ชวนรู้จักกล้วยไม้ป่า “เอื้องสายปากครุย” ความสวยงามที่ควรอยู่คู่ป่าเท่านั้น


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

12 ม.ค. 67

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
ชวนรู้จักกล้วยไม้ป่า “เอื้องสายปากครุย” ความสวยงามที่ควรอยู่คู่ป่าเท่านั้น

“เอื้องสายปากครุย” Dendrobium calicopis Ridl. กล้วยไม้ชนิดนี้สำรวจพบที่อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง จ.พังงา ความสูงจากระดับน้ำทะเล 100 - 200 เมตร    

กล้วยไม้ป่า “เอื้องสายปากครุย”

เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย เจริญด้านข้าง ลำต้นชูยกขึ้นแล้วโค้งเอน ยาวได้ถึง 60 เซนติเมตร หุ้มด้วยกาบสีน้ำตาลแดง ลักษณะเหมือน เส้นใย ใบ ออกข้อละใบ เรียงสลับ ช่อดอก ออกจากลำต้นที่ไม่มีใบ ประมาณ 4-6 ดอกต่อช่อ 

กล้วยไม้ป่า “เอื้องสายปากครุย”

ก้านช่อดอกและแกนกลาง ช่อดอกสั้น มีสีม่วงคล้ำ กลีบเลี้ยงบน มีขนาด 0.6x1.4 เซนติเมตร มีสีขาว แต้มด้วยสีม่วงบริเวณขอบกลีบ ปลายกลีบเป็นรอยบากตื้น ๆ กลีบ เลี้ยงคู่ล่าง เชื่อมติดกับคางดอก คางดอกเป็นถุงโค้งยาวไปด้านหน้า ปลายคางมน ขนาด 0.4x1.1 เซนติเมตร กลีบดอก รูปช้อน ขนาด 0.9x1.5 เซนติเมตร ขอบกลีบบิดเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายกลีบทู่ แต้มสีม่วงชัดเจนกว่ากลีบเลี้ยง

กล้วยไม้ป่า “เอื้องสายปากครุย” 

กลีบปาก ขนาด 1.4x2 เซนติเมตร ไม่มีหูกลีบด้านข้าง ขอบกลีบจักเป็นซี่ฟันสั้น ๆ มีแผ่นเนื้อเยื่อสีขาว 2 แถบ กว้างประมาณ 1.5 มิลลิเมตร พาดตามยาวกลางกลีบปาก กลีบปากมีสีขาว แต้มด้วยสีม่วงที่ฐานและปลายกลีบ แกนเส้าเกสรมีสีม่วงเข้ม ฝาปิดเกสรสีขาวพบตามต้นไม้ในป่าดิบที่ราบต่ำ ภายใต้ร่มเงา ช่วงเวลาในการออกดอกเดือนสิงหาคม

กล้วยไม้ป่า “เอื้องสายปากครุย”

🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ จ.สุราษฎร์ธานี
 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

กล้วยไม้ป่าเอื้องสายปากครุยพฤกษศาสตร์Thai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Science
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover : (เซบา บาสตี้)

บทความ NOW แนะนำ