"สุนทรภู่"เป็นใคร มีความสำคัญอย่างไรกับประเทศไทย อ่านเลยที่นี่

26 มิ.ย. 2566 | 02:36 น.

"สุนทรภู่"เป็นใคร มีความสำคัญอย่างไรกับประเทศไทย อ่านเลยที่นี่มีคำตอบ พร้อมเปิดประวัติกวีเอกของไทยที่ได้รับการยกย่ององค์การยูเนสโกเป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านงานวรรณกรรม เมื่อ พ.ศ. 2529


"สุนทรภู่"เป็นใคร มีความสำคัญอย่างไรกับประเทศไทย อ่านที่นี่ 

สุนทรภู่เป็นใคร มีความสำคัญอย่างไรกับประเทศไทยเป็นประเด็นที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก

ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" จะพาไปไขคำตอบเรื่องดังกล่าว 

สุนทรภู่เป็นกวีเอกของประเทศไทย และได้รับการยกย่ององค์การยูเนสโกเป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านงานวรรณกรรม เมื่อ พ.ศ. 2529

สำหรับสุนทรภู่นั้น เป็นกวีไทยที่มีชื่อเสียงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีผลงานที่มีชื่อเสียงหลายเรื่องได้แก่ พระอภัยมณี นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง

ประวัติสุนทรภู่

สุนทรภู่ เกิดในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลาเช้า 2 โมง (ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329) ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง (ซึ่งเป็นบริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบันนี้) ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2398 รวมอายุได้ 69 ปี

บิดาของสุนทรภู่เป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มารดาเป็นชาวเมืองอื่น สุนทรภู่เกิดเมื่อหลังจากได้สร้างกรุงเทพมหานครแล้ว 4 ปี แล้วต่อมาในภายหลังบิดามารดาได้หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำอันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังนั้นสุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง

เมื่อสุนทรภู่อายุได้ประมาณ 2 ขวบ มารดาได้นำไปฝากให้เรียนหนังสือกับพระในสำนักวัดชีปะขาว (ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานนามในรัชกาลที่ 4 ว่า วัดศรีสุดาราม อยู่ริมคลองบางกอกน้อย) ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวนในกรมพระคลังสวน แต่ไม่ชอบทำงานอื่นนอกจากแต่งบทกลอน ซึ่งสามารถแต่งได้ดี ตั้งแต่ยังรุ่นหนุ่ม

กุฎิวัดเทพธิดารามที่สุนทรภู่บวชจำพรรษา เป็นสถานที่ค้นพบวรรณกรรมที่ทรงคุณค่ามากมายเช่น พระอภัยมณี ฯลฯ ที่ท่านเก็บซ่อนไว้ใต้เพดานหลังคากุฎิของท่าน กุฎิวัดเทพธิดารามที่สุนทรภู่บวชจำพรรษา เป็นสถานที่ค้นพบวรรณกรรมที่ทรงคุณค่ามากมายเช่น พระอภัยมณี ฯลฯ ที่ท่านเก็บซ่อนไว้ใต้เพดานหลังคากุฎิของท่าน อนุสาวรอนุสาวรีย์สุนทรภู่ที่ วัดศรีสุดาราม

ใน พ.ศ. 2359 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมอาลักษณ์ได้เป็นขุนสุนทรโวหาร ระหว่างรับราชการต้องจำคุกเพราะถูกอุทธรณ์ว่าเมาสุราทำร้ายญาติผู้ใหญ่ ภายหลังพ้นโทษ ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2

ในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 สุนทรภู่ออกจากราชการและออกบวช เมื่อลาสิกขาแล้วถวายตัวอยู่กับพระองค์เจ้าลักขณานุคุณได้ปีหนึ่ง ครั้นเจ้านายพระองค์นั้นสิ้นพระชนม์ สุนทรภู่ก็ขาดที่พึ่งได้รับความลำบากมาก ต้องลอยเรืออยู่และแต่งหนังสือขายเลี้ยงชีวิต ต่อมาจึงได้รับพระอุปถัมภ์ จากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พ.ศ. 2394 สุนทรภู่ ได้เป็นเจ้ากรมอาลักษณ์ ฝ่ายพระราชวังบวร มีบรรดาศักดิ์เป็น พระสุนทรโวหาร ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากสุนทรภู่ (ภู่) จะได้รับนามสกุลคือ “ภู่เรือหงส์” ตำแหน่งทางราชการ สุนทรภู่หลวงสุนทรโวหาร – พ.ศ. 2359พระสุนทรโวหาร – พ.ศ. 2394ผลงาน ของท่านสุนทรภู่

ปี พ.ศ. 2385 ภิกษุภู่จำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม ที่มีกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพทรงอุปถัมภ์ คืนหนึ่งหลับฝันเห็นเทพยดาจะมารับตัวไป เมื่อตื่นขึ้นคิดว่าตนถึงฆาตจะต้องตายแล้ว จึงประพันธ์เรื่อง รำพันพิลาป พรรณนาถึงความฝันและเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้ประสบมาในชีวิต หลังจากนั้นก็ลาสิกขาบทเพื่อเตรียมตัวจะตาย ขณะนั้นสุนทรภู่มีอายุได้ 56 ปี

หลังจากลาสิกขาบท สุนทรภู่ได้รับพระอุปถัมภ์จากเจ้าฟ้าน้อย หรือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ รับราชการสนองพระเดชพระคุณทางด้านงานวรรณคดี สุนทรภู่แต่ง เสภาพระราชพงศาวดาร บทเห่กล่อมพระบรรทม และบทละครเรื่อง อภัยนุราช ถวาย รวมถึงยังแต่งเรื่อง พระอภัยมณี ถวายให้กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพด้วย เมื่อถึงปี พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาเจ้าฟ้าน้อยขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สุนทรภู่จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร มีบรรดาศักดิ์เป็น พระสุนทรโวหาร ช่วงระหว่างเวลานี้สุนทรภู่ได้แต่งนิราศเพิ่มอีก 2 เรื่อง คือ นิราศพระประธม และ นิราศเมืองเพชร

สุนทรภู่พำนักอยู่ในเขตพระราชวังเดิม ใกล้หอนั่งของพระยามนเทียรบาล (บัว) มีห้องส่วนตัวเป็นห้องพักกั้นเฟี้ยมที่เรียกชื่อกันว่า "ห้องสุนทรภู่" เชื่อว่าสุนทรภู่พำนักอยู่ที่นี่ตราบจนถึงแก่อนิจกรรม เมื่อปี พ.ศ. 2398 สิริรวมอายุได้ 69 ปี

สุนทรภู่มีความสำคัญกับประเทศไทยจนทำให้ทุกวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปีถูกยกย่องให้เป็น "วันสุนทรภู่"

บุคคลสำคัญของโลก (ด้านวรรณกรรม)

ปี พ.ศ. 2529 ในโอกาสครบรอบวันเกิด 200 ปีของสุนทรภู่ องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้สุนทรภู่เป็นบุคคลสำคัญของโลกทางด้านวรรณกรรม นับเป็นชาวไทยคนที่ 5 และเป็นสามัญชนชาวไทยคนแรกที่ได้รับเกียรตินี้ ในปีนั้น สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์จึงได้จัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือ "อนุสรณ์สุนทรภู่ 200 ปี" และมีการจัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้นเพื่อส่งเสริมกิจกรรมเกี่ยวกับการเผยแพร่ชีวิตและผลงานของสุนทรภู่ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น

ข้อมูล : วิกิพีเดีย