พระร่วงหลังลิ่ม กรุวัดช้างล้อม จ.สุโขทัย-ภาพสยาม - webpra
คิดดี พูดดี ทำแต่สิ่งที่ดีๆ

หมวด พระกรุ เนื้อชิน

พระร่วงหลังลิ่ม กรุวัดช้างล้อม จ.สุโขทัย

พระร่วงหลังลิ่ม กรุวัดช้างล้อม จ.สุโขทัย - 1พระร่วงหลังลิ่ม กรุวัดช้างล้อม จ.สุโขทัย - 2
ชื่อร้านค้า ภาพสยาม - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
chae1 (6)
ชื่อพระเครื่อง พระร่วงหลังลิ่ม กรุวัดช้างล้อม จ.สุโขทัย
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระกรุ เนื้อชิน
ราคาเช่า 185,000 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 0942825666
อีเมล์ติดต่อ zowking@gmail.com
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อา. - 18 ต.ค. 2563 - 23:07.17
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 27 มี.ค. 2564 - 10:23.21
รายละเอียด
พระร่วงนั่งหลังลิ่ม พระสำคัญแห่งเมืองศรีสัชนาลัย พุทธลักษณะคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง โดยเฉพาะ 'อู่ทองหน้าแก่' ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วงต้นอยุธยา ด้านหลังเป็นหลังร่องคล้าย ‘ลิ่ม’ จึงนำมาตั้งพระนามองค์พระ นับเป็นพระร่วงยืนเนื้อชินหนึ่งในพระยอดขุนพลที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะที่ 'กรุวัดช้างล้อม ศรีสัชนาลัย' วัดสำคัญในสมัยสุโขทัย ที่สร้างโดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนั้น จะมีลักษณะโดดเด่นเป็นที่นิยมมาก เป็นที่แสวงหาอย่างสูงแต่จะหาของแท้ได้ยากยิ่ง
พระร่วงหลังลิ่ม วัดช้างล้อม แตกกรุครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2480 ณ พระเจดีย์เก่าทรงลังกาที่มีช้างล้อมรอบ ซึ่งสร้างมาตั้งแต่ครั้งสร้างวัด จึงเชื่อว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราช น่าจะทรงสร้าง พระร่วงนั่งหลังลิ่ม นี้ บรรจุในพระเจดีย์เพื่อสืบสานพระศาสนาตามคติโบราณ
หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2495 มีการพบอีกครั้งที่กรุเดียวกัน ในปี พ.ศ.2500 พบพระในลักษณะเดียวกันที่บ้านแก่งสาระจิตและกรุวัดเจดีย์เจ็ดแถว แต่องค์พระที่พบจะมีผิวปรอทขาวมากกว่า ต่างจากวัดช้างล้อมที่จะมีผิวดำเป็นส่วนมาก และในปี พ.ศ.2507 ยังพบพระที่มีลักษณะคล้ายกันอีกที่กรุวัดเขาพนมเพลิง แต่องค์พระจะไม่ค่อยลึกชัดนักและขนาดเล็กกว่า อีกทั้งด้านหลังเป็นแบบหลังตันทั้งหมด จึงเข้าใจว่าน่าจะเป็นการสร้างล้อพิมพ์
หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2495 มีการพบอีกครั้งที่กรุเดียวกัน ในปี พ.ศ.2500 พบพระในลักษณะเดียวกันที่บ้านแก่งสาระจิตและกรุวัดเจดีย์เจ็ดแถว แต่องค์พระที่พบจะมีผิวปรอทขาวมากกว่า ต่างจากวัดช้างล้อมที่จะมีผิวดำเป็นส่วนมาก และในปี พ.ศ.2507 ยังพบพระที่มีลักษณะคล้ายกันอีกที่กรุวัดเขาพนมเพลิง แต่องค์พระจะไม่ค่อยลึกชัดนักและขนาดเล็กกว่า อีกทั้งด้านหลังเป็นแบบหลังตันทั้งหมด จึงเข้าใจว่าน่าจะเป็นการสร้างล้อพิมพ์
หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2495 มีการพบอีกครั้งที่กรุเดียวกัน ในปี พ.ศ.2500 พบพระในลักษณะเดียวกันที่บ้านแก่งสาระจิตและกรุวัดเจดีย์เจ็ดแถว แต่องค์พระที่พบจะมีผิวปรอทขาวมากกว่า ต่างจากวัดช้างล้อมที่จะมีผิวดำเป็นส่วนมาก และในปี พ.ศ.2507 ยังพบพระที่มีลักษณะคล้ายกันอีกที่กรุวัดเขาพนมเพลิง แต่องค์พระจะไม่ค่อยลึกชัดนักและขนาดเล็กกว่า อีกทั้งด้านหลังเป็นแบบหลังตันทั้งหมด จึงเข้าใจว่าน่าจะเป็นการสร้างล้อพิมพ์
พระร่วงหลังลิ่ม เป็นพระเนื้อชินเงิน องค์พระร่วงเป็นพระแบบครึ่งซีก องค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบ แสดงปางมารวิชัย เหนืออาสนะฐานเขียง พระเกศเป็นแบบปลีซ้อน อยู่เหนือพระเมาฬี กรอบไรพระศกเป็นเส้น อันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะอู่ทองที่มีอิทธิพลขอมปะปน วงพระพักตร์ออกเค้าอู่ทองหน้าแก่ เคร่งขรึม ดุดัน พระเนตรเป็นเนตรเนื้อนูนขึ้นมา ซึ่งเป็นการบรรจงสร้างองค์พระอย่างประณีตวิจิตร แสดงให้เห็นถึงคุณค่าในเชิงพุทธศิลปะอู่ทองอย่างชัดเจน
เอกลักษณ์แม่พิมพ์

- บริเวณกลางพระเพลา ใต้พระหัตถ์ขวา ขององค์พระ จะถูกเทเป็น 'เนื้อเกิน' เป็นตุ่มยื่นขึ้นมาทุกองค์

- พระกรรณ (หู) ทั้งสองข้างทำเป็นร่องลึกเหมือนใบหูมนุษย์

- ในองค์ที่ติดชัดเจนจะปรากฏสร้อยพระศอ 2 เส้น

- พระวรกายสูงชะลูดและผอมบางเหมือนคนแก่ ตามพุทธลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปอู่ทอง

- พระอุระ นูนเด่นและอวบอิ่ม

-เส้นอังสะและสังฆาฏิ คมชัดเจน

- ช่องพระอุทร (ท้อง) เน้นกล้ามเนื้อเป็นสองลอน

มีพุทธคุณขึ้นชื่อลือเลื่องด้านด้านแคล้วคลาด นิรันตราย อยู่ยงคงกระพัน และเมตตามหานิยม
ขอบพระคุณข้อมูล ราม วัชรประดิษฐ์

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top