง<br />

ราชวงศ์จักรี ถือได้ว่าเป็นยุคที่<br />

ราชอาณาจักรสยามต้องเผชิญวิกฤตการณ์<br />

หนักที่สุด เรียกได้ว่าจวนเจียนที่จะต้องตกเป็น<br />

อาณานิคมของประเทศมหาอำนาจตะวันตก<br />

ที่เข้าแสวงหาอาณานิคมในภูมิภาคอุษาคเนย์<br />

หรือดินแดนภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทวีป<br />

เอเชีย จนสามารถครอบครองประเทศเพื่อนบ้าน<br />

ของสยามโดยรอบไว้จนหมดสิ้น กล่าวคือ<br />

อังกฤษครอบครองพม่ากับมาเลเซีย ส่วน<br />

ฝรั่งเศสครอบครองเวียดนาม ลาว เขมร ซึ่งที่<br />

สำคัญที่สุดคือทั้งสองประเทศนี้ล้วนมีเป้าหมาย<br />

ตรงกันที่จะเข้ายึดครองราชอาณาจักรสยาม<br />

โดยมีการกำหนดหลักการสำคัญของทั้งสอง<br />

ประเทศคือ ความประสงค์ที่จะใช้แม่น้ำ<br />

เจ้าพระยาแบ่งเขตอิทธิพลระหว่างกัน ทั้งนี้<br />

อังกฤษมีเป้าหมายที่จะยึดครองป่าไม้สัก<br />

ที่อุดมสมบูรณ์ในภาคเหนือของสยามที่ติดกับ<br />

พม่าและยังมีพื้นที่ช่องทางออกทะเลที่เหมาะสม<br />

แก่การตั้งสถานีการค้าทางทะเลในแหลม<br />

มลายู สำหรับฝรั่งเศสมีเป้าหมายที่จะยึดครอง<br />

ดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรของลุ่ม<br />

แม่น้ำสายสำคัญ ๕ สาย ประกอบด้วย แม่น้ำ<br />

โขง แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำ<br />

อิรวดี และแม่น้ำแดง (บริเวณอ่าวตังเกี๋ย)<br />

อย่างไรก็ตาม ปัญหาการแสวงหา<br />

อาณานิคมทางด้านของอังกฤษก็นับว่า<br />

น่าหวาดกลัวไม่น้อย แต่เนื่องจากพระ<br />

ราชวิเทโศบายขององค์พระบาทสมเด็จ<br />

พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้ทรงสาน<br />

พระราชไมตรีกับสมเด็จพระบรมราชินีนาถ<br />

วิคตอเรีย แห่งราชวงศ์วินเซอร์ของอังกฤษ จึง<br />

ทำให้ความรุนแรงจากอังกฤษมีเส้นแบ่งและ<br />

ขอบเขตที่ชัดเจน ในขณะที่ฝรั่งเศสกลับใช้เล่ห์<br />

เพทุบายทางการทูตและกำลังทหารเข้ามาบีบ<br />

บังคับพื้นที่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงอยู่ตลอด<br />

เวลา จนนำมาสู่เหตุการณ์ปะทะกันระหว่าง<br />

ทหารของประเทศสยามกับทหารฝรั่งเศสที่<br />

เมืองไล (บริเวณแคว้นสิบสองจุไทในปัจจุบัน)<br />

จนเกิดเป็นกรณีพิพาทในเหตุพระยอด<br />

เมืองขวางที่ประวัติศาสตร์สยามได้จารึกไว้<br />

อย่างน่าขมขื่นอีกตอนหนึ ่ง เหตุการณ์ดังกล่าว<br />

จึงเป็นข้ออ้างที่ฝรั่งเศสนำเรือรบ ๑ ลำ ที่ชื่อว่า<br />

เรือลูแตง (Lutin) เข้าสู่ราชอาณาจักรสยาม<br />

ว่าเพื่อคุ้มครองคนฝรั ่งเศสในสยาม แต่ด้วย<br />

ความย่ามใจจึงคิดส่งเรือรบอีก ๒ ลำ คือ เรือ<br />

แองคองสตังค์ (Inconstant) และเรือโคแมต<br />

(Comete) เข้ามาในราชอาณาจักรสยาม<br />

ซึ่งในช่วงค่ำของวันที่ ๑๓ กรกฎาคม<br />

๒๔๓๖ เรือรบฝรั่งเศส ๒ ลำ ก็ทำอำนาจบาตรใหญ่<br />

แล่นผ่านสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาและ<br />

ฝ่าแนวป้องกันของป้อมพระจุลจอมเกล้า ที่<br />

จังหวัดสมุทรปราการ เข้ามาจอดที่หน้าสถานทูต<br />

ฝรั่งเศสในกรุงเทพฯ สมทบกับเรือรบฝรั่งเศส<br />

จอดอยู่ ๑ ลำ รวมเป็น ๓ ลำ ในลักษณะ<br />

ข่มขู่ว่าจะจมเรือพระที่นั่งมหาจักรีที่จอดอยู่<br />

ในแม่น้ำเจ้าพระยา และจะระดมยิงพระบรม<br />

มหาราชวัง หากสยามไม่ยอมจ่ายค่าทำขวัญ<br />

บุตรภรรยาทหารเรือฝรั่งเศสที่บาดเจ็บล้มตาย<br />

จากการปะทะครั้งนั้น เป็นเงิน ๒ ล้านฟรังก์<br />

โดยบังคับให้สยามจ่ายมัดจำก่อน ๓ ล้านฟรังก์<br />

และไม่ขอรับเป็นธนบัตรด้วย ( หมายเหตุ :<br />

ตัวเลขทั้ง ๒ รายการนั้น พิมพ์ไม่ผิด คือหนี้ ๒<br />

ล้าน แต่มัดจำ ๓ ล้าน ซึ่งไม่ใช่ธรรมเนียมที่ชาติ<br />

ใดเขาทำกันในโลกนี้) หรือไม่สยามต้องยินยอม<br />

ให้ฝรั่งเศสเก็บภาษีเอาเองที่เมืองพระตะบอง<br />

และเสียมราฐ ที่สำคัญกว่านั้น ฝรั่งเศสยังระดม<br />

เรือรบที่จอดอยู่ที่ท่าเรือเมืองไซ่ง่อน จำนวน<br />

๑๒ ลำ มาปิดอ่าวไทย และส่งทหารขึ้นยึด<br />

เกาะสีชัง ยื่นเงื่อนไขให้สยามถอนทหารออก<br />

จากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงภายใน ๑ เดือน แม้ว่า<br />

สยามจะยอมรับตามข้อเรียกร้องของฝรั่งเศส<br />

ทุกข้อ เพราะไม่มีทางปฏิเสธได้ ฝรั่งเศสก็ยัง<br />

ขอยึดจันทบุรีไว้เป็นประกัน จนกว่าการปักปัน<br />

ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงที่สยามจะต้องมอบให้<br />

ฝรั่งเศสนี้เสร็จสิ้น ! เป็นอย่างไรครับ แสบสันต์<br />

เพียงใด ? ท่านคงเข้าใจกันดีนะครับ<br />

10 พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


สรุปแล้ว สยามต้องยอมจ่ายเงิน จำนวน<br />

๓ ล้านฟรังก์ จากเงินถุงแดงที่ พระบาทสมเด็จ<br />

พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงสะสมไว้<br />

และในที่สุด สยามก็ต้องเสียดินแดนฝั่งซ้าย<br />

ของแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศสบนความชอกช้ำ<br />

ของประชาชนสยามทุกคนที่ไม่สามารถต่อกร<br />

กับประเทศนี้ได้<br />

สิ่งที่ผู้เขียนนำเสนอนี้ ไม่ได้ปรารถนาที่<br />

จะทำลายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย<br />

และประเทศที่เคยสร้างความขมขื่นให้ไทย<br />

ในครั้งอดีต แต่ต้องการอธิบายให้ทราบถึง<br />

ความปวดร้าวพระราชหฤทัยของพระบาท<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และความ<br />

เสียใจของบรรพชนต่อกรณีเหตุการณ์ ร.ศ.<br />

๑๑๒ กับขอให้พี่น้องประชาชนชาวไทยและ<br />

อนุชนรุ่นต่อไปได้จดจำเรื่องราวในอดีต เพื่อ<br />

เป็นบทเรียนสำหรับก้าวเดินไปสู่อนาคตทั้งนี้<br />

หนังสือที่ผู้เขียนได้ประพันธ์และจัดทำไว้เกี่ยว<br />

กับเหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒ เงินถุงแดง และการ<br />

รักษาประเทศของบูรพกษัตริยาธิราชเจ้าแห่ง<br />

ราชวงศ์จักรีนั้น ได้รับโอกาสจากกระทรวง<br />

ศึกษาธิการ จัดทำเป็นหนังสืออ่านนอกเวลา<br />

ระดับมัธยมศึกษา ในวิชาประวัติศาสตร์ ในชื่อ<br />

หนังสือว่า กว่าไทยจะคงดินแดนรูปขวาน ภาค<br />

ดอกสร้อยรอยตำนาน เพื่อแจกจ่ายโรงเรียน<br />

ทั่วประเทศให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาได้<br />

รับทราบถึงประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของ<br />

ไทย จำนวน ๑๐,๐๐๐ เล่ม หากท่านใดสนใจ<br />

กรุณาสืบค้นได้จากโรงเรียนต่างๆ ได้ตาม<br />

อัธยาศัย และขอความกรุณาให้ช่วยกันบอกลูก<br />

บอกหลานว่า อย่าลืมประวัติศาสตร์หน้าที่สำคัญ<br />

เป็นอันขาดเพราะเป็นเหตุการณ์การรักษา<br />

เอกราชของไทยให้ยืนยงมาตราบจนปัจจุบัน<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

11


พระบาทสมเด็จ<br />

พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

(ตอนที่ ๑)<br />

สำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม<br />

แผ่นดิน<br />

ของการปฏิรูประบบราชการ<br />

12 สำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม


่<br />

พระผู้ทรงเป็น “หัวใจ” ของแผ่นดิน<br />

๑.พระราชประวัติที่ส่งผลต่อพระราชดำริ<br />

และพระราชกรณียกิจในการปกครอง<br />

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของ<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย<br />

พระราชสมภพเมื่อพุทธศักราช ๒๓๓๐ ขณะที<br />

พระราชบิดาดำรงพระอิสริยยศ เจ้าฟ้ากรม<br />

หลวงอิศรสุนทร พระบรมราชชนนี คือ สมเด็จ<br />

พระศรีสุลาลัย (เจ้าจอมมารดาเรียม) พระนามเดิม<br />

พระองค์เจ้าทับ เมื่อพระราชบิดาเสด็จขึ้น<br />

ครองราชย์แล้วได้รับการสถาปนาเป็นกรม<br />

หมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงมีบทบาทดูแลราชการ<br />

สำคัญๆ ต่างพระเนตรพระกรรณถวายหลาย<br />

ประการ โดยเฉพาะการค้าขายกับต่างประเทศ<br />

ได้แต่งเรือสำเภาส่วนพระองค์ออกไปค้าขายยัง<br />

ประเทศจีน นำผลประโยชน์ที่ได้จากการค้า<br />

ส่วนหนึ่งทูลเกล้าฯ ถวายพระราชบิดาเพื่อ<br />

ทรงใช้จ่ายในราชการ แก้ไขภาวะขาดแคลน<br />

ในแผ่นดินได้ราบรื่น พระบาทสมเด็จพระพุทธ<br />

เลิศหล้านภาลัย ทรงล้อและขานพระนาม<br />

พระราชโอรสพระองค์นี้ว่า “เจ้าสัว” หมายถึง<br />

เศรษฐีจากการค้า การที่ทรงได้รับมอบหมาย<br />

ให้ช่วยราชการในหน่วยงานที่สำคัญๆ<br />

เช่น การพิจารณาคดีในชั้นฎีกา การดูแลกำกับ<br />

กรมพระตำรวจ กรมพระคลังมหาสมบัติ และ<br />

ราชการอื่นๆ นั้น ทำให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์<br />

ทรงเป็นผู้กว้างขวางในหมู่เสนาบดีและขุนนาง<br />

ชั้นผู้ใหญ่<br />

พระปรีชาสามารถด้านบริหารประจักษ์<br />

ชัดจากบันทึกของ จอห์น ครอว์ฟอร์ด ซึ่งเดินทาง<br />

มาเมืองไทยในรัชกาลที่ ๒ ว่า<br />

“เรื่องราชการไม่ว่าในกรมกองใด อยู่<br />

ในพระหัตถ์ของพระองค์ทั้งสิ้น พระองค์ทรง<br />

แสดงพระปรีชาสามารถให้เป็นที่ประจักษ์<br />

ในพระราชภารกิจที่พระองค์ทรงได้รับ<br />

มอบหมายเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสุขของ<br />

บ้านเมืองหรือการสงคราม การติดต่อกับต่าง<br />

ประเทศหรือกฎระเบียบของบ้านเมือง การกำหนด<br />

นโยบายหรือความยุติธรรม จะเป็นไปตาม<br />

พระประสงค์ของเจ้านายพระองค์<br />

ทั้งสิ้น...”<br />

ศาสตราจารย์วอลเตอร์เอฟเวลล่า<br />

นักประวัติศาสตร์ที่ศึกษาเรื่อง พระบาทสมเด็จ<br />

พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวว่า<br />

“กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์นี้ ทรงมีอำนาจ<br />

เข้าควบคุมกิจการสำคัญๆ ของกรุงสยามไว้<br />

ทั้งสิ้น...กรณีต่างๆ ที ่เกี่ยวกับความสงบสุข<br />

ของประชาราษฎร์และบ้านเมืองก็ดี หรือที่<br />

เกี่ยวกับการศึกสงครามก็ตาม ตลอดจนกรณี<br />

ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับต่างประเทศ การตรา<br />

พระราชกำหนดกฎหมาย การพระศาสนา<br />

การวางนโยบาย การปกครองบ้านเมืองและ<br />

ประชาราษฎร์ การศาลสถิตยุติธรรม พระองค์<br />

เป็นผู้ควบคุมดำเนินการทั้งหมดโดยมิได้กราบ<br />

บังคมทูลขอคำปรึกษาและเห็นชอบจากองค์<br />

พระมหากษัตริย์...”<br />

เมื่อใกล้สิ้นแผ่นดินรัชกาลที่ ๒ พระบาท<br />

สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงประชวร<br />

หนักมิได้ทรงมอบราชสมบัติแก่ผู้ใด พระราชโอรส<br />

ที่ทรงดำรงพระอิสริยยศเจ้าฟ้าโดยกำเนิด<br />

๒ พระองค์ คือ เจ้าฟ้ามหามงกุฎและเจ้าฟ้า<br />

จุฑามณียังทรงพระเยาว์ เฉพาะเจ้าฟ้ามหามงกุฎ<br />

ทรงผนวชอยู่ ด้วยภาวะเหตุการณ์บ้านเมืองขณะ<br />

นั้น ยังไม่เป็นที่วางใจภัยสงครามพม่า ที่ประชุม<br />

เสนาบดีจึงพร้อมใจกันอัญเชิญกรมหมื่นเจษฎา<br />

บดินทร์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่และคุ้น<br />

เคยราชการแผ่นดินที่สำคัญๆ มาแล้วอย่างดี<br />

ขึ้นครองราชย์สมบัติ<br />

กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงมีความ<br />

เหมาะสมและเป็นผลดีต่อแผ่นดิน เนื่องจาก<br />

เวลานั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมพรรษา ๒๐ พรรษา<br />

ทรงผนวชมีโอกาสธุดงค์ตามที่ต่างๆ รับทราบ<br />

ทุกข์สุขราษฎรที่สำคัญทรงมีเวลาศึกษาสรรพ<br />

วิทยาการต่างๆ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ<br />

เป็นการสร้างความพร้อม รับการขยายอิทธิพล<br />

ของนักล่าอาณานิคมประเทศตะวันตกที่แผ่<br />

ขยายเข้ามาอย่างรวดเร็ว<br />

เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ พุทธศักราช ๒๓๖๗<br />

นั้น ต้องทรงรับพระราชภารกิจหนักหลาย<br />

ประการ ทั้งการปกครอง เศรษฐกิจและสังคม<br />

ด้วยพระปรีชาสามารถเป็นเลิศ รัฐนาวาลำนี้<br />

จึงสามารถฝ่าคลื่นลมมาได้อย่างมั่นคงและ<br />

งดงาม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

13


เสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมพรรษา ๖๓ พรรษา<br />

พุทธศักราช ๒๓๙๔ ดำรงอยู่ในสิริราชสมบัติ<br />

๒๗ ปี<br />

๒.พระราชดำริในการปกครองบ้านเมือง<br />

การบริหารราชการแผ่นดิน การเสด็จขึ้น<br />

สู่ราชบัลลังก์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ท่ามกลางประชุมเห็นชอบของ<br />

พระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ คณะเสนาบดี ประกอบด้วย<br />

พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพ กำกับ<br />

ราชการกรมพระกลาโหม พระยาสุริยวงศ์<br />

มนตรี (ดิศ บุนนาค) กำกับราชการกรมพระคลัง<br />

เป็นต้น เลือกสรรผู้มีประสบการณ์ที่จัดเจน<br />

ในราชการ ทรงมีวัยวุฒิ มีบุคลิกลักษณะพิเศษ<br />

มีขุนนางสนับสนุนมาก เหมาะแก่การดำรงสิริ<br />

ราชสมบัตินั้น เรียกว่า “นิกรสโมสรสมมต”<br />

มีขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์<br />

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงรอบคอบในพระราชกิจทุกประการทรง<br />

ยึดถือหลักบริหารราชการแผ่นดินที่ปฏิบัติกัน<br />

มาช้านาน คือ เสนาบดีหรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่<br />

ช่วยราชการในตำแหน่งสมุหนายก สมุหพระ<br />

กลาโหม และเสนาบดีจตุสดมภ์ ทั้ง ๔ ทรง<br />

มั่นคงในการวางหลักการและนโยบายการ<br />

บริหารประเทศ เสด็จออกว่าราชการ สดับตรับฟัง<br />

เหตุการณ์บ้านเมืองทุกวัน พระราชทานข้อ<br />

วินิจฉัยและติดตามความคืบหน้าภารกิจที่ทรง<br />

มอบหมายใกล้ชิด<br />

การปกครองส่วนภูมิภาคกล่าวได้ว่า มีการ<br />

ขยายอาณาเขตออกไปทางภาคตะวันออก<br />

เฉียงเหนือกว้างขวาง จัดตั้งเมืองใหม่หลาย<br />

แห่ง เมืองใหม่เหล่านี้ปัจจุบันกลายเป็นจังหวัด<br />

สำคัญของประเทศ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น<br />

สกลนคร นครพนม สุรินทร์ ยโสธร หนองคาย<br />

กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี นอกจากนี้มีเมือง<br />

ประเทศราชอีกหลายเมือง ได้แก่ กัมพูชา<br />

เวียดนาม หลวงพระบาง เวียงจันทร์ จำปาศักดิ์<br />

แคว้นล้านนา รวมทั้งเชียงแสน เชียงราย ซึ่งปลาย<br />

รัชกาลมีชาวเวียงรุ้งจากแคว้นสิบสองปันนา<br />

อพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองเชียงของ<br />

อีกด้วย<br />

เมื่อมีการตั้งบ้านเมืองใหม่ ทรงพระ<br />

กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระบบการปกครอง<br />

โดยแบ่งเมืองออกเป็นแขวง ตำบลและบ้าน<br />

แต่ละหน่วยมีผู้ปกครอง คือ เจ้าเมือง ทำหน้าที่<br />

ปกครองเมืองหมื่นแขวงดูแลแขวง กำนันดูแล<br />

ตำบล ผู้ใหญ่บ้านปกครองบ้าน ลดหลั่นไป<br />

ตามสายงานเป็นการจัดการบริหารราชการ<br />

ส่วนท้องที่<br />

ภาคใต้ พระราชอาณาเขตครอบคลุมไปถึง<br />

ไทรบุรี ปัตตานี กลันตัน และตรังกานู เดิม<br />

อยู่ในความดูแลของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช<br />

และเจ้าเมืองสงขลา ในรัชกาลที่ ๓ ประสบ<br />

ปัญหาการกระด้างกระเดื่องของบรรดาสุลต่าน<br />

รัฐเล็ก รัฐน้อยในแหลมมลายู ที่สำคัญอังกฤษ<br />

เริ่มมีบทบาทนักล่าอาณานิคม เริ่มคุกคาม<br />

ดินแดนแหลมแถบมลายู เมืองในพระราช<br />

อาณาเขต ทรงวางหลักการและนโยบายการ<br />

บริหารประเทศอย่างมั่นคงอันนำไปสู่การทำ<br />

สนธิสัญญาเบอร์นี่เมื่อพุทธศักราช ๒๓๖๙<br />

สาระของสนธิสัญญานอกจากจะมุ่งเน้นเรื่อง<br />

ข้อตกลงทางการค้าระหว่างกันแล้ว อังกฤษ<br />

ยินดีจะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับดินแดนของไทย<br />

ในแหลมมลายูด้วย เมื่อรัฐไทรบุรีก่อการกบฏ<br />

เมื่อพุทธศักราช ๒๓๘๑ พระบาทสมเด็จ<br />

พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้ส่งกองทัพ<br />

ออกไปปราบปรามสำเร็จแล้วให้แก้ไขระเบียบ<br />

การบริหารเมืองไทรบุรีใหม่ โดยให้ชาวมลายูที่<br />

ไว้วางใจมาปกครองแทนข้าราชการไทย เพื่อ<br />

แก้ปัญหาความแปลกแยก เปิดโอกาสให้การ<br />

ปกครองดูแลเป็นไปได้สะดวกมากขึ้น กล่าว<br />

ได้ว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงดำเนินวิเทโศบายทางการปกครองด้วยวิธี<br />

อันชาญฉลาด คือการผูกมิตรกับอังกฤษ<br />

ให้ยอมรับสิทธิของไทยเหนือดินแดนใน<br />

หัวเมืองมลายู เป็นการสร้างความเข้มแข็ง<br />

14 สำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม


ในการป้องกันประเทศ สามารถควบคุมหัวเมือง<br />

ประเทศราชอย่างใกล้ชิดและทั่วถึง<br />

๓.พระราชดำริด้านการต่างประเทศ<br />

แนวพระราชดำริด้านการต่างประเทศกับชาติ<br />

ตะวันตก<br />

ช่วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อพุทธศักราช<br />

๒๓๖๗ นั้น ลัทธิล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก<br />

เริ่มแผ่ขยายเข้ามาทางภูมิภาคเอเชียแล้ว<br />

ดินแดนพม่าเพื่อนบ้านของไทยตกเป็นของ<br />

อังกฤษ อังกฤษเริ่มคุกคามทางการค้าและ<br />

การเมืองในแหลมมลายูที่อยู่ในความดูแลของ<br />

ไทย เมื่อไทยและอังกฤษตกลงทำสนธิสัญญา<br />

ทางพระราชไมตรีและพาณิชย์เมื่อวันที่ ๒๐<br />

มิถุนายน พุทธศักราช ๒๓๖๙ รู้จักกันในนาม<br />

ว่า สนธิสัญญาเบอร์นี่ ผลของสนธิสัญญา<br />

ด้านการปกครอง อังกฤษต้องยอมรับสิทธิ<br />

และอธิปไตยของไทยเหนือไทรบุรี กลันตัน<br />

ตรังกานู อย่างสมบูรณ์ โดยมีเงื่อนไขทางการค้า<br />

เป็นข้อแลกเปลี่ยน ซึ่งรัฐบาลไทยยินยอมได้<br />

เพียงบางส่วนเท่านั้น<br />

นโยบายประเทศตะวันตกโดยเฉพาะ<br />

อังกฤษเวลานั้น มีความรุนแรงมากไม่ว่า<br />

จะเป็นการคุกคามพม่าเป็นผลสำเร็จเมื ่อ<br />

พุทธศักราช ๒๓๖๙ การขยายอิทธิพลเข้าไป<br />

ในแหลมมลายูรวมทั้งมะละกาและสิงคโปร์<br />

โดยรัฐบาลฮอลันดามิได้ขัดขวางภายใต้การทำ<br />

สนธิสัญญากับฮอลันดาเมื่อพุทธศักราช<br />

๒๓๖๗ ว่าด้วยการแบ่งเขตอิทธิพลเหล่านี้<br />

ทำให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ทรงตระหนักถึงภยันตรายที่อยู่ไม่ไกลนัก การที่<br />

ทรงยอมทำสนธิสัญญาเบอร์นี่จึงเป็นวิธีหนึ่งที่<br />

รักษาสถานะประเทศให้รอดพ้นจากภัยคุกคาม<br />

นี้ได้ เป็นก้าวสำคัญในการดำเนินนโยบายกับ<br />

ชาติตะวันตกที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ทรง<br />

ตระหนักถึงอิทธิพลอังกฤษทั้งด้านการค้าและ<br />

การเมือง ที่มุ่งประโยชน์จากประเทศในภูมิภาค<br />

นี้เป็นอย่างดี<br />

การรู้เขารู้เรา เป็นพระราชวิจารณญาณ<br />

อันชาญฉลาดที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว ทรงนำมาเป็นแนวพระราชดำริแก่<br />

ผู้ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการบริหารประเทศ<br />

ต่อไปคำนึงถึง ทั้งต้องรู้จักเลือกที่จะรับ ดังพระ<br />

ราชกระแสที่รับสั ่งว่า<br />

“...การศึกสงคราม ข้างญวน ข้างพม่าก็<br />

เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้<br />

ระวังให้ดี อย่าให้เสียทีแก่เขาได้การงานสิ่งใด<br />

ของเขาที่คิด ควรจะเรียนเอาไว้ ก็ให้เอาอย่าง<br />

เขาแต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว...”<br />

พระราชดำรินี้ ทันสมัยอยู่เสมอ สามารถ<br />

นำมาใช้ปฏิบัติได้กับเหตุการณ์ในปัจจุบัน<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

นั่นคือ การที่ต้องพัฒนาตนเองตามกระแส<br />

โลกาภิวัตน์ แต่อย่างมงายหรือไม่ไตร่ตรองและ<br />

ที่สำคัญ คือ การดำเนินนโยบายกับประเทศ<br />

ตะวันตกของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัวนี้ มุ่งเน้นที่การโอนอ่อนผ่อนตามเพื่อ<br />

ธำรงรักษาเอกสารของชาติและความสัมพันธ์<br />

ฉันมิตร ซึ่งเป็นหลักการที่พระมหากษัตริย์<br />

รัชกาลต่อๆ มา ทรงถือปฏิบัติเช่นกัน<br />

แนวพระราชดำริด้านการต่างประเทศกับชาติ<br />

ต่างๆ ในภูมิภาค<br />

แผ่นดินรัชกาลที่ ๓ การสร้างความ<br />

สัมพันธ์ระหว่างไทยกับชาติต่างๆ ในภูมิภาค<br />

เดียวกัน ได้แก่ จีน พม่า ลาว เขมร และญวน<br />

มุ่งในเรื่องการค้าและการป้องกันประเทศไม่มี<br />

กรณีพยายามยอมโอนอ่อนผ่อนตามเพื่อรักษา<br />

สัมพันธ์ฉันมิตร และธำรงเอกราชของชาติ<br />

อย่างเช่นที่ทำกับชาติตะวันตกส่วนประเทศ<br />

จีน ความสัมพันธ์เน้นหนักด้านการค้าขาย<br />

หรือเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถดำรงความสัมพันธ์<br />

ได้อย่างมั่นคงยืนยาวครอบคลุมถึงด้านสังคม<br />

และศิลปวัฒนธรรมด้วย<br />

การสงครามระหว่างไทยกับพม่าที่<br />

ขับเคี่ยวกันมายาวนาน ได้สิ้นสุดลงในรัชกาล<br />

นี้ เพราะพม่าตกเป็นของอังกฤษหมดความ<br />

กังวลในการป้องกันประเทศด้านนี้ คงเหลือแต่<br />

ความสัมพันธ์กับลาว เขมร และญวน<br />

การปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์แห่งนคร<br />

เวียงจันทน์เมื่อพุทธศักราช ๒๓๖๙ เป็นศึกใหญ่<br />

และสำคัญครั้งหนึ่งในรัชสมัย แสดงให้<br />

เห็นพระบรมราโชบายในการปกครองเมือง<br />

ประเทศราชของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว เป็นการสร้างตัวอย่างแก่บรรดา<br />

ประเทศราชอื่นๆ ว่าการคิดกบฏนั้นมีผลตาม<br />

มาอย่างไรขุนพลแก้วในรัชสมัยที่เป็นแม่ทัพ<br />

สำคัญในการปราบกบฏครั้งนี้คือเจ้าพระยา<br />

บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ขณะดำรง<br />

ตำแหน่งพระยาราชสุภาวดี ทำให้เมืองที่ขึ้นกับ<br />

เวียงจันทร์มาก่อน เช่น จำปาศักดิ์ นครพนม<br />

ยโสธร ภูเวียง และหนองคาย เปลี่ยนมาขึ้นตรง<br />

ต่อกรุงเทพฯ กองทัพไทยกวาดต้อนครัวเชลย<br />

เข้ามาตั้งหลักแหล่งในกรุงและหัวเมืองใกล้<br />

เคียงจำนวนมาก ครัวเชลยเหล่านี้ คือ แรงงาน<br />

ทางเศรษฐกิจที่สำคัญยิ่งในรัชกาล<br />

ความสัมพันธ์กับเขมรและญวน เป็นเรื่อง<br />

การแสวงหาอาณาเขต ญวนถือสิทธิ์ว่ามีอำนาจ<br />

เหนือเขมร ซึ่งเป็นเมืองประเทศราชไทยมา<br />

ช้านาน แสดงความก้าวร้าวให้ไทยยินยอม<br />

การกระทบกระทั่งเป็นมูลเหตุแห่งสงครามที่เรียก<br />

ว่า “อันนัมสยามยุทธ์” ใช้เวลากว่า ๑๓ ปี<br />

จึงยุติศึกสงครามนี้เจ้าพระยาบดินทรเดชา<br />

และเจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่ทัพเริ่มรบ<br />

เมื่อพุทธศักราช ๒๓๗๗ เจรจาสงบศึกเมื่อ<br />

พุทธศักราช ๒๓๙๐ ผลการเจรจาคือ เขมรจะ<br />

จัดส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระมหา<br />

กษัตริย์ไทยทุกปี ส่งเครื่องบรรณาการให้ญวน<br />

ทุก ๒ ปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

โปรดฯ ให้นำเครื่องประกอบพิธีราชาภิเษกนัก<br />

องค์ด้วงให้เป็นกษัตริย์เขมรเมื่อพุทธศักราช<br />

๒๓๙๑ จะเห็นได้ว่า สัมพันธ์ระหว่างไทย<br />

กับเขมรเป็นไปเพื่อรักษาความสัมพันธ์ตาม<br />

แบบอย่างประเทศราชกับประเทศที่ให้ความ<br />

คุ้มครอง เมืองเขมรเป็นเสมือนรัฐกั้นกลาง<br />

(Buffer state) ระหว่างไทยกับญวน การทำ<br />

สงครามกับญวนนั้นเป็นไปเพื่อรักษาสถานะ<br />

เดิมและรักษาความปลอดภัยของประเทศ<br />

ชาติเป็นหลัก<br />

15


๖ ปี วันคล้ายวันสถาปนา<br />

สำนักงานสนับสนุน<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ใ<br />

น ปีพุทธศักราช ๒๕๕๒ พลเอก<br />

ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหม และ พลเอก<br />

อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

(ในขณะนั้น) ได้กรุณาดำริให้รวบรวมงาน<br />

ด้านการส่งกำลังบำรุง และงานสนับสนุนของ<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ให้รวมอยู่<br />

ด้วยกันเป็นหน่วยงานเดียว จึงได้มีการตรา<br />

พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนด<br />

หน้าที่ของส่วนราชการ สำนักงานรัฐมนตรี<br />

และสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงกลาโหม<br />

พุทธศักราช ๒๕๕๒ จัดตั้ง สำนักงานสนับสนุน<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมขึ้น โดยให้<br />

รวบรวมภารกิจด้านการส่งกำลัง, การโยธาธิการ,<br />

การให้บริการทางการแพทย์ ไว้ในหน่วยงาน<br />

เดียวกัน และโอนการบังคับบัญชา สำนักโยธา<br />

ธิการกลาโหม และสำนักงานแพทย์ สำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม ให้เป็นหน่วยขึ้นตรง<br />

สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม<br />

สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม มีภารกิจในการสนับสนุน<br />

การส่งกำลังและซ่อมบำรุง การขนส่ง การ<br />

บริการทางการแพทย์ การบริการ การโยธาธิการ<br />

การควบคุมดูแลอสังหาริมทรัพย์ กิจการ<br />

16<br />

ดุริยางค์ และกิจการโรงพิมพ์ของสำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม ตลอดจนดำเนินการ<br />

เกี่ยวกับการที ่ดินของกระทรวงกลาโหม และ<br />

ตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๕๗ สำนักงานสนับสนุน<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นหน่วย<br />

ให้การสนับสนุนด้านการส่งกำลังบำรุง แก่<br />

หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษา<br />

พระองค์ ๒ กิจกรรม ได้แก่ การสนับสนุน<br />

รถยนต์โดยสาร การสนับสนุนเครื่องหมายยศ<br />

เครื่องประกอบการแต่งกาย รวมทั้งเครื่องแบบ<br />

ทหาร และการสนับสนุนอื่นตามที่ร้องขอ<br />

เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒ พลเอก<br />

อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้<br />

กรุณามาเป็นประธานในพิธีเปิดป้ายนามหน่วย<br />

จึงได้กำหนดให้วันที่ ๑ กรกฎาคม ของทุกปี<br />

เป็นวันคล้ายวันสถาปนา สำนักงานสนับสนุน<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และในปี<br />

พุทธศักราช ๒๕๕๘ เป็นวันคล้ายวันสถาปนา<br />

หน่วย ครบ ๖ ปี โดยมี ผู้อำนวยการสำนักงาน<br />

สนับสนุนฯ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ ตั้งแต่<br />

จัดตั้งหน่วยถึงปัจจุบัน จำนวน ๕ ท่าน ดังนี้<br />

๑. พลโท หม่อมหลวง ประสบชัย เกษมสันต์<br />

๒. พลโท สิรวุฒิ สุคันธนาค<br />

๓. พลโท กฤษพงศ์ แก้วจินดา<br />

๔. พลโท กิติกร ธรรมนิยาย<br />

๕. พลโท พรรณนพ ศักดิ์วงศ์ (ท่านปัจจุบัน)<br />

ผลงานสำคัญที่ผ่านมา<br />

สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม ได้ดำเนินงานที่สำคัญตาม<br />

ภารกิจของหน่วย ได้แก่ การสนับสนุนหน่วย<br />

บัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์<br />

ด้วยการสนับสนุนเครื่องแบบทหาร, เครื่อง<br />

ประกอบการแต่งกาย, เครื่องหมายยศ รวมถึง<br />

การสนับสนุนอื่นๆ ตามที่ได้รับการร้องขอ<br />

หน่วยได้ดำเนินการอำนวยการก่อสร้าง<br />

โครงการที่สำคัญ เช่น โครงการก่อสร้างอาคาร<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมและโครงการ<br />

ก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยนายทหารประทวน<br />

พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก สำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม พื้นที่ศรีสมาน ซึ่งการดำเนิน<br />

การดังกล่าวจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อน<br />

ในเรื่องการแออัดของพื้นที่สำนักงาน และ<br />

การขาดแคลนที่พักอาศัยของกำลังพลนาย<br />

ทหารประทวน สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง<br />

สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


กลาโหมได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ หน่วยยังได้<br />

ดำเนินงานตามภารกิจของหน่วย เช่น กิจการ<br />

ดุริยางค์ กิจการโรงพิมพ์ และกิจการขนส่งเป็น<br />

ส่วนรวม โดยการรับ – ส่งข้าราชการจากที่พัก<br />

อาศัยในพื้นที่ต่างๆ ไปยังสถานที่ปฏิบัติงาน<br />

เป็นประจำทุกวัน<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

ตามที่รัฐบาลได้จัดโครงการ “เมือง<br />

สะอาด คนในชาติมีสุข” ในทุกจังหวัดนั้น<br />

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม จึงสั่งการให้หน่วยขึ้นตรง<br />

ดำเนินการพัฒนาหน่วยงานและชุมชนโดยรอบ<br />

ตามโครงการ “เติมความสุข ให้คนไทย จากใจ<br />

ทหาร” เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๗<br />

สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม และหน่วยขึ้นตรง ร่วมกับสำนักงาน<br />

เขตบางซื่อ ทำการพัฒนาชุมชนชวนชื่น ซึ่งเป็น<br />

ชุมชนใกล้เคียงที่ตั้งของหน่วย ได้รับความ<br />

ร่วมมือจากสำนักงานเขตบางซื่อ และ ประชาชน<br />

ที่พักอาศัยในชุมชนดังกล่าวเป็นอย่างดี<br />

และตามสั่งการให้มีการประชาสัมพันธ์แก่<br />

ประชาชนในบริเวณใกล้เคียงที่ตั้งของหน่วย<br />

ให้เข้าใจและทราบข้อเท็จจริงถึงความจำเป็น<br />

ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่เข้า<br />

มาแก้ไขปัญหาของประเทศ และขอความ<br />

ร่วมมือจากประชาชนได้ช่วยเหลือและให้การ<br />

สนับสนุนกิจกรรมของรัฐบาล หน่วยจึงได้จัด<br />

ชุดประชาสัมพันธ์ เข้าชี้แจงประชาชนในชุมชน<br />

ที่มีที่ตั้งใกล้เคียงหน่วย คือ ชุมชนชวนชื่น และ<br />

ชุมชนหมอนทองโดยต่อเนื่อง และจัดกิจกรรม<br />

ประชาสนเทศอีกครั้งเมื่อ ๑๐ มิถุนายน<br />

๒๕๕๘ โดยดำเนินกิจกรรมด้วยการพบปะ เพื่อ<br />

ประชาสัมพันธ์ผลงานของรัฐบาลและทหารใน<br />

ห้วงเวลาที่ผ่านมา รวมทั้งการให้บริการต่างๆ<br />

เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชน ได้แก่ การ<br />

บริการในการซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า<br />

และการให้บริการทางการแพทย์ พร้อมทั้ง<br />

แจกจ่ายยาสามัญประจำบ้าน มีประชาชนเข้า<br />

ร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก ผลการดำเนิน<br />

การบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้เป็น<br />

อย่างดี<br />

17


๒๕ ปี วันคล้ายวันสถาปนา สานักโยธาธิการ<br />

สานักงานสนับสนุน สานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

สำนักโยธาธิการ สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ประวัติความเป็นมา<br />

สำนักโยธาธิการ สำนักงานสนับสนุน<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (สยธ.สสน.สป.)<br />

แปรสภาพมาจาก สำนักโยธาธิการกลาโหม<br />

(สยธ.กห.) ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม<br />

๒๕๓๓ ตามคำสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่<br />

๑๒๒/๓๓ ลงวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๓๓ โดย<br />

พลเอก วันชัย เรืองตระกูล ปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม ในขณะนั้น เนื่องจากได้เล็งเห็นถึง<br />

ความจำเป็น ในการรวบรวมหน่วยงานด้าน<br />

โยธาธิการเข้าด้วยกัน เพื่อความเป็นเอกภาพ<br />

ในการบังคับบัญชาตามหลักนิยมของหน่วย<br />

และต่อมาได้แปรสภาพให้เป็นหน่วยขึ้นตรง<br />

ของสำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม ในนามของสำนักโยธาธิการ<br />

สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๒ เป็นต้นมา<br />

ตามอนุมัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๑ เรื่อง ขออนุมัติ<br />

ปรับปรุงแก้ไขอัตราเฉพาะกิจ สำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม เพื่อจัดตั้งสำนักงาน<br />

สนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

ปัจจุบันมี พลตรี ร่มเกล้า ปั้นดี ผู้อำนวยการ<br />

สำนักโยธาธิการ สำนักงานสนับสนุน สำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นผู้บังคับบัญชา<br />

การจัดหน่วย ประกอบด้วย สำนักงานผู้<br />

บังคับบัญชา กองแบบแผนและสำรวจ กองก่อ<br />

สร้างและสาธารณูปโภค และกองอสังหา<br />

ริมทรัพย์<br />

ผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา<br />

๑. การดำเนินงานตามพันธกิจ ๔ ประการ<br />

ของหน่วย<br />

๑.๑ ดำเนินการวางแผน จัดทำโครงการ<br />

สำรวจ ออกแบบ ประมาณการ งานก่อสร้าง<br />

ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ตาม<br />

แผนงานประจำปี ตามนโยบายสั่งการของ<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม และตามที่หน่วยขึ้น<br />

ตรงสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร้องขอ<br />

นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการปรับปรุง รายการ<br />

มาตรฐานประกอบแบบก่อสร้าง ของสำนัก<br />

โยธาธิการ สำนักงานสนับสนับสนุน สำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๔ (ม.สยธ.<br />

๒๕๕๔) เพื่อยกระดับมาตรฐานงานก่อสร้าง<br />

และให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับเทคโนโลยี<br />

ใหม่ๆ<br />

๑.๒ ดำเนินการควบคุม และกำกับดูแล<br />

งานก่อสร้างของ สำนักงานปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม ตามแผนงานและได้จัดทำโครงการ<br />

ฝึกอบรมผู้ควบคุมงานก่อสร้างประจำปี ๒๕๕๘<br />

เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้ควบคุมงาน<br />

ทหารและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน<br />

ด้วยการจัดตั้งหน่วยขึ้นตามลักษณะการจัด<br />

ตามแบบพันธกิจ โดยสนธิกำลังจากกำลังพล<br />

สำนักนโยบายและแผนกลาโหม และกรม<br />

เสมียนตรา ที่ปฏิบัติงานด้านโยธาธิการ<br />

อยู่เดิมมารวมอยู่ในสังกัดหน่วยใหม่ ซึ่งมี<br />

สถานที่ตั้งสำนักงานอยู่ที่ถนนประชาชื่น<br />

แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร<br />

18<br />

สำนักโยธาธิการ สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


ตลอดจนเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์<br />

ในการทำงาน<br />

๑.๓ ดำเนินการให้บริการด้านระบบ<br />

สาธารณูปโภคให้กับสำนักงาน และบ้านพัก<br />

อาศัยของกำลังพล โดยเฉพาะอย่างยิ่งจัดให้<br />

มีหน่วยซ่อมเคลื ่อนที่ เพื่อให้บริการในเรื่อง<br />

ดังกล่าว<br />

๑.๔ ดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินของ<br />

กระทรวงกลาโหม และอสังหาริมทรัพย์ของ<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยได้มุ่ง<br />

เน้นให้ความสำคัญกับ การป้องกัน และแก้ไข<br />

ปัญหาการบุกรุกที่ดินในครอบครองดูแล<br />

และใช้ประโยชน์ของหน่วยงานทหารโดยนำ<br />

ผู้บังคับบัญชาระดับสูงและคณะทำงานตรวจ<br />

เยี่ยมพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ<br />

๒. การดำเนินงานอื่นๆ นอกเหนือจากพันธกิจ<br />

ของหน่วย<br />

๒.๑ ดำเนินการสนับสนุน การจัดกิจกรรม<br />

ต่างๆ ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

และหน่วยขึ้นตรงตามที่ได้รับการร้องขอ<br />

๒.๒ ดำเนินการจัดทำโครงการจำหน่าย<br />

สินค้าราคาประหยัดบริการกำลังพลและ<br />

ครอบครัว ตลอดจนประชาชนทั่วไป ณ<br />

บริเวณพื้นที่ตั้งหน่วย เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย<br />

ในครอบครัว<br />

๒.๓ ดำเนินการจัดสวัสดิการกำลังพล<br />

โดยการแจกจ่ายเครื่องอุปโภค บริโภค และ<br />

จัดเลี้ยงอาหารกลางวันเพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย<br />

ในครอบครัว<br />

๒.๔ จัดอบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือน<br />

ให้กับกำลังพลเพื่อให้กำลังพลเรียนรู้วิธีการ<br />

บริหารค่าใช้จ่ายในครัวเรือน<br />

๒.๕ กวดขันวินัยกำลังพลโดยเฉพาะ<br />

อย่างยิ่งการแต่งกายและการแสดงความ<br />

เคารพ<br />

ในโอกาสครบรอบปีที่ ๒๕ ของการก่อ<br />

ตั้งหน่วย สำนักโยธาธิการ สำนักงานสนับสนุน<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จะยังคง<br />

มุ่งมั่นดำเนินงานให้อาคารและสิ่งปลูกสร้าง<br />

ในความรับผิดชอบ ได้รับการสำรวจและ<br />

ออกแบบให้เป็นไปตามมาตรฐาน ตามหลัก<br />

วิศวกรรมและมีความทันสมัย การก่อสร้าง<br />

ได้รับการควบคุมและกำกับดูแล ให้เป็นไปตาม<br />

แบบรูปรายการ อาคารและสิ่งปลูกสร้าง ได้<br />

รับการขึ้นทะเบียนประวัติอาคารอย่างถูกต้อง<br />

ที่ดินได้รับการดูแลและใช้ประโยชน์สูงสุด<br />

ปราศจากการบุกรุกตลอดจน นโยบายสั่งการ<br />

ของผู้บังคับบัญชาและกิจกรรมต่างๆ ของ<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้รับการ<br />

ตอบสนองอย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์<br />

กำลังพลและครอบครัวของหน่วยมีความสุข<br />

พร้อมที่จะปฏิบัติงาน<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

19


การประชุม IISS Shangri-La Dialogue ครั้งที่ ๑๔<br />

ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ของรองนายกรัฐมนตรี<br />

และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

สำนักนโยบายและแผนกลาโหม<br />

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายก<br />

รัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

พร้อมคณะ เดินทางไปเข้าร่วมการประชุม<br />

IISS Shangri - La Dialogue ครั้งที่ ๑๔<br />

ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ ๒๙<br />

- ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เพื่อกระชับ<br />

ความสัมพันธ์ และเสริมสร้างความร่วมมือ<br />

ระหว่างไทยกับมิตรประเทศในภูมิภาคเอเชีย<br />

- แปซิฟิก ซึ่งผลการเดินทางเป็นไปด้วยความ<br />

เรียบร้อย เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความ<br />

ร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ<br />

ต่อไปในอนาคต<br />

การประชุม IISS Shangri - La Dialogue<br />

มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีหารือระดับสูง<br />

เกี่ยวกับประเด็นด้านความมั่นคง และเพื่อ<br />

เปิดโอกาสให้ผู้แทนระดับรัฐมนตรีว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหม ของประเทศในภูมิภาค<br />

เอเชีย - แปซิฟิก ได้แถลงนโยบายและวิสัยทัศน์<br />

เกี่ยวกับประเด็นด้านความมั่นคงต่างๆ โดยมี<br />

ผู้เข้าร่วมการประชุมฯ ประกอบด้วย บุคคล<br />

สำคัญระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหาร<br />

สูงสุด และผู้บัญชาการเหล่าทัพ ของประเทศ<br />

ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก รวมประมาณ ๓๐<br />

ประเทศ รวมทั้งผู้แทนจากองค์กรระหว่าง<br />

ประเทศ สถาบันทางวิชาการ และสื่อมวลชน<br />

ต่างประเทศ<br />

การเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมฯ<br />

ของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหม พร้อมคณะ ณ สาธารณรัฐ<br />

สิงคโปร์ในครั้งนี้ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี<br />

โดยได้รับทราบแนวความคิดด้านความมั่นคง<br />

ของโลกและภูมิภาค ของบุคคลสำคัญจาก<br />

หลายประเทศ รวมทั้งได้มีการหารือเพื่อ<br />

กระชับความสัมพันธ์กับมิตรประเทศ ตลอดจน<br />

ได้ใช้โอกาสชี้แจงทำความเข้าใจการดำเนิน<br />

งานของรัฐบาลให้ต่างประเทศทราบในโอกาส<br />

เดียวกัน<br />

รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมการประชุม IISS Shangri-La Dialogue ครั้งที่ ๑๔<br />

นาย Ashton Carter รัฐมนตรีว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา กล่าว<br />

ปาฐกถาในหัวข้อ “บทบาทของสหรัฐฯ<br />

และความท้าทายต่อความมั่นคงใน<br />

ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก”<br />

20<br />

สำนักนโยบายและแผนกลาโหม


การหารือทวิภาคีระหว่าง รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหม กับนาย Teo Chee Hean รองนายกรัฐมนตรี<br />

สาธารณรัฐสิงคโปร์<br />

การหารือทวิภาคีระหว่าง รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหม กับนาย Ng Eng Hen รองนายกรัฐมนตรี<br />

สาธารณรัฐสิงคโปร์<br />

การหารือทวิภาคีระหว่าง รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหมกับพลเอก Han Minkoo รัฐมนตรีว่าการกระทรวง<br />

กลาโหมสาธารณรัฐเกาหลี<br />

การหารือทวิภาคีระหว่างรองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการ<br />

กระทรวงกลาโหมกับนาย Ruwan Wijewardene รัฐมนตรี<br />

ว่าการกระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตย<br />

ศรีลังกา<br />

การหารือทวิภาคีระหว่างปลัดกระทรวงกลาโหมกับ นาย David Shear<br />

ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

การหารือทวิภาคีระหว่างปลัดกระทรวงกลาโหมกับ นาย Chan<br />

Yeng Kit ปลัดกระทรวงกลาโหม สาธารณรัฐสิงคโปร์<br />

21


เจาะลึกกลุ่มไอเอส<br />

พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ<br />

อาบู ไซยาฟ (Abu<br />

Sayyaf) เสนาธิการฝ่ายยุทธการ<br />

ข่าวการสังหาร<br />

และรัฐมนตรีฝ่ายพลังงาน ผู้ซึ่ง<br />

รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับกิจการน้ำมันตลอดจน<br />

ธุรกรรมการเงินข้ามโลกของกองกำลังกลุ่ม<br />

ไอเอส เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ค.ศ.๒๐๑๕<br />

โดยหน่วยรบพิเศษของสหรัฐฯ ในดินแดน<br />

ของซีเรีย ตลอดจนข่าวการที ่กลุ่มดังกล่าว<br />

สามารถยึดเมือง "รามาดี" เมืองหลวงของ<br />

จังหวัด "อันบาร์" ซึ่งอยู่ห่างจากนครแบกแดด<br />

ของอิรักเพียง ๑๑๐ กิโลเมตรในห้วงเวลา<br />

เดียวกัน นับเป็นความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญ<br />

อีกครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้นกับกลุ่มไอเอส และส่งผล<br />

ให้โลกต้องหันกลับมามองกลุ่มดังกล่าวด้วย<br />

ความสนใจอีกครั ้งหนึ่ง แต่คราวนี้ประเด็นที่มี<br />

การพูดถึงกลุ่มไอเอส กลับมิใช่การก่อกำเนิด<br />

หรือความสลับซับซ้อนขององค์กร หากแต่เป็น<br />

ปัจจัยความสำเร็จของกลุ่มไอเอสที่มีขึ้นอย่าง<br />

ต่อเนื่อง รวมไปถึงยุทธวิธีที่ใช้ในการสู้รบอย่าง<br />

มีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จเป็น<br />

อย่างมากในห้วงเวลาที่ผ่านมา<br />

ปัจจุบัน "กลุ่มไอเอส" (IS : Islamic<br />

State) ได้รับการยอมรับว่ามิได้เป็นเพียงกลุ่ม<br />

ก่อการร้ายเท่านั้น หากแต่ยังเป็นกองกำลัง<br />

ทางทหารที่มีความแข็งแกร่ง มีระเบียบวินัย<br />

มีระบบการบังคับบัญชาแบบรวมศูนย์ แม้ดู<br />

เหมือนว่าแต่ละหน่วยย่อยของกลุ่มไอเอสจะ<br />

ปฏิบัติการเป็นเอกเทศต่อกัน แต่ที่จริงแล้ว<br />

ทุกหน่วยล้วนขึ้นตรงและรับคำสั่งจากกอง<br />

บัญชาการและผู้นำของตน สำหรับจำนวน<br />

สมาชิกของกลุ่มนั้น มีตัวเลขประมาณการ<br />

ที่หลากหลาย เช่น องค์กรข่าวกรองกลาง<br />

ของสหรัฐฯ หรือ "ซีไอเอ" ประเมินว่ามีนักรบ<br />

ไอเอสประมาณ ๓๐,๐๐๐ คน ในขณะที่พวก<br />

เคิร์ดประมาณว่ามีจำนวนถึง ๒๐๐,๐๐๐ คน<br />

นักรบเหล่านี้ประกอบด้วยชาวอิรัก ซีเรีย<br />

ซาอุดิอาระเบีย จอร์แดน และนักรบต่าง<br />

ชาติอื่นๆ ปัจจุบันคาดว่ามีนักรบต่างชาติกว่า<br />

๒๐,๐๐๐ คนสังกัดอยู่กับกลุ่มไอเอส ในจำนวน<br />

นี้ประมาณ ๓,๔๐๐ คนเป็นชาวตะวันตก<br />

และอีกอย่างน้อย ๑๕๐ คนเดินทางมาจาก<br />

สหรัฐฯ<br />

นักรบต่างชาติที่เข้าร่วมกับกลุ่มไอ<br />

เอสนั้น ที่น่าจับตามองคือนักรบเชชเนีย<br />

(Chechnya) จากสาธารณรัฐเชเชน คนเหล่านี้<br />

ล้วนมีประสบการณ์ในการสู้รบกับกองทัพ<br />

รัสเซียมาอย่างโชกโชน ปัจจุบันคาดว่ามีนักรบ<br />

มุสลิมจากเชชเนียจำนวน ๘๐๐ ถึง ๑,๕๐๐ คน<br />

เข้าร่วมกับกลุ่มไอเอส นอกจากนี้ยังมีนักรบ<br />

ไอเอสจากเยอรมันที่เป็นกำลังหลักสำคัญของ<br />

กลุ่ม รายงานข่าวบางกระแสข่าวพบว่า นักรบไอ<br />

เอสจากเยอรมันนั้นส่วนใหญ่เป็นนักรบในระดับ<br />

หัวกะทิ และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น<br />

ผู้บังคับหน่วยในระดับต่างๆ ของกลุ่มไอเอส<br />

ส่วนฝรั่งเศสก็เช่นกันมีประชาชนเข้า<br />

ร่วมในสงครามศักดิ์สิทธิ์กับกลุ่มไอเอสเป็น<br />

จำนวนมาก แต่ที่น่ากลัวยิ่งกว่านั้นคือ มีอดีต<br />

ทหารผ่านศึกของฝรั่งเศสจำนวนอย่างน้อย<br />

๑๐ นาย ได้เดินทางเข้าร่วมกับกลุ่มไอเอส<br />

และทหารเหล่านี้ล้วนแต่เป็นนักรบที่มีฝีมือ<br />

ชั้นยอด ผ่านการฝึกฝนทางด้านยุทธวิธีการ<br />

รบมาเป็นอย่างดี จึงมีความเป็นไปได้สูงมากที่<br />

ทหารผ่านศึกฝรั่งเศสเหล่านี้ จะเป็นผู้ถ่ายทอด<br />

22 พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ


ยุทธวิธีการรบของโลกตะวันตกให้กับกลุ่ม<br />

ไอเอส เช่นเดียวกับนักรบไอเอสจากเยอรมัน<br />

ในขณะเดียวกันรัฐบาลอังกฤษก็ยืนยันว่ามี<br />

ประชากรอังกฤษไม่น้อยกว่า ๖๐๐ คน<br />

เดินทางเข้าร่วมกับกลุ่มไอเอส ในขณะที่ข้อมูล<br />

บางแหล่งพบว่ามีประชากรอังกฤษเข้าร่วมกับ<br />

กลุ่มดังกล่าวไม่ต่ำกว่า ๒,๐๐๐ คน ที่สำคัญใน<br />

จำนวนนี้มีทหารผ่านศึกของอังกฤษเข้าร่วม<br />

ปฏิบัติการด้วย การที่มีทหารผ่านศึกจากยุโรป<br />

เข้าร่วมกับกลุ่มไอเอส ทำให้ยุทธวิธีการรบ<br />

ในพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง (Urban Warfare) โดย<br />

เฉพาะการเข้าตรวจค้นอาคาร มีลักษณะการ<br />

ปฏิบัติการคล้ายคลึงกับยุทธวิธีที่ทหารสหรัฐฯ<br />

และโลกตะวันตกใช้ในอิรักและอัฟกานิสถาน<br />

เลยทีเดียว<br />

ทางด้านสายการบังคับบัญชาของกลุ่ม<br />

ไอเอสนั้น มีการยึดมั่นในระบบการบังคับบัญชา<br />

อย่างเคร่งครัด โดยมีผู้นำสูงสุดคือ อิบบราฮิม<br />

อาว์วาด อิบบราฮิม อาลี อัล-บาดรี อัล-ซามา<br />

ราย (Ibrahim Awwad Ibrahim Ali al-Badri<br />

al-Samarai) หรือที่มีนามเรียกขานอันลือชื ่อ<br />

ว่า อาบู บัคคาร์ อัล-แบกฮ์ดาดี (Abu Bakr<br />

al-Baghdadi) ผู้ตั้งตนเป็น "กาหลิบ" (caliph)<br />

ของกลุ่มไอเอสนั่นเอง แบกฮ์ดาดีได้แต่งตั้ง<br />

รองหัวหน้ากลุ่มของเขาขึ้นมาอีก ๑ คนคือ อาบู<br />

อัลลา อัล-อาฟรี (Abu Alaa al-Afri) เพื่อช่วย<br />

การบริหารงานในอิรัก ก่อนที่ทางการอิรักจะ<br />

อ้างว่า อัล-อาฟรี ได้เสียชีวิตจากการโจมตีทาง<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

อากาศของกองทัพอิรัก บริเวณตะวันตกของ<br />

เมืองโมซุลเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ.๒๐๑๕<br />

ที่ผ่านมา<br />

นอกจากนี้แบกฮ์ดาดียังมีรองหัวหน้าอีก<br />

๒ คนคือ ฟาเดล อาหะหมัด อับดุลลาฮ์ อัล-ฮี<br />

ยาลี (Fadel Ahmad Abdullah al-Hiyali)<br />

ใช้นามเรียกขานว่า อาบู มุสลิม อัล-เติร์คมานี<br />

(Abu Muslim al-Turkmani) เป็นรองหัวหน้า<br />

กลุ่มที่รับผิดชอบพื้นที่การรบในอิรักทั้งหมด<br />

โดยแบ่งพื้นที่การบังคับบัญชาออกเป็น ๑๒<br />

เขต สำหรับรองหัวหน้ากลุ่มอีกคนคือ อาบู<br />

อาลี อัล-อันบารี (Abu Ali al-Anbari) เป็นรอง<br />

หัวหน้ากลุ่มไอเอส ผู้รับผิดชอบพื้นที่ในดินแดน<br />

ประเทศซีเรียทั้งหมด โดยแบ่งพื้นที่รับผิดชอบ<br />

ของตนออกเป็น ๑๒ เขตเท่ากับประเทศอิรัก<br />

สายการบังคับบัญชารองลงมาคือ กลุ่ม<br />

รัฐมนตรีจำนวน ๗ คนที่ขึ้นตรงต่อแบกฮ์ดาดี<br />

เช่น อาคา อาบู โมฮัมเหม็ด (Aka abu<br />

mohamed) ซึ่งเป็นรัฐมนตรีรับผิดชอบใน<br />

ส่วนควบคุมนักโทษ ส่วนด้านการรบนั้นมี<br />

บุคคลสำคัญ เช่น ด้านปฏิบัติการโจมตีด้วย<br />

ระเบิดแสวงเครื่องและระเบิดพลีชีพนั้นมี<br />

ไครี อาเบด มาหะหมูด อัล-ทาเอ (Khairy<br />

abed mahmoud al-taey) หรือที ่นามเรียก<br />

ขานว่า อาบู ซูจา (Abu Suja) เป็นผู้รับผิดชอบ<br />

และมีอัดนัน อิสมาลี นาเจม บีลาวี (Adnan<br />

Ismali Najem Bilawi) ซึ่งมีนามเรียกขาน<br />

ว่า อาบู อับดุล ราฮ์มาน อัล-อาบีลาวี (Abu<br />

Abdul Rahman al-abilawi) เป็นผู้บัญชาการ<br />

ทหารสูงสุดของกลุ่มไอเอสในอิรัก บุคคลนี้เดิม<br />

เป็นนายทหารยศร้อยเอก สังกัดกองทัพอิรักใน<br />

สมัยอดีตประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน แต่เขา<br />

ต้องเสียชีวิตจากการรบที่เมืองโมซุล (Mosul)<br />

เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ค.ศ.๒๐๑๔ ทำให้กลุ่ม<br />

ไอเอสได้ประกาศการโจมตีเมืองโมซุลอีกครั้ง<br />

ภายใต้ชื่อรหัส "การแก้แค้นให้บีลาวี" (Bilawi<br />

Vengeance) อีก ๕ วันต่อมาคือในวันที่ ๑๐<br />

มิถุนายน เป็นการสู้รบระหว่างกลุ่มไอเอส<br />

จำนวน ๓,๐๐๐ คนกับกองทัพอิรักจำนวนกว่า<br />

๓๐,๐๐๐ คน แต่กองทัพอิรักก็ต้องประสบกับ<br />

ความพ่ายแพ้ เนื่องจากมีขวัญและกำลังใจที่<br />

ตกต่ำ อีกทั้งยังด้อยประสบการณ์อย่างมาก<br />

ถึงแม้ผู้นำกลุ่มไอเอสจะมีรองและ<br />

คณะรัฐมนตรีจำนวน ๗ คน แต่เขายังคง<br />

สั่งการและบังคับบัญชาแบบรวมศูนย์ ด้วยการ<br />

สั่งการตรงไปยังผู้ว่าการเขตทั้ง ๑๒ เขตในอิรัก<br />

และ ๑๒ เขตในซีเรีย เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า<br />

คำสั่งของเขาจะได้รับการปฏิบัติตามอย่าง<br />

เคร่งครัด บรรดาผู้ว่าการเขตทั้ง ๒๔ เขตนี้<br />

แบกฮ์ดาดีจะมอบอำนาจในด้านการเงิน<br />

การบริหารจัดการและการปฏิบัติการรบด้วย<br />

ตนเอง แต่ต้องรายงานการปฏิบัติทุกอย่างให้<br />

กับตน ภายใต้ผู้ว่าการเขตเหล่านี้ยังมีคณะ<br />

กรรมการอีก ๘ คนขึ้นการบังคับบัญชาอยู่กับ<br />

ผู้ว่าการ โดยคณะกรรมการแต่ละคนประกอบ<br />

ด้วย คณะกรรมการด้านการเงิน ด้านผู้นำ ด้าน<br />

การทหาร ด้านกฎหมาย ด้านการสนับสนุน<br />

ด้านการรักษาความปลอดภัย ด้านการข่าวและ<br />

ประชาสัมพันธ์<br />

ส่วนอาวุธยุทโธปกรณ์ของกลุ่มไอเอสนั้น<br />

ได้รับการยอมรับว่าเป็นอาวุธที่มีศักยภาพสูง<br />

มาก ยุทโธปกรณ์เหล่านี้ส่วนหนึ่งยึดมาได้จาก<br />

คลังอาวุธของกองทัพอิรักและซีเรีย อีกส่วน<br />

หนึ่งมาจากตลาดค้าอาวุธผิดกฎหมายที่กลุ่ม<br />

ไอเอสสามารถหาซื้อได้โดยง่าย อันเนื่องมา<br />

จากอำนาจเงินจำนวนมหาศาล ปัจจุบันโลก<br />

ตะวันตกคาดว่ากลุ่มไอเอสมีรถถังราว ๓๐๐<br />

คันในจำนวนนี้ประมาณ ๑๕๐ คันเป็นรถถัง<br />

แบบ เอ็ม-๑ อับบรามส์อันทรงประสิทธิภาพ<br />

ที่กองทัพสหรัฐฯ ส่งมอบให้กับอิรัก และมีรถ<br />

23


ฮัมวี่ (HMMWV : Humvee) และรถยนต์<br />

บรรทุกทหารจำนวน ๓,๐๐๐ ถึง ๔,๐๐๐ คัน<br />

มีปืนใหญ่ประมาณ ๑,๐๐๐ ถึง ๑,๕๐๐ กระบอก<br />

ในจำนวนนี้มีปืนใหญ่ของสหรัฐอเมริกาขนาด<br />

๑๕๕ มิลลิเมตร ซึ่งมีระยะยิงไกลถึง ๒๒<br />

กิโลเมตรรวมอยู่ด้วยจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้<br />

กลุ่มไอเอสยังมีระบบจรวดนำวิถีต่อสู้รถถัง<br />

และระบบการสื่อสารที่ดีเยี่ยม ล่าสุดพบว่ากลุ่ม<br />

ไอเอสมีจรวดต่อสู้อากาศยานแบบประทับบ่า<br />

ชนิด "สเตรล่า-๓” (Strela-3) ซึ่งมีระยะยิงไกล<br />

๔ กิโลเมตร, จรวด "อิกล่า" (Igla) , “สติงเกอร์”<br />

(Stinger) และ "คอบร้า" (Cobra)<br />

อีกจำนวนหนึ่ง ด้วยจรวดต่อสู้อากาศยาน<br />

อันทรงอานุภาพเหล่านี้เอง ทำให้กลุ่มไอเอส<br />

สามารถเด็ดปีกอากาศยานของกองทัพอิรัก<br />

ซีเรียและชาติพันธมิตรได้สำเร็จเป็นจำนวน<br />

หลายครั้ง<br />

กลุ่มไอเอสยังมีอาวุธเคมีในความครอบ<br />

ครอง โดยยึดมาจากคลังอาวุธของกองทัพอิรัก<br />

ในเมือง "มูธานนา” (muthanna) เมื่อเดือน<br />

มิถุนายน ค.ศ.๒๐๑๔ รวมทั้งยึดบางส่วนมา<br />

จากคลังอาวุธของซีเรีย และมีการใช้อาวุธ<br />

เคมีดังกล่าวอย่างน้อย ๒ ครั้ง ครั้งแรกใช้ใน<br />

การต่อสู้กับกลุ่มเคิร์ดในประเทศซีเรีย ที่เมือง<br />

“อาฟดิโก” (avdiko) ซึ่งอยู่ทางตะวันออก<br />

ของเมือง “โคบานี” (kobane) เมื่อวันที่ ๑๒<br />

กรกฎาคม ค.ศ.๒๐๑๔ ส่วนการโจมตีด้วยอาวุธ<br />

เคมีอีกครั้งหนึ่งเป็นการต่อสู้กับทหารอิรักที่<br />

เมือง “ซัคลาวิยา” (Saqlawiya) ในจังหวัด<br />

“อันบาร์” (Anbar) เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ.<br />

๒๐๑๔ การโจมตีทั้งสองครั้งดังกล่าว กลุ่มไอเอส<br />

ใช้แก๊สมัสตาร์ดและคลอรีนในการโจมตี<br />

ปัจจุบันเชื่อว่าคลังเก็บอาวุธเคมีของกลุ่มไอเอส<br />

24<br />

ตั้งอยู่ที ่เมือง “รัคคา” (raqqa) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น<br />

เมืองหลวงของกลุ่มไอเอสในประเทศซีเรีย<br />

นอกจากนี้กลุ่มไอเอสยังสามารถยึด<br />

เครื่องบินขับไล่แบบ “มิค-๒๑” (MIG-21)<br />

จำนวน ๓ ลำจากกองทัพซีเรีย แม้ว่าจะยัง<br />

ไม่เคยใช้เครื่องบินเหล่านี้เข้าการรบ เพราะ<br />

กลุ่มไอเอสตระหนักดีว่ามันอาจจะตกเป็นเป้า<br />

หมายของเครื่องบินสหรัฐฯ ได้อย่างง่ายดาย<br />

แต่อย่างไรก็ตามก็เป็นสิ่งบอกเหตุว่ากลุ่มไอเอส<br />

มีเครื่องบินรบประจำการอยู่และใช้ในการฝึก<br />

นักบินของตน โดยมีครูฝึกจากกองทัพอิรัก<br />

สมัยอดีตประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซนเป็น<br />

ผู้ฝึกสอน<br />

เป้าหมายหลักในการโจมตีของกลุ่ม<br />

ไอเอสส่วนใหญ่จะเป็น ถนนสายหลัก เช่น ไฮเวย์<br />

เชื่อมต่อระหว่างเมือง บ่อน้ำมัน เขื่อนและ<br />

โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า ทั้งนี้เพราะกลุ่มไอเอส<br />

ตระหนักดีว่า ตนเองไม่มีกำลังเพียงพอที่จะยึด<br />

ครองพื้นที่ขนาดใหญ่ได้ พวกเขาจึงทำการยึด<br />

สิ่งสาธารณูปโภคพื้นฐานหรือจุดยุทธศาสตร์<br />

ที่สำคัญ เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและสร้างพลัง<br />

อำนาจด้านการเงินให้กับเขาได้<br />

สำหรับยุทธวิธีการรบของกลุ่มไอเอสนั้น<br />

จะเป็นการประสานกันของ "การรบตามแบบ"<br />

(Conventional Warfare) กับ "การก่อการร้าย"<br />

และ "การรบนอกแบบ" ด้วยการใช้ระเบิดแสวง<br />

เครื่องและระเบิดพลีชีพ ซึ่งกลุ่มไอเอสมักจะ<br />

โจมตีแนวหน้า จุดตรวจและกองบัญชาการ<br />

ของข้าศึกด้วยระเบิดพลีชีพ โดยการเข้าโจมตี<br />

พื้นที่แต่ละแห่ง กลุ่มไอเอสจะมอบอำนาจ<br />

เต็มให้กับผู้บังคับบัญชาในพื้นที่เป็นผู้ตัดสิน<br />

ใจว่า จะใช้ยุทธวิธีใดในการเข้าโจมตี พวกเขา<br />

จะแบ่งกำลังออกเป็นกลุ่มย่อย แม้จะมีการ<br />

จัดกำลังในระดับกองพันหรือกองร้อยตาม<br />

แบบตะวันตกก็ตาม การโจมตีจะเต็มไปด้วย<br />

ความรุนแรง รวดเร็วและคาดไม่ถึง (surprise<br />

attack) นักรบกลุ่มไอเอสจะมีความเชี่ยวชาญ<br />

ในการรบในเมืองเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการ<br />

เข้า "เคลียร์" หรือกวาดล้างข้าศึกในพื้นที่สิ่ง<br />

ปลูกสร้าง หรือในอาคาร และจากถนนหนึ่ง<br />

สู่อีกถนนหนึ่ง พวกเขาส่วนใหญ่จะแต่งกาย<br />

ด้วยชุดสีดำหรือสีเทาแบบอาหรับที่รัดกุม<br />

น่าเกรงขาม ใช้อาวุธประจำกายที่หลากหลาย<br />

ทั้งปืนเล็กยาวอัตโนมัติแบบ เอ็ม-๑๖ และ<br />

เอ็ม-๔ ที่ยึดได้จากคลังอาวุธของกองทัพอิรัก<br />

ทางตอนเหนือ ตลอดจนปืนเล็กยาวอัตโนมัติ<br />

ยอดนิยมในตะวันออกกลางคือ เอเค-๔๗ และ<br />

"ดรากูนอฟ เอสวีดี" (Dragunov SVD) ทั้ง<br />

ที่ผลิตในจีนและอดีตสหภาพโซเวียต นักรบ<br />

ไอเอสยังมีอุปกรณ์ทางทหารรอบกายครบครัน<br />

ไม่ต่างจากทหารโลกตะวันตก และส่วนมากไม่<br />

สวมหมวกเหล็กป้องกันศีรษะ แต่จะโพกศีรษะ<br />

หรือสวมผ้าคลุมสีดำแทน<br />

ก่อนการเปิดฉากโจมตี นักรบไอเอสจะ<br />

แทรกซึมเข้าสู่พื้นที่เป้าหมาย โดยเข้าไปปะปน<br />

อยู่กับฝูงชน ในระหว่างนี ้พวกเขาจะหลีกเลี่ยง<br />

การใช้โทรศัพท์มือถือหรือวิทยุสื่อสาร เพื่อ<br />

ป้องกันการสังเกตเห็นจากบุคคลทั่วไปและ<br />

เจ้าหน้าที่ฝ่ายข้าศึก จนเมื่อการโจมตีจากภายนอก<br />

เปิดฉากขึ้น กลุ่มไอเอสภายในเมืองจะทำการ<br />

จู่โจมจุดตรวจต่างๆ พร้อมกับชักธงสีดำ ซึ่งเป็น<br />

สัญลักษณ์ของกลุ่มไปทั่วพื้นที่ เพื่อสร้างความ<br />

สับสนให้กับข้าศึกว่ากลุ่มไอเอสอยู่ที่ไหนบ้าง<br />

การเคลื่อนที่ของกลุ่มไอเอสดังกล่าวจะเต็มไป<br />

ด้วยความรวดเร็ว เพราะเป็นการผสมผสานทั้ง<br />

การใช้รถยนต์บรรทุกขนาดเล็กติดปืนกลหนัก<br />

พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ


และรถมอเตอร์ไซค์ซึ่งมีความคล่องตัวสูงใน<br />

การเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง อีกทั้ง<br />

ในระหว่างการโจมตี พวกเขาจะเผายางรถยนต์<br />

หรือน้ำมันเพื่อก่อให้เกิดควันดำ จนเครื่องบิน<br />

ของฝ่ายพันธมิตรหรือฝ่ายรัฐบาลไม่สามารถ<br />

เข้าโจมตีสนับสนุนฝ่ายตนเองได้<br />

การโจมตีทั้งจากภายนอกและภายใน<br />

พร้อมๆ กัน จะมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดจำนวน<br />

ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก โดยเฉพาะ<br />

การโจมตีจากภายใน ทั้งการลอบวางระเบิด<br />

แสวงเครื่องตามเส้นทางและจุดตรวจ การใช้<br />

มือระเบิดพลีชีพเข้าโจมตีที่ตั้งหน่วยของข้าศึก<br />

หากยังไม่สามารถยึดที่หมายได้ กลุ่มไอเอสจะ<br />

รีบถอนกำลังอย่างรวดเร็วเพื่อรักษาชีวิตกำลังพล<br />

ที่มีอย่างจำกัดของฝ่ายตน จากนั้นก็จะสร้าง<br />

อาณาจักรแห่งความหวาดกลัวขึ้นด้วยการ<br />

สังหารเชลยศึกด้วยวิธีการต่างๆ ที่โหดร้าย<br />

ทารุณ และทำการเผยแพร่ภาพความโหดร้าย<br />

เหล่านั้นผ่านสื่อออนไลน์ เพื่อทำลายขวัญของ<br />

ข้าศึกและประชาชนที่ยังคงอยู่ในที่มั่น<br />

เมื่อข้าศึกและประชาชนที่อยู่ในพื้นที่<br />

เป้าหมาย รับทราบข่าวสารความเหี้ยมโหด<br />

ของกลุ่มไอเอสผ่านสื่อออนไลน์แล้ว ต่างก็พา<br />

กันละทิ้งบ้านเรือนและที่มั่น ส่วนทหารและ<br />

ตำรวจฝ่ายตรงข้ามก็ขาดขวัญกำลังใจในการ<br />

สู้รบ ส่งผลให้แนวตั้งรับของข้าศึกเกิดความ<br />

อ่อนแอ ในที่สุดกลุ่มไอเอสก็จะเข้าตีอย่าง<br />

รุนแรงอีกครั้งด้วยกำลังในระดับกองพันหรือ<br />

มากกว่านั้น จนสามารถยึดที่หมายได้<br />

เมื่อเข้ายึดที่หมายได้ กลุ่มไอเอสก็<br />

จะทำการตรวจสอบประชาชนในดินแดน<br />

ยึดครอง เพื่อให้ที่มั่นของตนมีลักษณะ<br />

"ปลอดเชื้อ" (sterile) และเป็นสังคมในอุดมคติ<br />

ตามหลักศาสนาบริสุทธิ์ บุคคลที่มีแนวคิดไม่<br />

ตรงกับแนวคิดของกลุ่มจะถูกทำลายลงทันที<br />

เช่น ข้าราชการและกลุ่มที่สนับสนุนฝ่ายรัฐบาล<br />

พวกรักร่วมเพศ พวกต่างศาสนา พวกโจรขโมย<br />

จะถูกสังหารด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การยิงเป้า<br />

การประชาทัณฑ์ด้วยการรุมขว้างก้อนหินใส่<br />

ส่วนพวกรักร่วมเพศจะถูกสังหารด้วยการโยน<br />

ลงมาจากตึกสูง เป็นต้น<br />

ตัวอย่างความสำเร็จในการโจมตีเป้า<br />

หมายครั้งล่าสุดของกลุ่มไอเอสคือ การโจมตี<br />

ศาลาว่าการของเมือง "รามาดี" (Ramadi)<br />

เมืองหลวงของจังหวัด "อันบาร์" (Anbar) ของ<br />

อิรัก ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานผู้ว่าราชการ<br />

จังหวัดอันบาร์ กองบัญชาการตำรวจ และ<br />

สำนักงานข่าวกรองของรัฐบาลอิรักเมื่อวันที่<br />

๑๕ พฤษภาคม ค.ศ.๒๐๑๕ ที่ผ่านมา โดยใช้<br />

รถยนต์บรรทุกระเบิดพร้อมมือระเบิดพลีชีพ<br />

จำนวน ๖ คัน นำโดยนักรบไอเอสจากอังกฤษ<br />

ที่ใช้นามเรียกขานว่า อาบู มูซา บริตานี (Abu<br />

Muza Britani) เข้าโจมตีพร้อมกัน จนศาลา<br />

ว่าการดังกล่าวแทบจะแหลกเป็นจุลในพริบตา<br />

ก่อนที่นักรบไอเอสจะหลั่งไหลพรั่งพรูจาก<br />

ภายนอกเข้าสู่ตัวเมืองรามาดี โดยการใช้รถ<br />

แทรกเตอร์หุ้มเกราะแล่นนำหน้า เข้ารื้อถอน<br />

แนวรั้วคอนกรีตขนาดใหญ่ที่ฝ่ายรัฐบาลตั้ง<br />

ขวางเส้นทางเข้าสู่เมือง และเข้ายึดพื้นที่ต่างๆ<br />

ได้พร้อมกับชักธงสีดำของกลุ่มเพื่อประกาศ<br />

ชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่เหนือกองทัพอิรักในปีนี้ การ<br />

สูญเสียเมืองรามาดี ทำให้พื้นที่จังหวัดอันบาร์<br />

ซึ่งเป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดของประเทศและอยู่<br />

ห่างจากกรุงแบกแดดเพียง ๑๑๐ กิโลเมตร<br />

ตกอยู่ในความครอบครองกลุ่มไอเอสอย่าง<br />

สิ้นเชิง จึงไม่เป็นที่แปลกใจว่าสหรัฐฯ ตลอดจน<br />

ชาติพันธมิตรจะทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่าง ในการ<br />

สนับสนุนกองทัพอิรักให้ยืดเมืองดังกล่าวกลับ<br />

คืนมาให้ได้<br />

ปัจจุบันดินแดนที่กลุ่มไอเอสสามารถ<br />

ครอบครองได้ในซีเรียและอิรัก มีขนาดใหญ่<br />

เทียบเท่ากับพื้นที่ของสหราชอาณาจักร หรือ<br />

มีขนาดใหญ่กว่าประเทศเลบานอนทั้งประเทศ<br />

เลยทีเดียว สิ่งที่ยืนยันถึงความแข็งแกร่ง<br />

ของกองทัพกลุ่มไอเอส คือการสู้รบต่อกร<br />

กับกองทัพซีเรีย ซึ่งไม่อาจปฏิเสธได้ว่าเป็น<br />

กองทัพที่มีความแข็งแกร่งกว่ากองทัพอิรักมาก<br />

เพราะมีประสบการณ์ในการรบมายาวนาน<br />

อีกทั้งมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ดีเยี่ยม แต่ในที่สุด<br />

กองทัพซีเรียก็ต้องประสบกับความสูญเสีย<br />

อย่างหนักเมื่อต้องเผชิญกับนักรบกลุ่มไอเอส<br />

สำหรับความกังวลในเวลานี้คือกลุ่มไอเอสกำลัง<br />

อาศัยความเพลี่ยงพล ้ำของกองทัพซีเรีย<br />

ให้เป็นประโยชน์ เพื่อใช้ดินแดนซีเรียเป็น<br />

สรวงสวรรค์ของกลุ่มตน เนื ่องจากในขณะนี้<br />

กองทัพพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐฯ และอังกฤษ<br />

กำลังทุ่มเทความช่วยเหลือสนับสนุนกองทัพ<br />

อิรัก ทำให้กลุ่มไอเอสที่ล่าถอยออกจากอิรัก<br />

จะเข้าไปหลบซ่อนและซ่องสุมกำลังในดินแดน<br />

ซีเรีย จนเมื่อฟื้นตัวได้สมบูรณ์แล้ว ก็จะหวน<br />

กลับเข้ามาโจมตีอิรักอีกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด<br />

เป้าหมายสำคัญของกลุ่มไอเอสในเวลานี้<br />

คือการโจมตีนครแบกแดดเพื่อมุ่งหวังจะจัดตั้ง<br />

เมืองหลวงแห่งรัฐที่ปกครองด้วยหลักศาสนา<br />

บริสุทธิ์ เมื่อใดก็ตามที่กลุ่มไอเอสสามารถยึด<br />

แบกแดดและจัดตั้งรัฐของตนเองได้ เมื ่อนั้น<br />

กลุ่มไอเอสจะกลายเป็นต้นแบบของการจัดตั้ง<br />

รัฐที่ปกครองด้วยศาสนาบริสุทธิ์ให้กับสมาชิก<br />

กลุ่มไอเอสที่เดินทางกลับไปยังภูมิลำเนาของตน<br />

เพื่อสถาปนารัฐตามอุดมคติของตนขึ้นเช่น<br />

เดียวกัน กลุ่มไอเอสจึงนับเป็นภัยคุกคามความ<br />

มั่นคงของรัฐต่างๆ ที่น่ากลัวที่สุดภัยหนึ่งในยุค<br />

ปัจจุบัน<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

25


ค่านิยมและความเชื่อที่ฝังแน่น<br />

(Enduring values and beliefs)<br />

กับการกำหนดยุทธศาสตร์<br />

ความมั่นคงของชาติ<br />

พันเอก ชรัติ อุ่มสัมฤทธิ์<br />

กองทัพที่กำชัยชนะ จึงรบในเมื่อเห็นชัยแล้ว<br />

แต่กองทัพที่พ่ายแพ้จะรบเพื่อหาทางชนะ<br />

ซุนวู ๑<br />

หากกล่าวถึงยุทธศาสตร์ความมั่นคง<br />

ของชาติ (National Security Strategy : NSS)<br />

หรือยุทธศาสตร์ชาติ (National Strategy : NS)<br />

ถือว่าเป็นเอกสารนำในการพัฒนาประเทศที่<br />

สำคัญยิ่ง สำหรับในต่างประเทศ โดยเฉพาะ<br />

26<br />

อย่างยิ่งสหรัฐฯ จะถือเอกสารยุทธศาสตร์<br />

นี้เป็นเอกสารปกขาว (White paper) ที่<br />

ประธานาธิบดีทุกคนที่เข้ามารับตำแหน่ง<br />

บริหารประเทศ ต้องจัดทำด้วย และระบุไว้<br />

ในกฎหมาย เอกสารนี้เสมือนร่มใหญ่ที่หน่วย<br />

งานต่างๆ จะนำไปเป็นแนวทางในการกำหนด<br />

ยุทธศาสตร์รองของตนเอง อย่างไรก็ตามใน<br />

การกำหนดยุทธศาสตร์ชาติจุดเริ่มต้นของ<br />

กระบวนการจะเริ่มที่ค่านิยมและความเชื่อที่<br />

ฝั่งแน่น (Enduring values and beliefs) ที่<br />

เป็นตัวก่อรูปจุดมุ่งหมายของชาติ (National<br />

purpose) ที่แสดงออกมาในรูปของกฎหมาย<br />

ปรัชญาและคุณธรรมพื้นฐานที่ดำรงอยู่อย่าง<br />

ต่อเนื่องจนเป็นระบบของชนชาติ (National<br />

system) นั้นๆ ๒ นอกจากนี้ค่านิยมของชาติ<br />

ก็คือ ผลประโยชน์หลักของชาติ๓ นั่นเอง<br />

พันเอก ชรัติ อุ่มสัมฤทธิ์


สอดคล้องกับที่ Colin S. Gray ที่กล่าวว่า หาก<br />

กล่าวถึงยุทธศาสตร์แล้วมีสิ่งที่ต้องพิจารณาอยู่<br />

๕ ประการคือ แนวคิด จริยธรรม วัฒนธรรม<br />

ที่ตั้ง/ภูมิศาสตร์และเทคโนโลยี ๔ ดังนั้นในการ<br />

กำหนดยุทธศาสตร์ความมั่นคงของชาติจึงต้อง<br />

สอดคล้องกับค่านิยมและความเชื่อที่ฝังแน่น<br />

ของคนไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับรูปแบบการคิด<br />

คุณค่าทางจริยธรรม วัฒนธรรมและลักษณะ<br />

ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ มิเช่นนั้นยุทธศาสตร์นั้น<br />

อาจจะใช้ไม่ได้ในสังคมไทย โดยยุทธศาสตร์<br />

ดังกล่าวอาจกำหนดอย่างสอดคล้องต่อปัจจัย<br />

ดังกล่าวหรือเพื่อที่จะลดอุปสรรค ข้อขัดข้อง<br />

ที่เกิดจากปัจจัยนั้น<br />

ค่านิยมและความเชื่อที่ฝังแน่น<br />

“ดูหนัง ดูละครแล้วย้อนดูตัว” อาจนับ<br />

เป็นการศึกษาเชิงปรากฏการณ์อย่างหนึ่ง<br />

กรณีละครยอดฮิตหรือเป็นที่นิยมในสังคม<br />

ไทยอาจเป็นเรื่องของค่านิยมที่บ่งบอกความ<br />

เชื่ออย่างหนึ่งผ่านการดูละครแนวการสร้าง<br />

ที่สื่อถึงผู้คนในสังคมนั้น การแสดงถึงการใช้<br />

คำพูดด่าทอ เสียดสี รวมถึงการอิจฉา จนกลาย<br />

เป็นเรื่องธรรมดาจนกลายเป็นปรากฏการณ์<br />

ทางการเมืองที่เป็นอยู่ ซึ่งดูจะสอดคล้อง<br />

และเป็นประเด็นที่น่าคิดไม่น้อยสำหรับกรณี<br />

ประเทศไทยที่ Eric Weiner ซึ่งเป็นนักข่าวต่าง<br />

ประเทศของ National Public Radio (NPR)<br />

แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้เดินทางไปตามล่า<br />

หาความสุขตามที ่ต่างๆ กันจาก ๑๐ ประเทศ<br />

เพื่อค้นหาความสุขของคนแต่ละประเทศ<br />

เขาพบว่าความสุขของคนแต่ละประเทศแตก<br />

ต่างกันไป เช่น สหราชอาณาจักรความสุขคือ<br />

งานที่คืบหน้า กาตาร์ความสุข คือการถูกหวย<br />

สหรัฐฯ ความสุขคือ บ้าน<br />

เป็นต้น แต่สำหรับประเทศไทย<br />

เขาพบว่า ความสุขของคนไทย<br />

คือ การไม่คิด ๕ ซึ่งจะจริงหรือ<br />

ไม่เป็นจริงรวมทั้งอาจสะท้อน<br />

อะไรบางอย่างก็ตาม แต่ก็เป็น<br />

เรื่องที่น่าศึกษาวิเคราะห์อย่าง<br />

ตรงไปตรงมาในฐานะที่เป็น<br />

คนไทยอย่างเราท่าน (กล่าวถึง<br />

เรื่อง “การศึกษา” ได้ถูกแปล<br />

ความหมายไปอย่างผิดๆ แม้<br />

จะมีพจนานุกรมซึ่งช่วยแก้ไข<br />

ความเข้าใจผิดนี้ได้ไม่มากนัก<br />

เพราะก็ยังให้ความหมายของ<br />

การศึกษาไปในทางการบรรจุ<br />

ความรู้ไว้ในสมอง ทั้งที่การ<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

27


ศึกษามาจากภาษาละตินว่า “educo” ซึ่ง<br />

หมายถึง การปรับปรุง “จากภายใน” การชัก<br />

ออกมา การดึงออกมาหรือการเจริญเติบโตโดย<br />

อาศัยหลักการของการ “ใช้งาน” ๖ ) ประกอบ<br />

กับมีการสำรวจมุมมองผู้บริหารฝรั่งใน ๑๑<br />

ข้อเสียของคนไทยพบว่า ๑. คนไทย “ชอบโกหก<br />

เรื่องเล็กๆ น้อยๆ” เช่น มาสาย...ขาดงาน<br />

โดยอ้างว่าป่วย เป็นต้น ๒. มักน ำเรื่อง “เพื่อนฝูง”<br />

มาเกี่ยวข้องกับธุรกิจเสมอ เช่น การจัด<br />

ซื้อข้าวของภายในสำนักงาน โดยไม่คำนึง<br />

ถึงผลประโยชน์ที่บริษัทควรได้รับ เมื่อพบ<br />

ว่าเพื่อนทุจริตก็ช่วยกันปกป้องไม่รู้ไม่เห็น<br />

๓. แยกไม่ออกระหว่าง “เรื่องงาน” กับ “เรื่อง<br />

ส่วนตัว” ชอบนำทั้ง ๒ อย่างมาปนกัน ๔. มัก<br />

ยึดติดกับ “ความเคยชินแบบเดิมๆ” เคยทำ<br />

มาอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ไม่มี “ความคิด” ที่<br />

จะเปลี่ยนแปลงถ้านำวิธีการใหม่ๆ เข้ามาก็<br />

28<br />

พันเอก ชรัติ อุ่มสัมฤทธิ์


จะไม่ได้รับความร่วมมือ ๕. เมื่อมีการเจรจา<br />

“ไม่กล้าโต้แย้ง” ทั้งๆ ที่ตัวเองกำลัง “เสีย<br />

เปรียบ” ปล่อยให้อีกฝ่ายเป็น “คนคุมเกม”<br />

นิสัยขี้เกรงใจจึงทำให้คนไทยไม่ก้าวหน้า<br />

๖. “ไม่พูดสิ่งที่ควรพูด” ไม่กล้าบอกความคิดของ<br />

ตัวเองออกมา ทั้งที่มีความคิดดีๆ ไม่แพ้ชาติ<br />

ใดเลย “ไม่กล้าตั้งคำถาม” ทำให้ทำงานไป<br />

คนละเป้าหมาย หรือ “ทำงานไม่สำเร็จ”<br />

๗. “ไม่ค่อยกำหนดระยะเวลาไว้ล่วงหน้า” งานไหน<br />

ให้เวลานานๆ ก็ทิ้งไว้ทำตอนใกล้ๆ จะถึง<br />

กำหนดส่ง เลยทำแบบรีบๆ ไม่ได้ผลงานเท่า<br />

ที่ควรและ “ไม่ค่อยมีแผน” รองรับเวลาเกิด<br />

ปัญหา แต่จะรอให้เกิดปัญหา แล้วหาทางแก้<br />

ไปแบบเฉพาะหน้า ชอบให้นายสั่งลงมาก่อน<br />

แล้วค่อยทำตาม ๘. คนไทยจะบอกแต่ข่าวดี<br />

จะเลือกบอกแต่สิ่งที่คิดว่า เจ้านายจะชอบ<br />

เช่น บอกแต่ข่าวดีๆ แทนที่จะเล่าตามความจริง<br />

๙. คำพูดว่า “ไม่เป็นไร” เป็นคำพูดติดปาก<br />

เวลามีปัญหาก็จะไม่มีใครรับผิดชอบ จะหา<br />

ตัวคนทำผิดไม่ค่อยได้ เพราะเกรงใจกัน แต่<br />

จะใช้คำว่า “ไม่เป็นไร” แทน ๑๐. คนไทย<br />

ไม่ค่อยมี “ทักษะ” ในการทำงาน รวมถึงไม่<br />

ค่อยใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ เพื่อจะให้ได้<br />

“ผลงานที่ดีที่สุด” ๑๑. ไม่กระตือรือร้นที่จะเรียนรู้<br />

ความเคลื่อนไหวของโลกเท่าไหร่นัก แล้วไม่<br />

ค่อยชอบหาความรู้เพิ่มเติม แม้จะเป็นเรื่อง<br />

เกี่ยวกับงานก็ตาม ๗ นี่อาจจะเป็นสิ่งสะท้อน<br />

อีกประการหนึ่งของข้อด้อยคนไทยที่หลาย<br />

ท่านอาจจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็เป็น<br />

เรื่องนานาจิตตัง แต่ขอให้คิดวิเคราะห์บนหลัก<br />

ของเหตุผลและความจริง โดยที่การแก้ปัญหา<br />

ทุกอย่างต้องอยู่บนพื้นฐานของความจริง<br />

ข้อมูลที่นำมาใช้ต้องเป็นความจริงเท่านั้นและ<br />

ความจริงเท่านั้นที่จะเหลืออยู่กับกาลเวลา ๘<br />

แต่ก็มีคำกล่าวที่ชวนคิดไม่น้อยว่า “มีคนน้อย<br />

เสียเหลือเกินที่เต็มใจที่จะฟังความจริงที่แสดง<br />

ถึงความอ่อนแอของตน” ๙ ไม่เช่นนั้นแล้วเมื่อ<br />

แก้ปัญหาไปแล้วก็จะเกิดปัญหาอีกหลายๆ<br />

อย่างตามมา<br />

อย่างไรก็ตามหากกล่าวถึง “ความจริง”<br />

ซึ่งเป็นสิ่งที่โดยสากลมักให้ความสำคัญยิ่ง แต่<br />

ในสังคมไทยการป้องกันการเสียหน้าเป็นสิ่ง<br />

ที่สำคัญ การโกหกที่เรียกว่า White lies จึง<br />

เป็นสิ่งที่ยอมรับในสังคมไทย ๑๐ ดังจะเห็นได้<br />

บนท้องถนนทั่วไปกับรถยนต์ที่มักเขียนว่า<br />

“รถคันนี้สี...” ทั้ง ๆ ที่สีรถที่ขับอยู่เป็นคนละสี<br />

ที่เขียนไว้ซึ่งดูจะเป็นเรื่องปกติกับการโกหก<br />

เล็กๆ น้อยๆ ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งแม้จะเป็น<br />

เรื่องความเชื่อส่วนบุคคลแต่ก็แสดงอะไรบาง<br />

อย่างสำหรับสังคมไทย ต่างกับประเทศอื่น<br />

ขอยกกรณีบทเรียนสงครามกลางเมืองสหรัฐฯ<br />

(Civil War) อย่างคำพูดที่ว่า “พลังที่แท้จริงไม่<br />

ได้มาจากความเกลียด แต่มาจากความจริง” ๑๑<br />

หรือ “ไม่มีสิ่งใดที่มีพลังอำนาจเท่าความ<br />

จริง” ๑๒ เป็นสิ่งที่ชาวอเมริกันให้ความสำคัญ<br />

ยิ่งต่อ “ความจริง” เพราะสงครามกลางเมือง<br />

เป็นความจริงอีกเรื่องหนึ่ง ที่คอยกระตุ้นเตือน<br />

จิตสำนึกของความแตกต่างทางความคิดอย่าง<br />

สุดขั้วจนเกิดการแบ่งฝ่ายจับอาวุธขึ้นสู้กัน<br />

ระหว่างฝ่ายเหนือหรือ Union/Federals กับ<br />

ฝ่ายใต้หรือ Confederates จนมีผู้เสียชีวิต<br />

มากกว่า ๖๕๐,๐๐๐ คน บนแผ่นดินอเมริกา<br />

ความจริงนี้ได้พยายามทำให้ตีแผ่ย้ำเตือนให้<br />

คนอเมริกันรุ่นปัจจุบันและเยาวชนได้เห็น<br />

ประวัติศาสตร์ที่น่าเจ็บปวดไม่ว่าจะมีการทำ<br />

เป็นภาพยนตร์ การพาไปดูสถานที่ที่เป็นสมรภูมิ<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

29


เช่น เมืองเก็ตตี้สเบอร์ก (Gettysburg) ค่ายสัมเตอร์<br />

(Fort Sumter) เป็นต้น อย่างไรก็ตามมีผู้กล่าว<br />

ว่าปัจจุบันสงครามกลางเมืองในอเมริกาก็ยังคง<br />

เกิดขึ้น แต่เกิดขึ้นในสภาคองเกรส (Congress)<br />

!!! ดังนั้นอเมริกาจึงให้ความสำคัญกับความ<br />

เป็นประชาธิปไตย (Democracy) เสรีภาพ<br />

และความเท่าเทียมกัน หากกล่าวถึงความ<br />

เชื่อที่ฝังแน่นของสหรัฐฯ ที่หลายท่านอาจ<br />

จะมองว่าสหรัฐฯ มองถึงเรื่องผลประโยชน์<br />

ทางเศรษฐกิจของตนเองเป็นหลัก ความข้อนี้<br />

Napoleon Hill ได้กล่าวถึงอุดมการณ์แห่งชาติ<br />

ของสหรัฐฯ ไว้อย่างน่าคิดว่า “พวกเราได้ปลูก<br />

ฝังอุดมการณ์แห่งชาติแก่เยาวชนของเราเช่น<br />

เดียวกันและอุดมการณ์นั้นก็เติบโตขึ้นมามาก<br />

ทีเดียว! มันได้กลายเป็นอุดมการณ์ที่ครอบงำ<br />

คนในชาติ อุดมการณ์นั้นคือ ความปรารถนาที่<br />

จะมั่งคั่งร่ำรวย! สิ่งแรกที่เราต้องการทราบ<br />

เกี่ยวกับเพื่อนใหม่ของเรามิใช่ “ใคร?” หาก<br />

แต่ “มีเท่าไหร่?” และสิ่งต่อไปคือ “ฉันจะได้<br />

จากเขาด้วยวิธีใด?” ๑๓<br />

ดังนั้นจะเห็นว่าค่านิยมและความเชื่อที่<br />

ฝั่งแน่นของประเทศแต่ละประเทศผู้กำหนด<br />

ชะตาของประเทศจะต้องเข้าใจในค่านิยม<br />

และความเชื่อที่ฝั่งแน่นที่แท้จริงของประเทศ<br />

ว่าเป็นอย่างไร อย่างกรณีของประเทศจีน<br />

หากศึกษาวิเคราะห์ดีๆ แล้วเขาก็จะใช้หลัก<br />

จากตำราพิชัยสงครามของซุนวูในการนำพา<br />

ประเทศ (จากการที่ผู้เขียนพูดคุยกับผู้ที่เคยไป<br />

เรียนที่วิทยาลัยป้องกันประเทศของจีน) แต่จะ<br />

ใช้อย่างไร โดยวิถีทางใดนั้นก็ต้องแล้วแต่การ<br />

วิเคราะห์ของแต่ละบุคคล<br />

การกำหนดยุทธศาสตร์ความมั่นคงของชาติ<br />

ปัจจุบันในสถาบันการศึกษาทางทหาร<br />

ระดับสูงที่มีการศึกษาด้านยุทธศาสตร์ต่าง<br />

ก็มักจะใช้นโยบายความมั่นคงแห่งชาติเป็น<br />

ตัวกำหนดยุทธศาสตร์ชาติหรือยุทธศาสตร์<br />

ทหารกันโดยอนุโลม ซึ่งในต่างประเทศที่มีอยู่<br />

ไม่มากนักที่ยังคงกำหนดเป็นนโยบายความ<br />

มั่นคงแห่งชาติ ในขณะที่หลายประเทศมีการ<br />

พัฒนาให้เป็นยุทธศาสตร์ความมั่นคงของชาติที่<br />

เป็นเรื่องต้องนำไปปฏิบัติอย่างเป็นจริงเป็นจัง<br />

มิใช่เป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติหรือ<br />

ที่เรียกว่า นโยบาย อย่างไรก็ตามอาจมีผู้โต้<br />

แย้งว่าก็ไม่ผิดอะไรที่กำหนดเป็นยุทธศาสตร์<br />

แต่ถ้ากล่าวในประเด็นของการนำไปปฏิบัติ<br />

หรือต้องนำไปปฏิบัติก็จะเห็นชัดเจนของความ<br />

แตกต่าง เพราะโดยเนื้อแท้แล้วยุทธศาสตร์<br />

ที่กล่าวกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากทางทหาร<br />

เพราะเป็นเรื่องของชัยชนะหรือความพ่ายแพ้<br />

ยุทธศาสตร์จึงเป็นเรื่องที่ต้องนำไปปฏิบัติ<br />

อย่างจริงจัง โดยเฉพาะยุทธศาสตร์การป้องกัน<br />

ประเทศและยุทธศาสตร์ทหารที่จัดกระทำ<br />

โดยทหารจะต้องชัดเจน เป็นตัวแบบให้กับ<br />

องค์กรอื่นๆ ได้ เพราะแท้จริงแล้วกล่าวกัน<br />

ว่า ยุทธศาสตร์ก็คือ ศิลปะของการเป็นนายพล<br />

นั่นเอง อย่างไรก็ตามที่นับวันจะยิ่งทวีความ<br />

สำคัญมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ของยุทธศาสตร์ความ<br />

มั่นคงแห่งชาติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้อง<br />

เร่งศึกษาพัฒนาหากระบวนการที่เหมาะสม<br />

ในการพัฒนา นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ<br />

สู่การเป็นยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติไม่ว่า<br />

จะเป็นการศึกษาวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้มา<br />

ซึ่งยุทธศาสตร์ดังกล่าวเพื่อนำมาเป็นร่มใหญ่<br />

ในการนำพาประเทศและเพื่อให้หน่วยงาน<br />

องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีจุดหมาย<br />

ปลายทางเดียวกันที่จะดำเนินงานอย่าง<br />

มีทิศทางที่ชัดเจน<br />

อนึ่งเป็นเรื่องที่น่าคิดทบทวนไม่น้อย<br />

ว่าที่จริงแล้วที่ผ่านมาประเทศไทยเราใช้<br />

หลักการ แนวคิดหรือเอกสารใดในการ “นำพา”<br />

ประเทศ (จะเห็นว่าผู้เขียนไม่ใช้คำว่า “พัฒนา”)<br />

เราใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ หรือนโยบาย<br />

ความมั่นคงแห่งชาติหรือ นโยบายรัฐบาลที่<br />

แถลงต่อรัฐสภาหรือแผนการบริหารราชการ<br />

แผ่นดิน??? ซึ่งหลายครั้งที่ผู้เขียนมักถามผู้ที่รับ<br />

ฟังตามโอกาสที่ได้ไปถ่ายทอดแนวคิดรวมทั้ง<br />

สอนหนังสือตามมหาวิทยาลัยในวิชาที่เกี่ยวกับ<br />

ความมั่นคงของชาติ ก็มักจะได้คำตอบที่หลาก<br />

30<br />

พันเอก ชรัติ อุ่มสัมฤทธิ์


หลายตามความเข้าใจของแต่ละคน นั่นบ่งบอก<br />

ถึงความไม่ชัดเจนของแนวคิดหรือหลักการนำ<br />

พาประเทศ เพื ่อการนำการพัฒนาประเทศ ซึ่ง<br />

หากเข้าใจไม่ตรงกันหรือไม่เป็นไปในแนวทาง<br />

เดียวกันก็ทำให้เกิดความสับสน ขาดความ<br />

เข้าใจที่ตรงกันในเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง อัน<br />

ส่งผลให้เสียเวลา เสียโอกาสและเสียอะไรอีก<br />

หลายๆ อย่างที่ไม่น่าจะเสีย<br />

สรุป<br />

ดูหนังดูละครแล้วย้อนดูตัว สังคมไทยได้<br />

ผ่านและมีบทเรียนมากมาย (แต่น่าเสียดาย<br />

ที่ขาดการศึกษาที่เป็นเรื่องเป็นราวที่เป็นลาย<br />

ลักษณ์อักษรหรือการศึกษาเชิงวิชาการ) การ<br />

ศึกษาประวัติศาสตร์ การค้นหาความเชื่อที ่ฝัง<br />

แน่นจนเป็นค่านิยมที ่แท้จริงของสังคมไทยจึง<br />

นับเป็นเรื่องสำคัญเพราะสิ่งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้น<br />

ของการกำหนดยุทธศาสตร์ความมั่นคงของ<br />

ชาติได้อย่างเหมาะสมที่สุด การศึกษาหรือดู<br />

เขามามากมาย แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ย้อนดูตัว<br />

ว่าที่จริงเรามีปรัชญา ความเชื่ออย่างไร เพราะ<br />

อย่างไรเสียก็ไม่มีคนผู้ใดที่จะเป็นคนที่มีความ<br />

คิดถูกต้องเที่ยงตรงได้ หากปราศจากความ<br />

ใจกว้าง “ความใจแคบ” ที่กระทำด้วยการปิด<br />

หนังสือที่ยังมิได้อ่านลงแล้วตัดสินใจว่า “ฉัน<br />

อ่านแล้ว! ฉันรู้มันทั้งหมดแล้ว!” ความใจแคบ<br />

จะสร้างศัตรูให้กับทุกคนที่ควรจะเป็นมิตร<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

เป็นการทำลายโอกาสและจิตใจยังห่อหุ้มด้วย<br />

ด้วยความหวาดระแวง ความไม่เชื่อและอคติ ๑๔<br />

ถ้าเป็นดังนี้ก็จะเรียกหาความไว้วางใจและ<br />

ความจริงใจได้จากที่แห่งใดกันเล่า<br />

๑<br />

เสถียร วีรกุล, ตำราพิชัยสงครามซุนวู, พิมพ์ครั้งที่<br />

๒, ๒๕๒๙, หน้า ๒๘<br />

๒<br />

J. Boone Bartholomees, Jr., (Ed.), U.S. Army<br />

War College Guide to National Security<br />

Issues Volume ll: National Security Policy<br />

and Strategy, PA: Strategic Studies Institute,<br />

2012, p. 413<br />

๓<br />

Joseph R. Cerami, James F. Holcomb,<br />

Jr., (Ed.), U.S. Army War College Guide to<br />

Strategy, PA: U.S. Army War College, 2001,<br />

p. 222<br />

๔<br />

Colin S. Gray, The Whole House of Strategy,<br />

in JFQ issue 71, 4th quarters 2013, p. 60.<br />

๕<br />

ผู้สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ใน Eric Weiner,<br />

The Geography of Bliss, โตมร ศุขปรีชา (แปล),<br />

หน้า 273-298<br />

๖<br />

ปสงค์อาสา (แปล), ปรัชญาชีวิต ศาสตร์แห่ง<br />

ความสำเร็จ (The Napoleon Hill’s Laws of<br />

Success), พิมพ์ครั้งที่ ๑๑, กรุงเทพมหานคร:<br />

ภาพพิมพ์, ๒๕๕๗, หน้า ๖๙<br />

๗<br />

ทวี มีเงิน, ๑๑ ข้อเสียคนไทย...ในมุมมองผู้บริหาร<br />

ฝรั่ง, ใน ข่าวสดออนไลน์, ๑๒ ต.ค. ๒๕๕๖<br />

๘<br />

อ้างแล้ว, ปสงค์อาสา (แปล), หน้า ๙๙<br />

๙<br />

เรื่องเดียวกัน, หน้า ๕๑๕<br />

๑๐<br />

Richard D. Lewis, When Cultures Collide:<br />

Leading Across Cultures, 3rd ed., Finland:<br />

WS Bookwell, 2010, p. 474<br />

๑๑<br />

เป็นคำกล่าวประโยคหนี่งในภาพยนตร์เรื่อง<br />

ลินคอล์น (Lincoln) ในช่วงของการเกิด<br />

สงครามกลางเมืองใน สหรัฐฯ<br />

๑๒<br />

เป็นคำกล่าวของ แดนิล เวบสเตอร์ (Danial<br />

Webster) ชาวอเมริกันที่ปรากฏหลังบัลลังก์ศาล<br />

แห่งเมือง Carlisle, Pennsylvania, USA<br />

๑๓<br />

อ้างแล้ว, ปสงค์อาสา (แปล), หน้า ๖๙๔<br />

๑๔<br />

เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๑<br />

31


Watershed Air War<br />

“กำลังทางอากาศที่ครองฟ้าได้<br />

คือกำลังที่กำหนดชะตาของสงคราม”<br />

From Air Force Magazine,April 2015<br />

By :DaneilL.Haulman<br />

ผู้เรียบเรียง : นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม<br />

32 นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม


“การคิดจะต่อกรกับประเทศที่มีกำลังทางอากาศที่เหนือกว่า<br />

เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก หากยังฝืนเดินหน้าชน ก็จะยิ่งเป็นผล<br />

เสียต่อฝ่ายตนเอง นี่คือบทเรียนทางทหารซึ่งเป็นผลจากความ<br />

เข้มแข็งของกำลังทางอากาศของสหรัฐฯ ใน Operation Allied<br />

Force ปี ๑๙๙๙ ”<br />

ช่วงต้นศตวรรษที่ ๒๐ เครื่องบินได้เริ่ม<br />

เข้ามามีบทบาทเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งใน<br />

สงคราม แต่ก็ยังทำอะไรได้ไม่มากนัก เนื่องจาก<br />

เป็นยุคต้นๆ ของการบิน แต่เมื่อเข้าสู่กลาง<br />

ศตวรรษเท่านั้นเอง ด้วยการพัฒนาที่รวดเร็ว<br />

ของกิจการการบินทั้งในยุโรปและอเมริกา<br />

กำลังทางอากาศได้พิสูจน์ให้เห็นว่า เป็น<br />

กองกำลังที่ชี้ผลแพ้ชนะของสงครามที่แท้จริง<br />

กองทัพที่เข้มแข็งจะต้องพึ่งพิงกำลังทางอากาศ<br />

จึงจะสามารถครองยุทธศาสตร์ได้<br />

เมื่อล่วงเข้าปลายศตวรรษ ความโดดเด่น<br />

ยิ่งชัดเจนขึ้นของกำลังทางอากาศ ถึงขั้น<br />

กล้ากล่าวและเป็นที่ยอมรับกันว่า กำลังทาง<br />

อากาศสามารถชนะสงครามใดๆ ได้ โดยที่ไม่<br />

ต้องใช้กำลังทางภาคพื้น ซึ่งไม่ได้หมายความ<br />

ว่า ไม่มีการพึ่งพิง แต่หากหมายถึง การเอาชนะ<br />

สงครามที่มีการสูญเสียกำลังภาคพื้นน้อยที ่สุด<br />

หรือไม่สูญเสียเลย ต้องใช้กำลังทางอากาศ<br />

ที่เข้มแข็งที่สุดเท่านั้น จึงจะสามารถทำได้<br />

ทศวรรษแรกของปี ๑๙๙๐ เกิดความขัดแย้ง<br />

จนกลายเป็นสงครามในประเทศแถบยุโรป<br />

ตะวันออกติดทะเล Adriatic โดยฉพาะกลุ่ม<br />

ประเทศที่พึ่งแยกตัวออกจากยูโกสลาเวียหลัง<br />

ยุคสงครามเย็นสิ้นสุดลง ประเทศดังๆ ในย่านนี้<br />

ที่แยกตัวมาจากยูโกสลาเวียและติดหูติดตามา<br />

ตลอดคือ Serbia,Croatia,Montenegro และ<br />

Bosnia-Herzegovina เป็นต้น ประเทศใน<br />

ภูมิภาคนี้ อัดแน่นไปด้วยสารพัดปัญหาที่เป็น<br />

ชนวนสงคราม ไม่ว่าจะเป็นดินแดน ความเชื่อ<br />

ทางลัทธิศาสนาหรือเผ่าพันธ์ุ<br />

ความรุนแรงถึงขั้นฆ่าล้างผลาญให้สิ้นซาก<br />

กันไปข้างใดข้างหนึ่งใน Bosnia-Herzegovina<br />

ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นคริสต์ชาว Serbian<br />

ซึ่งไม่ต้องการให้ชาวมุสลิม Bosnian แยก<br />

ตัวออกเป็นอิสระ โดยความรุนแรงของความ<br />

พยายามและต่อต้านการแยกประเทศในเวลา<br />

เดียวกันของเผ่าพันธุ์ทั้งสองศาสนานี้ เลวร้าย<br />

ลงถึงขั้นเกิดสงครามในปี ๑๙๙๕<br />

ปัญหาใหญ่หลวงของที่สุดแห่งเงื่อนงำ<br />

สงครามคงจะไม่จบลงอย่างสันติ ความโหดร้าย<br />

จะยิ่งจมลึกไปมากยิ่งขึ้น ทำให้สหประชาชาติ<br />

ผลักดันให้ NATO และสหรัฐฯ เข้ามาช่วยกู้<br />

วิกฤตนี้สำหรับสหรัฐฯ นั้น ในช่วงแรกได้เปิด<br />

ยุทธการกำลังทางอากาศ “Deliberate Force”<br />

เพื่อปิดม่านหมอกความซึมเศร้าของสงคราม<br />

ที่เรียกว่า “The Bosnian Crisis”<br />

ปัญหา Bosnia แม้จะเบาบางลง แต่ความ<br />

อึมครึมและอึดอัดจากบรรยากาศสงคราม<br />

และการค่อยๆ แยกตัวออกของรัฐต่างๆ ใน<br />

ความเป็นยูโกสลาเวีย ก็ยังยืดเยื้อยาวนานมา<br />

ถึงเกือบปลายทศวรรษ ๑๙๙๐ ยูโกสลาเวีย<br />

ในยุคนี้ ยังเหลือรัฐที่รวมกันเป็นยูโกสลาเวีย<br />

เพียงแค่สองรัฐคือ Serbia และ Montenegro<br />

เท่านั้น<br />

ความโหดร้ายแบบสุดๆ เริ่มก่อตัวที่นี่<br />

เมื ่อจังหวัด Kosovo อันเป็นส่วนหนึ่งของ<br />

Serbia และประชากรส่วนใหญ่ในจังหวัดนี้เป็น<br />

มุสลิมชาว Albanian แสดงความต้องการแบบ<br />

แรงกล้าที่จะแยกตัวอิสระบ้างตามกระแสของ<br />

รัฐใหญ่ๆ ของยูโกสลาเวีย เป็นความพยายาม<br />

ที่บ้าบิ่นและเดินไปบนลำธารโลหิตของการ<br />

เข่นฆ่า<br />

นาย Slobodan Milosevic ประธานาธิบดี<br />

แห่งยูโกสลาเวียซึ่งเป็นชาวคริสต์ Serbian<br />

ให้การสนับสนุน Serbia อย่างออกหน้าออกตา<br />

ในการขัดขวางการแยกตัวออกเป็นอิสระ<br />

ของจังหวัด Kosovo ซึ่งจังหวัดนี้ประชากร<br />

ส่วนใหญ่เป็นมุสลิมชาว Albanian ความยุ่งยาก<br />

ใจได้เกิดขึ้นบนแผ่นดินที่มีพระเจ้าถึงสอง<br />

พระองค์<br />

เดือน กันยายน ๑๙๙๘ กองทัพ Serbia<br />

ได้บุกเข้าไปใน Kosovo ประชาชนชาว Albanian<br />

เกือบครึ่งล้านคนต้องอพยพหนีตายไปยัง<br />

ประเทศเพื่อนบ้านเช่น Albania,Macedonia<br />

และ Montenegro การฆ่าที่ไร้เหตุผลเต็มไป<br />

ด้วยความเกลียดชัง เป็นฆ่าทำลายล้างเผ่าพันธุ์<br />

โดยสิ้นเชิงของกองทัพ Serbia ซึ่งดูเหมือนจะ<br />

ทำให้ Kosovo เป็นดินแดนบริสุทธิ์ปราศจาก<br />

มุสลิม Albanian ให้เหลือแต่คริสต์ Serbian<br />

เท่านั้น สงครามครั้งนี้ จะเรียกว่า “The<br />

Kosovo Crisis” ก็ได้<br />

เดือน ตุลาคม ๑๙๙๘ สหประชาชาติ<br />

ได้เห็นชอบให้ NATO เข้ามีส่วนในการจัดระเบียบ<br />

ความขัดแย้งอันน่ากลัวนี้ ซึ่งแนวทางการแก้ไข<br />

ปัญหาไม่ได้แตกต่างไปจาก “The Bosnian<br />

Crisis”ซึ่งเน้นไปที่การใช้กำลังทางอากาศเป็น<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

33


เครื่องมือหลัก ในการยุติสงครามฆ่าล้าง<br />

เผ่าพันธุ์<br />

นาย Slobodan Milosevic แสดงทีท่า<br />

เชื่อฟัง UN โดยแสดงเจตจำนงการถอนกำลัง<br />

ทหารหลายหมื่นคนออกจาก Kosovo และให้<br />

NATO บินสำรวจตรวจสอบการถอนทหารของ<br />

เขาได้ แต่สิ่งที่เขาทำก็เป็นแค่กลลวงเบี่ยงเบน<br />

ความกังวลของ UN เท่านั้น เขาไม่ได้ปฏิบัติ<br />

จริง ซ้ำร้ายยิ่งกว่านั้น ในปลายปี ๑๙๙๘ เขา<br />

สั่งห้ามไม่ให้ เจ้าหน้าที่ UN เข้าไปตรวจสอบ<br />

ใน Kosovo ถึงการกระทำที่เป็นอาชญากร<br />

สงคราม ครั้นถึงต้นปี ๑๙๙๙ เขาได้ประกาศ<br />

บีบบังคับให้ผู้นำจังหวัด Kosovo เดินทางออก<br />

นอกประเทศ<br />

เมื่อการกระทำทุกวิถีทางของการเจรจา<br />

ที่ UN หรือ NATO กับ นาย Slobodan<br />

Milosevic ไม่มีทิศทางบวก มีแต่จะแย่ลง<br />

เรื่อยๆ ผู้คนชาว Albanian ล้มตายแบบ<br />

ง่ายๆ แต่ด้วยวิธีที ่พิสดารมากขึ้น NATO<br />

จึงตัดสินใจเปิดปฏิบัติการของกำลังทาง<br />

อากาศ“Operation Allied Force” ในวันที่<br />

๒๔ มีนาคม ๑๙๙๙ เพื่อจบอาชญากรสงคราม<br />

สายพันธ์ุใหม่แห่งยูโกสลาเวีย<br />

“Operation Allied Force” แม้จะ<br />

เป็นการประกอบกำลังของกำลังทางอากาศ<br />

จากหลายชาติในกลุ่ม NATO แต่โดย<br />

ส่วนใหญ่แล้วกำลังทางอากาศก็มาจากสหรัฐฯ<br />

ผู้บัญชาการปฏิบัติการนี้ก็เป็นคนอเมริกัน มีศูนย์<br />

บัญชาการที่ Vicenza, Italy<br />

ในฝั่งของกำลังทางอากาศของยูโกสลาเวีย<br />

(Yogoslav Air Force) มีเขี้ยวเล็บสงคราม<br />

จากค่ายคอมมิวนิสต์เช่น 16MIG-29,80MIG-<br />

21,28J-22 และ 70G-4M กำลังภาคพื้นใน<br />

ระบบป้องกันตนเองทางอากาศของ Serbia มี<br />

แบบ Portable SA-7,SA-14 และ SA-16 ส่วน<br />

แบบ Long-range มี SA-2s,16SA-3s และ<br />

มากกว่า 80SA-6s<br />

กำลังทางบกของยูโกสลาเวีย มีกำลัง<br />

ทหารมากถึง ๒๐๐,๐๐๐ คน รถถังประมาณ<br />

๕๔๐ คัน ปืนใหญ่มากกว่า ๒๐๐ ชุดยิง สำหรับ<br />

กำลังทหารที่ยูโกสลาเวียส่งเข้าไปใน Kosovo<br />

มีประมาณ ๔๐,๐๐๐ คน<br />

การทำแผนปฏิบัติการ (Air Campaign)<br />

ของ “Operation Allied Force” นั้น NATO<br />

วางแผนไว้ ๕ Phase โดยในขั้นแรกนั้นเริ่มต้น<br />

เมื่อ ๒๔ มีนาคม ๑๙๙๙ เป็นการโจมตีกำลัง<br />

ภาคพื้นและระบบป้องกันของยูโกสลาเวียทั้ง<br />

ที่กรุง Belgrade และ Kosovo ตั้งเป้าไว้ให้<br />

ง่อยเปลี้ยเสียขากันไปเลย โดยใช้การโจมตี<br />

ทางอากาศจากเครื่องบินรบ มากกว่า ๒๑๔<br />

เครื่อง ขึ้นบินจากฐานบินจากหลายประเทศ<br />

เช่น Italy, German, UK และ US นอกจากนั้น<br />

เพื่อความหนักแน่นของการทำลายและยับยั้ง<br />

NATO ยังใช้การทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์จาก<br />

เครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขั้นตำนาน<br />

และขั้นเทพล่องหนทั้ง ๓ แบบคือ B-52 จาก<br />

ฐานใน UK, B-2 จากฐานที่ Whiteman AFB,<br />

Missouri และเครื่องบินทิ้งระเบิด ระดับ<br />

ความเร็วเหนือเสียงแบบ B-1 ด้วย<br />

การโจมตีจากกำลังทางอากาศของ<br />

NATO ได้รับการเสริมความเข้มแข็งในการ<br />

สะกดกำลังภาคพื้นด้วยกำลังทางเรืออีกด้วย<br />

คือ Tomahawk ส่งของขวัญจากเรือรบ<br />

ในทะเล Adriatic เพียงแค่ในช่วงสามวัน<br />

แรกของปฏิบัติการ ระบบป้องกันและการ<br />

ควบคุมรายงาน (Air Defense System and<br />

Commmand and Control) ของยูโกสลาเวีย<br />

และ Serbia ก็เกือบจะย่อยยับ เครื่องบิน<br />

รบแบบ MIG หลายสายพันธ์ที่ขึ ้นบินขับไล่<br />

สกัดกั้นแบบไม่ยำเกรง ถูกยิงตกถึง ๕ เครื ่อง<br />

จาก F-16 และ F-15 ความสำเร็จของ Air<br />

Campaign ยกแรกนี้ต้องยกย่องและยอมรับ<br />

ความสมบูรณ์ไร้เทียมทานของ Airborne<br />

Command and Control ซึ่งใช้ EC-130 และ<br />

ระบบ ISR (Intelligence, Surveillence and<br />

Reconnaissance ซึ่งใช้ RQ-1 (Predator)<br />

อย่างไรก็ตามการรบย่อมมีการสูญเสีย<br />

แต่การสูญเสียของเครื่องบินรบล่องหนของ<br />

NATO แบบ F-117 ที่ถูกยิงตกในวันที่สี่ของ<br />

ปฏิบัติการนั้น เป็นเรื่องที่น่าเหลือเชื่อ แต่ก็<br />

เป็นผลดีทางด้านเทคนิคการบินของนักบินรุ่น<br />

หลังต่อไป และเป็นบททดสอบการให้ความ<br />

สำคัญในคุณค่าของคน NATO ระดมสรรพ<br />

กำลังในการค้นหาและช่วยชีวิตนักบิน F-117<br />

จนสามารถช่วยเหลือเขาออกมาได้อย่าง<br />

ปลอดภัย การโจมตีของ NATO หนักหน่วงขึ้น<br />

เรื่อยๆ จนในที่สุดเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๑๙๙๙<br />

กองบัญชาการใหญ่ทางทหารของยูโกสลาเวีย<br />

กลางกรุง Belgrade ก็ถูกโจมตีจนพินาศ<br />

มืดบอดสนิทจริงๆ ในสายการบังคับบัญชา<br />

ท่ามกลางการปฏิบัติการทางอากาศที่กดดัน<br />

ยูโกสลาเวีย NATO ก็ไม่ได้ลืมการช่วยเหลือ<br />

ทางด้านมนุษยธรรมต่อผู้อพยพลี้ภัยสงคราม<br />

ชาว Albanian จาก Kosovo ที่เข้าไปอยู่ใน<br />

ประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะใน Albania การ<br />

ช่วยเหลือนี้เป็นภายใต้ปฏิบัติการ “Sustain<br />

Hope Operation” โดยใช้เครื่องบินลำเลียง<br />

ไอพ่นขนาดใหญ่แบบ C-17 ของกองทัพอากาศ<br />

สหรัฐฯ<br />

ภายหลังการปฏิบัติการ “Operation<br />

Allied Force” ไปได้สามสัปดาห์ Turkey<br />

และ Hungary ได้ยินยอมให้ NATO ใช้ฐานทัพ<br />

ในประเทศ ทำให้เกิดความง่ายของปฏิบัติการ<br />

มากขึ้น จนสามารถทำลายศูนย์บัญชาการ<br />

แห่งชาติของประธานาธิบดีในกรุง Belgrade<br />

34<br />

นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม


ได้ แต่รัฐบาลนาย Slobodan Milosevic ก็<br />

ไม่ได้ยอมแพ้<br />

วันที ่ ๒ พฤษภาคม ๑๙๙๙ เครื่องบินรบ<br />

แบบ F-16CJ ถูกยิงตกโดย SA-3 นักบินโชคดี<br />

เช่นเคยที่เขามีทีมค้นหาและกู้ภัยที่ยอดเยี่ยม<br />

เขาถูกช่วยเหลือในทันทีที่เท้าแตะพื้นหลังจาก<br />

ดีดตัวออกจากเครื่องบิน ในกรุง Belgrade<br />

เป็นอัมพาตหนักขึ้นเมื่อ F-117 แก้แค้นแทน<br />

เพื่อนที่ถูกยิงตก รอบนี้ F-117 หย่อน CBU-94<br />

ทำลายระบบไฟฟ้าของ Belgrade โรงงาน<br />

สำคัญๆ ให้ย่อยยับไประบบไฟฟ้าของ<br />

ยูโกสลาเวียหายไปถึงร้อยละ ๗๐ ส่งผลถึง<br />

การสื่อสารทุกอย่างต้องชะงักงันไปด้วย อาจ<br />

ถึงขั้นตีกลองแจ้งความส่งข่าวกันของผู้คนใน<br />

ยูโกสลาเวีย<br />

ความผิดพลาดที ่น่าอายเกิดขึ้นกับ<br />

สหรัฐฯ เมื่อ ๗ พฤษภาคม ๑๙๙๙ เครื ่อง B-2<br />

ทิ้งระเบิดทำลายถูกเป้าหมาย แต่เป็นเป้าหมาย<br />

ที่แปลความผิดอย่างมหาศาล โดยที่ฝ่าย<br />

วิเคราะห์เป้าหมายมั่นใจว่า ตึกใหญ่กลางกรุง<br />

Belgrade คือ Federal Directorate for<br />

Supply and Procurement แต่แท้จริงแล้ว<br />

เป็นตึกของคู่แข่งพลังอำนาจของโลกยุคใหม่<br />

คือ ตึกที่ทำการสถานทูตจีน มีคนตายไปสาม<br />

คน บาดเจ็บอีกยี่สิบคน ประธานาธิบดี Clinton<br />

ถึงกับต้องขออภัยทางการทูตและเรียกความ<br />

ผิดพลาดครั้งนี้ว่า “Tragic Mistake” จีนเอง<br />

คงบอกไม่เป็นไร ทุกอย่างรอกันได้ เวลาจะเป็น<br />

เครื่องรักษาความเจ็บปวด<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

๒๔ พฤษภาคม ๑๙๙๙ NATO เข้า<br />

ซ้ำระบบไฟฟ้าและสื่อสารอีกรอบ เที่ยวนี้<br />

หนักหนาสาหัสมาก เหมือนนวดแผลที่ยังไม่<br />

หาย ระบบไฟฟ้าและการสื่อสารปั่นป่วนใช้<br />

งานไม่ได้ทั้งประเทศ ระบบธนาคารต้องปิด<br />

ตัวเอง การโฆษณาหาพวกปลุกระดมทำไม่ได้<br />

ประเทศอยู่ในขั้นยับเยินมาก ในเวลาเดียวกัน<br />

The International Criminal tribunal ได้<br />

พิพากษาว่า นาย Slobodan Milosevic<br />

ประธานาธิบดีแห่งยูโกสลาเวีย มีการกระทำ<br />

ที่เป็นอาชญากรสงคราม<br />

๕ พฤษภาคม ๑๙๙๙ นาย Slobodan<br />

Milosevic ประธานาธิบดีแห่งยูโกสลาเวีย<br />

ประกาศยินดีที่จะเจรจา แต่ในช่วงเจรจา<br />

NATO ยังคงโจมตียุทธศาสตร์สำคัญที่ยัง<br />

เหลืออยู่เช่น สนามบินชั้นรอง โรงกลั่นน้ำมัน<br />

และกำลังทหารของ Serbia ใน Kosovo<br />

เป็นการจบขีดความสามารถทางทหารเชิงรุก<br />

ต่อ Kosovo อย่างสิ้นเชิง<br />

๙ มิถุนายน ๑๙๙๙ นาย Slobodan<br />

Milosevic ประธานาธิบดีแห่งยูโกสลาเวีย ยอมรับ<br />

เงื่อนไขทุกประการของ NATO ทหาร Serbia ถอน<br />

กำลังที่พิการจาก Kosovo กลับรังที่ทรุดโทรม<br />

เจ้าหน้าที่สหประชาชาติที่ปฏิบัติหน้าที่ตรวจ<br />

สอบควบคุมให้เกิดสันติภาพ เริ่มเดินทางเข้า<br />

Kosovo ชาว Albanian ที่พลัดบ้านเมืองไป เริ่ม<br />

หวนกลับคืนมาบูรณะถิ่นฐานบ้านเกิด รุ่งขึ้น<br />

วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๑๙๙๙ NATO ยุติการ<br />

โจมตีทางอากาศที่มีมาอย่างหนักหน่วงตลอด<br />

ช่วงเวลา ๗๘ วัน<br />

ชีวิตของผู้นำยูโกสลาเวีย ที่ใช้ด้านที่มืดมิด<br />

ของความเกลียดชังในเรื่องเชื้อชาติและศาสนา<br />

เป็นแสงนำทางชีวิตเขาและชาติบ้านเมือง มา<br />

อยู่ในสถานะที่น่าเป็นห่วง ตัวเขาถูกส่งตัว<br />

ไปขึ้นศาลโลกที่กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ เมื่อ<br />

๒๙ มิถุนายน ๒๐๐๑ ในข้อหาอาชญากร<br />

สงคราม ต้นตอของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เผา<br />

รหัสพันธุกรรม ศาลโลกเริ่มพิจารณาคดีเมื่อ<br />

๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๐๒ เขาถือว่าเป็นผู้นำ<br />

รัฐคนแรกที่ต้องขึ้นศาลโลกเพื่อพิจารณาคดี<br />

อาชญากรสงคราม ชีวิตเขาอาภัพนัก ไม่ยืนยาว<br />

พอที่จะได้ฟังผลการพิจารณา เขาเสียชีวิตภายใต้<br />

การถูกควบคุมตัวในระหว่างพิจารณาคดีเมื่อ<br />

วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๐๐๖<br />

“Operation Allied Force” เป็นบท<br />

เรียนของสงครามยุคใหม่ ที่พิสูจน์ให้เห็นว่า<br />

การมีกำลังทางอากาศที่เหนือกว่า และสามารถ<br />

ครองความเป็นเจ้าอากาศได้ จนทำให้การ<br />

ปฏิบัติการทางทหารใดๆ เป็นไปได้เกือบจะเสรี<br />

นั้น คือสิ ่งบอกอนาคตว่า ชัยชนะจะเป็นของ<br />

ผู้ที่ครองฟ้า และที่สำคัญ กำลังทางอากาศ<br />

ที่เข้มแข็ง สามารถนำพาให้เกิดชัยชนะ<br />

ได้แต่เพียงลำพัง “Operation Allied<br />

Forceproved that a war can be win by<br />

airpower alone”<br />

35


ดุลยภาพทางการทหาร<br />

ของประเทศอาเซียน<br />

ฝูงรถรบทหารราบ บีเอ็มพี-๒<br />

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์<br />

หน่วยนาวิกโยธินอินโดนีเซีย<br />

ประจำการด้วยรถรบทหารราบ<br />

แบบบีเอ็มพี-๒ (BMP-2) ซื้อ<br />

มาจากประเทศยูเครน รวม ๙ คัน เมื่อปี<br />

พ.ศ.๒๕๔๑ ได้รับมอบรถรบบีเอ็มพี-๒ ในปี<br />

เดียวกัน ต่อมาได้จัดซื้อเพิ่มเติมอีก ๒ คัน จัด<br />

ซื้อเพิ่มเติมอีก ๑๑ คัน เป็นรุ่นบีวีพี-๒ (BVP-2)<br />

เป็นรุ่นที่ผลิตจากประเทศสโลวาเกีย ได้รับ<br />

มอบในปี พ.ศ.๒๕๔๓ จัดซื้อเพิ่มเติมอีกหลาย<br />

ครั้งรวมประจำการ ๔๐ คัน หน่วยนาวิก<br />

โยธินอินโดนีเซียนำรถรบทหารราบแบบบีเอ็ม<br />

พี-๒ (BMP-2) ปฏิบัติการทางทหารที่จังหวัด<br />

อาเจะห์ (Aceh) ปี พ.ศ.๒๕๔๓ - ๒๕๔๖ หน่วย<br />

นาวิกโยธินอินโดนีเซียมีผู้บังคับหน่วยชั้นยศ<br />

พลตรี กำลังพล ๒๙,๐๐๐ นาย กำลังทหาร<br />

ประกอบด้วย กองพลน้อยทหารราบนาวิก<br />

โยธินที่ ๑ กองบัญชาการอยู่ที่เมืองสุราบายา<br />

กำลังรบ ๓ กองพันทหารราบ (กองพันที่ ๑,<br />

กองพันที่ ๓ และกองพันที่ ๕) พร้อมด้วยหน่วย<br />

สนับสนุนในส่วนฐานของกองพลน้อย, กองพล<br />

น้อยทหารราบนาวิกโยธินที่ ๒ กองบัญชาการ<br />

อยู่ที่กรุงจาการ์ต้ากำลังรบ ๓ กองพันทหาร<br />

ราบ (กองพันที่ ๒, กองพันที่ ๔ และกองพันที่ ๖)<br />

พร้อมด้วยหน่วยสนับสนุนส่วนฐานของกองพลน้อย<br />

รถรบทหารราบ บีเอ็มพี-๒ กองทัพบกอินเดีย ขณะทำการฝึกภาคสนามที่รัฐราชาสถาน (Rajasthan) ทะเลทรายธาร์ (Thar Desert)<br />

ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศพื้นที่ขนาด ๒๐๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ใกล้ชายแดนปากีสถาน<br />

36<br />

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


รถรบทหารราบ บีเอ็มพี-๒ กองทัพบกรัสเซีย จากกองทัพที่ ๕๘ ขณะปฏิบัติการทางทหารที่เซ้าโอซีเทีย (South Ossetia War)<br />

พ.ศ.๒๕๕๑<br />

ป้อมปืนของรถรบทหารราบ บีเอ็มพี-๒ พร้อมด้วยปืนหลักขนาด ๓๐ มิลลิเมตร เครื่อง<br />

ยิงลูกระเบิดควัน (สามท่อยิง) และจรวดนำวิถีต่อสู้รถถัง เอที-๕ พร้อม ด้วยช่องยิงทางด้าน<br />

ข้าง (สามช่องยิง) ลูกจรวดหนัก ๑๔.๖ กิโลกรัม หัวรบหนัก ๒.๗ กิโลกรัม นำวิถีด้วยระบบ<br />

เส้นลวด และระยะยิง ๗๐ - ๔,๐๐๐ เมตร<br />

และกองพลน้อยทหารราบนาวิกโยธินที ่ ๓<br />

กองบัญชาการอยู่ที่จังหวัดสุมาตราใต้ กำลังรบ<br />

รวม ๔ กองพันทหารราบ (กองพันที่ ๗, กองพัน<br />

ที่ ๘ และกองพันที่ ๙)<br />

รถรบทหารราบบีเอ็มพี-๒ (BMP-2) อดีต<br />

สหภาพโซเวียตได้พัฒนาขึ้นในยุคสงครามเย็น<br />

ต่อจากรถรบทหารราบแบบบีเอ็มพี-๑ (BMP-<br />

1) ข้อมูลสำคัญคือ น้ำหนัก ๑๔.๓ ตัน ยาว<br />

๖.๗๒ เมตร กว้าง ๓.๑๕ เมตร สูง ๒.๔๕ เมตร<br />

เครื่องยนต์ดีเซล ขนาด ๓๐๐ แรงม้า (UTD-<br />

20/3) ความเร็วในภูมิประเทศ ๔๕ กิโลเมตร<br />

ต่อชั่วโมง ความเร็วในน้ำ ๗ กิโลเมตรต่อ<br />

ชั่วโมง ระยะปฏิบัติการ ๖๐๐ กิโลเมตร เกราะ<br />

หนา ๓๓ มิลลิเมตร อาวุธหลัก ปืนขนาด ๓๐<br />

มิลลิเมตร (2A42 อัตราการยิงสูงสุด ๕๕๐ -<br />

๘๐๐ นัดต่อนาทีและระยะยิงไกล ๔,๐๐๐<br />

เมตร) จรวดนำวิถีต่อสู้รถถังขนาดหนักแบบ<br />

เอที-๕ (AT-5 Spandrel/9M113 Konkurs<br />

ลูกจรวดหนัก ๑๔.๖ กิโลกรัม หัวรบหนัก ๒.๗<br />

กิโลกรัม นำวิถีด้วยระบบเส้นลวด ระยะยิง<br />

๗๐ - ๔,๐๐๐ เมตร) ปืนกลเบาขนาด ๗.๖๒<br />

มิลลิเมตร (PKTM) และบรรทุกทหารได้ ๑๐<br />

นาย (ประจำรถ ๓ นาย + ทหารราบ ๗ นาย)<br />

นำเข้าประจำการในกองทัพบกอดีตสหภาพ<br />

โซเวียตปี พ.ศ.๒๕๒๓ เป็นห้วงของสงครามเย็น<br />

ที่มีความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์และ<br />

ปฏิบัติการทางทหารเกิดขึ้นหลายครั้งทั่วโลก<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

37


รถรบทหารราบ บีเอ็มพี-๒ กองทัพอัฟกานิสถานขณะปฏิบัติการลาดตระเวนวันที่<br />

๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๐ บริเวณหมู่บ้านทาแก็บ (Tagab) ประเทศอัฟกานิสถาน<br />

รถรบทหารราบ บีเอ็มพี-๒ (รุ่นบังคับการ) กองทัพอิรัก ถูกยิงได้รับความเสียหายอย่างมาก<br />

ทางด้านซ้ายบริเวณด้านหลังของตัวรถ พื้นที่การรบอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอิรัก<br />

ในสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ ๒ ปี พ.ศ.๒๕๔๖<br />

จึงได้ประจำการแพร่หลายประกอบด้วย<br />

กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กลุ่มประเทศ<br />

ตะวันออกกลาง กลุ่มประเทศอ่าวเปอร์เซีย<br />

และอัฟริกาแสดงถึงรถรบทหารราบแบบ<br />

บีเอ็มพี-๒ (BMP-2) ประจำการอย่างแพร่หลาย<br />

ในหลายภูมิภาคของโลกรวมทั้งได้ปฏิบัติการ<br />

ทางทหารในหลายสภาพของพื้นที่การรบ<br />

และหลายสภาพภูมิอากาศที่จะลดขีดความ<br />

สามารถของรถรบทหารราบให้ลดต่ำลงทั้ง<br />

ระบบเครื่องยนต์และระบบอาวุธ (ฝุ่นทราย<br />

ละเอียดรวมทั ้งอุณหภูมิสูงมากและอุณหภูมิ<br />

ต่ำมากใต้ศูนย์องศาเซลเซียส จะลด<br />

ประสิทธิภาพการทำงานของกลไกหรือทำงาน<br />

ไม่เป็นไปตามปกติ)<br />

รถรบทหารราบแบบบีเอ็มพี-๒ (BMP-2)<br />

มีส่วนร่วมปฏิบัติการทางทหารทั่วโลกตั้งแต่<br />

ปี พ.ศ.๒๕๒๓ จนถึงปัจจุบันนาน ๓๕ ปี<br />

รวมทั้งสิ้น ๒๐ สมรภูมิ แต่มีปฏิบัติการทาง<br />

ทหารขนาดใหญ่มีผลกระทบต่อความมั่นคง<br />

ของภูมิภาคที่สำคัญคือสงครามกลางเมืองใน<br />

อังโกลา พ.ศ.๒๕๑๘ - ๒๕๔๕, โซเวียตบุก<br />

อัฟกานิสถาน พ.ศ.๒๕๒๒ - ๒๕๓๒ (เมื่อวันที่<br />

๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๒ รถรบทหารราบ<br />

บีเอ็มพี-๒ จึงเข้าร่วมปฏิบัติการในเวลาต่อมา<br />

ในสนามรบที่เป็นทะเลทรายแห้งแล้งอดีต<br />

สหภาพโซเวียตทำการรบนาน ๙ ปี กับอีก ๑<br />

เดือน), สงครามอิหร่าน-อิรัก พ.ศ.๒๕๒๓ -<br />

๒๕๓๑ (อิรักบุกอิหร่าน เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน<br />

พ.ศ.๒๕๒๒ อิรักทำการรบนาน ๗ ปีกับอีก ๑๐<br />

เดือน), สงครามอ่าวเปอร์เซีย ครั้งที่ ๑ พ.ศ.<br />

๒๔๓๓ - ๒๕๓๔ (ยุทธการพายุทะเลทราย),<br />

สงครามในอัฟกานิสถาน พ.ศ.๒๕๔๔- ปัจจุบัน,<br />

สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๔๖ -<br />

ปัจจุบันและสงครามกลางเมืองในซีเรีย พ.ศ.<br />

๒๕๕๔ - ปัจจุบัน<br />

เมื่ออดีตสหภาพโซเวียตได้ล่มสลาย<br />

ลงเป็นผลให้เกิดเป็นประเทศใหม่อีกหลาย<br />

ประเทศและได้นำมาสู่สงครามกลางเมือง<br />

ทหารทั้งสองฝ่ายมีการใช้อาวุธที ่เหมือนกัน<br />

โดยเฉพาะรถรบทหารราบแบบบีเอ็มพี-๒<br />

(BMP-2) พร้อมทั้งยุทธวิธีที่เหมือนกัน มีการ<br />

เผยแพร่ข่าวสารให้ต่างประเทศไม่มากนักคือ<br />

สงครามกลางเมืองในจอร์เจีย พ.ศ.๒๕๓๑ -<br />

๒๕๓๖,สงครามกลางเมืองในทาจิคิสถาน พ.ศ.<br />

๒๕๓๕ - ๒๕๔๐, สงครามกลางเมืองเชเชน<br />

ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๓๗ - ๒๕๓๙, สงครามหกวัน<br />

ในอับคาฮ์เซีย พ.ศ.๒๕๓๑, สงครามกลาง<br />

เมืองเชเชนครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๔๒,สงครามที่<br />

38<br />

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


เซ้าโอซีเทีย พ.ศ.๒๕๕๑ และสงครามในยูเครน<br />

พ.ศ.๒๕๕๗ มีการผลิตออกมาทั้งสิ้น ๕ รุ่น<br />

(เป็นรุ่นหลักตามภารกิจการใช้งาน) นอกจาก<br />

นี้ยังมีการผลิตในต่างประเทศ ประกอบ<br />

ด้วย อดีตเชคโกสโลวเกีย(เรียกชื่อใหม่ว่า<br />

BVP-2) และอินเดีย (BMP-2, มีชื่อเรียก<br />

ว่า Sarath ทำการผลิตระหว่างปี พ.ศ.<br />

๒๕๓๐-๒๕๔๒ รวมทั้งสิ้น ๑,๒๕๐ คัน)<br />

ปัจจุบันนี้ยังคงประจำการอยู่ทั่วโลกรวม ๓๒<br />

ประเทศ สำหรับประเทศทวีปเอเชียที่นำเข้า<br />

ประจำการรวม ๑๐ ประเทศประกอบด้วย<br />

จอร์แดน ๓๑ คัน, ซีเรีย ๑๐๐ คัน (ปัจจุบัน<br />

ยังมีการรบอยู่), เยเมน ๓๓๔ คัน (คงเหลือ<br />

ประจำการ ๑๐๐ คัน), คูเวต ๓๖๗ คัน (คงเหลือ<br />

ประจำการ ๗๖ คัน), อัฟกานิสถาน (๑๕๐ คัน<br />

มีปฏิบัติการทางทหารเป็นระยะเวลานาน<br />

จึงไม่ทราบจำนวนที่แท้จริง), อิหร่าน ๑,๕๐๐ คัน<br />

(คงเหลือประจำการ ๔๐๐ คัน) ,ศรีลังกา ๔๐ คัน,<br />

อินเดีย ๑,๕๐๐ คัน, อินโดนีเซีย ๔๐ คันและ<br />

เวียดนาม ๖๐๐ คัน กองทัพบกอิรักเคยประจำ<br />

การด้วยรถรบทหารราบบีเอ็มพี-๒ (BMP-2)<br />

เป็นจำนวนมากตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๙ ต่อมา<br />

ได้นำเข้าปฏิบัติการบุกประเทศคูเวตเมื่อปี<br />

พ.ศ.๒๕๓๓ นำมาสู่ยุทธการพายุทะเลทราย<br />

หรือรู้จักในชื่อสงครามอ่าวเปอร์เซีย ครั้งที่ ๑<br />

พ.ศ.๒๕๓๔ และสงครามอ่าวเปอร์เซีย ครั้งที่ ๒<br />

พ.ศ.๒๕๔๖ รถรบทหารราบบีเอ็มพี-๒ (BMP-2)<br />

ถูกทำลายเป็นจำนวนมากในพื้นที่การรบ<br />

ที่เป็นทะเลทราย ปัจจุบันนี้กองทัพอิรักอยู่ใน<br />

การสร้างกองทัพบกขึ้นใหม่ (ส่วนใหญ่จะนำ<br />

อาวุธรุ่นใหม่เข้าประจำการ อาวุธที่ประจำการ<br />

มาเป็นเวลานานจะมีความยุ่งยากในระบบการ<br />

ส่งกำลังบำรุง)<br />

กองทัพบกเวียดนามประจำการด้วยรถ<br />

รบทหารราบ บีเอ็มพี-๒ (BMP-2) รวม ๑๕๐<br />

คัน จัดซื้อมาจากอดีตสหภาพโซเวียต และได้<br />

รับมอบระหว่างปี พ.ศ.๒๕๒๕ - ๒๕๒๗ จัดซื้อ<br />

เพิ่มเติมอีกหลายครั้ง ปัจจุบันประจำการ ๖๐๐<br />

คัน จึงเป็นรถรบหลักของกองพลทหารราบ ๖<br />

กองพล และกองพลน้อยรถถัง ๓ กองพล<br />

รถรบทหารราบ บีเอ็มพี-๒ กองทัพบกซีเรียขณะปฏิบัติการทางทหารเมือง<br />

ตอนเหนือของประเทศ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖ อาวุธหลักคือปืนขนาด ๓๐ มิลลิเมตร<br />

(2A42) อัตราการยิง (ต่ำ) ๒๐๐ - ๓๐๐ นัดต่อนาที อัตราการยิงสูงสุด ๕๕๐ - ๘๐๐ นัด<br />

ต่อนาทีและระยะยิงไกล ๔,๐๐๐ เมตร<br />

รถรบทหารราบ บีเอ็มพี-๒ ทางด้านในเป็นที่นั่งของทหารราบ พร้อมด้วยอาวุธที่น ำติดตัว<br />

บรรทุกทหาร ๑๐ นาย ประกอบด้วย พลประจำรถ ๓ นาย พร้อมด้วยทหารราบ ๗ นาย<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

39


เปิดประตู<br />

สู่เทคโนโลยีป้องกันประเทศ<br />

เปิดตัว T-14 รถถังใหม่<br />

หรือ Minor Change<br />

รถถังถือเป็นยานรบทางบกหลัก<br />

สำหรับปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกใน<br />

ยุทธวิธีที่ต้องอาศัยความรวดเร็ว<br />

ในการเคลื่อนที่ไปยังพื้นที่เป้าหมายเพื่อประชิด<br />

แนวข้าศึก ควบคู่ไปกับอำนาจการโจมตีและ<br />

ทำลายที่รุนแรง สามารถปฏิบัติภารกิจได้ใน<br />

ทุกสภาพภูมิประเทศ สภาพอากาศ โดยที่<br />

สามารถดำรงความอยู่รอดของรถถังและ<br />

เจ้าหน้าที่ภายในรถให้ปลอดภัย ศักยภาพและ<br />

แสนยานุภาพของรถถังเหมาะกับรูปแบบ<br />

ของการเจาะลึกหรือการโอบปีกกว้างพื้นที่<br />

การรบ ในปัจจุบันรถถังที่ได้รับการยกย่อง<br />

ด้านสมรรถนะและได้รับการกล่าวขาน<br />

จนเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีมีหลายรุ่น อาทิ<br />

รถถัง T-90 ของรัสเซีย M1A2 Abrams ของ<br />

สหรัฐ Leopard 2A7+ ของเยอรมัน รถถัง<br />

เหล่านี้นอกจากจะถูกนำเข้าประจำการใน<br />

ประเทศของผู้ผลิตแล้ว ยังได้รับจัดหาเพื่อ<br />

บรรจุเข้าประจำการกองทัพในต่างประเทศ<br />

อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีอีกหลายประเทศ<br />

ที่สามารถผลิตรถถังใช้เองในประเทศ<br />

ยกตัวอย่างเช่น รถถัง Merkava ของอิสราเอล<br />

และ T-99 ของจีน เป็นต้น รถถังเหล่านี้มี<br />

ต้นกำเนิดมาจากแนวคิดและเทคโนโลยีในยุค<br />

ช่วงสมัยสงครามเย็น สำหรับปฏิบัติการรบตาม<br />

แบบหรือ Conventional Warfare ผ่านการ<br />

พัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถไปตามกาล<br />

เวลาและยุคสมัย ล่าสุดเมื่อเดือนเมษายนปีนี้<br />

รถถัง T-14 Armata ของรัสเซียได้ปรากฏตัว<br />

ออกมาให้เห็นในขบวนพิธีฉลองชัยชนะใน<br />

สงครามโลกครั้งที่สอง ใจกลางย่านจัตุรัสแดง<br />

การปรากฏตัวครั้งนี้ได้สร้างแรงสั ่นสะเทือน<br />

เขย่าวงการรถถังครั้งใหญ่พลิกโฉมรูปลักษณ์<br />

ของรถถังค่ายรัสเซียที่เราคุ้นเคย ด้วยรูปทรง<br />

การออกแบบอันทันสมัยภายใต้กรอบแนว<br />

ความคิดทางยุทธวิธีแบบใหม่ครอบคลุมการรบ<br />

40 สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ


รถถัง Leopard 2<br />

รถถัง T-90<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

ในแบบ Conventional Warfare และ การรบ<br />

ในเขตเมือง (Urban Warfare) แต่ยังคงดำรงไว้<br />

ซึ่งประสิทธิภาพและแสนยานุภาพตามแบบ<br />

ฉบับของยุทโธปกรณ์ค่ายรัสเซีย<br />

ระบบอาวุธ<br />

เครื่องหมายการค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของ<br />

รถถังค่ายรัสเซีย คือ อำนาจการยิง ไม่ว่าจะ<br />

ในยุคสมัยใดก็ตาม ยานรบทางบกของรัสเซีย<br />

จะอัดแน่นไปด้วยระบบอาวุธหลากหลายชนิด<br />

เต็มเปี่ยมไปด้วยอำนาจการทำลาย สำหรับ<br />

T-14 ยังคงเดินตามเส้นทางนั้นด้วยปืนใหญ่<br />

ขนาด ๑๒๕ มิลลิเมตร มีขนาดใหญ่กว่าปืน<br />

รถถังของกลุ่มประเทศ NATO อย่าง Leopard 2<br />

และ Abram ที่มีขนาด ๑๒๐ มิลลิเมตร ด้านนอก<br />

ลำกล้องปืนของรถถัง T-14 ถูกหุ้มด้วยปลอก<br />

กันความร้อน ส่วนด้านในลำกล้องน่าจะถูก<br />

เคลือบสารในกลุ่มของ Chromium ช่วยชะลอ<br />

การสึกกร่อนและยืดอายุการใช้มากขึ้น ภายใน<br />

ป้อมปืนบรรจุกระสุนพร้อมยิงจำนวน ๓๒ นัด<br />

การบรรจุกระสุนเป็นแบบอัตโนมัติ ช่วยลด<br />

ขั้นตอนในการบรรจุกระสุน เพิ่มความรวดเร็ว<br />

ในการยิงสำหรับกระสุนสำรองอีก ๔๕ นัด<br />

ถูกแยกเก็บไว้คนละส่วนกับห้องพลประจำรถเพื่อ<br />

ความปลอดภัยตัวป้อมปืนยังคงรูปแบบเดิม<br />

ที่เน้นให้มีขนาดเล็กมีน้ำหนักเบาและยากต่อการ<br />

ถูกตรวจจับ รูปทรงของป้อมปืนมีมุมลาดเอียง<br />

ช่วยลดการเจาะทะลุทะลวงจากอาวุธของ<br />

ฝ่ายข้าศึก<br />

ความแม่นยำในการโจมตีถือเป็นหัวใจ<br />

สำคัญของอาวุธยิงเล็งตรงอย่างปืนใหญ่รถถัง<br />

ไม่เพียงเท่านั ้น พลปืนประจำรถจะต้องค้นหา<br />

และพิสูจน์ทราบเป้าหมายได้จากระยะไกล<br />

ทำการยิงได้อย่างแม่นยำทั้งในขณะเคลื่อนที่<br />

หรือหยุดนิ่ง ที่ผ่านมานั้นการพิสูจน์ทราบ<br />

เป้าหมายด้วยกล้องตรวจจับความร้อนหรือ<br />

กล้องกลางคืนถือเป็นจุดอ่อนทางด้านเทคโนโลยี<br />

ของรัสเซียที่ล้าหลังชาติตะวันตกและนับ<br />

เป็นข้อจำกัดของรถถังรัสเซียในรุ่นที่ผ่านมา<br />

แต่ปัญหาเหล่านี้ได้หมดไปเมื่อรัสเซียหันไปพึ่ง<br />

เทคโนโลยีทางฝั่งตะวันตก ช่วยให้รถถังของ<br />

รัสเซียมีขีดความสามารถในการรบเวลากลางคืน<br />

ได้ทัดเทียมกับรถถังจากค่ายอื่นๆ ในส่วน<br />

ของการยิงที่แม่นยำนั้น T-14 มีระบบควบคุม<br />

การยิงซึ ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็น Hardware<br />

และ Software ผ่านการปรับปรุงพัฒนาจาก<br />

รถถังรุ่นก่อนๆ ระบบควบคุมการยิงจะหลอมรวม<br />

ข้อมูลจากอุปกรณ์ตรวจวัดต่างๆ อาทิ เครื่อง<br />

วัดระยะด้วยแสงเลเซอร์ Laser Rangefinder<br />

เครื่องวัดค่าสภาพอากาศ รวมถึงข้อมูลของ<br />

เป้าหมายและประเภทของกระสุนที่ใช้โดยจะ<br />

คำนวณออกมาเป็นวิถีกระสุน แล้วทำการส่ง<br />

ข้อมูลต่อไปยังกลไกเพื่อปรับทิศและมุมของ<br />

41


ลำกล้องปืน นอกจากนี้บทเรียนจากสงคราม<br />

ในอัฟกานิสถานและเชชเนียเป็นสองสมรภูมิ<br />

ที่สร้างความสูญเสียให้กับรถถังรัสเซียเป็น<br />

จำนวนมาก บทเรียนนี้ได้สอนเรื่องการรับมือ<br />

กับการถูกรุมสำหรับการรบในเมือง ที่อยู่ใน<br />

ระยะประชิดโดยได้ทำการติดตั้งปืนอัตโนมัติ<br />

ขนาด ๗.๖๒ มิลลิเมตร ไว้บน T-14 โดยที่พลปืน<br />

สามารถทำการยิงได้อย่างแม่นยำจากภายในรถ<br />

อย่างปลอดภัยจากการถูกลอบซุ่มโจมตี<br />

42<br />

รถถัง M1 Abram<br />

รถถัง Merkava<br />

ระบบป้องกันตัวเอง<br />

การป้องกันตัวเองของรถถัง T-14<br />

สามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ชั้น ได้แก่ เกราะ<br />

Explosive Reactive Armour (ERA) แผ่น<br />

เกราะ Composite และ ระบบ Active<br />

Protection ที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์<br />

(Sensor) ต่างๆ โดยรอบป้อมปืน ซึ่งส่วนหนึ่ง<br />

คาดว่าเป็นอุปกรณ์ตรวจจับรังสีอินฟราเรด<br />

ในย่านแสงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความร้อนหรือ<br />

แสงเลเซอร์รวมทั้งแผงเรดาร์ เพื่อตรวจจับ<br />

อาวุธต่อสู้รถถัง นอกจากนี้ยังได้มีการวาง<br />

ตำแหน่งท่อยิง Smoke Grenade ที่มีรัศมีการ<br />

ป้องกันแบบรอบทิศ รวมถึงด้านบนของป้อม<br />

ปืนเพื่อรับมือกับจรวดต่อสู้รถถังชนิดสามารถ<br />

เลือกโหมดการโจมตีแบบ Top Attack อย่าง<br />

Spike หรือ Javelin ซึ่งวิถีการเคลื่อนที่ของ<br />

จรวดจะเข้าโจมตีจากทางด้านบนของรถถัง<br />

เนื่องจากเป็นส่วนที่มีการป้องกันที่บอบบาง<br />

ที่สุดนอกจากนี้ยังมีตะแกรงเหล็ก Slat Armor<br />

คอยทำหน้าที่ป้องกันห้องเครื่องจากการ<br />

โจมตีอีกด้วย ภัยคุกคามที่น่าสะพรึงกลัว<br />

ของรถถังอีกประเภทคือระเบิดแสวงเครื่อง<br />

หรือ IED ที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับ<br />

รถถังไม่แพ้จรวดต่อสู้รถถัง ดังที่รถถัง M1<br />

Abram เกราะ ตะแกรงเหล็ก Slat Armor<br />

อุปกรณ์ต่อต้านกับได้เผชิญมาแล้วในอิรัก รถถัง<br />

T-14 จึงได้ติดตั้งอุปกรณ์ต่อต้านกับระเบิด<br />

และระเบิดแสวงเครื่องด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า<br />

Electromagnetic Pulse ในส่วนของการป้องกัน<br />

พลประจำรถนับเป็นอีกหนึ่งด้านที่ได้รับการ<br />

ปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้น โดยตำแหน่งของ<br />

ที่นั่งของพลประจำรถจะถอยห่างออกจาก<br />

ด้านหน้ารถ ซึ่งระยะห่างนี้จะเป็นการเพิ่ม<br />

พื้นที่สำหรับติดตั้งแผ่นเกราะให้มีความหนา<br />

มากขึ้น<br />

ภาพรวม<br />

ด้านมิติของรถถัง T-14 มีน้ำหนักโดย<br />

ประมาณอยู่ที่ ๔๘ ตัน ถือว่ามีขนาดที่เล็กกว่า<br />

และน้ำหนักตัวที่เบากว่า M1Abrams หรือ<br />

Leopard 2 มีน้ำหนักโดยเฉลี่ยที่ ๖๐ ตัน<br />

และมีพลประจำ ๔ คน ซึ่งประกอบไปด้วย<br />

ผู้บังคับรถ, พลขับ, พลปืน และพลบรรจุกระสุน<br />

ในขณะที่ T-14 มีพลประจำรถ ๓ นาย เนื่องจาก<br />

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ


การบรรจุกระสุนทำโดยอัตโนมัติ โดยที่ห้อง<br />

พลประจำรถถูกจัดวางให้อยู่ในตำแหน่งที่<br />

ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ที่นั่งของผู้บังคับรถ และ<br />

พลขับ อยู่ในแนวระนาบเดียวกัน ช่วยให้การ<br />

สื่อสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ T-14 มี<br />

ปืนใหญ่ขนาด ๑๒๕ มิลลิเมตร เป็นอาวุธหลัก<br />

อีกทั้งยังยิงอาวุธนำวิถีได้อีกด้วย ด้านระบบขับ<br />

เคลื่อน T-14 เลือกที่จะใช้เครื่องยนต์ดีเซลใน<br />

ระดับแรงม้าที่ ๑,๕๐๐ แรงม้า และช่วงล่างที่<br />

มีจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาดและมีใช้งานอยู่<br />

ในกองทัพ เพื่อความง่ายและสะดวกต่อการ<br />

ซ่อมบำรุง ต่างจาก M1Abrams ที่ขับเคลื ่อน<br />

ด้วยเครื่องยนต์ Turbine ถึงแม้จะใช้น้ำมันได้<br />

หลายชนิด (Multi Fuel) ทั้ง JP4 หรือ JP8 แต่<br />

มีความสลับซับซ้อนในการซ่อมบำรุง ในด้าน<br />

ของระบบไฟฟ้าภายในยานรบหรือ Vetronics<br />

(Vehicle Electronics) ประมาณการว่าส่วน<br />

ใหญ่ยังคงเป็นเทคโนโลยีที่มาจากรถถัง T-90<br />

โดยอาจจะมีปรับปรุงในส่วนของ Software<br />

รวมทั้งการปรับปรุงระบบควบคุมการยิงให้<br />

มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ตลอดจนการบริหาร<br />

จัดการข้อมูลและการแสดงผลจากระบบตรวจ<br />

จับต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่รอบตัวรถ<br />

สรุป<br />

นาทีนี้คงต้องยกนิ้วให้ทีมงานนักวิจัย<br />

รถถัง T-14 ที่ได้ทำการวิเคราะห์และศึกษาสภาพ<br />

แวดล้อมและภัยคุกคามเรียกว่าได้ทำการบ้าน<br />

มาเป็นอย่างดี มีการปรับปรุง พัฒนา และแก้ไข<br />

ข้อจำกัดทางเทคนิคต่างๆ รวมถึงปัญหาจาก<br />

การใช้งานที่ผ่านมาในอดีตได้อย่างครบถ้วน<br />

และสมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเคลื่อนที่<br />

ระบบอาวุธ ความอยู่รอดในสนามรบ มีการใช้<br />

อะไหล่และชิ้นส่วนแบบเดียวกับยานรบภาค<br />

พื้นดินแบบอื่นๆ ช่วยเพิ่มความสะดวกด้าน<br />

การส่งกำลังบำรุงแบบชนิดที่ว่าถูกใจหน่วย<br />

ผู้ใช้ สบายใจหน่วยผู้ซ่อม นี่คงจะเป็นการส่ง<br />

สัญญาณที่ชัดเจนจากแดนหมีขาวรัสเซียถึงช่วง<br />

เวลาแห่งการปฏิรูปและพัฒนากำลังรบให้มี<br />

ความทันสมัย คิดนอกกรอบและก้าวข้ามความ<br />

คุ้นเคยกับแนวคิดสมัยยุคสงครามเย็น ที่ตาม<br />

หลอกหลอนมาเป็นเวลานานจนกระทั่งได้ออก<br />

มาเป็นรถถังที่ถือว่าเหมาะกับหลักนิยมและ<br />

สภาพแวดล้อมด้านภัยคุกคามของรัสเซียอย่าง<br />

สมบูรณ์แบบ นับจากนี้ไป T-14 จะเป็นฐาน<br />

ทางด้านเทคโนโลยีที่จะใช้ก้าวไปในการพัฒนา<br />

รถถังรุ่นใหม่ๆ ของรัสเซียต่อไปในอนาคต<br />

เกราะ ตะแกรงเหล็ก Slat Armor<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

43


วัฒนธรรมทางการเมือง<br />

ของสังคมไทยกับ<br />

รัฐธรรมนูญฉบับใหม่<br />

จุฬาพิช มณีวงศ์<br />

คนในสังคมเดียวกันมักมีรูปแบบ<br />

พฤติกรรมทางการเมืองที่<br />

คล้ายคลึงกัน เช่น นักการเมือง<br />

อเมริกัน มักมีการโจมตีกันอย่างรุนแรงใน<br />

ช่วงเวลาการหาเสียง แต่เมื่อการเลือกตั ้ง<br />

ผ่านไปพวกเขาก็จะไม่ถือเอาการปะทะคารม<br />

และการโจมตีกันตอนหาเสียงมาก่อให้เกิด<br />

การบาดหมางคลางแคลงใจกัน พวกเขาจะลืม<br />

เรื่องที่ผ่านมาและเป็นเรื่องธรรมดามากที่จะได้<br />

เห็นผู้สมัครที่แพ้จะเป็นคนแรกที่มาแสดงความ<br />

ยินดีกับผู้ชนะ การเดินประท้วงรัฐบาลของพวก<br />

เขามักจะเป็นไปโดยสงบแม้จะมีผู้เดินขบวน<br />

ประท้วงเป็นจำนวนมากก็ตาม ไม่ค่อยมีการ<br />

ปะทะกันกับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือการทำลาย<br />

ข้าวของให้เสียหาย<br />

44<br />

ตรงกันข้ามกับในเกาหลีใต้ที่ผู้เดินขบวน<br />

มักจะใช้กำลังเข้าปะทะกับตำรวจรักษาการณ์<br />

อยู่เสมอ มีการใช้ก้อนหินขว้างปาหรือใช้ระเบิด<br />

ขวดทำร้ายตำรวจ เช่นเดียวกับในไต้หวันจะ<br />

เห็นกันบ่อยๆ ที่ผู้แทนราษฎรใช้กำลังทำร้าย<br />

กันและกัน หรือใช้สิ่งของขว้างปากันในสภา<br />

ส่วนในประเทศอังกฤษการถกเถียงกันในสภา<br />

ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอาจจะเป็นไป<br />

อย่างรุนแรง แต่จะไม่มีเรื่องการทำร้ายร่างกายกัน<br />

ระหว่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วยกัน<br />

เมื่อคนเราแรกเกิดมานั้น ธรรมชาติไม่ได้<br />

สั่งให้เราหรือบอกว่าต้องพูดภาษาอะไร เชื่อ<br />

อย่างไร มีค่านิยมและบุคลิกภาพอะไรบ้าง แต่<br />

เมื่อทารกโตขึ้นเขาจะเริ่มมีลักษณะนิสัยที่ต่าง<br />

กับคนอื่นมากขึ้นๆ ลักษณะนิสัยที่แตกต่างกัน<br />

นี้ได้ถูกส่งผ่านขบวนการเรียนรู้จากครอบครัว<br />

โรงเรียน สถานบันทางศาสนา เพื่อนเล่นและ<br />

เพื่อนร่วมงาน โรเบิร์ต เลน นักการเมืองชาว<br />

อังกฤษให้ทัศนะว่า พ่อจะสอนความเชื่อและ<br />

ค่านิยมทางการเมืองให้ลูกโดยตรง นอกจากนี้<br />

การที่ลูกต้องอาศัยอยู่กับพ่อ เขาจะมีสิ่ง<br />

แวดล้อมเช่นเดียวกับพ่อ จึงมีโอกาสที่ทำให้<br />

คนที่มีลักษณะนิสัยคล้ายๆ พ่อได้ง่าย และวิธี<br />

การที่พ่อวางตัวในสายตาของลูกหรือวิธีการ<br />

ที่พ่ออบรมลูก สร้างบุคลิกภาพบางอย่างให้<br />

ลูกซึ่งจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางการเมือง<br />

ของลูกโดยทางอ้อม อย่างเช่นบุคลิกภาพแบบ<br />

เผด็จการ เป็นต้น เด็กๆ ในสังคมอังกฤษจะเรียน<br />

รู้ถึงระบอบประชาธิปไตยโดยทางอ้อมจากพ่อ<br />

แม่ที่พูดถึงการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง<br />

จุฬาพิช มณีวงศ์


ผู้แทน ในขณะที่สังคมเผด็จการจะไม่เคย<br />

ประสบพบเห็นว่ามีการเลือกตั้งผู้แทนหรือการ<br />

เลือกบุคคลที่จะปกครองประเทศเลย<br />

ขณะที่ ดีน เจโรส์ นักสังคมวิทยา เชื่อว่า<br />

เด็กได้รับการถ่ายทอดความเชื่อและทัศนคติ<br />

ทางการเมืองจากโรงเรียนใน ๒ วิธี คือ ถ้าเป็น<br />

โรงเรียนที่ครูเปิดโอกาสให้เด็กแสดงความ<br />

เห็นมากๆ แล้ว เด็กจะมีความกล้าที่จะแสดง<br />

ความเห็น นอกจากนี้ยังเกิดจากการสอน<br />

โดยตรงด้วยวิชาที่สอนเกี่ยวกับการเมืองซึ่ง<br />

จะช่วยสร้างความเชื่อและค่านิยมบางอย่าง<br />

แก่เด็ก เช่น อาจจะสอนความหมายของคำว่า<br />

ประชาธิปไตย ลำดับขั้นของความเป็นมาหรือ<br />

วิวัฒนาการของระบบการเมือง<br />

โรเบิร์ต เลน รวบรวมผลการศึกษาซึ่ง<br />

รายงานว่า สถานศึกษาต่างๆ สามารถถ่ายทอด<br />

ความเชื่อและค่านิยมให้แก่นักเรียน นักศึกษา<br />

ในสหรัฐอเมริกา ผลการศึกษายังพบด้วยว่า<br />

คนที่มีการศึกษาสูงมักจะรู้ความเป็นไปหรือ<br />

ข่าวคราวความเคลื่อนไหวทางการเมืองดีกว่า<br />

คนที่มีการศึกษาต่ำกว่า เด็กอาจจะเปลี่ยน<br />

พรรคการเมืองที่เคยนิยมจากครอบครัวตาม<br />

โรงเรียนที่เด็กส่วนใหญ่นิยม ผู้ได้รับการศึกษา<br />

สูงขึ้นโดยเฉพาะผู้เข้ามหาวิทยาลัยจะมีแนว<br />

โน้มที่จะเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง เช่น<br />

ไปเลือกตั้ง ช่วยผู้สมัครบางคนหาเสียงหรือ<br />

เข้าร่วมโดยวิธีอื่นๆ และจะมีลักษณะที่ยอมรับ<br />

ความเห็นของคนอื่นมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า<br />

ความรักชาติก็เป็นสิ่งที่เด็กๆ ทั่วโลกเรียนจาก<br />

โรงเรียนและมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะโรงเรียน<br />

ประถมและมัธยมเป็นองค์กรที่สำคัญมากต่อ<br />

การสร้างความรู้สึกรักชาติในตัวเด็ก<br />

แม้ว่าคนแต่ละเชื้อชาติจะมีลักษณะ<br />

นิสัยที่แตกต่างกัน แม้แต่พี่น้องบิดามารดา<br />

เดียวกันแต่ก็จะมีลักษณะนิสัยบางอย่างที่คน<br />

ส่วนใหญ่ในสังคมมีคล้ายๆ กัน เรียกลักษณะ<br />

นิสัยของคนในสังคมเดียวกันที่คล้ายคลึงกัน<br />

นี้ว่า ลักษณะนิสัยประจำชาติ (National<br />

Characteristics) และเป็นลักษณะนิสัยที่คน<br />

ชาติอื่นในโลกส่วนใหญ่ไม่มี<br />

จากการศึกษาพบว่านิสัยประจำชาติของ<br />

คนไทยที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมทางการเมืองมี<br />

รายละเอียดที่น่าสนใจดังต่อไปนี้<br />

ความเชื่อว่า การเมืองเป็นเรื่องของคน<br />

ชั้นสูง จากสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชจนถึง<br />

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี พ.ศ.๒๔๗๕<br />

ถึงแม้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

45


จะมีการพัฒนาจนถึงปัจจุบัน ความรู้สึกเดิมนี้ยัง<br />

มีสืบมา ทำให้คนไทยไม่ตระหนักว่าพวกเขามี<br />

อำนาจที่จะกำหนดตัวผู้นำประเทศ มีอำนาจที่<br />

จะตั้งเงื่อนไขการใช้อำนาจของผู้นำประเทศใน<br />

รูปของนโยบายที่สัญญากับประชาชน สำหรับ<br />

คนไทยประวัติศาสตร์อันยาวนานผ่านมาเพียงใด<br />

คนไทยยังคงทำตามผู้มีอำนาจไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว<br />

กับการแย่งชิงอำนาจ ไม่โค่นล้มผู้นำที่ไม่ดี<br />

การเมืองเป็นเรื่องของคนมีอำนาจวาสนา<br />

การไม่ให้ความสำคัญกับการจงรักภักดี<br />

ต่อบุคคล ผู้เป็นนายอาจมีมากในยุโรปและ<br />

ญี่ปุ่นสมัยก่อน แต่สำหรับคนไทยจะให้ความ<br />

สำคัญกับการปรับตัวให้เข้ากับผู้มีอำนาจ<br />

มากกว่า ถ้าผู้มีอำนาจคนเก่าหมดอำนาจไปก็<br />

ต้องพยายามปรับตัว จริงอยู่คนไทยมีตัวอย่าง<br />

ของคนจงรักภักดี แต่เมื่อเป็นประชาธิปไตย การ<br />

แย่งอำนาจของนายโดยลูกน้องมีอยู่เสมอ โดย<br />

46<br />

คนส่วนใหญ่ไม่ได้ประณามการทรยศหักหลัง<br />

ว่าเป็นเรื่องใหญ่แต่อย่างใด ในขณะที่การทำตัว<br />

เพื่อให้เข้าถึงอำนาจใกล้ชิดผู้มีอำนาจก็เป็นเรื่อง<br />

ธรรมดา เพราะเมื่อใกล้ชิดได้ก็จะมีผล<br />

ประโยชน์ตามมา คนที่ประจบประแจงคนมี<br />

อำนาจก็มักจะได้ดีเสมอ การทำงานก้าวหน้า<br />

อย่างรวดเร็ว<br />

การไม่ให้ความสำคัญกับหลักการ กฎเกณฑ์<br />

หรือกติกา คงไม่มีประเทศใดที่คนไม่ทำผิด<br />

กฎหมาย แต่การเคารพกฎเกณฑ์ กติกาหรือ<br />

การยึดในหลักการอันใดอันหนึ่งของคนไทย<br />

เฉลี่ยมีค่อนข้างน้อย ทุกๆ วันเราจึงพบการทำ<br />

ผิดกฎหมาย ทำผิดกฎจราจร การขาดระเบียบ<br />

วินัย การแซงคิว และการใช้อภิสิทธิ์หลีกเลี่ยง<br />

กฎเกณฑ์ กติกาต่างๆ เพื่อความสะดวกสบาย<br />

ของตนเอง โดยสังคมไม่ได้ประณามพฤติกรรม<br />

ดังกล่าวแต่อย่างใด<br />

การให้ความสำคัญแก่การพึ่งพากันของ<br />

ญาติมิตรพวกพ้อง คนไทยมีความผูกพันกัน<br />

ด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น เป็นพี่น้อง ญาติ<br />

เพื่อนเล่น เพื่อนร่วมชั้น เพื่อนร่วมสถาบัน คน<br />

มาจากท้องถิ่นเดียวกัน เป็นคนรู้จักกัน เป็น<br />

ครูเป็นลูกศิษย์กัน หรือแม้แต่เป็นคนที่เคยมี<br />

บุญคุณต่อกัน ซึ่งความผูกพันเหล่านี้แม้คน<br />

ชาติอื่นจะมี แต่สำหรับคนไทยนั้นถือว่า ถ้ามี<br />

ความผูกพันกัน ก็ควรจะปฏิบัติต่อกันดีกว่าการ<br />

ปฏิบัติต่อคนที่ไม่ผูกพันกัน แม้ว่าการปฏิบัตินั้น<br />

จะเป็นเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องส่วนตัวก็ตาม สำหรับ<br />

สังคมไทยความผูกพันในกรณีที่ไม่ใช่ญาติกัน<br />

ก็สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายมาก แม้แต่ดื่มเหล้า<br />

วงเดียวกัน คุยกันถูกอัธยาศัยครั้งเดียวก็อาจ<br />

จะเรียกพี่เรียกน้อง และเป็นปัจจัยที่ช่วยเหลือ<br />

กันในเวลาต่อมา ถ้ายิ่งทั้งสองฝ่ายมีปัจจัยที่จะ<br />

ช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ ความผูกพันก็ยิ่งมีได้<br />

เร็วขึ้น ความผูกพันกันนี้ทำให้คนไทยให้ความ<br />

สำคัญแก่การที่จะต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ซึ่ง<br />

รวมไปถึงการเกื้อกูลช่วยเหลือกันในสิ่งที่ไม่<br />

เป็นธรรมแก่คนอื่นด้วย รวมถึงความผูกพันใน<br />

เชิงอุปถัมภ์เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่าง<br />

คนที่มีสถานภาพต่างกัน คนที่มีสถานภาพ<br />

ทางสังคมสูงให้คนสถานภาพทางสังคมต่ำ<br />

ยืมเงิน ฝากลูกเข้าโรงเรียน ส่วนคนสถานภาพ<br />

ทางสังคมต่ำกว่าก็อาจมาช่วยทำสิ่งต่างๆ เมื่อ<br />

คนที่มีสถานภาพทางสังคมสูงกว่าเรียกใช้<br />

การไม่ให้ความสำคัญแก่ความรับผิดชอบ<br />

ต่อส่วนรวม บางครั้งเราอาจจะได้เห็น<br />

คนไทยใจบุญ ทำบุญกันคราวละมากๆ แต่<br />

จุฬาพิช มณีวงศ์


ก็มีวัตถุประสงค์สะสมบารมีของตนเองเพื่อ<br />

อนาคต คนไทยทำบุญกับพระมากกว่าทำบุญ<br />

กับคนชรา การทำบุญของคนไทยไม่ใช่เพื่อส่วน<br />

รวมแต่เพื่อตนเองและโดยทั่วไปยังมีความคิด<br />

เพื่อส่วนรวมน้อย<br />

การถือว่าเสียศักดิ์ศรีที่จะไปง้อคนอื่น<br />

เพราะฉะนั้นถึงแม้คนไทยจะชอบพึ่งพากัน<br />

แต่ถ้าขัดแย้งกันขึ้นมารุนแรงก็อาจโกรธกันไป<br />

นานถึงขั้นไม่เผาผีกัน ถึงตายแล้วก็ยังไม่หาย<br />

โกรธ พี่น้องที่เคยรักกันมากๆ หรือเพื่อนที่<br />

สนิทกันมากก็อาจจะแตกกันและหันหลังให้<br />

กันตลอดไป ไม่มีใครไปขอคืนดีใครที่เรียกว่า<br />

ไม่ง้อ<br />

การปรับตัวเข้ากับผู้มีอำนาจและ<br />

กฎเกณฑ์ ทำให้คนไทยเคารพยำเกรงคนที่มี<br />

สถานภาพทางสังคมสูงกว่า ไม่อยากโต้แย้ง<br />

ด้วย แต่จะพยายามทำตัวให้เข้ากันได้และ<br />

ได้รับการยอมรับจากผู้ที่สถานภาพสูงกว่า<br />

ข้าราชการที่ก้าวหน้าเร็วจะต้องรู้จักเอาใจนาย<br />

ทั้งในหน้าที่การงาน และนอกหน้าที่การงาน<br />

ส่วนนายที่มีบุคลิกภาพอำนาจนิยมก็จะชอบ<br />

ลูกน้องที่เอาใจช่วยตน พินอบพิเทา ประจบ<br />

ประแจง<br />

การขาดความคิดริเริ่ม เป็นผลมาจาก<br />

บุคลิกภาพแบบอำนาจนิยมที่ผู้ใหญ่ไม่ชอบให้<br />

ผู้น้อยมาขัดแย้งกับตน ผู้ใหญ่ไม่ชอบให้เด็ก<br />

แสดงความฉลาดกว่าแต่จะแสดงว่าตนรู้มาก<br />

กว่า ฉลาดกว่าอยู่เสมอ การขาดความคิดหรือ<br />

การแสดงออกของเด็กไทยทำให้คนไทยขาด<br />

ความคิดริเริ่ม คนไทยโดยทั่วไปจึงมีลักษณะ<br />

อนุรักษ์นิยมค่อนข้างสูง มักจะยอมรับสิ่งที่เป็น<br />

อยู่โดยไม่ดูเหตุผลหรือความเปลี่ยนแปลง<br />

การไม่ชอบคิดอะไรซับซ้อนและมอง<br />

การณ์ไกล ทำให้อุดมการณ์ทางการเมืองหรือ<br />

การคิดอะไรลึกซึ้งเป็นปรัชญาที่คนไทยคิดขึ ้น<br />

เองจึงไม่ค่อยมี มีแต่เอาของต่างชาติมาศึกษา<br />

คนไทยอาจจะบ่นว่าระเบียบอย่างนั้นไม่ดีกฎ<br />

อย่างนั้นมีปัญหา แต่จะไม่กล้ากดดันให้เกิด<br />

การเปลี่ยนแปลงเพราะกฎระเบียบต่างๆ<br />

ออกมาโดยผู้มีอำนาจ ซึ่งเป็นเรื่องไม่ดี อย่า<br />

ไปคัดค้านโดยเปิดเผยจะเป็นภัยใส่ตัวเอง คนไทย<br />

จึงปรับตัวให้เข้ากับกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อ<br />

ประโยชน์แก่ตัวเองให้มากที่สุด<br />

การชอบทำตามใจตนเองโดยไม่คำนึงถึง<br />

ผลที่ตามมา เป็นคำพังเพยที่ว่า ทำอะไรตามใจ<br />

คือไทยแท้ ซึ่งดูจะขัดกับลักษณะอำนาจนิยม<br />

ที่ยอมอ่อนน้อมต่อผู้มีสถานภาพทางสังคมสูง<br />

กว่า แต่ผู้มีสถานภาพทางสังคมต้องรู้ว่าจะไป<br />

บังคับจิตใจผู้น้อยเกินไปไม่ได้ ต้องมีขอบเขต<br />

มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า รัฐธรรมนูญของ<br />

สหรัฐอเมริกาซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๗๘๙<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตลอดแต่ยังคงส่วน<br />

ใหญ่ไว้เหมือนเดิม เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญ<br />

ของประเทศญี่ปุ่นและอิตาลีใช้มาตั้งแต่สิ้น<br />

สงครามโลกครั้งที่ ๒ รัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส<br />

ใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๙๕๘ สาธารณรัฐเกาหลี<br />

มีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญหลายครั้ง<br />

นับตั้งแต่เป็นเอกราช เมื่อสิ้นสงครามโลก<br />

ครั้งที่ ๒ ฟิลิปปินส์ก็มีการเปลี่ยนแปลง<br />

รัฐธรรมนูญหลายครั้งเช่นกัน แต่ไม่มีประเทศใด<br />

เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญเท่าประเทศไทย นับ<br />

ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ.<br />

๒๔๗๕ จนถึงปัจจุบันที่อยู่ในระหว่างการร่าง<br />

ของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ ่ม<br />

เติม เพื่อนำไปสู่การลงมติ เป็นฉบับที่ ๒๐ ถือ<br />

เป็นลักษณะเด่นของการเมืองไทยโดยเฉพาะ<br />

อันเนื่องมาจากนิสัยประจำชาติดังกล่าวมา<br />

ข้างต้น<br />

ประเทศประชาธิปไตยทุกประเทศจำเป็น<br />

ต้องมีรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ<br />

ที่มาและขอบเขตของอำนาจของรัฐบาลและ<br />

รัฐสภาอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังมีประเด็น<br />

อื่นๆ เช่น อุดมการณ์ใหญ่ๆ หรือแนวนโยบาย<br />

ของรัฐ รูปแบบของรัฐ เป็นสาธารณรัฐหรือ<br />

เป็นราชอาณาจักร เป็นสหพันธรัฐหรือรัฐเดี่ยว<br />

หน้าที่สิทธิและเสรีภาพของประชาชน ตลอด<br />

จนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ<br />

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

พระผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร<br />

ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.<br />

๒๔๗๕ ซึ่งมีพระราชหัตถเลขาต่อท้ายคำนำ<br />

ของรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทยว่า<br />

“ขอให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร<br />

ของเรานี้ จงเป็นหลักที่สถาพรสถิตประดิษฐาน<br />

สมรรถภาพอันประเสริฐ เป็นบ่อเกิดความ<br />

ผาสุกสันติคุณวิบูลราศีแก่อาณาประชาชน<br />

ตลอดจำเนียรกาลประวัติ นำประเทศสยาม<br />

บรรลุสรรพพิพัฒนชัยมงคล อเนกสุกผล<br />

สกลเกียรติยศมโหฬาร ขอให้พระบรมวงศา<br />

นุวงศ์และข้าราชการทั้งทหารพลเรือนทวย<br />

อาณาประชาราษฎรจงมีความสมัครสโมสร<br />

เป็นเอกฉันท์ในอันจะรักษาปฎิบัติรัฐธรรมนูญ<br />

แห่งราชอาณาจักรสยามนี้ให้ยืนยงอยู่กับสยาม<br />

รัฐราชสีมาตราบเท่ากัลปาวสานสมดั่งพระบรม<br />

ราชปณิธานทุกประการเทอญ”<br />

นอกจากคนในชาติจะตั้งความหวังว่า<br />

อยากเห็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย<br />

ปี ๒๕๕๙ ไม่เสียของแล้ว ยังเป็นรัฐธรรมนูญ<br />

ถาวรฉบับสุดท้ายของประเทศอีกด้วย<br />

47


การรบใหญ่<br />

ที่เมืองสิเรียม ๒๑๕๖<br />

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์<br />

อาณาจักรพม่าในยุคที่สอง เป็นอาณาจักรที่มีความเข้มแข็ง<br />

ทางทหาร เริ่มต้นราชวงศ์จากเมืองตองอูก้าวขึ้นสู่การมีอำนาจ<br />

ทางทหารทีละน้อย พระเจ้าบุเรงนอง (King Bayinnaung)<br />

กษัตริย์ลำดับที่สาม แห่งราชวงศ์ตองอู ทรงมีกองทัพขนาดใหญ่<br />

และอาวุธที่ทันสมัยจากยุโรป อาณาจักรพม่าในยุคที่สองก้าวขึ้น<br />

สู่อำนาจทางทหารอย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น อาณาจักรที่กว้างใหญ่<br />

ขึ้นกว่าในอดีตอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน พระองค์ทรงครองราช<br />

สมบัตินานถึง ๓๐ ปี ทรงขยายอาณาจักรให้เป็นมหาอำนาจ<br />

ทางทหารแห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และลุ่มแม่น้ำโขง มีอาณาจักร<br />

ขนาดใหญ่ เมื่อพระเจ้าบุเรงนองทรงสวรรคตอาณาจักรพม่า<br />

ก้าวสู่ความวุ่นวายและนำมาสู่สงครามกลางเมือง บทความนี้<br />

กล่าวถึงการรบใหญ่ที่เมืองสิเรียมปี พ.ศ.๒๑๕๖<br />

กล่าวทั่วไป<br />

ทางตอนใต้ของอาณาจักรพม่าที่บริเวณ<br />

ปากแม่น้ำอิระวดี (Irrawaddy) ชาวโปรตุเกส<br />

เป็นเจ้าเมืองสิเรียม (Syriam) มีชื่อว่า ฟิลิป<br />

เดอ บริโต นิโคเต (Philip de Brito Nicote)<br />

ได้ปรับปรุงป้อมเมืองสิเรียมให้มีความแข็งแรง<br />

ไว้ป้องกันตัวเมืองจากการรุกรานจากภายนอก<br />

และยังเป็นเมืองท่าที่สำคัญ มีความเชี่ยวชาญ<br />

ในการเดินเรือและใช้ปืนใหญ่ทำการรบทาง<br />

เรือระหว่างเรือรบกับเรือรบ และการใช้ปืน<br />

ใหญ่ประจำป้อมปืนประจำเมืองทำการยิง<br />

ป้องกันการเข้าตีจากภายนอก พร้อมทั้งมี<br />

ความเชี่ยวชาญในการรบทางบกในการใช้อาวุธ<br />

สมัยใหม่ในขณะนั้น เมื่อกรุงหงสาวดีถึงกาล<br />

ล่มสลายแล้วจึงขาดอำนาจการปกครองจาก<br />

ศูนย์กลาง เป็นผลให้เมืองสิเรียม (Syriam) มี<br />

บทบาทมากยิ่งขึ้นกลายเป็นเมืองศูนย์กลาง<br />

การค้าของพม่าทางตอนใต้ เมืองจึงมีฐานะ<br />

ทางเศรษฐกิจดีขึ้นแทนกรุงหงสาวดี (จากการ<br />

เก็บภาษีการค้าที่ท่าเรือ และเจ้าเมืองทำการ<br />

ค้าขายส่วนตัว เป็นผลให้เจ้าเมืองมีฐานะ<br />

ร่ำรวยอย่างรวดเร็ว) ความเปลี่ยนแปลงทาง<br />

ด้านการเมืองของเมืองต่างๆ ตามแนวลุ่มแม่น้ำ<br />

อิระวดีภายหลังการสวรรคตของพระเจ้า<br />

นันทบุเรงเป็นไปอย่างรวดเร็วและสับสน เมือง<br />

ตองอูมีเจ้าเมืองตองอูคนใหม่ (นัดจินหน่อง)<br />

ต่อมาเจ้าเมืองสิเรียม (Syriam) ยกกองทัพ<br />

เข้ายึดเมืองตองอูพร้อมทั้งเผาเมืองเสียหาย<br />

เป็นจำนวนมาก เจ้าเมืองตองอู (นัดจินหน่อง)<br />

ได้ดื่มน้ำสาบานเป็นพี่น้องกับเจ้าเมืองสิเรียม<br />

(Philip de Brito Nicote) พร้อมทั้งได้ติดตาม<br />

ไปที่เมืองสิเรียม (Syriam)<br />

เมืองสิเรียม (Syriam) เป็นเมืองท่าเรือ<br />

ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำหงสากับแม่น้ำย่างกุ้งเป็น<br />

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ต่อมา ฟิลิป เดอ<br />

บริโต นิโคเต ได้เป็นเจ้าเมืองสิเรียม (Syriam)<br />

ปกครองเมืองนาน ๑๓ ปี ปัจจุบันมีชื่อว่าเมือง<br />

ดันยลิน (Thanlyin) มีพื้นที่ ๓๕๐ ตาราง<br />

กิโลเมตร<br />

พ.ศ.๒๑๕๕ พระเจ้าอังวะ (พระเจ้า<br />

อนันกะเพตลุน/Anaukpetlun Min/Maha<br />

เมืองสิเรียม (Syriam) เป็นเมืองท่าหลัก<br />

ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำอิระวดีที่ต้นแม่น้ำ<br />

ไหลผ่านเมืองที่สำคัญของพม่า<br />

Dhamma Raza) ทรงยกกองทัพใหญ่ลงมา<br />

ทางด้านใต้ด้วยกำลังทหาร ๑๒๐,๐๐๐ คน<br />

พร้อมด้วยเรือรบ ๔๐๐ ลำ เข้าล้อมเมืองสิเรียม<br />

(Syriam) แต่กำแพงเมืองสิเรียมมีความมั่นคง<br />

(ได้รับการปรับปรุงใหม่) อย่างมาก จึงเป็นการ<br />

ยากที่กองทัพอังวะ (Ava) จะตีหักเข้าไปใน<br />

เมืองให้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว ประกอบกับปืน<br />

ใหญ่ในกองทัพกรุงอังวะ (Ava) มีขนาดเล็กกว่า<br />

ปืนใหญ่ประจำเมืองสิเรียม (Syriam) นอกจากนี้<br />

กองทัพกรุงอังวะ (Ava) ไม่มีทหารรับจ้างชาว<br />

โปรตุเกสอย่างในอดีตจึงขาดอำนาจการยิงใน<br />

การเข้าตี เจ้าเมืองสิเรียม (Syriam) ได้ส่งคน<br />

ไปซื ้อกระสุนดินดำปืนเพิ่มเติมที่เมืองเบงกอล<br />

(แต่ไม่ประสบความสำเร็จ) กองทัพพม่าแห่ง<br />

48 พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


ภาพวาดฟิลิป เดอ บริโต นิโคเต (Philip de Brito Nicote) เจ้าเมืองสิเรียม (Syriam) เป็นเมืองท่าที่สำคัญบริเวณปากแม่น้ำอิระวดี<br />

เป็นเจ้าเมืองนาน ๑๓ ปี<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

49


ภาพกราฟิกส์ของอาณาจักรพม่าในยุคที่สองราชวงศ์ตองอู ก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดของอ ำนาจ<br />

พ.ศ.๒๑๒๓ มีอาณาเขตที่ยิ่งใหญ่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในอดีต<br />

กรุงอังวะ (Ava) ล้อมเมืองสิเรียม (Syriam) อยู่<br />

นานถึง ๒ ปี แม้ว่าจะทุ่มกำลังทหารเข้าตีหลาย<br />

ครั้งก็ยังไม่สามารถที่จะหักเข้าเมืองได้ (ป้อม<br />

และหอรบมีความมั่นคงแข็งแรง)<br />

การรบใหญ่ที่เมืองสิเรียม (Syriam)<br />

เจ้าเมืองสิเรียม (Syriam) พยายามที่จะ<br />

ต่อสู้ให้ได้นานที่สุด โดยใช้ความได้เปรียบใน<br />

การตั้งรับจากกำแพงเมืองและขอความช่วย<br />

เหลือจากพันธมิตร เมืองกัว (Goa ตั้งอยู่ทาง<br />

ด้านตะวันตกของอินเดีย ทางด้านชายฝั่งทะเล<br />

อาระเบียน) เป็นที่ตั้งเมืองหลวงของอาณานิคม<br />

โปรตุเกสในอินเดีย โดยใช้เป็นสถานีการค้า<br />

และเดินเรือของชาวโปรตุเกสโดยอุปราช<br />

เมืองกัว (Goa) ได้ส่งเรือรบมาช่วย ๕ ลำ ได้มา<br />

จอดอยู่นอกเมืองประมาณ ๓ กิโลเมตร แต่ถูก<br />

เรือรบของพระเจ้ากรุงอังวะ (Ava) เข้ายึดได้ ๔ ล ำ<br />

และเรือรบอีกหนึ่งลำสามารถหลบหนีกลับ<br />

ไปยังเมืองกัว (Goa) กำลังทหารที่จะมาช่วย<br />

เหลือเมืองสิเรียม (Syriam) จากพันธมิตรจึง<br />

ไม่มี จำเป็นต้องต่อสู้ตามลำพัง<br />

กองทัพกรุงอังวะ (Ava) ได้ล้อมเมือง<br />

ต่อไปอีก ๓ เดือน พระมหาธรรมราชา (พระ<br />

เจ้าอนันกะเพตลุน) แห่งกรุงอังวะ (Ava) ทรง<br />

ยื่นข้อเสนอให้กับเจ้าเมืองสิเรียม (Syriam)<br />

ยอมแพ้ โดยให้สัญญาว่าจะให้เจ้าเมืองสิเรียม<br />

(Syriam) และครอบครัวเดินทางกลับไปยัง<br />

เมืองกัว (Goa) อย่างปลอดภัย แต่เจ้าเมือง<br />

สิเรียม (Syriam) ได้ปฏิเสธ ในที่สุดกองทัพ<br />

กรุงอังวะ (Ava) ทำการรุกโดยการขุดอุโมงค์<br />

ลอดใต้กำแพงเมือง จึงได้ส่งกำลังทหารเข้าไป<br />

ภายในตัวเมืองได้มีการต่อสู้ระยะใกล้หรือ<br />

ระยะประชิดอย่างรุนแรง สามารถเข้ายึดได้<br />

50<br />

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


เมืองสิเรียม (Syriam) ตั้งอยู่ปากแม่น้ำอิระวดี เป็นเมืองท่าที่สำคัญยิ่งในการติดต่อ<br />

ค้าขายกับต่างอาณาจักรจากยุโรป เป็นผลให้ท่าเรือจึงมีรายได้จากการค้าขายเป็นจำนวน<br />

มาก (ลูกศรชี้ เมืองสิเรียม)<br />

เมืองสิเรียม (Syriam) เมื่อเดือน ๕ ขึ้น ๗ ค่ำ<br />

ปีฉลู พ.ศ.๒๑๕๖ ทหารพม่าสามารถจับกุม<br />

เจ้าเมืองสิเรียม (Syriam) และเจ้าเมืองตองอู<br />

(นัดจินหน่อง) พระเจ้ากรุงอังวะ (Ava) ทรง<br />

นึกถึงเจ้าเมืองตองอู (นัดจินหน่อง) เป็นเชื้อสาย<br />

พระเจ้าบุเรงนอง ถ้าจะถวายสัตย์ว่าจะจงรัก<br />

ภักดีต่อพระองค์ เจ้าเมืองตองอู (นัดจินหน่อง)<br />

กราบบังคมทูลว่าพระองค์ได้เปลี่ยนศาสนา<br />

มาเป็นการนับถือศาสนาใหม่คือศาสนาคริสต์<br />

แล้ว ในที่สุดพระเจ้ากรุงอังวะ (Ava) แห่งพม่า<br />

มีรับสั่งให้ประหารชีวิตทั้งสองคน เจ้าเมือง<br />

สิเรียม (Syriam/Philip de Brito Nicote) ถูก<br />

เสียบทรมานประจานและเสียชีวิตในอีกสามวัน<br />

ต่อมา และมเหสี (ธิดาอุปราชเมืองกัว) และ<br />

ข้าราชบริพารถูกขายเป็นทาส<br />

พระเจ้ากรุงอังวะ (Ava) แห่งพม่าเมื่อรบ<br />

ชนะศึกที่เมืองสิเรียม (Syriam) ปี พ.ศ.๒๑๕๖<br />

ได้รับการยกย่องว่าเป็นกษัตริย์พม่าแห่ง<br />

ราชวงศ์ตองอูอย่างแท้จริง<br />

บทสรุป<br />

กองทัพพม่าจากกรุงอังวะยกกองทัพลง<br />

ใต้เข้าล้อมเมืองสิเรียม (Syeiam) แม้ว่าเมือง<br />

สิเรียม (Syriam) จะมีกำแพงเมืองที่แข็งแรงและ<br />

ได้รับการปรับปรุงใหม่ หลังการสิ้นพระชนม์<br />

ของพระเจ้านันทบุเรงที่เมืองตองอู เมืองต่างๆ<br />

แห่งลุ่มแม่น้ำอิระวดีต่างก็ได้แย่งชิงความเป็น<br />

ใหญ่ ศูนย์กลางอำนาจของอาณาจักรหงสาวดี<br />

จากราชวงศ์ตองอูเริ่มที่จะอ่อนกำลังลง จึงกลาย<br />

เป็นสงครามกลางเมืองของพม่าในยุคที่สอง<br />

พร้อมทั้งมีชาวโปรตุเกสเข้ามามีส่วนร่วมทาง<br />

ด้านการเมืองของพม่าทางตอนใต้ การแย่งชิง<br />

อำนาจเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาณาจักรพม่า<br />

แห่งหงสาวดี (Hanthawaddy) ในยุคที่สองก็<br />

ล่มสลายลงตามกาลเวลา<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

51


2 days English Camp<br />

พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ<br />

คำแนะนำในการเรียนภาษาต่าง<br />

มีนักวิชาการจำนวนมากที่ได้ให้<br />

ประเทศให้ได้ผล อย่างเช่น ๑. เริ่มต้น<br />

จากการฟังเยอะๆ ( Start with Listening)<br />

๒. พยายามจำเป็นภาพมากกว่าจำตัวอักษร ( Use<br />

Photographic Memory ) ๓. อย่ายึดติดกับหลัก<br />

ไวยากรณ์ ( Don’t focus only Grammar rules)<br />

๔. อย่าแปลเป็นไทยทุกครั้ง พยายามนึกเป็นภาษา<br />

อังกฤษจะได้ไม่เสียเวลา ( No Translation)<br />

๕. เปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เหมือนอยู่เมืองนอก<br />

(Change Environment) เป็นต้น<br />

เมื่อพูดคำว่าเปลี ่ยนสิ่งแวดล้อมให้เหมือน<br />

เมืองนอก หลายคนจึงส่งลูกหลานหรือส่งตัว<br />

เองไปหลักสูตรระยะสั้นที่ต่างประเทศ เช่น<br />

สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย หรือประเทศ<br />

ใดๆ ก็ตามที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ<br />

หลายครอบครัวที่ส่งลูกหลานไปเรียนในช่วง<br />

ภาคฤดูร้อนในประเทศใกล้ๆ บ้าน เช่น สิงคโปร์<br />

ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น เพราะค่าใช้<br />

จ่ายไม่สูงมากนัก ว่าไปแล้วการไปเรียนต่าง<br />

ประเทศไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้พัฒนาความรู้และ<br />

ทักษะภาษาอังกฤษได้ทุกคนหรอกนะคะ หรือจะ<br />

สามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วตาม<br />

ที่พ่อแม่คาดหวังเสมอไป ผู้เขียนสังเกตได้ว่า ยังมี<br />

นักเรียนไทยจำนวนมากที่ไปเรียนภาษาอังกฤษที่<br />

ต่างประเทศ แล้วอาจจะไม่สามารถพัฒนาความ<br />

รู้และทักษะด้านภาษาอังกฤษได้มากนัก ทำไมถึง<br />

พูดแบบนี้ เพราะผู้เขียนสังเกตว่า สิ่งแวดล้อมที่<br />

น้องๆ เหล่านั้นดำรงชีวิต ยังไม่เอื้ออำนวยให้มี<br />

เกิดกระบวนการในการเรียนรู้ หรือ พัฒนาภาษา<br />

อังกฤษในเชิงสื่อสารได้มากนัก เพราะน้องๆ คนไทย<br />

เหล่านั้น ยังไม่เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้เป็นเมืองนอก<br />

อย่างแท้จริงที่จะต้องสื่อสารกับเจ้าของภาษาจริง<br />

กล่าวคือ น้องๆ ส่วนใหญ่ยังใช้เวลาอยู่กับเพื่อนๆ<br />

ญาติๆ หรือ ชุมชนไทย กินอาหารไทย อยู่แถว<br />

เมืองไทยทาวน์ ( Thai Town) ดูรายการสารคดี<br />

เกมส์โชว์ รายการทีวีและละครไทยตลอดเวลา<br />

พอเข้าห้องเรียนก็ไม่กล้าพูด ไม่กล้าตอบ นั่งฟัง<br />

เงียบๆ กลับมาหอพักก็เจอเพื่อนร่วมห้องคนไทย<br />

ไปเที่ยวสถานที ่ต่างๆ ก็ไปเฉพาะกลุ่มคนไทย<br />

วันๆ แทบจะไม่พูดภาษาอังกฤษเลย พอจบ<br />

หลักสูตรกลับมาเมืองไทยและไม่ได้สื่อสารกับฝรั่ง<br />

อีกทำให้พูดภาษาอังกฤษไม่ได้คล่อง จึงเป็นที่ตั้ง<br />

คำถามว่า คนนี้ไปเรียนเมืองนอกมาแล้วทำไม<br />

พูดไม่ได้<br />

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้<br />

ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาบุคลากร<br />

ทางด้านภาษาอังกฤษให้สามารถรองรับการ<br />

52<br />

เข้าสู่ประชาคมอาเซียน จึงได้มีการจัดหลักสูตร<br />

ภาษาอังกฤษให้แก่กำลังพลในทุกระดับ กิจกรรม<br />

หนึ่งที่พยายามเปลี่ยนบรรยากาศให้ข้าราชการ<br />

และลูกจ้างได้มีโอกาสปัดฝุ่นและเพิ่มพูนความ<br />

รู้และทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษคือ<br />

กิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ (English Camp)<br />

โดย ศูนย์ภาษาต่างประเทศ กรมวิทยาศาสตร์<br />

และเทคโนโลยีกลาโหม ได้จัดขึ้นที่ โรงแรม<br />

พัทยาปาร์ค จังหวัดชลบุรี ในระหว่างวันที่<br />

๒๕ – ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เพื ่อเป็นการเปลี่ยน<br />

บรรยากาศและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเป็นการ<br />

กระตุ้นให้ผู้เรียนที่เป็นวัยทำงานหรือ วัยผู้ใหญ่ได้<br />

เรียนรู้ ฟื้นฟูและพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ<br />

เพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ตลอดจนการ<br />

เตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน<br />

ต่อไปและเพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพที่ชัดเจนมาก<br />

ขึ้นว่าการจัดกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษเพียงสอง<br />

วันจะได้อะไรบ้าง กรุณาอ่านตามอาจารย์วันดี<br />

เลยค่ะ<br />

วันแรก คือ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๘<br />

เวลา ๐๖๐๐ คณะผู้เข้าร่วมกิจกรรม เดินทางการ<br />

ออกจากสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถนนศรี<br />

สมาน หลังจากรับประทานอาหารเช้าคือ แซนวิช<br />

กับน้ำส้ม เพื่อลิ้มรสชาติอาหารแบบตะวันตก<br />

เรียบร้อยแล้ว การเรียนภาษาอังกฤษก็เปิดฉากในรถ<br />

โดยเริ่มจากการศึกษาสำนวนภาษาอังกฤษที่นิยม<br />

ใช้ในชีวิตประจำวัน การฝึกการสร้างประโยค<br />

พื้นฐานที่จะช่วยทำให้ผู้เรียนได้จำประโยคและ<br />

ลองศึกษาด้วยตนเองและหัดถาม ตอบกับคน<br />

ที่นั่งใกล้ในรถบัส เช่น<br />

๑. คำถามทั่วไป<br />

* How are you doing? คุณสบายดีไหม<br />

* What is your name? คุณชื่ออะไร<br />

* Where are you from? – คุณมาจากไหน<br />

* What is your nickname? คุณชื่อเล่นชื่ออะไร<br />

* What do you do? คุณทำงานอะไร<br />

* Where do you work? คุณทำงานที่ไหน<br />

* Which unit do you work? คุณทำงานหน่วยไหน<br />

* What is your rank? คุณยศอะไร<br />

* What sports do you like? คุณชอบกีฬาอะไร<br />

* Nice to see you again? ดีใจที่ได้เจอคุณอีกครั้ง<br />

๒. ฝึกออกเสียงเพื่อปรับระดับเสียง ตั้งแต่การ<br />

ออกเสียง a-z ฝึกการนับเลข one – ten และ<br />

ฝึกการออกเสียงแบบที่ต้องพูดรัวๆ จนลิ้นแทบ<br />

พันกัน เราเรียกว่า Tongue Twister ถ้าภาษา<br />

ไทย ก็เช่น ทหารถือปืนแบกปูนไปโบกตึก กิน<br />

ลำไย น้ำลายยายไหล หรือ รถยนต์ล้อยาง รถราง<br />

ล้อเหล็ก เป็นต้น ส่วนภาษาอังกฤษที่ให้ฝึกเพื่อ<br />

บริหารลิ้นระหว่างเดินทาง เช่น<br />

1. “ Fresh fried fish, fish fresh fried, fried fish<br />

fresh, fish fried fresh.”<br />

2. “ I can think of six thin things, but I can think<br />

of six thick things too.”3. “ If two witches were<br />

watching two watches, which witch would<br />

watch which watch? “4. “ Give papa a cup<br />

of proper coffee in a copper coffee cup.”<br />

5. “ I scream you scream we all scream for<br />

ice cream...”<br />

เวลาประมาณ ๐๙๓๐ คณะเดินทางมา<br />

ถึงโรงแรม และเข้าร่วมพิธีเปิดการจัดกิจกรรม<br />

อย่างเป็นทางการ ในการทำกิจกรรมครั้งนี้ทางผู้<br />

จัดได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างดี จาก มร.นีลส์<br />

โคลอฟ ประธานบริษัท พัทยาพีเพิล มีเดีย กรุ๊ป<br />

เป็นบริษัทจัดทำสื่อวิทยุ โทรทัศน์และสื่อสังคม<br />

ออนไลน์ในเมืองพัทยา ได้กรุณานำคณะเจ้าหน้าที่<br />

ชาวต่างชาติมาต้อนรับและร่วมจัดกิจกรรมฝึกพูด<br />

ภาษาอังกฤษ ช่วงแรก ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้ฟัง<br />

คุณ นีลส์ พูดกล่าวต้อนรับเป็นภาษาอังกฤษ<br />

พันเอกหญิงวันดี โตสุวรรณ


บางคนนั่งยิ้ม บางคนนั่งขมวดคิ้ว บางคนกระชิบ<br />

ถามเพื ่อนข้างๆ รู้เรื ่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง แต่พอ<br />

สังเกตได้ว่า พลังการต่อสู้เพื่อฝึกฝนภาษาอังกฤษ<br />

ของแต่ละคนได้เริ่มขึ้นแล้ว<br />

เวลา ๑๐๓๐ คุณแบรี่ อัพตั้น (Mr. Barry<br />

Upton) และคุณ มีแกน สปีคแมน (Ms. Megan<br />

Speakman) ผู้จัดการจัดทำสื่อโทรทัศน์ วิทยุ<br />

และผู้สื่อข่าว ได้มาแนะนำตัวเองและฝึกให้ผู้เข้า<br />

ร่วมกิจกรรม ออกมาแนะนำตัวเป็นภาษาอังกฤษ<br />

และฝึกการพูดโดยให้มองไปที่กล้องถ่ายรูปและ<br />

พูดแนะนำตัวเป็นภาษาอังกฤษช้า ๆ เช่น Good<br />

morning, I’m Lieutenant Colonel Thitikajee<br />

Bijaphala, Chief of the Training and Section,<br />

Science and Technology Development<br />

Division, Defence Science and Technology<br />

Department. I am glad to attend the<br />

English camp today.<br />

( สวัสดีค่ะ ดิฉัน พันโทหญิง ฐิติขจี พีชผล<br />

หัวหน้าแผนกวิชาการและฝึกอบรม กองส่ง<br />

เสริมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรม<br />

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม รู้สึกดีใจมาก<br />

ที่ได้ร่วมกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษในวันนี้)<br />

กิจกรรมนี้ สร้างความสนุกสนาน ผสมความกล้าๆ<br />

กลัวๆ บางคนกล้า แต่ออกเสียงผิด บางคนออก<br />

เสียงได้ดีแต่อายไม่กล้า แต่ในที่สุดทุกคนก็ได้มี<br />

โอกาสได้ฝึกแนะนำตัวเองผ่านกล้องโทรทัศน์<br />

ทำให้มื้อเที ่ยงวันทั้งต่างคนก็ต่างคุยว่า ตื่นเต้น<br />

แค่ไหน<br />

เวลา ๑๓๐๐ เป็นการฝึกภาคสนาม โดยผู้<br />

เข้าร่วมกิจกรรมจะต้องไปสัมภาษณ์อาสาสมัคร<br />

ตำรวจชาวต่างประเทศ หรือเราเรียกว่า Foreign<br />

Police Volunteer หรือชื่อย่อว่า FPV ณ สถานี<br />

ตำรวจภูธร เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยแบ่งผู้<br />

เข้าร่วมกิจกรรมออกเป็น ๗ กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่ม<br />

จะต้องคิดประโยคภาษาอังกฤษเพื่อนำข้อมูลมา<br />

นำเสนอหน้าชั้นในวันที่สอง ประโยคที่ให้ผู้เข้ารับ<br />

การอบรมเป็นตัวอย่าง เช่น<br />

* Where are you from? คุณมาจากประเทศไหน<br />

* How long have you been in Thailand?<br />

อยู่ประเทศไทยนานแค่ไหน<br />

* Why do you prefer to settle down in Pattaya?<br />

ทำไมเลือกที่จะมาอยู่ที่พัทยา<br />

* How can you join FVP?<br />

คุณมาเป็นตำรวจอาสาสมัครได้อย่างไร<br />

* What kind of Thai food do you like?<br />

คุณชอบอาหารไทยชนิดไหน<br />

* What kind of music do you like?<br />

คุณชอบดนตรีแนวไหน<br />

* Who is your favorite star?<br />

ดาราคนโปรดของคุณคือใคร<br />

วันที่สอง คือ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๘<br />

เวลา ๐๙๐๐ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในเสื้อสีโอโรส<br />

ปักสัญลักษณ์ English camp มาพร้อมกันในห้อง<br />

อบรมด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส โดยกิจกรรมใน<br />

เช้าวันนั้น คุณแบรี่พร้อมกีตาร์คู่ใจที่เขาเคยเป็นนัก<br />

ร้องชื ่อดังในอังกฤษ มาสร้างบรรยากาศการเรียน<br />

ภาษาด้วยการร้อง เล่น เต้นรำ สร้างบรรยากาศ<br />

ยามเช้าที่เต็มไปด้วยพลังและความเบิกบาน<br />

จากนั ้นสมาชิกแต่ละกลุ่มก็ออกมานำเสนอผลงาน<br />

ที่ได้ไปสัมภาษณ์อาสาสมัครตำรวจชาวต่างชาติ<br />

แสดงรูปภาพและเล่าเรื่องราวของแต่ละคนได้<br />

อย่างภาคภูมิใจกับผลงานที่ได้ร่วมกันทำ แน่นอน<br />

ผู้ที่นำเสนอ อาจจะใช้ภาษาอังกฤษผิดบ้างแต่ก็<br />

สามารถสื่อสารและฟังเข้าใจ ที่สำคัญคือ พวกเขา<br />

ทั้งหลายสามารถสื่อสาร พูดคุย จนนำข้อมูลมาเล่า<br />

สู่กันฟังด้วยน้ำเสียง ลีลาและภาพที่นำเสนอได้<br />

อย่างดี แค่นี้ก็พอใจแล้ว ซึ่งหลังจากการนำเสนอ<br />

ของแต่ละกลุ่ม วิทยากรและอาจารย์ได้ช่วยกันให้<br />

ข้อแนะนำและเสริมหลักการใช้ภาษาเพิ่มเติมเพื่อ<br />

ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจและสามารถนำความรู้<br />

ที่ได้เรียนมา ไปฝึกฝนต่อไป<br />

เวลา ๑๕๐๐ เป็นช่วงพิธีปิด ผู้เข้าร่วม<br />

กิจกรรมได้กล่าวขอบคุณเป็นภาษาอังกฤษ ถึง<br />

แม้ว่าจะใช้คำง่ายๆ พูดช้าๆ แต่ครูทุกคนรู้ว่า<br />

พวกเขาทั้งหลายประทับใจการเข้าค่ายสองวันนี้<br />

จริงๆ และเราลองมาอ่านความคิดเห็นของคุณ<br />

แบรี่ (Barry Upton) บ้างค่ะ ว่าเขารู้สึกอย่างไร<br />

กับค่ายภาษาอังกฤษที ่จัดโดยสำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม The English Camp held at<br />

the Pattaya park hotel and Pattaya Police<br />

Station was in my eyes a big success. The<br />

students took advantage of the break in<br />

routine to get energized about their need<br />

to speak better English. I hope we helped<br />

to show some of the ways to present<br />

better to the public via TV media and also<br />

how to better communicate. The music<br />

and songs made a big impression as it<br />

serves to help them find ways to improve<br />

English language skills in a fun way. I was<br />

impressed again by Colonel Wandee’s<br />

approach and “ motherly ” nature to her<br />

students who respond accordingly to her<br />

good nature. It was a pleasure to be part<br />

of the English Camp and I look forward<br />

to helping more whenever I can in the<br />

future.<br />

เวลา ๑๘๐๐ คณะนักเรียนและผู้จัด<br />

ค่ายภาษาอังกฤษเดินทางมาถึงสำนักงานปลัด<br />

กระทรวงกลาโหม โดยสวัสดิภาพ ขอขอบคุณ<br />

ผู้ใหญ่ใจดี ขอบคุณผู้ร่วมงาน ขอบคุณพลขับและ<br />

ขอบคุณผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน ค่ะ See you<br />

again next year<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

53


สาระน่ารู้ทางการแพทย์<br />

“โรคออฟฟิศ ซินโดรม”<br />

สำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

โ<br />

รคออฟฟิศซินโดรม คือ โรคจากการ<br />

นั่งทำงานในท่าที่ผิดเป็นเวลานาน<br />

เช่น นั่งหลังงอ หลังค่อม คุณก็จะเกิด<br />

อาการปวดหลัง หรือ การก้มหน้าโดยไม่รู้ตัว<br />

เพราะต้องมองหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ คอ<br />

คุณก็จะปวด และเราจะเรียงลำดับอาการดังนี้<br />

คือ อาการปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง ปวดข้อมือ<br />

นิ้วล๊อค ตาพร่ามัว แพ้แสง ตาแห้ง และปวดศีรษะ<br />

ไมเกรน รวมถึงการแพ้อากาศด้วย เพราะส่วน<br />

ใหญ่คนทำงานออฟฟิศ จะนั่งรวมกันในห้อง<br />

หลายคน และอยู่แต่ในตึกอากาศจึงไม่ถ่ายเท<br />

คุณจึงควรหาวิธีออกกำลังกายเพื่อผ่อนคลาย<br />

และแก้ไขอาการแต่เนิ่นๆ<br />

งานวิจัยบ่งชี้ การนั่งทำงานนานเป็นเวลา<br />

ติดต่อกันหลายชั่วโมง ส่งผลเสียต่อสุขภาพ โรคภัย<br />

รุมเร้า เสี่ยงพิการ แต่การเปลี่ยนอิริยาบถทุก<br />

๒๐ นาที จัดท่านั่งให้เหมาะสม รวมถึงการ<br />

ออกกำลังกาย สามารถลดปัจจัยเสี่ยงของ<br />

โรคได้ รู้ไหมว่าการที่เรานั่งทำงานนานติดต่อ<br />

กันหลายชั่วโมง ทำให้สุขภาพเราแย่ขนาด<br />

ไหน ลองมาดูรายงานจากเว็บไซต์เดลี่เมลของ<br />

อังกฤษกันดีกว่า ซึ่งเปิดเผยผลวิจัยที่ตีพิมพ์ลง<br />

ในนิตยสาร Physical Activity & Health ของ<br />

สหรัฐฯ ว่า การที่เรานั่งทำงานนานจนเกินไป<br />

หรือนั่งติดต่อกันนานเกิน ๑๒ ชั่วโมงต่อวัน<br />

ทำให้ร่างกายของเรามีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิด<br />

ปัญหาด้านสุขภาพหลายประการ และทำให้<br />

เกิดความเสี่ยงต่อการพิการมากถึงร้อยละ ๕๐<br />

โดย ศาสตราจารย์ มาร์ก ไวท์ลีย์ จากไวท์ลีย์<br />

คลินิก ที่เวสท์ลอนดอน ได้อธิบายว่า การนั่ง<br />

นานๆ นั้นจะทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียน<br />

ออกจากขาขึ้นมาสู่หัวใจได้ ทำให้เส้นเลือดดำ<br />

ในขาและเท้ามีความดันโลหิตสูงตลอดเวลา<br />

และเมื่อผนังของเส้นเลือดดำได้รับแรงดันสูง<br />

ตลอดเวลา โปรตีนและของเหลวบางชนิดอาจ<br />

รั่วไหลไปยังเนื้อเยื่อจนส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้<br />

นอกจากนี้จากการไหลเวียนของเลือดที่ขาลด<br />

ลง ยังสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการอุดตันของ<br />

เส้นเลือดได้อีกด้วย เช่น โรคหลอดเลือดดำอุดตัน<br />

(DVT) เป็นต้น<br />

ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ มาร์ก ไวท์ลีย์ ได้<br />

แนะนำว่า การที่เราแกว่งเท้า หรือลุกขึ้นเดิน<br />

เปลี่ยนอิริยาบถ ทุกๆ ๒๐ นาที จะสามารถช่วย<br />

ในด้านการไหลเวียนของเลือดได้<br />

นอกจากปัญหาด้านการไหลเวียนของ<br />

เลือดแล้ว การที่เรานั่งทำงานอยู่กับที่เป็นเวลา<br />

นานหลายชั่วโมงติดต่อกันนั้น ยังสามารถนำ<br />

มาซึ่งปัญหาสุขภาพร้ายหลายๆ ประการอีก<br />

ด้วย ดังนี้<br />

น้ำตาลในเลือดสูง<br />

มาร์ก แวนเดอร์พัมพ์ วิทยากรอาวุโสด้าน<br />

โรคเบาหวานและต่อมไร้ท่อ จาก Royal Free<br />

London NHS Foundation Trust เผยว่า<br />

54<br />

สำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


การนั่งนานเกินไปโดยไม่มีการเคลื่อนไหว<br />

ร่างกายเป็นเวลานาน อาจทำให้เราเกิดการ<br />

ต่อต้านอินซูลินได้ และนำเราไปสู่โรคเบาหวาน<br />

ชนิดที ่ ๒ อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหว เล็กๆ<br />

น้อยๆ จะสามารถช่วยเพิ่มระดับการทำงาน<br />

ของอินซูลินที่กระทำต่อกลูโคส และช่วยระบบ<br />

กล้ามเนื้อได้<br />

ท้องผูก<br />

แอนตัน เอ็มมานูเอล ที่ปรึกษาด้านระบบ<br />

ทางเดินอาหารจาก University College<br />

Hospital ในกรุงลอนดอน อังกฤษ เปิดเผยว่า<br />

การที่เราไม่เคลื่อนไหวเป็นเวลานานนั้นจะ<br />

ทำให้เราเกิดอาการท้องผูกได้ เพราะเมื่อเรา<br />

นั่งนานๆ จะส่งผลให้การบีบหดตัวของลำไส้<br />

ลดลง เป็นผลให้อุจจาระแห้งแข็งและถ่ายออกได้<br />

ยาก และอาการนี้จะเกิดขึ้นภายใน ๒๔ ชั่วโมง<br />

หากมีการนั่งอยู่กับที่นานๆ อย่างไรก็ตาม เรา<br />

สามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการออกกำลังกาย<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

เบาๆ สัก ๑๐ นาทีต่อวัน เช่นการเดินบันได<br />

ขึ้นลงในที่ทำงาน<br />

ปวดศีรษะ<br />

แซมมี่ มาร์โก้ นักกายภาพบำบัด กล่าวว่า<br />

การที่เรานั่งทำงานอยู่ที่โต๊ะทำงานเป็นเวลา<br />

นาน จะทำให้ศีรษะ คอ หลัง และไหล่ของเรา<br />

เกิดการงอตัวเป็นรูปตัว C ซึ่งจะทำให้เราเกิด<br />

อาการปวดศีรษะได้ นอกจากนี้ การงอตัวนี้<br />

ยังส่งผลกระทบต่อไหล่ ทำให้มีอาการปวดไหล่<br />

ไหล่แข็ง หรือเคลื่อนไหวได้น้อยลงอีกด้วย โดย<br />

แซมมี่ ได้ให้คำแนะนำว่า ท่านั่งที่ดีนั้นควรจะนั่ง<br />

ให้บั้นท้ายชิดส่วนในสุดของเก้าอี้ หลังติด<br />

พนักพิง และเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยที่หลัง<br />

ส่วนกลางและส่วนบนนั้น สามารถทำได้ด้วย<br />

การเอื้อมมือทั้ง ๒ ข้างไปจับกันไว้ด้านหลัง เพื่อ<br />

ช่วยกู้คืนลักษณะการขดตัวรูปตัว C โดยให้ทำ<br />

ในทุกๆ ชั่วโมงของการทำงาน<br />

หัวเข่าเสื่อม<br />

เราอาจจะคิดว่าโรคข้อเข่าเสื่อมมัก<br />

จะเกิดขึ้นในคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ<br />

มากกว่า แต่ผู้เชี่ยวชาญได้เปิดเผยว่า การนั่งนาน<br />

เกินไปนั ้นยังมีส่วนเชื่อมโยงสู่อาการหัวเข่า<br />

เสื่อมเช่นกัน เพราะการไม่ได้เคลื่อนที่เป็น<br />

เวลานานนั้นได้นำไปสู่โรคอ้วน และมวลของ<br />

ร่างกายที่เพิ่มขึ้นก็ส่งผลให้เกิดความดันที่<br />

ข้อต่อมากขึ้น นอกจากนี้การไม่ได้ใช้งานกล้าม<br />

เนื้อเป็นระยะเวลานานยังอาจนำไปสู่ภาวะ<br />

กล้ามเนื้ออ่อนแรงอีกด้วย โดย ฟิลิปส์ โคนาแกน<br />

ศาสตราจารย์ด้านกล้ามเนื้อและกระดูก ที่มหา<br />

วิทยาลัยลีดส์ กล่าวว่า ให้ลองสังเกตดูว่า หาก<br />

เราต้องใช้แขนของเราช่วยยันในขณะที่ลุกขึ้น<br />

จากเก้าอี้ นั่นหมายถึงกล้ามเนื้อต้นขาของเรา<br />

เริ่มอ่อนแรงลงแล้ว<br />

มะเร็งลำไส้ใหญ่<br />

นักวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย<br />

เวสเทิร์น ออสเตรเลีย พบว่า ผู้ที่ทำงานประจำ<br />

เป็นเวลานานกว่า ๑๐ ปี มีโอกาสที่จะเกิดเนื้อ<br />

งอกที่ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายมากกว่าถึง ๒ เท่า<br />

และร้อยละ ๔๔ ของผู้ป่วยก็มีโอกาสพัฒนา<br />

กลายมาเป็นมะเร็งได้ อย่างไรก็ตาม ยังคงมี<br />

ปัจจัยอีกหลายประการเช่นกันที่จะทำให้ผู้ที่<br />

นั่งติดเก้าอี้นานๆ เกิดความเสี่ยงต่อการเป็น<br />

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่<br />

วันนี้เรามีวิธีป้องกันและแก้ไขแบบง่ายๆ<br />

ทำได้ทันทีมาฝาก<br />

ท่าที่ ๑ ให้นั่งหลังตรง ประสานมือ และ<br />

ดันมือยืดมาด้านหน้า เป็นการยืดกล้ามเนื้อ<br />

บริเวณหัวไหล่ และคอไปพร้อมกัน ทำค้าง<br />

ไว้ ๑๐ วินาที ผ่อนคลาย และหายใจเข้าออก<br />

เป็นปกติ<br />

ท่าที่ ๒ หายใจเข้า ประสานมือเข้ามา<br />

ที่หน้าอก เงยหน้าขึ้น ๔๕ องศา กางศอกไป<br />

ด้านข้างให้สุดหายใจเข้าออกค้างไว้ ๑๐ วินาที<br />

ท่านี้จะเป็นการบริหารกล้ามเนื้อบริเวณคอ<br />

และทำให้กล้ามเนื้อคอแข็งแรงด้วย<br />

ท่าที่ ๓ หายใจออก คราวนี้กำมือแล้ว<br />

ยืดมือไปด้านหน้า ก้มหน้าลงให้คางติดลำตัว<br />

ให้มากที่สุด หลังตรง และหายใจเข้าออกเป็น<br />

ปกติ ค้างไว้ ๑๐ วินาที จากนั้นให้คุณย้อนกลับ<br />

ไปทำท่าที่ ๑, ๒ และ ๓ วนไปเรื่อยๆ จนรู้สึก<br />

สบายต้นคอ ที ่สำคัญอย่าเกร็ง ให้ทำแบบผ่อน<br />

คลายที ่สุด และทำอย่างช้าๆ ไม่ต้องรีบ ต่อมา<br />

ให้ทำท่าต่อไปนี้เพื่อยืดกล้ามเนื้อตรงบริเวณ<br />

หัวไหล่ และสะบัก<br />

ท่าที่ ๔ ให้นั่งหลังตรง เอามือกอดตัว<br />

เองจนแน่น (แต่ไม่เกร็ง) แล้วใช้มือดึงหัวไหล่<br />

ให้โน้มมาด้านหน้า จากนั้นให้หันหน้าไปทาง<br />

ซ้าย หายใจเข้าออกเป็นปกติ ค้างไว้ ๑๐ วินาที<br />

เสร็จแล้วหันไปฝั่งตรงข้ามช้าๆ แล้วค้างไว้อีก<br />

๑๐ วินาที จากนั้นให้ทำซ้ำอีกสัก ๒ – ๓ ครั้ง<br />

หรือจะวนกลับไปทำท่าที่ ๑, ๒ และ ๓ ร่วม<br />

ด้วยก็ได้ ทั ้งหมดนี้ เป็นท่าบริหารและเหยียด<br />

ยืดกล้ามเนื้อบริเวณ คอ บ่า ไหล่ และสะบัก<br />

ซึ่งแทบจะทุกคนที่ทำงานออฟฟิศ จะมีอาการ<br />

ปวดเมื่อยบริเวณนี้เป็นประจำ<br />

เมื ่อจำท่าทั้งหมดได้และทำอย่างต่อเนื่อง<br />

ช้าๆ เบาๆ ที ่สำคัญ ต้องไม่เกร็งกล้ามเนื้อส่วน<br />

ใดเลย คุณก็จะรู้สึกผ่อนคลาย และสามารถ<br />

บรรเทาอาการปวดลงอย่างเห็นได้ชัด ไม่เชื่อ<br />

ลองทำดู<br />

55


พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี<br />

และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็น<br />

ประธาน ในการประชุมคณะหัวหน้าส่วนราชการ<br />

ระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า ครั้งที่ ๓/๒๕๕๘<br />

ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมี พลเอก ศิริชัย<br />

ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหมเข้าร่วมประชุม<br />

ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ ๔ กระทรวงการคลัง<br />

ถ.พระราม ๖ เมื่อ ๓ มิ.ย.๕๘<br />

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ นายฟรานเชสโก ซาเวริโอ นิซิโอ<br />

(Francesco Saverio Nisio) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิตาลีประจำประเทศไทย ในโอกาสเข้าเยี่ยมคำนับและหารือข้อราชการ ณ ห้องรับรอง<br />

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อ ๔ มิ.ย.๕๘<br />

56


พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายก<br />

รัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

ให้การต้อนรับ พลเรือเอก Jung, Ho - Sub<br />

ผู้บัญชาการทหารเรือสาธารณรัฐเกาหลี<br />

ในโอกาสเข้าเยี่ยมคำนับและหารือข้อราชการ<br />

ณ ห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม<br />

เมื่อ ๙ มิ.ย.๕๘<br />

พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีปิดทอง “พระพุทธไตรเสนากลาโหมพิทักษ์” โดยมี นายทหารชั้นผู้ใหญ่<br />

ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมร่วมพิธี ณ มณฑลพิธีวัดปริวาสราชสงคราม ถ.พระราม ๓ เขตยานนาวา เมื่อ ๕ มิ.ย.๕๘<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

57


พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม รับมอบเครื่องแต่งกายเหล่าทหารเรือ พร้อมเครื่องหมายยศจาก พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์<br />

ผู้บัญชาการทหารเรือ ในโอกาสที ่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานยศ โดยมีรองปลัดกระทรวงกลาโหมและ<br />

นายทหารชั้นผู้ใหญ่ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมร่วมพิธี ณ ห้องสนามไชย ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๒๗ พ.ค.๕๘<br />

พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม และนางพรวิมล ดิษฐกุล นายกสมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

รับมอบเครื่องหมายความสามารถในการบินชั้นกิตติมศักดิ์ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์และสนับสนุนภารกิจของกองทัพอากาศ จาก<br />

พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง ผู้บัญชาการทหารอากาศ ณ ห้องรับรองกองทัพอากาศ เมื่อ ๒๐ พ.ค.๕๘<br />

58


พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม รับมอบทุนการศึกษาสำหรับบุตร-ธิดา ข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

จาก พลเอก วีระกูล ทองมา อุปนายกสมาคมจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมทั้งให้พรกับคณะนักกีฬาจักรยานและ<br />

เจ้าหน้าที่ที่จะเดินทางเข้าร่วมแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ ๒๘ เมื่อ ๕ มิ.ย.๕๘ ณ ห้องสนามไชย ภายในศาลาว่าการกลาโหม<br />

พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในการรับฟังการบรรยายสรุปจาก กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรม<br />

ป้องกันประเทศและพลังงานทหาร โดยมี รองปลัดกระทรวงกลาโหม และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมเข้าร่วม<br />

ณ กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร เขตราชเทวี เมื่อ ๒๖ พ.ค.๕๘<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

59


พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม ตรวจความคืบหน้าโครงการพัฒนาพื ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ สะพาน<br />

สมเด็จพระปิ่นเกล้า ถึง สะพานพระราม ๗ เพื่อจัดทำเป็นจุดชมวิวและพื้นที่นันทนาการแห่งใหม่ของกรุงเทพมหานคร โดยมี นายทหาร<br />

ชั้นผู้ใหญ่ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมร่วมคณะ เมื่อ ๑๒ พ.ค.๕๘<br />

พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานรับมอบทุน<br />

การศึกษาจาก คุณโสภณ กล้วยไม้ ณ อยุธยา ที่ปรึกษาบริหารธุรกิจทหาร<br />

ธนาคารทหารไทยจำกัด (มหาชน) จำนวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อนำไป<br />

มอบให้กับบุตรข้าราชการของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ประจำปี<br />

๒๕๕๘ ณ ห้องสนามไชย ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๑๒ พ.ค.๕๘<br />

พลอากาศเอก ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ์ รองปลัดกระทรวง<br />

กลาโหม เป็นประธานในการสัมมนาเสริมสร้างเครือข่ายการ<br />

ป้องกันและปราบปรามการทุจริต ณ ห้องพินิตประชานาถ ภายใน<br />

ศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๓ มิ.ย.๕๘<br />

60


พลเอก ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ รองปลัดกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ พันเอก Dang Thanh Tien ผู้ช่วยทูตทหารสาธารณรัฐสังคมนิยม<br />

เวียดนามประจำประเทศไทย ในโอกาสเข้าเยี่ยมคำนับและหารือข้อราชการ ณ ห้องขวัญเมือง ภายในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๒ มิ.ย.๕๘<br />

พลโท สุวโรจน์ ทิพย์มงคล เจ้ากรมกรมการเงินกลาโหม<br />

เป็นประธานในการทอดผ้าป่าสามัคคี และกิจกรรมปลูกต้นไม้<br />

เนื่องในวันต้นไม้ประจำปีของชาติพ.ศ.๒๕๕๘ ณ วัดโคก อ.บางปะหัน<br />

จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อ ๗ มิ.ย.๕๘<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

61


กิจกรรมสมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม<br />

นางพรวิมล ดิษฐกุล นายกสมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมงานพิธีปิดทอง “พระพุทธไตรเสนากลาโหมพิทักษ์”<br />

ณ มณฑลพิธีวัดปริวาสราชสงคราม ถ.พระราม ๓ เขตยานนาวา เมื่อ ๕ มิ.ย.๕๘<br />

นางพรวิมล ดิษฐกุล นายกสมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม นำคณะกรรมการสมาคมฯ ทัศนศึกษาศิลปวัฒนธรรม<br />

ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา (จ.นนทบุรี) ณ พิพิธภัณฑ์จังหวัดนนทบุรี / ศาลเจ้าแม่ทับทิม / วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร / วัดแคนอก /พุทธสถาน<br />

เชิงท่า-หน้าโบสถ์ / วัดใหญ่สว่างอารมณ์ / วัดบางจาก / วัดเสาธงทอง / วัดปรมัยยิกาวาส เมื่อ ๒๑ พ.ค.๕๘<br />

62


นางพรวิมล ดิษฐกุล นายกสมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสมาคมฯ<br />

ณ ห้องประชุม ชั้น ๖ อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (ศรีสมาน) เมื่อ ๑๙ พ.ค.๕๘<br />

นางอนรรฆมณี โชคคณาพิทักษ์ อุปนายกสมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และคณะกรรมการสมาคมฯ ร่วมงาน<br />

วันคล้ายวันสถาปนา ๔๐ ปี สมาคมภริยาทหารเรือ ณ ห้องเจ้าพระยา หอประชุมกองทัพเรือ เมื่อ ๑๘ พ.ค.๕๘<br />

หลักเมือง กรกฎาคม ๒๕๕๘<br />

63


นางอนรรฆมณี โชคคณาพิทักษ์ อุปนายกสมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม นำคณะกรรมการสมาคมฯ เลี้ยงอาหาร<br />

กลางวันน้องๆ “ร่วมใจผูกพันธ์แบ่งปันเพื่อสังคม” ณ มูลนิธิเด็ก พุทธมณฑลสาย ๔ อ.สามพราน จ.นครปฐม เมื่อ ๑๘ มิ.ย.๕๘<br />

นางธัญรัศม์ อาจวงษ์ อุปนายกสมาคมภริยาข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และคณะกรรมการสมาคมฯ รับฟังการบรรยาย<br />

ผลิตภัณฑ์ ของบริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ ณ ห้องประชุมชั้น ๑๐ ที่ทำการสมาคมภริยาข้าราชการ สป. (แจ้งวัฒนะ) เมื่อ ๑๙ มิ.ย.๕๘<br />

64


พลอากาศเอก ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ์<br />

รองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีเปิด<br />

การอบรมสัมมนาสถานีวิทยุกระจายเสียง<br />

สาธารณะด้านความมั่นคงเครือข่ายสำนักงาน<br />

ปลัดกระทรวงกลาโหม และ พลตรี ณภัทร สุขจิตต์<br />

เลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น<br />

ประธานในพิธีปิด ณ โรงแรม เดอะ รอยัล เจมส์<br />

กอล์ฟ รีสอร์ท จ.นครปฐม ระหว่างวันที่ ๒๗ –<br />

๒๙ พ.ค.๕๘<br />

พลเอก นพดล ฟักอังกูร เจ้ากรม<br />

เสมียนตรา เป็นประธานในพิธีเปิด<br />

โครงการจิตสำนึกรักเมืองไทย ปี ๗<br />

ประจำปี ๒๕๕๘ ซึ่งจัดโดย สำนักงาน<br />

เลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงโหม<br />

ณ ห้องยุทธนาธิการ ภายในศาลาว่าการ<br />

กลาโหม เมื่อ ๒๑ พ.ค.๕๘


Defence Technology Institute (Public Organisation)<br />

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน)<br />

เปิดรับสมัครบุคลากร<br />

เพื่อคัดเลือกเป็นเจ้าหน้าที่ ปี ๕๘<br />

ครั้งที่ ๖ จำานวน ๑๑ อัตรา<br />

ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๑๕ ก.ค. ๕๘<br />

๑. นักวิจัย (Control Engineering) ฝ่ายวิศวกรรมระบบ ๑ อัตรา<br />

๒. นักวิจัย (Control System) ส่วนงานวิศวกรรมควบคุมและการสื่อสาร ๑ อัตรา<br />

๓. นักวิจัย (Flight Control System Integration) ส่วนงานวิศวกรรมอากาศยาน ๑ อัตรา<br />

๔. นักวิจัย (System Integration) ส่วนงานวิศวกรรมระบบขับเคลื่อน ๑ อัตรา<br />

๕. นักวิจัย (Explosive) ส่วนงานวิศวกรรมวัตถุระเบิดฯ ๑ อัตรา<br />

๖. นักวิจัย (Mechanical) ส่วนงานวิศวกรรมวัตถุระเบิดฯ ๑ อัตรา<br />

๗. นักวิจัย (Network Analyst) ส่วนงานระบบเครื่องช่วยฝึกเสมือนจริง ๑ อัตรา<br />

๘. นักพัฒนา ส่วนควบคุมคุณภาพและการมาตรฐาน ๑ อัตรา<br />

๙. นักบริหารโครงการ ๒ อัตรา<br />

๑๐. เจ้าหน้าที่แผนและงบประมาณ ๑ อัตรา<br />

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและ<br />

ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.dti.or.th<br />

ยื่นใบสมัครพร้อมเอกสารประกอบการสมัครด้วยตัวเอง<br />

ในวันและเวลาราชการที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล<br />

หรือทาง e.mail : recruitment@dti.or.th<br />

สอบถามข้อมูลได้ที่ โทร. ๐-๒๙๘๐-๖๖๘๘ ต่อ ๑๑๓๔,๑๑๓๓

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!