27.01.2015 Views

rxzIoZ

rxzIoZ

rxzIoZ

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

วัดท่าซุง<br />

สารบัญ<br />

การเดินทาง ๖<br />

สถานที่น่าสนใจ ๗<br />

อำเภอเมืองอุทัยธานี ๗<br />

อำเภอหนองขาหย่าง ๑๔<br />

อำเภอหนองฉาง ๑๔<br />

อำเภอทัพทัน ๑๕<br />

อำเภอสว่างอารมณ์ ๑๖<br />

อำเภอลานสัก ๑๖<br />

อำเภอห้วยคต ๒๑<br />

อำเภอบ้านไร่ ๒๓<br />

เทศกาลงานประเพณี ๒๘<br />

สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก ๓๐<br />

ตัวอย่างโปรแกรมนำาเที่ยว ๓๓<br />

สิ่งอำานวยความสะดวกในจังหวัดอุทัยธานี ๓๔<br />

สถานที่พัก ๓๔<br />

ร้านอาหาร ๓๖<br />

หมายเลขโทรศัพท์สำาคัญ ๓๘


๔ ๕<br />

งานประเพณีตักบาตรเทโว<br />

อุทัยธานี<br />

เมืองพระชนกจักรี ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว<br />

ส้มโอบ้านนำ้ำตก มรดกโลกห้วยขาแข้ง<br />

แหล่งต้นนำ้ำสะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ<br />

จังหวัดอุทัยธานี ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง มีพื้นที่ประมาณ ๖,๗๓๐<br />

ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าและภูเขาสูง สภาพป่าไม้ของจังหวัด<br />

อุทัยธานีอุดมสมบูรณ์มีความหลากหลายทางธรรมชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์<br />

ป่าห้วยขาแข้งจึงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เป็นผืนป่าอนุรักษ์ที่ควร<br />

ค่าแก่การดูแลรักษาและนำาความภาคภูมิใจมาสู่คนไทยทุกคน<br />

ดินแดนบางส่วนพบหลักฐานว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ก่อนประวัติ-<br />

ศาสตร์และเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมือง ได้แก่เมืองโบราณบึงคอก<br />

ช้างในสมัยทวารวดี เมืองโบราณบ้านใต้ เมืองโบราณบ้านคูเมือง และ<br />

เมืองโบราณการุ้ง<br />

ตามตำานานกล่าวว่าในสมัยสุโขทัยท้าวมหาพรหมได้เข้ามาสร้างเมืองที่บ้าน<br />

อุทัยเก่า(อำาเภอหนองฉาง)แล้วพาคนไทยมาอยู่ท่ามกลางหมู่บ้านกะเหรี่ยง<br />

และหมู่บ้านมอญจึงเรียกว่า “เมืองอู่ไทย” ตามกลุ่มหรือที่อยู่ของคนไทย<br />

ต่อมาเกิดความแห้งแล้งกระแสนำ้ำเปลี่ยนทาง เมืองจึงถูกทิ้งร้าง ในสมัย<br />

อยุธยา ชาวกะเหรี่ยงชื่อ“พะตะเบิด”เข้ามาปรับปรุงเมืองอู่ไทยโดยขุด<br />

ทะเลสาบขังนำ้ำไว้ใกล้เมืองและเป็นผู้ปกครองเมืองอู่ไทยเก่าคนแรก ชื่อ<br />

เมืองจึงเรียก เพี้ยน เป็น“เมืองอุไทย”ตามสำาเนียงชาวกะเหรี่ยงและมีฐานะ<br />

เป็นหัวเมืองหน้า ด่านชั้นนอกสกัดกั้นกองทัพพม่าที่จะเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา<br />

ต่อมาในสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีการอพยพผู้คนมาตั้งบ้านเรือนที่<br />

ริมฝั่งแม่นำ้ำ สะแกกรังมากขึ้น และได้กลายเป็นที่ตั้งของตัวเมืองอุทัยธานี<br />

ในปัจจุบัน<br />

อุทัยธานีมีสถานที่น่าสนใจทั้งทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี<br />

หลายแห่งที่น่ามาเที่ยวชมและศึกษาหาความรู้ อีกทั้งมีสินค้าที่ระลึกประเภท<br />

หัตถกรรมและอาหารการกินมากมาย เช่น หน่อไม้รวก ข้าวเกรียบปลา ผล<br />

ไม้แช่อิ่ม ผ้าทอ เครื่องจักสานซึ่งสามารถนำากลับไปเป็นของฝากได้<br />

อาณาเขต<br />

ทิศเหนือ<br />

ติดต่อกับอำาเภอพยุหะคีรี อำาเภอโกรกพระ<br />

และอำาเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์<br />

ทิศใต้ ติดต่อกับอำาเภอวัดสิงห์และอำาเภอหันคา<br />

จังหวัดชัยนาท อำาเภอเดิมบางนางบวช<br />

จังหวัดสุพรรณบุรี<br />

ทิศตะวันออก<br />

ติดต่อกับอำาเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์และ<br />

อำาเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท โดยมีแม่นำ้า<br />

เจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขตแดน<br />

ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำาเภออุ้มผาง จังหวัดตาก<br />

อำาเภอสังขละบุรี และอำาเภอศรีสวัสดิ์<br />

จังหวัดกาญจนบุรี


๖ ๗<br />

การปกครอง<br />

จังหวัดอุทัยธานี แบ่งการปกครองออกเป็น ๘ อำาเภอ คือ อำาเภอเมือง<br />

อุทัยธานี อำาเภอหนองขาหย่าง อำาเภอทัพทัน อำาเภอหนองฉาง อำาเภอ<br />

สว่างอารมณ์ อำาเภอห้วยคต อำาเภอลานสัก และอำาเภอบ้านไร่<br />

การเดินทาง<br />

รถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางไปอุทัยธานีได้หลายเส้นทาง<br />

ได้แก่<br />

๑. จากถนนพหลโยธินผ่านจังหวัดสระบุรี อำาเภอโคกสำาโรง จังหวัดลพบุรี<br />

อำาเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ และอำาเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ข้าม<br />

แม่นำ้ำเจ้าพระยาลงแพขนานยนต์ ที่อำาเภอมโนรมย์ ผ่านวัดท่าซุง (วัด จัน<br />

ทาราม) ศาลากลางจังหวัด เข้าตลาดอุทัยธานี รวมระยะทางประมาณ ๓๐๕<br />

กิโลเมตร<br />

๒. จากทางหลวงหมายเลข ๓๒ (สายเอเซีย) ผ่านอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี<br />

ชัยนาท แล้วเลี้ยวซ้ายตรงทางแยกท่านำ้ำอ้อยบริเวณหลักกิโลเมตร ที่ ๒๐๖<br />

เข้าทางหลวงหมายเลข ๓๓๓ ข้ามสะพานแม่นำ้ำเจ้าพระยา ระยะทาง<br />

ประมาณ ๑๖ กิโลเมตร ผ่านหน้าโรงพยาบาลเลี้ยวซ้ายเข้าตลาดอุทัยธานี<br />

รวมระยะทางประมาณ ๒๒๒ กิโลเมตร<br />

๓. จากทางหลวงหมายเลข ๓๒ (สายเอเซีย) ผ่านอยุธยา ประมาณกิโลเมตร<br />

ที่ ๓๐ เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๓๔ และจากนั้นเข้าทางหลวง<br />

หมายเลข ๓๐๙ ไปตามเส้นทาง ข้ามสะพานจังหวัดอ่างทอง แล้วมาตาม<br />

ทางหลวงหมายเลข ๓๑๑ ผ่านจังหวัดสิงห์บุรี ผ่านอำาเภอสรรพยาจังหวัด<br />

ชัยนาท จากนั้นเลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๑๘๓ เข้าจังหวัดอุทัยธานี<br />

รวมระยะทางประมาณ ๒๘๓ กิโลเมตร<br />

รถโดยสารประจำาทาง บริษัท ขนส่ง จำากัด บริการเดินรถระหว่างกรุงเทพฯ-<br />

อุทัยธานีทุกวัน จากสถานีขนส่งหมอชิต ๒ ใช้เวลาเดินทางประมาณ<br />

๔ ชั่วโมง รถโดยสารปรับอากาศบริการ เวลา ๐๔.๓๐-๑๗.๕๐ น.<br />

สอบถามรายละเอียด โทร. ๑๔๙๐ www.transport.co.th สถานีเดินรถอุทัยธานี<br />

โทร. ๐ ๕๖๕๑ ๑๐๕๘, ๐ ๕๖๕๑ ๑๙๑๔, ๐ ๕๖๕๑ ๒๘๕๙<br />

นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารจากจังหวัดอุทัยธานี ไปยังจังหวัดนครสวรรค์<br />

สุพรรณบุรี และนครปฐม<br />

รถไฟ สามารถโดยสารรถไฟไปลงที่สถานีนครสวรรค์ แล้วต่อรถประจำาทาง<br />

มายังอุทัยธานีอีกประมาณ ๕๐ กิโลเมตร ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่<br />

หน่วยบริการเดินทาง โทร. ๑๖๙๐, ๐ ๒๒๒๐ ๔๔๔๔ www.railway.co.th<br />

การเดินทางภายในจังหวัด มีทั้งรถสองแถว และรถบัสประจำาทางวิ่งตาม<br />

เส้นทางต่างๆ เช่น อุทัยธานี-หนองฉาง อุทัยธานี-วัดสิงห์ อุทัยธานี-บ้านไร่<br />

ลานสัก-สว่างอารมณ์-ทัพทัน บ้านไร่-คลองแห้ง เป็นต้น<br />

ระยะทางจากอำาเภอเมืองอุทัยธานีไปอำาเภอต่างๆ<br />

อำาเภอหนองขาหย่าง ๑๐ กิโลเมตร<br />

อำาเภอทัพทัน ๑๙ กิโลเมตร<br />

อำาเภอหนองฉาง ๒๒ กิโลเมตร<br />

อำาเภอสว่างอารมณ์ ๓๓ กิโลเมตร<br />

อำาเภอห้วยคต ๔๕ กิโลเมตร<br />

อำาเภอลานสัก ๕๗ กิโลเมตร<br />

อำาเภอบ้านไร่ ๘๐ กิโลเมตร<br />

สถานที่น่าสนใจ<br />

อำาเภอเมืองอุทัยธานี<br />

วัดสังกัสรัตนคีรี ตั้งอยู่เชิงเขาสะแกกรัง สุดถนนท่าช้าง ในเขตเทศบาลเมือง<br />

ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูป<br />

คู่บ้านคู่เมืองอุทัยธานี มีประวัติว่าในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า-<br />

จุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้นำาพระพุทธรูปขนาดย่อมที่ชำารุดไปไว้ตาม<br />

หัวเมืองต่างๆ เมืองอุทัยธานีได้รับ ๓ องค์ โดยอัญเชิญลงแพมาขึ้นฝั่งที่ท่า<br />

พระ (ตรงข้ามศาลาประชาคมจังหวัดอุทัยธานี) แล้วนำามาประดิษฐานไว้ที่<br />

วัดขวิด พระพุทธรูปองค์หนึ่งมีขนาดใหญ่เป็นพระเนื้อสำาริดปางมารวิชัย<br />

หน้าตักกว้าง ๓ ศอก สร้างในสมัยพระยาลิไท ฝีมือช่างสุโขทัย มีส่วนเศียร<br />

กับส่วนองค์พระเป็นคนละองค์ เข้าใจว่าคงซ่อมเป็นองค์เดียวกันก่อนนำามา<br />

ไว้ที่เมืองอุทัยธานี ต่อมาเมื่อยุบวัดขวิดไปรวมกับวัดทุ่งแก้ว จึงได้ย้ายพระ<br />

พุทธรูปองค์นี้ไปไว้ที่วัดสังกัสรัตนคีรี ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองไป ๑ กิโลเมตร<br />

และได้ทำาพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในพระเศียร พร้อมกับถวายนามว่า<br />

“พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์” ในวันแรม ๑ ค่ำ าเดือน ๑๑ ของทุกปี มีการจัดงาน<br />

ประเพณีตักบาตรเทโว ซึ่งพระสงฆ์ประมาณ ๕๐๐ รูปจะเดินลงบันไดจาก<br />

ยอดเขาสะแกกรังมารับบิณฑบาตที่ลานวัดเป็นประเพณีที่สำาคัญของจังหวัด<br />

การเดินทาง จากตัวเมืองใช้ถนนท่าช้างจนสุดทาง ด้านซ้ายมือเป็นพระวิหาร<br />

ประดิษฐานพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ พระพุทธรูปประจำาจังหวัดอุทัยธานี<br />

ด้านขวามือเป็นบันไดขึ้นเขาสะแกกรัง<br />

เขาสะแกกรัง จากบริเวณลานวัดสังกัสรัตนคีรีมีบันไดขึ้นสู่ยอดเขาสะแกกรัง<br />

หรือใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๒๒๐ เป็นระยะทาง ๔ กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้าย<br />

บริเวณสนามกีฬาจังหวัดไปตามทางขึ้นสู่ยอดเขา จากบนยอดเขาสามารถ<br />

มองเห็นทิวทัศน์เมืองอุทัยธานีได้กว้างขวาง เป็นที่ตั้งมณฑปประดิษฐาน


๘ ๙<br />

รอยพระพุทธบาทจำาลอง ซึ่งย้ายมาจากวัดจันทาราม สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘<br />

ด้านหน้ามีระฆังใบใหญ่ที่พระปลัดใจและชาวอุทัยธานีร่วมกันสร้างเมื่อ พ.ศ.<br />

๒๔๔๓ ถือกันว่าเป็นระฆังศักดิ์สิทธิ์ ใครที่ไปเที่ยวอุทัยธานีแล้วไม่ได้ขึ้นไป<br />

ตีระฆังใบนี้ก็เท่ากับไม่ได้ไปเที่ยวอุทัยธานี<br />

ใกล้กับมณฑปบนยอดเขาสะแกกรังเป็นที่ประดิษฐาน พระราชานุสาวรีย์<br />

สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกนาถ แห่งรัชกาลที่ ๑ พระนามเดิมคือนายทองดี<br />

รับราชการตำาแหน่งพระอักษรสุนทรศาสตร์ เสมียนตรากรมมหาดไทย<br />

และต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ ครั้นในสมัย<br />

กรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกปฐมกษัตริย์แห่งราช<br />

วงศ์จักรี (พระนามเดิมนายทองด้วง) ได้สถาปนาพระอัฐิพระบิดาเป็นสมเด็จ<br />

พระชนกาธิบดี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๘<br />

พระบรมรูปของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกนาถ เป็นรูปหล่อขนาดสอง<br />

เท่าขององค์จริงประทับนั่งบนแท่นพระหัตถ์ซ้ายถือดาบประจำาตำาแหน่งเจ้า<br />

พระยาจักรี ทั้งฝักวางบนพระเพลาซ้าย และทรงวางพระหัตถ์ขวาบนพระ<br />

เพลาขวา ด้านขวามือมีพานวางพระมาลาเส้าสูง ไม่มียี่ก่า (ขนนก) สวม<br />

พระบาทด้วยรองเท้าแตะไม่หุ้มส้นพระบาท มีพิธีถวายสักการะพระราชานุ-<br />

สาวรีย์แห่งนี้ ในวันที่ ๖ เมษายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับช่วงที่ดอกสุพรรณิการ์<br />

หรือฝ้ายคำา ดอกไม้ประจำาจังหวัดอุทัยธานีบานสะพรั่งอยู่ทั่วไปบนเขา<br />

สะแกกรัง<br />

เลยพระราชานุสาวรีย์ไปทางป่าหลังเขา ประมาณ ๒๐๐ เมตร จะพบหมุด<br />

แผนที่โลก ซึ่งใช้ในการสำารวจแผนที่ สร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕<br />

วัดมณีสถิตย์กปิฏฐาราม ตั้งอยู่ที่ถนนสุนทรสถิตย์ หลังสวนสุขภาพ<br />

ตรงวงเวียนหอนาฬิกา เป็นวัดที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ ชาวเมืองเรียก<br />

กันว่า วัดทุ่งแก้ว ในวัดนี้มีพระปรางค์ใหญ่อยู่องค์หนึ่ง ฐานกว้าง ๘ เมตร<br />

สูง ๑๖ เมตร ลักษณะเป็นปรางค์ห้ายอด สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ ภายใน<br />

บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ และเป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อแย้มผู้<br />

สร้างวัดนี้ บริเวณวัดมีสระนำ้ำก่ออิฐเป็นสระนำ้ำมนต์ขนาดใหญ่ กลางสระมี<br />

แผ่นศิลา อักขระยันต์ของหลวงพ่อแย้มฝังเอาไว้ นำ้ำในสระแห่งนี้เคยใช้เป็น<br />

นำ้ำสรง พุทธาภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จ<br />

พระเจ้าอยู่ หัวรัชกาลที่ ๖ และรัชกาลที่ ๗<br />

วัดธรรมโฆษก หรือ วัดโรงโค ถนนศรีอุทัย ตำาบลอุทัยใหม่ ใกล้ตลาด<br />

เทศบาล เคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีถือนำ้ำพระพิพัฒน์สัตยาของ<br />

ข้าราชการเมือง อุทัยธานี และเป็นลานประหารนักโทษ เป็นวัดที่สร้างใน<br />

สมัยต้นกรุงรัตนโก-สินทร์ ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมืองดงาม<br />

จัดว่าสวยงามที่สุดใน อุทัยธานี สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยาตอน<br />

ปลายที่ยังมีชีวิตอยู่ถึง สมัยรัตนโกสินทร์ จิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพพุทธ<br />

วัดธรรมโฆษก หรือ วัดโรงโค<br />

ประวัติตอนเสด็จลงจาก ดาวดึงส์ และตอนผจญมาร ผนังข้างด้านบนเป็น<br />

ภาพเทพชุมนุมสลับกับ พัดยศ กรอบหน้าต่างด้านนอกเป็นลายปูนปั้น วิหาร<br />

สร้างยกพื้นสูงกว่าโบสถ์ หน้าบันเป็นรูปช้างสามเศียร ภายในมีแท่น<br />

ประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งมี ประมาณ ๒๐ องค์ จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบ<br />

บนหน้าต่างด้านนอกมีลายปูนปั้นเป็นเรื่องรามเกียรติ์ประดับเป็นกรอบ<br />

ประตูวิหารเป็นไม้จำาหลักลายดอก ไม้ทาสีแดงงดงามมาก โบสถ์และวิหาร<br />

มีพระปรางค์และเจดีย์เรียงรายอยู่ ๒-๓ องค์<br />

กำาแพงรอบโบสถ์ของวัดนี้ก่อต่อกับฐานวิหารเพราะมีพื้นสูงกว่า ประตูเป็น<br />

ซุ้มแบบจีน และด้านหลังโบสถ์มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปเช่นเดียวกับ<br />

ด้านหน้า มีกุฏิเล็กอยู่ติดกับกำาแพงโบสถ์ เป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยา บาน<br />

ประตูวัดแกะสลัก ฝีมือช่างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นลายดอกไม้<br />

ประกอบใบกระจังต่อก้านสลับดอกเรียงเป็นแถวสวยงามมาก พื้นในเป็น<br />

สีแดงเข้าใจว่าเดิมคงลงสีทองบนตัวลายไว้ บานหน้าต่างแกะเป็นลวดลาย<br />

เดียวกัน ปกติโบสถ์จะปิดหากต้องการชมต้องแจ้งล่วงหน้าติดต่อโทร. ๐ ๕๖๕๑<br />

๑๔๕๐ วัดธรรมโฆษกได้รับการจดทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้ว<br />

ลำานำ้ำสะแกกรัง ไหลผ่านตัวจังหวัดอุทัยธานี มีเรื่องเล่าต่อกันมาว่า ในสมัย<br />

ก่อน เมื่อพ่อค้าล่องเรือผ่านมาจะรู้ได้ว่าถึงบ้านสะแกกรังแล้ว โดยเฉพาะ<br />

ในเดือนยี่ถึงเดือนสามจะสังเกตได้ชัดเจน ต้นสะแกจะออกดอกเล็กๆ ช่อ<br />

ยาวสี เขียวอมเหลืองห้อยลงมาริมนำ้ำ บริเวณสองฝั่งแม่นำ้ำมีเรือนแพอยู่เรียง<br />

ราย ฝั่งแม่นำ้ำด้านตะวันตกมีอาคารบ้านเรือนอยู่หนาแน่นและเป็นตลาด<br />

ใหญ่ของที่ขายนั้น ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะปลูกเอง ทำาเอง รวมทั้งอาหารคาว<br />

หวาน ส่วนฝั่งแม่นำ้ำด้านตะวันออกเป็นเกาะเทโพ มีสวนผลไม้ และป่าไผ่<br />

ตามธรรมชาติ เรือนแพที่อยู่สองฝั่งแม่นำ้ำเป็นเรือนไม้สร้างคร่อมบนแพ<br />

ลูกบวบไม้ไผ่<br />

ชาวเรือนแพเหล่านี้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง หลังจากที่ได้ปลามาจะ<br />

นำามาชำาแหละ เสียบไม้เป็นแผง ผึ่งให้แห้ง ย่างรมควันทำาเป็นปลาแห้ง และ


๑๐ ๑๑<br />

นำาไปขายในตลาด ตามเรือนแพริมนำ้ำเหล่านี้ ยังมีกระชังเลี้ยงปลาสวาย<br />

ปลาแรด และปลาเทโพบ้างเล็กน้อย<br />

สภาพความเป็นอยู่ที่สามารถพบเห็นตามสองฝั่งลำานำ้ำสะแกกรัง จึงเหมาะ<br />

สำาหรับนั่งเรือชมทิวทัศน์รอบเกาะเทโพ หรือจะนั่งไปถึงอำาเภอมโนรมย์<br />

จังหวัดชัยนาท ใช้เวลาประมาณ ๒ ชั่วโมง<br />

เรือล่องแม่นำ้ำสะแกกรัง เรือหางยาว มีหลังคา จุได้ ๑๐-๑๒ คน ค่าเช่า<br />

ภายใน เขตเทศบาลราคา ๒๕๐ บาท หากไปถึงวัดท่าซุง ประมาณ ๘๐๐<br />

บาท ติดต่อ ที่ ลุงฉลอง โทร. ๐๘ ๙๘๕๙ ๙๓๙๔ หากต้องการล่องเรือ<br />

ขนาดใหญ่เหมา ราคาประมาณ ๔,๐๐๐ บาท จุได้ ๔๐ คน ไม่รวมค่าบริการ<br />

อาหารเย็น ล่องเวลา ๑๖.๐๐-๑๙.๐๐ น. สอบถามรายละเอียดได้ที่คุณวีระ<br />

บำารุงศรี โทร. ๐๘ ๖๕๗๗ ๗๗๘๑, ๐๘ ๑๘๓๐ ๐๖๕๓ โทรสาร ๐ ๕๖๕๑<br />

๓๐๖๒<br />

เกาะเทโพ เดิมเป็นแหลมยื่นออกมาคั่นระหว่างแม่นำ้ำเจ้าพระยาและแม่นำ้ำ<br />

สะแกกรัง ซึ่งมาบรรจบกันทางทิศใต้ของแหลม แต่มีการขุดคลองเชื่อมทาง<br />

เหนือในภายหลัง เพื่อให้แม่นำ้ำเจ้าพระยามาหนุนแม่นำ้ำสะแกกรังในยามนำ้ำ<br />

แล้ง แหลมนี้จึงกลายเป็นเกาะเทโพ<br />

เกาะเทโพเป็นจุดที่น่าสนใจสำาหรับผู้ชอบปั่นจักรยานท่องเที่ยว หลังจาก<br />

ข้าม สะพานที่เชื่อมต่อระหว่างตลาดสดเทศบาลและวัดอุโปสถาราม ซึ่ง<br />

ไม่ยาวนัก และแคบเพียงรถมอเตอร์ไซค์สวนกัน นับเป็นจุดเริ่มต้นการเดิน<br />

ทางบนเกาะ เทโพ บรรยากาศสองข้างเป็นป่าไผ่ ไร่ข้าวโพด และทุ่งนาให้<br />

บรรยากาศที่ สงบร่มรื่น ชาวบ้านที่นี่ทำาสวนส้มโอ มีทั้งพันธุ์มโนรมย์ และ<br />

ขาวแตงกวา และยังปลูกมะไฟด้วย<br />

เมื่อผ่านบ้านท่าดินแดงจะเห็นเสื่อลำาแพนวางขายอยู่ ชาวบ้านใช้ต้นไผ่ที่มี<br />

อยู่หนาแน่นในพื้นที่นำามาสานเสื่อ และวางขายกันที่หน้าบ้าน ไม่ได้ส่ง<br />

ตลาด หากเดินทางต่อไปถึงวัดภูมิธรรม ก็จะมีศาลาให้นั่งพัก บรรยากาศ<br />

ในวัดเงียบสงบ เมื ่อปั ่นจักรยานครบรอบเส้นทางที ่กำาหนดไว้ก็จะถึงท่าเรือ<br />

ที่จะข้ามไปวัดท่าซุงได้ รวมระยะทางปั่นจักรยานบนเกาะทั้งหมด ๓๓<br />

กิโลเมตร<br />

นอกจากนี้ ยังมีแหล่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำาบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ มากมาย เช่น<br />

ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากปลา กลุ่มแม่บ้านปลาแปรรูปเกาะเทโพ กลุ่ม<br />

ทำามีดจากเหล็กกล้า กลุ่มจักสานไม้ไผ่ กลุ่มธูปหอม<br />

แผนที่เกาะเทโพ และตัวเมืองอุทัยธานี สามารถติดต่อได้ที่ คุณประสงค์<br />

ศรีเมือง ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพจังหวัดอุทัยธานี (ร้านเจริญจักรยาน)<br />

เลขที่ ๑๐๐-๑๐๒ ถนนท่าช้าง อำาเภอเมืองอุทัยธานี โทร. ๐ ๕๖๕๑ ๑๙๙๑<br />

ได้ทุกวัน อบต.หาดทนง มีจักรยานจำานวน ๓๐ คัน ให้เช่าในราคาคันละ<br />

๔๐ บาท/ วัน ติดต่อได้ที่คุณสวัสดิ์ บุญเกตุ (กลุ่มผลิตภัณฑ์จากเหล็กกล้า)<br />

โทร. ๐๘ ๖๒๑๖ ๓๕๑๐<br />

วัดอุโปสถาราม เดิมชื่อ วัดโบสถ์มโนรมย์ ชาวบ้านเรียกว่าวัดโบสถ์ เป็น<br />

วัดเก่าแก่อยู่ริมลำานำ้ำสะแกกรัง บนเกาะเทโพ ในเขตเทศบาลเมือง จาก<br />

ตลาดสดเทศบาล มีสะพานข้ามแม่นำ้ำไปยังวัดอุโปสถาราม ซึ่งตั้งอยู่บน ฝั่ง<br />

ตะวันออกของแม่นำ้ำ สิ่งที่น่าสนใจในวัดได้แก่ จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์<br />

และวิหาร เป็นภาพเขียนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในโบสถ์เป็นภาพพุทธ<br />

ประวัติเริ่มตั้งแต่ประสูติจนถึงปรินิพพานฝีมือประณีตมาก ในวิหารเขียน<br />

ภาพพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดเทพยดาบนสวรรค์และภาพปลงสังขาร ด้านบน<br />

ฝาผนังเป็นพระสงฆ์สาวกชุมนุมสลับกับพัดยศเหมือนจะไหว้พระ ประธาน<br />

ในวิหาร ฝาผนังด้านนอกหน้าวิหารมีภาพถวายพระเพลิงพระบรม ศพ<br />

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และภาพชีวิตชาวบ้านที่เกี่ยวกับพุทธ<br />

ศาสนา เข้าใจว่าเป็นฝีมือชั้นหลัง นอกจากนี้ภายในวัดอุโปสถาราม ยังมี<br />

สิ่ง ของที่น่าชมอีกมาก เช่น เสมาหินสีแดงหน้าโบสถ์ ตู้พระธรรมและตู้ใส่<br />

ของ เขียนลายกนกเถาลายดอกไม้ บาตรฝาประดับมุกที่ได้รับพระราชทาน<br />

จากรัชกาลที่ ๕ เป็นฝีมือช่างสิบหมู่ และหงส์ยอดเสา เป็นต้น นอกจากนี้<br />

ยังมีอาคารสถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่น่าชมหลายหลัง ได้แก่ มณฑปแปด<br />

เหลี่ยม ลักษณะผสมแบบตะวันตก มีลายปูนปั้นคล้ายไม้เลื้อยที่กรอบ<br />

หน้าต่าง และ มีพระพุทธรูปปูนสลักนูนสูงอยู่ด้านนอกอาคาร เจดีย์หกเหลี่ยม<br />

เจดีย์ย่อ มุมไม้สิบสองทรงรัตนโกสินทร์ หอประชุมอุทัยพุทธสภา เป็นศาลา<br />

ทรงไทย ใช้เป็นหอสวดมนต์ หน้าบันประดับลวดลายปูนปั้น และแพโบสถ์<br />

นำ้ำตั้งอยู่ หน้าวัด สร้างขึ้นเพื่อรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า<br />

อยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือใน พ.ศ. ๒๔๔๙ เดิมเป็นแพ<br />

แฝด ๒ หลัง มีช่อฟ้า ใบระกาเหมือนอุโบสถทั่วไป หน้าบันมีป้ายวงกลม<br />

จารึก ภาษาบาลี “สุ อาคต เต มหาราช” แปลว่า มหาราชเสด็จฯ มาดี<br />

ต่อมา ใน พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้ซ่อมแซมบูรณะใหม่เป็นหลังเดียวยกพื้น ๒ ชั้น<br />

หลัง คาทรงปั้นหยา และย้ายป้ายกลมมาไว้หน้าจั่วตรงกลาง แพโบสถ์นำ้ำ<br />

หลังนี้ ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา เช่น งานแต่งงาน บวชนาค งานศพ และ<br />

งาน บุญต่างๆ<br />

วัดจันทาราม หรือ วัดท่าซุง เดิมเป็นวัดที่สร้างในสมัยอยุธยา มีโบสถ์ขนาด<br />

เล็กภายในมีจิตรกรรมฝาผนังภาพพุทธประวัติฝีมือช่างพื้นบ้านเข้าใจว่า<br />

เขียนในสมัยหลัง บางภาพต่อเติมจนผิดส่วน สมบัติอีกชิ้นหนึ่งของวัด คือ<br />

ธรรมาสน์ที่หลวงพ่อใหญ่สร้าง ที่วิหารมีพระปูนปั้น มีลวดลายไม้จำาหลัก<br />

ขอบหน้าบันเหลืออยู่ ๒-๓ แห่ง<br />

ด้านตรงข้ามกับวัดเป็นปูชนียสถานแห่งใหม่ มีบริเวณกว้างขวางมาก พระราช<br />

พรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำา) พระเถระผู้มีชื่อเสียงได้สร้างอาคาร ต่างๆ


๑๒ ๑๓<br />

วัดท่าซุง<br />

มากมาย เช่น พระอุโบสถใหม่ ภายในประดับและตกแต่งอย่าง วิจิตร บาน<br />

หน้าต่างและประตูด้านในเขียนภาพเทวดาโดยจิตรกรฝีมือดี พระบาท<br />

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำาเนินมาตัดลูกนิมิตพระ อุโบสถแห่ง<br />

นี้ บริเวณโดยรอบสร้างกำาแพงแก้วและมีรูปหล่อหลวงพ่อปาน และหลวง<br />

พ่อใหญ่ขนาด ๓ เท่า อยู่มุมกำาแพงด้านหน้า มณฑป และ พระ วิหาร ที่<br />

ประดิษฐานพระพุทธชินราชจำาลอง และศพของหลวงพ่อฤาษีลิงดำา ที่ไม่เน่า<br />

เปื่อย อาคารเหล่านี้ส่วนใหญ่มีลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกันคือ สร้างด้วย<br />

โมเสกสีขาวใสเหมือนแก้ว นอกจากนี้ยังมีศาลาหลายหลังใช้เป็นสถานที่ฝึก<br />

สมาธิและมีที่พักให้ด้วย อาคารแต่ละหลังจะมีเวลาเปิด-ปิดไม่ตรงกันและ<br />

ปิดช่วงกลางวัน โดยอาคารแต่ละหลังจะทยอยเปิดตั้งแต่เวลา ๑๐.๓๐ น.<br />

และจะเปิดให้ชมโดยพร้อมเพรียงกันอีกครั้งตั้งแต่เวลา ๑๔.๐๐ น. เป็นต้นไป<br />

บริเวณท่านำ้ำวัดท่าซุงมีเรือนำาเที่ยวขนาด ๔๐ ที่นั่ง บริการนำาเที่ยวเส้นทาง<br />

วัดท่าซุง-หมู่บ้านกลางนำ้ำ แวะซื้อของที่ระลึก และผักปลอดสารพิษจากชาว<br />

บ้าน ใช้เวลาประมาณ ๔๐ นาที ราคาคนละ ๔๐ บาท ติดต่อคุณนิด โทร.<br />

๐๘ ๙๙๕๘ ๑๔๗๙, ๐๘ ๗๕๒๗ ๒๒๔๓<br />

การเดินทาง วัดท่าซุง ตั้งอยู่หมู่ ๒ ตำาบลนำ้ำซึม สามารถเดินทางไปได้<br />

หลายวิธี ๑) ไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๒๖๕ มุ่งตรงไปทางแพข้ามฟาก<br />

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ฯ<br />

อำาเภอมโนรมย์ ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ๒)รถโดยสารสองแถวสีฟ้า สาย<br />

อุทัยธานี-ท่าซุง<br />

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่น ตั้งอยู่ที่ศูนย์การศึกษา<br />

นอกโรงเรียน ถนนศรีอุทัย ตรงข้าม ททท. สำานักงานอุทัยธานี ภายในจัด<br />

แสดงเป็นห้องต่างๆ เช่น ห้องพัฒนาอาชีพ ห้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ห้อง<br />

จัดแสดงโครงกระดูกมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายยศเจ้า<br />

เมือง ห้องจำาลองไม้จำาหลัก และบ้านไทย เปิดวันจันทร์-ศุกร์ เวลา ๐๘.๓๐-<br />

๑๖.๓๐ น. สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. ๐ ๕๖๕๑ ๑๕๑๑, ๐ ๕๖๕๗ ๑๑๔๓<br />

พระแสงดาบศัตราวุธประจำาเมืองอุทัยธานี เป็นพระแสงดาบที่จังหวัดอุทัย<br />

ธานีได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้ง<br />

เสด็จพระราชดำาเนินประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือถึงเมืองอุทัยธานี เมื่อ พ.ศ.<br />

๒๔๔๙ พระแสงดาบนี้พระราชทานแก่จังหวัดอุทัยธานีเป็นลำ าดับที่ ๓ (อันดับ<br />

๑ เมืองอยุธยา อันดับ ๒ เมืองชัยนาท)<br />

พระแสงดาบศัตราวุธ เป็นดาบไทยทำาด้วยเหล็กสีขาวอย่างดี ปลายแหลม<br />

คมด้านเดียว มีนำ้ำหนักเบา สันเป็นลาย ฝังงาในเนื้อเหล็กรูปดอกไม้ร่วง<br />

และริมสันทั้งสองข้างมีลายทองเป็นรูปก้านขด โคนตรงกลางมีจารึกนาม<br />

อักษร “พระแสงสำาหรับเมืองอุไทยธานี” ด้ามพระแสงทำาด้วยไม้เนื้อแข็ง<br />

หุ้มทองลงยา โคนเป็นลายกนกตาอ้อย ปลายด้ามเป็นรูปจุฑามณีบัวควำ่ำ ๓<br />

ชั้น ประดับด้วยพลอย ต้นฝักพระแสงทำาด้วยทองคำาเป็นรูปรักร้อย<br />

ประดับพลอย มีกาบกนกหุ้ม ต้นฝักทำาด้วยทองคำาเป็นลายก้านขด ช่อดอก<br />

แกมใบประดับพลอย ตัวฝักพระแสงทำาด้วยทองคำาดุน ฝักทั้งสองข้างมี<br />

ลวดลายต่างๆ สวยงามมาก นับเป็นศิลปกรรมฝีมือเยี่ยมแห่งกรุงรัตนโก-<br />

สินทร์และเป็นพระแสงดาบสำาคัญประจำาเมืองอุทัยธานี ปัจจุบันเก็บรักษา<br />

ไว้ที่ คลังจังหวัดอุทัยธานี จะนำาออกให้ชมเฉพาะในงานพระราชพิธีเท่านั้น<br />

ฮกแชตึ๊ง เลขที่ ๔๒๗ ถนนศรีอุทัย ตำาบลอุทัยใหม่ เป็นบ้านไม้สักแบบจีน<br />

อายุเก่าแก่กว่า ๑๐๐ ปี ชาวจีนอพยพมาที่หมู่บ้านสะแกกรังตั้งแต่สมัย


๑๔ ๑๕<br />

อยุธยาตอนปลาย ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าที่มากับเรือสินค้า ในอดีตหมู่บ้าน<br />

นี้เป็นตลาดการค้าที่รุ่งเรือง “ฮกแชตึ๊ง” ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นแหล่งที่พบ<br />

ปะสังสรรค์ เดิมเคยเป็นร้านขายยา และเป็นศูนย์กลางในการจัดงานต่างๆ<br />

เช่น เทศกาลกินเจประจำาปี เป็นต้น ปัจจุบันชั้นบนใช้เก็บเครื่องดนตรี<br />

ชั้นวางยาและสิ่งของที่ใช้ในงานพิธีเทศกาลกินเจ เจ้าของคือคุณเสงี่ยม<br />

ปาลวัฒน์วิไชย<br />

อำาเภอหนองขาหย่าง<br />

วัดหนองพลวง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๒ สิ่งสำาคัญภายในวัด ได้แก่ พระ<br />

อุโบสถ เป็นโบสถ์ท้องสำาเภา อาคารก่ออิฐถือปูน ทรงจั่วหน้าบันด้านหน้า<br />

ประดับลวดลายปูนปั้นและเครื่องถ้วยเคลือบ แต่ด้านหลังเรียบไม่มีลวดลาย<br />

เป็นปูนสีขาวฉาบเกลี้ยงๆ ดูเรียบง่ายงามตา ไม่มีช่อฟ้า มีทางเข้าทางเดียว<br />

เสมาเป็นหินสลักสวยงามบนฐานรูปดอกบัว<br />

การเดินทาง ออกจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๓๓ ระหว่าง<br />

กิโลเมตรที่ ๙-๑๐ วัดอยู่ทางขวามือติดกับโรงเรียนหนองขาหย่างวิทยาคม<br />

อำาเภอหนองฉาง<br />

เมืองอุไทยธานีเก่า อยู ่ที ่บ้านอุทัยธานีเก่า เป็นที ่ตั ้งของเมืองอุไทยธานีมา<br />

ตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งยังคงมีซากโบราณสถานเหลืออยู่ เช่น ที่วัด<br />

หัวหมาก วัดยาง และวัดกุฏิ ส่วนบริเวณโดยรอบได้กลายเป็นทุ่งนาไปหมด<br />

วัดที่ยังคงสภาพอยู่จนถึงปัจจุบันนี้คือ วัดแจ้ง มีพระปรางค์ซึ่งเดิมสร้างเมื่อ<br />

พ.ศ. ๒๐๘๑ ต่อมาถูกพม่าทำาลายยอดหัก บูรณะซ่อมแซมครั้งล่าสุดเมื่อ<br />

พ.ศ. ๒๕๒๘ โบสถ์เก่าเป็นโบสถ์ขนาดเล็กประตูเดียวแบบอยุธยาตอนปลาย<br />

ลายปูนปั้นของพระปรางค์และหน้าบันโบสถ์เป็นฝีมือเดียวกัน ภาพจิตรกรรม<br />

ภายในโบสถ์เขียนขึ้นเมื่อบูรณะครั้งล่าสุด เป็นภาพพระราชกรณียกิจของ<br />

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อีกวัดหนึ่งคือ วัดหัวเมือง ซึ่งยังคงมีซาก<br />

โบสถ์เก่าแบบอยุธยาเหลืออยู่ และเจดีย์โบราณขนาดเล็กหน้าโบสถ์เก่า<br />

การเดินทาง จากตลาดหนองฉางสามแยกโรงเรียนทองประสาทเวทย์ ตรง<br />

มาทางเดียวกับวัดหนองขุนชาติ พบสามแยกเลี้ยวขวาไปประมาณ ๑<br />

กิโลเมตร จะถึงวัดแจ้ง ส่วนวัดหัวเมืองอยู่เลยวัดแจ้งไปอีก ๑ กิโลเมตร<br />

วัดหนองขุนชาติ เป็นวัดสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ มีมณฑปประดิษฐาน<br />

พระพุทธบาทจำาลอง มีการจัดงานนมัสการพระพุทธบาททุกวันขึ้น ๑๒ ค่ำา<br />

เดือน ๓ ไทย เป็นประจำาทุกปี งานมี ๑๐ วัน ๑๐ คืน<br />

การเดินทาง วัดอยู่ในตลาดหนองฉางจากทางหลวงหมายเลข ๓๐๑๒<br />

สายหนองฉาง-ทัพทัน เลี้ยวซ้ายตรงสามแยกไปตามทางหลวงหมายเลข<br />

๓๐๑๓<br />

อำาเภอทัพทัน<br />

วัดทัพทัน ตั้งอยู่บนถนนสายอุทัยธานี-ทัพทัน ทางหลวงหมายเลข ๓๒๒๑<br />

ห่างจากอำาเภอเมืองอุทัยธานี ประมาณ ๑๙ กิโลเมตร ก่อนถึงที่ว่าการอำ าเภอ<br />

ทัพทัน ๑ กิโลเมตรด้านซ้ายมือ บานประตูโบสถ์สวยงาม ฝีมือช่างสมัย<br />

รัตนโกสินทร์ บานหนึ่งแกะเป็นรูปคนถือธง ระบุ พ.ศ. ๒๔๖๖ อีกบานหนึ่งระบุ<br />

ว่าเป็นปีกุน มีลวดลายสวยงาม อกเลาบานประตูมีลวดลายยาวตลอด บาน<br />

ประตูอีกคู่หนึ่งแกะเป็นรูปเทวดาถือคันศรยืนบนพญานาค ด้านล่างเป็นภูเขา<br />

มีสัตว์ต่างๆ ด้านบนเป็นลายกนกมะลิเลื้อย บานประตูคู่นี้ไม่แกะลวดลาย<br />

ที่อกเลา เข้าใจว่าเป็นฝีมือช่างพื้นบ้าน<br />

แหล่งทอผ้าพื้นเมืองบ้านโคกหม้อ ชาวบ้านโคกหม้อเป็นชาวลาวครั่งที่อพยพ<br />

มาจากเวียงจันทน์ตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีฝีมือการทอผ้ามาก เป็น<br />

มรดกทางวัฒนธรรมของชาวลาวครั่งที่สืบทอดต่อกันมากว่า ๒๐๐ ปี หลัง<br />

จากเสร็จสิ้นภารกิจการทำานา ผู้หญิงในหมู่บ้านจะทอผ้า เป็นผ้ามัดหมี่ต่อ<br />

ตีนจก ผ้ายกดอกลายเชิงแบบเก่า ลวดลายบนผ้าเป็นแบบโบราณ เช่น ลาย<br />

ด่าน เมืองลาว ลายนาค ลายด่านใหญ่ เป็นต้น ในสมัยก่อนใช้ครั่งย้อมผ้า<br />

มีศูนย์ทอผ้า ๒ กลุ่ม คือ ศูนย์ทอผ้าบ้านโคกหม้อ อยู่ข้างวัดโคกหม้อ เป็น<br />

กลุ่มทอผ้าไหม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. ๐ ๕๖๙๘ ๖๐๘๙ และศูนย์<br />

สาธิต และจำาหน่ายผลิตภัณฑ์กลุ่มทอผ้าบ้านโคกหม้อ หมู่ ๒ หลังองค์การ<br />

บริหาร ส่วนตำาบลโคกหม้อ เป็นกลุ่มที่ทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ<br />

การเดินทาง จากอำาเภอทัพทันไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๐๑๓ ทางไป<br />

อำาเภอสว่างอารมณ์ ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข<br />

๓๔๕๖ ตรงไปมีป้ายบอกให้แยกซ้ายไปบ้านโคกหม้อ ประมาณ ๔ กิโลเมตร<br />

กลุ่มทอผ้าอยู่ติดกับวัดโคกหม้อ<br />

เขาปฐวี ตำาบลตลุกดู่ เป็นเทือกเขาขนาดเล็กยาวประมาณ ๗๕๐ เมตร สูง<br />

๒๕๓ เมตร มีลักษณะเป็นเทือกเขาหินที่เรียงซ้อนกันเป็นยอด ค่อนข้าง สูง<br />

ชัน มีถำ้ำขนาดเล็กและใหญ่ อยู่เรียงรายโดยรอบประมาณ ๓๐ ถำ้ำ เช่น ถำ้ำ<br />

ประทุน ถำ้ำบันได ถำ้ำอ่าง ถำ้ำช่องลม ถำ้ำพุทธประวัติ ถำ้ำปลา และ ถำ้ำค้างคาว<br />

เป็นต้น พบเครื่องมือหินและโครงกระดูกมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ บริเวณ<br />

ลานกว้างหน้าเขามีร่มไม้และฝูงลิงจำานวนมาก<br />

ตลาดนัดวัว-ควาย หนองหญ้าปล้อง บ้านหนองหญ้าปล้อง ใกล้กับ<br />

โรงเรียนทัพ ทันอนุสรณ์ เดินทางจากอำาเภอทัพทันไปตามถนนสายทัพทัน-<br />

สว่างอารมณ์ ทางหลวงหมายเลข ๓๐๑๓ ประมาณ ๑ กิโลเมตร ตลาดอยู่<br />

ด้านขวามือ ตลาดมีบริเวณพื้นที่ซื้อขายกว้างใหญ่ ในแต่ละครั้งจะมีวัวควาย<br />

ถูกนำามา ขายนับพันตัว ตลาดนัดจะมีบางวันและมีวัวควายสับเปลี่ยนกัน<br />

มาขาย ใน วันอาทิตย์ และวันพุธ ยังมีข้าวของเครื่องใช้เกี่ยวกับวัวควาย<br />

มาขายด้วย ตลาดวายในช่วงเย็น


๑๖ ๑๗<br />

อำาเภอสว่างอารมณ์<br />

เมืองโบราณบึงคอกช้าง ตำาบลไผ่เขียว มีคูเมืองและกำาแพงดินล้อมรอบ<br />

ค้นพบซากโบราณ เครื่องปั้นดินเผา หินบดยา เครื่องมือเหล็ก ลูกปัดสีเหลือง<br />

นอกจากนี้ยังขุดพบศิลาจารึกอักษรขอมโบราณ ๓ หลัก ปัจจุบันมีสภาพเป็น<br />

สวนป่าปลูกมีต้นไม้ขนาดใหญ่ ปกคลุมอยู่ทั่วไป ส่วนบริเวณคูเมืองตื้นเขิน<br />

โบราณวัตถุที่ถูกค้นพบได้นำาไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ และ<br />

วัฒนธรรมท้องถิ่น ภายในศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ตรงข้าม ททท.<br />

สำานักงานอุทัยธานี<br />

การเดินทาง จากอำาเภอเมืองอุทัยธานีใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๒๒๑ ผ่าน<br />

อำาเภอทัพทัน เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข ๓๐๑๓ ผ่านอำาเภอสว่างอารมณ์<br />

จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๔๕๖ มุ่งหน้าสู่อำาเภอลานสัก ระยะทางจาก<br />

อำาเภอสว่างอารมณ์ประมาณ ๑๔ กิโลเมตร ถึงสถูปเจดีย์ด้านซ้ายมือ และ<br />

มีป้ายบึงคอกช้าง ถนนสายนี้ตัดผ่านตัวเมืองเก่าบึงคอกช้างพอดี<br />

อำาเภอลานสัก<br />

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง ได้รับการจดทะเบียนเป็น<br />

มรดกโลกจากองค์การยูเนสโก (UNESCO) ในการ ประชุมคณะกรรมการ<br />

มรดกโลกของยูเนสโก ระหว่างวันที่ ๙-๑๓ ธันวาคม ๒๕๓๔ ณ เมืองคาร์เทจ<br />

ประเทศตูนีเซีย<br />

ห้วยขาแข้งมีพื้นที่ครอบคลุม ๖ อำาเภอ ๓ จังหวัด คือ อำาเภอบ้านไร่<br />

อำาเภอลานสัก อำาเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี อำาเภอสังขละบุรี<br />

อำาเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และอำาเภออุ้มผาง จังหวัดตาก มีพื้นที่<br />

๓,๖๐๙,๓๗๕ ไร่ หรือ ๕,๗๗๕ ตารางกิโลเมตร โดยมีการรวมพื้นที่ของเขต<br />

รักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรเข้ามาด้วยทำาให้เป็นผืนป่าอนุรักษ์ต่อเนื่อง<br />

ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้<br />

ลักษณะอากาศที่ห้วยขาแข้งหากเป็นฤดูร้อนจะร้อนมาก ฤดูฝนมีฝนตกหนัก<br />

ตลอดทั้งวัน และมีฤดูหนาวสั้นมาก<br />

ห้วยขาแข้งได้เป็นมรดกโลกเพราะสภาพป่าของที่นี่มีความหลากหลายทาง<br />

ธรรมชาติประกอบด้วยป่าถึง ๕ ใน ๗ ชนิด ที่พบในเขตร้อนชื้น ได้แก่<br />

ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าทุ่งหญ้า ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ก่อให้เกิดความ<br />

หลากหลายของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ต่างๆ บางชนิดเป็นสัตว์ที่หายากใกล้<br />

จะสูญพันธุ์ เช่น ควายป่า เลียงผา เสือดาว หมาใน ไก่ป่า นกยูงไทย และ<br />

ยังมีแมลงป่าพันธุ์ต่างๆ อีกมากมาย<br />

ปกติเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยวที่เปิดให้ประชาชนเข้าชมได้<br />

ทั่วไป เพราะพื้นที่นี้จัดเป็นเขตอนุรักษ์และมีความอ่อนไหวสูง ฉะนั้นการมี<br />

คนจำานวนมากเข้าไปอาจก่อให้เกิดปัญหาความไม่สมดุลของระบบนิเวศ ได้<br />

แต่อย่างไรก็ดีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งซึ่งได้กลายเป็นมรดกโลก<br />

และเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป จึงเปิดจุดผ่อนปรนทั้งหมด ๓ จุด ให้ประชาชน<br />

ทั่วไปเข้าไปศึกษาธรรมชาติ ได้แก่ ๑.บริเวณสำานักงานเขต รักษาพันธุ์สัตว์<br />

ป่าห้วยขาแข้ง อำาเภอลานสัก มีกิจกรรมเดินป่าเส้นทางของ บ้านเสือ คารวะ<br />

อนุสรณ์สถาน “สืบ นาคะเสถียร” ๒.บริเวณหน่วยพิทักษ์ป่า ไซเบอร์ อำาเภอ<br />

ห้วยคต กิจกรรมตั้งแคมป์ริมนำ้ำตกไซเบอร์ (ดูรายละเอียด ที่นำ้ำตกไซเบอร์)<br />

๓. บริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าห้วยแม่ดี อำาเภอบ้านไร่ ทาง หลวงหมายเลข<br />

๓๐๑๑ สายห้วยแม่ดี-บ้านใหม่คลองอังวะ กิจกรรมตั้ง แคมป์ตามโครงการ<br />

ห้องรับแขกห้วยขาแข้ง และเส้นทางศึกษาธรรมชาติ การเข้าไปในเขตฯ<br />

ควรปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด<br />

ในบริเวณที่ทำาการเขตฯ มีรูปปั้นคุณสืบ นาคะเสถียร หันหน้าไปทางทิศ<br />

ตะวัน ตกเฉียงใต้ เพื่อดูความเป็นไปของผืนป่าตะวันตก มีบันได ๘ ขั้น<br />

ที่สื่อความ หมายว่าคุณสืบดำารงตำาแหน่งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ<br />

อยู่ ๘ เดือน และลวดลายบนบันไดบ่งบอกถึงอุปสรรคในการทำางานที่นี่<br />

อาคารอนุสรณ์สถานสืบ นาคะเสถียร ซึ่งใช้เป็นอาคารเอนกประสงค์ในการ<br />

จัดกิจกรรมต่างๆ ซึ่งมีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับคุณสืบไว้ด้วย “ผมคิดว่า<br />

ชีวิตผมได้ทำาดีที่สุดแล้ว ผมคิดว่า ผมได้ช่วยเหลือสังคมดีแล้ว ผมคิดว่า<br />

ได้ทำาตามกำาลังของผมดีแล้วและผมพอใจ ผมภูมิใจในสิ่งที่ผมทำา” เป็นคำา<br />

กล่าวของคุณสืบ นาคะเสถียร ผู้เป็นกำาลังสำาคัญผลักดันให้ป่าห้วยขาแข้งได้<br />

กลายเป็นมรดกโลก<br />

บ้านพักคุณสืบ ซึ่งภายในบ้านพักยังคงสภาพไว้เหมือนครั้งที่คุณสืบยังมี ชีวิต<br />

อยู่ ในห้องนอนที่คุณสืบจบชีวิตลง มีโต๊ะทำางานซึ่งมีรูปภาพต่างๆ วางอยู่<br />

เช่น รูปลูกสาว รูปคนงาน รูปป่าไม้ ด้านข้างโต๊ะมีรองเท้าวางอยู่สองสามคู่<br />

และที่ควรระลึกถึง คือ อนุสรณ์คนงานลาดตระเวน ที่ถูกยิงเสียชีวิตขณะ<br />

ปฏิบัติหน้าที่ อยู่บริเวณหน้าบ้านพักรับรอง หากมีโอกาสแวะมาที่ห้วยขาแข้ง<br />

และได้มาเยี่ยมที่บ้านพักคุณสืบ หรือ ที่อาคารอนุสรณ์คนงานลาดตระเวน<br />

อาจจะได้อะไรกลับไปมากกว่าจิตสำานึกด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพียง<br />

อย่างเดียว<br />

เส้นทางศึกษาธรรมชาติเขาหินแดง มีความยาวประมาณ ๖ กิโลเมตรใช้เวลา<br />

เดินประมาณ ๔ ชั่วโมง มีจุดสื่อความหมายธรรมชาติทั้งหมด ๑๘ จุด<br />

ประกอบด้วยป่าผลัดใบ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง มีจุด<br />

ชมวิวโป่งเทียม หลังเดือนธันวาคมจะมีนกหลายชนิด นกที่พบมาก<br />

เช่น นกแขกเต้า และนกโพระดก เส้นทางนี้ปกติเดินเองได้โดยขอคู่มือ<br />

ที่สำานัก งานเขตฯ หากต้องการคนนำาทางต้องติดต่อล่วงหน้าที่หน่วย<br />

ป้องกันไฟป่า ห้วยขาแข้ง โทร. ๐๘ ๕๗๒๕ ๘๔๓๓, ๐๘ ๗๘๔๐ ๐๓๑๖<br />

www.huaikhakhaeng.net เส้นทางศึกษาธรรมชาตินี้ปิดเดือนเมษายน


๑๘ ๑๙<br />

การเดินทาง มี ๒ เส้นทาง คือ<br />

๑. เข้าทางที่ทำาการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง อยู่ห่างจากตัวจังหวัด<br />

ประมาณ ๑๐๒ กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๓๓ สายอุทัยธานี-<br />

หนองฉาง จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๔๓๘ สายหนองฉาง-ลานสัก<br />

ถึงหลักกิโลเมตรที่ ๕๓-๕๔ เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ถึง<br />

ที่ทำาการเขตฯ สำาหรับหน่วยพิทักษ์ป่าทุ่งแฝก ซึ่งตั้งอยู่ริมห้วยทับเสลา จาก<br />

ที่ทำาการเขตฯ สามารถเดินทางด้วยรถยนต์ต่อไปยังหน่วยพิทักษ์ป่ากะปุก<br />

กะเปียง ระยะทาง ๑๔ กิโลเมตร และ สถานีวิจัยเขานางรำา ระยะทาง<br />

๑๗ กิโลเมตร<br />

๒. เข้าทางหน่วยพิทักษ์ป่าเขาบันได อยู่ทางทิศใต้ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์<br />

ป่าห้วยขาแข้งห่างจากตัวจังหวัดอุทัยธานีประมาณ ๑๓๗ กิโลเมตร ตาม<br />

ทางหลวงหมายเลข ๓๓๓ สายอุทัยธานี-หนองฉาง แล้วเข้าสู่ทางหลวงหมาย<br />

เลข ๓๒๘๒ สายหนองฉาง-บ้านไร่ ระยะทางประมาณ ๘๐ กิโลเมตร<br />

แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนลูกรังผ่านบ้านใหม่คลองอังวะอีกประมาณ ๓๐<br />

กิโลเมตรถึงด่านตรวจคลองระยาง ไปยังหน่วยพิทักษ์ป่าห้วยแม่ดี และหน่วย<br />

พิทักษ์ป่าเขาบันได<br />

ไม่ควรเดินทางในฤดูฝน เนื่องจากธารนำ้ำสูงขึ้นท่วมถนนดินแดง รถเข้า ไม่<br />

ได้<br />

ที่พัก การเข้าพักต้องไปติดต่อล่วงหน้าอย่างน้อย ๑๕ วัน ที่ฝ่ายจัดการ เขต<br />

รักษาพันธุ์สัตว์ป่า สำานักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และ<br />

พันธุ์พืช สอบถามรายละเอียด โทร. ๐ ๒๕๖๑ ๔๒๙๒-๓ ต่อ ๗๖๕ หรือเขต<br />

รักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ตู้ ปณ.๗ อำาเภอลานสัก จังหวัด อุทัยธานี<br />

๖๑๑๖๐ โทร. ๐๘ ๕๗๒๕ ๘๔๓๓, ๐๘ ๗๘๔๐ ๐๓๑๖ www.huaikhakhaeng.<br />

net จุดที่ได้รับอนุญาตให้พักแรมได้มีอยู่ ๓ จุด จุดแรก คือ บริเวณสำานัก<br />

งานเขตฯ มีบ้านพักขนาดพักได้ ๑๐ คน จำานวน ๗ หลัง และอาคารฝึก<br />

อบรมขนาดจุ ๘๐ คน จุดที่สอง หน่วยพิทักษ์ป่าไซเบอร์ จุดที่ สาม คือ<br />

หน่วยพิทักษ์ป่าห้วยแม่ดี<br />

เขาพระยาพายเรือ ตำาบลลานสัก ห่างจากอำาเภอเมืองอุทัยธานี ๕๙<br />

กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๓๔๓๘ สายหนองฉาง-ลานสัก ตรงหลัก<br />

กิโลเมตรที่ ๒๙-๓๐ แยกขวาเข้าที่ว่าการอำาเภอลานสัก และเข้าทางลูกรัง<br />

ไปอีก ๔ กิโลเมตร ถึงเชิงเขาแล้วเดินขึ้นสู่ปากถำ้ำอีกประมาณ ๑๕๐ เมตร<br />

เป็นเขา ลูกเล็ก สูง ๒๕๗ เมตร เมื่อมองจากระยะไกลจะแลดูคล้ายเรือ<br />

สำาเภาลำาหนึ่ง บนยอดเขามีจุดชมทิวทัศน์ ภายในประกอบด้วยถำ้ำเล็กๆ<br />

เชื่อมต่อกันได้แก่ ถำ้ำแก้ว ถำ้ำสีชมพู ถำ้ำท้องพระโรง ถำ้ำอ่างนำ้ำมนต์ และ<br />

ถำ้ำพุทธสถาน ภาย ในถำ้ำซับซ้อนมากจึงต้องมีป้ายบอกทางและมีไฟฟ้าเพื่อ<br />

ความสะดวกในการเที่ยวชมความงามของหินงอกหินย้อย ตอนบนของถำ้ำ<br />

มีพระนอนขนาดใหญ่ ส่วนทางเข้าถำ้ำต่างๆ อยู่ด้านซ้ายมือ มีทางเข้าทาง<br />

เดียว ซึ่งเป็นทางลึกถึง ข้างล่าง และมีบันไดลงไปถึงก้นถำ้ำ<br />

เขาผาแรด ตำาบลลานสัก ห่างจากด้านหลังที่ว่าการอำาเภอลานสัก ประมาณ<br />

๗.๕ กิโลเมตร เขาผาแรดนี้อยู่ห่างจากเขาพระยาพายเรือประมาณ ๘<br />

กิโลเมตร เป็นเขาลูกเล็ก ๆ มีความสูงประมาณ ๓๗๖ เมตร ภายในเขา<br />

ลูกนี้เป็นที่ตั้งของถำ้ำซึ่งมีหินงอกหินย้อย เป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาว และ<br />

มีสำานักสงฆ์อยู่ใกล้เชิงเขา<br />

เขาปลาร้า เป็นเขาที่แบ่งเขตหมู่บ้านห้วยโศก อำาเภอลานสัก กับ ตำาบลเขา<br />

บางแกรก อำาเภอหนองฉาง เขาปลาร้ามีขนาดใหญ่ สูงชันมากประมาณ<br />

๕๙๘ เมตร สภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์ต้องเดินเท้าและปีนเขา ระยะทาง<br />

๙๐๐ เมตร ใช้เวลาประมาณ ๒ ชั่วโมง จึงจะถึงยอดเขาและแลเห็นภูมิ<br />

ประเทศที่สวยงาม ข้างบนเป็นที่ราบขนาดใหญ่และมีป่าไม้มะค่า<br />

หน้าผาด้านตะวันตกที่ระดับความสูง ๓๒๐ เมตร พบภาพเขียนก่อน<br />

ประวัติศาสตร์อายุประมาณ ๓,๐๐๐ ปี เป็นลายเส้นสีดำาและสีแดง เส้นสีดำา<br />

ค่อนข้างจางไปแล้ว ส่วนสีแดงยังเห็นได้อยู่ เขียนไว้ตลอดแนวยาวประมาณ<br />

๙ เมตร เขียนด้วยสีแดงมีกลุ่มภาพมนุษย์หลายแบบหลายลักษณะและกลุ่ม<br />

ภาพสัตว์ ภาพมีทั้งหมดประมาณ ๔๐ ภาพ แสดงให้เห็นถึงสภาพชีวิตสังคม<br />

ของคนยุคโบราณซึ่งเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดอุทัยธานี<br />

นักโบราณคดีได้แบ่งกลุ่มภาพเขียนบนเขาปลาร้าไว้สี่กลุ่ม คือ กลุ่มที่หนึ่ง<br />

กลุ่มภาพที่มีคนท่ามกลางสัตว์เลี้ยง (คาดว่าเป็นสุนัข) กลุ่มที่สอง กลุ่มภาพ<br />

ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับวัว การไปจับวัวป่า นำากลับมาเลี้ยง กลุ่ม<br />

ที่สาม กลุ่มภาพที่แสดงถึงการประกอบพิธีกรรม คนที่อยู่ในภาพมีเครื่อง<br />

ประดับซึ่งต่างจากคนทั่วไป และสัตว์ที่อยู่ในภาพมีลักษณะคล้ายลิงอยู่ด้วย<br />

กลุ่มที่สี่ กลุ่มภาพเบ็ดเตล็ดซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาพสัตว์ ภาพเขียนสีที่นี่ถือ<br />

ได้ ว่ามีความประณีตและเน้นเหมือนจริงกว่าแหล่งอื่น คำแนะนำสำหรับ<br />

เดินขึ้น เขาปลาร้า เตรียมนำ้ำดื่มให้พร้อม และใส่รองเท้าผ้าใบที่กระชับ<br />

เพราะทาง เดินเป็นหินก้อนเล็กและลื่นตลอด พกสัมภาระเท่าที่จำาเป็น<br />

เท่านั้น<br />

การเดินทาง จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๓๓ ผ่านอำาเภอหนองฉาง<br />

จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๔๓๘ สายหนองฉาง-ลานสัก อีกประมาณ<br />

๒๑.๕ กิโลเมตร จะเห็นเทือกเขาปลาร้าอยู่ซ้ายมือ แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทาง<br />

ลาดยางอีกประมาณ ๗.๕ กิโลเมตร หากนั่งรถโดยสารประจำาทาง ใช้สาย<br />

อุทัยธานี-ลานสัก จากนั้นต่อรถจากลานสัก ลงที่แยกห้วยโศก แล้วต่อรถ<br />

จักรยานยนต์รับจ้างเข้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาปลาร้า


๒๐ ๒๑<br />

หุบป่าตาด<br />

หุบป่าตาด หมู่ ๑ ตำาบลทุ่งนางงาม ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๕๐ กิโลเมตร<br />

เข้าทางเดียวกับเขาปลาร้า อยู่ก่อนถึงเขาปลาร้าประมาณ ๑ กิโลเมตร ถำ้ำ<br />

นี้ค้นพบโดยพระครูสันติธรรมโกศล (หลวงพ่อทองหยด) เจ้าอาวาส วัดถำ้ำ<br />

ทอง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ พระครูได้ปีนลงไปในหุบเขานี้ พบว่ามี ต้นตาดเต็ม<br />

ไปหมด (ต้นตาดเป็นไม้ดึกดำาบรรพ์ตระกูลเดียวกับปาล์ม) จึง เจาะถำ้ำเพื่อ<br />

เป็นทางเข้าใน พ.ศ. ๒๕๒๗ ต่อมากรมป่าไม้ได้ประกาศเป็น พื้นที่อนุรักษ์<br />

เพราะมีสภาพทางภูมิศาสตร์แปลกและมีพันธุ์ไม้หายาก เช่น เต่าร้าง เปล้า<br />

คัดค้าวเล็ก ขนุนดิน เป็นต้น หุบป่าตาดอยู่ในความดูแลของ เขตห้ามล่า<br />

สัตว์ป่าถำ้ำประทุน ทางเดินเข้าหุบเขาป่าตาดมืดสนิท แต่เดิน ไม่นานจะถึง<br />

ปล่องขนาดใหญ่ที่แสงส่องลงมาและจะพบป่าตาด ให้ความรู ้ สึกเหมือนว่า<br />

ได้มาอยู่ในโลกยุคดึกดำาบรรพ์ ลักษณะคล้ายป่าดงดิบ ความ ชุ่มชื้นสูง แสง<br />

ส่องถึงพื้นได้เฉพาะตอนเที่ยงวันเพราะมีเขาหินปูนสูงชันล้อม รอบ มีความ<br />

ร่มรื่นเหมาะแก่การเดินชมธรรมชาติ ระยะทางเดินไป-กลับ ๗๐๐ เมตร ใช้<br />

เวลาประมาณ ๓๐ นาที ค่าเข้าชม ชาวไทย ผู้ใหญ่ ๒๐ บาท เด็ก ๑๐ บาท<br />

ชาวต่างชาติ ๒๐๐ บาท การเตรียมตัวไปหุบป่าตาด ควรพกไฟฉายและยา<br />

ทากันยุงไปด้วย เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถำ้ำประทุน โทร. ๐ ๕๖๙๘ ๙๑๒๘<br />

ถำ้ำเขาฆ้องชัย เป็นเทือกเขาอยู่ในตำาบลลานสัก มีความสูงประมาณ ๓๕๓<br />

เมตร ทางด้านหน้าของเขาฆ้องชัยเป็นถำ้ำตื้นกว้างเหมือนอุโมงค์ใหญ่ เข้าใจ<br />

ว่าเดิมมีมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์อาศัยอยู่เพราะพบเครื่องมือหิน และเศษ<br />

ภาชนะดินเผา ภายในถำ้ำมีฝูงค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำานวนมาก ในเวลาเย็น<br />

จะเห็นฝูงค้างคาวบินออกมาหากินนานนับชั่วโมง และถ้าสามารถ ปีน<br />

หน้าผาสูงไปได้จะพบถำ้ำอยู่ทางด้านบน มีถำ้ำธงชัย ถำ้ำมหาสมบัติ ถำ้ำเป็ด<br />

และถำ้ำลม ใกล้กันเป็นที่ตั้งของเขาอีกลูกหนึ่งซึ่งมีถำ้ำสวยงาม บริเวณตรง<br />

กลางเป็นที่ดินในหุบเขามีเนื้อที่กว้างขวางมากซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดและโรง<br />

เรียนลานสักวิทยา<br />

การเดินทาง จากอำาเภอเมืองอุทัยธานีใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๓๓ ผ่าน<br />

อำาเภอหนองฉาง จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๔๓๘ สายหนองฉาง-<br />

ลานสัก และก่อนถึงอำาเภอลานสักประมาณ ๒ กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายมือ<br />

เข้าโรงเรียนลานสักวิทยา และไปอีกประมาณ ๕๐๐ เมตร จะถึงเขาฆ้องชัย<br />

ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๕๒.๔ กิโลเมตร<br />

สวนป่าห้วยระบำา ตำาบลระบำา ห่างจากตัวจังหวัด ๗๘ กิโลเมตร มีเนื้อที่่<br />

๑๑,๗๔๐ ไร่ เป็นสวนป่าปลูกของบริษัทไม้อัดไทย ปลูกไม้สัก และไม้ ยูคา<br />

ลิปตัส สนประดิพัทธ์ ผู้สนใจสามารถเข้าไปชมแปลงป่าปลูกใหม่ได้ หาก<br />

ต้องการพักค้างคืน มีเรือนพักรับรอง พักได้ประมาณ ๓๐ คน แต่ต้อง<br />

เตรียมเสบียงไปเอง หน้าแล้งมีนำ้ำน้อย หน้าฝนทางเข้าลำาบาก รายละเอียด<br />

ติดต่อบริษัท ไม้อัดไทย โทร. ๐ ๕๖๕๑ ๑๐๙๔ หรือสำานักงานป่าไม้จังหวัด<br />

โทร. ๐ ๕๖๕๑ ๑๐๐๙<br />

การเดินทาง ไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๔๓๘ ประมาณหลักกิโลเมตร<br />

ที่ ๔๖ เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ ๑๖ กิโลเมตร<br />

เขื่อนทับเสลา หมู่ ๖ ตำาบลระบำา เป็นเขื่อนชลประทานขนาดใหญ่ กั้นลำา<br />

ห้วยทับเสลา ทำาให้เกิดอ่างเก็บนำ้ำเหนือเขื่อน ซึ่งมีทัศนียภาพสวยงาม มี<br />

ภูเขาสลับซับซ้อนเป็นฉากหลัง บริเวณตอนใต้ของเขื่อนมีสภาพเป็นป่าเต็ง<br />

รังและสวนป่าปลูก คนในท้องถิ่นนิยมมาพักผ่อนวันหยุดสุดสัปดาห์ มีร้าน<br />

ค้าสวัสดิการ<br />

การเดินทาง จากอำาเภอลานสักไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๔๓๘ ประมาณ<br />

๑๕ กิโลเมตร ตรงหลักกิโลเมตรที่ ๔๗ ถึงทางแยก เข้าเขื่อนทับเสลา<br />

เข้าไปประมาณ ๒ กิโลเมตร ถึงจุดชมวิว หากมาจากตัว เมืองทางเข้า<br />

อยู่ด้านซ้ายมือ<br />

อำาเภอห้วยคต<br />

นำ้ำตกไซเบอร์ หรือ นำ้ำตกหินลาด อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยพิทักษ์<br />

ป่าไซเบอร์ เป็นนำ้ำตกที่อยู่ใกล้หมู่บ้านไซเบอร์ บ้านซับแม่บือ ตำาบลคอก<br />

ควาย อำาเภอห้วยคต อยู่ห่างจากจังหวัด ๘๖ กิโลเมตร นำ้ำตกนี้เกิดจาก<br />

ลำาห้วยล่อยจ้อยที่ไหลมาจากภูเขาสูงของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง<br />

ทำาให้เกิดนำ้ำตกขึ้นเป็นระยะๆ หลายชั้น นำ้ำตกส่วนที่อยู่ตอนบน เรียกว่า<br />

นำ้ำตกล่อยจ้อย บางแห่งตกจากที่สูงปะทะกับก้อนหินใหญ่ เรียกว่า นำ้ำตก<br />

หินลาด ข้างล่างเป็นแอ่งนำ้ำขนาดใหญ่รับนำ้ำตกซึ่งลงมาไม่ขาดสาย บาง<br />

แห่งไหลซอกซอนไปตามเกาะแก่งหินลงสู่เบื้องล่าง เป็นทางยาวสูงตำ่ำหลาย<br />

ชั้นสวยงามมาก มีนำ้ำมากในเดือนกันยายน-ต้นเดือนพฤศจิกายน ลำาห้วย<br />

ล่อยจ้อยจะไหลไปรวมกับห้วยทับเสลา บริเวณโดยรอบเป็นป่าหวาย ต้นไม้<br />

ร่มครึ้ม และมีใบไม้เปลี่ยนสีในเดือนพฤศจิกายนด้วย


๒๒ ๒๓<br />

น้ำาตกไซเบอร์ หรือ น้ำาตกหินลาด<br />

ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก มีบ้านรับรอง ๑ หลัง พักได้ ๒๐-๓๐ คน<br />

ไม่มีอาหารบริการ ผู้มาพักต้องเตรียมเสบียงมาเอง และต้องมีหนังสือจาก<br />

ฝ่ายจัดการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเพราะอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของเขตรักษา<br />

พันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง สอบถามรายละเอียด โทร. ๐ ๒๕๖๑ ๔๒๙๒-๓<br />

ต่อ ๗๖๕<br />

การเดินทาง จากทางหลวงหมายเลข ๓๒๘๒ หลักกิโลเมตรที่ ๓๐ เลี้ยว<br />

เข้าไปอีกประมาณ ๗ กิโลเมตร เดินเท้าต่ออีก ๙๐๐ เมตร สภาพทางเข้า<br />

เป็น ทางลูกรังและมีหินคมตลอดเส้นทาง รวมทั้งต้องผ่านธารนำ้ำหลายจุด<br />

หน้าฝนเดือนสิงหาคม-ตุลาคม รถเข้าไม่ได้เลย ต้องใช้รถกระบะที่มีกำาลัง<br />

ขับเคลื่อนดีหรือรถขับเคลื่อนสี่ล้อ หากเดินทางโดยรถประจำาทาง จาก<br />

ตลาดบ้านไร่ นั่งสายบ้านไร่-คลองแห้ง มาลงที่บ้านทองหลางหลักกิโลเมตร<br />

ที่ ๑๙ แล้วเช่ารถสองแถว<br />

นำ้ำพุร้อนบ้านสมอทอง บ้านสมอทอง ตำาบลคอกควาย ในโครงการอ่าง เก็บ<br />

นำ้ำห้วยขุนแก้ว เป็นนำ้ำพุร้อนธรรมชาติขนาดเล็กที่ผุดขึ้นมาผิวดิน เป็นนำ้ำ<br />

ใสและมีกลิ่นกำามะถันฉุน นำ้ำร้อนขนาดต้มไข่สุกภายใน ๕ นาที ไหล ผ่าน<br />

ช่องเขาไปรวมกับนำ้ำในลำาห้วยคอกควาย ปัจจุบันได้รับการปรับปรุงให้เป็น<br />

บ่อนำ้ำพุร้อน และเป็นจุดชมทิวทัศน์พระอาทิตย์ตกที่สวยงาม<br />

การเดินทาง สามารถเดินทางจากอำาเภอหนองฉางสู่อำาเภอบ้านไร่ ไปตาม<br />

ทางหลวงหมายเลข ๓๒๘๒ สายบ้านไร่-ลานสัก ประมาณ ๓๓ กิโลเมตร<br />

สังเกตเห็นหลวงพ่อพุทโธ พระพุทธรูปขนาดใหญ่อยู่ทางขวามือตรงกลาง<br />

หุบ เขาพอดี เมื่อผ่านสะพานข้ามคลองไปได้สองสะพานจะมีทางแยกตรง<br />

ทาง โค้ง เข้าสู่โครงการอ่างเก็บนำ้ำห้วยขุนแก้วไป ๒ กิโลเมตร จะถึงบริเวณ<br />

นำ้ำพุ ร้อนบ้านสมอทอง<br />

อำาเภอบ้านไร่<br />

เมืองโบราณบ้านการุ้ง ตำาบลวังหิน เป็นแหล่งชุมชนโบราณ สภาพเมือง<br />

เป็นรูปวงกลมรี เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๘๐๐ เมตร เป็นคูเมืองชั้นเดียว<br />

คูนำ้ำกว้าง ๒๐ เมตร ลึก ๓ เมตร บริเวณคูติดถนน มีการขุดลอกคูนำ้ำใหม่<br />

มีนำ้ำขังตลอดปี คันดินกว้าง ๖ เมตร ปัจจุบันเป็นที่ทำาการของแขวงการ<br />

ทาง หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบ ได้แก่ ระฆังหินพระพุทธรูปปาง<br />

เสด็จลง จากดาวดึงส์ เศษภาชนะดินเผาขวานหิน เครื่องประดับ และซาก<br />

เจดีย์อยู่ทาง ทิศใต้ของตัวเมืองไปประมาณ ๓ กิโลเมตร เป็นซากเจดีย์ก่อ<br />

ด้วยอิฐดินเผา ขนาดใหญ่ ฐานเจดีย์กว้าง ๗ เมตร ปัจจุบันด้านหน้าคูเมือง<br />

การุ้ง มีศาลเจ้า แม่การุ้งตั้งอยู่ริมทางหลวง เป็นที่เคารพสักการะของ<br />

ประชาชนทั่วไป เมืองการุ้งได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อวันที่ ๘<br />

มีนาคม ๒๔๗๘<br />

การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๓๓ สายหนองฉาง-บ้านไร่ ผ่านบ้าน<br />

ทุ่งนาทางแยกเขาตะพาบจนถึงบ้านการุ้ง ก่อนถึงอำาเภอบ้านไร่ประมาณ<br />

๑๐ กิโลเมตร เมืองการุ้งอยู่บริเวณทางโค้ง ด้านซ้ายมือมีศาลเจ้าแม่การุ้ง<br />

เห็น เด่นชัด ห่างจากตัวเมืองอุทัยธานีประมาณ ๖๙ กิโลเมตร<br />

วัดถำ้ำเขาตะพาบ ตั้งอยู่บนเขาลูกเล็กในพื้นที่ตำาบลวังหิน ห่างจากตัวจังหวัด<br />

ประมาณ ๕๖ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๓๓๓ สายอุทัยธานี-บ้านไร่<br />

มีทางแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๒๑๓ ไปประมาณ ๑ กิโลเมตร วัด<br />

อยู่ทางขวามือ<br />

ถำ้ำเขาตะพาบอยู่สูงจากระดับพื้นประมาณ ๑๐ เมตร ในบริเวณเดียวกัน มี<br />

ถำ้ำอีกหลายแห่ง ทางด้านหน้าของถำ้ำได้สร้างพระพุทธรูปและจัดเป็น เขต<br />

สังฆาวาส ส่วนถำ้ำที่อยู่ด้านหลัง เลี้ยวขวามือเป็นถำ้ำท้องพระโรง ถำ้ำแก้ว ถำ้ำ<br />

ปราสาท และ ถำ้ำเรือ เป็นต้น หากเลี้ยวซ้ายจะพบทางออกด้านหลัง ซึ่ง<br />

เป็นทางไปสู่ถำ้ำลึกที่มีบันไดลงไปถึงก้นถำ้ำ ตรงอุโมงค์หลังถำ้ำมีหินรูปร่าง<br />

คล้ายตะพาบ และเคยพบเครื่องมือหินสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ถำ้ำทุกแห่ง<br />

มีไฟฟ้าส่องทางเพื่ออำานวยความสะดวกในการเข้าชมและมีค้างคาวอาศัย<br />

อยู่ เป็นจำานวนมาก


๒๔ ๒๕<br />

วัดเขาวงพรหมจรรย์ ตำาบลวังหิน เข้าทางเดียวกับวัดถำ้ำเขาตะพาบแต่อยู่<br />

เลยมาประมาณ ๗ กิโลเมตร และแยกซ้ายไปอีก ๑ กิโลเมตร เป็นวัดที่ตั้ง<br />

อยู่ในหุบเขา ๒ ลูก คือ เขาวงและเขาพรหมจรรย์ มีถำ้ำที่น่าสนใจอยู่หลาย<br />

ถำ้ำ เช่น ถำ้ำแจ้งมีแสงส่องถึง ถำ้ำงูเหลือมมีงูเหลือมอาศัยอยู่หลายตัว ถำ้ำนำ้ำ<br />

มีนำ้ำขังตลอด ช่วงแล้งนำ้ำถึงเข่า ช่วงฝนนำ้ำถึงอก ส่วนถำ้ำเพชรถำ้ำพลอย มี<br />

หินงอกหินย้อย เวลาสะท้อนแสงเป็นประกายแวววาวคล้ายเพชรพลอย การ<br />

เข้าชมถำ้ำแก้วและถำ้ำเพชรต้องมีคนนำาทาง ด้านขวามือมีชะง่อนหินสูง ตั้ง<br />

มณฑปขนาดเล็ก และไหล่เขามีอุโบสถสวยงาม<br />

วัดถำ้ำเขาวง ตำาบลบ้านไร่ เป็นเขาขนาดใหญ่ ห่างจากอำาเภอไป ๑๒<br />

กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๓๐๑๑ ผ่านทางโค้งศาลเจ้าพ่อเขารัก<br />

แล้ว มาตัดกับสามแยกให้เลี้ยวขวาไปประมาณ ๖ กิโลเมตร จะมีทางแยก<br />

เลี้ยวซ้าย เข้าสู่เขาวง ประมาณ ๘ กิโลเมตร ถึงทางแยกเข้าไปอีก ๓๐๐<br />

เมตร ลาด ชันขึ้นทีละน้อย เส้นทางอ้อมโค้งเป็นหน้าผาต้องไต่ไปตามซอก<br />

เขา<br />

ตัววัดเป็นอาคาร ๔ ชั้น ใต้ถุนเป็นลานเอนกประสงค์รวมทั้งร้านขายของ<br />

ชั้นที่ ๒ เป็นวิหาร ชั้นที่ ๓ เป็นกุฏิ ส่วนโบสถ์จะอยู่ชั้นที่ ๔ สร้างด้วย ไม้<br />

สัก และไม้มะค่า รวมทั้งไม้เก่าจากเรือนไทยที่อยุธยา อ่างทอง หลังคา<br />

นำามาจากลำาพูน ช่างที่เข้าตัวเรือนรวมทั้งทำาส่วนตัวเหงา ป้านลม และ<br />

จั่ว มาจากอยุธยา<br />

การจัดภูมิทัศน์ในวัดถือว่าสวยงาม ฉากหลังเป็นเขาหินปูนสูงตระหง่าน<br />

ด้านหน้ามีบ่อนำ้ำและสวนตกแต่งด้วยหิน ไม้ดัด และไม้ประดับ มูลค่าใน<br />

การ ก่อสร้างประมาณ ๓๐ ล้านบาท ระหว่างทางเดินไปชมถำ้ำ ผ่านนำ้ำตก<br />

เทียม ที่ดูเข้ากับบรรยากาศ ที่เขาด้านหลังมีถำ้ำอยู่ ๗-๘ ถำ้ำ บางถำ้ำเป็นที่<br />

นั่งวิปัส- สนาสำาหรับพระภิกษุ บางถำ้ำเป็นถำ้ำค้างคาว บางถำ้ำมีหินงอก<br />

หินย้อยให้ชม บนเขาเป็นที่ราบกว้าง มีไม้ยาง ไม้มะค่า ไม้เสลา เป็นต้น<br />

และมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่บ้าง<br />

วนอุทยานถำ้ำเขาวง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดอุทัยธานี เป็น<br />

ส่วนหนึ่งของผืนป่าตะวันตกติดกับอุทยานแห่งชาติพุเตย จังหวัด สุพรรณบุรี<br />

สภาพโดยทั่วไปเป็นภูเขาหินปูนสูงชันสลับซับซ้อน มีความลาด ชันมากกว่า<br />

๓๕ เปอร์เซ็นต์ เป็นแหล่งต้นนำ้ำลำาธารที่ไหลผ่านอำาเภอบ้านไร่ จังหวัด<br />

อุทัยธานี<br />

สถานที่น่าสนใจ ได้แก่<br />

ถำ้ำพุหวาย เป็นถำ้ำขนาดใหญ่ ภายในถำ้ำกว้างขวาง มีหินงอกหินย้อย เช่น<br />

รูปเจดีย์ อ่างนำ้ำ ทางเข้าถำ้ำอยู่บนไหล่เขาต้องเดินขึ้นไป อากาศถ่ายเท ได้<br />

สะดวก มีโพรงทะลุถึงด้านตรงข้ามของภูเขา มีค้างคาวอาศัยอยู่ ๙ ชนิด<br />

ติดต่อคนนำาทางได้บริเวณปากถำ้ำ ใช้เวลาเดินประมาณ ๑ ชั่วโมง ทางด้าน<br />

ถำ้ำพุหวาย<br />

หลังของถำ้ำพุหวาย มี ถำ้ำเทพมาลี หรือ ถำ้ำพญานาค เป็นถำ้ำขนาดเล็กค่อน<br />

ข้างลึกมีความสวยงามตามธรรมชาติของหินงอกหินย้อย ยอดเขาพุหวาย<br />

สูง ๗๐๐ เมตรจากระดับนำ้ำทะเล สามารถมองเห็นทัศนียภาพสวยงามกว้าง<br />

ไกล บนสันเขาเป็นป่าเต็งรังที่ค่อนข้างสมบูรณ์<br />

การเดินทาง จากอำาเภอบ้านไร่ใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๐๑๑ สายบ้านไร่-<br />

พุบอน ผ่านโค้งศาลเจ้าพ่อเขารัก จนกระทั่งถึงทางแยกที่มีป้ายบ้านอี<br />

หลุม-บ้านเขาพุเตย เลี้ยวขวาไปอีกประมาณ ๖ กิโลเมตร ผ่านทางเข้าวัด<br />

ถำ้ำเขาวง มาอีก ๓ กิโลเมตร จะถึงทางเข้าถำ้ำพุหวาย


๒๖ ๒๗<br />

ศูนย์ทอผ้าพื้นเมืองลายโบราณผาทั่ง ผ้าทอลายโบราณของลาวครั่ง ซึ่งมี<br />

ถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศลาว แล้วอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในภาคกลางของ<br />

ประเทศไทย มีการทอผ้าสืบต่อกันมาทั้ง ผ้าซิ่น ผ้าขาวม้า ย่าม ผ้าโพก<br />

หัวนาค ผ้าห่ม หมอนเท้า ผลิตภัณฑ์ของศูนย์ทอผ้าพื้นเมืองโบราณบ้าน<br />

ผาทั่งนี้ ได้รับรางวัลมากมาย เช่น รางวัลชนะเลิศการประกวดหนึ่งตำาบล<br />

หนึ่งผลิตภัณฑ์ ระดับประเทศ พ.ศ. ๒๕๔๖ และรางวัลชนะเลิศระดับโลก<br />

จากองค์การยูเนสโก เป็นต้น นักท่องเที่ยวที่สนใจเข้าชมและเลือกซื้อผ้าทอ<br />

พื้นเมืองลายโบราณผาทั่ง ติดต่อได้ที่ ๓๒ หมู่ ๒ ตำาบลห้วยแห้ง อำาเภอ<br />

บ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี โทร. ๐๘ ๙๒๗๐ ๙๖๘๓<br />

หลวงพ่อโตวัดผาทั่ง จากศูนย์ทอผ้าพื้นเมืองลายโบราณบ้านผาทั่ง เลี้ยว<br />

ซ้ายไปอีก ๑ กิโลเมตร จะถึงวัดผาทั่ง ซึ่งมีหลวงพ่อโตองค์ใหญ่ ขนาด<br />

หน้าตักกว้าง ๒๓ เมตร สูง ๕๒ เมตร สร้างโดยแรงศรัทธาของคณะ<br />

ศิษย์สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ด้านหลังขององค์หลวงพ่อโต<br />

มีต้นสาละ สูงราว ๓-๔ เมตร<br />

ศูนย์แสดงและสาธิตการทอผ้าพื้นเมือง (กลุ่มทอผ้าไพจิตต์) ตั้งอยู่หลัง<br />

วัดบ้านไร่ ติดกับโรงเรียนบ้านหน้าฝายบึงตาโพ เลี้ยวเข้าซอยข้างโรงเรียนไป<br />

๗๐๐ เมตร เป็นกลุ่มทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ รวมทั้งรับสอนด้วย ลาย<br />

ที่ทอเป็นลายโบราณ เช่น ลายขอหลวง ลายขอคำาเดือน จำาหน่ายผลิต<br />

ภัณฑ์ ผ้าซิ่น ผ้าคลุมเตียง ผ้าคลุมโต๊ะ ผ้าตัดชุด หมอนขิด ในบริเวณนี้ยัง<br />

มีพิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณอายุกว่าร้อยปี<br />

นำ้ำตกผาร่มเย็น บ้านใหม่ร่มเย็น สามารถมองเห็นได้จากริมถนน เป็นสายนำ้ำ<br />

สีขาวทิ้งตัวลงมาในป่าทึบอยู่เบื้องล่าง ชาวอุทัยธานีว่าที่นี่เป็นนำ้ำตกที่สวย<br />

ที่สุดในจังหวัด เพราะสายนำ้ำที่ไหลลงมานั้นเป็นสายบางๆ ตกลงมาตรงๆ<br />

คล้ายสายฝน ผ่านหน้าผาดินที่มีมอสสีเขียวเกาะอยู่เต็มไปหมด ประกอบ<br />

กับ พื้นที่เป็นป่ารกครึ้ม ทำาให้คนที่ได้ยืนชมมีความรู้สึกชุ่มฉำ่ำเย็นตามไป<br />

ด้วย การเดินเข้าสู่นำ้ำตกผาร่มเย็นใช้เวลาประมาณ ๒๐ นาที ปกติเดินเอง<br />

ได้ แต่หากต้องการคนนำาทางติดต่อได้ที่ องค์การบริหารส่วนตำาบลเจ้าวัด<br />

โทร. ๐ ๕๖๙๘ ๔๐๖๙ หรือติดต่อผ่านห้วยป่าปก รีสอร์ท โทร. ๐ ๕๖๕๙<br />

๖๑๕๐-๔<br />

การเดินทาง จากอำาเภอบ้านไร่ใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๐๑๑ สายบ้านไร่-พุ<br />

บอน จนกระทั่งถึงทางเข้าบ้านใหม่ร่มเย็น เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ ๒<br />

กิโลเมตร จะถึงปากทางเดินเท้า จากนั้นเดินเท้าสู่นำ้ำตกอีก ๔๐๐ เมตร<br />

ศูนย์วัฒนธรรมชาวเขาบ้านอีมาด-อีทราย หมู่ ๔ ตำาบลแก่นมะกรูด อยู่ภาย<br />

ใต้การดูแลของศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา จังหวัดอุทัยธานี ถือว่า<br />

อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ชาวเขาเป็นชาวกะเหรี่ยง มีชีวิต<br />

สงบและเรียบง่าย และยังคงเคร่งครัดในประเพณีดั้งเดิม งานประเพณี ที่<br />

น่าสนใจ เช่น งานไหว้เจดีย์ ซึ่งจะมีการรำาวงรำาดาบ และงานไหว้ต้นโพธิ์<br />

ฯลฯ ญาติพี่น้องที่แยกย้ายจะกลับมารวมตัวกัน ประเพณีทั้งสองนี้จัดขึ้น ใน<br />

เดือนเมษายนของทุกปี กำาหนดวันจัดงานจะขึ้นอยู่กับความพร้อมของ ท้อง<br />

ถิ่น เช่น เก็บเกี่ยวผลผลิตในท้องถิ่นเรียบร้อยแล้ว และที่สำาคัญหมู่บ้าน นี้<br />

มีข้อห้ามในการเล่นการพนัน และดื่มสุรา<br />

ผู้มาเยือนสามารถพักค้างคืนที่บ้านชาวกะเหรี่ยง หมู่บ้านเจ้าวัดยางแดง<br />

หรือบ้านพักในศูนย์วัฒนธรรมซึ่งในบริเวณมีพิพิธภัณฑ์ชาวเขาอยู่ด้วย<br />

ติดต่อ โทร. ๐ ๕๖๕๑ ๒๐๒๖ ในเวลาราชการ และจำาหน่ายสินค้าหัตถกรรม<br />

ผ้าทอพื้นเมืองสีธรรมชาติ เครื่องจักสานไม้ไผ่ และผลผลิตการเกษตรตาม<br />

ฤดูกาล<br />

การเดินทาง จากอำาเภอบ้านไร่ ไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๐๑๑ สาย<br />

บ้านไร่-พุบอน ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร สุดถนนลาดยาง แล้วไปตามถนน<br />

ลูกรังอัดอีก ๑ กิโลเมตร<br />

ผ้าทอบ้านไร่


๒๘ ๒๙<br />

ถ้ำาเกร็ดดาว เลยจากศูนย์วัฒนธรรมชาวเขาบ้านอีมาด-อีทราย ไปประมาณ<br />

๑ กิโลเมตร จะมีทางเดินเท้าต่อไปถ้ำาเกร็ดดาว จากปากถ้ำามีบันไดไม้ไผ่<br />

ทอดยาวลงไปในถ้ำา เป็นถ้ำาขนาดใหญ่ ในถ้ำามีแท่งหินใหญ่ เมื่อถูกแสง<br />

จะเป็นประกาย เพดานถ้ำาเต็มไปด้วยค้างคาว และชาวบ้านได้ใช้ขี้ค้างคาว<br />

เป็นปุ๋ยใส่ไร่นา สิ่งที่ต้องเตรียมไปด้วยเวลาเที่ยวถ้ำา คือ ไฟฉาย<br />

นำ้ำตกตาดดาว เลยจากปากทางเข้าถำ้ำเกร็ดดาวไปเล็กน้อย ฝั่งตรงข้ามเป็น<br />

ทางเข้านำ้ำตกตาดดาว ไหลผ่านโขดหินลงมา ๙ ชั้น บริเวณโดยรอบเป็น<br />

ป่า สมบูรณ์<br />

สวนพฤกษศาสตร์ เลยจากศูนย์วัฒนธรรมมาประมาณ ๕ กิโลเมตร สภาพ<br />

เป็นธรรมชาติ อากาศเย็นสบาย ใช้เวลาเดินเที่ยวประมาณ ๑ ชั่วโมง ใน<br />

สวนปลูกไม้ท้องถิ่นที่มีประโยชน์และมีความหลากหลายของพันธุ์พืช เช่น<br />

สะเดาป่า นำาผลและใบมาทำายาป้องกันแมลง ต้นสบู่ นำาผลแก่มาอาบนำ้ำ<br />

สระผม ซักเสื้อผ้า รางจืด มีสรรพคุณแก้เมา บางอย่างก็มีพิษ เช่น ขนของ<br />

ต้นช้างร้อง มีฤทธิ์ทำาให้คันหากโดนเข้าจะรู้สึกปวดแสบปวดร้อน ยาน่อง มี<br />

ยางที่เป็นพิษ พรานสมัยก่อนนำามาทาที่ปลายลูกดอกเพื่อใช้ล่าสัตว์ เป็นต้น<br />

เทศกาลงานประเพณี<br />

งานตักบาตรเทโว วัดสังกัสรัตนคีรี ถือเป็นประเพณีสำาคัญในวันออกพรรษา<br />

ของจังหวัดอุทัยธานี จัดขึ้นในวันแรม ๑ ค่ำา เดือน ๑๑ (ตุลาคม) ของทุกปี<br />

พระสงฆ์ทุกรูปที่จำาพรรษาในอำาเภอเมืองอุทัยธานีประมาณ ๕๐๐ รูป จะเดิน<br />

ลงบันไดเป็นแถวจากยอดเขาสะแกกรังนำาด้วยพระพุทธรูปปางเสด็จจาก<br />

ดาวดึงส์ลงมารับบิณฑบาตข้าวสาร อาหารแห้งจากพุทธศาสนิกชนที่ลานวัด<br />

โดยสมมติมณฑปบนยอดเขาสะแกกรังเป็น “สิริมหามายากูฎคาร” ที่พระ<br />

พุทธเจ้าทรงเทศน์โปรดพระพุทธมารดา แล้วเสด็จกลับสู่โลกมนุษย์ลงบันได<br />

๓๓๙ ขั้น ซึ่งถือเป็นบันไดแก้วสู่สังกัสนคร คือ บริเวณวัดสังกัสรัตนคีรี ในวัน<br />

นั้นประชาชนจะแต่งกายสวยงามและมาร่วมทำาบุญกันอย่างพร้อมเพรียง<br />

นับเป็นงานประเพณีที่มีชื่อเสียงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทุกปี ในวัน<br />

นี้คหบดีของจังหวัดอุทัยธานี จะนำางาช้างเก่าแก่ที่สะสมไว้มาจัดเป็นโต๊ะหมู่<br />

บูชาเพื่อรำาลึกถึงบุญคุณที่ช้างมีต่อชาวอุทัยธานี ซึ่งแต่ก่อนมีอาชีพทำาไม้<br />

นักท่องเที่ยวสามารถชมและถ่ายรูปเป็นที่ระลึกได้ด้วย ซึ่งใน ๑ ปีจะมีเพียง<br />

วันเดียวเท่านั้น<br />

งานไหว้พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ วัดสังกัสรัตนคีรี เป็นงานท้องถิ่น จัดใน<br />

วันขึ้น ๓-๘ ค่ำา เดือน ๔ ของทุกปี เป็นงานประเพณีไหว้พระคู่บ้านคู่เมือง<br />

อุทัยธานี ซึ่งเดิมนั้นเป็นงานนมัสการปิดทองพระพุทธบาทจำาลองบนยอด<br />

เขาสะแกกรัง ในระยะหลังจึงจัดงานในคราวเดียวกันที่วัดนี้ในวันขึ้น ๕ ค่ำ า<br />

เนื ่องจากเป็นวันที ่พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่มาไหว้พระพุทธมงคลศักดิ ์สิทธิ์<br />

และขึ้นยอดเขาเพื่อปิดทองพระพุทธบาทจำาลองมากที่สุด และได้จัดให้มี<br />

การละเล่นสนุกสนานควบคู่กันไปทุกปี<br />

งานวันมรดกโลกห้วยขาแข้ง จัดระหว่างวันที่ ๕-๙ ธันวาคม ของทุกปี<br />

เนื่องในโอกาสที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศจาก<br />

UNESCO ให้เป็น “มรดกโลกทางธรรมชาติ” เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๓๔<br />

และคณะรัฐมนตรีจึงมีมติอนุมัติให้วันที่ ๙ ธันวาคม ของทุกปี เป็นวัน<br />

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง-ทุ่งใหญ่นเรศวรมรดกโลก โดยมีกิจกรรม<br />

อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจัดค่ายพักแรม ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ ริ้วขบวนแห่<br />

ประกวดหุ่นสัตว์ เป็นต้น<br />

งานวันรำาลึกสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก และงานกาชาดจังหวัดอุทัย<br />

ธานี จัดระหว่างวันที่ ๒๗ มีนาคม-๕ เมษายน ของทุกปี ณ บริเวณ<br />

สนามกีฬาจังหวัด เพื่อสักการะและรำาลึกถึงสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก<br />

แห่งรัชกาลที่ ๑<br />

งานประจำาปีวัดหนองขุนชาติอำาเภอหนองฉาง จัดวันขึ้น ๑๒ ค่ำา ถึง วันแรม<br />

๕ ค่ำา เดือน ๓ ของทุกปี เดิมเป็นงานนมัสการพระพุทธบาทจำาลอง ต่อมา<br />

ได้รับความนิยมมากจึงจัดเป็นงานประจำาปี<br />

การละเล่นพื้นเมืองที่บ้านท่าโพ อำาเภอหนองขาหย่าง จัดขึ้นในเทศกาล<br />

ตรุษสงกรานต์ คือระหว่างวันที่ ๑๓-๑๔ เมษายน โดยชาวบ้านในหมู่บ้าน<br />

ท่าโพและหมู่บ้านพันสี จะมาร่วมกันจัดการละเล่นพื้นเมืองที่วัดท่าโพ<br />

เล่นเพลงชักกะเย่อ เพลงโลม เพลงรำาวงโบราณอย่างสนุกสนานแต่ละ<br />

เพลงมีท่ารำาประกอบเฉพาะ ผลัดกันเล่นมอญซ่อนผ้า เจี๊ยบๆ จ้อย ช่วงชัย<br />

เสือกินวัว และแม่ศรี ตามแต่จะแข่งขันกัน การละเล่นต่างๆ ในหมู่บ้าน<br />

แห่งนี้ส่วนใหญ่ยังใช้เนื้อร้องเพลงแบบเดิมคงไว้ซึ่งประเพณีปฏิบัติกันมา<br />

หลายชั่วอายุคน<br />

การละเล่นของชาวกะเหรี่ยง ณ หมู่บ้านกะเหรี่ยง ตำาบลคอกควาย และ<br />

ตำาบลแก่นมะกรูด อำาเภอบ้านไร่ ยังคงรักษาประเพณีเดิมไว้ มีเต้นรำาเชอ<br />

โฮเตตามจังหวะ การร้องเพลงกล่อมลูก เป็นต้น ประเพณีการแต่งงานและ<br />

การหย่าร้าง การนับถือผี งานบุญเจ้าวัด และการทอผ้าพื้นเมือง เป็นต้น<br />

งานแห่เจ้าของชาวจีนในอุทัยธานี เป็นประเพณีของชาวจีนในอุทัยธานีที่<br />

จะจัดพิธีแห่เจ้าพ่อและเจ้าแม่ซึ่งประดิษฐานอยู่ตามศาลต่างๆ โดยกำาหนด<br />

มีงานตามการครบปีของเจ้าแต่ละองค์ ซึ่งบางองค์ ๕ ปีแห่ครั้งหนึ่ง<br />

บางองค์ ๑๒ ปีแห่ครั้งหนึ่ง บางองค์ ๑๔ ปีแห่ครั้งหนึ่ง ไม่เหมือนกัน การ<br />

แห่เจ้าพ่อปุงเถ่ากง เจ้าพ่อหลักเมืองอุทัยธานี มีขบวนสาวงามถือธงร่วม<br />

ขบวนเป็นแถวยาวผ่านตลอดไปตามถนนรอบเมือง และมีสิงโตคณะต่างๆ<br />

ของชาวจีนในอุทัยธานีร่วมให้พรตามร้านค้าคนจีนในตลาด ซึ่งทุกร้าน


๓๐ ๓๑<br />

จะตั้งโต๊ะบูชาประดับด้วยงาช้างขนาดใหญ่สวยงาม ถ้าเป็นงานของเจ้าแม่<br />

ทับทิม “จุ้ยบ้วยเนี้ยว” จะมีพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงเจ้าแม่เมื่อครบ ๑๒ ปี และ<br />

พิธีเข้าทรงทำาการลุยไฟด้วย<br />

สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก<br />

ปลาแรดสะแกกรัง เป็นปลาเลี้ยงในแม่นำ้ำสะแกกรัง ตัวโตขนาด ๒ กิโลกรัม<br />

ใช้ทอดกรอบกับกระเทียมพริกไทย รสอร่อยจิ้มนำ้ำปลามะนาว<br />

ปลาเทโพและปลาสวาย ใช้นึ่งผสมเครื่องปรุง หรือใช้แกงกับหน่อไม้ทำา ปลา<br />

เจ่า มันปลาจะช่วยเพิ่มรสอาหารให้อร่อย<br />

ปลาลวก เป็นอาหารที่มีชื่อของอุทัยธานีรับประทานกับข้าวต้ม จำาหน่าย ที่<br />

ตลาดกลางคืน ใช้ปลาช่อนสดลวกนำ้ำร้อนผสมเครื่องปรุงมีรสอร่อย<br />

ปลาย่าง นิยมปลาเนื้ออ่อนย่าง ปลากดย่างและรมควันอย่างโบราณ กลิ่น<br />

หอมน่ารับประทาน<br />

ส้มโอเกาะเทโพ เป็นส้มที่ปลูกบนเกาะเทโพ รสหวาน ส่งจำาหน่ายที่ตลาด<br />

มโนรมย์จนเป็นที่รู้จัก<br />

หน่อไม้รวกเขาสะแกกรัง เป็นหน่อไม้จากต้นไผ่รวกที่ขึ้นบนเขาสะแกกรัง<br />

มีรสชาติหวานกรอบ บรรจุใส่ขวดเพื่อเป็นของฝาก สามารถเก็บไว้ได้นาน<br />

นับปี หน่อไม้หน่อสั้นสำาหรับรับประทานกับนำ้ำพริก และหน่อยาวใช้<br />

ประกอบอาหาร<br />

เห็ดโคนดอง เป็นเห็ดที่ขึ้นในป่าอำาเภอบ้านไร่และอำาเภอทัพทัน มีเนื้อ แน่น<br />

กรอบอร่อย แตกต่างจากเห็ดโคนที่อื่น และนิยมทำาเป็นเห็ดโคนดองบรรจุ<br />

ขวด นำาไปประกอบอาหารได้หลายชนิด<br />

ผ้าทอพื้นเมือง มีทั้งผ้าไหมและผ้าฝ้าย ผลิตกันมากในหมู่บ้านโคกหม้อ<br />

อำาเภอทัพทัน และหมู่บ้านลาวต่าง ๆ เช่น หมู่บ้านผาทั่ง หมู่บ้านนาตาโพ<br />

หมู่บ้านสะนำา หมู่บ้านห้วยแห้ง หมู่บ้านทองหลาง ซึ่งอยู่ในอำาเภอบ้านไร่<br />

บ้านใหม่ ไทยอีสาน อำาเภอลานสัก<br />

เครื่องจักสานท่ารากหวาย เป็นภาชนะสานด้วยไม้ไผ่บนเกาะเทโพ ทำาเป็น<br />

กระเป๋าถือ ตะกร้า กระบุง กระจาด ทุกรูปแบบได้รับความนิยมมากเพราะ<br />

ฝีมือประณีต นอกจากนี้ยังมีเครื่องจักสานทำาจากผักตบชวา เช่น หมวก<br />

และกระเป๋า<br />

ข้าวเกรียบปลา และข้าวกุ้งกรอบ ผลิตจากกุ้ง และปลากรายแท้ๆ ข้าวกุ้ง<br />

กรอบ อร่อย หวาน เค็ม ได้รสชาติของปลาและกุ้งจากธรรมชาติ<br />

นำ้ำปลาปลาสร้อยท่าซุง เป็นนำ้ำปลาแท้ทำาจากปลาสร้อยที่อยู่ในแม่นำ้ำ สะแก<br />

กรัง โดยเฉพาะตำาบลท่าซุง เป็นนำ้ำปลาที่สะอาด มีกลิ่นหอม แต่ยัง ผลิต<br />

ได้จำานวนไม่มากนัก<br />

ขนมกงหนองแก เป็นขนมหวานที่ผลิตจากหมู่บ้านหนองแกรสอร่อยหวาน<br />

หอมตามตำารับเดิม ซึ่งมีชื่อเสียงดังคำากล่าวขานที่ว่า “นำ้ำยานำ้ำทรง ขนม<br />

กงหนองแก” ทำาจำาหน่ายวันต่อวัน<br />

ยาลมจีน เป็นยาลมจีนสูตรโบราณที่ผสมครบตามตำารา มีชื่อทั่วประเทศ<br />

ตัวยาแรงมาก ขายเป็นขีดและบรรจุขวด ผลิตกันหลายยี่ห้อ<br />

ผลไม้แช่นำ้ำผึ้ง เป็นผลไม้แห้งผสมนำ้ำผึ้งเก็บไว้ได้นาน รับประทานอร่อย มี<br />

ทั้งมะม่วง กระท้อน มะเฟือง มะขาม พุทรา มะยม ที่นิยมกันมาก คือ<br />

มะม่วงแช่นำ้ำผึ้ง และมะขามแช่อิ่ม<br />

กระยาสารท ผสมนำ้ำผึ้งรสหวานหอม กรอบอร่อย ต่างจากท้องที่อื่น<br />

ขนมปังสังขยา เป็นขนมปังลูกเล็กเนื้อนุ่มสอดไส้สังขยา หรือ ไส้ใบเตย<br />

รสชาติหวานหอม ทำาจำาหน่ายวันต่อวัน<br />

ร้านจำาหน่ายของที่ระลึก<br />

อำาเภอเมืองอุทัยธานี<br />

กลุ่มชุมชนรักการดีพัฒนา (มีดช่างแขก) ๕๐/๔ ถนนรักการดี ตำาบลอุทัยใหม่<br />

โทร. ๐๘ ๑๘๘๘ ๑๔๑๐ โทรสาร ๐ ๕๖๕๗ ๑๓๓๔<br />

เครื่องหอมไทยเดิม ๖๒ หมู่ ๖ ตำาบลเกาะเทโพ โทร. ๐๘ ๑๙๗๓ ๒๙๓๑<br />

(ธูป ทอมกันยุงกลิ่นตะไคร้หอม ธูปหอมอโรมา กำายาน นำ้ำมันหอมระเหย<br />

ตามราศี เทียนรำ่ำผ้า เทียนอบขนม นำ้ำหอมไทยเดิม ยาดมสมุนไพร)<br />

ฉัตรอุทัย ๗๓ ถนนมหาราช ตำาบลอุทัยใหม่ โทร. ๐ ๕๖๕๑ ๑๗๑๒,<br />

๐ ๕๖๕๗ ๑๔๒๗ เปิด ๐๖.๐๐-๑๙.๐๐ น. (ข้าวกุ้งกรอบ ข้าวเกรียบปลาก<br />

ราย แคบหมู หนังปลา)<br />

ซามิ้นโอสถ (ยาหอมทับทิม) ๕๗ ถนนท่าช้าง โทร. ๐ ๕๖๕๑ ๑๓๑๔<br />

(ยาแผนโบราณ)<br />

ตั้งยู่ฮวด ๕๖๑ ถนนศรีอุทัย ตำาบลอุทัยใหม่ โทร. ๐ ๕๖๕๑ ๑๒๘๕, ๐ ๕๖๕๑<br />

๑๐๓๖, ๐๘ ๑๘๘๖ ๗๒๑๗ เปิด ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ น. (ผลไม้แช่อิ่มชนิดต่างๆ)<br />

ปลาแรดบ้านโรงนำ้ำแข็ง ๓๑ หมู่ ๕ ตำาบลท่าซุง โทร. ๐๘ ๑๙๕๓ ๙๘๖๖<br />

เปี๊ยกโบวี่ ๒๒ หมู่ ๕ ตำาบลสะแกกรัง โทร. ๐ ๕๖๕๒ ๔๑๖๓, ๐๘ ๑๙๗๓<br />

๘๙๘๓ , ๐๘ ๑๗๔๐ ๒๗๕๕ (มีสาขาในเมืองบริเวณวงเวียนปลาแรด เยื้อง<br />

ร้าน 7-11)<br />

ไพพรรณ ๓๙๑ ถนนศรีอุทัย โทร. ๐ ๕๖๕๑ ๑๖๖๐ เปิด ๐๗.๐๐-๑๙.๐๐ น.<br />

(ผลไม้แช่อิ่มชนิดต่าง ๆ เบเกอรี่ ขนมปังสังขยา ขนมไทย)<br />

มีดช่างทิน ๒/๕ หมู่ ๓ ตำาบลหนองไผ่แบน โทร. ๐ ๕๖๕๒ ๔๐๓๕, ๐๘<br />

๙๘๕๖ ๓๕๘๕


๓๒ ๓๓<br />

แม่ป่วยลั้ง ๑ ๗๕ ถนนมหาราช โทร. ๐ ๕๖๕๑ ๑๗๗๕ เปิด ๐๖.๐๐-๒๐.๐๐ น.<br />

(ข้าวกุ้งกรอบ ข้าวเกรียบปลากราย ข้าวตังหมูหยอง ข้าวตังหน้างา แคบหมู<br />

หนังปลา)<br />

แม่ป่วยลั้ง ๒ ๔๙/๑๐-๑๑ ถนนรักการดี หน้าโรงพยาบาลอุทัยธานี โทร.<br />

๐ ๕๖๕๑ ๓๙๗๕ เปิด ๐๗.๐๐-๒๐.๐๐ น. (ข้าวกุ้งกรอบ ข้าวเกรียบปลากราย<br />

ข้าวตังหมูหยอง ข้าวตังหน้างา แคบหมู หนังปลา)<br />

ส. ฉัตรอุทัย ๑๒๗ ถนนเติบศิริ ตำาบลอุทัยใหม่ โทร. ๐ ๕๖๕๗ ๑๔๒๗<br />

เปิด ๐๖.๐๐-๑๙.๓๐ น. (ข้าวเกรียบปลากราย แคบหมู หนังปลา<br />

และของฝากประจำาจังหวัด)<br />

หมอวิรัติ (ยาหอมซามิ้น) ๔๔ ถนนมหาราช โทร. ๐ ๕๖๕๑ ๑๓๘๙<br />

(ยาจีนแผนโบราณ)<br />

ร้านบุษวะดี ๑๑๗ ถนนสุนทรสถิตย์ ตำาบลอุทัยใหม่ โทร. ๐ ๕๖๕๒ ๔๒๐๓<br />

เปิด ๐๙.๐๐-๒๑.๐๐ น. (จำาหน่ายสินค้า OTOP ของจังหวัดอุทัยธานี<br />

และจังหวัดใกล้เคียง)<br />

กลุ่มผู้ผลิตและจำาหน่ายผ้าทอ<br />

อำาเภอเมืองอุทัยธานี<br />

ร้านไหมแกมฝ้าย ๕๐/๓ ถนนรักการดี โทร. ๐ ๕๖๕๒ ๔๓๐๓ (ผ้าฝ้าย<br />

ผ้าไหม ผ้าทอ ผ้าจก ผ้าใยกัญชา ชุดสำาเร็จรูป)<br />

อำาเภอหนองขาหย่าง<br />

กลุ่มทอผ้าตีนจกดงขวาง หมู่ ๑ (วัดดงขวาง) บ้านดงขวาง โทร. ๐ ๕๖๕๙<br />

๗๐๙๓ (ผ้าจก)<br />

กลุ่มทอผ้าบ้านห้วยรอบ ๓๗ หมู่ ๒ บ้านห้วยรอบ ตำาบลห้วยรอบ โทร.<br />

๐๘ ๖๒๑๓ ๔๒๑๐ (ผ้ามัดหมี่ ผ้าไหมประดิษฐ์)<br />

กลุ่มรวมใจพัฒนา หมู่ ๔ ตำาบลหนองไผ่ (ผ้าพื้น ไหมประดิษฐ์)<br />

ศูนย์ฝึกอาชีพตำาบลห้วยรอบ หมู่ ๓ ตำาบลห้วยรอบ โทร. ๐ ๕๖๕๑ ๓๒๓๔<br />

(ผ้าไหมประดิษฐ์)<br />

อำาเภอทัพทัน<br />

กลุ่มทอผ้าบ้านโคกหม้อ ๔/๑ หมู่ ๒ บ้านโคกหม้อ ตำาบลโคกหม้อ โทร.<br />

๐ ๕๖๕๑ ๓๔๔๘, ๐๘ ๑๓๗๙ ๑๒๐๐ (ผ้าไหมลายโบราณ ผ้ามัดหมี่)<br />

กลุ่มทอผ้าแม่บ้านเกษตรกรโคกหม้อ หมู่ ๒ บ้านโคกหม้อ โทร. ๐ ๕๖๕๑<br />

๓๑๘๙, ๐๘ ๙๙๐๖ ๙๙๒๙, ๐๘ ๑๘๘๗ ๖๗๔๐ (ผ้ามัดหมี่ ผ้าพื้น)<br />

อำาเภอบ้านไร่<br />

กลุ่มทอผ้าบ้านทัพคล้าย ๓๙ หมู่ ๒ บ้านทัพคล้าย ตำาบลทัพหลวง โทร.<br />

๐๘ ๙๖๗๙ ๗๒๓๔ (ผ้าจก)<br />

กลุ่มทอผ้าบ้านทัพหลวง ๓ หมู่ ๑ บ้านทัพหลวง ตำาบลทัพหลวง โทร.<br />

๐ ๕๖๕๔ ๖๑๒๘ (ผ้าจก ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าห่ม ผ้าคลุมเตียง)<br />

กลุ่มทอผ้าบ้านนาตาโพ ๒๙ หมู่ ๓ บ้านนาตาโพ ตำาบลบ้านบึง โทร.<br />

๐ ๕๖๕๓ ๙๓๖๒, ๐๘ ๑๙๗๑ ๐๕๒๑ (ผ้าฝ้ายลายโบราณ ผ้ามัดหมี่ฝ้าย<br />

ผ้าไหม ผ้าขิด ผ้าจก)<br />

กลุ่มทอผ้าบ้านเนินคีรี ๓๖/๑ หมู่ ๑๐ ตำาบลทับหลวง โทร. ๐ ๕๖๕๔<br />

๒๔๖๐, ๐ ๕๖๕๔ ๖๑๕๘<br />

กลุ่มทอผ้าไพจิตต์ ๒๙ หมู่ ๓ บ้านนาตาโพ ตำาบลบ้านบึง โทร. ๐๘ ๑๙๗๑<br />

๐๕๒๑, ๐๘ ๑๙๕๓ ๒๓๗๒, ๐๘ ๑๙๗๒ ๔๓๔๑ (ผ้าจก)<br />

กลุ่มผ้าทอพื้นเมืองลายโบราณ บ้านผาทั่ง ๓๒ หมู่ ๒ บ้านผาทั่ง<br />

ตำาบลห้วยแห้ง โทร. ๐ ๕๖๕๓ ๙๑๕๗ (ผ้าจก ผ้าฝ้าย)<br />

กลุ่มทอผ้าศรีนิน ๗๓ หมู่ ๑ ตำาบลบ้านบึง โทร. ๐ ๕๖๕๔ ๖๑๒๕,<br />

๐๘ ๑๗๘๕ ๖๐๗๐ (ผ้าจก ผ้าไหม ผ้าคลุมไหล่ ผ้าคลุมเตียง ผ้าขาวม้า)<br />

กลุ่มทอผ้าบ้านพูลสุข ๘๖/๑ หมู่ ๒ ตำาบลบ้านบึง โทร. ๐ ๕๖๕๓ ๙๔๑๒<br />

ตัวอย่างโปรแกรมนำาเที่ยว<br />

วันที่ ๑ -ออกเดินทาง จากกรุงเทพฯ ถึง จังหวัดอุทัยธานี<br />

-ขึ้นยอดเขาสะแกกรังชมทิวทัศน์เมืองอุทัยธานี<br />

กราบรอยพระพุทธบาท ตีระฆัง ๑๐๐ ปี<br />

สักการะพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปฐมบรม<br />

มหาชนกนาถ<br />

-รับประทานอาหารกลางวันบนเรือ ชมวิถีชีวิตชาว<br />

แพสองฝั่งแม่นำ้ำสะแกกรัง<br />

-ขึ้นเรือที่วัดท่าซุง นมัสการหลวงพ่อฤาษีลิงดำา<br />

และชมความงดงามของวิหารแก้ว<br />

-ออกเดินทางไปเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง<br />

อำาเภอลานสัก<br />

-สักการะรูปปั้นคุณสืบ นาคะเสถียร วีรบุรุษแห่ง<br />

การอนุรักษ์ธรรมชาติ ฟังบรรยายสรุป<br />

ชมสไลด์ภาพสัตว์ป่าหายาก รับประทาน<br />

อาหารเย็น<br />

-พักค้างคืน


๓๔ ๓๕<br />

วันที่ ๒ -สูดอากาศบริสุทธิ์ยามเช้า เดินป่าศึกษา<br />

ธรรมชาติตามตามความเหมาะสม<br />

โดยเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า<br />

-ชมผ้าทอลายโบราณ บ้านนาตาโพ บ้านผาทั่ง<br />

อำาเภอบ้านไร่<br />

-เดินทางกลับกรุงเทพฯ ด้วยทางหลวงหมายเลข<br />

๓๓๓ อำาเภอบ้านไร่-อำาเภอด่านช้างสุพรรณบุรี<br />

ถึงกรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพ<br />

สิ่งอำานวยความสะดวกในจังหวัดอุทัยธานี<br />

สถานที่พัก<br />

(ราคาห้องพักในเอกสารนี้เปลี่ยนแปลงได้ โปรดสอบถามจากโรงแรมก่อน<br />

เข้าพัก)<br />

อำาเภอเมืองอุทัยธานี<br />

๓๓๓ เฮาส์ ๑/๑-๑๒ ถนนพหลโยธิน ตำาบลสะแกกรัง โทร. ๐ ๕๖๕๒ ๔๘๘๓<br />

จำานวน ๔๐ ห้อง ราคา ๒๐๐-๔๕๐ บาท<br />

บ้านจ่าพงษ์ โฮมสเตย์ ๒๑ หมู่ ๕ ตำาบลเกาะเทโพ โทร. ๐ ๕๖๙๘ ๐๑๒๒,<br />

๐๘ ๖๕๙๑ ๐๔๑๙ จำานวนบ้าน ๒ หลังคาเรือน ราคา ๓๕๐ (รวมอาหาร<br />

๒ มื้อ)<br />

บ้านเจ้าพระยา ๗๒/๕ ตำาบลเกาะเทโพ โทร. ๐๘ ๑๙๐๙ ๑๙๖๕ ราคา<br />

๑,๒๐๐-๑,๘๐๐ บาท<br />

บ้านสวนชลัมภ์ รีสอร์ท ๑๔๒ หมู่ ๘ ตำาบลนำ้ำทรง โทร. ๐๘ ๖๒๑๓ ๗๕๑๔,<br />

๐๘ ๑๐๓๘ ๑๘๑๒ www.baansuanchalum.com, E-mail:baansuanchalum@<br />

yahoo.com จำานวน ๓๐ ห้อง ราคา ๑,๒๐๐-๒,๕๐๐ บาท<br />

พญาไม้ รีสอร์ท ๓๔-๓๖ หมู่ ๑ ถนนสะแกกรัง ตำาบลสะแกกรัง โทร.<br />

๐ ๕๖๕๗ ๑๗๖๗, ๐๘ ๑๖๗๔ ๑๙๙๒ www.payamairesort.com จำานวน<br />

๒๐ ห้อง ราคา ๘๐๐-๑,๖๐๐ บาท บริการล่องเรือ วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา<br />

๐๘.๓๐ น. ราคา ๕๐ บาท/ คน หากเช่าเหมาลำา (ไม่เกิน ๒๐ คน) คิด<br />

ราคาตามระยะทาง<br />

พิบูลย์สุข ๓๓๖ ถนนศรีอุทัย ตำาบลอุทัยใหม่ โทร. ๐ ๕๖๕๑ ๑๐๔๘,<br />

๐ ๕๖๕๑ ๑๖๔๗ โทรสาร ๐ ๕๖๕๑ ๑๐๐๓ จำานวน ๗๙ ห้อง ราคา ๑๙๐-<br />

๖๐๐ บาท<br />

ริมนที โฮมสเตย์ ๖๐ หมู่ ๕ บ้านโรงนำ้ำแข็ง ตำาบลท่าซุง โทร. ๐๘ ๑๔๗๕<br />

๙๙๒๑, ๐๘ ๑๘๘๘ ๖๗๙๒ จำานวน ๘ หลังคาเรือน ราคา ๒๐๐-๒,๐๐๐ บาท<br />

ริเวอร์ มารีน่า รีสอร์ท ๑๑๐ หมู่ ๔ เกาะเทโพ ตำาบลท่าซุง โทร. ๐<br />

๕๖๕๐ ๒๖๔๗, ๐๘ ๙๕๓๓ ๗๕๕๙ www.rivermarinaresort.com,<br />

E-mail:rivermarina@thailand.com จำานวน ๙ ห้อง ราคา ๖๐๐-๑,๓๐๐<br />

บาท<br />

วันเพ็ญ โฮมสเตย์ ถนนเกาะเทโพ-ท่าซุง โทร. ๐๘ ๑๙๕๓ ๙๘๖๖ จำานวน<br />

๕ หลัง ราคา ๒๐๐ บาท/ คน<br />

ห้วยขาแข้งเชษฐศิลป์ ๒๖ ถนนพหลโยธิน ตำาบลอุทัยใหม่ โทร. ๐ ๕๖๕๒<br />

๔๘๓๓-๕, ๐ ๕๖๕๑ ๑๒๖๓ โทรสาร ๐ ๕๖๕๑ ๑๒๖๔ จำานวน ๑๒๐ ห้อง<br />

ราคา ๗๕๐-๒,๕๐๐ บาท<br />

อมรสุข ๑ ๗๑/๒๓ ถนนรักการดี ตำาบลอุทัยใหม่ (ตรงข้ามโรงพยาบาลอุทัย<br />

ธานี) โทร. ๐ ๕๖๕๑ ๑๖๙๓ โทรสาร ๐ ๕๖๕๒ ๔๓๓๙ จำานวน ๓๗ ห้อง<br />

ราคา ๑๕๐-๔๐๐ บาท<br />

อมรสุข ๒ ๔๐/๑๒ ถนนมณีรัตน์ ตำาบลอุทัยใหม่ โทร. ๐ ๕๖๕๑ ๒๑๖๔<br />

จำานวน ๒๒ ห้อง ราคา ๑๕๐-๓๕๐ บาท<br />

อุทัย ริเวอร์ เลค ๘ หมู่ ๕ ตำาบลเกาะเทโพ โทร. ๐ ๕๖๙๘ ๐๐๔๔-๕,<br />

๐๘ ๙๑๖๒ ๘๑๘๘, ๐๘ ๑๘๘๖ ๕๗๙๓ www.uthairiverlake.com จำานวน<br />

๒๐ ห้อง ราคา ๑,๗๐๐-๒,๘๐๐ บาท<br />

ไอยรา ปาร์ค โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท ๕๕ หมู่ ๔ ตำาบลหาดทนง อยู่บนทาง<br />

หลวงหมายเลข ๓๓๓ ก่อนถึงตัวเมืองอุทัยธานี ๘ กิโลเมตร โทร. ๐ ๕๖๕๑<br />

๖๓๓๓ โทรสาร ๐ ๕๖๕๑ ๖๒๒๒ กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๒๕๙ ๘๕๑๑-๖<br />

โทรสาร ๐ ๒๒๕๙ ๘๕๑๐ www.iyarapark.com, E-mail: reservation@<br />

iyarapark.com จำานวน ๓๕๘ ห้อง ราคา ๕,๖๐๐-๔๕,๐๐๐ บาท บังกะโล<br />

๓๒ หลัง ราคา ๓,๕๐๐-๕,๓๐๐ บาท<br />

อำาเภอบ้านไร่<br />

ปางนเรศวร์ รีสอร์ท ๑๑๓ หมู่ ๓ ถนนบ้านอีหลุบ-เขาพุเตย ตำาบลบ้านไร่<br />

โทร. ๐ ๕๖๕๗ ๙๑๕๐, ๐๘ ๑๙๘๖ ๔๐๙๙ กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๕๖๑ ๑๔๑๗,<br />

๐ ๒๕๗๙ ๑๒๙๕ บ้านพัก ๓ หลัง (๑๒ ห้อง) ราคา ๕๐๐-๘๐๐ บาท<br />

ภูเคียงเดือน ๒๕๙ หมู่ ๑ ตำาบลบ้านไร่ โทร ๐๘ ๑๗๐๗ ๔๘๕๑ http://<br />

phukeangduan.9nha.com จำานวนบ้านพัก ๓ หลัง ห้องพัก ๙ ห้อง<br />

ราคา ๓๕๐-๗๐๐ บาท<br />

ภูแสงทอง รีสอร์ท ๑๙๙ หมู่ ๘ ตำาบลบ้านไร่ โทร. ๐ ๕๖๕๘ ๖๓๐๙ โทรสาร<br />

๐ ๕๖๕๘ ๖๓๑๐ www.phuseangthong.com จำานวน ๔๙ ห้อง ราคา<br />

๑,๕๐๐-๖,๐๐๐ บาท บรรยากาศท่ามกลางสวนปาล์ม


๓๖ ๓๗<br />

วัฒนา เกสต์เฮาส์ ๙๙ หมู่ ๑ ตำาบลบ้านไร่ บริเวณสี่แยก ปตท. เลี้ยวขวา<br />

๓๐๐ เมตร โทร. ๐ ๕๖๕๓ ๐๙๔๒, ๐ ๕๖๕๓ ๙๓๑๑ จำานวน ๒๑ ห้อง<br />

ราคา ๒๘๐-๓๘๐ บาท<br />

ห้วยขาแข้งคันทรีโฮม รีสอร์ท ๑๐๒ หมู่ ๘ ถนนบ้านไร่-ลานสัก ตำาบล<br />

คอกควาย โทร. ๐๘ ๑๘๖๗ ๔๙๖๗, ๐๘ ๑๙๗๓ ๑๒๑๓ โทรสาร ๐ ๕๖๕๒<br />

๔๕๔๗ www.countryhomeresort.com, E-mail: hkk_cth@yahoo.com<br />

จำานวน ๕๐ หลัง ราคา ๘๐๐-๑,๗๐๐ บาท<br />

ห้วยป่าปก รีสอร์ท ๑๔๙ หมู่ ๓ ตำาบลบ้านไร่ โทร. ๐ ๕๖๕๙ ๖๑๕๐-๔,<br />

๐ ๕๖๕๙ ๖๐๐๐-๑, ๐๘ ๑๙๕๓ ๑๕๓๒ โทรสาร ๐ ๕๖๕๙ ๖๑๕๒ www.<br />

huayparpok.com บ้านพัก ๘๕ หลัง ราคา ๑,๒๐๐-๔,๒๐๐ บาท<br />

อวตาร มิราเคิล ๔๕๔ หมู่ ๓ ตำาบลบ้านไร่ โทร. ๐ ๕๖๕๙ ๖๑๖๔ โทรสาร<br />

๐ ๕๖๕๙ ๖๑๐๙ กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๕๑๓ ๖๑๗๑ โทรสาร ๐ ๒๕๑๓ ๖๑๘๘<br />

www.avataarange.com จำานวน ๖๔ ห้อง ราคา ๕,๓๐๐-๑๘,๐๐๐ บาท<br />

อำาเภอหนองฉาง<br />

เฉ่ง รีสอร์ท ๒๗๗ หมู่ ๕ ตำาบลหนองฉาง โทร. ๐ ๕๖๕๒ ๑๓๙๖,<br />

๐๘ ๑๗๔๕ ๙๕๕๒ http://chengresort.9nha.com จำานวน ๙ ห้อง ราคา<br />

๓๕๐-๔๓๐ บาท<br />

ศรีวิจิตร รีสอร์ท ๑๑๖/๓ หมู่ ๑ ตำาบลหนองสรวง โทร. ๐ ๕๖๕๒ ๑๔๘๓-๔<br />

จำานวน ๒๖ ห้อง ราคา ๓๕๐-๔๐๐ บาท<br />

อำาเภอลานสัก<br />

นวรัตน์ โฮมสเตย์ ๓๑๓/๑ ตำาบลทุ่งนางาม โทร. ๐๘ ๗๐๐๓ ๔๕๗๑<br />

จำานวน ๑ หลังใหญ่ รับได้ ๕๐ คน ราคา ๕๐๐ บาท/ คน/ คืน ค่าอาหาร<br />

๕๐ บาท/ คน<br />

บ้านจีระดิษฐ์ ๑๘๘/๑ หมู่ ๒ ตำาบลลานสัก โทร. ๐ ๕๖๕๒ ๒๐๙๘ ห้องพัก<br />

๑๕ ห้อง ราคา ๓๐๐-๘๐๐ บาท<br />

สนธยาบ้านพัก ๒๑ หมู่ ๔ ตำาบลทุ่งนางาม โทร. ๐ ๕๖๙๘ ๙๐๗๙,<br />

๐๘ ๑๘๘๗ ๔๖๕๙ ห้องพัก ๖ ห้อง ราคา ๓๐๐-๖๐๐ บาท<br />

หุบป่าตาด โฮมสเตย์ ๔๒ /๑ หมู่ ๓ ตำาบลทุ่งนางาม โทร. ๐๘ ๑๘๘๗<br />

๖๗๑๗, ๐๘ ๑๘๘๖ ๓๘๔๑ จำานวน ๗ หลัง ราคา ๖๐๐-๑,๕๐๐ บาท<br />

ร้านอาหาร<br />

อำาเภอเมืองอุทัยธานี<br />

กังสดาล ๑๓๙ ถนนณรงค์วิถี ตำาบลอุทัยใหม่ โทร. ๐ ๕๖๕๑ ๔๕๓๓,<br />

๐๘ ๑๗๐๗ ๐๓๐๕ เปิด ๑๐.๐๐-๒๒.๐๐ น. (อาหารตามสั่ง)<br />

เกษรอาหารอีสาน ๒๖/๑๗-๑๙ ถนนรักการดี ตำาบลอุทัยใหม่ โทร. ๐ ๕๖๕๑<br />

๒๒๔๕, ๐๘ ๑๔๗๕ ๐๒๖๖ เปิด ๑๑.๐๐-๒๐.๐๐ น. (อาหารอีสาน)<br />

โกตี๋ข้าวมันไก่ ๙๕ ถนนท่าช้าง ตำาบลอุทัยใหม่ โทร. ๐ ๕๖๕๑ ๒๐๑๓,<br />

๐๘ ๑๕๓๔ ๗๗๓๙ เปิด ๐๖.๐๐-๑๔.๓๐ น. (ร้านเชลล์ชวนชิม: ข้าวมันไก่<br />

และอาหารตามสั่ง)<br />

ครัวคุ้งสำาเภา ติดทางลงโป๊ะมโนรมย์ ฝั่งอุทัยธานี โทร. ๐๘ ๖๖๗๘ ๗๘๕๐,<br />

๐๘ ๑๔๘๓ ๑๙๔๔ เปิด ๑๐.๐๐-๒๑.๐๐ น. (อาหารตามสั่ง ปลาแม่นำ้ำ)<br />

ครัวน้องทราย ติดแม่นำ้ำเจ้าพระยา ๘๗/๑ หมู่ ๔ ตำาบลเกาะเทโพ โทร.<br />

๐ ๕๖๙๘ ๐๐๘๙ เปิด ๑๐.๐๐-๒๐.๐๐ น. (อาหารตามสั่ง ปลาแม่นำ้ำ)<br />

ครัวเป๊ปซี่ ๑๑๓ หมู่ ๒ ถนนมโนรมย์-อุทัย กิโลเมตรที่ ๘ ตำาบลท่าซุง โทร.<br />

๐ ๕๖๕๐ ๒๕๙๙, ๐๘ ๗๒๐๓ ๘๕๓๑ เปิด ๑๐.๐๐-๒๑.๐๐ น. (อาหารตามสั่ง)<br />

ครัวสะแกกรัง ตำาบลนำ้ำซึม ทางไปวัดท่าซุง โทร. ๐ ๕๖๕๒ ๐๑๒๗-๘<br />

โทรสาร ๐ ๕๖๕๒ ๐๑๒๘ เปิด ๑๐.๐๐-๒๑.๐๐ น. (อาหารตามสั่ง ปลาแม่นำ้ำ<br />

มีแพอาหาร)<br />

ตุ๋ยปลาแรด ๖๗-๖๘ ถนนท่าช้าง ตำาบลอุทัยใหม่ โทร. ๐ ๕๖๕๑ ๒๓๗๕<br />

เปิด ๐๘.๐๐-๒๐.๐๐ น. (อาหารตามสั่ง เน้นปลาแรด)<br />

นกน้อย ๙/๔ ถนนศรีอุทัย สะพานข้ามแม่นำ้ำภาคเหนือ ตำาบลอุทัยใหม่<br />

โทร. ๐ ๕๖๕๑ ๑๙๕๒ เปิด ๑๐.๐๐-๒๒.๐๐ น. (อาหารตามสั่ง)<br />

ป้าสำาราญ ๔๒/๑ หมู่ ๔ ทางเข้าบ้านท่าซุง ตำาบลเกาะเทโพ โทร. ๐ ๕๖๙๘<br />

๐๐๘๕ เปิด ๑๐.๐๐-๒๑.๐๐ น. (ปลาแม่นำ้ำ, อาหารตามสั่ง)<br />

พรหมท่าซุง (ตรงข้ามวัดท่าซุง) ๗๒ หมู่ ๑ ถนนอุทัย-มโนรมย์ ตำาบลนำ้ำซึม<br />

โทร. ๐ ๕๖๕๐ ๒๕๘๕, ๐ ๕๖๕๐ ๒๕๙๕, ๐๘ ๙๗๐๓ ๘๕๓๐ เปิด ๑๐.๓๐-<br />

๒๐.๓๐ น. (อาหารไทย อาหารพื้นบ้านภาคใต้ ปลาแม่นำ้ำ)<br />

มุมสบาย ๔๑๗/๔๗ ถนนศรีอุทัย ตำาบลอุทัยใหม่ โทร. ๐ ๕๖๕๑ ๑๑๐๔, ๐๘<br />

๑๙๖๒ ๔๗๙๓ เปิด ๑๐.๐๐-๒๒.๐๐ น. (อาหารไทย จีน ฝรั่ง และคาราโอเกะ)<br />

ร้านอาหารบ้านบัวหลวง บริเวณหอนาฬิกา โทร. ๐ ๕๖๕๒ ๕๐๔๗,<br />

๐๘ ๔๙๘๘ ๑๗๔๒ เปิด ๑๐.๐๐-๒๒.๐๐ น. (อาหารตามสั่ง, อาหารเวียต นาม)<br />

เรือนแพประมง ๒๕ แพคลองสะแกกรัง โทร. ๐ ๕๖๕๑ ๑๙๙๖ เปิด ๐๙.๐๐-<br />

๒๑.๓๐ น. (อาหารตามสั่ง ปลาแม่นำ้ำ)<br />

ลำาไยไอศกรีม ๖ ถนนมหาราช ตำาบลอุทัยใหม่ โทร. ๐ ๕๖๕๑ ๑๗๔๖,<br />

๐๘ ๑๘๘๘ ๘๙๗๐ เปิด ๑๐.๓๐-๒๑.๐๐ น. (ไอศกรีมและเครื่องดื่ม)<br />

โหนก ก๋วยเตี๋ยว ไก่ หมูตุ๋น ๕๐ ซอยธนาคารทหารไทย ตรอกโรงยา ถนน<br />

ราชอุทิศ โทร. ๐ ๕๖๕๑ ๒๘๔๓ เปิด ๐๙.๐๐-๑๕.๐๐ น.


๓๘ ๓๙<br />

อำาเภอบ้านไร่<br />

สวนอาหารครัวอนันต์ ๓๑๐ หมู่ ๑ ตำาบลบ้านไร่ โทร. ๐ ๕๖๕๓ ๙๐๓๕,<br />

๐ ๕๖๕๔ ๖๒๘๒ เปิด ๑๐.๐๐-๒๑.๓๐ น. (อาหารทะเล แกงป่า)<br />

อำาเภอทัพทัน<br />

ครัวอุไร ๑/๑๔ หมู่ ๑ ถนนทัพทัน-หนองฉาง ตำาบลทัพทัน โทร. ๐ ๕๖๕๔<br />

๐๒๑๔, ๐๘ ๙๙๕๙ ๔๕๔๑ เปิด ๐๗.๐๐-๒๒.๐๐ น. (อาหารตามสั่ง)<br />

อำาเภอสว่างอารมณ์<br />

ร้านเจ๊จุก ๒๑/๕ หมู่ ๑ ถนนธรรมสุนทร หน้าดับเพลิงเทศบาล โทร. ๐ ๕๖๕๙<br />

๙๐๔๘, ๐๘ ๑๙๗๒ ๐๔๕๓ เปิด ๐๖.๐๐-๑๕.๐๐ น. (อาหารตามสั่ง)<br />

อำาเภอลานสัก<br />

ครัวบ้านคุณ ๓๗๐ หมู่ ๒ ก่อนถึงที่ว่าการอำาเภอ ๒๐๐ เมตร เปิด ๐๙.๐๐-<br />

๒๒.๐๐ น. (อาหารตามสั่ง)<br />

แตนโภชนา ๓๖๒ หมู่ ๒ ถนนหนองฉาง-ลานสัก ห่างจากโรงพยาบาลลานสัก<br />

ประมาณ ๒๐๐ เมตร เปิด ๐๙.๐๐-๒๒.๐๐ น. (อาหารตามสั่ง)<br />

หมายเลขโทรศัพท์สำาคัญ<br />

ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. ๐ ๕๖๕๒ ๐๘๒๖,<br />

๐ ๕๖๕๑ ๑๙๑๕<br />

สำานักงานจังหวัด โทร. ๐ ๕๖๕๒ ๐๗๓๗,<br />

๐ ๕๖๕๑ ๑๐๖๓<br />

ที่ว่าการอำาเภอ โทร. ๐ ๕๖๕๑ ๑๐๖๒<br />

โรงพยาบาลอุทัยธานี โทร. ๐ ๕๖๕๒ ๔๔๕๕-๘<br />

๐ ๕๖๕๑ ๑๐๘๑<br />

สถานีตำารวจภูธร อำาเภอเมืองฯ โทร. ๐ ๕๖๕๑ ๑๐๕๕,<br />

๐ ๕๖๕๒ ๐๐๗๓<br />

๐ ๕๖๕๒ ๐๒๙๖,<br />

๐ ๕๖๕๑ ๑๒๗๕<br />

ที่ทำาการไปรษณีย์โทรเลข โทร. ๐ ๕๖๕๑ ๑๐๙๗,<br />

๐ ๕๖๕๑ ๑๕๙๓<br />

ตำารวจทางหลวง โทร. ๑๑๙๓<br />

ตำารวจท่องเที่ยว โทร. ๐ ๕๖๒๓ ๓๐๗๓,<br />

๐ ๕๖๘๘ ๑๕๑๕<br />

กรมอุตุนิยมวิทยา โทร. ๑๑๘๒<br />

ศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยว ททท.<br />

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย<br />

สำานักงานใหญ่<br />

๑๖๐๐ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน<br />

เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐<br />

โทร. ๐ ๒๒๕๐ ๕๕๐๐ (๑๒๐ หมายเลข)<br />

โทรสาร ๐ ๒๒๕๐ ๕๕๑๑<br />

E-mail : info@tat.or.th<br />

Website : www.tourismthailand.org<br />

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา<br />

๔ ถนนราชดำาเนินนอก เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย<br />

กรุงเทพฯ ๑๐๑๐๐<br />

เปิดบริการทุกวัน ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น.<br />

ททท. สำานักงานอุทัยธานี<br />

๑๐๐/๑-๒ ถนนศรีอุทัย ตำาบลอุทัยใหม่<br />

อำาเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี ๖๑๐๐๐<br />

โทร. ๐ ๕๖๕๑ ๔๙๘๒ โทรสาร ๐ ๕๖๕๑ ๒๙๑๖<br />

www.tourismthailand.org/uthaithani<br />

E-mail: tatuthai@tat.or.th<br />

พื้นที่รับผิดชอบ: อุทัยธานี นครสวรรค์

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!