07.06.2013 Views

Mettadham.pdf

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

เมตตาธรรม<br />

สายธารอันฉ่ำเย็นแห่งรักและการุณย์ที่เป็นต้นทุนแห่งสันติภาพ<br />

ว.วชิรเมธี<br />

METTA1-22.indd 1 4/26/11 8:41:41 PM


โลโก ปตฺถมฺภิกา เมตตา<br />

เมตตาธรรมค้ำจุนโลก<br />

่<br />

่<br />

พิมพ์ครั้งแรก<br />

ธันวาคม ๒๕๕๒ จำนวนพิมพ์ ๓,๐๐๐ เล่ม<br />

พิมพ์ครั้งที<br />

๒ มกราคม ๒๕๕๔ จำนวนพิมพ์ ๒,๐๐๐ เล่ม<br />

พิมพ์ครั้งที<br />

๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ จำนวนพิมพ์ ๕,๐๐๐ เล่ม<br />

บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง<br />

จำกัด (มหาชน)<br />

จัดพิมพ์<br />

เนื ่องในโอกาสที ่คุณเมตตา อุทกะพันธุ์ ประธานกรรมการบริหาร<br />

บริษัทอมรินทร์พริ ้นติ ้งแอนด์พับลิชชิ ่ง จำกัด (มหาชน) ได้รับประกาศ<br />

เกียรติคุณพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ ์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา<br />

จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อวันที่<br />

๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔<br />

METTA1-22.indd 2 4/26/11 8:41:43 PM


เมตตา อุทกะพันธุ์<br />

์<br />

เมตตา กัลยาณมิตรแก้ว ไกวัล<br />

อุทกะ จิตชโลมปัน ประโยชน์ไว้<br />

พันธุ พุทธิกชนสรร ศาสน์รุ่ง<br />

เรืองแม่<br />

พุทธศาสตร์ บัณฑิตใช้ ชีพสร้างสุขเกษมฯ<br />

ว.วชิรเมธี<br />

๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒<br />

METTA1-22.indd 3 4/26/11 8:41:46 PM


โมทนียพจน์<br />

“รัตนอุบาสิกา : เมตตา อุทกะพันธุ์”<br />

ก่อนแต่จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระบรมศาสดาสัมมา-<br />

สัมพุทธเจ้า ทรงมอบพระธรรมวินัยหรือพระพุทธศาสนาไว้ในความ<br />

รับผิดชอบร่วมกันของพุทธบริษัทสี่ อันได้แก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก<br />

อุบาสิกา โดยทรงชี ้แนวทางเอาไว้ว่า เมื ่อไหร่ก็ตามที ่พุทธบริษัทสี่ยังมี<br />

ความเกื้อกูลกันเป็นอย่างดีในลักษณะ“บ้านอวยทาน วัดอวยธรรม”<br />

เมื ่อนั ้น พุทธศาสนาก็จะยังมั ่นคงสืบไป แต่เมื ่อใดก็ตามที ่พุทธบริษัทสี ่<br />

แตกสามัคคีกัน นั ่นก็หมายความว่า ความมั ่นคงของพระพุทธศาสนา<br />

กำลังคลอนแคลน ความข้อนี้กวีท่านหนึ่งได้นำมาประพันธ์เป็น<br />

กวีโวหารสำหรับเตือนจิตสะกิดใจพุทธศาสนิกชนเอาไว้อย่างน่าฟังว่า<br />

“วัดจะดีมีหลักฐานเพราะบ้านช่วย<br />

บ้านจะสวยเพราะมีวัดดัดนิสัย<br />

บ้านช่วยวัดวัดช่วยบ้านผลัดกันไป<br />

ถ้าขัดกันก็บรรลัยทั้งสองทาง”<br />

นอกจากจะทรงประทานแนวทางอันเป็นการวางระบบการปฏิสัมพันธ์<br />

เชิงเกื้อกูลกันและกันระหว่างวัดและบ้านเช่นที่กล่าวมาแล้ว ในส่วน<br />

ของอุบาสกอุบาสิกาบริษัท พระพุทธองค์ก็ยังทรงระบุชัดลงไปอีกว่า<br />

METTA1-22.indd 4 4/26/11 8:41:50 PM


อุบาสกอุบาสิกาบริษัทที ่จะสามารถเป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนา<br />

ได้นั้น ควรจะมีคุณสมบัติของ“รัตนอุบาสก-อุบาสิกา”อย่างน้อย<br />

๗ ประการ อุบาสก อุบาสิกาคนใดมีคุณสมบัติทั้ง ๗ ประการนี้<br />

นับว่าเป็น“อุบาสก-อุบาสิกาแก้ว”ที่ควรแก่การยกย่องสรรเสริญและ<br />

เจริญรอยตาม และนับว่าเป็นพุทธิกชนชั้นนำ คุณสมบัติทั้ง ๗<br />

ประการนั้นประกอบด้วย<br />

(๑) ไม่ขาดการเยี่ยมเยือนพบปะพระภิกษุ<br />

(๒) ไม่ละเลยการฟังธรรม<br />

(๓) ศึกษาในศีลขั้นสูงยิ่งๆขึ้นไป<br />

(๔) ถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสในพระภิกษุทั้งที่เป็นพระเถระ<br />

มัชฌิมะ และนวกะ<br />

(๕) ฟังธรรมโดยไม่จ้องจับผิด<br />

(๖) ไม่ทำบุญนอกหลักการของพระพุทธศาสนา<br />

(๗) ใส่ใจอุปถัมภ์กิจการของพระพุทธศาสนาเป็นที่หนึ่ง<br />

ไม่ว่าจะวัดด้วยมาตรฐานแห่งการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับวัด<br />

ก็ดี ไม่ว่าจะวัดด้วยมาตรฐานของการเป็น“อุบาสก-อุบาสิกา”ก็ดี<br />

ผู้เขียนก็พบความจริงว่า คุณเมตตา อุทกะพันธุ์ ประธานกรรมการ<br />

บริหารบริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)<br />

ล้วนถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติที่ต้องตามมาตรฐานดังกล่าวด้วยประการ<br />

ทั ้งปวง ดังนั ้น ทันทีที ่ได้ทราบข่าวอันเป็นมงคลว่า สภามหาวิทยาลัย<br />

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีมติเป็นเอกฉันท์ในการมอบปริญญา<br />

พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ให้แก่คุณเมตตา อุทกะพันธุ์<br />

ผู้เป็น“รัตนอุบาสิกา” ผู้เขียนจึงได้แต่พลอยอนุโมทนาและรู้สึก<br />

METTA1-22.indd 5 4/26/11 8:41:53 PM


ยินดีปรีดาไปด้วยอย่างจริงใจ และแจ้งข่าวนี ้ให้แก่ศิษยานุศิษย์พลอย<br />

ร่วมอนุโมทนาด้วย ซึ่งแต่ละคนเมื ่อได้ทราบข่าวอันเป็นเกียรติคุณ<br />

ทางวิชาการเช่นนี้ต่างปลื้มปีติไปตามๆกัน<br />

เป็นที่ทราบกันดีในหมู่พุทธศาสนิกชนชั้นนำของประเทศไทย<br />

เราเป็นอย่างดีว่า คุณเมตตา อุทกะพันธุ ์ และคุณชูเกียรติ อุทกะพันธุ ์<br />

(แต่เมื่อสมัยยังมีชีวิตอยู<br />

่) พร้อมครอบครัวอุทกะพันธุ์และบริษัท<br />

อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัด (มหาชน) นั้น เป็นตระกูล<br />

สัมมาทิฐิที่มีบทบาทอย่างสูงยิ่งในการสร้างสรรค์พัฒนาสังคมไทย<br />

มาอย่างยาวนานโดยผ่านกิจการที่เรียกว่า“สำนักพิมพ์อมรินทร์” ซึ่ง<br />

ตลอดเวลาอันยาวนานที่ผ่านมานั้นสำนักพิมพ์อมรินทร์ ที ่ได้รับการ<br />

ยกย่องว่าเป็นสำนักพิมพ์แถวหน้าของประเทศไทย ได้จัดพิมพ์หนังสือ<br />

แทบทุกแนวจำนวนนับได้หลายล้านเล่มเพื ่อจำหน่ายจ่ายแจกบำรุง<br />

สติปัญญาของสังคมไทยอย่างไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย หนังสือ<br />

จำนวนมากของสำนักพิมพ์นั้นบางชุด บางเล่ม เป็นหนังสือที่ไม่มี<br />

กำไรเป็นเม็ดเงิน แต่ถึงกระนั้นทั้งคุณเมตตาและสามีก็ยินดีจัดพิมพ์<br />

เผยแพร่แก่ประชาชนไทย เพราะพิจารณาเห็นว่า เป็นหนังสือที่ทรง<br />

คุณค่าทางสติปัญญาเป็นอย่างสูง ทั ้งในบัดนี ้และบัดหน้า เช่น ผลงาน<br />

วิชาการชุดสารานุกรมไทยทั้ง ๔ ภาค เป็นต้น นอกจากนั้นต้อง<br />

ไม่ลืมว่า ผลงานพระราชนิพนธ์ทุกเล่มในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู ่หัว<br />

เช่น พระมหาชนก คุณทองแดง เป็นอาทิ และในสมเด็จพระเทพ-<br />

รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็สำนักพิมพ์อมรินทร์ของคุณ<br />

เมตตา อุทกะพันธุ์ อีกนั่นเองที่เป็นผู้จัดพิมพ์อย่างสวยงามสมเป็น<br />

พระราชนิพนธ์เกียรติยศของประเทศ<br />

METTA1-22.indd 6 4/26/11 8:41:58 PM


เมื่อแรกที ่คุณเมตตา อุทกะพันธุ ์ ได้พบกับผู ้เขียนนั ้น คุณเมตตา<br />

ได้ปรารภว่า ที่ผ่านมานั ้นได้อุทิศตนช่วยสถาบันชาติและสถาบันกษัตริย์<br />

มาอย่างเต็มขีดความสามารถแล้ว นับจากนี้ (นับจากที ่พบผู้เขียน<br />

ราวปี ๒๕๔๖) จะขออุทิศตนช่วยสถาบันพระศาสนาบ้าง และการณ์<br />

ก็เป็นไปตามคำปรารภนั้นทุกประการ<br />

เพราะเป็นที ่ทราบกันดีว่า นับแต่นั้นเป็นต้นมา คุณเมตตา<br />

อุทกะพันธุ์ และครอบครัว รวมทั้งบริษัทในเครือได้อุทิศงบประมาณ<br />

จำนวนมหาศาลในแต่ละปีเพื ่อบำเพ็ญการกุศลอันเกื้อกูลแก่กิจการ<br />

ของพระพุทธศาสนาทั้งในเมืองไทยและในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น<br />

การบริจาคสร้างโรงเรียนเตรียมสามเณรในพระราชูปถัมภ์สมเด็จ<br />

พระเทพฯ ที ่วัดครึ ่งใต้ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย การรับเป็น<br />

เจ้าภาพกฐินสามัคคีอย่างต่อเนื่องทุกปีที่วัดบ้านเกิดของผู้เขียน หรือ<br />

ที่วัดบ้านเกิดของตนที ่บางมูลนาค จังหวัดพิจิตร การร่วมเป็นประธาน<br />

การก่อสร้างและพัฒนาศูนย์ปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติเขาดินหนองแสง<br />

จังหวัดจันทบุรี การเป็นประธานทอดกฐินวัดไทยในต่างแดน (ภาคพื ้น<br />

ยุโรป) ๙ วัด ถึง ๒ ปีซ้อน จนได้รับความชื ่นชมจากสมเด็จพระ-<br />

พุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช วัด<br />

สระเกศ ว่า คุณเมตตาและเครืออมรินทร์นั้นเป็นพุทธบริษัทชั้นนำ<br />

ที่หาได้ยาก นี ่ยังไม่นับการบริจาคเพื่อถวายทุนการศึกษาพระภิกษุ<br />

สามเณร เด็ก เยาวชน รวมทั ้งสนับสนุนการก่อสร้างหอจดหมายเหตุ<br />

พุทธทาส อินทปัญโญ โรงมหรสพทางวิญญาณสำหรับคนกรุงเทพฯ<br />

และโครงการช่วยเหลือเกื้อกูลสังคมอื่นๆอีกมากมายนับไม่ถ้วน<br />

ที่คุณเมตตาได้อาสาออกหน้าเป็นแม่งาน และเป็นกัลยาณมิตร<br />

METTA1-22.indd 7 4/26/11 8:42:02 PM


ในการชักชวนเครือข่ายสายบุญให้หันมาอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธ-<br />

ศาสนาอย่างขนานใหญ่ จนกลายเป็น“ธรรมะอินเทรนด์”ในหมู ่<br />

นักธุรกิจไทยที่ต่างก็ให้ความสนใจมาประพฤติปฏิบัติธรรมกันอย่าง<br />

เป็นล่ำเป็นสัน และคุณูปการอันสำคัญอีกประการหนึ ่งซึ ่งควรกล่าวไว้<br />

ในที่นี ้ ในฐานะเป็นหลักไมล์ทางประวัติศาสตร์ของวงการพระศาสนาไทย<br />

ก็คือ คุณเมตตา อุทกะพันธุ์ ได้เป็นผู้ก่อตั้งนิตยสารธรรมะยุคใหม่<br />

ในชื่อ“Secret”<br />

ที่ก่อให้เกิดกระแสความสนใจศึกษาพระพุทธศาสนา<br />

อย่างอุ่นหนาฝาคั่งทั้งในหมู่ชนชั้นนำที่เป็นชนชั้นกลางในเมือง และ<br />

ประชาชนคนทั่วไปในต่างจังหวัดทั่วประเทศไทยอย่างชนิดที่ไม่เคย<br />

มีปรากฏการณ์เช่นนี้มาก่อน ข้อที ่ควรชื ่นชมเป็นพิเศษก็คือ ด้วย<br />

นิตยสารฉบับนี้เองที ่คุณเมตตา อุทกะพันธุ์ ได้ใช้เป็นเครื่องมือสื่อ<br />

“ธรรมโฆษณ์” ที่ทรงประสิทธิภาพยิ่งในการชักชวน เชื้อเชิญ<br />

ตลอดถึงจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้อ่านของนิตยสารเรือนร้อย เรือนพัน<br />

และอาจถึงเรือนหมื ่น ให้เกิดความตื ่นตัวพากันเดินทางไปฝึก<br />

ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานยังสำนักปฏิบัติธรรมชั้นนำทั้งที่จังหวัด<br />

จันทบุรี หรือจังหวัดอื่นๆอีกมากมายหลายแห่ง นี่คือตัวอย่างของ<br />

การใช้“สื ่อมวลชน” ซึ่งเป็น“ปาฏิหาริย์ของยุคสมัย” มารับใช้การ<br />

เผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างได้ผลดียิ่ง<br />

ตลอดเวลาเกือบสิบปีที่ผู้เขียนรู้จัก สนิทเสวนากับคุณเมตตา<br />

อุทกะพันธุ ์ นั ้น ทำให้พูดได้อย่างเต็มปากว่า คุณเมตตา อุทกะพันธุ ์<br />

คือกัลยาณมิตรบนเส้นทางธรรม คือรัตนอุบาสิกาที่ถึงพร้อมด้วย<br />

คุณสมบัติต้องตามคัมภีร์พระไตรปิฎกที่กล่าวมาข้างต้น และเหนือ<br />

อื่นใด คือแบบอย่างของพุทธศาสนิกชนชั้นนำที่รู้จัก “เปลี่ยนเงิน<br />

METTA1-22.indd 8 4/26/11 8:42:06 PM


เป็นบุญ และเปลี่ยนทุนเป็นธรรม” อย่างชนิดที่เรียกได้ว่ามาก่อน<br />

กาล เพราะวันเวลาที่คุณเมตตาได้อุทิศตนอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธ-<br />

ศาสนามาอย่างยาวนานนั้น เป็นเวลาที่กระแส“รวยแล้วให้ ได้แล้ว<br />

แบ่งปัน” โดยบิล เก็ตส์ และวอเรนท์ บัฟเฟ็ต ยังไม่เป็นที่รู้จัก<br />

และยังไม่เริ่มต้นเสียด้วยซ้ำ<br />

วันนี้ อันเป็นวันที ่คุณเมตตา อุทกะพันธุ์ ได้รับการยกย่อง<br />

ไว้ในฐานะเป็นรัตนอุบาสิกาผู้คู่ควรแก่เกียรติคุณทางวิชาการ คือ<br />

“พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์” จึงนับเป็นวันแห่งความสำเร็จ<br />

อีกก้าวหนึ่ง เป็นวันแห่งความภาคภูมิใจ และเป็นวันแห่งการ<br />

แสดงออกซึ่งความชื่นชมโสมนัสตามแบบอย่างของชาวพุทธผู้มั่นอยู่<br />

ในพรหมวิหารธรรมข้อมุทิตาโดยแท้ ผู้เขียนในนามของกัลยาณมิตร<br />

บนเส้นทางธรรม (แม้คุณเมตตาจะยกให้เป็นครูบาอาจารย์ หากแต่<br />

ผู้เขียนเห็นว่า นั่นเป็นเกียรติที่สูงเกินไป) จึงขอร่วมแสดงมุทิตาจิต<br />

ด้วยถ้อยสุนทรียกถาที่กล่าวมาข้างต้นนั้น และพร้อมกันนี้ก็ขอ<br />

อัญเชิญคุณพระรัตนตรัยอำนวยพรให้คุณเมตตา อุทกะพันธุ์ จงมี<br />

สุขภาพกาย สุขภาพจิต แข็งแรงสมบูรณ์ มีความสุข ความเจริญ<br />

ทั้งในทางโลกและทางธรรมยิ่งๆขึ้นไป<br />

ตราบนานเท่านาน เทอญ<br />

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี)<br />

ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย<br />

๖ เมษายน ๒๕๕๔<br />

METTA1-22.indd 9 4/26/11 8:42:10 PM


METTA1-22.indd 10 4/26/11 8:42:14 PM


METTA1-22.indd 11 4/26/11 8:42:17 PM


อนุโมทนา<br />

ฉบับพิมพ์ครั้งที่<br />

๒<br />

โลกของเราตกอยู ่ท่ามกลางวิกฤติมากมาย สาเหตุสำคัญ<br />

ประการหนึ่งของวิกฤติบรรดามีก็คือ โลกนี้กำลังขาดเมตตาธรรม<br />

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมตตาธรรมระหว่างคนต่อคน คนต่อสังคม และ<br />

คนต่อธรรมชาติสิ่งแวดล้อม<br />

เมื่อคนเมตตากันและกันน้อยลง โลกจึงตกอยู ่ท่ามกลางการมอง<br />

คนเป็นคู่แข่งขัน และต่างก็จ้องแต่จะฉกชิงผลประโยชน์จากกันและ<br />

กันให้ได้มากที่สุด เมื่อคนขาดเมตตาต่อสังคม จิตสำนึกสาธารณะ<br />

จึงหายไป ปัญหาสังคมมากมายไม่ได้รับการแก้ไข การเห็นแก่สังคม<br />

กลายเป็นเรื ่องที่มาทีหลัง การเห็นแก่ตัวเป็นเรื ่องที่ต้องมาก่อน สังคม<br />

จึงมากมายไปด้วยปัญหา และพื ้นที่ปลอดภัยในสังคมนับวันน้อยลงไป<br />

อย่างน่าวิตก<br />

METTA1-22.indd 12 4/26/11 8:42:21 PM


เมื ่อคนขาดเมตตาต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร<br />

ธรรมชาติ รวมทั้งแม่น้ำ ป่าไม้ ภูเขา แร่ธาตุ รวมทั้งระบบนิเวศ<br />

คือการพึ ่งพาอาศัยกันระหว่างคนกับสิ ่งแวดล้อม สัตว์กับสิ ่งแวดล้อม<br />

ก็สูญเสียสมดุล ฤดูกาลวิปริต ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล อุทกภัย<br />

วาตภัย ปฐพีภัย คุกคามมนุษย์ถี ่อย่างที ่ไม่เคยมีมาก่อน สถานการณ์<br />

เหล่านี้ไม่ใช่ปรากฏการณ์ธรรมดาของโลกอย่างแน่นอน หากแต่มัน<br />

คือการผิดสำแดงจากการที่โลก กล่าวคือ สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ<br />

ถูกกระทำย่ำยีจากน้ำมือมนุษย์อย่างปราศจากเมตตาธรรมนั่นเอง<br />

หากโลกของเราเปี ่ยมด้วยเมตตาธรรม โฉมหน้าของโลกคง<br />

จะเปลี่ยนไปเป็นอย่างมาก เพราะเมตตาธรรมเป็นดั่งน้ำทิพย์ชโลมใจ<br />

ชโลมโลก และเป็นรากฐานแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในโลก การ<br />

เรียนรู้และพัฒนาตนให้เป็นบุคคลที ่มีศักยภาพที ่จะเมตตาตนและ<br />

คนอื่น<br />

สิ่งอื่น<br />

จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง<br />

หนังสือ“เมตตาธรรม”เขียนขึ้นบนพื้นฐานที่ต้องการให้โลกนี้<br />

เป็นโลกที ่ถูกอบร่ำด้วยรักแท้ คือเมตตา และเพื ่อเป็นแนวทาง<br />

ในการฝึกเจริญเมตตาจนสามารถมีชีวิตอยู ่ในลักษณะมีเมตตาเป็น<br />

เรือนใจ (เมตตาวิหารี) ในชีวิตประจำวัน<br />

METTA1-22.indd 13 4/26/11 8:42:25 PM


หนังสือเล่มนี้สำเร็จเป็นรูปเล่มได้ ก็เพราะอาศัยแรงบันดาลใจ<br />

จากคุณเมตตา อุทกะพันธุ์ ผู้เป็นต้นธารให้เกิดการเขียนหนังสือ<br />

เล่มนี ้ในมงคลวารครบ ๕ รอบแห่งชีวิตเมื่อปีก่อน และมาในปีนี ้ก็เป็น<br />

ผู้แสดงความจำนงขอเป็นเจ้าภาพจัดพิมพ์เผยแพร่อีกเป็นครั้งที่สอง<br />

โดยปรารภความเจริญแพร่หลายแห่งธรรมเป็นสำคัญ ในฐานะผู ้เขียน<br />

จึงขออนุโมทนากุศลเจตนาของคุณเมตตา อุทกะพันธุ์ พร้อม<br />

ครอบครัว กล่าวคือ คุณระริน คุณโชคชัย คุณระพี และน้องปุณณ์<br />

มา ณ โอกาสนี้ด้วย<br />

“ขอพระธรรมจงแผ่ไพศาล<br />

ขอให้เธอเบิกบานกับการรับใช้เพื่อนมนุษย์”<br />

ว.วชิรเมธี<br />

๒๐ มกราคม ๒๕๕๔<br />

METTA1-22.indd 14 4/26/11 8:42:29 PM


METTA1-22.indd 15 4/26/11 8:42:32 PM


คำปรารภ<br />

ฉบับพิมพ์ครั้งแรก<br />

เมื ่อต้นปี ๒๕๕๒ มีผู้มาบอกข่าวว่า ปีนี้คุณโยมเมตตา<br />

อุทกะพันธุ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์<br />

พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีอีกหัวโขนหนึ่งก็คือ กรรมการ<br />

อุปถัมภ์โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดครึ่งใต้วิทยา (โรงเรียนเตรียม<br />

สามเณรในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม-<br />

ราชกุมารี) และกรรมการที่ปรึกษาและอุปถัมภ์กิตติมศักดิ์ สถาบัน<br />

วิมุตตยาลัย จะมีอายุวัฒนมงคลครบ ๕ รอบ ตอนที ่ทราบข่าวนี้<br />

ปรากฏว่าคุณโยมเมตตาได้จัดงานทำบุญไปแล้วอย่างเงียบๆในหมู่<br />

ผู้ร่วมงานใกล้ชิด ด้วยไม่ประสงค์จะรบกวนใครให้เอิกเกริก แต่<br />

ผู้เขียนรู้สึกว่า กว่าที่ใครคนหนึ่งจะยังชีพยืนชนม์มาจนอายุครบ<br />

๖๐ ปีย่อมไม่ใช่ของง่าย ผู้เขียนจึงได้แจ้งแก่คุณโยมเมตตา อุทกะ-<br />

พันธุ์ ว่า ในโอกาสดีเช่นนี้ ควรจะบำเพ็ญธรรมทานเป็นกรณีพิเศษ<br />

เพื ่อเพิ่มพูนปัญญาบารมีทั้งในส่วนตนและส่วนสังคมให้ยิ่งๆขึ้นไป<br />

ในการคุยกันคราวนั้น ผู้เขียนได้รับปากว่าจะเขียนหนังสือขึ้นมา<br />

สักเล่มหนึ่งเพื ่อจัดพิมพ์เป็นธรรมทานในการนี้โดยเฉพาะ แต่เมื ่อ<br />

METTA1-22.indd 16 4/26/11 8:42:36 PM


เวลาผ่านไป จากต้นปีจนล่วงเข้าสู ่ปลายปี ก็ยังไม่มีเวลาเขียนต้นฉบับ<br />

เสียที กระทั่งทางเลขาฯของคุณโยมเมตตาเริ่มส่งเสียงเตือนเป็น<br />

ระยะๆว่าต้นฉบับหนังสือที่จะจัดพิมพ์เป็นธรรมทานเสร็จแล้วหรือยัง<br />

แต่ถึงแม้จะถูกกระตุ้นเตือนอยู่บ่อยครั้ง ผู้เขียนก็ยังไม่มีเวลาทำงาน<br />

ชิ ้นนี ้อยู ่นั ่นเอง กระทั ่งจวนล่วงเลยเวลามาทุกขณะ เหลือเวลาจัดงาน<br />

ทำบุญบำเพ็ญธรรมทานอีกไม่ถึง ๒๐ วัน ผู้เขียนจึงได้เริ่มต้นเขียน<br />

ต้นฉบับหนังสือชื่อ“เมตตาธรรม”เล่มนี้อย่างเป็นทางการเสียที<br />

ผู ้เขียนเริ ่มเขียนต้นฉบับหนังสือเล่มนี ้ ณ ที ่พำนักซึ ่งอยู ่ห่างจาก<br />

ต้นพระศรีมหาโพธิ อันเป็นอภิสัมพุทธสถาน คือสถานที่ตรัสรู้ของ<br />

พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ถึง ๕๐๐ เมตร ลงมือเขียน<br />

ประมาณสองทุ่มครึ่งจนถึงตีหนึ่งของอีกวันหนึ่ง (เริ่มเขียนวันที่ ๒๖<br />

พฤศจิกายน ๒๕๕๒) ขณะที่เขียนนั้นอยู่ห่างจากแหล่งข้อมูลอ้างอิง<br />

อย่างสิ้นเชิง อาศัยเพียงกระแสธารแห่งธรรมที่หลั่งไหลออกมา<br />

จากใจอันอิ่มเต็มไปด้วยบุญกุศลเท่านั้น เป็นแรงจูงใจและพลังงาน<br />

ในการเขียน เพราะขณะที่มานั ่งเขียนต้นฉบับอยู ่นี ้ ผู ้เขียนอยู ่ระหว่าง<br />

การนำพุทธบริษัทจาริกแสวงบุญมายังสังเวชนียสถานทั้งสี่ วันที่<br />

ลงมือเขียนต้นฉบับนี้ เป็นเพียงวันที่สองของการจาริกแสวงบุญ<br />

เท่านั้น แต่ด้วยอาศัยเมตตานุภาพของพระพุทธองค์โดยแท้ ทำให้<br />

กระแสธารแห่งธรรมไหลหลั่งอย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว ราบรื่น จน<br />

เขียนเนื้อหาเสร็จไปกว่า ๙๐ เปอร์เซ็นต์ และมาเขียนเพิ่มเติมอีก<br />

คืนหนึ ่ง (วันที ่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒) ณ สถานที ่พำนักไม่ไกลนัก<br />

จากธัมเมกขสถูป อันเป็นสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธัมม-<br />

จักกัปปวัตตนสูตร เมืองพาราณสี<br />

METTA1-22.indd 17 4/26/11 8:42:40 PM


ที่ผู้เขียนเล่าถึงเบื้องหลังการเขียนหนังสือเล่มนี้เสียละเอียด<br />

อย่างนี้ก็เพื่อจะบันทึกไว้ให้เป็นประวัติศาสตร์ของหนังสือว่า ผลงาน<br />

เล่มนี้เกิดขึ้นก็ด้วยปรารภความ“เมตตา”ของมหาอุบาสิกาผู้ถวาย<br />

ความอุปถัมภ์งานเผยแผ่พุทธศาสนาให้แก่ตัวผู้เขียนมาอย่างแข็งขัน<br />

ทุ ่มเท จริงใจ จริงจัง และมากด้วยความเอ็นดูห่วงใย ตั ้งแต่ยุคแรก<br />

ที่ยังไม่มีใครรู้จักมาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ก็ยังคงดำรงตนเป็น<br />

พุทธศาสนิกชนชั้นนำอยู่อย่างนั้นไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ไม่ว่าจะโดย<br />

วิธีการที ่เปิดเผย เช่น การถวายเงินบริจาคสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม<br />

ที่จังหวัดเชียงราย หรือที่วัดป่าวิมุตตยาลัย หลายล้านบาท และ<br />

วิธีการแบบปิดทองหลังพระในอีกหลายเรื่องหลายกรณีมาเกือบสิบปี<br />

เข้านี ่แล้ว โดยที ่มหาอุบาสิกาผู้นี้เองก็มีชื่ออันเป็นมงคลนามว่า<br />

“เมตตา”อีกต่างหาก ทั้งเจตนาในการเขียนของผู้เขียนก็เริ่มจาก<br />

ความ“เมตตา”ที ่ปรารถนาจะให้บุพการีผู้มีคุณูปการต่องานเผยแผ่<br />

ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้บำเพ็ญมหากุศลที่แผ่ไพศาล<br />

ให้เป็นกุศลบุญราศีส่วนตัวและส่วนครอบครัวและส่วนสังคมพร้อมๆ<br />

กันไป และการที ่ผู้เขียนได้มานั่งทำงานเขียนต้นฉบับหนังสืออยู่ถึง<br />

ประเทศอินเดีย และได้อุทิศตนบำเพ็ญหิตานุหิตประโยชน์แก่ชาวโลก<br />

ทุกวันนี้ก็เพราะได้อาศัยพระ“เมตตาธิคุณ”ของพระอรหันตสัมมา-<br />

สัมพุทธเจ้า ที ่ทรงหลั่งไหลสายธารแห่งธรรมไว้หล่อเลี้ยงโลกอย่าง<br />

ไม่ขาดสายจนกระแสธารนั้นส่งต่อมาถึงผู้เขียนด้วยผู้หนึ่ง หาก<br />

ปราศจากเมตตาธิคุณของพระพุทธองค์เสียแล้ว ชีวิตของผู้เขียน<br />

จะเป็นประการใดก็สุดจะอนุมาน ทั้งการที่ได้มาเยือนแผ่นดิน<br />

METTA1-22.indd 18 4/26/11 8:42:44 PM


ถิ่นพุทธภูมิคราวนี้ก็ด้วยเมตตาของพุทธบริษัทอีกเช่นเดียวกัน<br />

รวมความว่า หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นด้วยแรงจูงใจที่ชื่อ“เมตตาธรรม”<br />

โดยแท้<br />

หากจะมีกุศลบุญราศีใดที่เกิดจากการเผยแผ่พุทธธรรมใน<br />

ส่วนที ่ว่าด้วย“เมตตาธรรม”แก่มหาชนในคราวนี ้แล้วไซร้ ผู ้เขียนก็ขอ<br />

อัญเชิญกุศลบุญกิริยาทั้งปวงนี้ อำนวยอวยชัยให้คุณโยมเมตตา<br />

อุทกะพันธุ์ จงเจริญด้วยจตุรพิธพรชัย คือ อายุ วรรณะ สุขะ<br />

พละ สิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล สมบูรณ์ด้วยอามิสไพบูลย์และธรรม-<br />

ไพบูลย์ยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ<br />

ว.วชิรเมธี<br />

พุทธคยา –พาราณสี อินเดีย<br />

๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๒<br />

METTA1-22.indd 19 4/26/11 8:42:48 PM


สารบัญ<br />

โมทนียพจน์ (๔)<br />

อนุโมทนา (๑๒)<br />

คำปรารภ (๑๖)<br />

ความหมายของเมตตา ๒<br />

ความสำคัญของเมตตา ๒<br />

เมตตาในฐานะเป็นหนึ่งในบารมี<br />

๑๐ ๓<br />

เมตตาในฐานะเป็นพรหมวิหารธรรม ๔<br />

เมตตาในฐานะเป็นอัปปมัญญา ๕<br />

เมตตาในฐานะเป็นเมตตากรรมฐาน ๕<br />

เมตตาในฐานะเป็นสื่อสมานไมตรี<br />

๖<br />

เมตตาในฐานะเป็นพระพุทธคุณ<br />

เมตตาในฐานะเป็นพระนาม<br />

๘<br />

แห่งพระศรีอารยเมตไตรยพุทธเจ้า ๑๐<br />

๑๐ เหตุผลที่เราทุกคนควรมีเมตตา<br />

๑๑<br />

ประโยชน์ของเมตตา ๑๖<br />

วิธีแผ่เมตตา ๑๘<br />

แผ่เมตตาให้ตัวเอง ๒๐<br />

แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ ๒๑<br />

METTA1-22.indd 20 4/26/11 8:42:51 PM


กรณีศึกษา “พลานุภาพของเมตตา” ๒๓<br />

อุปสรรคของเมตตา ๒๙<br />

ปราการแห่งทิฐิ ๑ ๓๐<br />

่<br />

้<br />

้<br />

อคติ: ความลำเอียง ๔ ๓๒<br />

ความตระหนี ๕ ๓๔<br />

การไม่ฝึกฝนเมตตาภาวนา ๑ ๓๗<br />

ภาคปฏิบัติ: วิธีฝึกใจให้เปี่ยมเมตตา<br />

เมื่อมนุษย์อยู่กันด้วยเมตตา<br />

๓๙<br />

พรหมบนฟ้าก็ไม่จำเป็น<br />

เมตตาแท้ ไม่ต้องเพียร ไม่ต้องแผ่ ไม่ต้องเพ่ง<br />

๔๐<br />

แต่ให้เปล่งประกายออกมาเองจากใจที่ตื่นรู<br />

๔๔<br />

อานาปานสติสมาธิ: ปฎิบัติเพียงหนึ่งแต่ได้ทั้งหมด<br />

อานาปานสติสมาธิภาวนา: มรรควิธีฝึกลมหายใจ<br />

๔๗<br />

แห่งการตื่นรู<br />

๔๙<br />

อานาปานสติ ๑๖ ขั้น<br />

๕๐<br />

บทสรุปอัจฉริยลักษณ์ของอานาปานสติสมาธิภาวนา ๕๒<br />

บทสวดคาถาเมตตา ๕๙<br />

ตำนานกรณียเมตตสูตร ๖๐<br />

บทสวดคาถาเมตตากรณียเมตตสูตร ๖๕<br />

ตำนานขันธปริตร ๗๐<br />

บทสวดคาถาขันธปริตร ๗๓<br />

ความหมายแห่งเมตตานิสังสะสุตตะปาฐะ ๗๖<br />

บทสวดคาถาเมตตานิสังสะสุตตะปาฐะ ๗๖<br />

บทแผ่เมตตาพิเศษ ๗๗<br />

METTA1-22.indd 21 4/26/11 8:42:55 PM


METTA1-22.indd 22 4/26/11 8:42:58 PM


เมตตาธรรม


ความหมายของเมตตา<br />

เมตตา หมายถึง ความมีน้ำใจเยื่อใยไมตรีต่อกันฉันมิตร<br />

ความปรารถนาอยากให้สรรพชีพ สรรพสัตว์ มีความสุข ความรู้สึก<br />

รักใคร่ไยดีที่มีต่อคน<br />

สัตว์ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม<br />

และต่อโลก<br />

ความสำคัญของเมตตา<br />

เมตตาเป็นองค์ธรรมสำคัญในพุทธศาสนาและศาสนาอื่น จน<br />

อาจกล่าวได้ว่าเป็นหลักธรรมที ่เป็นสากล ซึ ่งมีปรากฏอยู ่ในหลักธรรม<br />

คำสอนของศาสดาสำคัญของโลกทุกพระองค์ ตลอดถึงเป็นจริยธรรม<br />

สากลที ่ปวงปราชญ์ราชบัณฑิตและปัญญาชนทั ่วโลกต่างเห็นตรงกันว่า<br />

เป็นคุณธรรมซึ่งจะขาดเสียไม่ได้ในหมู่มนุษยชาติ มนุษยชาติขาดน้ำ<br />

ไม่ได้ฉันใด โลกก็ขาดเมตตาไม่ได้ฉันนั้น ในพุทธศาสนาเอง พระ-<br />

พุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับ“เมตตาธรรม”เป็นอันมาก ดังปรากฏ<br />

เมตตาธรรม


ว่า ทรงเน้นย้ำหลักธรรมเรื่องเมตตาไว้ในหมวดธรรมต่างๆมากมาย<br />

ทั้งในฐานะหลักธรรมที่พึงปฏิบัติเฉพาะเรื่อง เฉพาะกรณี (การแผ่<br />

เมตตาซึ ่งเป็นกิจส่วนบุคคล) หรือหลักธรรมที ่พึงปฏิบัติเพื ่อบูรณาการ<br />

กับหลักธรรมข้ออื ่นๆ (พรหมวิหารธรรม ๔) ตลอดถึงเป็นหลักธรรม<br />

สำคัญสำหรับผู้เจริญวิปัสสนาขั้นสูง ที่จะใช้เป็นวิหารธรรมสำหรับ<br />

ผ่อนพักอย่างเป็นสุขอยู่ในปัจจุบันขณะ<br />

(เมตตาพรหมวิหาร)<br />

ในพุทธรรม เราจะพบคำสอนเรื่องเมตตากระจายอยู่ในหมวด<br />

ธรรมต่างๆมากมาย โดยมีจุดมุ่งหมายหรือจุดเน้นที่ต่างกันไปตาม<br />

สภาพแวดล้อมหรือตามความจำเป็นที่เมตตาธรรมจะต้องไปเชื่อมโยง<br />

หรือสนับสนุนหลักธรรมข้ออื่นๆ เมตตาธรรมที่ปรากฏในระบบ<br />

พุทธธรรมหรือในสารบบพุทธศาสนา เช่น<br />

เมตตาในฐานะเป็นหนึ่งในบารมี<br />

๑๐<br />

บารมี หมายถึง คุณธรรมอันยิ่งยวดที่ผู้เป็นพระโพธิสัตว์<br />

จะต้องบำเพ็ญให้ครบบริบูรณ์ทั้งสามระดับ คือ ระดับต้น (บารมี)<br />

ระดับกลาง (อุปบารมี) ระดับสูงสุด (ปรมัตถบารมี) บารมีดังกล่าวนี ้<br />

มี ๑๐ ประการ คือ<br />

(๑) ทานบารมี<br />

(๒) ศีลบารมี<br />

(๓) เนกขัมมบารมี<br />

ว.วชิรเมธี


(๔) ปัญญาบารมี<br />

(๕) วิริยบารมี<br />

(๖) ขันติบารมี<br />

(๗) สัจจะบารมี<br />

(๘) อธิษฐานบารมี<br />

(๙) เมตตาบารมี<br />

(๑๐) อุเบกขาบารมี<br />

เมตตาในฐานะเป็นพรหมวิหารธรรม<br />

หลักธรรมที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติมีคุณสมบัติเป็นผู้ประเสริฐ หรือ<br />

เป็นดั่งพระพรหมผู้สร้างสรรค์อภิบาลโลก (หลักการบริหารความ<br />

สัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับสัตว์ คนกับหลักการ คนกับความ<br />

รู ้สึก คนกับความจริง) เรียกว่าพรหมวิหารธรรม มี ๔ ประการ คือ<br />

(๑) เมตตา ปรารถนาให้คนและสัตว์เป็นสุข<br />

(๒) กรุณา ปรารถนาให้คนและสัตว์พ้นจากความทุกข์<br />

(๓) มุทิตา พลอยยินดีในคราวที่ผู้อื่นมีความสุขความเจริญ<br />

(๔) อุเบกขา ความวางใจเป็นกลางเมื่อเห็นบุคคล /สัตว์กำลัง<br />

เสวยผลแห่งกรรมที่ตนเป็นคนก่อไว้เอง<br />

เมตตาธรรม


เมตตาในฐานะเป็นอัปปมัญญา<br />

การปฏิบัติตามหลักพรหมวิหารธรรม ๔ ประการที่กล่าวมา<br />

ข้างต้น ที่ขยายขอบเขตออกไปอย่างไร้พรมแดน ไม่มีขีดคั่น ไม่มี<br />

เงื่อนไข ไม่มีข้อจำกัด แผ่คลุมออกไปทั่วทั้งสากลจักรวาล เรียกว่า<br />

“อัปปมัญญา” (ไม่มีประมาณ ไม่มีข้อจำกัด) มี ๔ ประการ คือ<br />

(๑) เมตตา ปรารถนาให้คนและสัตว์เป็นสุขเสมอหน้ากัน<br />

ทั้งหมด<br />

(๒) กรุณา ปรารถนาให้คนและสัตว์พ้นจากความทุกข์เสมอ<br />

หน้ากันทั้งหมด<br />

(๓) มุทิตา พลอยยินดีในคราวที่ผู้อื่นมีความสุขความสำเร็จ<br />

เสมอหน้ากันทั้งหมด<br />

(๔) อุเบกขา ความวางใจเป็นกลางเมื่อเห็นบุคคล /สัตว์กำลัง<br />

เสวยผลแห่งกรรมที่ตนเป็นคนก่อไว้เองเสมอหน้ากันทั้งหมด<br />

เมตตาในฐานะเป็นเมตตากรรมฐาน<br />

การฝึกจิตที่เรียกว่า“กรรมฐาน”นั้น สามารถใช้เมตตาเป็น<br />

อารมณ์ของจิตได้ ผู้ที่ฝึกกรรมฐานโดยการใช้เมตตาเป็นอารมณ์ใน<br />

การฝึก ก็เรียกว่าเป็น“ผู ้เจริญเมตตากรรมฐาน” การเจริญกรรมฐาน<br />

โดยใช้เมตตาเป็นอารมณ์นี ้ จะถือว่าสัมฤทธิผลสูงสุดก็ต่อเมื ่อสามารถ<br />

ว.วชิรเมธี


แผ่เมตตาไปยังบุคคล ๔ จำพวกโดยปราศจากการเลือกที่รักมักที่ชัง<br />

อย่างสิ้นเชิง<br />

บุคคลทั้งสี่จำพวกนี้ก็คือ<br />

(๑) ตนเอง<br />

(๒) คนอันเป็นที่รัก<br />

(๓) คนเป็นกลางๆ<br />

(๔) คนที่ตนเกลียดชัง<br />

ถ้าผู้เจริญเมตตากรรมฐานสามารถวางใจให้เมตตาต่อคนทั้ง<br />

สี่จำพวกนี้ได้เสมอกัน ก็จะเป็นการเจริญเมตตาชนิดไร้พรมแดน<br />

สามารถยกใจให้สูง รัก เมตตา เอ็นดู ห่วงใย เป็นมิตรกับคนและ<br />

เทวดาได้ทั้งสากลโลก<br />

เมตตาในฐานะเป็นสื่อสมานไมตรี<br />

มนุษย์ปุถุชนซึ่งเป็นคนหนาด้วยกิเลส ย่อมจะมีกิเลส คือ<br />

อคติ ๔ อันได้แก่ ความลำเอียงเพราะรัก ลำเอียงเพราะชัง ลำเอียง<br />

เพราะหลง ลำเอียงเพราะกลัว เป็นม่านกางกั ้นเอาไว้ทำให้ไม่สามารถ<br />

อยู ่ร่วมกันด้วยความรัก สมัครสมานสามัคคี เป็นเหตุให้มีใจคิดอิจฉา<br />

ริษยา โกรธกริ้ว พยาบาท เบียดเบียนซึ่งกันและกัน แต่เมื่อใด<br />

ก็ตาม ที่มนุษย์รู้จักยกใจให้สูงขึ้นมา เพราะมองเห็นว่าบุคคลที่อยู่<br />

ตรงหน้าของตนทั้งหมดนั้น<br />

แท้ที่จริงแล้วก็คือ“มิตรร่วมโลก”ของเรา<br />

ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น เมื่อสามารถมองดูคนทั้งโลกด้วยสายตาอัน<br />

เมตตาธรรม


เปี ่ยมด้วยเมตตาหรือความรู ้สึกเป็นมิตรแล้ว อคติ ๔ ก็หายไป คนที ่<br />

มีความแตกต่างหลากหลายในทางเชื ้อชาติ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม<br />

เพศ ผิว เผ่าพันธุ ์ ก็จะสามารถอยู ่ร่วมกันได้อย่างสนิทสนมกลมกลืน<br />

เกิดเอกภาพ เกิดความสมานสามัคคี มีศานติในเรือนใจ อยู่ร่วมกัน<br />

ได้อย่างสงบสุข การที่จะฝึกใจให้สูงจนเกิดเป็นภาวะเปี่ยมไปด้วย<br />

น้ำใจไมตรีเช่นนี้<br />

มีวิธีสำคัญที่ทรงแสดงไว้ในกรณียเมตตสูตร<br />

ก็คือ<br />

ขอให้เราฝึกแผ่เมตตาให้แก่มนุษย์ เทวดา ตลอดถึงสรรพชีพสัตว์<br />

อย่างไร้ขีดจำกัด โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ด้วยการตั้งกุศลจิต<br />

ปรารถนาให้เขาเหล่านั้นอยู่ร่วมกัน ปฏิบัติต่อกันฉันมิตรพึงปฏิบัติ<br />

ต่อมิตร (มิตร มีรากศัพท์มาจากคำว่า เมตตา) ด้วยจิตนุ่มนวล<br />

อ่อนโยน ละมุนละไม ไร้ความวิหิงสาพยาบาท ปรารถนาแต่ให้เขา<br />

เหล่านั้นพ้นจากสรรพทุกข์ สรรพโศก สรรพโรค สรรพภัย สรรพ-<br />

เสนียดจัญไรทั้งปวง เผื่อแผ่ความเมตตาการุณย์รักไปยังสรรพชีพ<br />

สรรพสัตว์ ดังหนึ่งมารดาปรารถนาให้บุตรน้อยของตนยังชีพยืนชนม์<br />

อย่างสุขศานติไปตลอดกาล<br />

เมื ่อเราฝึกแผ่เมตตาจนสามารถแผ่พลังงานแห่งความรัก ความ<br />

ปรารถนาดี ความมีไมตรีจิตไปยังสรรพชีพ สรรพสัตว์ ด้วยความ<br />

รู้สึกดังหนึ่งแม่แผ่ความรักความหวังดีให้ลูกน้อยกลอยใจได้สำเร็จ<br />

เช่นนี้แล้ว เมื่อนั้นแหละ เราย่อมจะได้ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ด้วยเมตตา<br />

พรหมวิหาร เป็นผู้มีใจแช่มชื่นเบิกบานอยู่ด้วยรักแท้ และเป็นผู้ที่จะ<br />

สามารถสร้างสรรค์บันดาลโลกทั้งผองให้เป็นพี่น้องกันได้อย่างแท้จริง<br />

เมตตาที ่ฝึกภาวนาหรืออบร่ำไว้ในใจจนฉ่ำชื ่นรื ่นรมย์อยู ่เป็นนิตย์นิรันดร์<br />

ว.วชิรเมธี


นั้น แท้จริงแล้วก็คือรากฐานแห่งสันติภาพอันถาวรที่จะกลายเป็น<br />

หลักประกันสันติภาพของมวลมนุษยชาติโดยรวมสืบไป<br />

เมตตาในฐานะเป็นพระพุทธคุณ<br />

พระคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามีเป็นอเนกอนันต์<br />

แม้มีปากตั้งแสน มีลิ้นตั้งล้าน ดำรงชีวิตอยู่จนตลอดกัปก็ไม่อาจ<br />

พรรณนาพระคุณของพระองค์ได้หมดสิ้น แต่เมื่อกล่าวโดยรวบยอด<br />

แล้ว พระคุณทั้งปวงของพระองค์ย่อมรวมลงในพระคุณสามประการ<br />

กล่าวคือ<br />

(๑) พระปัญญาคุณ พระคุณคือปัญญา<br />

(๒) พระวิสุทธิคุณ พระคุณคือความบริสุทธิ์<br />

(๓) พระกรุณาคุณ พระคุณคือความเมตตาต่อประชาสัตว์<br />

ด้วยพระคุณคือปัญญา ทำให้พระพุทธองค์ทรงสามารถช่วย<br />

ปลดเปลื้องมนุษย์ เทวดา ให้พ้นจากพันธนาการของกิเลสบรรดามี<br />

ทั้งหมด ด้วยพระคุณคือความบริสุทธิ์ ทำให้พระองค์ทรงปฏิบัติกิจ<br />

แห่งพระบรมศาสดาอย่างปราศจากข้อมัวหมองด้วยโลกามิสสินจ้าง<br />

ทั้งปวง และทำให้ทรงลอยพ้นจากการยึดติดถือมั่นในศีลและพรต<br />

ทุกชนิด ที ่ชาวโลกพากันยึดติดถือมั ่นอย่างแน่นเหนียว ด้วยพระคุณ<br />

คือกรุณา ทำให้พระองค์ทรงมีความเมตตาต่อประชาสัตว์ทุกถ้วนหน้า<br />

อย่างไร้พรมแดน ไร้ข้อจำกัด ทรงอุทิศพระวรกาย พระชนมชีพ<br />

เมตตาธรรม


พระปรีชาญาณ และวันเวลาทั ้งหมดให้ผ่านพ้นไปด้วยการมุ ่งทำกิจคือ<br />

การช่วยเหลือเกื้อกูลมนุษย์และเทพยดาให้ล่วงพ้นจากห้วงมหรรณพ<br />

แห่งความทุกข์ให้มากที่สุด ทุกทิวาราตรีกาลของพระองค์ผ่านพ้นไป<br />

ด้วยการทำกิจอันกอปรด้วยความเมตตาการุณย์รักต่อสัตวโลกอย่าง<br />

ไม่มีประมาณ กิจจานุกิจรายวันของพระองค์ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า<br />

ทรงบำเพ็ญพุทธกรณีย์ด้วยความเมตตาต่อประชาสัตว์มากเพียงไรนั ้น<br />

ปราชญ์ท่านประพันธ์ไว้ว่า<br />

(๑) เวลาจวนสว่าง ทรงแผ่ข่ายคือพระญาณสำรวจดูเวไนยสัตว์<br />

ที่ควรเสด็จไปโปรด<br />

(๒) เวลาเช้า เสด็จไปบิณฑบาตรวมทั้งโปรดเวไนยสัตว์ที่ทรง<br />

กำหนดหมายไว้<br />

(๓) เวลาเย็น ทรงแสดงธรรมแก่ประชาชนที่หลั่งไหลมาจาก<br />

จาตุรทิศ<br />

(๔) เวลาค่ำ ทรงแสดงธรรมโปรดภิกษุสงฆ์สาวก<br />

(๕) เวลาเที่ยงคืน ทรงแสดงธรรมโปรดชนชั้นปกครองและ<br />

เทพยดา<br />

นี่คือตารางเวลาที่แสดงให้เห็นว่า พระบรมศาสดาสัมมา-<br />

สัมพุทธเจ้าทรงกอปรด้วยพระคุณคือความกรุณา (ซึ่งย่อมหมายรวม<br />

ถึงเมตตาด้วย) ต่อสัตวโลกมากมายเพียงไร หากเราศึกษาพุทธจริยา<br />

อย่างทั่วถึงก็จะพบว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นบรมศาสดาที่ทรงงาน<br />

หนักมากที่สุดในโลกพระองค์หนึ่ง ทั้งนี้ ตั้งแต่แรกตรัสรู้ ก็ทรง<br />

ตัดสินพระทัยที่จะสั่งสอนเวไนยสัตว์ก็ด้วยแรงขับของความกรุณา<br />

ว.วชิรเมธี


(เมตตาด้วย) ระหว่างพุทธกาลและปัจฉิมพุทธกาลก็ยังคงทรงงาน<br />

หนักไม่จบสิ้น แม้กระทั่งวาระสุดท้ายก่อนวางวายทำลายขันธ์<br />

จากโลกนี้ไป ก็ยังทรงมีแก่ใจโปรดสาวกชนคนสุดท้ายอย่างสุภัทท-<br />

ปริพาชกให้ได้บรรลุอริยมรรคอริยผล สำเร็จเป็นพระอริยบุคคล<br />

ขั้นพระอรหันต์ นับเป็นปัจฉิมสาวก แล้วจึงเสด็จจากไปในฐานะ<br />

บรมศาสดาผู้บำเพ็ญพุทธกิจอย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง น้ำพระทัย<br />

อันกอปรด้วยเมตตาแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรานั้น<br />

ช่างต้องกันกับกวีนิพนธ์รจนาที่ว่า“พระกรุณาดั่งสาคร”โดยแท้<br />

เมตตาในฐานะเป็นพระนาม<br />

แห่งพระศรีอารยเมตไตรยพุทธเจ้า<br />

เป็นที ่ทราบกันดีในบรรดาพุทธศาสนิกชนว่า พระบรมโพธิสัตว์<br />

ที่จะมาตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต ซึ่งขณะนี้<br />

กำลังทรงบำเพ็ญพุทธบารมีอยู่นั้น ทรงพระนามว่า“พระศรีอารย-<br />

เมตไตรยโพธิสัตว์” อันแปลว่า “พระโพธิสัตว์ผู้ทรงเป็นมิ่งขวัญ<br />

แห่งความเมตตาอันประเสริฐ” หรือแปลง่ายๆว่า “พระพุทธเจ้าแห่ง<br />

ความเมตตา” และ /หรือ“พระพุทธเจ้าแห่งความรัก”ก็คงไม่ผิด จาก<br />

พระนามของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตกาล ทำให้เรา<br />

ทราบว่า ยุคสมัยแห่งพระศรีอารยเมตไตรยพุทธเจ้า ก็คือยุคสมัย<br />

แห่งความเมตตา เป็นกาลเวลาที่มนุษย์ สัตว์ทั้งหลายจะอยู่ร่วมกัน<br />

10<br />

เมตตาธรรม


ด้วยความรัก ความปรารถนาดี ความมีไมตรีต่อกันอย่างทั่วถึง<br />

โลกในยุคของพระองค์ก็คือ โลกที่ชนทั้งผองเป็นพี่น้องกัน เป็น<br />

โลกที่สุขเกษมศานต์เพราะพลานุภาพของปัญญา วิสุทธิ์ และกรุณา<br />

นั่นเอง<br />

๑๐ เหตุผลที่เราทุกคนควรมีเมตตา<br />

ทำไมพระบรมศาสดาของทุกศาสนาจึงเน้นย้ำให้มนุษยชาติทั ่วทั ้ง<br />

โลกอยู ่กันด้วยเมตตา เพื ่อจะตอบคำถามนี ้ ขอให้เราลองมาพิจารณา<br />

เหตุผลต่อไปนี้ร่วมกัน<br />

(๑) มนุษยชาติ รวมทั้งสรรพชีพ สรรพสัตว์ อาจเคยเป็น<br />

ญาติพี่น้องหรือวงศาคณาญาติกันมาแต่ชาติปางก่อน<br />

เพราะในสังสารวัฏอันยาวไกลที่หาจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด<br />

ไม่พบนี้ เราล้วนเคยเวียนว่ายตายเกิดกันมาแล้วนับชาติภพไม่ถ้วน<br />

ตลอดเวลาอันยาวนานนี้ เราอาจเคยเกี่ยวข้องกันมาแล้วในฐานะ<br />

ต่างๆ บ้างเคยเป็นมารดา บ้างเคยเป็นบิดา บ้างเคยเป็นบุตรธิดา<br />

บ้างเคยเป็นภรรยาสามี บ้างเคยเป็นเพื ่อน พี ่ น้อง บริวาร อาจารย์<br />

ศิษย์ ฯลฯ กันมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน ด้วยเหตุดังนี้ จึงไม่มีเหตุผล<br />

ที ่เราจะไม่เมตตาต่อคน ซึ ่งครั ้งหนึ ่งอาจเคยเป็นพี ่น้องวงศาคณาญาติ<br />

ของเราเอง<br />

(๒) มนุษย์ รวมทั้งสรรพชีพ สรรพสัตว์ ต่างก็เป็นสัตวโลก<br />

11<br />

ว.วชิรเมธี


ซึ่งดำรงความเป็นสมาชิกของโลกนี้ประเภทหนึ่งเหมือนกันกับเรา<br />

จริงอยู่ แม้คน สัตว์ เทวดา จะมีความแตกต่างกันโดย<br />

อัตภาพที่ถือกำเนิดขึ้นมาในโลกบ้าง แต่เมื่อว่าโดยภาพรวมแล้ว เรา<br />

ทั้งหมดก็ล้วนอยู่ในสังกัดเดียวกัน คือเป็นสัตวโลกผู้เป็นส่วนหนึ่ง<br />

ของโลกนี้เหมือนกัน<br />

จึงไม่มีเหตุผลที่เราจะไม่เมตตาต่อกันและกัน<br />

(๓) มนุษย์ รวมทั้งสรรพชีพ สรรพสัตว์ ต่างก็เป็นผู้ตกอยู่<br />

ในกฎธรรมชาติเช่นเดียวกันกับเรา<br />

กล่าวคือ มนุษย์ สัตว์ เทวดา แม้จะเกิดมาแตกต่างกัน แต่<br />

ก็ล้วนแล้วแต่ตกอยู่ในอาณัติของกฎแห่งธรรมชาติอันเป็นสากลที่<br />

เรียกว่า กฎไตรลักษณ์ เหมือนกันทั้งหมดทั้งสิ้น<br />

นั่นคือต่างก็ตกอยู่<br />

ในความไม่เที ่ยง (อนิจฺจตา) เป็นทุกข์ (ทุกฺขตา) เป็นอนัตตา (อนตฺตตา)<br />

และนอกจากนี้แล้ว ต่างก็ตกอยู่ใต้กฎแห่งกรรมเสมอเหมือนกัน<br />

ล้วนถูกผลักดัน ถูกเหนี ่ยวนำให้ขึ ้นสูง ลงต่ำ รุ ่งโรจน์ ร่วงโรย ด้วย<br />

พลังแห่งกรรมที่ตนเป็นผู้ลงมือทำและสั่งสมไว้ทั้งสิ้น ในเมื่อมนุษย์<br />

สัตว์ ต่างก็ตกอยู่ในวัฏจักรแห่งกรรมที่คอยเหนี่ยวนำชีวิต (กมฺมุนา<br />

วตฺตตี โลโก) เหมือนกัน เราจึงไม่ควรจงเกลียดจงชังกัน เพราะลำพัง<br />

แค่สัตวโลกแต่ละคน แต่ละตน แต่ละตัว จะต้องรับผิดชอบต่อกรรม<br />

ที ่ตนเคยก่อไว้ ก็เป็นภาระมากพอแล้ว เราจึงไม่ควรไปตอกย้ำซ้ำเติม<br />

ใครต่อใครให้เจ็บช้ำน้ำใจเพิ่มขึ้นมาอีก เมื่อพิจารณาเห็นว่า เขาก็มี<br />

กรรมของเขา เราก็มีกรรมของเราเช่นนี้แล้ว ต่างฝ่ายจึงต่างควรมี<br />

เมตตาต่อกันและกัน<br />

(๔) มนุษย์ รวมทั้งสรรพชีพ สรรพสัตว์ ล้วนถูกเชื่อมโยง<br />

1<br />

เมตตาธรรม


เข้าด้วยกันตามกฎอิทัปปัจจยตาที่ว่า<br />

“สรรพสิ่งล้วนอิงอาศัยกัน”<br />

ก็ในเมื่อเราต่างก็<br />

“อิงอาศัยกัน”หรือ “ขึ้นต่อกันและกัน”<br />

ด้วย<br />

เหตุนั้น การที่เราทำร้ายกัน ก็เหมือนกับทำร้ายตัวเอง การที่เราดี<br />

ต่อกัน ก็เหมือนดีกับตัวเอง การที่เราเมตตาต่อกัน ก็เหมือนกับ<br />

เมตตาต่อตัวเอง ในเมื่อความเป็นไปในชีวิตของเราล้วนเชื่อมโยง<br />

กับสรรพสิ่งในลักษณะ “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” เราจึงไม่มี<br />

เหตุผลอันใดที ่จะไม่มีเมตตาต่อกัน เพราะทุกคน ทุกสิ ่ง ที ่เราเมตตา<br />

ด้วย จะส่งผลย้อนกลับมาเป็นความเมตตาต่อตัวเราด้วยเสมอไป<br />

(๕) มนุษย์ รวมทั ้งสรรพชีพ สรรพสัตว์ ต่างก็มีความต้องการ<br />

พื้นฐานเช่นเดียวกันกับเรา อันได้แก่ รักสุข เกลียดทุกข์ กลัวต่อ<br />

อาชญา และหวาดผวาต่อความตายเหมือนกัน<br />

ไม่ว่ามนุษย์ สัตว์ทั ้งหลาย จะมีความต้องการที ่เป็นรายละเอียด<br />

ปลีกย่อยแตกต่างกันอย่างไรก็ตาม แต่เมื ่อกล่าวเฉพาะความต้องการ<br />

พื้นฐานอันเป็นหลักใหญ่ใจความแล้ว ต่างก็มีความต้องการพื้นฐาน<br />

ที่เป็นเช่นเดียวกัน นั่นคือ ต่างก็รักความสุข เกลียดความทุกข์<br />

กลัวต่อการลงทัณฑ์ และหวาดผวาต่อมรณภัยที่จะมาถึงด้วยกัน<br />

ทั้งหมดทั้งสิ้น ก็ในเมื่อสรรพชีพ สรรพสัตว์ ล้วนแล้วแต่มีความ<br />

ต้องการพื้นฐานเช่นเดียวกันกับเรา จึงไม่มีเหตุผลที่เราจะไม่เมตตา<br />

ต่อกัน<br />

(๖) มนุษย์ รวมทั ้งสรรพชีพ สรรพสัตว์ ต่างก็มีภาระผูกพัน<br />

ที่จะต้องรับผิดชอบเป็นภารกิจส่วนตัวมากพออยู่แล้ว<br />

เมื่อพิจารณาเห็นว่า สรรพชีพ สรรพสัตว์ ต่างคน ต่างตน<br />

1<br />

ว.วชิรเมธี


ต่างรูป ต่างนาม ต่างก็ต้องแบกภาระที ่ตนเป็นผู ้รับสืบทอดต่อมาจาก<br />

มารดาบิดา จากตระกูลวงศ์พงศา จากเผ่าพันธุ์ และจากอัตภาพ<br />

ร่างกาย รวมทั ้งจากหน้าที ่การงานที ่เป็นสมบัติส่วนตนหนักหนาสาหัส<br />

อยู่แล้ว เราจึงไม่ควรไปเติมภาระให้แก่ใครต่อใครเพิ่มขึ้นมาอีก<br />

ทางที่ดีที่สุดจึงควรมีเมตตาต่อกันและกัน ให้เขาเหล่านั้นมีวันเวลา<br />

ในการบริหารธาตุขันธ์ อัตภาพร่างกาย ให้เป็นสุขต่อไปตามอัตภาพ<br />

เถิด<br />

(๗) มนุษย์ รวมทั้งสรรพชีพ สรรพสัตว์ ต่างก็มีอายุสังขาร<br />

ที่ถูกจำกัดด้วยเงื่อนเวลาที่แสนสั้นเพียงชั่วช้างพับหู ชั่วงูแลบลิ้น<br />

ชั่วแม่ไก่ก้มกินน้ำ<br />

ชั่วลัดนิ้วมือเดียว<br />

ในเมื ่อต่างก็มีเวลาอันแสนจำกัดสำหรับยังชีพยืนชนม์อยู ่ในโลก<br />

เราจึงไม่ควรก่อกรรมทำเข็ญ โกรธ เกลียด ชิงชัง ริษยากัน อัน<br />

เป็นการใช้เวลาให้เปลืองเปล่าไปโดยไร้ประโยชน์ ดังนั้นจึงควรมี<br />

เมตตาต่อกันและกัน และรู้จักใช้เวลาแสนสั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด<br />

กิจกรรมใดที่เป็นการพร่าและฆ่าเวลาไปโดยไร้แก่นสาร ไม่ควร<br />

ข้องแวะกิจกรรมนั้นโดยประการทั้งปวง เพราะพิจารณาว่า เราต่างก็<br />

มีเวลาแสนสั้นชั่วน้ำค้างหยาดพรมบนยอดหญ้าแล้วก็จางหาย เราจึง<br />

ควรอยู ่ร่วมกันไปในโลกนี ้ด้วยสันติและเมตตา เพื ่อถนอมเวลาให้เกิด<br />

คุณูปการสูงสุดต่อชีวิต<br />

(๘) มนุษย์ รวมทั ้งสรรพชีพ สรรพสัตว์ ที ่เอากำเนิดเกิดกาย<br />

มาเวียนว่ายบนโลกในสภาพชีวิตแบบต่าง ๆ นั ้น ล้วนแล้วแต่เคยมัวเมา<br />

หลงผิด ยึดติดอยู ่ในอำนาจของกิเลสมูล คือ ความโลภ ความโกรธ<br />

ความหลง เผลอทำผิด ทำพลาด ทำการอุบาทว์นานัปการ<br />

1<br />

เมตตาธรรม


กรรมชั่วมากมายที่ต่างก็เผลอทำลงไปด้วยความหลงผิดนี้<br />

เรา<br />

ต้องรีบชำระสะสางเสียให้สิ้น ก่อนที่ร่างกายจะแตกพับพังภินท์ลงไป<br />

ในวันเวลาไหนก็ไม่อาจรู้ล่วงหน้าได้ หากเราไม่มีเมตตาต่อกัน ทว่า<br />

ยังคงปล่อยตัวปล่อยใจให้ไหลไปตามอำนาจของกิเลสอนุสัย บาปกรรม<br />

ทั้งหลายก็จะยิ<br />

่งพอกพูน ในเมื่อบาปเก่ายังไม่ได้ชำระ<br />

บาปใหม่ก็เพิ่ม<br />

เป็นทวีตรีคูณ ชีวิตก็จะถูกฉุดรั้งให้จมอยู่ในวังวนของบาปกรรมไม่รู้<br />

จบสิ้น ทางที่ดีจึงควรมีเมตตาต่อกันไว้ อย่าได้เผลอจิตปล่อยใจ<br />

ก่อเวรสร้างกรรมใหม่ให้เกิดแก่กันและกันอีกต่อไปเลย<br />

(๙) มนุษย์ รวมทั ้งสรรพชีพ สรรพสัตว์ ล้วนเป็นหนี ้บุญคุณ<br />

ของบุพการี ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม<br />

แผ่นดินถิ่นเกิด<br />

เราผู้ได้ชื่อว่าเป็นสัตวโลก ล้วนแล้วแต่ไม่มีใครมีชีวิตอยู่ได้<br />

โดยไม่อาศัยคนอื่น สิ่งอื่น แท้ที่จริงนั้น เราต่างก็เป็นหนี้บุญคุณ<br />

คนอื่น<br />

สิ่งอื่นมากมายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น<br />

หากเราไม่เมตตาต่อกัน<br />

ก็จะมัวพร่าเวลาของตนเองไปในเรื่องที่ไร้สาระ เวลาที่จะตอบแทน<br />

บุญคุณของประดาผู้มีพระคุณทั้งหลายก็จะไม่มี เมื่อเป็นเช่นนี้ หนี้<br />

แห่งชีวิตของเราก็ไม่ได้ชดใช้ คุณธรรมยิ ่งใหญ่คือความกตัญญูก็ไม่ได้<br />

บำเพ็ญ<br />

(๑๐) มนุษย์ รวมทั ้งสรรพชีพ สรรพสัตว์ เมื ่อแรกเกิดมานั ้น<br />

ล้วนมีต้นทุนเสมอกัน คือ นับว่าเป็นสัตวโลก แต่เมื ่อพัฒนาตัวเองให้<br />

เจริญยิ ่ง ๆ ขึ ้นไป สักวันหนึ ่งข้างหน้าก็ย่อมจะได้ชื ่อว่าเป็นผู ้วิวัฒนาการ<br />

ถึงจุดสูงสุดแห่งความเป็นอารยชนอารยชีวิตได้เช่นเดียวกัน<br />

วิวัฒนาการสูงสุดของจิตก็คือ การตื่นรู้สู่อิสรภาพ หลุดพ้น<br />

จากพันธนาการของกิเลสบรรดามีทั้งปวงที่รึงรัดมัดสรรพสัตว์ไว้ใน<br />

1<br />

ว.วชิรเมธี


บ่วงทุกข์ตลอดกาลอันยาวนาน ตราบใดก็ตามที่สัตวโลกทั้งหลายยัง<br />

ไม่เมตตาต่อกัน ยังขลุกขลุ่ยจมจ่อมอยู่ในความเบียดเบียน โกรธ<br />

เกลียด ชิงชังหักหาญทำร้ายกันไม่จบไม่สิ้น โอกาสที่จะหวนกลับมา<br />

พัฒนาตนเองให้ลุถึงภาวะพระนิพพานอันเป็นวิวัฒนาการสูงสุดของ<br />

จิตก็ย่อมไม่มี ดังนั้น สรรพชีพ สรรพสัตว์ จึงควรมีเมตตาต่อกัน<br />

และกัน เมื่อต่างฝ่ายต่างก็อยู่ร่วมกันด้วยเมตตาและไมตรี ย่อมจะ<br />

มีแต่สันติสุข บนพื้นฐานของสันติสุขนั่นเอง ที่เราจะมีเวลามากพอ<br />

สำหรับการพัฒนาจิตใจให้ผลิบาน ตื่นรู้ งอกงามสู่ภาวะพระนิพพาน<br />

อันเป็นสถานีสุดท้ายที่ทุกชีวิตควรไปให้ถึง<br />

ประโยชน์ของเมตตา<br />

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า สำหรับ<br />

ผู้อยู่ด้วยเมตตา (เมตตาพรหมวิหารี) ต่อสรรพชีพ สรรพสัตว์อย่าง<br />

สม่ำเสมอ ย่อมจะเห็นถึงอานิสงส์ ๑๑ ประการดังต่อไปนี้ในตัวเอง<br />

อย่างแน่นอน<br />

(๑) นอนเป็นสุข คือ ไม่กลิ้ง ไม่กรน หลับสนิทเหมือนคน<br />

เข้าสมาบัติ มีลักษณะท่าทางเรียบร้อย งดงาม น่าเลื่อมใส<br />

(๒) ตื ่นเป็นสุข คือ ตื ่นขึ ้นแล้วไม่ทอดถอนหายใจ ไม่หน้านิ ่ว<br />

คิ้วขมวด ไม่บิดไปบิดมา มีหน้าตาชื่นบานเหมือนดอกปทุมที่กำลัง<br />

แย้มบาน<br />

(๓) ไม่ฝันร้าย คือ ไม่ฝันเห็นสิ่งที่น่าเกลียดน่ากลัว เช่น<br />

1<br />

เมตตาธรรม


พวกโจรรุมล้อม สุนัขไล่กัดหรือตกเหว หากฝันเห็นแต่นิมิตที่ดีงาม<br />

เช่น ไหว้พระเจดีย์ ทำการบูชา และฟังธรรมเทศนา<br />

(๔) เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย คือ เป็นที่รักเป็นที่เจริญใจ<br />

ของคนทั้งหลายเหมือนพวงไข่มุกที่ห้อยอยู่ที่หน้าอก หรือดอกไม้<br />

ที่ประดับอยู่บนเศียร<br />

(๕) เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย คือ ไม่ได้เป็นที่รักของคน<br />

อย่างเดียว ยังเป็นที่รักตลอดไปถึงเหล่าเทวาอารักษ์ทั้งหลายด้วย<br />

(๖) เทวดาทั้งหลายคอยเฝ้ารักษา คือ เทวดาทั้งหลายย่อม<br />

คอยตามรักษา เหมือนมารดาบิดาคอยตามรักษาบุตร<br />

(๗) ไฟ ยาพิษ หรือศัสตราไม่กล้ำกราย คือ ไม่ถูกไฟไหม้<br />

ไม่ถูกวางยาพิษ หรือไม่ถูกศัสตราวุธประหาร<br />

(๘) จิตเป็นสมาธิเร็ว คือ เมื่อเจริญกรรมฐาน จิตสำเร็จเป็น<br />

อุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิเร็ว<br />

(๙) ผิวหน้าผ่องใส คือ หน้าตามีผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส<br />

เหมือนลูกตาลสุกที่หล่นจากขั้วใหม่<br />

(๑๐) ไม่หลงตาย คือ ตายอย่างสงบ เหมือนคนนอนหลับ<br />

ไปเฉยๆ<br />

(๑๑) เมื่อไม่บรรลุถึงคุณธรรมเบื้องสูง อย่างต่ำก็จะไปบังเกิด<br />

ในพรหมโลก คือ ถ้ายังไม่ได้บรรลุอรหัตผลอันเป็นคุณเบื้องสูงกว่า<br />

เมตตาฌาน พอเคลื่อนจากมนุษยโลก ก็จะเข้าสู่พรหมโลกทันที<br />

เหมือนนอนหลับไปแล้วตื่นขึ้นมา<br />

ที่กล่าวมาคือประโยชน์ของเมตตาในเชิงปัจเจกบุคคล แต่เมื่อ<br />

1<br />

ว.วชิรเมธี


พิจารณาถึงประโยชน์ของเมตตาในระดับส่วนรวมแล้วก็จะพบว่า<br />

เมื่อโลกทั้งผองเป็นพี่น้องกัน เพราะต่างก็มีเมตตาต่อกันและกัน<br />

แล้ว ก็จะทำให้มนุษยชาติสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ปฏิบัติการ<br />

เบียดเบียนทำร้ายซึ่งกันและกันก็จะลดน้อยถอยลงไป สันติภาพ<br />

สันติสุขก็จะเกิดขึ ้นทั ้งในใจ ในชีวิตประจำวัน และในโลกอย่างยั ่งยืน<br />

ชีวิตคน ชีวิตสัตว์ ชีวิตพืช ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และโลก ก็จะ<br />

ถูกทำลายน้อย ถูกเบียดเบียนเบาบาง ทรัพยากรของโลกก็จะถูกใช้<br />

อย่างมีสติ อย่างคำนึงถึงผลกระทบต่อคน สัตว์ สิ่งแวดล้อม โลก<br />

จะมีความเสี่ยงต่อการแตกดับช้าลง ภยันตรายที่เกิดจากการเบียด-<br />

เบียนทำลายซึ่งกันและกันในมิติต่างๆก็จะถูกบรรเทาเบาบางลงเป็น<br />

อันมาก ด้วยอานุภาพแห่งเมตตา จะสามารถทำให้สันติภาพที ่แท้จริง<br />

เกิดขึ้นได้ที่ใจของเราทุกคน และแผ่กระจายไปปกป้องคุ้มครองโลก<br />

ทั้งหมดให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติเหมือนที่พุทธศาสนสุภาษิตกล่าวไว้ว่า<br />

“โลโก ปตฺถมฺภิกา เมตตา” (เมตตาธรรมค้ำจุนโลก)<br />

วิธีแผ่เมตตา<br />

วิธีแผ่เมตตาหรือวิธีสร้างเมตตานั้นมีอยู่ ๒ แบบด้วยกัน<br />

แบบแรกก็คือการแผ่เมตตาในระดับโลกทัศน์ คือ การตระหนักรู้<br />

ว่าโลกทั้งผองล้วนเป็นพี่น้องกัน ตามหลักสัจธรรมพื้นฐานเรื่อง<br />

อิทัปปัจจยตา (interbeing) ในเมื ่อเราพิจารณาเห็นว่า มนุษย์ สัตว์<br />

1<br />

เมตตาธรรม


ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม โลก ล้วนดำรงอยู่ในจักรวาลนี้ในลักษณะ<br />

อิงอาศัยกัน เกื้อกูลกัน ขึ้นต่อกันและกัน เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กัน<br />

และกัน ด้วยเหตุดังนั้น เราจึงควรเมตตาต่อกัน เพราะเมื่อเรา<br />

เมตตาต่อกัน ก็มีความหมายเท่ากับว่า เรากำลังเมตตาต่อตัวเราเอง<br />

ด้วยเสมอไป<br />

หากมนุษยชาติตระหนักรู้ในสัจธรรมข้อนี้อย่างลึกซึ้ง ความ<br />

เมตตาที่สากลก็จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ การแผ่เมตตาแบบนี้จะเกิด<br />

ขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราเข้าใจหลักอิทัปปัจจยตา จนมองเห็นความจริงว่า<br />

สรรพสิ ่งหลอมรวมเป็นเนื ้อเดียวกัน เชื ่อมโยงกันในลักษณะเครือข่าย<br />

ทั่วทั้งสากลจักรวาลอันเป็นอนันต์ หากโลกนี้มีมนุษย์เข้าใจหลัก<br />

ความสัมพันธ์แบบสรรพสิ่งล้วนอิงอาศัยกันได้มากเพียงใด โลก คือ<br />

ชีวิตและสรรพสิ่ง ก็จะถูกประพรมให้ชุ่มเย็นอยู่เสมอด้วยน้ำคือ<br />

เมตตาอย่างกว้างขวางลึกซึ ้งเพียงนั ้น ปัญญาที ่หยั ่งถึงความจริงสากล<br />

ของโลกที่เรียกว่าอิทัปปัจจยตานี้แหละคือรากฐานของสันติภาพโลก<br />

ที่เที่ยงแท้และยั่งยืน และเมตตาที่เกิดจากปัญญาอันหยั่งถึงความ<br />

สากลเช่นนี้ ก็เป็นเมตตาที่สากลด้วยเช่นเดียวกัน กล่าวอีกนัยหนึ่ง<br />

ว่า เมตตาที ่สากลคือความสามารถที ่จะรักคนได้ทั ้งโลกอย่างปราศจาก<br />

การวางเงื ่อนไข และโลกในอุดมคติที ่พุทธศาสนาปรารถนาจะให้เกิดขึ ้น<br />

ก็คือ โลกที่มนุษยชาติอยู่ร่วมกันกับสรรพชีพ สรรพสัตว์ และ<br />

สรรพสิ่งด้วยเมตตา โลกที่พึงปรารถนาเช่นนี้ก็คือ โลกที่ปราศจาก<br />

การเบียดเบียนกันและกันในทุกความหมาย (อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลเก)<br />

นี่คือโลกในอุดมคติที่เราสร้างได้ด้วยรักแท้ คือเมตตาที่สากลจาก<br />

1<br />

ว.วชิรเมธี


ปัญญาที่สากลของเราเอง<br />

การแผ่เมตตาแบบที่หนึ่งนี้<br />

ควรเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า<br />

เป็นการ<br />

แผ่เมตตาด้วยปัญญา และการแผ่เมตตาแบบที่สอง ควรเรียกว่า<br />

เป็นการแผ่เมตตาด้วยการส่งพลังจิตแห่งความปรารถนาดีไปยัง<br />

สรรพชีพ สรรพสัตว์ ซึ่งวิธีที่สองนี้นิยมปฏิบัติกันอยู่ทั่วไปในหมู่<br />

ชาวพุทธ เมื่อจะแผ่เมตตาในแบบที่สองนี้ พึงปฏิบัติดังต่อไปนี้<br />

แผ่เมตตาให้ตัวเอง<br />

การแผ่เมตตาให้ตัวเองนี้ ท่านให้ปฏิบัติโดยให้เหตุผลว่าเพื่อ<br />

เป็นการเตรียมใจให้เกิดเมตตาที ่แท้ โดยใช้วิธีให้ถือเอาตัวเองเป็นที ่ตั ้ง<br />

ว่า ตัวเองมีความปรารถนาสุข เกลียดทุกข์ กลัวตายฉันใด คนอื่น<br />

สัตว์อื่น เขาก็ย่อมรักสุข เกลียดทุกข์ กลัวตาย ฉันนั้นเหมือนกัน<br />

วิธีการอย่างนี้เรียกว่าเป็นการฝึก“เอาใจเขามาใส่ใจเรา” เมื่อเราเอา<br />

ใจเขามาใส่ใจเราแล้ว ก็จะเกิดความ“เห็นอกเห็นใจ”คนอื่น สัตว์อื่น<br />

ด้วยความรู้สึกที่เข้าถึงอกเขาอกเราเช่นนี้ เมื่อแผ่เมตตาออกไป จิต<br />

ก็จะมีความพร้อมในการแผ่เมตตาออกไปอย่างเต็มเปี่ยม ไม่ใช่การ<br />

แผ่เมตตาโดยสักว่าแผ่เพียงแต่ปากอีกต่อไป แบบแผนการแผ่เมตตา<br />

เช่นนี้<br />

มีข้อความที่ถือสืบๆกันมาดังต่อไปนี้<br />

0<br />

เมตตาธรรม


อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้า จงมีความสุข<br />

อะหัง นิททุกโข โหมิ ขอให้ข้าพเจ้า จงปราศจากความทุกข์<br />

อะหัง อะเวโร โหมิ ขอให้ข้าพเจ้า จงปราศจากเวร<br />

อะหัง อัพ๎ยาปัชโฌ โหมิ ขอให้ข้าพเจ้า จงปราศจากความ<br />

ลำบาก<br />

อะหัง อะนีโฆ โหมิ ขอให้ข้าพเจ้า จงปราศจากอุปสรรค<br />

สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ ขอให้ข้าพเจ้า จงมีความสุขกาย สุขใจ<br />

รักษาตนของตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น...เทอญ<br />

แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์<br />

ผู้ที่แผ่เมตตาให้ตนเองบนพื้นฐานของการเอาใจเขามาใส่ใจเรา<br />

แล้ว หลังจากนั้นจึงควรแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ โดยปฏิบัติตาม<br />

แบบแผนการแผ่เมตตาดังต่อไปนี้<br />

สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ<br />

ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น<br />

อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรต่อกันและ<br />

กันเลย<br />

อัพ๎ยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด อย่าได้พยาบาท<br />

เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย<br />

1<br />

ว.วชิรเมธี


อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย<br />

ทุกข์ใจเลย<br />

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตน<br />

ให้พ้นจากทุกข์ภัยด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้นเทอญ<br />

เมตตาธรรม


กรณีศึกษา<br />

“พลานุภาพของเมตตา”<br />

ความเข้าใจเกี่ยวกับเมตตาและการแผ่เมตตาที่กล่าวมานั้น<br />

จะยังไม่สมบูรณ์ ถ้ายังไม่ได้กล่าวถึง“ตัวอย่าง”ของพลังแห่งเมตตา<br />

ในที่นี้จึงขอยกตัวอย่างพลังของเมตตาทั้งสองแบบ คือ เมตตาเชิง<br />

ปัจเจกที่เป็นการแผ่เมตตาส่วนบุคคล และเมตตาระดับโลกทัศน์<br />

ที่เป็นการปรับเปลี่ยนมุมมองจากความเห็นแก่ตัวเป็นการเห็นแก่<br />

สรรพสัตว์อย่างที่เรียกกันว่า“โลกทั้งผองพี่น้องกัน”มาให้พิจารณา<br />

โดยในเรื่องที่หนึ่งนั้นเป็นตัวอย่างของพลังเมตตาในสมัยพุทธกาล<br />

เรื่องที่สองนั้นเป็นตัวอย่างของพระวิปัสสนาจารย์ชั้นนำชาวไทย และ<br />

เรื่องที่สามเป็นเรื่องของพระวิปัสสนาจารย์ชาวต่างชาติที่ปัจจุบันเป็น<br />

ลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงรูปหนึ่งของหลวงพ่อชา<br />

สุภัทโท<br />

(๑) พลานุภาพของเมตตาสมัยพุทธกาล<br />

ในสมัยพุทธกาล ภิกษุกลุ ่มหนึ ่งเรียนกรรมฐานจากครูบาอาจารย์<br />

แล้วก็ชวนกันเข้าไปฝึกภาคปฏิบัติอยู่กลางป่า ตั้งแต่ก้าวแรกที่ภิกษุ<br />

ว.วชิรเมธี


กลุ่มนั้นเหยียบย่างเข้าสู่ป่า ต่างก็รู้สึกไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นอยู่เป็น<br />

ระยะๆ เมื่อเวลาผ่านไปหลายวัน ภิกษุกลุ่มนั้นพบว่ามีบางสิ่งที่<br />

ไม่ปกติคอยคุกคามพวกตนอยู ่ใกล้ๆ แล้ววันหนึ ่งเจ้าสิ ่งที ่คอยคุกคาม<br />

ให้ต้องเสียวสันหลังวูบวาบกันก็เหิมเกริมถึงขนาดปรากฏตัวให้เห็น<br />

เป็นภาพอันน่าเกลียดน่ากลัว ชวนขนพองสยองเกล้า ภิกษุกลุ่มนั้น<br />

ถูกรบกวนหนักถึงขั้นนี้ก็ทนอยู่ต่อไปไม่ได้ ในที่สุดต้องตัดสินใจ<br />

เก็บกลด บาตร ออกจากป่า มุ่งหน้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าถึงที่ประทับ<br />

พร้อมกับเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ทรงสดับ พระพุทธองค์ได้สดับแล้วทรง<br />

แย้มพระโอษฐ์พลางตรัสว่า<br />

“ภิกษุทั้งหลาย ที่เป็นเช่นนี้เพราะพวกเธอมิได้นำเอาอาวุธไป”<br />

“อาวุธอะไรหรือพระเจ้าข้า” ภิกษุนับสิบถามขึ้นพร้อมกัน<br />

“อาวุธ คือเมตตา ยังไงล่ะ”<br />

ว่าแล้วก็ทรงสอนวิธีแผ่เมตตาให้ ภิกษุใหม่กลุ ่มนั ้นเรียนเอาวิธี<br />

แผ่เมตตาแล้วก็ชวนกันกลับเข้าป่าไปใหม่ คราวนี้พอเริ่มเหยียบย่าง<br />

เข้าสู่เขตป่า<br />

ต่างรูปก็ต่างแผ่เมตตาโดยพร้อมเพรียงกัน<br />

ด้วยเหตุนี้ทุกอย่างจึงราบรื่นดีตั้งแต่แรกย่างเข้าสู่ป่า บรรดา<br />

รุกขเทวดาอมนุษย์ทั ้งหลายต่างก็อนุโมทนาสาธุการ ไม่มีแม้แต่สิงสา-<br />

ราสัตว์มาเพ่นพ่านกวนใจ ป่าทั ้งป่าสงบสงัดเหมือนได้รับการจัดสรรไว้<br />

เพื ่อรองรับพระหนุ ่มเณรน้อยทั ้งหลายโดยเฉพาะ เมื ่อสภาพแวดล้อม<br />

เป็นใจถึงเพียงนี้ ใช้เวลาไม่นานนักภิกษุกลุ่มนั้นก็บรรลุถึงฝั่งแห่ง<br />

ชีวิตพรหมจรรย์กันถ้วนหน้า ได้เป็นอริยบุคคลไปตามๆกัน<br />

เมตตาธรรม


(๒) พลานุภาพของเมตตาของพระไทย<br />

ตัวอย่างข้างต้นนี ้อาจจะเก่าไปสักนิด เพราะเป็นเรื ่องราวในสมัย<br />

พุทธกาล บางท่านอาจติดใจว่าไม่ร่วมสมัยและไกลตัว<br />

ดังนั ้นจะขอเล่าอีกสักเรื ่องหนึ ่งซึ ่งเป็นเรื ่องใกล้ตัว เพราะเกิดขึ ้น<br />

ในประเทศไทยเรานี่เอง ทั้งยังเป็นเรื่องของครูบาอาจารย์ซึ่งเป็นที่<br />

เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนคนไทยทั้งหลายเสียด้วย นั่นคือ<br />

เมตตานุภาพของหลวงพ่อลี ธัมมะธะโร พระวิปัสสนาจารย์ผู้เป็น<br />

ลูกศิษย์คนหนึ่งของหลวงปู ่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่ฝ่าย<br />

วิปัสสนากรรมฐานของประเทศไทย<br />

หลวงพ่อลีเคยเล่าถึงอานุภาพของการแผ่เมตตาจากประสบ-<br />

การณ์ตรงของตนเองไว้ว่า<br />

“ในระหว่างที่อยู่จังหวัดนครสวรรค์นี้ได้ออกไปพักอยู่ในป่า<br />

ห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๒๐ เส้น วันหนึ่งได้ยินเสียงช้างป่ากับช้าง<br />

ตกมันร้อง เสียงดังเพราะกำลังต่อสู้กันอยู่ สู้กันอยู่ประมาณ ๓ วัน<br />

ช้างป่าสู้ไม่ได้ ถึงแก่ความตาย ส่วนช้างตกมันไม่เป็นอะไร เมื่อเป็น<br />

ดังนั ้น ช้างตกมันก็ยิ ่งดุร้าย พลุ ่งพล่านอาละวาดหนักขึ ้น ได้วิ ่งขับไล่<br />

ใช้งาทิ่มแทงผู้คนซึ่งอยู่ในบริเวณป่าที่เราพักอยู่<br />

“เจ้าของช้างตกมันคือขุนจบฯ กับชาวบ้านซึ่งอยู่ในบริเวณนั้น<br />

ได้ขอนิมนต์ให้เข้าไปพักในบ้าน เราไม่ยอมไป รู ้สึกหวาดเสียวอยู ่บ้าง<br />

แต่อาศัยขันติและเชื่ออำนาจแห่งความเมตตา<br />

“ต่อมาวันหนึ่ง เวลาบ่าย ประมาณ ๑๖.๐๐ น. ช้างตกมัน<br />

ว.วชิรเมธี


ตัวนั้นได้วิ่งมายืนอยู่ข้างหน้าที่พักของเรา ห่างที่เราพักประมาณ ๒๐<br />

วา ขณะนั้นเรากำลังนั่งบำเพ็ญภาวนาอยู่ เมื่อได้ยินเสียงร้องจึงได้<br />

โผล่หน้าออกไปจากที ่พัก เห็นช้างตกมันงาขาวยืนหูชันทำท่าทางน่ากลัว<br />

นึกขึ ้นในใจว่า ถ้ามันวิ ่งพุ ่งมาหาเราชั ่วระยะเวลาไม่ถึง ๓ นาทีก็ถึงตัว<br />

“เมื ่อนึกเช่นนั ้นก็เกิดความกลัว จึงกระโดดออกจากที ่พักไปถึง<br />

ต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งห่างจากที่พักประมาณ ๓ วา ขณะที่กำลังเอามือ<br />

เหนี่ยวต้นไม้ ก้าวขาปีนต้นไม้ได้ข้างหนึ่ง ก็ได้ยินเสียงคล้ายคน<br />

กระซิบที่หูว่า<br />

‘เราไม่จริง กลัวตาย คนกลัวตายจะต้องตายอีก’<br />

“เมื่อได้ยินเสียงกระซิบเตือนเช่นนี้ จึงปล่อยมือ ปล่อยเท้า<br />

รีบเดินกลับไปที่พักนั่น เข้าที่ ไม่หลับตา หันหน้าไปทางทิศที่ช้าง<br />

ยืนอยู ่ นั ่งภาวนาแผ่เมตตาจิต ในระหว่างนี ้ได้ยินเสียงชาวบ้านโห่ร้อง<br />

กันดังสนั่นหวั่นไหว ตกอกตกใจว่าพระรูปนั้น (หมายถึงเรา) คงจะ<br />

แย่ ไม่มีใครช่วยเหลือท่าน ได้ยินแต่เสียงพูดกันอย่างนี้ แต่ก็ไม่<br />

ปรากฏว่ามีคนกล้าเข้ามาใกล้ตัวเราเลยแม้แต่คนเดียว<br />

“ได้นั่งแผ่เมตตาจิตอยู่ประมาณ ๑๐ นาที มองเห็นช้างตัวนั้น<br />

ตีหูโบกขึ้นลง เสียงพึ่มพับๆอยู่ประมาณสักครู่หนึ่ง แล้วก็หันหลัง<br />

กลับ เดินเข้าป่าไป”<br />

(๓) พลานุภาพแห่งเมตตาที่เป็นสากล<br />

หากเราสามารถทำให้การแผ่เมตตาของเรามีความเป็นกลางได้<br />

เสมือนหนึ่งสายฝนที่คงความชุ่มเย็นเสมอกัน ไม่ว่าจะตกใส่คนจน<br />

เมตตาธรรม


คนรวย คนดี หรือคนชั่ว และเสมือนแสงจันทร์ที่สาดโลมผืนโลก<br />

โดยไม่เลือกที ่รัก ไม่มักที ่ชังแล้วไซร้ เมื ่อนั ้นแหละการแผ่เมตตาของ<br />

เราจึงจะเป็นการแผ่เมตตาในความหมายที่แท้<br />

การแผ่เมตตาในระดับนี้เท่านั้นที่จะส่งผลเป็นความสงบร่มเย็น<br />

ขึ้นมาในชีวิตและเราจะสัมผัสได้ว่า หากเราแผ่เมตตาจากหัวใจอัน<br />

บริสุทธิ์ต่อเพื่อนมนุษย์อย่างแท้จริงแล้ว ผิวพรรณของเราจะผ่องใส<br />

ใบหน้าผุดผาด ความรู้สึกก็โปร่ง โล่ง เบา เป็นอิสระ และสงบ<br />

ร่มเย็น จิตเป็นสมาธิ มีความฉับไวต่อการรับรู้ มีความแหลมคม<br />

ต่อการขบคิดเป็นพิเศษ ไปที่ไหนหรืออยู่ที่ใดก็ตาม เราจะสัมผัสได้<br />

ถึงไมตรีจิตที่แผ่กระจายโอบล้อมอยู่รอบตัวเรา ความรู้สึกอันอบอุ่น<br />

เป็นมิตรไมตรีจากสรรพสิ่งรอบข้างเช่นนี้ จะเป็นภาวะที่คนมีเมตตา<br />

เป็นเรือนใจได้รับเป็นกำไรตอบแทนชนิดทันตาเห็นเสมอ แต่เมื่อไหร่<br />

ก็ตามที่การแผ่เมตตาของเรายังเป็นการแผ่เมตตาที่มี“เงื่อนไข” ผล<br />

ทั ้งหลายเช่นที ่กล่าวมานี ้หายไป และการแผ่เมตตาของเราจะกลายเป็น<br />

พิธีกรรมที่ว่างเปล่า<br />

ประสบการณ์ตรงจากต่างแดนของพระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ<br />

(ฌอน ชิเวอร์ตัน) อดีตเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ จังหวัดอุบลราชธานี<br />

น่าจะเป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการแผ่เมตตาที่เป็นสากลได้เป็น<br />

อย่างดี<br />

พระอาจารย์ชยสาโรเคยเล่าว่า ก่อนที่จะมาปักหลักใช้ชีวิตเป็น<br />

นักบวชในพระพุทธศาสนาอยู่ที่ประเทศไทยอย่างยาวนานมาจนถึง<br />

ทุกวันนี ้นั ้น ช่วงหนึ ่งของชีวิตหลังจากสำเร็จการศึกษา ท่านได้ใช้ชีวิต<br />

ว.วชิรเมธี


เร่ร่อนไปทั่วโลกเพื่อเสาะแสวงหาคำตอบทางจิตวิญญาณให้กับตัวเอง<br />

แล้ววันหนึ่งท่านก็พารูปสังขารอันแสนมอซอ ไม่ต่างอะไรกับลูกนก<br />

ตกน้ำไปเดินหันรีหันขวางอยู ่ท่ามกลางฝูงชนในนครหลวงของประเทศ<br />

อิหร่าน และที่แห่งนี้เอง<br />

“...ในขณะที่กำลังเดินโดยพยายามไม่มองร้านอาหารข้างทางที่<br />

ดึงดูดสายตาเหลือเกิน ไม่ดมกลิ่นหอมที่โชยออกมา เราได้สวนทาง<br />

กับผู้หญิงคนหนึ่ง เขาเห็นเราแล้วก็หยุดชะงัก จ้องมองเราอย่าง<br />

ตกตะลึงพักหนึ่ง แล้วเดินตรงมาหาหน้าบูดบึ้ง แล้วสั่งให้ตามเขาไป<br />

โดยใช้ภาษามือ เราเป็นนักแสวงหาเลยยอมเดินตาม เดินไปสัก<br />

สิบนาทีก็ถึงตึกแถว ขึ้นลิฟต์ไปชั้นที่สี่ สันนิษฐานว่าคงเป็นบ้านเขา<br />

แต่เขาไม่พูดไม่จาอะไรเลย ยิ้มก็ไม่ยิ้ม<br />

หน้าถมึงทึงตลอด<br />

“พอเปิดประตูเข้าไป ปรากฏว่าเป็นบ้านของผู้หญิงคนนี้จริงๆ<br />

เขาพาไปที่ห้องครัวแล้วชี้ไปที่เก้าอี้ ให้นั่ง นั่งแล้วเขาเอาอาหารมาให้<br />

กินหลายๆอย่าง<br />

“อาตมารู้สึกเหมือนได้ขึ้นสวรรค์ ทำให้รู้ว่าอาหารที่อร่อยที่สุด<br />

ในโลกคือ อาการที่กินขณะท้องกำลังร้องจ๊อกๆด้วยความหิว เขา<br />

เรียกลูกชายมา สั ่งอะไรก็ไม่รู ้ เพราะฟังไม่รู ้เรื ่อง แต่สังเกตว่าลูกชาย<br />

คงอายุไล่เลี ่ยกับเรา สักพักลูกชายก็กลับมาพร้อมเสื้อผ้าชุดหนึ่ง<br />

พอเห็นเราอิ่มหนำสำราญแล้วก็ชี้ไปที ่ห้องน้ำ สั่งให้อาบน้ำเปลี ่ยน<br />

ชุดใหม่ (ของเก่าน่ากลัวเอาไปเผา) เขาไม่ยิ้มไม่แย้ม ไม่พูดจาอะไร<br />

เลย มีแต่สั่งอย่างเดียว<br />

“ขณะอาบน้ำอยู ่ก็คิดสันนิษฐานว่า แม่คนนี ้อาจเห็นอาตมาแล้ว<br />

เมตตาธรรม


วาดภาพถึงลูกชายเขาเองว่า ถ้าลูกเราเดินทางไปต่างประเทศแล้ว<br />

ตกทุกข์ได้ยากอย่างนี ้ อยู ่ในสภาพน่าสมเพชอย่างนี ้ มันจะเป็นอย่างไร<br />

เลยคิดแต่งตั้งเขาเป็นแม่กิตติมศักดิ์ประจำเมืองอิหร่าน ยืนยิ้ม<br />

หน้าบานอยู ่ในห้องน้ำคนเดียว<br />

“เมื่อเสร็จเรียบร้อย เขาก็ไปส่งเราตรงจุดที่ได้เจอกัน แล้ว<br />

เดินลุยเข้าไปในกระแสชาวเมืองที่กำลังเดินไปทำงาน อาตมายืนมอง<br />

ผู้หญิงอิหร่านคนนั้นถูกหมู่ชนกลืนหายไป รู้อย่างแม่นยำว่าชาตินี้คง<br />

ไม่มีวันลืมเขาได้ อาตมาประทับใจและซาบซึ ้งมาก น้ำตาทำท่าจะไหล<br />

คลอ เขาให้เราทั ้งๆที ่ไม่รู ้จักกันเลย ตัวสูงๆผอมๆเหมือนไม้เสียบผี<br />

จากป่าช้าไหนก็ไม่รู ้ เสื ้อผ้าก็เหม็นสกปรก ผมก็ยาวรุงรัง แต่เขากลับ<br />

ไม่รังเกียจ มิหนำซ้ำยังพาเราไปที ่บ้าน ดูแลเหมือนเราเป็นลูกของ<br />

เขาเอง โดยไม่หวังผลอะไรตอบแทนจากเราเลยแม้แต่การขอบคุณ<br />

“เวลาผ่านมายี่สิบกว่าปีแล้ว อาตมาจึงอยากประกาศคุณของ<br />

พระโพธิสัตว์หน้าบูดคนนี้ให้ทุกคนได้ทราบ<br />

ว่าในเมืองใหญ่ๆก็ยังมี<br />

คนดี และอาจจะมีมากกว่าที่เราคิด”<br />

อุปสรรคของเมตตา<br />

แม้เมตตาจะเป็นคุณธรรมที่ก่อให้เกิดความชุ่มชื่นแก่ดวงใจ<br />

เป็นสายธารแห่งมิตรภาพ เป็นผืนแผ่นดินแห่งสันติภาพ เป็นดอกไม้<br />

แห่งไมตรี ที่จะทำให้คน สัตว์ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม อยู่ร่วมโลก<br />

ว.วชิรเมธี


กันอย่างสันติ แต่บางทีการมีเมตตาต่อกันก็มิใช่เรื ่องที ่จะทำได้ง่าย ถ้า<br />

เช่นนั้นแล้วอุปสรรคของเมตตาคืออะไร ในที่นี้ขอชี้ให้เห็นอุปสรรค<br />

ของเมตตา ๔ ประการ<br />

(๑) ปราการแห่งทิฐิ ๑<br />

(๒) อคติ: ความลำเอียง ๔<br />

(๓) ความตระหนี่<br />

๕<br />

(๔) การไม่ฝึกฝนเมตตาภาวนา ๑<br />

ปราการแห่งทิฐิ ๑<br />

มนุษย์ปุถุชนย่อมจะถูกม่านแห่งความเชื่อบางอย่างบังดวงตา<br />

คือปัญญาเอาไว้ อันเป็นเหตุให้มองไม่เห็นความจริงที่อยู่เบื้องหลัง<br />

ของจริงที่ตนกำลังเผชิญอยู่ตรงหน้า เพื่อความเข้าใจขอให้พิจารณา<br />

เรื่องราวดังต่อไปนี้<br />

“เด็กหนุ่มนักศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิคแห่งหนึ่ง เป็นเด็ก<br />

เรียนดี นิสัยดี แต่มาเรียนหนังสืออยู่ในวิทยาลัยเทคนิคแห่งนี้ใน<br />

เมืองไทยที่ขึ้นชื่อในเรื่องการยกพวกตีกันของกลุ่มนักศึกษา วันหนึ่ง<br />

มีนักศึกษาสองคณะราว ๑๐ คน ยกพวกตีกันและมีการใช้อาวุธปืน<br />

ยิงคู่ต่อสู้ ลูกกระสุนพลาดไปถูกนักศึกษาที่เป็นเด็กเรียนดีคนนั้น<br />

ซึ่งขณะนั้นกำลังนั่งอ่านตำราอยู่ใต้ต้นไม้ริมสนามหญ้า กระสุน<br />

ถูกเข้าที่ไหล่ขวาหนึ่งนัด เพื่อนๆนำนักศึกษาคนนี้ไปส่งโรงพยาบาล<br />

0<br />

เมตตาธรรม


ที่อยู่ไม่ไกลจากวิทยาลัยแห่งนั้น แต่เมื่อแพทย์และพยาบาลเห็น<br />

เครื่องแบบวิทยาลัยที่นักศึกษาเคราะห์ร้ายคนนั้นสวมแล้ว ต่างก็<br />

ให้การเยียวยารักษาอย่างขอไปที กว่าที่นักศึกษาคนนั้นจะได้รับการ<br />

ทำแผล ผ่าตัดเอากระสุนออก เวลาก็ผ่านไปเนิ่นนานจนอาการของ<br />

นักศึกษาคนนั้นทรุดลงทุกที เมื่อเพื่อนๆเห็นปฏิกิริยาของแพทย์และ<br />

พยาบาลเป็นเหมือนไม่ใส่ใจคนเจ็บ จึงอดรนทนไม่ไหว เพื่อนของ<br />

นักศึกษาคนนั้นลุกขึ้นไปถามพยาบาลว่า ทำไมไม่รีบรักษาเพื่อนที่<br />

เจ็บหนักของเขาเสียที พยาบาลตอบด้วยประโยคที่ทุกคนก็คาดไม่ถึง<br />

“ไอ้เด็กเทคนิคพวกนี ้มันตีกันทุกวัน ในเมื ่อมันอยากตายกันนัก<br />

ก็น่าจะปล่อยให้มันตายกันไปเสีย ถึงรักษาไปก็ไม่ช่วยให้พวกมัน<br />

เป็นคนดีขึ ้นมาหรอก ปล่อยไว้อย่างนี ้แหละ ให้มันรู ้เสียบ้างว่า ความ<br />

คึกคะนองของพวกมันทำให้คนอื่นเขาเดือดร้อน...”<br />

เพื่อนๆของนักศึกษานิสัยดีคนนี้ได้ยินพยาบาลพูดอย่างนั้น<br />

จึงรีบแก้ไขความเข้าใจผิดของพยาบาลทันทีด้วยการชี ้แจงว่า นักศึกษา<br />

คนนี้ไม่ใช่พวกอันธพาล แต่เขาเป็นเด็กเรียน นิสัยดี เป็นที่รักของ<br />

เพื ่อนๆ เขาไม่ได้อยู ่ในกลุ ่มนักศึกษาที ่ตีรันฟันแทงกันแม้แต่ครั ้งเดียว<br />

เขาเพียงแต่ถูก“ลูกหลง”เท่านั้น แม้จะชี้แจงอย่างไร แต่แพทย์และ<br />

พยาบาลก็ไม่สนใจจะฟังเหตุผลเสียแล้ว เพราะทั้งแพทย์และ<br />

พยาบาลต่างก็มี“ทิฐิ” (ความเชื่อที่ผิด) ล่วงหน้าอยู่ชุดหนึ่งแล้ว และ<br />

ด้วยทิฐิเช่นที่กล่าวมานี้เอง ทำให้แพทย์และพยาบาลจึงไม่สามารถ<br />

ที่จะ“เมตตา”ต่อคนเจ็บได้อย่างเต็มหัวใจเหมือนกรณีที่เขาเมตตา<br />

ต่อคนทั่วไป<br />

1<br />

ว.วชิรเมธี


ในโลกแห่งความเป็นจริง ยังมีคนอีกมากมายที่ไม่สามารถ<br />

เมตตาหรือปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ได้อย่างหมดหัวใจ เพราะ<br />

พวกเขาเหล่านั้นต่างก็ศรัทธาในความเชื่อบางอย่าง ลัทธิบางลัทธิ<br />

นิกายบางนิกาย ความจริงเพียงบางแง่มุมที่พวกเขาได้รับรู้ ทำให้<br />

พวกเขาหลงติดอยู ่ใน“เงา”ของความจริง แล้วก็ไม่สามารถที ่จะเข้าถึง<br />

แก่นสารของความจริงที่แท้ได้ ศักยภาพที่จะเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์<br />

และสรรพสัตว์ถึงแม้จะมีอยู่ในใจของพวกเขา แต่ศักยภาพนี้ก็ไม่<br />

สามารถแสดงตนออกมาเกื้อกูลมนุษยชาติและสรรพสัตว์ได้ เพราะ<br />

ถูกกักขังเอาไว้ด้วยกำแพงแห่งทิฐิ เช่นกรณีของแพทย์และพยาบาล<br />

ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น<br />

อคติ: ความลำเอียง ๔<br />

อคติ หมายถึง ภาวะที่ใจสูญเสียสมดุล ภาวะที่ใจตกเป็น<br />

ฝักฝ่ายข้างใดข้างหนึ ่งเพราะมีแรงจูงใจบางอย่างคอยผลักดัน แรงจูงใจ<br />

ให้ใจเสียสมดุลจนเกิดเป็นอคติหรือความลำเอียงนี้มีอยู่ ๔ ประการ<br />

คือ<br />

(๑) ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรัก<br />

(๒) โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง<br />

(๓) โมหาคติ ลำเอียงเพราะหลง<br />

(๔) ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว<br />

เมตตาธรรม


ลำเอียงเพราะรัก ทำให้มองไม่เห็นข้อผิดพลาดของคน สัตว์<br />

สิ่งของที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้อง ผลเสียหายก็คือ แม้คน สัตว์ สิ่งของ<br />

ที่อยู่ตรงหน้า จะมีข้อเสียเพียงใด แต่ตนก็มองไม่เห็น จึงหลงรัก<br />

หลงเมตตา หลงเกื้อกูลจนเกิดการเลือกข้างและเข้าข้างมากเกินพอดี<br />

ลำเอียงเพราะชัง ทำให้มองไม่เห็นข้อดีของคน สัตว์ สิ่งของ<br />

ที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้อง ผลเสียหายก็คือ แม้คน สัตว์ สิ่งของที่อยู่<br />

ตรงหน้าจะมีข้อดีเพียงใด แต่ตนก็มองไม่เห็น เมตตาไม่ได้ รักไม่ลง<br />

ลำเอียงเพราะหลง ทำให้มองไม่เห็นทั้งข้อดีข้อเสียของคน<br />

สัตว์ สิ่งของที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้อง ผลเสียก็คือ ทำให้ไม่สามารถ<br />

เมตตา ช่วยเหลือเกื้อกูลคน สัตว์ สิ่งของที่อยู่ตรงหน้าได้อย่าง<br />

สอดคล้องกับความเป็นจริง อันนำไปสู่การมี“สัมพันธพลาด” ไม่ใช่<br />

“สัมพันธภาพ” ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์กับคน สัตว์ สิ่งของ วิปลาส<br />

ก่อความเสียหายเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์<br />

ลำเอียงเพราะกลัว ทำให้แม้จะมองเห็นว่า คน สัตว์ สิ่งของ<br />

ที่อยู่ตรงหน้า มีข้อดี แต่ก็ไม่อาจเมตตา ช่วยเหลือ มีข้อเสีย แต่ก็<br />

ไม่อาจหลีกเลี่ยง เพราะกลัวว่าเมื่อเลือกข้างอย่างใดอย่างหนึ่ง ตน<br />

จะต้องสูญเสียหรือได้รับภยันตรายอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงเลือกที่จะ<br />

วางท่าทีอย่างผิดพลาดคลาดเคลื่อน เข้าข้างฝั่งหนึ่งมากไป หรือ<br />

ทอดทิ ้งอีกฝั ่งหนึ ่งมากไป หาสมดุลในการปฏิสัมพันธ์ไม่พบ สัมพันธ์<br />

เกี่ยวข้องกับใคร<br />

สิ่งใด<br />

ก็ก่อให้เกิดปัญหาตามมาเสมอ<br />

ว.วชิรเมธี


อคติทั้งสี่ประการนี้จะหายไปก็ต่อเมื่อใช้ปัญญาพิจารณาจน<br />

สามารถมองเห็นทุกสิ ่งที ่อยู ่ตรงหน้าอย่างทั ่วถึง ถ่องแท้ ทุกแง่ทุกมุม<br />

เหมือนพระพุทธเจ้าทรงมองทะลุสรรพสัตว์ว่า แม้จะมีความต่างกัน<br />

ในทางอัตภาพร่างกาย แต่ว่าโดยเนื้อแท้ ต่างก็เป็นเพียง“รูป”และ<br />

“นาม”ที่ยังคงมืดบอดหลงติดอยู่ในตาข่ายแห่งกิเลสอนุสัยด้วยกัน<br />

ทั ้งหมดทั ้งสิ ้น เมื ่อทรงเห็นความจริงอย่างถึงที ่สุดเช่นนี ้ จึงทรงสามารถ<br />

“เมตตา”ต่อสรรพสัตว์ได้อย่างปราศจากเงื่อนไข<br />

เมตตาธรรมที่ทรงมี<br />

ต่อมนุษย์และสรรพสัตว์ จึงสำแดงออกมาดังหนึ ่งแสงเดือนแสงตะวัน<br />

ที่สาดโลมผืนโลกอย่างไร้ไฝฝ้าราคีแห่งอคติด้วยประการทั้งปวง<br />

ความตระหนี่<br />

๕<br />

ความตระหนี่หรือความหวงแหน ความพยายามกีดกันไม่ให้<br />

ผู้อื่นได้ดีหรือมีส่วนร่วมในสมบัติหรือทรัพยากรอันมีค่า ซึ่งเป็นเหตุ<br />

ให้มนุษย์เห็นแก่ตัว มุ ่งแต่ทำเพื ่อตัวเอง โดยไม่คำนึงถึงคนอื ่น ทำให้<br />

ไม่สามารถอยู ่ร่วมกันด้วยเมตตา ทั ้งยังจ้องหาเหตุทำลายซึ ่งกันและกัน<br />

เกิดมาจากความยึดติดหวงแหนผลประโยชน์ทั้งห้าดังต่อไปนี้<br />

(๑) อาวาสมัจฉริยะ ตระหนี ่หวงแหนแผ่นดินถิ ่นที ่อยู ่ ไม่อยาก<br />

ให้ใครมาอยู่ มาอาศัย มาใช้สอยร่วมด้วย สงวนบ้านเรือน อาคาร<br />

สถานที่<br />

ไว้เฉพาะตนหรือพวกของตนฝ่ายเดียว<br />

(๒) กุลมัจฉริยะ ตระหนี่หวงแหนตระกูลวงศ์พงศา ไม่อยาก<br />

เมตตาธรรม


ให้ใครเข้ามามีส่วนร่วมแบ่งปันผลประโยชน์ในตระกูล<br />

(๓) ลาภมัจฉริยะ ตระหนี ่หวงแหนผลประโยชน์ที ่เกิดขึ ้นแก่ตน<br />

หรือพวกพ้อง ป้องกันไม่ให้ใครเข้ามาแบ่งปันหรือมีส่วนร่วม กิน ใช้<br />

บริโภค ผลประโยชน์หรือทรัพยากรที่ตนถือครองอยู่<br />

(๔) วัณณมัจฉริยะ ตระหนี่หวงแหนวรรณะ อันได้แก่ (๑)<br />

สรีรวรรณะ หวงแหนสีผิว เช่น คนผิวขาวหวงแหนผลประโยชน์<br />

ต่างๆไว้ให้เฉพาะคนผิวขาว พยายามกีดกันไม่ให้คนผิวดำเข้ามามี<br />

ส่วนแบ่งในผลประโยชน์ที่เป็นของคนผิวขาว สภาพเช่นนี้ก่อให้เกิด<br />

สงครามสีผิว เช่นในสหรัฐอเมริกา ที่คนผิวขาวผูกขาดผลประโยชน์<br />

มากมาย แล้วพยายามกดคนผิวดำให้ตกต่ำลงเป็นพลเมืองชั้นสอง<br />

จนในที่สุดเกิดขบวนการเรียกร้องความเสมอภาคให้แก่พลเมืองผิวดำ<br />

ที ่นำโดยดร.มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ และโรซา ปาร์คส์ จนรัฐบาล<br />

ของคนผิวขาวแห่งสหรัฐอเมริกาต้องตรากฎหมายรับรองสิทธิพลเมือง<br />

(Civil Right) ให้คนผิวดำและผิวขาวต่างก็มีความเสมอภาคกันในทาง<br />

การเมือง เป็นต้น (๒) คุณวรรณะ หวงแหนเกียรติคุณ ไม่อยาก<br />

ให้ใครมีคุณความดียิ่งไปกว่าตน ทนไม่ได้ที่มีคนที่เด่นกว่าเหนือกว่า<br />

ตัวเองในแง่คุณงามความดี ต้องการสงวนความเด่นความดีไว้เฉพาะ<br />

ตนผู้เดียว รวมทั้งไม่อยากฟัง ไม่อยากรู้ ไม่อยากเห็นคนที่เด่น<br />

กว่าตน ตลอดถึงการแบ่งชั้นวรรณะกันเป็นวรรณะสูง วรรณะต่ำ<br />

แล้วสงวนสิทธิ์ต่างๆไว้ให้เฉพาะคนในวรรณะเดียวกันเท่านั้น เช่น<br />

วรรณะพราหมณ์ผูกขาดการศึกษา วรรณะกษัตริย์ผูกขาดการปกครอง<br />

วรรณะแพศย์ผูกขาดการทำธุรกิจ ทำให้คนวรรณะศูทร รวมทั ้งจัณฑาล<br />

ว.วชิรเมธี


ซึ่งเป็นวรรณะที่ต่ำสุด เข้าไม่ถึงโอกาสทางการศึกษา การปกครอง<br />

การทำธุรกิจ เป็นต้น การแบ่งแยกคนออกเป็นวรรณะ เคยเป็นที่มา<br />

ของความอยุติธรรมมากมาย ดังมีตัวอย่างให้เห็นในสังคมคนอินเดีย<br />

มาจนทุกวันนี ้ ที ่คนวรรณะต่ำถูกปิดกั ้นโอกาสทางการเมือง การศึกษา<br />

และการเข้าถึงบริการพื ้นฐานของรัฐในหลายๆด้าน ทำให้คนวรรณะต่ำ<br />

ต้องมีชีวิตที่ขาดคุณภาพชีวิตอย่างน่าสงสาร<br />

(๕) ธัมมมัจฉริยะ ตระหนี ่หวงแหนธรรมะ วิชาความรู ้ วิทยาการ<br />

ภูมิปัญญา ที่ตนได้บรรลุ ที่ตนรู้แจ้งเห็นจริง ที่ตนเชี่ยวชาญจัดเจน<br />

ที ่ตนมีความเป็นเลิศ ไม่อยากแบ่งปันให้ใครมามีส่วนในระบบภูมิธรรม<br />

ภูมิปัญญาที ่ตนครอบครอง ในปัจจุบันก็เทียบได้กับการที ่ชาวโลกนิยม<br />

จดสิทธิบัตรสิ ่งประดิษฐ์คิดค้นหรือนวัตกรรมต่างๆที ่ตนเป็นผู ้รังสรรค์<br />

ขึ้นมา<br />

โดยไม่ยอมให้ผู้ใดเข้ามาร่วมถือครองเป็นเจ้าของด้วย<br />

ความตระหนี่หวงแหนทั้งห้าประการดังกล่าวมานี้ ทำให้คน<br />

เกิดภาวะ“ใจแคบ” ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ ทำให้ไม่สามารถที่จะเมตตา<br />

ใครได้อย่างเต็มที่ ศักยภาพของหัวใจนั้น แม้จะสามารถรักคนได้<br />

ทั ้งโลก เมตตาคนและสรรพชีพ สรรพสัตว์ได้ทั ้งจักรวาล แต่ก็ไม่อาจ<br />

เปิดใจให้กว้างขวางถึงที ่สุดได้ เพราะเกรงแต่ว่าคนอื ่น สัตว์อื ่น จะเข้ามา<br />

แย่งชิงผลประโยชน์บรรดามีไปจากตน คนที่หวงแหนผลประโยชน์<br />

จึงเป็นมนุษย์พันธุ์ใจแคบ<br />

ซึ่งพลอยทำให้โลกของเขาแคบตามไปด้วย<br />

เหมือนที ่กวีผู ้หนึ ่งกล่าวไว้ว่า “โลกนี ้กว้างใหญ่สำหรับคนใจกว้าง โลกนี ้<br />

อ้างว้างสำหรับคนใจแคบ”<br />

เมตตาในใจของคนนั้น เปรียบเสมือนสายน้ำที่หลั่งไหลอยู่<br />

เมตตาธรรม


ใต้ผืนดินซึ่งมีปริมาณมากมายมหาศาล แต่เมื่อไม่มีใครขุดเจาะลงไป<br />

ใต้ผิวดิน น้ำปริมาณมากมายนั ้นก็คงถูกกักขังอยู ่อย่างนั ้นเอง ไม่อาจ<br />

สำเร็จประโยชน์แก่ใครแต่อย่างใด เมตตาที่ถูกผืนแผ่นดินแห่ง<br />

ความตระหนี่ปิดกั้นเอาไว้ ก็มีคติเช่นนั้น นั่นคือ ถึงแม้จะมี แต่ก็<br />

เหมือนกับไม่มี<br />

การไม่ฝึกฝนเมตตาภาวนา ๑<br />

การฝึกเจริญเมตตาภาวนานั ้นเป็นกรรมฐาน คือ กระบวนการ<br />

ฝึกจิตประเภทหนึ่งในพุทธศาสนา เรียกว่า“เมตตากรรมฐาน” ภิกษุ<br />

หรือบุคคลทั่วไปที่ฝึกเจริญเมตตากรรมฐานได้ผลเป็นอย่างดีนั้น<br />

เรียกว่าเป็นผู้อยู่ด้วย“เมตตาพรหมวิหาร”<br />

ในพุทธประวัติ พระพุทธเจ้าทรงยกย่องภิกษุรูปหนึ่งชื่อ<br />

“พระสุภูติ”ว่าเป็นผู้ที่ฝึกเมตตากรรมฐานได้ผลอย่างดียิ่ง จนทรง<br />

ยกย่องไว้ในเอตทัคคฐานันดรว่าเป็น“ผู ้เจริญฌาน (กรรมฐาน) ประกอบ<br />

ด้วยเมตตา” (หรือผู้อยู่ด้วยอรณวิหาร = ผู้อยู่โดยปราศจากศัตรู<br />

เพราะท่านมีแต่เมตตาต่อคนทั้งปวงเป็นนิตย์) กล่าวกันว่า พระสุภูติ<br />

นั้นเป็นผู้ครองตนกอปรด้วยเมตตาอยู่เสมอ แม้แต่ในขณะที่ไป<br />

บิณฑบาตในยามเช้าของแต่ละวัน ท่านก็ยังแผ่เมตตาให้แก่ผู้ถวาย<br />

อาหารบิณฑบาตอย่างทั่วถึง ในฝ่ายอุบาสิกา พระพุทธเจ้าก็ทรง<br />

ยกย่องพระนางสามาวดี ว่าเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฐานะ<br />

ว.วชิรเมธี


“ผู้อยู่อย่างมีเมตตา”<br />

(เมตตาพรหมวิหารี)<br />

ธาตุแห่งความเมตตาหรือความปรารถนาดีต่อสรรพชีพ สรรพ-<br />

สัตว์นั ้น มีอยู ่แล้วในตัวเราทุกคน แต่หากเราไม่ได้ฝึกใจให้เมตตาต่อ<br />

มนุษยชาติและสรรพสัตว์ ใจนั้นก็อาจถูกปิดกั้นด้วยอุปสรรคของ<br />

เมตตาที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดนั้น ต่อเมื่อใดก็ตามที่เราเพียรฝึกใจ<br />

ให้กอปรด้วยเมตตาอยู่เสมอ ใจก็จะเปี่ยมด้วยกระแสแห่งเมตตา<br />

สามารถมองดูคน สัตว์ ทั ่วทั ้งโลกด้วยสายตาแห่งไมตรีอารีรัก ปรารถนา<br />

แต่อยากจะให้คนอื่นมีความสุข<br />

มีความเจริญยิ่งๆขึ้นไป<br />

เมตตาธรรม


ภาคปฏิบัติ: วิธีฝึกใจให้เปี่ยมเมตตา<br />

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค พระพุทธโฆษาจารย์แนะกุศโลบายในการ<br />

ฝึกเจริญเมตตาภาวนาไว้ว่า การฝึกใจให้มีเมตตานั้น ควรรำลึกถึง<br />

สรรพชีพ สรรพสัตว์ โดยไม่จำเพาะเจาะจง แล้วแผ่เมตตา คือ<br />

ความรัก ความปรารถนาดีออกไปให้ครอบคลุมสรรพชีพ สรรพสัตว์<br />

โดยอาการทั้ง<br />

๕ ดังต่อไปนี้<br />

(๑) สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ, อัพ๎ยาปัชฌา โหนตุ,<br />

อะนีฆา โหนตุ, สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.<br />

ขอสัตว์ทั ้งปวงจงอย่าผูกเวรกัน, จงอย่าเบียดเบียนกัน, จงอย่า<br />

มีทุกข์, จงมีสุข รักษาตนอยู่ไปให้ตลอดเถิด<br />

(๒) สัพเพ ปาณา อะเวรา โหนตุ, อัพ๎ยาปัชฌา โหนตุ,<br />

อะนีฆา โหนตุ, สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.<br />

ขอปาณะทั้งปวงจงอย่าผูกเวรกัน, จงอย่าเบียดเบียนกัน, จง<br />

อย่ามีทุกข์, จงมีสุข รักษาตนอยู่ไปให้ตลอดเถิด<br />

(๓) สัพเพ ภูตา อะเวรา โหนตุ, อัพ๎ยาปัชฌา โหนตุ, อะนีฆา<br />

โหนตุ, สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.<br />

ขอภูตทั ้งปวงจงอย่าผูกเวรกัน, จงอย่าเบียดเบียนกัน, จงอย่า<br />

มีทุกข์, จงมีสุข รักษาตนอยู่ไปให้ตลอดเถิด<br />

(๔) สัพเพ ปุคคลา อะเวรา โหนตุ, อัพ๎ยาปัชฌา โหนตุ,<br />

อะนีฆา โหนตุ, สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.<br />

ว.วชิรเมธี


ขอบุคคลทั้งปวงจงอย่าผูกเวรกัน, จงอย่าเบียดเบียนกัน, จง<br />

อย่ามีทุกข์, จงมีสุข รักษาตนอยู่ไปให้ตลอดเถิด<br />

(๕) สัพเพ อัตตะภาวะ ปริยาปันนา อะเวรา โหนตุ, อัพยา-<br />

ปัชฌา โหนตุ, อะนีฆา โหนตุ, สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.<br />

ขอผู้มีอัตภาพทั้งปวงจงอย่าผูกเวรกัน, จงอย่าเบียดเบียนกัน,<br />

จงอย่ามีทุกข์, จงมีสุข รักษาตนอยู่ไปให้ตลอดเถิด<br />

เมื่อมนุษย์อยู่กันด้วยเมตตา<br />

พรหมบนฟ้าก็ไม่จำเป็น<br />

เมตตาธรรมจัดอยู่ในหมวดธรรมหลายชุด แต่ชุดที่โดดเด่น<br />

ที ่สุดดูเหมือนจะเป็นที ่มาในชุด“พรหมวิหารธรรม” (หลักธรรมสำหรับ<br />

ฝึกใจให้เป็นพรหม, พรหมคือผู้อยู่อย่างมีใจไร้อคติ, แผ่ความรัก<br />

ความเมตตาให้แก่สรรพชีพ สรรพสัตว์ทุกถ้วนหน้าอยู่เป็นนิตย์)<br />

คนอินเดียแต่โบราณมีความเชื่อกันว่า พระพรหมเป็นเทพเจ้า<br />

สูงสุด พระพรหมเป็นผู้สร้างโลก สร้างสรรพสิ่ง ชีวิตของมนุษย์<br />

จะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่พรหมลิขิต ครั้นพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นมา<br />

ในโลกแล้ว ทรงนำเสนอคำสอนใหม่ว่า สิ ่งที ่จะสร้างสรรค์บันดาลชีวิต<br />

ของคนเรานั ้นไม่ใช่พรหมที ่อยู ่บนฟ้า แต่เป็นพรหมที ่อยู ่ในมนุษยโลก<br />

คือ มนุษย์ทั่วไปที่มี“พรหมวิหารธรรม”อยู่ในใจนั่นเอง มนุษย์ที่มี<br />

ใจเปี่ยมด้วยพรหมวิหารธรรมนี่แหละคือพระพรหมที่เดินเหินอยู่ใน<br />

0<br />

เมตตาธรรม


โลกนี้จริงๆ<br />

มนุษย์ที่เปี่ยมด้วยพรหมวิหารธรรมจนกลายเป็นพระพรหม<br />

ผู้สร้างสรรค์โลกตามแนวพุทธศาสนามีตัวอย่างอยู่มากมาย<br />

เช่น<br />

มหาเศรษฐีแอนดรูว์ คาร์เนกี ที่สละทรัพย์มากมายก่อตั้งเป็น<br />

มูลนิธิ และเขาได้ใช้เงินจากมูลนิธิที่ตนตั้งขึ้นก่อสร้างห้องสมุดให้แก่<br />

นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วโลกกว่า<br />

๓,๐๐๐ แห่ง<br />

มหาเศรษฐีอัลเฟรด โนเบล อดีตพ่อค้าขายอาวุธสงคราม<br />

ชื่อก้องคนหนึ่งของโลก เขาเคยร่ำรวยจากเม็ดเงินมหาศาลอันเป็น<br />

ผลจากการขายอาวุธสงครามอย่างระเบิดไดนาไมต์ เป็นต้น แต่ใน<br />

บั้นปลายของชีวิต เขารู้สึกเสียใจที่ได้ก่อกรรมทำเข็ญกับเพื่อนมนุษย์<br />

เอาไว้มาก (= เมตตาธรรมเกิด) จึงเขียนพินัยกรรมอุทิศทรัพย์สิน<br />

มหาศาลที ่สะสมไว้ตั ้งเป็นมูลนิธิตามชื ่อของตนเอง โดยมีวัตถุประสงค์<br />

เพื่อมอบรางวัลให้แก่มนุษยชาติผู้สามารถสร้างนวัตกรรมด้านการ<br />

แพทย์ เคมี ฟิสิกส์ สันติภาพ และการนิมิตวรรณกรรมชั้นยอด<br />

ให้กับโลก<br />

เรารู้จักรางวัลอันทรงเกียรติยศสูงสุดของโลกนี้ในชื่อ“รางวัล<br />

โนเบล” และด้วยรางวัลที่เกิดจากความเมตตาต่อมนุษยชาติของเขา<br />

ทำให้มนุษยชาติจำนวนมากมายเกิดแรงบันดาลใจอยากสร้างสรรค์<br />

นวัตกรรมที่เกื้อกูลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกให้เป็นไปในทิศทางที่ดี<br />

ยังคงทุ่มเทอุทิศตนทำงานอย่างหนักมาอย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้<br />

เมตตาของอัลเฟรด โนเบล ทำให้โลกหลังการจากไปของเขามีนวัตกรรม<br />

ที่เกื้อกูลต่อความอยู่เย็นเป็นสุขของโลกเพิ่มขึ้นมากมาย<br />

1<br />

ว.วชิรเมธี


แม่ชีเทเรซา แม่พระจากย่านสลัมในกรุงมุมไบ ประเทศอินเดีย<br />

อุทิศชีวิตทั้งชีวิตเพื่อช่วยเหลือคนยากจนข้นแค้นที่ป่วยเพราะขาด<br />

อาหาร ขาดเวชภัณฑ์ ขาดการศึกษา ในสลัมที่กรุงมุมไบ ทั้งยัง<br />

กระจายความเมตตาการุณย์รักแผ่ไปช่วยคนในส่วนอื่นๆของโลกอีก<br />

มากมายนับไม่ถ้วน จนได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ซึ ่งที ่ถูกนั ้น<br />

อาจจะเรียกว่า สาขาเมตตาการุณย์ต่อสัตว์โลกก็ได้<br />

ภิกษุณีเจิ้งเหยียน ชาวไต้หวัน เกิดความสะเทือนใจจากการ<br />

เห็นหยดเลือดของสตรีชาวเขาคนหนึ่งที่มาทำคลอดที่โรงพยาบาล<br />

แห่งหนึ่งในไต้หวัน แล้วทางคลินิกไม่ยอมทำคลอดให้เพียงเพราะ<br />

เธอมีเงินไม่พอจ่ายค่าทำคลอด สามีต้องนำเธอกลับไปยังบ้านบนเขา<br />

ด้วยความทุกข์ทรมานปางตาย ด้วยความสะเทือนใจจนกลายเป็น<br />

ธรรมสังเวชคราวนั้น ท่านตัดสินใจขอรับเงินบริจาคจากชาวไต้หวัน<br />

ทั้งประเทศจนสามารถก่อตั้งมูลนิธิ“ฉือจี้”ขึ้นมาเป็นหน่วยงาน<br />

ขับเคลื ่อนการสร้างทั ้งโรงพยาบาล สร้างทั ้งแพทย์ที ่มี“หัวใจแห่งความ<br />

เป็นมนุษย์” (Humanized Man) สร้างโรงเรียนอนุบาล ประถม<br />

มัธยม และมหาวิทยาลัย ที่เน้นการศึกษาเพื่อช่วยกันสร้างสรรค์<br />

อภิบาลโลกให้เปี ่ยมไปด้วยความร่มเย็นเป็นสุข โดยใช้พรหมวิหารธรรม<br />

เป็นปรัชญาในการทำงาน ทุกวันนี้มูลนิธิฉือจี้ของท่านกลายเป็น<br />

องค์กรการกุศลที่หว่านโปรยความสุขให้กับคนไปทั่วโลก กล่าวกันว่า<br />

หากมีผู้ประสบวินาศภัยที่ไหนก็ตามในโลกนี้ จะมีอาสาสมัครจาก<br />

มูลนิธิฉือจี้เข้าไปเพื่อช่วยเหลือคนเหล่านั้นอย่างทันท่วงที หรืออย่าง<br />

ช้าสุดก็ไม่เกินหนึ่งวัน<br />

เมตตาธรรม


จิมมี คาร์เตอร์ อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ที่แม้<br />

จะเป็นอดีตประธานาธิบดีของประเทศมหาอำนาจไปแล้ว แต่เขายังคง<br />

เปลี ่ยนชื ่อเสียงของตนเองและทรัพย์สินที ่มีมาตั ้งเป็นมูลนิธิเพื ่อตระเวน<br />

ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากไปทั่วโลก รวมทั้งเป็นนักเจรจาไกล่เกลี่ย<br />

ให้กับหลายประเทศด้อยพัฒนาที ่มีสงครามกลางเมืองเพื ่อสันติภาพโลก<br />

เขาทำงานเสี่ยงตายเหล่านี้ทำไม ถ้าไม่ใช่เพราะเมตตาต่อมนุษยชาติ<br />

เป็นแรงจูงใจ ทั้งๆที่เขาสามารถมีชีวิตที่สงบสุขอยู่ในประเทศมหา-<br />

อำนาจของตนได้อย่างสบาย<br />

บิล เกตส์ ประธานคณะกรรมการบริหารบริษัทไมโครซอฟท์ ์ ซึ ่ง<br />

ประสบความสำเร็จสูงสุดในโลกจนได้รับการจัดอันดับจากนิตยสาร<br />

ฟอร์บส์ ของสหรัฐอเมริกา ให้เป็นมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในโลกติดต่อ<br />

กันมาเกินสิบสมัย บิล เกตส์ เปลี่ยนเม็ดเงินมหาศาลของเขาให้เป็น<br />

มูลนิธิที ่มีทุนจดทะเบียนและมีเงินกองทุนสำหรับช่วยเหลือเพื ่อนมนุษย์<br />

มากที่สุดในโลก เขาใช้เงินในมูลนิธิที่ตั้งตามชื่อของตนและภรรยา<br />

ช่วยเหลือการศึกษา การคิดค้นเวชภัณฑ์ต้านไวรัสเอดส์ การแก้ปัญหา<br />

ความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศด้อย<br />

พัฒนาปีละนับพันล้านดอลลาร์ กล่าวเฉพาะปี ๒๐๐๙ เขาบริจาคเงิน<br />

เพื ่อการพัฒนาประสิทธิภาพการสอนของครูในสหรัฐอเมริกาเป็นมูลค่า<br />

กว่า ๓๓๕ ล้านดอลลาร์ (ราว ๑๑,๐๐๐ ล้านบาท) บิล เกตส์ ทำงาน<br />

การกุศลทั้งหมดก็ด้วยแรงจูงใจที่ชื่อเมตตา คือปรารถนาจะเห็นโลก<br />

วันนี้ที่ดีกว่าวันวาน<br />

และวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่าวันนี้<br />

บุคคลผู้มีชื่อเสียงระดับโลกที่กล่าวมาพอเป็นตัวอย่างข้างต้นนี้<br />

ว.วชิรเมธี


คือประจักษ์พยานที่ชี้ให้เห็นว่า ถ้าหากมนุษยชาติมีใจอันเปี่ยมด้วย<br />

เมตตาพรหมวิหารธรรมแล้ว มนุษย์ธรรมดาอย่างเราทั้งหลายนี่เอง<br />

ก็คือพระพรหมในอัตภาพของมนุษย์ที่จะสามารถรังสรรค์อภิบาลและ<br />

ลิขิตโลกนี้ให้เป็นทิพยสถานอันน่ารื่นรมย์<br />

กล่าวอีกนัยหนึ ่งว่า โลกจะเป็นอย่างไร ขึ ้นอยู ่กับการสร้างสรรค์<br />

ของมนุษย์ในโลกนี ้ ไม่ใช่อยู ่ที ่การลิขิตของพระพรหมบนสวรรค์ เลิก<br />

มองหาพระพรหมที่อยู่บนฟ้า มาช่วยกันพัฒนาตนให้เป็นพระพรหม<br />

บนดินด้วยเมตตาธรรมกันดีกว่า<br />

เมตตาแท้ ไม่ต้องเพียร ไม่ต้องแผ่ ไม่ต้องเพ่ง<br />

แต่ให้เปล่งประกายออกมาเองจากใจที่ตื่นรู้<br />

การแผ่เมตตาที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น แม้จะเป็นสิ่งที่ดีมีคุณค่า<br />

เพียงไรก็ตาม แต่ก็ยังเป็นเพียงการ“เพียรพยายาม”ที ่จะสร้างเมตตา-<br />

ธรรมนั้นขึ้นมาในกรอบกาลเทศะหนึ่งๆเท่านั้น ยังไม่ใช่เมตตาธรรม<br />

แท้ที ่บริสุทธิ ์ ดังนั ้น เมตตาธรรมที ่กล่าวมา จึงนับว่าไม่เพียงพอที ่จะ<br />

หล่อเลี้ยงตนและคนอื่นให้สามารถสร้างโลกที่ร่มเย็นเป็นสุข ไร้การ<br />

เบียดเบียนได้จริง หากเราปรารถนาจะพัฒนาเมตตาที่เป็นสากลให้เกิดขึ ้น<br />

ถึงขั้นชนิดที ่ไม่ต้อง“เพียรพยายาม”แผ่เมตตา แต่ให้เมตตาธรรม<br />

นั ้นกลายเป็นส่วนหนึ ่งของคุณภาพจิตอย่างยั ่งยืนตลอดไป เราก็จำเป็น<br />

อย่างยิ ่งที ่จะต้องฝึกหัดพัฒนาตนให้มี“เมตตาเป็นเรือนใจ”อยู ่เป็นนิตย์<br />

เมตตาธรรม


การที่จะทำเช่นนี้ได้ ไม่มีวิธีอื่นใดดีไปกว่าการฝึกตนให้ลอยพ้นกิเลส<br />

ทั้งปวง เพราะเมื่อจิตของเราหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงแล้ว จิตจะมี<br />

คุณสมบัติพื้นฐานอย่างน้อยสามประการ<br />

กล่าวคือ<br />

(๑) ปัญญาที่ตัดกิเลสได้เด็ดขาด<br />

(ปัญญา)<br />

(๒) จิตใจที่บริสุทธิ์หลุดพ้นเป็นอิสระ<br />

(วิสุทธิ)<br />

(๓) ความรักแท้ที่ไร้พรมแดน<br />

(กรุณา)<br />

ในบรรดาคุณสมบัติทั้งสามประการนี้ “เมตตา”ก็คือ“กรุณา”<br />

อันส่งผลออกมาเป็นความรักต่อสรรพชีพ สรรพสัตว์ อย่างไร้พรมแดน<br />

นั่นเอง กรุณานี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า“ความสงสาร” ผู้รู้ท่านเปรียบ<br />

ให้เห็นภาพว่า ผู้ที่บรรลุถึงฝั่งแห่งวิมุติหลุดพ้นแล้ว<br />

ย่อมเป็นเช่นกับ<br />

บุคคลที่ว่ายน้ำข้ามขึ้นฝั่งได้อย่างปลอดภัยแล้ว และกำลังยืนอยู่บน<br />

ฝั่ง ทอดตามองลงมายังผู้คนมากมายที่ยังคงลอยคออยู่ในทะเลแห่ง<br />

ความทุกข์ ครั้นเห็นคนทุกข์เหล่านั้นแล้วก็เกิดความรักอย่างไพศาล<br />

ปรารถนาแต่จะช่วยเขาเหล่านั้นให้พ้นทุกข์ และมีความสุขอยู่กับการ<br />

เพียรช่วยคนให้พ้นทุกข์นั ้นเป็นแรงจูงใจให้ก้าวออกไปทำงานช่วยเหลือ<br />

เกื้อกูลชาวโลกอย่างไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากตรากตรำตลอดชีวิต<br />

พระพุทธองค์และเหล่าพระอริยสาวกล้วนทรงงาน /ทำงานหนักใน<br />

การเกื้อกูลชาวโลกด้วยคุณธรรมคือกรุณา (ซึ่งย่อมหมายรวมถึง<br />

เมตตา) นี้เป็นแรงจูงใจ และด้วยกรุณา /เมตตาแท้ๆที่หลั่งไหล<br />

ออกมาเองอย่างเป็นธรรมชาตินี ่เอง จึงทำให้ท่านกลายเป็นบุคคลแห่ง<br />

เมตตา เป็นที่มาของรักแท้ ที่สามารถช่วยสร้างสรรค์พัฒนาโลกนี้<br />

ให้ร่มเย็นเป็นสุขได้อย่างยั่งยืน<br />

ว.วชิรเมธี


การที่ปัจเจกบุคคลจะพัฒนาตนให้พบเมตตาแท้ที่เป็นสากล<br />

ชนิดที่ไม่ต้องแผ่ ไม่ต้องเพ่ง ไม่ต้องเพียร แต่เป็นการเปลี่ยนให้<br />

เมตตาธรรมนั้นกลายเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของจิตใจอย่างเป็น<br />

ธรรมชาติชนิดที่เรียกกันว่า มีเมตตาเป็นเรือนใจ (พรหมวิหาร-<br />

ธรรม) อยู ่เสมอนั้น วิธีการที่ดีที่สุดก็คือ การปฏิบัติตามหลัก<br />

อริยมรรคมีองค์ ๘ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การเจริญวิปัสสนา-<br />

กรรมฐานนั่นเอง เพราะเมื่อบุคคลมาเจริญวิปัสสนากรรมฐานจนถึง<br />

ที่สุดแล้ว ก็จะเกิดภาวะวิมุติหลุดพ้น เป็นอิสระจากกิเลสที่รัดรึง<br />

จิตใจบรรดามีทั ้งหมด จิต ปัญญา และพฤติกรรมมีแต่ความบริสุทธิ ์<br />

สะอาด ปราศจากไฝฝ้าราคีแห่งอคติ ก้าวข้ามสมมุติบัญญัติอันเป็น<br />

อุปสรรคแห่งรักแท้ทั้งปวง และดังนั้น จึงสามารถรักคน เมตตา<br />

คนได้อย่างหมดใจ ไร้วาระซ่อนเร้น วันเวลาที ่เหลือจึงถูกใช้ไปในการ<br />

เกื ้อกูลชาวโลกอย่างบริสุทธิ ์ใจ อุปมาง่าย ๆ ก็เป็นดั ่งแสงเดือนแสงตะวัน<br />

ที่สาดโลมผืนโลกโดยไม่เคยคิดทวงถามถึงการตอบแทนนั่นเอง<br />

กล่าวอีกนัยหนึ ่งว่า รักแท้ที ่เป็นสากล คือ ความสามารถที ่จะ<br />

รักคนได้ทั ้งโลกนั ้น จะเกิดขึ ้นมาก็ต่อเมื ่อปัจเจกบุคคลได้ก้าวพ้นจาก<br />

บรรดากิเลสทั้งปวงแล้วเท่านั้น และการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน<br />

ก็คือหนทางสู่รักแท้หรือเมตตาที่เป็นสากลดังกล่าวมา<br />

ในที่นี้ขอแนะนำวิธีการเจริญวิปัสสนากรรมฐานเบื้องต้นตาม<br />

แนวทางแห่ง“อานาปานสติสูตร” ซึ่งเป็นพระสูตรที่ทรงยืนยันว่า<br />

ทำให้พระองค์ทรงตรัสรู้และทรงแนะนำให้พุทธสาวกเพียรประพฤติ<br />

ปฏิบัติ ทั้งในฐานะที่เป็นวิปัสสนาวิธีที่ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพาน<br />

เมตตาธรรม


และทั้งในฐานะที่เป็นวิหารธรรม (ธรรมประจำเรือนใจ) โดยมีสาระ<br />

สำคัญดังต่อไปนี้<br />

อานาปานสติสมาธิ: ปฏิบัติเพียงหนึ่งแต่ได้ทั้งหมด<br />

มีความเข้าใจคลาดเคลื ่อนในหมู ่ผู ้สนใจปฏิบัติธรรมในเมืองไทย<br />

บางกลุ ่มว่า การเจริญสมาธิ โดยเฉพาะอย่างยิ ่งอานาปานสติสมาธินั ้น<br />

เป็นเพียง“สมถภาวนา” ส่วนการเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนว<br />

สติปัฏฐาน ๔ ต่างหากจึงเป็น“วิปัสสนาภาวนา” ทัศนะเช่นนี้ทำให้มี<br />

การมองข้าม หรือเห็นว่าอานาปานสติภาวนาไม่สำคัญ หรือถึงจะสำคัญ<br />

ก็ไม่เท่าสติปัฏฐาน ๔ ความเห็นเช่นนั้นนับว่าไม่สอดคล้องกับความ<br />

เป็นจริง เพราะเมื่อจะกล่าวให้ถูกแล้ว การเจริญอานาปานสตินั้น<br />

เป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา มีทั้งศีล สมาธิ ปัญญา รวมอยู่ใน<br />

สมาธิแบบนี ้อย่างสมบูรณ์ โดยที ่ ๓ หมวดแรกของอานาปานสติสมาธิ<br />

นับว่าเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา ส่วนหมวดที่ ๔ เป็นวิปัสสนาล้วน<br />

(พึงสังเกตวิธีปฏิบัติซึ่งจะกล่าวต่อไป) หรืออีกนัยหนึ่ง หลักสติ-<br />

ปัฏฐาน ๔ หมวดแรก ซึ่งว่าด้วยการตามดูรู้เท่าทันกาย (กายานุ-<br />

ปัสสนาสติ) วิปัสสนาล้วน (พึงสังเกตวิธีปฏิบัติซึ ่งจะกล่าวต่อไป) หรือ<br />

อีกนัยหนึ ่ง หลักสติปัฏฐาน ๔ หมวดแรก ซึ ่งว่าด้วยการตามดูตามรู ้<br />

เท่าทันกาย (กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน) ก็คืออานาปานสติสมาธินั ่นเอง<br />

เพราะฉะนั ้น ทั ้งอานาปานสติสมาธิและสติปัฏฐาน ๔ เมื ่อกล่าวอย่าง<br />

ว.วชิรเมธี


ถึงที่สุดแล้วก็เป็นเรื่องเดียวกันนั่นเอง<br />

ส่วนที่กล่าวว่า มีศีล สมาธิ ปัญญารวมอยู่ด้วยในตัวอย่าง<br />

เบ็ดเสร็จนั้น ส่วนที่เป็นความสำรวมกาย วาจา ใจ โดยมีเจตนาที่<br />

ปลอดจากการละเมียดหรือการเบียดเบียน นับเป็นศีล การมีสติ<br />

กำหนดระลึกรู้อยู่กับกายคือลมหายใจ หรือตั้งมั่นอยู่กับสิ่งที่กำหนด<br />

ในขณะนั้นๆ นับเป็นสมาธิ การมีสติรู้ตัวทั่วพร้อม มองเห็นกาย<br />

เวทนา จิต ธรรม ตามความเป็นจริง จนสามารถถอดถอนความ<br />

สำคัญผิดยึดติดถือมั่นว่าเป็นตัวเรา ตัวเขา สัตว์ บุคคล ออกมา<br />

เสียได้ เห็นแต่ความจริงตามสภาวะล้วนๆที่เกิดดับอยู่ตามธรรมดา<br />

นับเป็นปัญญา<br />

ในพระไตรปิฎกท่านแสดงหลักฐานไว้ว่า อานาปานสติสมาธิ<br />

กับสติปัฏฐาน ๔ นั้น ดำรงอยู่ในกันและกัน บูรณาการเข้าในกัน<br />

และกัน หรือเป็นหนึ ่งเดียวกัน เกื ้อกูลซึ ่งกันและกัน เวลาที ่ทรงแสดง<br />

อานาปานสติสมาธิ ก็ทรงแสดงสติปัฏฐาน ๔ โพชฌงค์ ๗ นับเนื่อง<br />

อยู่ในพระสูตรเดียวกัน ซึ่งเท่ากับทรงแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า<br />

ทั ้งอานาปานสติสมาธิ สติปัฏฐาน ๔ และโพชฌงค์ ๗ นั ้น เป็นหมวด<br />

ธรรมประเภทเดียวกัน วิธีปฏิบัติก็ใช้หลักการเดียวกันมุ่งตรงต่อ<br />

เป้าหมายสูงสุดคือ“วิชชา วิมุตติ” * เหมือนกัน ความข้อนี ้พึงพิจารณา<br />

* พึงดูวิธีที่ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิ, สติปัฏฐาน , โพชฌงค์ ว่าเป็น<br />

ธรรมนับเนื่องอยู่ในกันและกัน เกื้อกูลกัน ใช้หลักการเดียวกันจากอานา-<br />

ปานสติสูตร ใน ม.อุ.1 /1 -1 /1<br />

เมตตาธรรม


จากพระพุทธพจน์ดังนี้<br />

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอันเป็นเอกที่ภิกษุเจริญ ทำให้<br />

มากแล้ว ทำให้ธรรม ๔ ประการบริบูรณ์, ธรรม ๔ ประการที่ภิกษุ<br />

เจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๗ ประการบริบูรณ์, ธรรม<br />

๗ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้ธรรม ๒ ประการ<br />

บริบูรณ์เป็นอย่างไร<br />

ดูก่อนอานนท์ ธรรมอันเป็นเอกคือ อานาปานสติที ่ภิกษุเจริญ<br />

ทำให้มากแล้ว ทำให้สติปัฏฐาน ๔ ประการบริบูรณ์, สติปัฏฐาน<br />

๔ ประการที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้โพชฌงค์ ๗ ประการ<br />

บริบูรณ์, โพชฌงค์ ๗ ประการที ่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ทำให้<br />

วิชาและวิมุตติบริบูรณ์” (สํ.ม.๑๙/๙๘๙/๔๗๓)<br />

อานาปานสติสมาธิภาวนา:<br />

มรรควิธีฝึกลมหายใจแห่งการตื่นรู้<br />

ในคัมภีร์พระไตรปิฎกและคัมภีร์อรรถกถา เรียกการเจริญ<br />

อานาปานสติสมาธิว่า “อานาปานสติ ๑๖ ขั้น” (โสฬสวตฺถุกอานา-<br />

ปานสติ, โสฬสวตฺถุกา อานาปานสฺสติสมาธิภวนา) การปฏิบัติอานา-<br />

ปานสติสมาธิ ก็พึงดำเนินขั้นตอนตามที่ทรงแนะนำไว้ในอานา-<br />

ปานสติสูตร ดังต่อไปนี้<br />

“อานาปานสติที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร<br />

ว.วชิรเมธี


จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก<br />

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้<br />

(๑) ไปสู่ป่าก็ดี<br />

ไปสู่โคนไม้ก็ดี<br />

ไปสู่สุญญาคารก็ดี<br />

**<br />

(๒) นั่งขัดสมาธิ<br />

ตั้งกายตรง<br />

ดำรงสติไว้เฉพาะเบื้องหน้า<br />

(๓) มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก<br />

อานาปานสติ ๑๖ ขั้น<br />

หมวดที่<br />

๑ กายานุปัสสนา<br />

(๑) เมื่อหายใจเข้ายาว<br />

ก็รู้ชัดว่า<br />

“เราหายใจเข้ายาว”<br />

เมื่อหายใจออกยาว<br />

ก็รู้ชัดว่า<br />

“เราหายใจออกยาว”<br />

(๒) เมื่อหายใจเข้าสั้น<br />

ก็รู้ชัดว่า<br />

“เราหายใจเข้าสั้น”<br />

เมื่อหายใจออกสั้น<br />

ก็รู้ชัดว่า<br />

“เราหายใจออกสั้น”<br />

(๓) สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวง<br />

หายใจเข้า”<br />

สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวง<br />

หายใจออก”<br />

(๔) สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขาร หายใจเข้า”<br />

สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขาร หายใจออก”<br />

** สุญญาคาร หมายถึง สถานที่ซึ่งเอื้อต่อการเจริญอานาปานสติสมาธิ<br />

แห่ง (1) ภูเขา ( ) ซอกเขา ( ) ถ้ำในภูเขา ( ) ป่าช้า ( ) ป่าละเมาะ<br />

( ) ที่โล่งแจ้ง ( ) ลอมฟาง<br />

0<br />

เมตตาธรรม


หมวดที่<br />

๒ เวทนานุปัสสนา<br />

(๕) สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้ปีติ<br />

หายใจเข้า”<br />

สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้ปีติ<br />

หายใจออก”<br />

(๖) สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้สุข<br />

หายใจเข้า”<br />

สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้สุข<br />

หายใจออก”<br />

(๗) สำเหนียกว่า “เรากำหนดจิตตสังขาร หายใจเข้า”<br />

สำเหนียกว่า “เรากำหนดจิตตสังขาร หายใจออก”<br />

(๘) สำเหนียกว่า “เราระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า”<br />

สำเหนียกว่า “เราระงับจิตตสังขาร หายใจออก”<br />

หมวดที่<br />

๓ จิตตานุปัสสนา<br />

(๙) สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิต<br />

หายใจเข้า”<br />

สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิต<br />

หายใจออก”<br />

(๑๐) สำเหนียกว่า “เราทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า”<br />

สำเหนียกว่า “เราทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก”<br />

(๑๑) สำเหนียกว่า “เราทำจิตให้ตั้งมั่น<br />

หายใจเข้า”<br />

สำเหนียกว่า “เราทำจิตให้ตั้งมั่น<br />

หายใจออก”<br />

(๑๒) สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิต<br />

หายใจเข้า”<br />

สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิต<br />

หายใจออก”<br />

1<br />

ว.วชิรเมธี


หมวดที่<br />

๔ ธรรมานุปัสสนา<br />

(๑๓) สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง<br />

หายใจเข้า”<br />

สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง<br />

หายใจออก”<br />

(๑๔) สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจเข้า”<br />

สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจออก”<br />

(๑๕) สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับไป หายใจเข้า”<br />

สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับไป หายใจออก”<br />

(๑๖) สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า”<br />

สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก”<br />

ภิกษุทั ้งหลาย อานาปานสติที ่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี ้ ทำให้มาก<br />

แล้วอย่างนี้ จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก (ม.อุ.๑๔/๑๔๘/๑๘๗-๙)<br />

บทสรุป<br />

อัจฉริยลักษณ์ของอานาปานสติสมาธิภาวนา<br />

ในคัมภีร์พระไตรปิฎกเล่าว่า พระโพธิสัตว์ก่อนแต่จะตรัสรู้ มี<br />

พระชนม์เพียง ๗ พรรษาเท่านั ้น ก็ได้เคยฝึกอานาปานสติสมาธิภาวนา<br />

ด้วยพระองค์เองมาครั้งหนึ่งแล้ว และก็ด้วยประสบการณ์คราวนี้เอง<br />

ที่ทำให้พระองค์ทรงหวนระลึกถึงว่า “น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่<br />

ทำให้บรรลุภาวะพระนิพพาน” หลังจากที ่ทรงทดลองฝึกวิธีการต่างๆ<br />

เมตตาธรรม


มาแล้วจากครูบาอาจารย์แทบทุกสำนัก แต่กลับทรงค้นพบว่าไม่ใช่<br />

ทางที่ทรงแสวงหา ประสบการณ์ในวัยเยาว์คราวนั้นแท้ๆที่ทำให้<br />

ทรงค้นพบอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ สำเร็จเป็นพระอรหันตสัมมา-<br />

สัมพุทธเจ้า<br />

ด้วยเหตุที่อานาปานสติสมาธิภาวนา เป็นภาวนาวิธีที่ทำให้<br />

พระองค์ประสบความสำเร็จอันใหญ่หลวง จึงทรงยกย่องสมาธิวิธี<br />

ข้อนี้เป็นอันมาก จึงได้อุทิศตนทุ่มเทศึกษาพระสูตรนี้อย่างจริงจัง<br />

กระทั่งนำมาเขียนเป็นหนังสือ จัดตั้งวางเป็นแบบแผนแห่งการปฏิบัติ<br />

ขึ้นที่สำนักสวนโมกขพลาราม<br />

ซึ่งยังคงมีการสอนกันอยู่มาจนถึงบัดนี้<br />

ทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างชาติ<br />

ท่านพุทธทาสภิกขุ กล่าวถึงอานาปานสติสมาธิว่า<br />

“อานาปานสติภาวนา เป็นกรรมฐาน หรือเป็นสมาธิภาวนา<br />

แบบที ่พระพุทธองค์ได้ปฏิบัติและตรัสรู ้, มีคำตรัสยืนยันว่าตรัสรู ้ด้วย<br />

อานาปานสติภาวนาโดยเฉพาะ นี้ก็เป็นเรื่องพิเศษเรื่องหนึ่งว่าทำไม<br />

จึงระบุอย่างนี ้, กรรมฐานภาวนามีตั ้งมากมาย ทำไมจึงตรัสระบุอานา-<br />

ปานสติภาวนา, ใช้คำว่าอานาปานสติภาวนา ไม่ได้ใช้คำว่าสติปัฏฐาน;<br />

แม้ว่าเรื ่องนี ้ก็เป็นเรื ่องเดียวกัน จะมีความแตกต่างกันอยู ่บ้างก็ไม่เท่าไร,<br />

พระองค์ก็ยังตรัสเรียกว่า ระบบอานาปานสติภาวนาเป็นระบบที่ทำให้<br />

พระองค์ได้ตรัสรู้,<br />

นี้ก็ควรจะสนใจ<br />

มันมีของดีหลายอย่างหลายประการสำหรับแบบนี้, ตัวอย่าง<br />

เช่น แบบนี้เมื่อทำแล้วจะเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาพร้อมกันในตัว<br />

ไม่ต้องแยกทำคนละที และยังแถมกล่าวได้ว่า มีศีลพร้อมกันไปในตัว<br />

ว.วชิรเมธี


ไม่ต้องทำพิธีรับศีลก่อนแล้วจึงมาทำ, ขอให้ลงมือทำเถิดตามระบบนี้<br />

ก็จะมีศีล สมาธิ ปัญญา พร้อมกันไปในตัว, แบบนี้จะสู้แบบที ่เขา<br />

กำลังเล่าลือกันในโลก คือแบบเซน อย่างแบบเซนของจีน ของญี่ปุ ่น<br />

ที่ไปมีชื่อเสียงโด่งดังในตะวันตก ในพวกฝรั่งนั้นก็เพราะว่ามันเป็น<br />

แบบที่มีสมถะและวิปัสสนาติดกันอยู่ด้วยพร้อมกันไปในตัว<br />

เมื่อพิจารณาดูถึงแบบฝ่ายเถรวาท ก็เห็นว่าแบบอานาปานสติ<br />

นี่แหละ มีสมถะและวิปัสสนาพร้อมกันไปในตัว แล้วก็อย่างรัดกุม<br />

ที่สุด, เลยเป็นเหตุให้ต้องนึกถึงข้อเท็จจริงอีกอย่างหนึ่งว่า เมื่อพระ-<br />

พุทธเจ้าตรัสถึงทางออกจากความทุกข์ คือ วิถีทางดับทุกข์นั้น โดย<br />

ทั่วไปก็ตรัสเป็นอัฏฐังคิกมรรค หรือมัชฌิมาปฏิปทา แต่ก็มีมากแห่ง<br />

เหลือเกิน แทนที่จะตรัสว่ามัชฌิมาปฏิปทา ก็ตรัสเพียงว่า สมโถ จ<br />

วิปัสสนา จ เท่านี้ก็มี คือ สมถะและวิปัสสนา เป็นนิโรธคามินี-<br />

ปฏิปทา คือ ตรัสแทนคำว่ามัชฌิมาปฏิปทา...<br />

ทำไมมันแทนกันได้ เพราะว่าในสมถะนั้นมีศีลรวมอยู ่ด้วย,<br />

เมื ่อพูดว่าสมถะและวิปัสสนา ก็มีทั ้งศีล ทั ้งสมาธิ และทั ้งปัญญา ใน<br />

อริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น, ถ้าสงเคราะห์ย่นย่อแล้วก็มีเพียงศีล สมาธิ<br />

ปัญญา ดังนั้นมันจึงมีค่าเท่ากัน พระองค์จึงนำมาตรัสแทนกันได้,<br />

ระหว่างคำว่า มัชฌิมาปฏิปทา กับคำว่า สมโถ จ วิปัสสนา จ,<br />

ขอให้เป็นที่เข้าใจในข้อนี้<br />

ทำสมาธิภาวนาโดยวิธีอานาปานสติภาวนาแล้วจะเป็นการ<br />

ปฏิบัติอย่างถึงที่สุดทั้งในศีล สมาธิ และทั้งในปัญญา เรียกว่ามัน<br />

สมบูรณ์แบบอยู่ในตัว ถ้าจะพูดอย่างธรรมดาสามัญก็ว่า เป็นวิธีที่<br />

เมตตาธรรม


ได้เปรียบที่สุด”<br />

***<br />

อานาปานสติสมาธิภาวนาเป็นทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนา<br />

กรรมฐานอยู่ในตัวเองพร้อมบริบูรณ์ วิธีปฏิบัติก็ง่าย ไม่ต้องใช้<br />

องค์ประกอบมากมาย อาศัยเพียงแต่การตามระลึกรู ้ลมหายใจ (กาย)<br />

เวทนา จิต ธรรม อย่างรู้ตัวทั่วพร้อมเท่านั้น หากผู้ใดปฏิบัติตาม<br />

วิธีการดังกล่าวนี ้อย่างถูกต้องก็จะได้รับผลตั ้งแต่ขั ้นต่ำ คือ ความอยู ่<br />

เป็นสุขในปัจจุบันทันตาเห็น เกื้อกูลต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต<br />

กระจ่างใส สดชื่นเบิกบาน ผ่อนคลาย สบายใจ ไร้ความตึงเครียด<br />

และประโยชน์ขั้นสูงสุด คือ ทำให้หยั่งลงสู่สัจธรรมระดับปรมัตถ์<br />

กล่าวคือ ภาวะพระนิพพาน อันเป็นที ่สิ ้นสุดลงของความทุกข์บรรดามี<br />

ทั้งมวล<br />

อานาปานสติสมาธิภาวนา จึงเป็นสมาธิภาวนาที ่ควรนำมาปฏิบัติ<br />

ในชีวิตประจำวันอย่างทั ่วถึง ในที ่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ ทั ้งนี ้ เพื ่อที่<br />

เราทั ้งหลายจะได้ลิ ้มชิมรสอมตธรรมในชีวิตนี ้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้อง<br />

รอให้เนิ ่นนานไกลออกไปนับแสนล้านชาติภพอย่างที ่เคยเชื ่อกันมาอย่าง<br />

ผิดๆแต่โบราณอีกต่อไป ดังที่มีพุทธพจน์ตรัสยืนยันอย่างชัดเจนว่า<br />

“ภิกษุทั ้งหลาย เมื ่อเธอเจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี ้แล ทำให้<br />

มากอย่างนี ้แล้ว เธอพึงหวังผล ๗ ประการ ผล ๗ ประการคืออะไรบ้าง<br />

กล่าวคือ<br />

*** พุทธทาสภิกขุ, คู่มือปฏิบัติอานาปานสติ.(สำนักพิมพ์ ธรรมสภา :<br />

กรุงเทพ), , หน้า -<br />

ว.วชิรเมธี


(๑) บรรลุอรหันตตผลในปัจจุบันทันที<br />

(๒) หากไม่ได้บรรลุอรหันตตผลในปัจจุบัน ก็จะบรรลุในเวลา<br />

ใกล้มรณะ<br />

(๓) หากไม่ได้บรรลุอรหันตตผลในปัจจุบันและในเวลาใกล้มรณะ<br />

ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้มีอันตราปรินิพพายี<br />

(๔) ...ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี<br />

(๕) ...ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี<br />

(๖) ...ก็จะได้เป็นพระอนาคามีผู ้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะ<br />

อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการหมดสิ้นไป<br />

ภิกษุทั ้งหลาย เมื ่อเธอเจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี ้แล ทำให้<br />

มากอย่างนี้แล้ว<br />

เธอพึงหวังผล ๗ ประการดังกล่าวมานี้”<br />

เมตตาธรรม


พุธพจน์<br />

“สมาธิที่ศีลอบร่ำแล้ว<br />

ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก<br />

ปัญญาที่สมาธิอบร่ำ<br />

ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก<br />

จิตที่ปัญญาอบร่ำแล้ว<br />

ย่อมหลุดพ้นโดยชอบทีเดียว<br />

จากอาสวะ (กิเลส) ทั้งหลาย<br />

คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ”<br />

(ที.ม. ๑๐/๗๗/๙๙)<br />

ว.วชิรเมธี


บทสวดคาถาเมตตา


ตำนานกรณียเมตตสูตร<br />

กรณียเมตตสูตรเป็นพุทธมนต์บทที่ ๓ ใน ๗ ตำนาน เป็น<br />

บทที่ประกาศเมตตาธรรม สอนให้ทุกคน ตลอดจนสรรพสัตว์และ<br />

สรรพชีพอื่นๆทั่วไป รวมถึงพวกที่ไม่ปรากฏรูป เช่น เทวดา ภูตผี<br />

เป็นต้น ให้มีเมตตาต่อกัน ปรารถนาความสุข ความไม่มีเวรไม่มีภัย<br />

เว้นการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน ทำกิจทุกอย่างเพื่อประโยชน์สุข<br />

ของกันและกัน พุทธมนต์นี้จึงทรงอานุภาพควรแก่การคารวะยิ่งนัก<br />

และยังเป็นอาวุธเล่มหนึ่ง ที่เรียกว่าพุทธวุธ พระบรมศาสดา<br />

พอพระทัยประทานแก่สาวกคราวเข้าไปในแดนอมนุษย์ที่ดุร้าย เพื่อ<br />

ป้องกันรักษาความปลอดภัย ฉะนั้นพระพุทธมนต์นี้จึงทรงอานุภาพ<br />

ควรแก่การศึกษาท่องบ่นและเจริญอยู่เป็นนิตย์ ในพระฝ่ายอรัญวาสี<br />

ที่อยู่ป่าและพระที่ถือธุดงค์นิยมเจริญกรณียเมตตสูตรเป็นประจำ<br />

ความจริงเมตตาธรรมนี้ควรเจริญให้มาก เพราะผู้ที่จำเริญ<br />

เมตตา พระบรมศาสดาตรัสว่า จะได้รับอานิสงส์ ๑๑ ประการ ตาม<br />

0<br />

เมตตาธรรม


ที่ประทานไว้ในเมตตานิสังสสูตรว่า<br />

(๑) หลับเป็นสุข<br />

(๒) ตื่นเป็นสุข<br />

(๓) ไม่ฝันร้าย<br />

(๔) เป็นที่รักใคร่ของหมู่มนุษย์<br />

(๕) เป็นที่รักใคร่แม้แต่มนุษย์<br />

ตลอดสัตว์เดียรัจฉาน<br />

(๖) เทวดารักษา<br />

(๗) ย่อมล่วงพ้นยาพิษศัสตราวุธได้<br />

(๘) เจริญสมาธิได้รวดเร็ว<br />

(๙) หน้าตาย่อมผ่องใส<br />

(๑๐) มีสติไม่หลงในเวลาสิ้นชีวิต<br />

(๑๑) เมื่อดับชีวิตแล้วจะไปเสวยความสุขในพรหมโลก<br />

ฉะนั้น จึงควรตั้งใจเจริญและสดับตรับฟังให้มากในเรื่องราว<br />

อันเป็นที่มาแห่งพระพุทธมนต์นี้ จะได้เจริญศรัทธาเพิ่มพูนบารมี<br />

เพราะเมตตาเป็นบารมีหนึ่งในบารมีสิบทัศ<br />

ตำนานในพระสูตรเล่าไว้ว่า<br />

สมัยหนึ่งพระบรมศาสดาเสด็จประทับยังพระเชตวันมหาวิหาร<br />

ในพระนครสาวัตถี มีภิกษุ ๕๐๐ รูป เรียนกัมมัฏฐานในพุทธสำนัก<br />

1<br />

ว.วชิรเมธี


แล้วทูลลาจาริกไปในชนบทเพื่อหาสถานที่บำเพ็ญสมณธรรม ผ่าน<br />

ทางไกลไปหลายโยชน์ก็ถึงตำบลใหญ่ตำบลหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ไม่ห่างจาก<br />

ป่านัก ชาวบ้านพากันปฏิสันถารเป็นอันดี แล้วเรียนถามท่านว่า<br />

“นี่<br />

พระคุณเจ้า จะพากันไปไหนขอรับ”<br />

“หาที่เจริญสมณธรรมให้ผาสุกสักแห่งหนึ่ง อุบาสก” พระ-<br />

อาจารย์ตอบ<br />

ท่านผู้ใหญ่บ้านแห่งนั้นจึงเรียนท่านไปว่า<br />

“ถ้าพระคุณเจ้าต้องประสงค์สถานที่เช่นนั้นละก็ ไพรสณฑ์<br />

เชิงภูผานี ้เป็นเหมาะมากเทียวท่าน เพราะไม่ไกลหมู ่บ้าน พอมาพอไป<br />

หากันได้สะดวก เช่น พระคุณท่านจะมาบิณฑบาตก็ไม่ไกล ผมจะ<br />

ไปนมัสการบ้างก็ไม่ยาก”<br />

พอท่านผู้ใหญ่บ้านเว้นระยะคำพูดเพื่อฟังความเห็นจากพระ-<br />

อาจารย์ ผู้ใจบุญหลายท่านก็ช่วยกันเสริมอีกว่า<br />

“อย่าลังเลใจเลยพระคุณท่าน นิมนต์อยู่เสียที่นี่แหละ ถ้า<br />

พระคุณท่านอยู่ พวกผมจะได้มีโอกาสถวายทาน รักษาศีล และ<br />

ฟังธรรมในสำนักพระคุณท่านบ้าง”<br />

เมื่อพูดถูกใจเช่นนั้น พระทุกรูปก็ยินดี ครั้นท่านพระอาจารย์<br />

ผู้นำคณะเห็นเพื่อนพระพอใจอยู่เป็นเอกฉันท์ จึงรับนิมนต์ แล้วก็<br />

พากันไปอยู ่ในไพรสณฑ์ตามความผาสุก ครั ้งนั ้นเทวดา เจ้าป่า เจ้าเขา<br />

ในไพรสณฑ์ต่างซุบซิบกันว่า<br />

“ภิกษุเหล่านี้เป็นผู้มีศีล เมื่อเข้ามาพำนักอยู่จะทำให้เราลำบาก<br />

ในการย้ายที่ ด้วยเราจะอยู่ข้างบนก็ไม่ควร จะอยู่ข้างล่างก็ลำบาก<br />

เมตตาธรรม


จะทำอย่างไรดีหนอ”<br />

“ท่านไม่อยู่นานหรอกน่า” เทพตนหนึ่งออกความเห็น “คงจะ<br />

อยู่รับฉลองศรัทธาของชาวบ้านสักวันสองวันก็คงจะไป” เทพตนหนึ่ง<br />

ตัดบทว่า<br />

“คอยดูไปก็แล้วกัน จะมาปรารมภ์ไปก่อนทำไม”<br />

ครั้นล่วงไปสองสามวันเทวดายังไม่เห็นทีท่าว่าพระจะไปจาก<br />

ที ่นั ้นเลย ตรงข้ามกลับเห็นทำทีว่าจะอยู ่กันเป็นแรมปี ดังนั ้น ก็ตกใจ<br />

พากันปรับทุกข์ว่า<br />

“ไม่ไหวแล้ว ต่อไปนี้พวกเราจะไม่มีความสุข”<br />

“อะไร ทำขี้แยไปได้”<br />

เทพตนหนึ่งพูดระงับเสียงบ่น<br />

“แล้วจะทำอย่างไร” อีกตนหนึ่งกล่าวเป็นเชิงหารือ<br />

“เราจะให้ท่านไปเสียก็หมดเรื่อง<br />

เมื่อเราไม่พอใจให้ท่านอยู่”<br />

“จะทำอย่างไรท่านจึงจะไปเล่า ข้าพเจ้าต้องการทราบ”<br />

“เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน”<br />

เทพตนนั้นออกความเห็น<br />

“พวกเราช่วยกันแสดงอาการเป็นภูตผี หลอกหลอนให้หลายๆ<br />

อย่างที่จะทำให้พระเหล่านี้กลัว เห็นเป็นภัย อยู่ไม่มีความสุข” แล้ว<br />

ผลเดือดร้อนก็ประจักษ์แก่พระทั้งหลายด้วยอำนาจของเทพเหล่านั้น<br />

ทันที<br />

“ผมไม่สบาย ไอเหลือเกิน” พระรูปหนึ่งกล่าว<br />

“ผมจามไม่หยุด ผมก็นอนไม่หลับ ผมถูกผีหลอก เห็นเดิน<br />

ผ่านมาไม่มีหัว เมื่อกี้เห็นผี<br />

น่ากลัวเหลือเกิน” พระอีกรูปหนึ่งว่า<br />

“ที่ชายป่าโน้น เสียงอมนุษย์ร้องโหยหวนน่าหวาดเสียว เสียง<br />

ว.วชิรเมธี


เยือกเย็น ขนลุกขนพอง” พระทั ้งหลายนั ่งไม่ติด อยู ่ตามลำพังก็ไม่ได้<br />

งานกัมมัฏฐานล้ม ต้องเลี่ยงเข้ามาจับกลุ่มซุบซิบกัน<br />

“พวกเราอยู ่ไม่ได้แน่ ถ้าเป็นรูปนี ้ ขืนอยู ่ก็จะตกใจตายเท่านั ้น”<br />

เมื ่อพระทั ้งหมดสิ ้นศรัทธาก็พร้อมกันลาชาวบ้านตำบลนั ้นกลับพระนคร<br />

สาวัตถี เข้าเฝ้าถวายบังคมพระบรมศาสดา พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า<br />

“เธอเพิ่งไปไม่นาน<br />

ไฉนรีบกลับกันมาเสียเล่าภิกษุ”<br />

“ไม่มีความสุขพระเจ้าข้า”<br />

“บิณฑบาตลำบากหรือ” รับสั่งด้วยความเอ็นดู<br />

“มิได้พระเจ้าข้า บิณฑบาตสะดวก แต่ภูตผีปีศาจรบกวน<br />

เหลือทน จึงรีบกลับ”<br />

พระบรมศาสดารับสั่งว่า<br />

“ควรจะไปอยู่ที่นั่นแหละภิกษุ เมื่อเสนาสนะและอาหารเป็นที่<br />

สะดวกสบายดีแล้ว”<br />

“ไม่กล้าพระเจ้าข้า”<br />

“ไปเถอะภิกษุ” รับสั่งด้วยความปรานี<br />

“ตถาคตจะให้อาวุธ เมื ่อเธอถืออาวุธของตถาคตไปอยู ่ที ่นั ่นแล้ว<br />

จะมีความสุข”<br />

ครั้นทรงเห็นภิกษุทั้งหลายพอใจในอาวุธที่จะประทาน และ<br />

เกิดความอาจหาญจะกลับไปอยู ่ในไพรสณฑ์นั ้นอีก ก็ประทานกรณีย-<br />

เมตตสูตรให้พระเหล่านั้นเรียนจนขึ้นปากขึ้นใจแล้ว จึงมีรับสั่งว่า<br />

“ไปเถอะ ภิกษุทั ้งหลาย เมื ่อไปถึงแล้วจงตั ้งเมตตาจิต ปฏิบัติ<br />

ตามที่ตถาคตบอกให้ทุกประการ”<br />

เมตตาธรรม


ภิกษุทั้งหลายชื่นใจในพระมหากรุณาที่ประทาน พากันถวาย<br />

บังคมลา จาริกไปยังไพรสณฑ์นั้นอีก แต่ก่อนจะเข้าถึงประตูป่า<br />

พระทั ้งหมดก็ตั ้งกัลยาณจิตประกอบด้วยเมตตา ระลึกถึงพระพุทธคุณ<br />

เป็นอารมณ์ เจริญพระพุทธมนต์กรณียเมตตสูตรอันเป็นอาวุธพิเศษ<br />

ที ่พระศาสดาประทานมา แม้เมื ่อเข้าไปในไพรสณฑ์ก็เจริญพุทธมนต์นี ้<br />

อีก<br />

ด้วยอานุภาพกรณียเมตตสูตรที่พระทั้งหลายเจริญในเวลานั้น<br />

ได้ทำให้เหล่าเทวดาเจ้าป่าเจ้าเขามีใจเมตตารักใคร่พระทั ้งหลาย พากัน<br />

ออกมาต้อนรับด้วยเพศอุบาสกอุบาสิกาเป็นอันดี ทั้งยังช่วยให้ความ<br />

อารักขาอีกด้วย ทุกอย่างสงบเรียบร้อยที ่สุด แม้เสียงร้องอันก่อให้เกิด<br />

ความรำคาญก็ไม่มีแม้แต่น้อย<br />

ภิกษุทั้งหลายได้ความสงัดอันเป็นทางแห่งความสงบ เจริญ<br />

กัมมัฏฐานอยู่ไม่นานก็บรรลุผลที่ปรารถนาทุกรูป<br />

บทสวดคาถาเมตตากรณียเมตตสูตร<br />

(หันทะ มะยัง กะระณียะเมตตะสุตตะคาถาโย ภะณามะ เส.)<br />

กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ<br />

ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ<br />

กิจอันภิกษุ (ผู้บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในป่า)<br />

ผู้ฉลาด<br />

ในประโยชน์ใคร่จะบรรลุสันตบทอยู่เสมอ<br />

ว.วชิรเมธี


พึงกระทำก็คือ<br />

สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ<br />

พึงเป็นผู้อาจหาญ<br />

เป็นคนตรง และเป็นคนซื่อ<br />

สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี<br />

เป็นผู้ว่าง่าย<br />

อ่อนโยน และไม่เย่อหยิ่ง<br />

สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ<br />

เป็นผู้สันโดษ<br />

เป็นผู้เลี้ยงง่าย<br />

อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ<br />

เป็นผู้มีกิจน้อย<br />

มีความประพฤติเบาพร้อม (คือ ไม่สะสม)<br />

สันตินท๎ริโย จะ นิปะโก จะ<br />

มีอินทรีย์อันสงบระงับ มีปัญญารักษาตน<br />

อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ<br />

เป็นผู้ไม่คะนอง<br />

เป็นผู้ไม่พัวพันกับชาวบ้าน<br />

นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ<br />

เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง<br />

ไม่พึงประพฤติในสิ่งที่เลวทรามใดๆที่เป็นเหตุ<br />

คนอื่นซึ่งเป็นผู้รู้ติเตียนเอาได้<br />

สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ<br />

สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา<br />

จงเจริญเมตตาจิตว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มี<br />

ความสุขกาย สุขใจ มีแต่ความเกษมสำราญเถิด<br />

เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ<br />

เมตตาธรรม


สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย<br />

ทุกเหล่าหมดบรรดามี<br />

ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา<br />

ที่เป็นประเภทเคลื่อนไหวได้ก็ดี<br />

ประเภทอยู่กับที่ก็ดี<br />

ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา<br />

เป็นสัตว์มีขนาดลำตัวยาว ปานกลาง หรือสั้นก็ดี<br />

เป็นสัตว์มีลำตัวใหญ่ ปานกลาง หรือเล็กก็ดี<br />

เป็นชนิดมีลำตัวละเอียดหรือมีลำตัวหยาบก็ดี<br />

ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา<br />

เป็นจำพวกที่ได้เห็นแล้ว<br />

หรือไม่ได้เห็นก็ดี<br />

เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร<br />

เป็นผู้อยู่ในที่ไกล<br />

หรือในที่ใกล้ก็ดี<br />

ภูตา วา สัมภะเวสี วา<br />

เป็นผู้ที่เกิดแล้ว<br />

หรือกำลังแสวงหาที่เกิดอยู่ก็ดี<br />

สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา<br />

ขอสัตว์ทั้งปวงนั้น<br />

จงเป็นผู้มีความสุขกาย<br />

สุขใจเถิด<br />

นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ<br />

บุคคลไม่พึงข่มเหงกัน<br />

นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ<br />

ไม่พึงดูหมิ่นเหยียดหยามกัน<br />

ไม่ว่าในที่ไหนๆ<br />

พ๎ยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา<br />

นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ<br />

ไม่พึงคิดก่อทุกข์ให้แก่กันและกัน<br />

ว.วชิรเมธี


เพราะความโกรธ และเพราะคุมแค้น<br />

มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข<br />

มารดาถนอมบุตรคนเดียว ผู้เกิดในตน<br />

ด้วยการยอมสละชีวิตของตนแทน ฉันใด<br />

เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง<br />

พึงเจริญเมตตาจิตอันกว้างใหญ่ อันหาประมาณมิได้<br />

ในสัตว์ทั้งปวง<br />

แม้ฉันนั้นเถิด<br />

เมตตัญจะ สัพพะโลกัส๎มิง มานะสัมภาวะเย<br />

อะปะริมาณัง อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง<br />

อะเวรัง อะสะปัตตัง<br />

พึงเจริญเมตตาจิตอันกว้างใหญ่ อันหาขอบเขตมิได้<br />

อันไม่มีเวร ไม่มีศัตรูคู่ภัย<br />

ไปในสัตว์โลกทั้งสิ้น<br />

ทั้งในเบื้องบน<br />

ในทิศเบื้องต่ำ<br />

และในทิศขวาง<br />

ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา<br />

สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ<br />

ผู้เจริญเมตตาจิตอย่างนี้<br />

ปรารถนาจะตั้งสติ<br />

ในเมตตาฌานให้นานเพียงใด ท่านผู้นั้นจะอยู่ใน<br />

อิริยาบถยืน เดิน นั่ง<br />

หรือนอนก็ตาม<br />

พึงเป็นผู้ปราศจากความท้อแท้<br />

เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ<br />

ก็จะตั้งสตินั้นไว้ได้นานเพียงนั้น<br />

พ๎รัห๎มะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ<br />

เมตตาธรรม


บัณฑิตทั้งหลาย<br />

กล่าวเมตตาวิหารธรรมนี้ว่า<br />

เป็นพรหมวิหารในพระศาสนานี้<br />

ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา<br />

บุคคลผู้นั้น<br />

ละความเห็นผิด คือสักกายทิฏฐิ<br />

เสียได้เป็นผู้มีศีล<br />

ทัสสะเนนะ สัมปันโน<br />

ถึงพร้อมแล้วด้วยญาณทัสนะ (คือการเห็นอริยสัจ ๔<br />

ด้วยญาณ ซึ่งเป็นองค์โสดาปัตติมรรค)<br />

กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง<br />

สามารถกำจัดความยินดีในกามทั้งหลายเสียได้<br />

(ด้วยอนาคามิมรรค)<br />

นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ.<br />

ย่อมไม่ถึงซึ่งการนอนในครรภ์อีก<br />

โดยแท้<br />

ทีเดียวแล. (คือไม่กลับมาเกิดอีก)<br />

ว.วชิรเมธี


ตำนานขันธปริตร<br />

ขันธปริตรเป็นมนต์บทที่ ๔ ใน ๗ ตำนาน ต่อจากกรณีย-<br />

เมตตสูตร โดยใจความเป็นเรื่องที่บรมศาสดาสอนให้แผ่เมตตา<br />

เหมือนกัน แต่เฉพาะให้แผ่เมตตาไปในอสรพิษ คืองูที่ดุร้าย<br />

ในสมัยก่อนพุทธกาลปรากฏว่าประชาชนยำเกรงและนับถืองู<br />

กันอย่างจริงๆ คนที่มีอานุภาพเป็นที่เกรงขามของผู้คนนั้นจะต้อง<br />

บังคับงู เลี้ยงงูร้ายได้เชื่อง ใช้งูร้ายเป็นเครื่องส่งเสริมอานุภาพให้<br />

เป็นที่เกรงขาม สามารถทำให้มหาชนเห็นว่าแม้แต่พญางูก็ยังยำเกรง<br />

ในพระพุทธศาสนามีเรื่องพระภูริทัตในทศชาติ ก็เป็นพญางู<br />

ได้รับยกขึ้นเป็นพระโพธิสัตว์เป็นพิเศษ เพราะเป็นชาติที่ใกล้จะ<br />

ตรัสรู้บำเพ็ญศีลอุปบารมีเป็นเยี่ยม ส่วนในมหานิบาตไม่ปรากฏว่า<br />

ยกสัตว์เดียรัจฉานจำพวกอื่นเป็นพระโพธิสัตว์เลย นับเป็นเรื่องน่า<br />

อัศจรรย์<br />

แม้ในสมัยพุทธกาลปรากฏว่าการนับถือพญางูที่ยังนิยมกัน<br />

อยู่เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับบรมศาสดาก็มีหลายตอน<br />

คือ<br />

(๑) ในตอนตรัสรู ้ คราวเสด็จประทับที ่ร่มไม้จิก ฝนตก ๗ วัน<br />

๗ คืน พญางูมุจจลินท์มีความเลื่อมใสมาทำขนดแผ่พังพานกันลม<br />

กันฝนถวายตลอดเวลา<br />

(๒) ในคราวเสด็จโปรดพระอุรุเวลกัสสปะพร้อมด้วยชฎิล ๕๐๐<br />

ก็ได้ทรงบังคับพญานาคราชที่โรงไฟอันเป็นที่ยำเกรงของชฎิลทั้งหมด<br />

ให้ขดลงในบาตร แสดงให้ชฎิลเห็นอานุภาพแล้วเคารพนับถือ ซึ ่งเป็น<br />

0<br />

เมตตาธรรม


ปฏิหาริย์ครั้งแรกที่ทรงแสดงให้เห็นเป็นอัศจรรย์<br />

(๓) คราวเสด็จไปโปรดอัคคิทัตฤๅษีพร้อมด้วยบริวาร ก็ได้ทรง<br />

ให้พระมหาโมคคัลลานะไปทรมานพญางูอหิฉัตตะซึ่งเป็นที่นับถือ<br />

ของฤๅษีเหล่านั้นให้หมดพยศยอมอยู่ในอำนาจ ทำให้ฤๅษีเห็นเป็น<br />

อัศจรรย์ ยอมนับถือบูชา<br />

(๔) คราวทรมานพญางูนันโทปนันทะซึ่งดุร้าย ปรากฏว่าเป็นที่<br />

เกรงขามทั้งมนุษย์และเทวดา ให้หมดพยศลดความดุร้ายได้ผล<br />

เป็นอัศจรรย์ เรียกร้องความเชื ่อความเลื ่อมใสในพระพุทธศาสนาจาก<br />

มหาชนเป็นอันมาก<br />

(๕) เมื่อพระเทวทัตต์แสวงหาอำนาจ คราวใช้อุบายเอาอชาต-<br />

สัตตุกุมารเข้ามาเป็นศิษย์ ก็จำแลงรูปเป็นมานพหนุ ่มน้อย แต่มีงูร้าย<br />

เป็นสังวาลพันตัวน่าเกรงขาม เข้าไปหาอชาตสัตตุกุมารถึงในที ่ประทับ<br />

พระราชกุมารก็เลื่อมใสยำเกรง ยอมตนเป็นศิษย์ทันที<br />

(๖) มนอาฏานาฏิยสูตรก็แสดงถึงน่านน้ำในมหาสมุทรทั้งหลาย<br />

เป็นผืนน้ำที่ใหญ่ยิ่งกว่าผืนดิน น่านน้ำทั้งหมดนั้นก็มีพญางูวิรูปักข์<br />

เป็นใหญ่ปกครอง มีอานุภาพเป็นที่เกรงขามของมวลสัตว์น้ำสิ้นเชิง<br />

แม้ในปัจจุบันชาวฮินดูในประเทศอินเดียก็ยังนับถือเลื่อมใส<br />

ในอานุภาพของงูร้ายอยู่ไม่น้อย เขาไม่ทำร้าย วิธีนี้เข้ากับแนวพระ-<br />

พุทธศาสนาประการหนึ่ง ที่สอนไม่ให้ทำร้ายสัตว์ ตรัสสอนให้แผ่<br />

เมตตาจิตในสัตว์ร้าย เช่น งูร้าย เป็นต้น หากมีความกลัวงูร้ายจะ<br />

ขบกัด บรมศาสดาก็ตรัสมนต์ป้องกันงูร้ายประทานไว้ด้วย เรียกว่า<br />

ขันธปริตร แปลว่า มนต์ป้องกันตัว<br />

1<br />

ว.วชิรเมธี


ขันธปริตรนี้เป็นนิคมคาถามาในบาลีอหิราชสูตร พระสูตรนี้<br />

มีตำนานเล่าไว้ว่า<br />

สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับ ณ พระเชตวัน<br />

มหาวิหาร ในพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นมีภิกษุรูปหนึ่งถูกงูร้ายกัด<br />

และมรณภาพลงด้วยพิษงู ข่าวนี้ได้กระทำให้พระเป็นอันมากกลัวต่อ<br />

ภัยนี้ พร้อมกับสลดใจในมรณภาพของภิกษุรูปนั้น จึงพร้อมใจกัน<br />

เข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดายังที ่ประทับ แล้วกราบทูลให้พระองค์ทรงทราบ<br />

บรมศาสดาทรงมีรับสั่งว่า<br />

“ภิกษุทั้งหลาย งูไม่น่าจะกัดพระ เพราะโดยปกติพระย่อมอยู่<br />

ด้วยเมตตา ชะรอยพระรูปนั้นจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปยังพญางูทั้ง<br />

๔ เหล่าเป็นแน่แท้ จึงต้องทำกาลกิริยาด้วยพิษงูร้าย หากภิกษุจึงพึง<br />

แผ่เมตตาไปในพญางูทั้ง ๔ ตระกูลแล้ว เธอจะไม่ถูกงูประทุษร้าย<br />

เลย”<br />

ตระกูลพญางูทั้ง<br />

๔ นั้นคือ<br />

ตระกูลวิรูปักขะ ตระกูลเอราปถะ<br />

ตระกูลฉัพยาปุตตะ และตระกูลกัณหาโคตมกะ<br />

“ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแผ่เมตตาจิตไปยังตระกูล<br />

พญางูทั ้ง ๔ นี ้ เพื ่อคุ ้มครองตน เพื ่อรักษาตัว เพื ่อป้องกันตัวต่อไป”<br />

ครั้นรับสั่งดังนี้แล้วจึงได้ตรัสขันธปริตร มนต์ป้องกันตัว<br />

ประทานภิกษุทั ้งหลาย นับแต่นั ้นมาขันธปริตรก็เกิดเป็นมนต์ศักดิ ์สิทธิ ์<br />

ป้องกันชีวิตให้บุคคลที่มีใจมั่นคงด้วยเมตตาจิตตั้งใจภาวนา พ้นจาก<br />

การบีฑาของเหล่างูร้าย สัตว์ร้าย ตลอดถึงภูตผีที่ดุร้ายทุกสถาน<br />

ฯ.<br />

เมตตาธรรม


บทสวดคาถาขันธปริตร<br />

(หันทะ มะยัง ขันธะปะริตตัง ภะณามะ เส.)<br />

วิรูปักเขหิ เม เมตตัง<br />

ข้าพเจ้ามีเมตตาจิตกับงูตระกูลวิรูปักขะทั้งหลาย<br />

เมตตัง เอราปะเถหิ เม<br />

ข้าพเจ้ามีเมตตาจิตกับงูตระกูลเอราปถะทั้งหลาย<br />

ฉัพ๎ยาปุตเตหิ เม เมตตัง<br />

ข้าพเจ้ามีเมตตาจิตกับงูตระกูลฉัพยาปุตตะทั้งหลาย<br />

เมตตัง กัณหาโคตะมะเกหิ จะ<br />

และข้าพเจ้ามีเมตตาจิตกับงูตระกูลกัณหาโคตมกะทั้งหลาย<br />

อะปาทะเกหิ เม เมตตัง<br />

ข้าพเจ้ามีเมตตาจิตกับสัตว์ไม่มีเท้าทั้งหลาย<br />

เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม<br />

ข้าพเจ้ามีเมตตาจิตกับสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลาย<br />

จะตุปปะเทหิ เม เมตตัง<br />

ข้าพเจ้ามีเมตตาจิตกับสัตว์ ๔ เท้าทั้งหลาย<br />

เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม<br />

ข้าพเจ้ามีเมตตาจิตกับสัตว์มีเท้ามากทั้งหลาย<br />

มา มัง อะปาทะโก หิงสิ<br />

ขอสัตว์ไม่มีเท้าอย่าได้เบียดเบียนข้าพเจ้าเลย<br />

มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก<br />

ว.วชิรเมธี


สัตว์ ๒ เท้าก็อย่าเบียดเบียนข้าพเจ้าเลย<br />

มา มัง จะตุปปะโท หิงสิ<br />

ขอสัตว์ ๔ เท้าอย่าได้เบียดเบียนข้าพเจ้าเลย<br />

มา มัง หิงสิ พะหุปปะโท<br />

สัตว์มีเท้ามากก็อย่าเบียดเบียนข้าพเจ้าเลย<br />

สัตเพ สัตตา สัพเพ ปาณา<br />

ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ผู้มีลมปราณ<br />

สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา<br />

และเหล่าภูตสัตว์ทั้งปวง ผู้หาลมปราณมิได้<br />

สัพเพ ภัท๎รานิ ปัสสันตุ<br />

จงประสบแต่ความเจริญด้วยกันทั้งหมดเถิด<br />

มา กัญจิ ปาปะมาคะมา<br />

ขอความทุกข์อย่าได้เข้าถึงใครๆเลย<br />

อัปปะมาโณ พุทโธ<br />

พระพุทธเจ้ามีพระคุณสุดที่จะประมาณ<br />

อัปปะมาโณ สังโฆ<br />

พระสงฆ์ทรงพระคุณสุดที่จะกำหนด<br />

ปะมาณะวันตานิ สิริงสะปานิ<br />

สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย<br />

อันมีประมาณคือ<br />

อะหิวิจฉิกา สะตะปะที<br />

งู แมงป่อง ตะขาบ<br />

อุณณานาภี สะระพู มูสิกา<br />

เมตตาธรรม


แมงมุม ตุ๊กแก<br />

และหนู<br />

กะตา เม รักขา กะตา เม ปะริตตา ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิ<br />

ขอสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น<br />

จงหลบหลีกไปเสียเถิด<br />

เพราะการรักษาป้องกัน อันข้าพเจ้าได้ทำไว้แล้ว<br />

โสหัง นะโม ภะคะวะโต<br />

เพราะข้าพเจ้านั้น<br />

กระทำความนอบน้อม<br />

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่<br />

นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานัง.<br />

กระทำความนอบน้อม แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า<br />

๗ พระองค์อยู่.<br />

ว.วชิรเมธี


ความหมายแห่ง<br />

เมตตานิสังสะสุตตะปาฐะ<br />

พระสูตรบทนี้ถือเป็นพระคาถาเมตตามหานิยมที่ผู้ใดนำไป<br />

เจริญภาวนาจะเป็นสิริมงคลต่อตนเอง เป็นที ่รักใคร่ของเหล่าเทวดาและ<br />

มนุษย์ หรือแม้กระทั่งอมนุษย์ สรรพสัตว์เดรัจฉานและสรรพชีพ<br />

อื่นๆ ไปแห่งหนตำบลไหนก็จะมีแต่ผู้คนให้ความรักนิยมชมชอบ<br />

ไม่มีศัตรู ไม่มีผู ้ใดสิ ่งใดมาทำร้าย ถึงยามนอนก็หลับฝันดี ตื ่นนอนมา<br />

ก็เป็นสุข ผิวพรรณใบหน้าผุดผ่องแจ่มใส จิตใจไม่วอกแวก มีสติ<br />

ไม่ขี้หลงขี้ลืม<br />

เมื่อเจริญภาวนาเป็นประจำจะเป็นอุปการะหนุนส่งให้ไปบังเกิด<br />

ในพรหมโลก<br />

บทสวดคาถาเมตตานิสังสะสุตตะปาฐะ<br />

เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ<br />

พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ<br />

สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ กะตะเม เอกาทะสะฯ<br />

สุขัง สุปะติ สุขัง ปะฏิพุชฌะติฯ นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติฯ<br />

มะนุสสายัง ปิโย โหติฯ อะมะนุสสานัง ปิโย โหติฯ เทวะตา<br />

รักขันติฯ นาสสะ อัคคิ วา วิสังวา สัตถัง วา กะมะติฯ ตุวะฏัง<br />

จิตตัง สะมาธิยะติฯ มุขะวัณโณ วิปปะสีทะติฯ อะสัมมุฬโห กาลัง<br />

เมตตาธรรม


กะโรติฯ อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พ๎รัห๎มะโลกูปะโค โหติฯ<br />

เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ<br />

พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริ-<br />

จิตายะ สุสะมารัทธายะ อิเมเอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาติฯ<br />

อิทะมะโวจะ ภะคะวาฯ อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง<br />

อะภินันทุนติฯ<br />

บทแผ่เมตตาพิเศษ<br />

สัพเพ สัตตา,<br />

อันว่าสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ<br />

ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น;<br />

อะเวรา โหนตุ,<br />

ขอจงอย่าได้มีเวรต่อกันและกันเลย,<br />

อัพ๎ยาปัชฌา โหนตุ,<br />

ขอจงอย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย,<br />

อะนีฆา โหนตุ,<br />

ขอจงพากันอยู่เป็นสุข<br />

อย่ามีทุกข์เลย;<br />

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ,<br />

ขอจงรักษาตนให้เป็นสุขเถิด;<br />

สัพเพ สัตตา,<br />

ว.วชิรเมธี


อันว่าสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ<br />

ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น;<br />

กัมมะทุกขา ปะมุญจันตุ,<br />

ขอจงได้มีความพ้นทุกข์เถิด,<br />

ชะราธัมโมมหิ,<br />

เราไม่ล่วงพ้นความแก่ชราไปได้;<br />

พ๎ยาธิธัมโมมหิ,<br />

เราไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้;<br />

มะระณะธัมโมมหิ,<br />

เราไม่ล่วงพ้นความตายไปได้;<br />

สัพเพ สัตตา,<br />

อันว่าสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ<br />

ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น;<br />

กัมมัสสะกา, มีกรรมเป็นของตัว;<br />

กัมมะทายาทา, มีกรรมเป็นมรดก;<br />

กัมมะโยนิ, มีกรรมเป็นกำเนิด;<br />

กัมมะพันธุ, มีกรรมเป็นพวกพ้อง;<br />

กัมมะปะฏิสะระณา, มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย;<br />

ยัง กัมมัง กะริสสามิ, เราได้ทำกรรมอันใดไว้;<br />

กัล๎ยาณัง วา, ดีก็ตาม;<br />

ปาปะกัง วา, ชั่วก็ตาม;<br />

ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสามิ, เราทั ้งหลายเหล่านั ้นจะได้ผลกรรมนั ้นแล.<br />

เมตตาธรรม

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!