พืชจำพวกต้นพืชวัตถุสมุนไพร.ไทยหลักเภสัช ๔ ประการเภสัชวัตถุ

ชะพลู (ช้าพลู) ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper sarmentosum Roxb.

ต้นชะพลู (ช้าพลู) ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper sarmentosum Roxb.

ช้าพลู (ผักอีไร) ไม้ต้นเล็ก ๆ

ราก รสเผ็ดร้อนเล็กน้อย สรรพคุณ แก้คูถเสมหะ ขับเสมหะให้ตกทางทวารหนัก

ต้น รสเผ็ดร้อนเล็กน้อย สรรพคุณ แก้เสมหะในทรวงอก

ลูก (ดอก) รสเผ็ดร้อนเล็กน้อย สรรพคุณ แก้เสมหะในลำคอ

ใบ รสเผ็ดร้อนเล็กน้อย สรรพคุณ ทำให้เสมหะงวดและแห้งเข้า

ประวัติยาเบญจกูล เบญจกูล หรือ พิกัดเบญจกูล

เป็นพิกัดยาที่ใช้กันมากในตำรับยาไทย เพราะว่าใช้ประจำในธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ในร่างกายของคนเรา ทั้งยังใช้แก้ในกองฤดู กองสมุฏฐานต่างๆอีกด้วย

พระอาจารย์ท่านได้กล่าวสืบต่อกันมาว่ามีฤๅษี ๖ ตน ซึ่งแต่ละคนได้ค้นคว้าตัวยา โดยบังเอิญตัวแต่ละอย่างนั้นมีสรรพคุณรักษาโรค และสมุฏฐานต่างๆได้ ซึ่งมีประวัติดังนี้

ฤๅษีตนหนึ่งชื่อ  “ปัพพะตัง” บริโภคซึ่งผลดีปลี เชื่อว่า อาจจะระงับอชิณโรคได้ (แพ้ของแสลง)

ฤๅษีตนหนึ่งชื่อ  “อุธา”  บริโภคซึ่งรากช้าพลู เชื่อว่า อาจจะระงับซึ่งเมื่อยขบได้

ฤๅษีตนหนึ่งชื่อ “บุพเทวา” บริโภคซึ่งเถาสะค้าน เชื่อว่า อาจระงับเสมหะและวาโยได้

ฤๅษีตนหนึ่งชื่อ “บุพพรต” บริโภคซึ่งรากเจตมูลเพลิง เชื่อว่า อาจจะระงับโรคอันบังเกิดแต่ดีอันทำให้หนาวและเย็นได้

ฤๅษีตนหนึ่งชื่อ  “มหิทธิกรรม” บริโภคซึ่งเหง้าขิง เชื่อว่า อาจระงับตรีโทษได้

ฤๅษีตนหนึ่งชื่อ “มุรทาธร” เป็นผู้ประมวลสรรพยาทั้งหมดนี้เข้าด้วยกัน ให้ชื่อว่า เบญจกูลเสมอภาค เชื่อว่า ยาเบญจกูลนี้ อาจระงับโรคอันบังเกิดแก่ ทวัตติงสาการ คือ อาการ ๓๒ ของร่างกายมีผมเป็นต้นและมันสมองเป็นที่สุด และบำรุงธาตุทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์

ตัวยาแต่ละตัวในเบญจกูล ใช้เป็นยาประจำธาตุได้ดังนี้

ดอกดีปลี ประจำธาตุดิน (ปถวีธาตุ)

รากช้าพลู ประจำธาตุน้ำ (อาโปธาตุ)

เถาสะค้าน ประจำธาตุลม (วาโยธาตุ)

รากเจตมูลเพลิง ประจำธาตุไฟ (เตโชธาตุ)

เหง้าขิง ประจำทวารของร่างกาย (อากาศธาตุ)

ตัวยาเรียกได้หลายชื่อ

ต้นช้าพลู เรียกอีกชื่อว่า ผักอีไร

ตัวยาประจำธาตุ

รากช้าพลู ประจำ อาโปธาตุ คือ ธาตุน้ำ ๑๒ ประการ

Krit Buapan

The Demonstration of Ramkhamhaeng University.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *