กิจกรรมการศึกษาครั้งที่ 4 มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ ไทยแลนด์เบียนนาเล่ เชียงราย 2023

  • วันพฤหัสบดีที่ 4 มกราคม 2567
  • 9.00-12.00 น.
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
  • Free

ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรมเสวนาเรื่อง “ความลับของเชียงแสน : The secret of Chiang Saen”

วันพฤหัสบดีที่ 4 มกราคม 2567 เวลา 9.00-12.00 น.

ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
https://maps.app.goo.gl/98J8onHdZJdv876e6

……………………………………………………….

ศิลปะจะนำไปสู่ความลับที่ซับซ้อนยังซุกซ่อนในเชียงแสน เสียงที่ไม่ได้ยิน ร่องรอยที่มองไม่เห็น ส่งเสียงว่า “ฉันอยู่ที่นี่ ที่เชียงแสน” ผลงานศิลปะไปไกลเกินกว่าที่ตัวเมืองเมืองเชียงแสนที่เราเห็นว่ามีโบราณสถาน และจารึกประวัติศาสตร์ แต่ยังมีบรรพชน ผี นาคา อารักษ์ ที่ร่วมสร้าง และยังอยู่ในร่องรอยที่มองไม่เห็น Kader Attia ศิลปินเปรียบสรรพสิ่งนั้นได้ดังสายฝนที่ฝากร่องรอยไว้กับโบราณสถาน และจิตติ เกษมกิจวัฒนา ศิลปินจะได้นำเสนอเสียงพูดของผู้คนที่หลากภาษาผ่านกาลเวลามายังปัจจุบัน เมื่อทุกท่านยืนเผชิญหน้าความลับของเมืองเชียงแสนจะรู้สึกถึงพลังของสรรพสิ่งที่ผ่านงานศิลปะของศิลปิน ความลับของเมืองเชียงแสนที่ ทับซ้อน ซุกซ่อน เปรียบได้ดังบทกวี พื้นบ้านเชียงแสน ดังนี้

“จีจีมะลิซ้อน มาบานซอนกับดอกทายเหิน
จีจีดอกเอื้องเงิน มาบานซอนดอกเอื้องเผิ้ง
ยามเมื่อลมมาตี หอมเอยนดี หวั่นเหวิ้ง
ลมพัดเนิ้งอ่อน ทวยลม”

ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ https://shorturl.asia/MP4yx

ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โทรศัพท์ 053-917897 ต่อ 8041-4

กำหนดการ

08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียนพร้อมรับอาหารว่างและเครื่องดื่ม

09.00 – 09.45 น. กิจกรรมแนะนำ ผลงานศิลปะมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ ครั้งที่ 3 
ไทยแลนด์เบียนนาเล่เชียงราย 2023 ที่จัดขึ้นในพื้นที่เชียงแสน 
โดย รศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง หัวหน้าโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรม
ลุ่มน้ำโขงมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

09.45- 10.00 น. กล่าวเปิดกิจกรรมเสวนา 
โดย อาจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ยอดสุวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ

10.00 – 11.00 น. กิจกรรมเสวนาเรื่อง “Pluviality” 
โดย Mr.Kader Attia ผู้เสวนา
ดร.กฤติยา กาวีวงศ์   ผู้ดำเนินรายการ
อาจารย์สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ล่ามแปลภาษา

11.00 – 12.00 น. กิจกรรมเสวนาเรื่อง “เปิดความลับของเชียงแสนด้วยศิลปะ: Chiang Saen Unveiled : Unlocking Artistic Mastery” 
โดย ดร.เพ็ญสุภา สุขคตะ ผู้เสวนา
นายภูเดช แสนสา ผู้เสวนา
นายจิตติ เกษมกิจวัฒนา ผู้เสวนา
อาจารย์สำนักวิชาศิลปศาสตร์  ผู้ดำเนินรายการ

12.00 – 12.10 น. ปิดการเสวนา 
โดย รศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง หัวหน้าโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรม
ลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

12.10 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

หมายเหตุ กำหนดการสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม

เกี่ยวกับศิลปิน

คาแดร์ อัทเทีย 
https://www.thailandbiennale.org/artists/kader-attia/

เติบโตที่กรุงปารีสและแอลจีเรีย เขาศึกษาที่ École Supérieure des Arts Appliqués Duperré และ École Nationale Supérieure des Arts Décoratifs ณ กรุงปารีส รวมถึง Escola Massana, Centre d’Art i Disseny ณ เมืองบาร์เซโลนา นอกจากนี้เขายังอยู่ที่คองโกและแอฟริกาใต้เป็นเวลาหลายปี

ผลงานของ คาแดร์ อัทเทีย นำไปจัดแสดงในนิทรรศการกลุ่มและเทศกาลเบียนนาเล่หลายครั้ง เช่น 12th Shanghai Biennial; the 12th Gwangju Biennial; the 12th Manifesta เมืองปาแลร์โม; the 57th Venice Biennial; dOCUMENTA(13) เมืองคาสเซล; Met Breuer นครนิวยอร์ก; Kunsthalle Wien; MoMA นครนิวยอร์ก; Tate Modern กรุงลอนดอน; Centre Pompidou กรุงปารีส และ The Solomon R. Guggenheim Museum นครนิวยอร์ก เป็นต้น นิทรรศการเดี่ยวที่มีชื่อเสียง ได้แก่ The Museum of Emotion จัดแสดง ณ The Hayward Gallery กรุงลอนดอน; Scars Remind Us that Our Past is Real จัดแสดง ณ Fundacio Joan Miro เมืองบาร์เซโลนา ; Roots also grow in concrete จัดแสดง ณ MacVal เมืองวิทรีย์-ซูร์-แซน; The Field of Emotion, จัดแสดง ณ The Power Plant เมืองโทรอนโต และ Museum of Contemporary Art, นครซิดนีย์; Repairing the Invisible จัดแสดง ณ SMAK เมืองเกนต์ และ Museum of Contemporary Art, Sydney; Sacrifice and Harmony จัดแสดง ณ Museum für Moderne Kunst นครแฟรงก์เฟิร์ต/แม่น้ำไมน์ ; The Injuries are Here จัดแสดง ณ Musée Cantonal des Beaux Arts de Lausanne; Contre Nature จัดแสดง ณ Beirut Art Center; Continuum of Repair: The Light of Jacob’s Ladder จัดแสดง ณ Whitechapel Gallery กรุงลอนดอน และ KW Institute for Contemporary Art กรุงเบอร์ลิน

ในปี พ.ศ. 2559 คาแดร์ อัทเทีย ได้รับรางวัล Marcel Duchamp Prize และในปี พ.ศ. 2560 เขาได้รับรางวัล Prize of the Miró Foundation เมืองบาร์เซโลนา และ Yanghyun Prize กรุงโซล

จิตติ เกษมกิจวัฒนา
https://www.thailandbiennale.org/artists/chitti-kasemkitvatana/

ศิลปิน ภัณฑารักษ์อิสระ และนักการศึกษา อาศัยและทํางานในกรุงเทพฯ จิตติอาศัยวิธีการวิจัยเป็นฐาน ที่สัมพันธ์กับการใช้ชุดข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และการทำงานอย่างเชื่อมโยงกับพื้นที่ เขาสนใจเรื่องความพัวพันในบริบทของประวัติศาสตร์ทางสังคมและวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับกลศาสตร์ควอนตัมตามวิถีวัตถุนิยมใหม่ (new materialist approach) กระบวนการทางศิลปะของเขาประกอบด้วยการส่งผ่านเรื่องราว ความคิด และความทรงจำร่วมทางสังคมผ่านอุปกรณ์กล (object-device) จนถึงการแปลงหรือเปลี่ยนรูปข้อมูล เพื่อศึกษาถึงการสัมปยุตของสิ่งต่างๆ ทั้งในรูปแบบของการสนทนา การปะทะ รวมถึงความสัมพันธ์ที่เป็นการโต้ตอบโดยการอ่าน “ผ่านกันและกัน” (diffraction) ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 เป็นต้นมาเขาได้ร่วมแสดงผลงานในสถาบันศิลปะระดับชาติและนานาชาติเช่น หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย (MOCA) ไทเป Centre Pompidou ปารีส CEAAC สทราซบูร์ Guangdong Times Museum กว่างโจว Le Plateau / Frac Ile-de-France ปารีส และ daadgalerie เบอร์ลิน จิตติเป็นหนึ่งในผู้ที่รับทุนโครงการทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์พีระศรี ครั้งที่ 22 พ.ศ. 2566 และโครงการศิลปินในพํานักในเบอร์ลิน โดยองค์กรแลกเปลี่ยนทางวิชาการของเยอรมนี (DAAD Artist-in-Berlin Programme) เมื่อ พ.ศ. 2557