SlideShare a Scribd company logo
1 of 54
Download to read offline
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง
เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในนํ้าหมักชนิดต่างๆ
ชื่อผู้ศึกษา
1. นายพันธุ์ภูมิ โสภารัตน์ เลขที่ 15
2. นายภาณุวิชญ์ เปียงเก๋ เลขที่ 16
3. นางสาวชลธิชา นิรันตร์ เลขที่ 27
4. นางสาวปัณณภัทร บุญเทียม เลขที่ 30
5. นางสาวปิ่นนภา อุดม เลขที่ 31
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4
โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
วิชา เคมีเข้มข้น 6 รหัสวิชา ว30236
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามหลักสูตรมาตรฐานสากล
โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง
เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในนํ้าหมักชนิดต่างๆ
ชื่อผู้ศึกษา
1. นายพันธุ์ภูมิ โสภารัตน์ เลขที่ 15
2. นายภาณุวิชญ์ เปียงเก๋ เลขที่ 16
3. นางสาวชลธิชา นิรันตร์ เลขที่ 27
4. นางสาวปัณณภัทร บุญเทียม เลขที่ 30
5. นางสาวปิ่นนภา อุดม เลขที่ 31
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4
ครูที่ปรึกษาโครงงาน
คุณครูไอยเรศ สว่างเมืองวรกุล
ก
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในนํ้าหมัก
ชนิดต่างๆ ประกอบการศึกษาวิชาเคมีเข้มข้น 6 โดยมีการสร้างผลงานด้านวิทยาศาสตร์ สามารถ
ดําเนินงานไปอย่างมีระบบ ตามขั้นตอนที่วางไว้ จนทําให้งานสําเร็จลุล่วงไปด้วยดี เนื่องจาก
การให้คําปรึกษาแนะนํา จากคุณครูไอยเรศ สว่างเมืองวรกุล ครูที่ปรึกษาประจําวิชาเคมีเข้มข้น 6
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งให้ความรู้ทางด้านวิชาการและตลอดจนการให้คําแนะนําในการทําโครงงาน
เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในนํ้าหมักชนิดต่างๆ พร้อมทั้งการอธิบายวิธีการทําโครงงาน
วิทยาศาสตร์ประเภททดลอง
จากคําแนะนําของครูที่ปรึกษา ทําให้กลุ่มข้าพเจ้า มีแนวทางในการดําเนินงานและทํางานกัน
ได้อย่างเป็นระบบ จนสําเร็จลุล่วงไปด้วยดี จึงขอขอบพระคุณ คุณครูไอยเรศ สว่างเมืองวรกุล มาไว้ ณ
ที่นี้ด้วย
คณะผู้จัดทํา
ข
บทคัดย่อ
ชื่อโครงงาน : การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในนํ้าหมักชนิดต่างๆ
ชื่อผู้วิจัย : นายพันธุ์ภูมิ โสภารัตน์ นายภาณุวิชญ์ เปียงเก๋ นางสาวชลธิชา นิรันตร์
นางสาวปัณณภัทร บุญเทียม และนางสาวปิ่นนภา อุดม
ปีที่จัดทํา : 2566
การจัดทําโครงงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้และประสบการณ์ในการ
ทําโครงงาน และเพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของยีสต์ในนํ้าหมักชนิดต่างๆ โดยใช้รูปแบบโครงงาน
วิทยาศาสตร์ประเภททดลอง ซึ่งทําการทดลอง 2 ชุด ได้แก่ ชุดควบคุม จํานวน 1 ตัวอย่างการทดลอง
และชุดทดลอง จํานวน 5 ตัวอย่างการทดลอง รวม 6 ตัวอย่างการทดลอง โดยสังเกตการเจริญเติบโต
ของยีสต์ในเวลา 20.00 น. ของทุกวัน เป็นเวลา 5 วัน จากนั้นติดตามผลการทดลอง สรุปผลการทดลอง
และอภิปรายผลการทดลอง เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ถูกต้องและตรงตามความเป็นจริง
ผลการศึกษาและจัดทําโครงงานพบว่า ผลการทดลองในครั้งนี้ นํ้าหมักกล้วย
มีการเจริญเติบโตของยีสต์สูงสุดจากนํ้าหมักทั้งหมด ซึ่งเป็นผลมากจากการที่กล้วยมีปริมาณสารประกอบ
อินทรีย์รวมกันมากกว่าพืชและผลไม้ตัวอย่างที่นํามาทดลอง และยีสต์ใช้สารประกอบอินทรีย์
ในกระบวนการเจริญเติบโต โดยนําคาร์บอนในสารประกอบอินทรีย์มาสร้างเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
และแอลกอฮอล์ ซึ่งทําให้ยีสต์ในขวดนํ้าหมักกล้วยสร้างแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้มาก จึงทําให้
แป้งโฮลวีทมีโพรงอากาศมาก ส่งผลให้ขวดนํ้าหมักกล้วยมีระดับความสูง สูงกว่าขวดอื่นๆ
จากผลการศึกษายังพบอีกว่า เวลาที่วัดการเจริญเติบโตของยีสต์ควรมีความถี่มากขึ้น
และควรทดลองในช่วงที่มีอุณหภูมิคงที่ เพื่อที่จะได้ผลการทดลองที่ละเอียด ถูกต้อง และตรงตาม
ความเป็นจริงมากขึ้น
คําสําคัญ : ยีสต์ นํ้าหมัก การเจริญเติบโตของยีสต์ สารประกอบอินทรีย์
ค
คํานํา
โครงงานเล่มนี้จัดทําขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา เคมีเข้มข้น 6 รหัสวิชา ว30236
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อพัฒนาความรู้และประสบการณ์ในการทําโครงงาน และเพื่อศึกษา
การเจริญเติบโตของยีสต์ในนํ้าหมักชนิดต่างๆ
ผู้จัดทําหวังว่าโครงงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน หรือนักเรียนที่สนใจศึกษาข้อมูล
ในเรื่องนี้ หากมีข้อแนะนําหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทําขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
คณะผู้จัดทํา
ง
สารบัญ
เรื่อง หน้า
กิตติกรรมประกาศ ก
บทคัดย่อ ข
คํานํา ค
สารบัญ ง
สารบัญตาราง ฉ
สารบัญภาพ ช
บทที่ 1 บทนํา 1
ที่มาและความสําคัญของปัญหา 1
วัตถุประสงค์ 2
สมมติฐาน 2
ตัวแปร 2
ขอบเขตของการศึกษา 2
นิยามศัพท์เฉพาะ 3
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4
ยีสต์ 4
แป้งโฮลวีท 9
นํ้าหมัก 10
แอปเปิล 11
กล้วย 13
องุ่น 17
แคนตาลูป 18
จ
สารบัญ (ต่อ)
เรื่อง หน้า
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4
ข้าว 21
สารประกอบอินทรีย์ 22
บทที่ 3 วิธีดําเนินการทดลอง 27
วัสดุอุปกรณ์ 27
วิธีการทดลอง 28
บทที่ 4 ผลการทดลอง 29
บทที่ 5 สรุปผล อภิปราย เสนอแนะ 33
สรุปผลการทดลอง 33
อภิปรายผลการทดลอง 34
ปัญหาที่พบในการศึกษา 34
ข้อเสนอแนะ 34
บรรณานุกรม 35
ภาคผนวก 37
ฉ
สารบัญตาราง
ตารางที่ หน้า
1 แสดงการเจริญเติบโตของยีสต์ (เซนติเมตร) 29
ช
สารบัญภาพ
ภาพที่ หน้า
1 ลักษณะของยีสต์ 4
2 ขนมปังโฮลวีท 9
3 นํ้าหมัก 10
4 ลักษณะของแอปเปิล 11
5 ลักษณะของกล้วย 13
6 ลักษณะขององุ่น 17
7 ลักษณะของแคนตาลูป 18
8 ลักษณะของเมล็ดข้าว 21
9 ยาพาราเซตามอลซึ่งใช้อะเซตามิเฟนเป็นตัวยาหลักในการผลิต 26
1
บทที่ 1
บทนํา
ที่มาและความสําคัญของปัญหา
ยีสต์ เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่สามารถเติบโตได้โดยการย่อยอาหาร และทําให้เกิดการหมัก
ยีสต์ชอบอาหารที่มีนํ้าตาลสูง และยีสต์ยังเป็นส่วนผสมสําคัญในการทําขนมปังต่างๆ ทั้งนี้วิธีการเลี้ยงยีสต์
ยังมีหลากหลายวิธี นั่นจึงทําให้เกิดการทดลองเลี้ยงยีสต์ในนํ้าหมักชนิดต่างๆ
ยีสต์ เป็นวัตถุดิบสําคัญในอุตสาหกรรมอาหาร โดยเฉพาะการทําขนมปัง เพราะยีสต์จะหมัก
นํ้าตาลในแป้ง และปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา เนื่องจากแป้งมีความยืดหยุ่นสูง ทําให้แก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์ไม่สามารถออกมาจากแป้งได้ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จึงทําให้เกิดการขยายตัว หรือ
ทําให้แป้งพองตัวมีขนาดใหญ่ขึ้น เมื่อนําไปอบจะได้ขนมปังที่มีความแน่นสูง ขนาดใหญ่ เนื้อสัมผัสเยอะ
และรสชาติดี นอกจากนี้ยีสต์ยังเป็นแหล่งวิตามินบี โปรตีนที่ประกอบไปด้วยกรดอะมิโนชนิดต่างๆ
รวมไปถึงสารอาหารอื่นๆ ที่ให้พลังงาน และคุณประโยชน์แก่ร่างกายมนุษย์ แต่ถ้ายีสต์สามารถหานํ้าตาล
เพิ่มได้จากแหล่งอื่นนอกจากแป้ง ทําให้แหล่งอาหารของยีสต์มากขึ้น นั่นคือ ปริมาณแก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์ที่ยีสต์ปล่อยออกมาก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้ได้ขนมปังมีขนาดใหญ่ขึ้น และ
เนื้อสัมผัสมากขึ้น
ดังนั้นกลุ่มของข้าพเจ้าจึงต้องการศึกษาการเจริญเติบโตของยีสต์ในนํ้าหมักชนิดต่างๆ
โดยทําการทดลอง 2 ชุด ได้แก่ ชุดควบคุม และชุดทดลอง ดังนี้
1. ชุดควบคุม คือ ชุดของการทดลองที่ใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิง เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากการทดลอง
นั่นคือ แป้งโฮลวีทผสมกับนํ้าเปล่า
2. ชุดทดลอง คือ ชุดที่เราใช้ศึกษาผลของตัวแปรต้น นั่นคือ แป้งโฮลวีทผสมกับนํ้าหมักแอปเปิล
แป้งโฮลวีทผสมกับนํ้าหมักกล้วย แป้งโฮลวีทผสมกับนํ้าหมักองุ่น แป้งโฮลวีทผสมกับนํ้าหมักแคนตาลูป
และแป้งโฮลวีทผสมกับนํ้าหมักข้าว
2
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาความรู้และประสบการณ์ในการทําโครงงาน
2. เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของยีสต์ในนํ้าหมักชนิดต่างๆ
สมมติฐาน
ถ้าปริมาณนํ้าตาลในนํ้าหมักชนิดต่างๆ มีผลต่อการเจริญเติบโตของยีสต์ ดังนั้นยีสต์ที่เลี้ยงด้วยนํ้าหมักองุ่น
จะเจริญเติบโตได้ดีที่สุด
ตัวแปร
ตัวแปรต้น : นํ้าหมักชนิดต่างๆ
ตัวแปรตาม : การเจริญเติบโตของยีสต์
ตัวแปรควบคุม : ปริมาณแป้ง ชนิดของแป้ง ปริมาณนํ้าหมักชนิดต่างๆ ปริมาตรขวด และอุณหภูมิในการ
เลี้ยงเพาะเลี้ยงยีสต์
ขอบเขตของการศึกษา
การทดลองครั้งนี้มุ่งศึกษาการเจริญเติบโตของยีสต์ โดยกําหนดระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา
ระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566
3
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. ยีสต์ หมายถึง สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว มีรูปร่างกลม โค้งมนคล้ายไข่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย
ประมาณ 5 ไมครอน สามารถมองเห็นภายใต้กล้องจุลทรรศน์เท่านั้น ยีสต์เจริญเติบโตได้โดย
การย่อยนํ้าตาล และทําให้เกิดการหมัก โดยยีสต์จะเปลี่ยนนํ้าตาลให้กลายเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
และหากยีสต์ใช้เวลาย่อยนํ้าตาลมากเพียงพอจะเกิดแอลกอฮอล์ขึ้น
2. นํ้าหมัก หมายถึง การนําผลไม้ ผัก หรือสมุนไพรต่างๆ ใส่ลงไปในนํ้าเปล่าเพื่อเพิ่มเติมรสชาติให้นํ้าเปล่า
มีความหวาน เปรี้ยวจากตัวผลไม้หรือสมุนไพรที่เติมลงไปโดยไม่มีการเติมนํ้าตาลเพิ่ม
3. การเจริญเติบโต หมายถึง การเพิ่มจํานวนและขนาดของเซลล์ สามารถวัดได้จากนํ้าหนัก ความกว้าง
ความหนา และความสูง
4. สารประกอบอินทรีย์ หมายถึง สารประกอบที่มีอะตอมของคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. คาดว่าจะได้ประสบการณ์ในการทําโครงงานหรืองานวิจัยต่างๆ
2. คาดว่าจะเกิดความสามัคคีจากการทํางานกลุ่มร่วมกัน
3. คาดว่าจะได้ข้อมูลเพื่อนํามาเป็นแนวทางให้แก่ผู้ที่ต้องการศึกษาการเจริญเติบโตของยีสต์ในนํ้าหมัก
ชนิดต่างๆ
4
บทที่2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ยีสต์
ภาพลักษณะของยีสต์
ที่มา : https://researchcafe.org/
ความหมาย
ยีสต์ หรือ ส่าเหล้า (yeast) คือ รากลุ่มหนึ่งที่ส่วนใหญ่เป็นเซลล์เดี่ยว มีรูปร่างหลายแบบ เช่น
รูปร่างกลม รี สามเหลี่ยม รูปร่างแบบมะนาว ฝรั่ง เป็นต้น ส่วนใหญ่มีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
โดยวิธีการแตกหน่อ พบทั่วไปในธรรมชาติในดิน ในนํ้า ในส่วนต่างๆ ของพืช ยีสต์บางชนิดพบอยู่กับแมลง
และในกระเพาะของสัตว์บางชนิด แต่แหล่งที่พบยีสต์อยู่บ่อยๆ คือแหล่งที่มีนํ้าตาลความเข้มข้นสูง เช่น
นํ้าผลไม้ที่มีรสหวาน ยีสต์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ มักจะปนลงไปในอาหาร เป็นเหตุให้อาหารเน่าเสียได้
มีการนํายีสต์มาใช้ประโยชน์นานมาแล้ว โดยเฉพาะการผลิตอาหารที่มีแอลกอฮอล์ จากคุณสมบัติ
ที่มีขนาดเล็กมาก สามารถเพาะเลี้ยงให้เกิดได้ในเวลาอันรวดเร็ว และวิธีการไม่ยุ่งยาก ทําให้ยีสต์
เริ่มมีบทบาทที่สําคัญในวงการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า โดยสามารถนํามาใช้เป็นอาหารสําหรับเลี้ยงอาหาร
ธรรมชาติที่สําคัญอีกทีหนึ่ง เช่น ไรแดง โรติเฟอร์ และอาร์ทีเมีย
5
การดํารงชีพ
ยีสต์เป็นจุลินทรีย์จําพวกเชื้อรา (Fungi)ที่มีการดํารงชีวิตเป็นเซลล์เดี่ยว และเป็นจุลินทรีย์
ที่พบน้อยชนิดเมื่อเทียบกับจุลินทรีย์อื่นๆ ในประเทศไทยยีสต์มีความหลากหลายของชนิดสูง ยีสต์พบได้
ทั่วไปในสิ่งแวดล้อมทั้งแหล่งที่อยู่ในธรรมชาติ เช่น ดินในป่า นํ้าในป่าชายเลน และใบไม้บนต้น หรือ
แหล่งที่อยู่ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น อาหารหมัก ส่วนใหญ่มีรูปร่าง กลม, รี และรูปไข่ ซึ่งยีสต์เป็นจุลินทรีย์
ที่พบน้อยชนิดเมื่อเทียบกับจุลินทรีย์อื่นๆ
ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญของยีสต์
1. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
การเติม SO2 ลงในนํ้าองุ่น (เช่นเติมในรูป KMS) เป็นขั้นตอนที่ปฏิบัติมาเป็นปกติแล้ว ทั้งนี้
เพื่อควบคุมปฏิกิริยาออกซิเดชัน และยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ธรรมชาติ โดยจะลดปริมาณยีสต์เริ่มต้น
ในนํ้าองุ่นลงประมาณ 10 เท่า และทําให้เกิดระยะพักตัว (lag phase) ประมาณ 1-2 วัน ก่อนจะเริ่มเกิด
การหมัก อย่างไรก็ตาม ความเชื่อเดิมที่ว่า SO2 จะยับยั้งยีสต์ธรรมชาติ แต่ปล่อยให้ S. cerevisiae
เจริญต่อไปนั้น ไม่เป็นความจริง เนื่องจากแม้จะมีการใช้ SO2 ในปริมาณ 50-100 กรัมต่อลิตร
แต่ยีสต์ Kloeckera และ Candida ก็ยังสามารถเจริญได้
2. อุณหภูมิ
อุณหภูมิของการหมักมีผลต่ออัตราการเจริญของยีสต์และระยะเวลาของการหมัก
ปริมาณของยีสต์สปีชีส์ต่างๆ ที่มีผลต่อการหมัก และปฏิกิริยาชีวเคมีของยีสต์ที่มีผลต่อองค์ประกอบ
ทางเคมีและรสชาติของไวน์ อัตราการเจริญของยีสต์จะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจาก 10-25 °C
ไวน์ขาวมักจะหมักที่อุณหภูมิ 10-20°C และไวน์แดงจะหมักที่อุณหภูมิ 20-30 °C ปัจจุบันผู้ผลิต
มักหมักไวน์ขาวที่อุณหภูมิตํ่า เพื่อรักษาสารระเหยให้กลิ่นรสไว้ให้ได้มากที่สุด และมีการพัฒนายีสต์
ที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิตํ่า การหมักที่อุณหภูมิต่างๆ มีผลต่อปฏิกิริยาชีวเคมีของยีสต์ด้วย
ในการหมักที่อุณหภูมิตํ่า จะมีการผลิตแอลกอฮอล์โมเลกุลสูงในปริมาณลดลง แต่จะมีการผลิตสาร
พวกเอสเทอร์ ในปริมาณมากขึ้น ได้แก่ isoamyl acetate isobutyl acetate และ ethyl acetate
เป็นต้น ดังนั้นไวน์ขาวที่ต้องการกลิ่นรสจากการหมัก จึงนิยมหมักที่อุณหภูมิตํ่า ส่วนไวน์แดง
6
หมักที่อุณหภูมิสูงกว่าไวน์ขาว เพื่อให้เกิดการสกัดสีจากเปลือกองุ่น แต่ก็ไม่ใช้อุณหภูมิสูงเกินไป
ซึ่งจะทําให้เกิดการผลิตสารแอลกอฮอล์โมเลกุลสูง ที่ทําให้เกิดกลิ่นรสที่ไม่พึงประสงค์ และอุณหภูมิที่สูงไป
อาจทําให้ยีสต์ชะงักการเจริญได้
3. ปริมาณนํ้าตาล
นํ้าตาลในนํ้าองุ่น มีปริมาณระหว่าง 125-250 กรัมต่อลิตร เป็นนํ้าตาลกลูโคสและฟรุคโตส
อย่างละเท่าๆ กัน นํ้าองุ่นบางชนิดอาจมีนํ้าตาลสูงมากถึง 400 กรัมต่อลิตร เช่นองุ่นที่เกิดเชื้อรา
Botrytis cinerea อัตราการหมักของ S. cerevisiae จะลดลง เมื่อความเข้มข้นของนํ้าตาลสูงเกิน
200 กรัมต่อลิตร (ประมาณ 20 บริกส์)
4. ความเป็นกรด-ด่าง (PH)
นํ้าองุ่น มี pH อยู่ในช่วง 3.0-4.0 ขึ้นกับปริมาณกรดทาร์ทาริก และกรดมาลิกในนํ้าองุ่น
อัตราการเจริญของ S. cerevisiae จะลดลงเมื่อ pH ลดลง จาก 3.5 เป็น 3.0 และยีสต์ชนิดอื่นๆ
ก็มีแนวโน้มเช่นเดียวกัน
การใช้ประโยชน์จากยีสต์ในปัจจุบัน
1. ทําอาหารหมักบางชนิด ได้แก่ ข้าวหมาก สาโท และกระแช่
2. ประโยชน์ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น การทําขนมปัง ไวน์ เหล้า เบียร์ แอลกอฮอล์ และอาหาร
เสริมโปรตีน ฯลฯ อุตสาหกรรมสังเคราะห์วิตามิน เอนไซม์ และไขมัน
3. ทางด้านการประมงหรือการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า ในการเป็นอาหารสําหรับเลี้ยงอาหารธรรมชาติ
เพราะยีสต์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก คือขนาดประมาณ 3-4 ไมครอน และสามารถดําเนินการเพาะเลี้ยง
ได้ค่อนข้างง่ายมาก คือ 1. ใช้ภาชนะขนาดเล็ก ขวดนํ้าดื่มพลาสติก
2. ใช้เวลาในการเพาะขยายพันธุ์ค่อนข้างเร็ว เพียง 2-3 วัน
3. อาหารที่ใช้ในการเลี้ยงจัดเตรียมได้ง่าย คือใช้เฉพาะแป้งและนํ้าตาล
7
วิธีการเพาะเลี้ยงยีสต์
การเพาะเลี้ยงยีสต์เพื่อเป็นอาหารเลี้ยงอาหารธรรมชาติที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า เช่น
ไรแดง โรติเฟอร์ หรืออาร์ทีเมีย จะง่ายกว่าการเพาะเลี้ยงยีสต์ในกิจการอื่นๆ เช่นการผลิตเหล้า เบียร์ และ
ไวน์ เพราะการเพาะเลี้ยงยีสต์เพื่อนําไปเป็นอาหารเลี้ยงอาหารธรรมชาติของสัตว์นํ้านั้น ไม่ต้องระมัดระวัง
เรื่องการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ
ข้อสําคัญ คือ พยายามใช้ภาชนะที่มีปากขนาดเล็กและสะอาด เพื่อลดการปนเปื้อนจาก
จุลินทรีย์ชนิดอื่นๆให้เกิดน้อยที่สุด ได้แก่ ขวดนํ้าดื่ม ขวดนํ้าอัดลมพลาสติก ขนาดตั้งแต่ 600 750 1,000
1,250 2,000 และ 2,500 มิลลิลิตร หรือถังใส่นํ้ายาชนิดต่างๆและถังนํ้ามันเครื่อง ขนาดความจุ
2.5 – 5 ลิตร หรือถังนํ้า 20 ลิตร ที่ใช้กับเครื่องทํานํ้าเย็น
ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงยีสต์
1. เตรียมภาชนะ ล้างนํ้าให้สะอาด เช่น ขวดนํ้าดื่ม 1.5 ลิตร
2. เตรียมอาหารที่ใช้เลี้ยง ได้แก่ นํ้าตาลทรายชนิดใดก็ได้ แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวโพด หรือ
แป้งโฮลวีท
3. เตรียมเชื้อยีสต์ (หาซื้อได้ตามซุปเปอร์มาเกต บรรจุขวด ขวดละประมาณ 15 กรัม ราคาขวดละ
25 – 35 บาท)
4. การดําเนินการ 4.1 เติมนํ้าประมาณ 0.5 ลิตร ลงในขวด
4.2 เติมนํ้าตาล ใช้นํ้าตาลทรายประมาณ 5.0 กรัม (ประมาณ 1 ช้อนชา
แล้วเขย่าให้นํ้าตาลละลายให้หมด)
4.3 เติมแป้ง ใช้แป้งประมาณ 1.5 กรัม (ประมาณ 1 ช้อนชา แล้วเขย่า
ให้ละลาย)
4.4 เติมเชื้อยีสต์ ประมาณ 0.5 กรัม (ประมาณ 1/4 ช้อนชา) ละลายนํ้าในแก้ว
หรือถ้วย (ขยี้ให้ยีสต์ละลายนํ้าให้หมด) แล้วเทใส่ลงในขวด
8
4.5 เติมนํ้าเปล่าเพิ่มลงในขวดให้ได้ปริมาตร 1 ลิตร (ประมาณค่อนขวด) ปิดฝา
ให้แน่นแล้วเขย่าขวดแรงๆให้ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วคลายเกลียวฝาขวดให้ปิดพอหลวมๆ วางขวดไว้
ในที่ร่ม (มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาตลอดเวลา ความดันในขวดจะสูงมาก)
4.6 หมั่นเขย่าขวดวันละ 4 – 5 ครั้ง (ก่อนเขย่าควรปิดฝาให้แน่นก่อน
แล้วคลายเกลียวเหมือนเดิม)
5. การเก็บเกี่ยวผลผลิต วันที่ 3 จากการดําเนินการ ยีสต์จะแพร่พันธุ์เพิ่มจํานวนขึ้นอย่างมากมาย
ก็สามารถนํานํ้าในขวดไปเทให้ไรแดง โรติเฟอร์ หรืออาร์ทีเมียได้
ข้อควรระวังในการเพาะเลี้ยงยีสต์
ควรใช้ยีสต์จากขวดเพาะให้หมดภายใน 3 – 5 วัน เพราะในการเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์
ของยีสต์ จะมีการผลิตแอลกอฮอล์เกิดขึ้นตลอดเวลา
9
แป้งโฮลวีท
ภาพขนมปังโฮลวีท
ที่มา : https://www.smk.co.th/newsdetail/380
สืบค้นเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566
ความหมาย
ขนมปังโฮลวีท (Whole Wheat Bread) คือ ขนมปังที่ทํามาจากเมล็ดข้าวสาลีทั้งเมล็ด
ส่วนขนมปังธัญพืช (Whole Grain Bread) หมายถึง ขนมปังที่ทํามาจากเมล็ดพืชต่าง ๆ เช่น ข้าวโอ๊ต
ข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี หรือธัญพืชไม่ขัดสีชนิดต่าง ๆ รวมกัน ต่างจากขนมปังโฮลวีท (Wheat Bread) หรือ
มัลติเกรน (Multi Grain) ซึ่งอาจทํามาจากธัญพืชที่ผ่านการขัดสีบางส่วน ขนมปังโฮลวีทจึงอุดมไปด้วย
ไฟเบอร์และสารอาหารต่าง ๆ เช่น วิตามินอี วิตามินบี หรือสารต้านอนุมูลอิสระ ต่างจากขนมปังขาว
ที่ผ่านกระบวนการแปรรูป ทําให้ได้รับสารอาหารต่าง ๆ น้อยกว่า ทําให้ผู้คนเชื่อว่า ร่างกายจะได้รับ
ประโยชน์จากขนมปังโฮลวีทมากกว่าขนมปังขาว
10
ประโยชน์ของขนมปังโฮลวีท
1. ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
2. ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (Stoke) โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery
Disease) และโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Diseases)
3. ช่วยควบคุมนํ้าหนัก ทําให้รู้สึกอิ่มนาน
4. ช่วยระบบขับถ่ายให้ทํางานได้ดีเป็นปกติ
นํ้าหมัก
ภาพนํ้าหมัก
ที่มา : https://www.google.com/search?q=%E0
ความหมาย
Infused Water หรือ นํ้าหมักผลไม้ คือเครื่องดื่มที่เรานําผลไม้ ผัก หรือสมุนไพรต่างๆ
ที่เราชื่นชอบ ใส่ลงไปในนํ้าเปล่าปกติที่เราดื่มกันทุกวันเพื่อเพิ่มเติมรสชาติให้นํ้าเปล่า มีความหวาน
เปรี้ยวจากตัวผลไม้หรือสมุนไพรที่เราเติมลงไปโดยไม่มีการเติมนํ้าตาลเพิ่ม ทําให้ผู้ดื่มรู้สึกสดชื่นได้
โดยไม่ต้องดื่มนํ้าหวานเลยทีเดียว
11
แอปเปิล
ภาพลักษณะของแอปเปิ้ล
ที่มา : https://th.m.wikipedia.org/wiki/
ความหมาย
แอปเปิล (อังกฤษ: apple ชื่อวิทยาศาสตร์: Malus domestica) เป็นต้นไม้ผลัดใบ
ในวงศ์กุหลาบ มีผลรสหวานเรียกว่า ผลแอปเปิล แอปเปิลมีปลูกอยู่ทั่วโลกในลักษณะของไม้ผล
และสายพันธุ์ที่ถูกปลูกมากที่สุดคือสกุล Malus ต้นแอปเปิลมีต้นกําเนิดในเอเชียกลาง ซึ่งบรรพบุรุษ
คือ Malus sieversii ยังคงพบได้ในปัจจุบัน แอปเปิลมีปลูกเป็นเวลาหลายพันปีในเอเชียและยุโรป
และกลุ่มอาณานิคมชาวยุโรปนํามาปลูกที่อเมริกาเหนือ แอปเปิลมีความสําคัญทางศาสนาและเทพปกรณัม
ในหลายวัฒนธรรม รวมถึงนอร์ส กรีก และประเพณีต่าง ๆ ของคริสต์ศาสนิกชนของชาวยุโรปต้นแอปเปิล
จะมีขนาดใหญ่หากเติบโตจากเมล็ด แต่จะมีขนาดเล็กถ้าถูกตัดต่อเนื้อเยื่อเข้ากับราก ปัจจุบันมีแอปเปิล
ที่พันธุ์ปลูกมากกว่า 7,500 ชนิด ทําให้แอปเปิลมีลักษณะพิเศษหลากหลาย พันธุ์ปลูกแต่ละพันธุ์
จะมีรสชาติแตกต่างกัน และการนําไปใช้ต่างกันด้วย เช่น นําไปประกอบอาหาร กินดิบ หรือนําไปผลิต
ไซเดอร์ ปกติแอปเปิลจะแพร่พันธุ์ด้วยการตัดต่อเนื้อเยื่อ แต่แอปเปิลป่าจะเติบโตได้เองจากเมล็ด
12
ต้นแอปเปิลและผลแอปเปิลอาจประสบปัญหาจากจากเห็ดรา แบคทีเรีย และศัตรูพืชต่าง ๆ ซึ่งอาจ
ควบคุมได้ด้วยวิธีการทางเกษตรอินทรีย์และอนินทรีย์หลายวิธี ใน ค.ศ. 2010 มีการถอดรหัสจีโนมของ
แอปเปิล เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยควบคุมโรคและการคัดเลือกผสมพันธุ์ในการผลิตแอปเปิล
คุณค่าทางโภชนาการ
คุณค่าทางโภชนาการของ แอปเปิล 100 กรัม ให้พลังงาน 52 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต
13.81 กรัม นํ้าตาล 10.39 กรัม เส้นใย 2.4 กรัม ไขมัน 0.17 กรัม โปรตีน 0.26 กรัม นํ้า 85.56 กรัม
วิตามินเอ 3 ไมโครกรัม เบต้าแคโรทีน 27 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.017 มิลลิกรัม
วิตามินบี2 0.026 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.091 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.061 มิลลิกรัม
วิตามินบี6 0.041 มิลลิกรัม วิตามินบี9 3 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.6 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.18 มิลลิกรัม
วิตามินเค 2.2 ไมโครกรัม แคลเซียม 6 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.12 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 5 มิลลิกรัม
แมงกานีส 0.035 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 107 มิลลิกรัม โซเดียม 1 มิลลิกรัม
สังกะสี 0.04 มิลลิกรัม ฟลูออไรด์ 3.3 ไมโครกรัม
13
กล้วย
ภาพลักษณะของกล้วย
ที่มา : https://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/2058/banana-กล้วย
ความหมาย
กล้วย เป็นพรรณไม้ล้มลุกในสกุล Musa มีหลายชนิดในสกุล บางชนิดก็ออกหน่อ
แต่บางชนิดก็ไม่ออกหน่อ ใบแบนยาวใหญ่ ก้านใบตอนล่างเป็นกาบยาวหุ้มห่อซ้อนกันเป็นลําต้น ออกดอก
ที่ปลายลําต้นเป็น ปลี และมักยาวเป็นงวง มีลูกเป็นหวี ๆ รวมเรียกว่า เครือ พืชบางชนิดมีลําต้น
คล้ายปาล์ม ออกใบเรียงกันเป็นแถวทํานองพัดคลี่ คล้ายใบกล้วย เช่น กล้วยพัด (Ravenala
madagascariensis) ทว่าความจริงแล้วเป็นพืชในสกุลอื่น ที่มิใช่ทั้งปาล์มและกล้วย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กล้วยเป็นไม้ล้มลุกขนาดใหญ่ ทุกส่วนเหนือพื้นดินของกล้วยเจริญจากส่วนที่เรียกว่า "หัว"
หรือ "เหง้า” ปกติแล้ว ต้นกล้วยจะสูงและแข็งแรงพอสมควร ทําให้เข้าใจผิดว่าเป็นต้นไม้ ซึ่งแท้จริงแล้ว
ส่วนที่คล้ายกับลําต้นคือ "ลําต้นเทียม" (pseudostem) ใบของกล้วยประกอบด้วย "ก้านใบ" (petiole)
14
และแผ่นใบ (lamina) ฐานก้านใบแผ่ออกเป็นกาบ กาบที่รวมตัวกันอย่างหนาแน่นทําให้เกิดลําต้นเทียม
มีหน้าที่ชูก้านใบ พยุงให้พืชตั้งตรงดูคล้ายต้นไม้ เมื่อแรกเจริญขอบของกาบจะจรดกันคล้ายท่อ
เมื่อมีใบเจริญขึ้นใหม่ที่ใจกลางลําต้นเทียม ขอบกาบที่จรดกันนั้นก็จะแยกออกจากกัน พันธุ์กล้วยนั้น
มีความผันแปรมากขึ้นอยู่กับพันธุ์ปลูกและสภาพแวดล้อม โดยมาก สูงประมาณ 5 เมตร จาก
'กล้วยหอมแคระ (Dwarf Cavendish)' ซึ่งสูงประมาณ 3 เมตร ไปจนถึง 'กล้วยหอมทอง
(Gros Michel)' ที่สูงประมาณ 7 m (23 ft) หรือมากกว่า ใบแรกเจริญจะขดเป็นเกลียวก่อนที่จะแผ่ออก
อาจยาวได้ถึง 2.7 เมตร และกว้าง 60 เซนติเมตร แผ่นใบมีขนาดใหญ่ ปลายใบมน รูปใบขอบขนาน
โคนใบมน มีสีเขียว ใบฉีกขาดได้ง่ายจากลม ทําให้บางครั้งมองดูคล้ายใบเฟิร์น รากเป็นระบบรากฝอย
แผ่ไปทางด้านกว้างมากกว่าทางแนวดิ่งลึก
เมื่อกล้วยเจริญเติบโตเต็มที่ หัวจะสร้างใบสุดท้ายที่เรียกว่า "ใบธง" จากนั้นจะหยุดสร้าง
ใบใหม่ และเริ่มสร้างช่อดอก (inflorescence) ลําต้นที่มีช่อดอกอ่อนบรรจุอยู่ จะพัฒนาขึ้นภายใน
ลําต้นเทียม จนในที่สุดมันก็โผล่ออกที่ด้านบนลําต้นเทียม แต่ละลําต้นเทียมจะสร้างช่อดอกเพียงช่อเดียว
ซึ่งรู้จักกันในชื่อ "ปลี (banana heart)" (บางครั้งมีกรณีพิเศษ เช่นกล้วยในประเทศฟิลิปปินส์สร้างปลี
ขึ้นมาห้าหัว) ช่อดอกประกอบด้วยกลุ่มของช่อดอกย่อยเป็นกลุ่มๆ มีใบประดับสีม่วงแดงหรือที่เรียกว่า
"กาบปลี" (บางครั้งมีการเข้าใจผิดเรียกเป็นกลีบดอก) ระหว่างแถวของช่อดอกย่อย ช่อดอกย่อยแต่ละช่อ
มีดอกเรียงซ้อนกันอยู่ 2 แถว ดอกตัวเมีย (ที่สามารถเจริญเป็นผลได้) จะอยู่ในช่อดอกย่อยที่บริเวณ
โคนปลี (ใกล้กับใบ) ดอกตัวผู้จะอยู่ที่ปลายปลี หรือส่วนที่เรียกว่า "หัวปลี" รังไข่อยู่ตํ่ากว่าซึ่งหมายความว่า
กลีบดอกขนาดเล็กและส่วนอื่นๆ ของดอกจะอยู่ในปลายรังไข่ หลังให้ผล ลําต้นเทียมจะตายลง
แต่หน่อหรือตะเกียงจะพัฒนาขึ้นจากตา (bud) ที่หัว ส่งผลให้กล้วยเป็นพืชหลายปี หากเกิดขึ้นหลายหน่อ
พร้อมกันจะเรียกว่า "การแตกกอ" ในระบบการเพาะปลูก จะอนุญาตให้เจิญเติบโตเพียงหน่อเดียวเท่านั้น
เพื่อให้ง่ายต่อการจัดสรรพื้นที่
ผลกล้วยพัฒนาจากดอกเพศเมีย กลุ่มของดอกเพศเมีย 1 กลุ่มเจริญเป็นผลเรียกว่า "หวี
(hands)" ซึ่งหวีหนึ่งๆ มีผลกล้วยประมาณ 20 ผล กลุ่มหวีบนช่อดอกเจริญเป็น "เครือ (banana stem)"
ซึ่งอาจมี 3-20 หวี ผลของกล้วยมีการเจริญได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ จึงทําให้กล้วยส่วนใหญ่ไม่มีเมล็ด
15
ผลกล้วยได้รับการบรรยายเป็น "leathery berry (ลูกเบอร์รี่ที่คล้ายแผ่นหนัง)" มีชั้นป้องกัน
ภายนอก (เปลือก) มีสายบางๆ ตามยาว (มัดท่อลําเลียงโฟลเอ็ม) อยู่ระหว่างเปลือกและส่วนที่รับประทาน
ได้ภายใน เนื้อกล้วยมีเนื้อนิ่มสีเหลือง มีรสหวานคล้ายขนม เมล็ดกล้วยมีลักษณะกลมเล็ก บางพันธุ์
มีขนาดใหญ่ เปลือกหนาแข็ง มีสีดํา สําหรับในสายพันธุ์ปลูก เมล็ดกล้วยมีขนาดเล็กมากเกือบจะไม่มีเลย
เหลือแค่เพียงจุดสีดําเล็กๆ ภายในเนื้อกล้วยเท่านั้น
ข้อมูลโภชนาการต่อ 100 กรัม
พลังงาน 89 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 22.84 กรัม นํ้าตาล 12.23 กรัม เส้นใย 2.6 กรัม
ไขมัน 0.33 กรัม โปรตีน 1.09 กรัม วิตามินบี 1 0.031 มิลลิกรัม 3% วิตามินบี 2 0.073 มิลลิกรัม 6%
วิตามินบี 3 0.665 มิลลิกรัม 4% วิตามินบี 5 0.334 มิลลิกรัม 7% วิตามินบี 6 0.4 มิลลิกรัม 31%
วิตามินบี 9 20 ไมโครกรัม 5% โคลีน 9.8 มิลลิกรัม 2% วิตามินซี 8.7 มิลลิกรัม 10%
ธาตุเหล็ก 0.26 มิลลิกรัม 2% ธาตุแมกนีเซียม 27 มิลลิกรัม 8% ธาตุแมงกานีส 0.27 มิลลิกรัม 13%
ธาตุฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม 3% โพแทสเซียม 358 มิลลิกรัม 8% ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม 0%
ธาตุสังกะสี 0.15 มิลลิกรัม 2% ธาตุฟลูออไรด์ 2.2 ไมโครกรัม
ประเภทของกล้วย
กล้วย ทั่วโลกมีกล้วยอยู่ประมาณ 200-300 ชนิด สําหรับชนิดของกล้วยที่มีในประเทศไทย
นั้นได้เก็บรวบรวมพันธุ์ไว้เมื่อปี พ.ศ.2524 ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
1. กล้วยป่าออร์นาตา ปลูกกันแถบภาคเหนือ นิยมเรียก “กล้วยบัว” หรือ บางท้องถิ่นเรียกว่า
“กล้วยป่า” (ลําปาง)
2. กล้วยป่าอะคิวมินาตา กล้วยในกลุ่มนี้มีแพร่หลายในประเทศไทย แต่ละถิ่นอาจเรียกชื่อต่างกัน เช่น ที่
จังหวัดสงขลา เรียก “กล้วยทอง” ที่จังหวัดแพร่ จังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดลําปาง เรียก “กล้วยแข”
3. กล้วยในสายพันธุ์อะคิวมินาตา คัลทิฟาร์ กล้วยในกลุ่มนี้ มีหลายชนิด เช่น กล้วยนากกล้วยชนิดนี้
มีการเรียกต่างกันหลายแห่ง ที่จังหวัดพะเยาและจังหวัดแพร่ เรียก “กล้วยนํ้าครั่ง”
จังหวัดนครศรีธรรมราชเรียก “กล้วยกุ้ง”ส่วนที่จังหวัดสุรินทร์ เรียก “กล้วยครั่ง” กล้วยหอมเขียว
ที่จังหวัดแพร่ เรียกกล้วยคร้าว จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียก “กล้วยเขียวคอหักหรือกล้วยเขียว”
16
ส่วนที่จังหวัดพะเยา เรียก “กล้วยหอมคร้าว” กล้วยกุ้งเขียว เป็นลูกผ่าเหล่าของกล้วยนาก ที่จังหวัดแพร่
เรียก “กล้วยหอมทอง”กล้วยหอมค่อม ที่จังหวัดพัทลุง และจังหวัดอุบลราชธานี เรียก
“กล้วยเตี้ย” จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียกกล้วยไข่บอง ที่จังหวัดนครราชสีมา เรียก “กล้วยไข่
พระตะบอง” เป็นต้น
4. กล้วยป่าบาลบิเชียน่า นิยมเรียก “กล้วยตานี” มีแพร่หลายทั่วประเทศไทย ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
เรียก “กล้วยพองลา” ส่วนที่จังหวัดแพร่และจังหวัดลําปาง เรียก “กล้วยป่า”
5. กล้วยลูกผสมอะคิวมินาตากับบาลบิเชียน่า กล้วยในกลุ่มนี้ มีหลายชนิด เช่น กล้วยเงิน
เป็นกล้วยที่หาพันธุ์ยาก มีเฉพาะที่จังหวัดสงขลากล้วยนํ้าพัด ที่จังหวัดจันทบุรี เรียก “กล้วยนํ้ากาบดํา”
กล้วยทองเดช มีการปลูกมากในจังหวัดสงขลากล้วยนางนวล มีการปลูกมากในจังหวัดสงขลา
กล้วยไข่โบราณ มีเฉพาะที่จังหวัดตราด เป็นกล้วยที่หาพันธุ์ยากเช่นกันกล้วยนํ้า มีหลายถิ่นเรียกต่างกัน
ที่จังหวัดนครนายก เรียก “กล้วยหอมนางนวล” จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียก “กล้วยแก้ว”
จังหวัดสกลนายกและจังหวัดชัยภูมิ เรียก “กล้วยหอม” จังหวัดยโสธร เรียก “กล้วยหอมเล็ก”
และที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เรียก “กล้วยหอมจันทร์” กล้วยนํ้าว้า ปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย
ที่จังหวัดแพร่ เรียก “กล้วยนํ้าว้าเหลือง” จังหวัดเชียงราย เรียก “กล้วยใต้” กล้วยนํ้าว้าค่อม
มีลักษณะแคระ กลายพันธุ์มาจากกล้วยนํ้าว้ากล้วยนํ้าว้าขาว เนื้อของผลมีสีขาว กลายพันธุ์มาจากกล้วย
นํ้าว้ากล้วยนํ้าว้าแดง เนื้อของผลมีสีแดง กลายพันธุ์มาจากกล้วยนํ้าว้าเช่นกัน บางทีเรียกต่างกัน
ที่จังหวัดชัยภูมิ เรียก “กล้วยอ่อง” จังหวัดนครสวรรค์ เรียก “กล้วยสุกไสแดง” ส่วนจังหวัดแพร่
เรียก “กล้วยนํ้าว้าในออก”กล้วยเทพรส ที่จังหวัดเชียงราย เรียก “กล้วยทิพย์คุ้ม” กล้วยพญา
มีการปลูกมากในจังหวัดสงขลากล้วยส้ม ที่จังหวัดจันทบุรี เรียก “กล้วยหักมุก” เป็นต้น
17
องุ่น
ภาพลักษณะขององุ่น
ที่มา : https://th.m.wikipedia.org/wiki/
ความหมาย
องุ่น เป็นพืชยืนต้น มีลักษณะเป็นไม้พุ่มเลื้อย มีลักษณะเนื้อแข็งและมีลําต้น กิ่งถาวรอายุเกิน
1 ฤดู ถ้าปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติจะเลื้อยเกาะกิ่งไม้ ใบกลมขอบหยักเว้าลึก 5 พู โคนใบเว้า
เป็นรูปหัวใจ ดอกออกเป็นช่อแยกแขนง ดอกย่อยขนาดเล็กสีเขียวมีหมวก จะหลุดออกเมื่อกลีบดอก
เปลี่ยนเป็นสีขาว โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 กลีบ เป็นผลเดี่ยวที่ออกเป็นพวง (เป็นผลเดี่ยวที่เกิดจาก
ดอกช่อแต่ดอกไม่หลอมรวมกัน) ผลย่อยรูปกลมรีและฉํ่านํ้า มีผิวนวลเกาะและรสหวาน มีสีเขียว ม่วงแดง
และม่วงดําแล้วแต่พันธุ์ ในผลมีเมล็ดประมาณ 1-4 เมล็ด
สรรพคุณทางยาและคุณค่าทางอาหาร
องุ่นมีสารอาหารที่สําคัญคือ นํ้าตาลและสารอาหารจําพวกกรดอินทรีย์ เช่น นํ้าตาลกลูโคส
นํ้าตาลซูโคส วิตามินซี เหล็ก และแคลเซียม องุ่นยังสามารถนําไปทําเป็นเหล้าองุ่นซึ่งเป็นเหล้าบํารุง
ใช้เป็นยา การรับประทานองุ่นเป็นประจํามีส่วนช่วยในการบํารุงสมอง บํารุงหัวใจ แก้กระหาย
ขับปัสสาวะ และบํารุงกําลัง คนที่ร่างกายผอมแห้ง แก่ก่อนวัยและไม่มีเรี่ยวแรง หากรับประทานองุ่น
เป็นประจําจะสามารถช่วยเสริมทําให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นได้ ส่วนเครือและรากมีฤทธิ์ในการขับลม
18
ขับปัสสาวะ รักษาโรคไขข้ออักเสบ ปวดเอ็น และปวดกระดูก อีกทั้งยังมีฤทธิ์ระงับประสาท แก้ปวดและ
แก้อาเจียนอีกด้วยองุ่นม่วง หรือ เขียวคุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์ ) พลังงาน 288
กิโลจูล (69 กิโลแคลอรี) คาร์โบไฮเดรต 18.1 กรัม นํ้าตาล15.48 กรัม ใยอาหาร0.9 กรัม ไขมัน 0.16 กรัม
โปรตีน 0.72 กรัม และอื่นๆ
แคนตาลูป
ภาพลักษณะของแคนตาลูป
ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/
ความหมาย
แคนตาลูป (อังกฤษ: cantaloupe) หรือเรียกกันว่า แตงแคนตาลูป มีชื่อทางวิทยาศาสตร์
ว่า Cucumis melo L. var. cantaloupensis แคนตาลูปมีถิ่นกําเนิดอยู่ที่ประเทศอินเดีย แล้วมีผู้นําเข้า
ไปปลูกที่เมืองคันตาลูโปซึ่งอยู่ใกล้กับกรุงโรม ประเทศอิตาลี จึงได้รับการตั้งชื่อว่า "(แตง) คันตาลูโป"
และกลายเป็น "แคนตาลูป" ในภาษาอังกฤษ
19
ลักษณะโดยทั่วไป
มีลักษณะคล้าย แตงไทย คนไทยจึงเรียกว่า แตงเทศ หรือแตงฝรั่ง หรือแตงไทยฝรั่ง มีผลกลม
ผิวของผลสีเขียว หรือสีนํ้าตาลคลํ้า หรือสีเหลือง หรือสีขาว ทั้งนี้แล้วแต่พันธุ์ ผิวของผลหยาบ
มีเปลือกแข็ง มีร่องลึกรอบ ๆ ผล เปลือกมีลายคล้ายร่างแหหรือตาข่ายสีขาว หรือสีฟางแห้งคลุม
ตลอดทั้งผล แต่บางพันธุ์ก็ไม่มี บางพันธุ์มีผิวเรียบ ๆ เมื่อสุกเนื้อในมีสีส้ม หรือ สีจําปา มีกลิ่นหอม รส
หวาน
ประเภทของแคนตาลูป
แคนตาลูปเนื้อสีเขียวหรือเขียวขาวเป็นพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศมีทั้งผิวเรียบ และผิวลาย
ตาข่าย ผลสุกเปลือกสีเขียว ครีมเหลือง และเหลือทอง เนื้อมีทั้งเนื้อกรอบและเนื้อนุ่ม รสหวาน และ
มีกลิ่นหอม เช่น พันธุ์เจดคิด ฮันนี่ดิว ฮันนี่เวิลด์ และวีนัสไฮบริด เป็นต้น
แคนตาลูปเนื้อสีเขียว (170 กรัม ประมาณ 6 ชิ้น) พลังงาน63 กิโลแคลอรีนํ้า156 กรัม
นํ้าตาล 10 กรัม ใยอาหาร 1 กรัม เบต้าแคโรทีน 47 ไมโครกรับวิตามินซี 22 มิลลิกรัม และ
โพแทสเซียม 276 มิลลิกรัม
แคนตาลูปเนื้อสีส้มผลมีทั้งผิวเรียบและผิวลายเป็นตาข่าย ผลสุกเปลือกสีครีม และสีเหลือง
เนื้อมีทั้งเนื้อกรอบและเนื้อนุ่ม รถหวาน และมีกลิ่นหอมค่อนข้างแรง ได้แก่ พันธุ์ซันเลดี้ ท๊อบมาร์ค นิวเอ็ม
เมลลอน และนิวเซนต์จูรี เป็นต้น
แคนตาลูปเนื้อสีเหลือง (180 กรัม ประมาณ 6 ชิ้น) พลังงาน54 กิโลแคลอรี นํ้า 166 กรัม
นํ้าตาล 18 กรัม ใยอาหาร 2.4 กรัม เบต้าแคโรทีน390 ไมโครกรัม วิตามินซี 24 มิลลิกรัม และ
โพแทสเซียม 286 มิลลิกรัม
ประโยชน์
ในแคนตาลูปสุกครึ่งลูก มีสารอาหารต่างๆ มากมาย ซึ่งใกล้เคียงกับส้มเขียวหวาน
และถ้าซื้อแคนตาลูปในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลของแคนตาลูป จะมีสารอาหารจําพวก
ไรโบฟลาวิน ไนอาซิน ไทอามิน และวิตามินซีสูงเป็นพิเศษ สารอาหารในแคนตาลูป ช่วยบํารุงกระดูก
20
และฟัน เนื้อผลสุก เป็นยาขับปัสสาวะ ขับนํ้านม ขับเหงื่อ ดับพิษร้อน บํารุงธาตุ และสมอง
ช่วยบรรเทาอาการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ แก้กระหาย สมัยก่อนฝรั่งเชื่อกันว่ากินแคนตาลูปแล้ว
ทําให้สายตาดี และมีสติ จะคิดจะทําสิ่งใดก็ได้ตามความมุ่งหมาย นํ้าแคนตาลูป นอกจากดื่มแก้กระหาย
คลายร้อน ช่วงเดือนเมษายนได้อย่างดีแล้ว ยังช่วยลดไข้ เพราะแคนตาลูปเป็นผลไม้เย็น ส่วนนํ้าตาล
และเอ็นไซม์ที่มีอยู่ในแคนตาลูป ยังช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการอักเสบของลําไส้
และบรรเทาอาการท้องปั่นป่วนจากการรับประทานอาหารไม่ตรงตามเวลาได้
21
ข้าว
ภาพลักษณะของเมล็ดข้าว
ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/
ความหมาย
ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Poaceae เมล็ดใช้เป็นอาหาร ชนิดที่ให้เมล็ด
เป็นอาหารหลักของไทย คือ Oryza sativa L. โดยมากปลูกกัน ๒ พันธุ์ คือ ข้าวเจ้า และข้าวเหนียว
สารอาหารและความสําคัญทางโภชนาการของข้าว
ข้าวเป็นอาหารหลักของประชากรกว่าครึ่งโลก ข้าวเป็นแหล่งพลังงานหลักของประชากร
มากกว่า 17 ประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก 9 ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือและใต้ และ 8 ประเทศ
ในทวีปแอฟริกา ร้อยละ 20 ของแหล่งพลังงานประชากรโลกเป็นข้าว ร้อยละ 19 และ 5 เป็นข้าวสาลี
และข้าวโพด การวิเคราะห์รายละเอียดของปริมาณสารอาหารของข้าวที่แสดงให้เห็นว่าคุณค่า
ทางโภชนาการของข้าวแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ โดยขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ข้าว
ที่อยู่ระหว่างสีขาว, สีนํ้าตาล, สีแดงและสีดํา (หรือสีม่วง) พันธุ์ข้าวแต่ละพื้นที่แพร่หลายในส่วนต่างๆ
ของโลก นอกจากนี้คุณภาพของสารอาหารข้าวจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ปลูกข้าว และวิธีการแปรรูปข้าว
ก่อนที่จะบริโภค
22
สารประกอบอินทรีย์
ความหมาย
สารประกอบที่มีอะตอมของคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก โดยคําว่า อินทรีย์ มาจากคําว่า
Organic หมายถึงร่างกาย หรือสิ่งมีชีวิต ดังนั้น สารประกอบอินทรีย์จึงเป็นสารประกอบที่เกี่ยวข้อง
กับสิ่งมีชีวิต ในสมัยก่อนนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า สารอินทรีย์ ได้มาจากสิ่งมีชีวิตเท่านั้น แต่เมื่อ ฟริดริด
วูห์เลอร์ นักเคมีชาวเยอรมัน ได้สังเคราะห์ยูเรีย ซึ่งพบในปัสสาวะของสิ่งมีชีวิต จากการเผา
แอมโมเนียมไซยาเนต ( NH4OCN ) ซึ่งเป็นสารอนินทรีย์ได้ ความเชื่อนั้นจึงเปลี่ยนไป
ปัจจุบันนักเคมีได้สังเคราะห์สารอินทรีย์ได้อย่างมากมาย และยังก่อให้เกิดอุตสาหกรรมด้านเคมีอีกด้วย
การศึกษาเกี่ยวกับสารอินทรีย์จึงทําให้เข้าใจถึงสมบัติของสารประกอบอินทรีย์ได้อย่างลึกซึ้ง และ
มีความจําเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
ประเภทของสารประกอบอินทรีย์
การแบ่งประเภทของสารประกอบอินทรีย์สามารถแบ่งกลุ่มได้ตามชนิดของธาตุองค์ประกอบ
ได้แก่ 1. สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ได้แก่สารที่ประกอบไปด้วยอะตอมไฮโดรเจนและคาร์บอนเท่านั้น
2. สารอินทรีย์ที่มีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ สารจําพวกแอลกอฮอล์ แอลดีไฮด์
กรดอินทรีย์ อีเทอร์ เอสเทอร์ และคีโตน เป็นต้น
3. สารอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ เอมีน
4. สารอินทรีย์ที่มีทั้งออกซิเจนและไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ เอไมด์
23
การใช้ประโยชน์ของสารประกอบอินทรีย์ชนิดต่างๆ
ปัจจุบันมีการนําสารประกอบอินทรีย์ประเภทต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจําวัน
และวงการอุตสาหกรรมเคมีอย่างแพร่หลาย ดังนี้
1. แอลเคน
1.1 มีเทนใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานไฟฟ้า และใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเคมีภัณฑ์ต่างๆ ได้แก่ เมทานอล
อีเทน และโพรเพน
1.2 แก๊สผสมระหว่าง โพรเพนกับบิวเทนใช้เป็นแก๊สหุงต้มตามบ้าน
1.3 พาราฟิน ซึ่งเป็นแอลเคนที่มีนํ้าหนักโมเลกุลสูงสุด ใช้เคลือบผิวผลไม้ เพื่อรักษาความชุ่มชื้น
2. แอลคีน
2.1 อีทีนและโพรพีน ( C2H4 และ C3H6 ) ชื่อสามัญคือเอทิลีนและโพรพิลีน ตามลําดับ ใช้เป็นสารตั้งต้น
ในการผลิตพอลิเมอร์ประเภทพอลิเอทิลีนและพอลิโพรพิลีน ตามลําดับ
2.2 แอลคีนบางชนิดใช้เป็นสารปรุงแต่งกลิ่นอาหาร เช่น ลิโมนีน ( Limonene ) ซึ่งให้กลิ่นมะนาว
2.3 ใช้แอลคีนเป็นสารตั้งต้นในการในอุตสาหกรรมผลิตเอทานอล พลาสติก และสารซักฟอก
3. แอลไคน์
แก๊สผสมระหว่างอะเซทิลีน ( C2H2 ) กับแก๊สออกซิเจน ในอัตราส่วนที่เหมาะสม จะได้เปลวไฟ
ออกซีอะเซทิลีน ให้ความร้อนถึง 3000 °C จึงใช้เชื่อมและตัดโลหะได้
24
4. เบนซีนและอนุพันธ์
4.1 เบนซีน ใช้เป็นตัวทําละลายและสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารประกอบต่างๆ แต่การสูดดมเบนซีน
ในปริมาณมากๆ ทําให้เกิดอาการคลื่นเหียน และอาจถึงตายได้เนื่องจากระบบหายใจล้มเหลว ดังนั้น
ห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับเบนซีน จึงต้องมีอากาศถ่ายเทอย่างดี หรือถ้าไม่จําเป็นควรใช้โทลูอีน
เป็นตัวทําละลายแทน
4.2 โทลูอีน ใช้เป็นตัวทําละลายสําหรับแล็กเกอร์ ใช้ทําสี ยา และวัตถุระเบิด
4.3 ไซลีน ใช้เป็นตัวทําละลายสําหรับนํ้ามัน ใช้ทําความสะอาดสไลด์และเลนส์กล้องจุลทรรศน์
4.4 ไนโตรเบนซีน ใช้ในการผลิตอนิลีน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของการผลิตสีย้อมและยาต่างๆ
5. แอลกอฮอล์
5.1 เมทานอล ใช้เป็นตัวทําละลายพวกแลกเกอร์ที่ใช้กับงานไม้ ใช้ในการจุดตะเกียง ในการล้างเล็บ
มีราคาถูกกว่า เอทิลแอลกอฮอล์ เป็นส่วนในเชื้อเพลิงเครื่องบิน ผสมกับแก๊สโซลีน ในประเทศเมืองหนาว
จะมีการเติมเข้าไปผสมในหม้อนํ้าป้องกันการแข็งตัวของนํ้า เมื่อเกิดอากาศหนาวจัด
5.2 เอทานอล ในภาคอุตสาหกรรมนําไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เป็นสารตั้งต้น ในการทางการแพทย์
นําไปใช้เกี่ยวกับยาบางชนิด ใช้ในการฆ่าเชื้อโรค หรือเป็นส่วนผสมของเครื่องสําอาง อย่างเช่น นํ้าหอม
สบู่ เป็นต้น และที่ใช้ในสุรา หรือของมึนเมาทุกชนิด ใช้ในการรื่นเริง การพบปะสังสรรค์
6. อีเทอร์
เอทอกซีอีเทน ( CH3CH2OCH2CH3 ) ใช้เป็นตัวทําละลายสารในห้องปฏิบัติการและในอุตสาหกรรม
เนื่องจากอีเทอร์สามารถละลายสารประกอบอินทรีย์ได้หลายชนิด เกิดปฏิกิริยากับสารอื่นได้ยาก
และแยกออกได้ง่ายเมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยาเนื่องจากอีเทอร์มีจุดเดือดตํ่า
25
7. แอลดีไฮด์และคีโตน ทั้งแอลดีไฮด์และคีโตนถูกนํามาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ส่วนใหญ่ใช้เป็น
ตัวทําละลายและเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์ชนิดอื่น ได้แก่
7.1 ฟอร์มาลดีไฮด์ มีสถานะเป็นก๊าซที่อุณหภูมิห้อง มีกลิ่นฉุน เมื่ออยู่ในรูปสารละลายในนํ้า เรียกว่า
ฟอร์มาลิน เป็นสารที่ใช้ในการฉีดศพ เพื่อรักษาสภาพไม่ให้เน่าเปื่อย และใช้ดองสัตว์หรือพืชเพื่อศึกษา
ทางชีววิทยาและทางการแพทย์ ฟอร์มาลินมีพิษมาก ถ้าสูดดมเข้าไปจะทําให้ระบบหายใจและ
หลอดลมอักเสบ ถ้าเข้าตาจะทําให้เยื่อตาอักเสบและยังเป็นอันตรายต่อผิวหนัง
7.2 แอซีโตน ( โพรพาโนน ) เป็นของเหลวระเหยง่าย ละลายนํ้าได้ดี สามารถละลายสารอื่นๆ ได้ดี
จึงใช้เป็นตัวทําละลายพลาสติกและแลกเกอร์ แอซีโตนเป็นสารที่ไวไฟมากจึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง
ถ้าสูดดมไอระเหยของสารนี้เข้าไปจะทําให้เกิดอาการมึนงง ซึมและหมดสติ
8. กรดคาร์บอกซิลิก
8.1 กรดฟอร์มิก ( Formic acid ) หรือกรดมด เป็นกรดคาร์บอกซิลิกที่มีจํานวนอะตอมของคาร์บอนน้อย
ที่สุดพบในผึ้งและมดแต่ส่วนใหญ่ได้จากการสังเคราะห์ ใช้เป็นสารที่ช่วยให้เนื้อยางในนํ้ายางดิบรวมตัวกัน
เป็นก้อนและใช้ในอุตสาหกรรมฟองหนังและอุตสาหกรรมย้อมผ้า
8.2 กรดแอซิติก ( Acetic acid ) หรือกรดนํ้าส้ม ได้จากการหมักนํ้าตาล ผลไม้ หรือจากการหมัก
เอทานอล ใช้ปรุงแต่งอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติ
8.3 กรดแอลฟาไฮดรอกซีหรือเอเอชเอ ( alpha hydroxyl acids, AHAs ) หรือกรดไกลโคลิก
เป็นกรดคาร์บอกซิลที่เกิดในธรรมชาติพบในผลไม้ นม ต้นอ้อย ซึ่งปัจจุบันมีการนํามาใช้เป็นส่วนผสมของ
ผลิตภัณฑ์ที่ทําให้หน้าใสไร้ริ้วรอย
26
9. เอมีน
9.1 เอมีนหลายชนิดใช้ผลิตสารกําจัดแมลง กําจัดวัชพืช ยาฆ่าเชื้อ ยา สีย้อม สบู่ เครื่องสําอางต่างๆ
9.2 เอมีนบางชนิดพบในร่างกาย เช่น อะดรีนาลิน เป็นฮอร์โมนที่เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ทําให้นํ้าตาล
ในเลือดเพิ่มขึ้น
9.3 เอมีนที่เรียกว่าแอลคาลอยด์ พบอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น เมล็ด ดอก ใบ เปลือก หรือ ราก ได้แก่
มอร์ฟีนซึ่งสกัดจากต้นฝิ่นใช้เป็นยาบรรเทาปวด โคเคนพบในใบโคคาใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ ควินิน
จากเปลือกของต้นซินโคนาใช้เป็นยารักษาโรคมาเลเรีย แอมเฟตามีนเป็นเอมีนสังเคราะห์ชนิดหนึ่ง
ใช้เป็นส่วนประกอบในสารเสพติด เช่น ยาบ้า ยาอี ยาไอซ์
10. เอไมด์
เอไมด์ที่ใช้มาก ได้แก่ อะเซตามิโนเฟน หรืออีกชื่อหนึ่งคือพาราเซตามอล หรือไทลินอล ใช้ผสม
ในยาบรรเทาปวดและลดไข้
ภาพยาพาราเซตามอลซึ่งใช้อะเซตามิเฟนเป็นตัวยาหลักในการผลิต
ที่มา : https://pixabay.com, PublicDomainPictures
27
บทที่ 3
วิธีดําเนินการทดลอง
วัสดุอุปกรณ์
1. แป้งโฮลวีท
2. นํ้าเปล่า
3. นํ้าหมักแอปเปิล
4. นํ้าหมักกล้วย
5. นํ้าหมักองุ่น
6. นํ้าหมักแคนตาลูป
7. นํ้าหมักข้าว
8. ขวดแก้ว
9 หม้อ
10. ผ้าขาวบาง
11. ช้อนตวง 15 mL
12. ไม้บรรทัด
13. หนังยาง
28
วิธีการทดลอง
1. นําขวดแก้วไปต้มในนํ้าร้อนเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
2. แบ่งการทดลองเป็น 2 ชุด คือ ชุดควบคุม และชุดทดลอง ดังนี้
ชุดควบคุม ขวดที่ 1 แป้งโฮลวีทผสมกับนํ้าเปล่า
ชุดทดลอง ขวดที่ 2 แป้งโฮลวีทผสมกับนํ้าหมักแอปเปิล
ขวดที่ 3 แป้งโฮลวีทผสมกับนํ้าหมักกล้วย
ขวดที่ 4 แป้งโฮลวีทผสมกับนํ้าหมักองุ่น
ขวดที่ 5 แป้งโฮลวีทผสมกับนํ้าหมักแคนตาลูป
ขวดที่ 6 แป้งโฮลวีทผสมกับนํ้าหมักข้าว
3. นําแป้ง 30 mL ใส่ลงไปในแต่ละขวด แล้วใส่นํ้าและนํ้าหมักชนิดต่างๆ อย่างละ 30 mL ตามลงไป
4. คนส่วนผสมทุกชนิดให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วจึงปิดปากขวดแก้วด้วยผ้าขาวบาง
5. ใช้หนังยางรัดขวดแก้วบริเวณสูงสุดของแป้งที่ผสมกับนํ้าและนํ้าหมักชนิดต่างๆ และวัดความสูง
โดยใช้ไม้บรรทัดวัดจากฐานขวดแก้วจนถึงหนังยาง นับเป็นปริมาณเริ่มต้นของยีสต์ในการทดลอง ซึ่งจะอยู่
ที่ 3.0 เซนติเมตร เท่ากันทุกขวด
6. สังเกตการเจริญเติบโตของยีสต์ในเวลา 20.00 น. ของทุกวัน โดยเลื่อนหนังยางจากปริมาณเริ่มต้นของ
ยีสต์ในการทดลองไปยังบริเวณสูงสุดของยีสต์ในขวดแก้ว จากนั้นวัดการเจริญเติบโตของยีสต์ในขวดแก้ว
จากฐานขวดแก้วไปยังหนังยาง แล้วบันทึกผล
7. ทําซํ้าข้อที่ 6 จนครบ 5 วัน
29
บทที่ 4
ผลการทดลอง
จากการศึกษาการเจริญเติบโตของยีสต์ โดยใช้นํ้าและนํ้าหมักชนิดต่างๆ ได้ผลการทดลอง
ดังนี้
ตารางที่ 1 ตารางแสดงการเจริญเติบโตของยีสต์ (เซนติเมตร)
การเจริญเติบโตของยีสต์ (เซนติเมตร)
หมายเลข
ขวด
ชนิดนํ้าหมัก วันที่ 1 วันที่ 2 วันที่ 3 วันที่ 4 วันที่ 5 ค่าเฉลี่ย
กลุ่มควบคุม
1 นํ้าเปล่า 3.8 3.5 3.0 3.0 3.0 3.26
กลุ่มทดลอง
2 นํ้าหมักแอปเปิล 4.0 3.5 3.0 3.0 3.0 3.30
3 นํ้าหมักกล้วย 3.7 4.5 3.0 3.0 3.0 3.44
4 นํ้าหมักองุ่น 3.4 3.4 3.0 3.0 3.0 3.16
5 นํ้าหมักแคนตาลูป 3.5 3.5 3.0 3.0 3.0 3.20
6 นํ้าหมักข้าว 3.9 4.0 3.0 3.0 3.0 3.38
30
แผนภูมิที่ 1 แผนภูมิแสดงการเจริญเติบโตของยีสต์ (เซนติเมตร)
31
แผนภูมิที่ 2 แผนภูมิแสดงการเจริญเติบโตเฉลี่ยของยีสต์ (เซนติเมตร)
จากตารางที่ 1 พบว่า วันที่ 1 ขวดที่ 1 มีระดับความสูง 3.8 เซนติเมตร ขวดที่ 2
มีระดับความสูง 4.0 เซนติเมตร ขวดที่ 3 มีระดับความสูง 3.7 เซนติเมตร ขวดที่ 4 มีระดับความสูง
3.4 เซนติเมตร ขวดที่ 5 มีระดับความสูง 3.5 เซนติเมตร และขวดที่ 6 มีระดับความสูง 3.9 เซนติเมตร
วันที่ 2 พบว่า ขวดที่ 1 มีระดับความสูง 3.5 เซนติเมตร ขวดที่ 2 มีระดับความสูง 3.5 เซนติเมตร
ขวดที่ 3 มีระดับความสูง 4.5 เซนติเมตร ขวดที่ 4 มีระดับความสูง 3.4 เซนติเมตร ขวดที่ 5
มีระดับความสูง 3.5 เซนติเมตร และขวดที่ 6 มีระดับความสูง 4.0 เซนติเมตร
32
ภาพการเจริญเติบโตของยีสต์ในวันที่ 2
บันทึกภาพโดย นางสาวปัณณภัทร บุญเทียม
วันที่ 3 พบว่า การเจริญเติบโตของยีสต์มีระดับความสูงลดลงไปเท่ากับปริมาณเริ่มต้นของยีสต์
ในการทดลอง ซึ่งจะอยู่ที่ 3.0 เซนติเมตร เท่ากันทุกขวด
วันที่ 4 และ 5 การเจริญเติบโตของยีสต์มีระดับความสูงคงที่เท่ากับวันที่ 3 ซึ่งจะอยู่ที่ 3.0 เซนติเมตร
เท่ากันทุกขวด
การเจริญเติบโตเฉลี่ยของยีสต์ในขวดที่ 1 มีค่าเฉลี่ยเป็น 3.26 ขวดที่ 2 มีค่าเฉลี่ยเป็น 3.30 ขวดที่ 3
มีค่าเฉลี่ยเป็น 3.44 ขวดที่ 4 มีค่าเฉลี่ยเป็น 3.16 ขวดที่ 5 มีค่าเฉลี่ยเป็น 3.20 และขวดที่ 6
มีค่าเฉลี่ยเป็น 3.38
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักชนิดต่างๆ
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักชนิดต่างๆ
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักชนิดต่างๆ
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักชนิดต่างๆ
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักชนิดต่างๆ
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักชนิดต่างๆ
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักชนิดต่างๆ
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักชนิดต่างๆ
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักชนิดต่างๆ
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักชนิดต่างๆ
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักชนิดต่างๆ
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักชนิดต่างๆ
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักชนิดต่างๆ

More Related Content

What's hot

ตัวอย่างบทคัดย่อ
ตัวอย่างบทคัดย่อตัวอย่างบทคัดย่อ
ตัวอย่างบทคัดย่อsukanya5729
 
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...Suricha Phichan
 
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียนโครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียนพัน พัน
 
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บทรูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บทAekapoj Poosathan
 
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5kessara61977
 
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุงเทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุงBoomCNC
 
โครงงาน เพาว์เวอร์พอย
โครงงาน เพาว์เวอร์พอยโครงงาน เพาว์เวอร์พอย
โครงงาน เพาว์เวอร์พอยNick Nook
 
โครงงานยาเสพติด
โครงงานยาเสพติดโครงงานยาเสพติด
โครงงานยาเสพติดพัน พัน
 
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้thanapisit marakul na ayudhya
 
บทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะ
บทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะบทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะ
บทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะKittichai Pinlert
 
04 บทที่ 4-ผลการดำเนินโครงงาน
04 บทที่ 4-ผลการดำเนินโครงงาน04 บทที่ 4-ผลการดำเนินโครงงาน
04 บทที่ 4-ผลการดำเนินโครงงานTanyarad Chansawang
 
ตัวอย่างชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ตัวอย่างชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์ตัวอย่างชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ตัวอย่างชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์Jiraporn
 
โครงงานเเยมกล้วย(Complete)
โครงงานเเยมกล้วย(Complete)โครงงานเเยมกล้วย(Complete)
โครงงานเเยมกล้วย(Complete)Pongpan Pairojana
 
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงานที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงานPhongsak Kongkham
 
โครงงานการทำขนมเค้ก
โครงงานการทำขนมเค้กโครงงานการทำขนมเค้ก
โครงงานการทำขนมเค้กPloy Siriwanna
 
โครงงานงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ใบฝรั่งลดผมร่วง
โครงงานงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ใบฝรั่งลดผมร่วงโครงงานงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ใบฝรั่งลดผมร่วง
โครงงานงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ใบฝรั่งลดผมร่วงchanon leedee
 
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูด
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูดโครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูด
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูดBio Beau
 
โครงงาน เรื่อง การย้อมผ้าจากเปลือกมังคุด
โครงงาน เรื่อง การย้อมผ้าจากเปลือกมังคุดโครงงาน เรื่อง การย้อมผ้าจากเปลือกมังคุด
โครงงาน เรื่อง การย้อมผ้าจากเปลือกมังคุดพัน พัน
 

What's hot (20)

ตัวอย่างบทคัดย่อ
ตัวอย่างบทคัดย่อตัวอย่างบทคัดย่อ
ตัวอย่างบทคัดย่อ
 
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
 
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียนโครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
 
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บทรูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
 
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
 
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุงเทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง
เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง
 
บทที่1 บทนำ
บทที่1 บทนำบทที่1 บทนำ
บทที่1 บทนำ
 
โครงงาน เพาว์เวอร์พอย
โครงงาน เพาว์เวอร์พอยโครงงาน เพาว์เวอร์พอย
โครงงาน เพาว์เวอร์พอย
 
โครงงานยาเสพติด
โครงงานยาเสพติดโครงงานยาเสพติด
โครงงานยาเสพติด
 
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้
 
บทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะ
บทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะบทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะ
บทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะ
 
04 บทที่ 4-ผลการดำเนินโครงงาน
04 บทที่ 4-ผลการดำเนินโครงงาน04 บทที่ 4-ผลการดำเนินโครงงาน
04 บทที่ 4-ผลการดำเนินโครงงาน
 
ตัวอย่างชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ตัวอย่างชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์ตัวอย่างชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ตัวอย่างชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์
 
โครงงานเเยมกล้วย(Complete)
โครงงานเเยมกล้วย(Complete)โครงงานเเยมกล้วย(Complete)
โครงงานเเยมกล้วย(Complete)
 
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงานที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
 
โครงงานการทำขนมเค้ก
โครงงานการทำขนมเค้กโครงงานการทำขนมเค้ก
โครงงานการทำขนมเค้ก
 
โครงงานงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ใบฝรั่งลดผมร่วง
โครงงานงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ใบฝรั่งลดผมร่วงโครงงานงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ใบฝรั่งลดผมร่วง
โครงงานงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ใบฝรั่งลดผมร่วง
 
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูด
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูดโครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูด
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูด
 
โครงงาน เรื่อง การย้อมผ้าจากเปลือกมังคุด
โครงงาน เรื่อง การย้อมผ้าจากเปลือกมังคุดโครงงาน เรื่อง การย้อมผ้าจากเปลือกมังคุด
โครงงาน เรื่อง การย้อมผ้าจากเปลือกมังคุด
 
กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศกิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศ
 

Similar to โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักชนิดต่างๆ

ชุดกิจกรรม1
ชุดกิจกรรม1ชุดกิจกรรม1
ชุดกิจกรรม1Aon Narinchoti
 
Dooshell
DooshellDooshell
DooshellTaiXing
 
โครงงานเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โครงงานเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโครงงานเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โครงงานเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเจื๋อง เมืองลื้อ
 
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง Bunnaruenee
 
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง Bunnaruenee
 
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง Bunnaruenee
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอมKaRn Tik Tok
 
พันธ์ุบุกในประเทศไทย
พันธ์ุบุกในประเทศไทยพันธ์ุบุกในประเทศไทย
พันธ์ุบุกในประเทศไทยWasan Yodsanit
 
จานรองแก้วกระป๋องโค้ก
จานรองแก้วกระป๋องโค้กจานรองแก้วกระป๋องโค้ก
จานรองแก้วกระป๋องโค้กBenz Paengpipat
 
โครงงาน Banana spit
โครงงาน Banana spitโครงงาน Banana spit
โครงงาน Banana spitsledped39
 
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน IS
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน ISการศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน IS
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน ISRusPateepawanit
 
ขวด Pet รักษ์โลก...นวัตกรรมการผลิตเส้นใยรีไซเคิล group 106
ขวด Pet รักษ์โลก...นวัตกรรมการผลิตเส้นใยรีไซเคิล   group 106ขวด Pet รักษ์โลก...นวัตกรรมการผลิตเส้นใยรีไซเคิล   group 106
ขวด Pet รักษ์โลก...นวัตกรรมการผลิตเส้นใยรีไซเคิล group 106Kinyokung
 

Similar to โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักชนิดต่างๆ (20)

ชุดกิจกรรม1
ชุดกิจกรรม1ชุดกิจกรรม1
ชุดกิจกรรม1
 
Plant hor 7_77_60
Plant hor 7_77_60Plant hor 7_77_60
Plant hor 7_77_60
 
Dooshell
DooshellDooshell
Dooshell
 
โครงงานเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โครงงานเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโครงงานเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โครงงานเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
 
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
 
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
โครงงานข้าวต้มมัดฝอยทอง
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอม
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอม
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอม
 
2560 project
2560 project2560 project
2560 project
 
พันธ์ุบุกในประเทศไทย
พันธ์ุบุกในประเทศไทยพันธ์ุบุกในประเทศไทย
พันธ์ุบุกในประเทศไทย
 
จานรองแก้วกระป๋องโค้ก
จานรองแก้วกระป๋องโค้กจานรองแก้วกระป๋องโค้ก
จานรองแก้วกระป๋องโค้ก
 
โครงงาน Banana spit
โครงงาน Banana spitโครงงาน Banana spit
โครงงาน Banana spit
 
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน IS
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน ISการศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน IS
การศึกษาการเจริญเติบโตระหว่างพืชที่ใช้ปุ๋ยเคมี และออกซิน IS
 
โครงงานเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยน้ำ
โครงงานเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยน้ำโครงงานเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยน้ำ
โครงงานเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยน้ำ
 
ขวด Pet รักษ์โลก...นวัตกรรมการผลิตเส้นใยรีไซเคิล group 106
ขวด Pet รักษ์โลก...นวัตกรรมการผลิตเส้นใยรีไซเคิล   group 106ขวด Pet รักษ์โลก...นวัตกรรมการผลิตเส้นใยรีไซเคิล   group 106
ขวด Pet รักษ์โลก...นวัตกรรมการผลิตเส้นใยรีไซเคิล group 106
 
เนื้อหา
เนื้อหาเนื้อหา
เนื้อหา
 
botany
botanybotany
botany
 
Com project
Com projectCom project
Com project
 

โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักชนิดต่างๆ

  • 1. โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในนํ้าหมักชนิดต่างๆ ชื่อผู้ศึกษา 1. นายพันธุ์ภูมิ โสภารัตน์ เลขที่ 15 2. นายภาณุวิชญ์ เปียงเก๋ เลขที่ 16 3. นางสาวชลธิชา นิรันตร์ เลขที่ 27 4. นางสาวปัณณภัทร บุญเทียม เลขที่ 30 5. นางสาวปิ่นนภา อุดม เลขที่ 31 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4 โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา วิชา เคมีเข้มข้น 6 รหัสวิชา ว30236 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามหลักสูตรมาตรฐานสากล โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37
  • 2. โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในนํ้าหมักชนิดต่างๆ ชื่อผู้ศึกษา 1. นายพันธุ์ภูมิ โสภารัตน์ เลขที่ 15 2. นายภาณุวิชญ์ เปียงเก๋ เลขที่ 16 3. นางสาวชลธิชา นิรันตร์ เลขที่ 27 4. นางสาวปัณณภัทร บุญเทียม เลขที่ 30 5. นางสาวปิ่นนภา อุดม เลขที่ 31 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4 ครูที่ปรึกษาโครงงาน คุณครูไอยเรศ สว่างเมืองวรกุล
  • 3. ก กิตติกรรมประกาศ โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในนํ้าหมัก ชนิดต่างๆ ประกอบการศึกษาวิชาเคมีเข้มข้น 6 โดยมีการสร้างผลงานด้านวิทยาศาสตร์ สามารถ ดําเนินงานไปอย่างมีระบบ ตามขั้นตอนที่วางไว้ จนทําให้งานสําเร็จลุล่วงไปด้วยดี เนื่องจาก การให้คําปรึกษาแนะนํา จากคุณครูไอยเรศ สว่างเมืองวรกุล ครูที่ปรึกษาประจําวิชาเคมีเข้มข้น 6 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งให้ความรู้ทางด้านวิชาการและตลอดจนการให้คําแนะนําในการทําโครงงาน เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในนํ้าหมักชนิดต่างๆ พร้อมทั้งการอธิบายวิธีการทําโครงงาน วิทยาศาสตร์ประเภททดลอง จากคําแนะนําของครูที่ปรึกษา ทําให้กลุ่มข้าพเจ้า มีแนวทางในการดําเนินงานและทํางานกัน ได้อย่างเป็นระบบ จนสําเร็จลุล่วงไปด้วยดี จึงขอขอบพระคุณ คุณครูไอยเรศ สว่างเมืองวรกุล มาไว้ ณ ที่นี้ด้วย คณะผู้จัดทํา
  • 4. ข บทคัดย่อ ชื่อโครงงาน : การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในนํ้าหมักชนิดต่างๆ ชื่อผู้วิจัย : นายพันธุ์ภูมิ โสภารัตน์ นายภาณุวิชญ์ เปียงเก๋ นางสาวชลธิชา นิรันตร์ นางสาวปัณณภัทร บุญเทียม และนางสาวปิ่นนภา อุดม ปีที่จัดทํา : 2566 การจัดทําโครงงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้และประสบการณ์ในการ ทําโครงงาน และเพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของยีสต์ในนํ้าหมักชนิดต่างๆ โดยใช้รูปแบบโครงงาน วิทยาศาสตร์ประเภททดลอง ซึ่งทําการทดลอง 2 ชุด ได้แก่ ชุดควบคุม จํานวน 1 ตัวอย่างการทดลอง และชุดทดลอง จํานวน 5 ตัวอย่างการทดลอง รวม 6 ตัวอย่างการทดลอง โดยสังเกตการเจริญเติบโต ของยีสต์ในเวลา 20.00 น. ของทุกวัน เป็นเวลา 5 วัน จากนั้นติดตามผลการทดลอง สรุปผลการทดลอง และอภิปรายผลการทดลอง เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ถูกต้องและตรงตามความเป็นจริง ผลการศึกษาและจัดทําโครงงานพบว่า ผลการทดลองในครั้งนี้ นํ้าหมักกล้วย มีการเจริญเติบโตของยีสต์สูงสุดจากนํ้าหมักทั้งหมด ซึ่งเป็นผลมากจากการที่กล้วยมีปริมาณสารประกอบ อินทรีย์รวมกันมากกว่าพืชและผลไม้ตัวอย่างที่นํามาทดลอง และยีสต์ใช้สารประกอบอินทรีย์ ในกระบวนการเจริญเติบโต โดยนําคาร์บอนในสารประกอบอินทรีย์มาสร้างเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และแอลกอฮอล์ ซึ่งทําให้ยีสต์ในขวดนํ้าหมักกล้วยสร้างแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้มาก จึงทําให้ แป้งโฮลวีทมีโพรงอากาศมาก ส่งผลให้ขวดนํ้าหมักกล้วยมีระดับความสูง สูงกว่าขวดอื่นๆ จากผลการศึกษายังพบอีกว่า เวลาที่วัดการเจริญเติบโตของยีสต์ควรมีความถี่มากขึ้น และควรทดลองในช่วงที่มีอุณหภูมิคงที่ เพื่อที่จะได้ผลการทดลองที่ละเอียด ถูกต้อง และตรงตาม ความเป็นจริงมากขึ้น คําสําคัญ : ยีสต์ นํ้าหมัก การเจริญเติบโตของยีสต์ สารประกอบอินทรีย์
  • 5. ค คํานํา โครงงานเล่มนี้จัดทําขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา เคมีเข้มข้น 6 รหัสวิชา ว30236 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อพัฒนาความรู้และประสบการณ์ในการทําโครงงาน และเพื่อศึกษา การเจริญเติบโตของยีสต์ในนํ้าหมักชนิดต่างๆ ผู้จัดทําหวังว่าโครงงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน หรือนักเรียนที่สนใจศึกษาข้อมูล ในเรื่องนี้ หากมีข้อแนะนําหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทําขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย คณะผู้จัดทํา
  • 6. ง สารบัญ เรื่อง หน้า กิตติกรรมประกาศ ก บทคัดย่อ ข คํานํา ค สารบัญ ง สารบัญตาราง ฉ สารบัญภาพ ช บทที่ 1 บทนํา 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา 1 วัตถุประสงค์ 2 สมมติฐาน 2 ตัวแปร 2 ขอบเขตของการศึกษา 2 นิยามศัพท์เฉพาะ 3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4 ยีสต์ 4 แป้งโฮลวีท 9 นํ้าหมัก 10 แอปเปิล 11 กล้วย 13 องุ่น 17 แคนตาลูป 18
  • 7. จ สารบัญ (ต่อ) เรื่อง หน้า บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4 ข้าว 21 สารประกอบอินทรีย์ 22 บทที่ 3 วิธีดําเนินการทดลอง 27 วัสดุอุปกรณ์ 27 วิธีการทดลอง 28 บทที่ 4 ผลการทดลอง 29 บทที่ 5 สรุปผล อภิปราย เสนอแนะ 33 สรุปผลการทดลอง 33 อภิปรายผลการทดลอง 34 ปัญหาที่พบในการศึกษา 34 ข้อเสนอแนะ 34 บรรณานุกรม 35 ภาคผนวก 37
  • 9. ช สารบัญภาพ ภาพที่ หน้า 1 ลักษณะของยีสต์ 4 2 ขนมปังโฮลวีท 9 3 นํ้าหมัก 10 4 ลักษณะของแอปเปิล 11 5 ลักษณะของกล้วย 13 6 ลักษณะขององุ่น 17 7 ลักษณะของแคนตาลูป 18 8 ลักษณะของเมล็ดข้าว 21 9 ยาพาราเซตามอลซึ่งใช้อะเซตามิเฟนเป็นตัวยาหลักในการผลิต 26
  • 10. 1 บทที่ 1 บทนํา ที่มาและความสําคัญของปัญหา ยีสต์ เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่สามารถเติบโตได้โดยการย่อยอาหาร และทําให้เกิดการหมัก ยีสต์ชอบอาหารที่มีนํ้าตาลสูง และยีสต์ยังเป็นส่วนผสมสําคัญในการทําขนมปังต่างๆ ทั้งนี้วิธีการเลี้ยงยีสต์ ยังมีหลากหลายวิธี นั่นจึงทําให้เกิดการทดลองเลี้ยงยีสต์ในนํ้าหมักชนิดต่างๆ ยีสต์ เป็นวัตถุดิบสําคัญในอุตสาหกรรมอาหาร โดยเฉพาะการทําขนมปัง เพราะยีสต์จะหมัก นํ้าตาลในแป้ง และปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา เนื่องจากแป้งมีความยืดหยุ่นสูง ทําให้แก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ไม่สามารถออกมาจากแป้งได้ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จึงทําให้เกิดการขยายตัว หรือ ทําให้แป้งพองตัวมีขนาดใหญ่ขึ้น เมื่อนําไปอบจะได้ขนมปังที่มีความแน่นสูง ขนาดใหญ่ เนื้อสัมผัสเยอะ และรสชาติดี นอกจากนี้ยีสต์ยังเป็นแหล่งวิตามินบี โปรตีนที่ประกอบไปด้วยกรดอะมิโนชนิดต่างๆ รวมไปถึงสารอาหารอื่นๆ ที่ให้พลังงาน และคุณประโยชน์แก่ร่างกายมนุษย์ แต่ถ้ายีสต์สามารถหานํ้าตาล เพิ่มได้จากแหล่งอื่นนอกจากแป้ง ทําให้แหล่งอาหารของยีสต์มากขึ้น นั่นคือ ปริมาณแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ที่ยีสต์ปล่อยออกมาก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้ได้ขนมปังมีขนาดใหญ่ขึ้น และ เนื้อสัมผัสมากขึ้น ดังนั้นกลุ่มของข้าพเจ้าจึงต้องการศึกษาการเจริญเติบโตของยีสต์ในนํ้าหมักชนิดต่างๆ โดยทําการทดลอง 2 ชุด ได้แก่ ชุดควบคุม และชุดทดลอง ดังนี้ 1. ชุดควบคุม คือ ชุดของการทดลองที่ใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิง เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากการทดลอง นั่นคือ แป้งโฮลวีทผสมกับนํ้าเปล่า 2. ชุดทดลอง คือ ชุดที่เราใช้ศึกษาผลของตัวแปรต้น นั่นคือ แป้งโฮลวีทผสมกับนํ้าหมักแอปเปิล แป้งโฮลวีทผสมกับนํ้าหมักกล้วย แป้งโฮลวีทผสมกับนํ้าหมักองุ่น แป้งโฮลวีทผสมกับนํ้าหมักแคนตาลูป และแป้งโฮลวีทผสมกับนํ้าหมักข้าว
  • 11. 2 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาความรู้และประสบการณ์ในการทําโครงงาน 2. เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของยีสต์ในนํ้าหมักชนิดต่างๆ สมมติฐาน ถ้าปริมาณนํ้าตาลในนํ้าหมักชนิดต่างๆ มีผลต่อการเจริญเติบโตของยีสต์ ดังนั้นยีสต์ที่เลี้ยงด้วยนํ้าหมักองุ่น จะเจริญเติบโตได้ดีที่สุด ตัวแปร ตัวแปรต้น : นํ้าหมักชนิดต่างๆ ตัวแปรตาม : การเจริญเติบโตของยีสต์ ตัวแปรควบคุม : ปริมาณแป้ง ชนิดของแป้ง ปริมาณนํ้าหมักชนิดต่างๆ ปริมาตรขวด และอุณหภูมิในการ เลี้ยงเพาะเลี้ยงยีสต์ ขอบเขตของการศึกษา การทดลองครั้งนี้มุ่งศึกษาการเจริญเติบโตของยีสต์ โดยกําหนดระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา ระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566
  • 12. 3 นิยามศัพท์เฉพาะ 1. ยีสต์ หมายถึง สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว มีรูปร่างกลม โค้งมนคล้ายไข่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย ประมาณ 5 ไมครอน สามารถมองเห็นภายใต้กล้องจุลทรรศน์เท่านั้น ยีสต์เจริญเติบโตได้โดย การย่อยนํ้าตาล และทําให้เกิดการหมัก โดยยีสต์จะเปลี่ยนนํ้าตาลให้กลายเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และหากยีสต์ใช้เวลาย่อยนํ้าตาลมากเพียงพอจะเกิดแอลกอฮอล์ขึ้น 2. นํ้าหมัก หมายถึง การนําผลไม้ ผัก หรือสมุนไพรต่างๆ ใส่ลงไปในนํ้าเปล่าเพื่อเพิ่มเติมรสชาติให้นํ้าเปล่า มีความหวาน เปรี้ยวจากตัวผลไม้หรือสมุนไพรที่เติมลงไปโดยไม่มีการเติมนํ้าตาลเพิ่ม 3. การเจริญเติบโต หมายถึง การเพิ่มจํานวนและขนาดของเซลล์ สามารถวัดได้จากนํ้าหนัก ความกว้าง ความหนา และความสูง 4. สารประกอบอินทรีย์ หมายถึง สารประกอบที่มีอะตอมของคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. คาดว่าจะได้ประสบการณ์ในการทําโครงงานหรืองานวิจัยต่างๆ 2. คาดว่าจะเกิดความสามัคคีจากการทํางานกลุ่มร่วมกัน 3. คาดว่าจะได้ข้อมูลเพื่อนํามาเป็นแนวทางให้แก่ผู้ที่ต้องการศึกษาการเจริญเติบโตของยีสต์ในนํ้าหมัก ชนิดต่างๆ
  • 13. 4 บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ยีสต์ ภาพลักษณะของยีสต์ ที่มา : https://researchcafe.org/ ความหมาย ยีสต์ หรือ ส่าเหล้า (yeast) คือ รากลุ่มหนึ่งที่ส่วนใหญ่เป็นเซลล์เดี่ยว มีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปร่างกลม รี สามเหลี่ยม รูปร่างแบบมะนาว ฝรั่ง เป็นต้น ส่วนใหญ่มีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยวิธีการแตกหน่อ พบทั่วไปในธรรมชาติในดิน ในนํ้า ในส่วนต่างๆ ของพืช ยีสต์บางชนิดพบอยู่กับแมลง และในกระเพาะของสัตว์บางชนิด แต่แหล่งที่พบยีสต์อยู่บ่อยๆ คือแหล่งที่มีนํ้าตาลความเข้มข้นสูง เช่น นํ้าผลไม้ที่มีรสหวาน ยีสต์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ มักจะปนลงไปในอาหาร เป็นเหตุให้อาหารเน่าเสียได้ มีการนํายีสต์มาใช้ประโยชน์นานมาแล้ว โดยเฉพาะการผลิตอาหารที่มีแอลกอฮอล์ จากคุณสมบัติ ที่มีขนาดเล็กมาก สามารถเพาะเลี้ยงให้เกิดได้ในเวลาอันรวดเร็ว และวิธีการไม่ยุ่งยาก ทําให้ยีสต์ เริ่มมีบทบาทที่สําคัญในวงการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า โดยสามารถนํามาใช้เป็นอาหารสําหรับเลี้ยงอาหาร ธรรมชาติที่สําคัญอีกทีหนึ่ง เช่น ไรแดง โรติเฟอร์ และอาร์ทีเมีย
  • 14. 5 การดํารงชีพ ยีสต์เป็นจุลินทรีย์จําพวกเชื้อรา (Fungi)ที่มีการดํารงชีวิตเป็นเซลล์เดี่ยว และเป็นจุลินทรีย์ ที่พบน้อยชนิดเมื่อเทียบกับจุลินทรีย์อื่นๆ ในประเทศไทยยีสต์มีความหลากหลายของชนิดสูง ยีสต์พบได้ ทั่วไปในสิ่งแวดล้อมทั้งแหล่งที่อยู่ในธรรมชาติ เช่น ดินในป่า นํ้าในป่าชายเลน และใบไม้บนต้น หรือ แหล่งที่อยู่ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น อาหารหมัก ส่วนใหญ่มีรูปร่าง กลม, รี และรูปไข่ ซึ่งยีสต์เป็นจุลินทรีย์ ที่พบน้อยชนิดเมื่อเทียบกับจุลินทรีย์อื่นๆ ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญของยีสต์ 1. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) การเติม SO2 ลงในนํ้าองุ่น (เช่นเติมในรูป KMS) เป็นขั้นตอนที่ปฏิบัติมาเป็นปกติแล้ว ทั้งนี้ เพื่อควบคุมปฏิกิริยาออกซิเดชัน และยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ธรรมชาติ โดยจะลดปริมาณยีสต์เริ่มต้น ในนํ้าองุ่นลงประมาณ 10 เท่า และทําให้เกิดระยะพักตัว (lag phase) ประมาณ 1-2 วัน ก่อนจะเริ่มเกิด การหมัก อย่างไรก็ตาม ความเชื่อเดิมที่ว่า SO2 จะยับยั้งยีสต์ธรรมชาติ แต่ปล่อยให้ S. cerevisiae เจริญต่อไปนั้น ไม่เป็นความจริง เนื่องจากแม้จะมีการใช้ SO2 ในปริมาณ 50-100 กรัมต่อลิตร แต่ยีสต์ Kloeckera และ Candida ก็ยังสามารถเจริญได้ 2. อุณหภูมิ อุณหภูมิของการหมักมีผลต่ออัตราการเจริญของยีสต์และระยะเวลาของการหมัก ปริมาณของยีสต์สปีชีส์ต่างๆ ที่มีผลต่อการหมัก และปฏิกิริยาชีวเคมีของยีสต์ที่มีผลต่อองค์ประกอบ ทางเคมีและรสชาติของไวน์ อัตราการเจริญของยีสต์จะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจาก 10-25 °C ไวน์ขาวมักจะหมักที่อุณหภูมิ 10-20°C และไวน์แดงจะหมักที่อุณหภูมิ 20-30 °C ปัจจุบันผู้ผลิต มักหมักไวน์ขาวที่อุณหภูมิตํ่า เพื่อรักษาสารระเหยให้กลิ่นรสไว้ให้ได้มากที่สุด และมีการพัฒนายีสต์ ที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิตํ่า การหมักที่อุณหภูมิต่างๆ มีผลต่อปฏิกิริยาชีวเคมีของยีสต์ด้วย ในการหมักที่อุณหภูมิตํ่า จะมีการผลิตแอลกอฮอล์โมเลกุลสูงในปริมาณลดลง แต่จะมีการผลิตสาร พวกเอสเทอร์ ในปริมาณมากขึ้น ได้แก่ isoamyl acetate isobutyl acetate และ ethyl acetate เป็นต้น ดังนั้นไวน์ขาวที่ต้องการกลิ่นรสจากการหมัก จึงนิยมหมักที่อุณหภูมิตํ่า ส่วนไวน์แดง
  • 15. 6 หมักที่อุณหภูมิสูงกว่าไวน์ขาว เพื่อให้เกิดการสกัดสีจากเปลือกองุ่น แต่ก็ไม่ใช้อุณหภูมิสูงเกินไป ซึ่งจะทําให้เกิดการผลิตสารแอลกอฮอล์โมเลกุลสูง ที่ทําให้เกิดกลิ่นรสที่ไม่พึงประสงค์ และอุณหภูมิที่สูงไป อาจทําให้ยีสต์ชะงักการเจริญได้ 3. ปริมาณนํ้าตาล นํ้าตาลในนํ้าองุ่น มีปริมาณระหว่าง 125-250 กรัมต่อลิตร เป็นนํ้าตาลกลูโคสและฟรุคโตส อย่างละเท่าๆ กัน นํ้าองุ่นบางชนิดอาจมีนํ้าตาลสูงมากถึง 400 กรัมต่อลิตร เช่นองุ่นที่เกิดเชื้อรา Botrytis cinerea อัตราการหมักของ S. cerevisiae จะลดลง เมื่อความเข้มข้นของนํ้าตาลสูงเกิน 200 กรัมต่อลิตร (ประมาณ 20 บริกส์) 4. ความเป็นกรด-ด่าง (PH) นํ้าองุ่น มี pH อยู่ในช่วง 3.0-4.0 ขึ้นกับปริมาณกรดทาร์ทาริก และกรดมาลิกในนํ้าองุ่น อัตราการเจริญของ S. cerevisiae จะลดลงเมื่อ pH ลดลง จาก 3.5 เป็น 3.0 และยีสต์ชนิดอื่นๆ ก็มีแนวโน้มเช่นเดียวกัน การใช้ประโยชน์จากยีสต์ในปัจจุบัน 1. ทําอาหารหมักบางชนิด ได้แก่ ข้าวหมาก สาโท และกระแช่ 2. ประโยชน์ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น การทําขนมปัง ไวน์ เหล้า เบียร์ แอลกอฮอล์ และอาหาร เสริมโปรตีน ฯลฯ อุตสาหกรรมสังเคราะห์วิตามิน เอนไซม์ และไขมัน 3. ทางด้านการประมงหรือการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า ในการเป็นอาหารสําหรับเลี้ยงอาหารธรรมชาติ เพราะยีสต์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก คือขนาดประมาณ 3-4 ไมครอน และสามารถดําเนินการเพาะเลี้ยง ได้ค่อนข้างง่ายมาก คือ 1. ใช้ภาชนะขนาดเล็ก ขวดนํ้าดื่มพลาสติก 2. ใช้เวลาในการเพาะขยายพันธุ์ค่อนข้างเร็ว เพียง 2-3 วัน 3. อาหารที่ใช้ในการเลี้ยงจัดเตรียมได้ง่าย คือใช้เฉพาะแป้งและนํ้าตาล
  • 16. 7 วิธีการเพาะเลี้ยงยีสต์ การเพาะเลี้ยงยีสต์เพื่อเป็นอาหารเลี้ยงอาหารธรรมชาติที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้า เช่น ไรแดง โรติเฟอร์ หรืออาร์ทีเมีย จะง่ายกว่าการเพาะเลี้ยงยีสต์ในกิจการอื่นๆ เช่นการผลิตเหล้า เบียร์ และ ไวน์ เพราะการเพาะเลี้ยงยีสต์เพื่อนําไปเป็นอาหารเลี้ยงอาหารธรรมชาติของสัตว์นํ้านั้น ไม่ต้องระมัดระวัง เรื่องการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ ข้อสําคัญ คือ พยายามใช้ภาชนะที่มีปากขนาดเล็กและสะอาด เพื่อลดการปนเปื้อนจาก จุลินทรีย์ชนิดอื่นๆให้เกิดน้อยที่สุด ได้แก่ ขวดนํ้าดื่ม ขวดนํ้าอัดลมพลาสติก ขนาดตั้งแต่ 600 750 1,000 1,250 2,000 และ 2,500 มิลลิลิตร หรือถังใส่นํ้ายาชนิดต่างๆและถังนํ้ามันเครื่อง ขนาดความจุ 2.5 – 5 ลิตร หรือถังนํ้า 20 ลิตร ที่ใช้กับเครื่องทํานํ้าเย็น ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงยีสต์ 1. เตรียมภาชนะ ล้างนํ้าให้สะอาด เช่น ขวดนํ้าดื่ม 1.5 ลิตร 2. เตรียมอาหารที่ใช้เลี้ยง ได้แก่ นํ้าตาลทรายชนิดใดก็ได้ แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวโพด หรือ แป้งโฮลวีท 3. เตรียมเชื้อยีสต์ (หาซื้อได้ตามซุปเปอร์มาเกต บรรจุขวด ขวดละประมาณ 15 กรัม ราคาขวดละ 25 – 35 บาท) 4. การดําเนินการ 4.1 เติมนํ้าประมาณ 0.5 ลิตร ลงในขวด 4.2 เติมนํ้าตาล ใช้นํ้าตาลทรายประมาณ 5.0 กรัม (ประมาณ 1 ช้อนชา แล้วเขย่าให้นํ้าตาลละลายให้หมด) 4.3 เติมแป้ง ใช้แป้งประมาณ 1.5 กรัม (ประมาณ 1 ช้อนชา แล้วเขย่า ให้ละลาย) 4.4 เติมเชื้อยีสต์ ประมาณ 0.5 กรัม (ประมาณ 1/4 ช้อนชา) ละลายนํ้าในแก้ว หรือถ้วย (ขยี้ให้ยีสต์ละลายนํ้าให้หมด) แล้วเทใส่ลงในขวด
  • 17. 8 4.5 เติมนํ้าเปล่าเพิ่มลงในขวดให้ได้ปริมาตร 1 ลิตร (ประมาณค่อนขวด) ปิดฝา ให้แน่นแล้วเขย่าขวดแรงๆให้ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วคลายเกลียวฝาขวดให้ปิดพอหลวมๆ วางขวดไว้ ในที่ร่ม (มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาตลอดเวลา ความดันในขวดจะสูงมาก) 4.6 หมั่นเขย่าขวดวันละ 4 – 5 ครั้ง (ก่อนเขย่าควรปิดฝาให้แน่นก่อน แล้วคลายเกลียวเหมือนเดิม) 5. การเก็บเกี่ยวผลผลิต วันที่ 3 จากการดําเนินการ ยีสต์จะแพร่พันธุ์เพิ่มจํานวนขึ้นอย่างมากมาย ก็สามารถนํานํ้าในขวดไปเทให้ไรแดง โรติเฟอร์ หรืออาร์ทีเมียได้ ข้อควรระวังในการเพาะเลี้ยงยีสต์ ควรใช้ยีสต์จากขวดเพาะให้หมดภายใน 3 – 5 วัน เพราะในการเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ ของยีสต์ จะมีการผลิตแอลกอฮอล์เกิดขึ้นตลอดเวลา
  • 18. 9 แป้งโฮลวีท ภาพขนมปังโฮลวีท ที่มา : https://www.smk.co.th/newsdetail/380 สืบค้นเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 ความหมาย ขนมปังโฮลวีท (Whole Wheat Bread) คือ ขนมปังที่ทํามาจากเมล็ดข้าวสาลีทั้งเมล็ด ส่วนขนมปังธัญพืช (Whole Grain Bread) หมายถึง ขนมปังที่ทํามาจากเมล็ดพืชต่าง ๆ เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี หรือธัญพืชไม่ขัดสีชนิดต่าง ๆ รวมกัน ต่างจากขนมปังโฮลวีท (Wheat Bread) หรือ มัลติเกรน (Multi Grain) ซึ่งอาจทํามาจากธัญพืชที่ผ่านการขัดสีบางส่วน ขนมปังโฮลวีทจึงอุดมไปด้วย ไฟเบอร์และสารอาหารต่าง ๆ เช่น วิตามินอี วิตามินบี หรือสารต้านอนุมูลอิสระ ต่างจากขนมปังขาว ที่ผ่านกระบวนการแปรรูป ทําให้ได้รับสารอาหารต่าง ๆ น้อยกว่า ทําให้ผู้คนเชื่อว่า ร่างกายจะได้รับ ประโยชน์จากขนมปังโฮลวีทมากกว่าขนมปังขาว
  • 19. 10 ประโยชน์ของขนมปังโฮลวีท 1. ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 2. ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (Stoke) โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease) และโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Diseases) 3. ช่วยควบคุมนํ้าหนัก ทําให้รู้สึกอิ่มนาน 4. ช่วยระบบขับถ่ายให้ทํางานได้ดีเป็นปกติ นํ้าหมัก ภาพนํ้าหมัก ที่มา : https://www.google.com/search?q=%E0 ความหมาย Infused Water หรือ นํ้าหมักผลไม้ คือเครื่องดื่มที่เรานําผลไม้ ผัก หรือสมุนไพรต่างๆ ที่เราชื่นชอบ ใส่ลงไปในนํ้าเปล่าปกติที่เราดื่มกันทุกวันเพื่อเพิ่มเติมรสชาติให้นํ้าเปล่า มีความหวาน เปรี้ยวจากตัวผลไม้หรือสมุนไพรที่เราเติมลงไปโดยไม่มีการเติมนํ้าตาลเพิ่ม ทําให้ผู้ดื่มรู้สึกสดชื่นได้ โดยไม่ต้องดื่มนํ้าหวานเลยทีเดียว
  • 20. 11 แอปเปิล ภาพลักษณะของแอปเปิ้ล ที่มา : https://th.m.wikipedia.org/wiki/ ความหมาย แอปเปิล (อังกฤษ: apple ชื่อวิทยาศาสตร์: Malus domestica) เป็นต้นไม้ผลัดใบ ในวงศ์กุหลาบ มีผลรสหวานเรียกว่า ผลแอปเปิล แอปเปิลมีปลูกอยู่ทั่วโลกในลักษณะของไม้ผล และสายพันธุ์ที่ถูกปลูกมากที่สุดคือสกุล Malus ต้นแอปเปิลมีต้นกําเนิดในเอเชียกลาง ซึ่งบรรพบุรุษ คือ Malus sieversii ยังคงพบได้ในปัจจุบัน แอปเปิลมีปลูกเป็นเวลาหลายพันปีในเอเชียและยุโรป และกลุ่มอาณานิคมชาวยุโรปนํามาปลูกที่อเมริกาเหนือ แอปเปิลมีความสําคัญทางศาสนาและเทพปกรณัม ในหลายวัฒนธรรม รวมถึงนอร์ส กรีก และประเพณีต่าง ๆ ของคริสต์ศาสนิกชนของชาวยุโรปต้นแอปเปิล จะมีขนาดใหญ่หากเติบโตจากเมล็ด แต่จะมีขนาดเล็กถ้าถูกตัดต่อเนื้อเยื่อเข้ากับราก ปัจจุบันมีแอปเปิล ที่พันธุ์ปลูกมากกว่า 7,500 ชนิด ทําให้แอปเปิลมีลักษณะพิเศษหลากหลาย พันธุ์ปลูกแต่ละพันธุ์ จะมีรสชาติแตกต่างกัน และการนําไปใช้ต่างกันด้วย เช่น นําไปประกอบอาหาร กินดิบ หรือนําไปผลิต ไซเดอร์ ปกติแอปเปิลจะแพร่พันธุ์ด้วยการตัดต่อเนื้อเยื่อ แต่แอปเปิลป่าจะเติบโตได้เองจากเมล็ด
  • 21. 12 ต้นแอปเปิลและผลแอปเปิลอาจประสบปัญหาจากจากเห็ดรา แบคทีเรีย และศัตรูพืชต่าง ๆ ซึ่งอาจ ควบคุมได้ด้วยวิธีการทางเกษตรอินทรีย์และอนินทรีย์หลายวิธี ใน ค.ศ. 2010 มีการถอดรหัสจีโนมของ แอปเปิล เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยควบคุมโรคและการคัดเลือกผสมพันธุ์ในการผลิตแอปเปิล คุณค่าทางโภชนาการ คุณค่าทางโภชนาการของ แอปเปิล 100 กรัม ให้พลังงาน 52 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 13.81 กรัม นํ้าตาล 10.39 กรัม เส้นใย 2.4 กรัม ไขมัน 0.17 กรัม โปรตีน 0.26 กรัม นํ้า 85.56 กรัม วิตามินเอ 3 ไมโครกรัม เบต้าแคโรทีน 27 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.017 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.026 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.091 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.061 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.041 มิลลิกรัม วิตามินบี9 3 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.6 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.18 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.2 ไมโครกรัม แคลเซียม 6 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.12 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 5 มิลลิกรัม แมงกานีส 0.035 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 107 มิลลิกรัม โซเดียม 1 มิลลิกรัม สังกะสี 0.04 มิลลิกรัม ฟลูออไรด์ 3.3 ไมโครกรัม
  • 22. 13 กล้วย ภาพลักษณะของกล้วย ที่มา : https://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/2058/banana-กล้วย ความหมาย กล้วย เป็นพรรณไม้ล้มลุกในสกุล Musa มีหลายชนิดในสกุล บางชนิดก็ออกหน่อ แต่บางชนิดก็ไม่ออกหน่อ ใบแบนยาวใหญ่ ก้านใบตอนล่างเป็นกาบยาวหุ้มห่อซ้อนกันเป็นลําต้น ออกดอก ที่ปลายลําต้นเป็น ปลี และมักยาวเป็นงวง มีลูกเป็นหวี ๆ รวมเรียกว่า เครือ พืชบางชนิดมีลําต้น คล้ายปาล์ม ออกใบเรียงกันเป็นแถวทํานองพัดคลี่ คล้ายใบกล้วย เช่น กล้วยพัด (Ravenala madagascariensis) ทว่าความจริงแล้วเป็นพืชในสกุลอื่น ที่มิใช่ทั้งปาล์มและกล้วย ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ กล้วยเป็นไม้ล้มลุกขนาดใหญ่ ทุกส่วนเหนือพื้นดินของกล้วยเจริญจากส่วนที่เรียกว่า "หัว" หรือ "เหง้า” ปกติแล้ว ต้นกล้วยจะสูงและแข็งแรงพอสมควร ทําให้เข้าใจผิดว่าเป็นต้นไม้ ซึ่งแท้จริงแล้ว ส่วนที่คล้ายกับลําต้นคือ "ลําต้นเทียม" (pseudostem) ใบของกล้วยประกอบด้วย "ก้านใบ" (petiole)
  • 23. 14 และแผ่นใบ (lamina) ฐานก้านใบแผ่ออกเป็นกาบ กาบที่รวมตัวกันอย่างหนาแน่นทําให้เกิดลําต้นเทียม มีหน้าที่ชูก้านใบ พยุงให้พืชตั้งตรงดูคล้ายต้นไม้ เมื่อแรกเจริญขอบของกาบจะจรดกันคล้ายท่อ เมื่อมีใบเจริญขึ้นใหม่ที่ใจกลางลําต้นเทียม ขอบกาบที่จรดกันนั้นก็จะแยกออกจากกัน พันธุ์กล้วยนั้น มีความผันแปรมากขึ้นอยู่กับพันธุ์ปลูกและสภาพแวดล้อม โดยมาก สูงประมาณ 5 เมตร จาก 'กล้วยหอมแคระ (Dwarf Cavendish)' ซึ่งสูงประมาณ 3 เมตร ไปจนถึง 'กล้วยหอมทอง (Gros Michel)' ที่สูงประมาณ 7 m (23 ft) หรือมากกว่า ใบแรกเจริญจะขดเป็นเกลียวก่อนที่จะแผ่ออก อาจยาวได้ถึง 2.7 เมตร และกว้าง 60 เซนติเมตร แผ่นใบมีขนาดใหญ่ ปลายใบมน รูปใบขอบขนาน โคนใบมน มีสีเขียว ใบฉีกขาดได้ง่ายจากลม ทําให้บางครั้งมองดูคล้ายใบเฟิร์น รากเป็นระบบรากฝอย แผ่ไปทางด้านกว้างมากกว่าทางแนวดิ่งลึก เมื่อกล้วยเจริญเติบโตเต็มที่ หัวจะสร้างใบสุดท้ายที่เรียกว่า "ใบธง" จากนั้นจะหยุดสร้าง ใบใหม่ และเริ่มสร้างช่อดอก (inflorescence) ลําต้นที่มีช่อดอกอ่อนบรรจุอยู่ จะพัฒนาขึ้นภายใน ลําต้นเทียม จนในที่สุดมันก็โผล่ออกที่ด้านบนลําต้นเทียม แต่ละลําต้นเทียมจะสร้างช่อดอกเพียงช่อเดียว ซึ่งรู้จักกันในชื่อ "ปลี (banana heart)" (บางครั้งมีกรณีพิเศษ เช่นกล้วยในประเทศฟิลิปปินส์สร้างปลี ขึ้นมาห้าหัว) ช่อดอกประกอบด้วยกลุ่มของช่อดอกย่อยเป็นกลุ่มๆ มีใบประดับสีม่วงแดงหรือที่เรียกว่า "กาบปลี" (บางครั้งมีการเข้าใจผิดเรียกเป็นกลีบดอก) ระหว่างแถวของช่อดอกย่อย ช่อดอกย่อยแต่ละช่อ มีดอกเรียงซ้อนกันอยู่ 2 แถว ดอกตัวเมีย (ที่สามารถเจริญเป็นผลได้) จะอยู่ในช่อดอกย่อยที่บริเวณ โคนปลี (ใกล้กับใบ) ดอกตัวผู้จะอยู่ที่ปลายปลี หรือส่วนที่เรียกว่า "หัวปลี" รังไข่อยู่ตํ่ากว่าซึ่งหมายความว่า กลีบดอกขนาดเล็กและส่วนอื่นๆ ของดอกจะอยู่ในปลายรังไข่ หลังให้ผล ลําต้นเทียมจะตายลง แต่หน่อหรือตะเกียงจะพัฒนาขึ้นจากตา (bud) ที่หัว ส่งผลให้กล้วยเป็นพืชหลายปี หากเกิดขึ้นหลายหน่อ พร้อมกันจะเรียกว่า "การแตกกอ" ในระบบการเพาะปลูก จะอนุญาตให้เจิญเติบโตเพียงหน่อเดียวเท่านั้น เพื่อให้ง่ายต่อการจัดสรรพื้นที่ ผลกล้วยพัฒนาจากดอกเพศเมีย กลุ่มของดอกเพศเมีย 1 กลุ่มเจริญเป็นผลเรียกว่า "หวี (hands)" ซึ่งหวีหนึ่งๆ มีผลกล้วยประมาณ 20 ผล กลุ่มหวีบนช่อดอกเจริญเป็น "เครือ (banana stem)" ซึ่งอาจมี 3-20 หวี ผลของกล้วยมีการเจริญได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ จึงทําให้กล้วยส่วนใหญ่ไม่มีเมล็ด
  • 24. 15 ผลกล้วยได้รับการบรรยายเป็น "leathery berry (ลูกเบอร์รี่ที่คล้ายแผ่นหนัง)" มีชั้นป้องกัน ภายนอก (เปลือก) มีสายบางๆ ตามยาว (มัดท่อลําเลียงโฟลเอ็ม) อยู่ระหว่างเปลือกและส่วนที่รับประทาน ได้ภายใน เนื้อกล้วยมีเนื้อนิ่มสีเหลือง มีรสหวานคล้ายขนม เมล็ดกล้วยมีลักษณะกลมเล็ก บางพันธุ์ มีขนาดใหญ่ เปลือกหนาแข็ง มีสีดํา สําหรับในสายพันธุ์ปลูก เมล็ดกล้วยมีขนาดเล็กมากเกือบจะไม่มีเลย เหลือแค่เพียงจุดสีดําเล็กๆ ภายในเนื้อกล้วยเท่านั้น ข้อมูลโภชนาการต่อ 100 กรัม พลังงาน 89 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 22.84 กรัม นํ้าตาล 12.23 กรัม เส้นใย 2.6 กรัม ไขมัน 0.33 กรัม โปรตีน 1.09 กรัม วิตามินบี 1 0.031 มิลลิกรัม 3% วิตามินบี 2 0.073 มิลลิกรัม 6% วิตามินบี 3 0.665 มิลลิกรัม 4% วิตามินบี 5 0.334 มิลลิกรัม 7% วิตามินบี 6 0.4 มิลลิกรัม 31% วิตามินบี 9 20 ไมโครกรัม 5% โคลีน 9.8 มิลลิกรัม 2% วิตามินซี 8.7 มิลลิกรัม 10% ธาตุเหล็ก 0.26 มิลลิกรัม 2% ธาตุแมกนีเซียม 27 มิลลิกรัม 8% ธาตุแมงกานีส 0.27 มิลลิกรัม 13% ธาตุฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม 3% โพแทสเซียม 358 มิลลิกรัม 8% ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม 0% ธาตุสังกะสี 0.15 มิลลิกรัม 2% ธาตุฟลูออไรด์ 2.2 ไมโครกรัม ประเภทของกล้วย กล้วย ทั่วโลกมีกล้วยอยู่ประมาณ 200-300 ชนิด สําหรับชนิดของกล้วยที่มีในประเทศไทย นั้นได้เก็บรวบรวมพันธุ์ไว้เมื่อปี พ.ศ.2524 ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้ 1. กล้วยป่าออร์นาตา ปลูกกันแถบภาคเหนือ นิยมเรียก “กล้วยบัว” หรือ บางท้องถิ่นเรียกว่า “กล้วยป่า” (ลําปาง) 2. กล้วยป่าอะคิวมินาตา กล้วยในกลุ่มนี้มีแพร่หลายในประเทศไทย แต่ละถิ่นอาจเรียกชื่อต่างกัน เช่น ที่ จังหวัดสงขลา เรียก “กล้วยทอง” ที่จังหวัดแพร่ จังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดลําปาง เรียก “กล้วยแข” 3. กล้วยในสายพันธุ์อะคิวมินาตา คัลทิฟาร์ กล้วยในกลุ่มนี้ มีหลายชนิด เช่น กล้วยนากกล้วยชนิดนี้ มีการเรียกต่างกันหลายแห่ง ที่จังหวัดพะเยาและจังหวัดแพร่ เรียก “กล้วยนํ้าครั่ง” จังหวัดนครศรีธรรมราชเรียก “กล้วยกุ้ง”ส่วนที่จังหวัดสุรินทร์ เรียก “กล้วยครั่ง” กล้วยหอมเขียว ที่จังหวัดแพร่ เรียกกล้วยคร้าว จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียก “กล้วยเขียวคอหักหรือกล้วยเขียว”
  • 25. 16 ส่วนที่จังหวัดพะเยา เรียก “กล้วยหอมคร้าว” กล้วยกุ้งเขียว เป็นลูกผ่าเหล่าของกล้วยนาก ที่จังหวัดแพร่ เรียก “กล้วยหอมทอง”กล้วยหอมค่อม ที่จังหวัดพัทลุง และจังหวัดอุบลราชธานี เรียก “กล้วยเตี้ย” จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียกกล้วยไข่บอง ที่จังหวัดนครราชสีมา เรียก “กล้วยไข่ พระตะบอง” เป็นต้น 4. กล้วยป่าบาลบิเชียน่า นิยมเรียก “กล้วยตานี” มีแพร่หลายทั่วประเทศไทย ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียก “กล้วยพองลา” ส่วนที่จังหวัดแพร่และจังหวัดลําปาง เรียก “กล้วยป่า” 5. กล้วยลูกผสมอะคิวมินาตากับบาลบิเชียน่า กล้วยในกลุ่มนี้ มีหลายชนิด เช่น กล้วยเงิน เป็นกล้วยที่หาพันธุ์ยาก มีเฉพาะที่จังหวัดสงขลากล้วยนํ้าพัด ที่จังหวัดจันทบุรี เรียก “กล้วยนํ้ากาบดํา” กล้วยทองเดช มีการปลูกมากในจังหวัดสงขลากล้วยนางนวล มีการปลูกมากในจังหวัดสงขลา กล้วยไข่โบราณ มีเฉพาะที่จังหวัดตราด เป็นกล้วยที่หาพันธุ์ยากเช่นกันกล้วยนํ้า มีหลายถิ่นเรียกต่างกัน ที่จังหวัดนครนายก เรียก “กล้วยหอมนางนวล” จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียก “กล้วยแก้ว” จังหวัดสกลนายกและจังหวัดชัยภูมิ เรียก “กล้วยหอม” จังหวัดยโสธร เรียก “กล้วยหอมเล็ก” และที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เรียก “กล้วยหอมจันทร์” กล้วยนํ้าว้า ปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ที่จังหวัดแพร่ เรียก “กล้วยนํ้าว้าเหลือง” จังหวัดเชียงราย เรียก “กล้วยใต้” กล้วยนํ้าว้าค่อม มีลักษณะแคระ กลายพันธุ์มาจากกล้วยนํ้าว้ากล้วยนํ้าว้าขาว เนื้อของผลมีสีขาว กลายพันธุ์มาจากกล้วย นํ้าว้ากล้วยนํ้าว้าแดง เนื้อของผลมีสีแดง กลายพันธุ์มาจากกล้วยนํ้าว้าเช่นกัน บางทีเรียกต่างกัน ที่จังหวัดชัยภูมิ เรียก “กล้วยอ่อง” จังหวัดนครสวรรค์ เรียก “กล้วยสุกไสแดง” ส่วนจังหวัดแพร่ เรียก “กล้วยนํ้าว้าในออก”กล้วยเทพรส ที่จังหวัดเชียงราย เรียก “กล้วยทิพย์คุ้ม” กล้วยพญา มีการปลูกมากในจังหวัดสงขลากล้วยส้ม ที่จังหวัดจันทบุรี เรียก “กล้วยหักมุก” เป็นต้น
  • 26. 17 องุ่น ภาพลักษณะขององุ่น ที่มา : https://th.m.wikipedia.org/wiki/ ความหมาย องุ่น เป็นพืชยืนต้น มีลักษณะเป็นไม้พุ่มเลื้อย มีลักษณะเนื้อแข็งและมีลําต้น กิ่งถาวรอายุเกิน 1 ฤดู ถ้าปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติจะเลื้อยเกาะกิ่งไม้ ใบกลมขอบหยักเว้าลึก 5 พู โคนใบเว้า เป็นรูปหัวใจ ดอกออกเป็นช่อแยกแขนง ดอกย่อยขนาดเล็กสีเขียวมีหมวก จะหลุดออกเมื่อกลีบดอก เปลี่ยนเป็นสีขาว โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 กลีบ เป็นผลเดี่ยวที่ออกเป็นพวง (เป็นผลเดี่ยวที่เกิดจาก ดอกช่อแต่ดอกไม่หลอมรวมกัน) ผลย่อยรูปกลมรีและฉํ่านํ้า มีผิวนวลเกาะและรสหวาน มีสีเขียว ม่วงแดง และม่วงดําแล้วแต่พันธุ์ ในผลมีเมล็ดประมาณ 1-4 เมล็ด สรรพคุณทางยาและคุณค่าทางอาหาร องุ่นมีสารอาหารที่สําคัญคือ นํ้าตาลและสารอาหารจําพวกกรดอินทรีย์ เช่น นํ้าตาลกลูโคส นํ้าตาลซูโคส วิตามินซี เหล็ก และแคลเซียม องุ่นยังสามารถนําไปทําเป็นเหล้าองุ่นซึ่งเป็นเหล้าบํารุง ใช้เป็นยา การรับประทานองุ่นเป็นประจํามีส่วนช่วยในการบํารุงสมอง บํารุงหัวใจ แก้กระหาย ขับปัสสาวะ และบํารุงกําลัง คนที่ร่างกายผอมแห้ง แก่ก่อนวัยและไม่มีเรี่ยวแรง หากรับประทานองุ่น เป็นประจําจะสามารถช่วยเสริมทําให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นได้ ส่วนเครือและรากมีฤทธิ์ในการขับลม
  • 27. 18 ขับปัสสาวะ รักษาโรคไขข้ออักเสบ ปวดเอ็น และปวดกระดูก อีกทั้งยังมีฤทธิ์ระงับประสาท แก้ปวดและ แก้อาเจียนอีกด้วยองุ่นม่วง หรือ เขียวคุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์ ) พลังงาน 288 กิโลจูล (69 กิโลแคลอรี) คาร์โบไฮเดรต 18.1 กรัม นํ้าตาล15.48 กรัม ใยอาหาร0.9 กรัม ไขมัน 0.16 กรัม โปรตีน 0.72 กรัม และอื่นๆ แคนตาลูป ภาพลักษณะของแคนตาลูป ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ ความหมาย แคนตาลูป (อังกฤษ: cantaloupe) หรือเรียกกันว่า แตงแคนตาลูป มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Cucumis melo L. var. cantaloupensis แคนตาลูปมีถิ่นกําเนิดอยู่ที่ประเทศอินเดีย แล้วมีผู้นําเข้า ไปปลูกที่เมืองคันตาลูโปซึ่งอยู่ใกล้กับกรุงโรม ประเทศอิตาลี จึงได้รับการตั้งชื่อว่า "(แตง) คันตาลูโป" และกลายเป็น "แคนตาลูป" ในภาษาอังกฤษ
  • 28. 19 ลักษณะโดยทั่วไป มีลักษณะคล้าย แตงไทย คนไทยจึงเรียกว่า แตงเทศ หรือแตงฝรั่ง หรือแตงไทยฝรั่ง มีผลกลม ผิวของผลสีเขียว หรือสีนํ้าตาลคลํ้า หรือสีเหลือง หรือสีขาว ทั้งนี้แล้วแต่พันธุ์ ผิวของผลหยาบ มีเปลือกแข็ง มีร่องลึกรอบ ๆ ผล เปลือกมีลายคล้ายร่างแหหรือตาข่ายสีขาว หรือสีฟางแห้งคลุม ตลอดทั้งผล แต่บางพันธุ์ก็ไม่มี บางพันธุ์มีผิวเรียบ ๆ เมื่อสุกเนื้อในมีสีส้ม หรือ สีจําปา มีกลิ่นหอม รส หวาน ประเภทของแคนตาลูป แคนตาลูปเนื้อสีเขียวหรือเขียวขาวเป็นพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศมีทั้งผิวเรียบ และผิวลาย ตาข่าย ผลสุกเปลือกสีเขียว ครีมเหลือง และเหลือทอง เนื้อมีทั้งเนื้อกรอบและเนื้อนุ่ม รสหวาน และ มีกลิ่นหอม เช่น พันธุ์เจดคิด ฮันนี่ดิว ฮันนี่เวิลด์ และวีนัสไฮบริด เป็นต้น แคนตาลูปเนื้อสีเขียว (170 กรัม ประมาณ 6 ชิ้น) พลังงาน63 กิโลแคลอรีนํ้า156 กรัม นํ้าตาล 10 กรัม ใยอาหาร 1 กรัม เบต้าแคโรทีน 47 ไมโครกรับวิตามินซี 22 มิลลิกรัม และ โพแทสเซียม 276 มิลลิกรัม แคนตาลูปเนื้อสีส้มผลมีทั้งผิวเรียบและผิวลายเป็นตาข่าย ผลสุกเปลือกสีครีม และสีเหลือง เนื้อมีทั้งเนื้อกรอบและเนื้อนุ่ม รถหวาน และมีกลิ่นหอมค่อนข้างแรง ได้แก่ พันธุ์ซันเลดี้ ท๊อบมาร์ค นิวเอ็ม เมลลอน และนิวเซนต์จูรี เป็นต้น แคนตาลูปเนื้อสีเหลือง (180 กรัม ประมาณ 6 ชิ้น) พลังงาน54 กิโลแคลอรี นํ้า 166 กรัม นํ้าตาล 18 กรัม ใยอาหาร 2.4 กรัม เบต้าแคโรทีน390 ไมโครกรัม วิตามินซี 24 มิลลิกรัม และ โพแทสเซียม 286 มิลลิกรัม ประโยชน์ ในแคนตาลูปสุกครึ่งลูก มีสารอาหารต่างๆ มากมาย ซึ่งใกล้เคียงกับส้มเขียวหวาน และถ้าซื้อแคนตาลูปในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลของแคนตาลูป จะมีสารอาหารจําพวก ไรโบฟลาวิน ไนอาซิน ไทอามิน และวิตามินซีสูงเป็นพิเศษ สารอาหารในแคนตาลูป ช่วยบํารุงกระดูก
  • 29. 20 และฟัน เนื้อผลสุก เป็นยาขับปัสสาวะ ขับนํ้านม ขับเหงื่อ ดับพิษร้อน บํารุงธาตุ และสมอง ช่วยบรรเทาอาการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ แก้กระหาย สมัยก่อนฝรั่งเชื่อกันว่ากินแคนตาลูปแล้ว ทําให้สายตาดี และมีสติ จะคิดจะทําสิ่งใดก็ได้ตามความมุ่งหมาย นํ้าแคนตาลูป นอกจากดื่มแก้กระหาย คลายร้อน ช่วงเดือนเมษายนได้อย่างดีแล้ว ยังช่วยลดไข้ เพราะแคนตาลูปเป็นผลไม้เย็น ส่วนนํ้าตาล และเอ็นไซม์ที่มีอยู่ในแคนตาลูป ยังช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการอักเสบของลําไส้ และบรรเทาอาการท้องปั่นป่วนจากการรับประทานอาหารไม่ตรงตามเวลาได้
  • 30. 21 ข้าว ภาพลักษณะของเมล็ดข้าว ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ ความหมาย ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Poaceae เมล็ดใช้เป็นอาหาร ชนิดที่ให้เมล็ด เป็นอาหารหลักของไทย คือ Oryza sativa L. โดยมากปลูกกัน ๒ พันธุ์ คือ ข้าวเจ้า และข้าวเหนียว สารอาหารและความสําคัญทางโภชนาการของข้าว ข้าวเป็นอาหารหลักของประชากรกว่าครึ่งโลก ข้าวเป็นแหล่งพลังงานหลักของประชากร มากกว่า 17 ประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก 9 ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือและใต้ และ 8 ประเทศ ในทวีปแอฟริกา ร้อยละ 20 ของแหล่งพลังงานประชากรโลกเป็นข้าว ร้อยละ 19 และ 5 เป็นข้าวสาลี และข้าวโพด การวิเคราะห์รายละเอียดของปริมาณสารอาหารของข้าวที่แสดงให้เห็นว่าคุณค่า ทางโภชนาการของข้าวแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ โดยขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ข้าว ที่อยู่ระหว่างสีขาว, สีนํ้าตาล, สีแดงและสีดํา (หรือสีม่วง) พันธุ์ข้าวแต่ละพื้นที่แพร่หลายในส่วนต่างๆ ของโลก นอกจากนี้คุณภาพของสารอาหารข้าวจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ปลูกข้าว และวิธีการแปรรูปข้าว ก่อนที่จะบริโภค
  • 31. 22 สารประกอบอินทรีย์ ความหมาย สารประกอบที่มีอะตอมของคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก โดยคําว่า อินทรีย์ มาจากคําว่า Organic หมายถึงร่างกาย หรือสิ่งมีชีวิต ดังนั้น สารประกอบอินทรีย์จึงเป็นสารประกอบที่เกี่ยวข้อง กับสิ่งมีชีวิต ในสมัยก่อนนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า สารอินทรีย์ ได้มาจากสิ่งมีชีวิตเท่านั้น แต่เมื่อ ฟริดริด วูห์เลอร์ นักเคมีชาวเยอรมัน ได้สังเคราะห์ยูเรีย ซึ่งพบในปัสสาวะของสิ่งมีชีวิต จากการเผา แอมโมเนียมไซยาเนต ( NH4OCN ) ซึ่งเป็นสารอนินทรีย์ได้ ความเชื่อนั้นจึงเปลี่ยนไป ปัจจุบันนักเคมีได้สังเคราะห์สารอินทรีย์ได้อย่างมากมาย และยังก่อให้เกิดอุตสาหกรรมด้านเคมีอีกด้วย การศึกษาเกี่ยวกับสารอินทรีย์จึงทําให้เข้าใจถึงสมบัติของสารประกอบอินทรีย์ได้อย่างลึกซึ้ง และ มีความจําเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ประเภทของสารประกอบอินทรีย์ การแบ่งประเภทของสารประกอบอินทรีย์สามารถแบ่งกลุ่มได้ตามชนิดของธาตุองค์ประกอบ ได้แก่ 1. สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ได้แก่สารที่ประกอบไปด้วยอะตอมไฮโดรเจนและคาร์บอนเท่านั้น 2. สารอินทรีย์ที่มีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ สารจําพวกแอลกอฮอล์ แอลดีไฮด์ กรดอินทรีย์ อีเทอร์ เอสเทอร์ และคีโตน เป็นต้น 3. สารอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ เอมีน 4. สารอินทรีย์ที่มีทั้งออกซิเจนและไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ เอไมด์
  • 32. 23 การใช้ประโยชน์ของสารประกอบอินทรีย์ชนิดต่างๆ ปัจจุบันมีการนําสารประกอบอินทรีย์ประเภทต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจําวัน และวงการอุตสาหกรรมเคมีอย่างแพร่หลาย ดังนี้ 1. แอลเคน 1.1 มีเทนใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานไฟฟ้า และใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเคมีภัณฑ์ต่างๆ ได้แก่ เมทานอล อีเทน และโพรเพน 1.2 แก๊สผสมระหว่าง โพรเพนกับบิวเทนใช้เป็นแก๊สหุงต้มตามบ้าน 1.3 พาราฟิน ซึ่งเป็นแอลเคนที่มีนํ้าหนักโมเลกุลสูงสุด ใช้เคลือบผิวผลไม้ เพื่อรักษาความชุ่มชื้น 2. แอลคีน 2.1 อีทีนและโพรพีน ( C2H4 และ C3H6 ) ชื่อสามัญคือเอทิลีนและโพรพิลีน ตามลําดับ ใช้เป็นสารตั้งต้น ในการผลิตพอลิเมอร์ประเภทพอลิเอทิลีนและพอลิโพรพิลีน ตามลําดับ 2.2 แอลคีนบางชนิดใช้เป็นสารปรุงแต่งกลิ่นอาหาร เช่น ลิโมนีน ( Limonene ) ซึ่งให้กลิ่นมะนาว 2.3 ใช้แอลคีนเป็นสารตั้งต้นในการในอุตสาหกรรมผลิตเอทานอล พลาสติก และสารซักฟอก 3. แอลไคน์ แก๊สผสมระหว่างอะเซทิลีน ( C2H2 ) กับแก๊สออกซิเจน ในอัตราส่วนที่เหมาะสม จะได้เปลวไฟ ออกซีอะเซทิลีน ให้ความร้อนถึง 3000 °C จึงใช้เชื่อมและตัดโลหะได้
  • 33. 24 4. เบนซีนและอนุพันธ์ 4.1 เบนซีน ใช้เป็นตัวทําละลายและสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารประกอบต่างๆ แต่การสูดดมเบนซีน ในปริมาณมากๆ ทําให้เกิดอาการคลื่นเหียน และอาจถึงตายได้เนื่องจากระบบหายใจล้มเหลว ดังนั้น ห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับเบนซีน จึงต้องมีอากาศถ่ายเทอย่างดี หรือถ้าไม่จําเป็นควรใช้โทลูอีน เป็นตัวทําละลายแทน 4.2 โทลูอีน ใช้เป็นตัวทําละลายสําหรับแล็กเกอร์ ใช้ทําสี ยา และวัตถุระเบิด 4.3 ไซลีน ใช้เป็นตัวทําละลายสําหรับนํ้ามัน ใช้ทําความสะอาดสไลด์และเลนส์กล้องจุลทรรศน์ 4.4 ไนโตรเบนซีน ใช้ในการผลิตอนิลีน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของการผลิตสีย้อมและยาต่างๆ 5. แอลกอฮอล์ 5.1 เมทานอล ใช้เป็นตัวทําละลายพวกแลกเกอร์ที่ใช้กับงานไม้ ใช้ในการจุดตะเกียง ในการล้างเล็บ มีราคาถูกกว่า เอทิลแอลกอฮอล์ เป็นส่วนในเชื้อเพลิงเครื่องบิน ผสมกับแก๊สโซลีน ในประเทศเมืองหนาว จะมีการเติมเข้าไปผสมในหม้อนํ้าป้องกันการแข็งตัวของนํ้า เมื่อเกิดอากาศหนาวจัด 5.2 เอทานอล ในภาคอุตสาหกรรมนําไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เป็นสารตั้งต้น ในการทางการแพทย์ นําไปใช้เกี่ยวกับยาบางชนิด ใช้ในการฆ่าเชื้อโรค หรือเป็นส่วนผสมของเครื่องสําอาง อย่างเช่น นํ้าหอม สบู่ เป็นต้น และที่ใช้ในสุรา หรือของมึนเมาทุกชนิด ใช้ในการรื่นเริง การพบปะสังสรรค์ 6. อีเทอร์ เอทอกซีอีเทน ( CH3CH2OCH2CH3 ) ใช้เป็นตัวทําละลายสารในห้องปฏิบัติการและในอุตสาหกรรม เนื่องจากอีเทอร์สามารถละลายสารประกอบอินทรีย์ได้หลายชนิด เกิดปฏิกิริยากับสารอื่นได้ยาก และแยกออกได้ง่ายเมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยาเนื่องจากอีเทอร์มีจุดเดือดตํ่า
  • 34. 25 7. แอลดีไฮด์และคีโตน ทั้งแอลดีไฮด์และคีโตนถูกนํามาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ส่วนใหญ่ใช้เป็น ตัวทําละลายและเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์ชนิดอื่น ได้แก่ 7.1 ฟอร์มาลดีไฮด์ มีสถานะเป็นก๊าซที่อุณหภูมิห้อง มีกลิ่นฉุน เมื่ออยู่ในรูปสารละลายในนํ้า เรียกว่า ฟอร์มาลิน เป็นสารที่ใช้ในการฉีดศพ เพื่อรักษาสภาพไม่ให้เน่าเปื่อย และใช้ดองสัตว์หรือพืชเพื่อศึกษา ทางชีววิทยาและทางการแพทย์ ฟอร์มาลินมีพิษมาก ถ้าสูดดมเข้าไปจะทําให้ระบบหายใจและ หลอดลมอักเสบ ถ้าเข้าตาจะทําให้เยื่อตาอักเสบและยังเป็นอันตรายต่อผิวหนัง 7.2 แอซีโตน ( โพรพาโนน ) เป็นของเหลวระเหยง่าย ละลายนํ้าได้ดี สามารถละลายสารอื่นๆ ได้ดี จึงใช้เป็นตัวทําละลายพลาสติกและแลกเกอร์ แอซีโตนเป็นสารที่ไวไฟมากจึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง ถ้าสูดดมไอระเหยของสารนี้เข้าไปจะทําให้เกิดอาการมึนงง ซึมและหมดสติ 8. กรดคาร์บอกซิลิก 8.1 กรดฟอร์มิก ( Formic acid ) หรือกรดมด เป็นกรดคาร์บอกซิลิกที่มีจํานวนอะตอมของคาร์บอนน้อย ที่สุดพบในผึ้งและมดแต่ส่วนใหญ่ได้จากการสังเคราะห์ ใช้เป็นสารที่ช่วยให้เนื้อยางในนํ้ายางดิบรวมตัวกัน เป็นก้อนและใช้ในอุตสาหกรรมฟองหนังและอุตสาหกรรมย้อมผ้า 8.2 กรดแอซิติก ( Acetic acid ) หรือกรดนํ้าส้ม ได้จากการหมักนํ้าตาล ผลไม้ หรือจากการหมัก เอทานอล ใช้ปรุงแต่งอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติ 8.3 กรดแอลฟาไฮดรอกซีหรือเอเอชเอ ( alpha hydroxyl acids, AHAs ) หรือกรดไกลโคลิก เป็นกรดคาร์บอกซิลที่เกิดในธรรมชาติพบในผลไม้ นม ต้นอ้อย ซึ่งปัจจุบันมีการนํามาใช้เป็นส่วนผสมของ ผลิตภัณฑ์ที่ทําให้หน้าใสไร้ริ้วรอย
  • 35. 26 9. เอมีน 9.1 เอมีนหลายชนิดใช้ผลิตสารกําจัดแมลง กําจัดวัชพืช ยาฆ่าเชื้อ ยา สีย้อม สบู่ เครื่องสําอางต่างๆ 9.2 เอมีนบางชนิดพบในร่างกาย เช่น อะดรีนาลิน เป็นฮอร์โมนที่เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ทําให้นํ้าตาล ในเลือดเพิ่มขึ้น 9.3 เอมีนที่เรียกว่าแอลคาลอยด์ พบอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น เมล็ด ดอก ใบ เปลือก หรือ ราก ได้แก่ มอร์ฟีนซึ่งสกัดจากต้นฝิ่นใช้เป็นยาบรรเทาปวด โคเคนพบในใบโคคาใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ ควินิน จากเปลือกของต้นซินโคนาใช้เป็นยารักษาโรคมาเลเรีย แอมเฟตามีนเป็นเอมีนสังเคราะห์ชนิดหนึ่ง ใช้เป็นส่วนประกอบในสารเสพติด เช่น ยาบ้า ยาอี ยาไอซ์ 10. เอไมด์ เอไมด์ที่ใช้มาก ได้แก่ อะเซตามิโนเฟน หรืออีกชื่อหนึ่งคือพาราเซตามอล หรือไทลินอล ใช้ผสม ในยาบรรเทาปวดและลดไข้ ภาพยาพาราเซตามอลซึ่งใช้อะเซตามิเฟนเป็นตัวยาหลักในการผลิต ที่มา : https://pixabay.com, PublicDomainPictures
  • 36. 27 บทที่ 3 วิธีดําเนินการทดลอง วัสดุอุปกรณ์ 1. แป้งโฮลวีท 2. นํ้าเปล่า 3. นํ้าหมักแอปเปิล 4. นํ้าหมักกล้วย 5. นํ้าหมักองุ่น 6. นํ้าหมักแคนตาลูป 7. นํ้าหมักข้าว 8. ขวดแก้ว 9 หม้อ 10. ผ้าขาวบาง 11. ช้อนตวง 15 mL 12. ไม้บรรทัด 13. หนังยาง
  • 37. 28 วิธีการทดลอง 1. นําขวดแก้วไปต้มในนํ้าร้อนเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย 2. แบ่งการทดลองเป็น 2 ชุด คือ ชุดควบคุม และชุดทดลอง ดังนี้ ชุดควบคุม ขวดที่ 1 แป้งโฮลวีทผสมกับนํ้าเปล่า ชุดทดลอง ขวดที่ 2 แป้งโฮลวีทผสมกับนํ้าหมักแอปเปิล ขวดที่ 3 แป้งโฮลวีทผสมกับนํ้าหมักกล้วย ขวดที่ 4 แป้งโฮลวีทผสมกับนํ้าหมักองุ่น ขวดที่ 5 แป้งโฮลวีทผสมกับนํ้าหมักแคนตาลูป ขวดที่ 6 แป้งโฮลวีทผสมกับนํ้าหมักข้าว 3. นําแป้ง 30 mL ใส่ลงไปในแต่ละขวด แล้วใส่นํ้าและนํ้าหมักชนิดต่างๆ อย่างละ 30 mL ตามลงไป 4. คนส่วนผสมทุกชนิดให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วจึงปิดปากขวดแก้วด้วยผ้าขาวบาง 5. ใช้หนังยางรัดขวดแก้วบริเวณสูงสุดของแป้งที่ผสมกับนํ้าและนํ้าหมักชนิดต่างๆ และวัดความสูง โดยใช้ไม้บรรทัดวัดจากฐานขวดแก้วจนถึงหนังยาง นับเป็นปริมาณเริ่มต้นของยีสต์ในการทดลอง ซึ่งจะอยู่ ที่ 3.0 เซนติเมตร เท่ากันทุกขวด 6. สังเกตการเจริญเติบโตของยีสต์ในเวลา 20.00 น. ของทุกวัน โดยเลื่อนหนังยางจากปริมาณเริ่มต้นของ ยีสต์ในการทดลองไปยังบริเวณสูงสุดของยีสต์ในขวดแก้ว จากนั้นวัดการเจริญเติบโตของยีสต์ในขวดแก้ว จากฐานขวดแก้วไปยังหนังยาง แล้วบันทึกผล 7. ทําซํ้าข้อที่ 6 จนครบ 5 วัน
  • 38. 29 บทที่ 4 ผลการทดลอง จากการศึกษาการเจริญเติบโตของยีสต์ โดยใช้นํ้าและนํ้าหมักชนิดต่างๆ ได้ผลการทดลอง ดังนี้ ตารางที่ 1 ตารางแสดงการเจริญเติบโตของยีสต์ (เซนติเมตร) การเจริญเติบโตของยีสต์ (เซนติเมตร) หมายเลข ขวด ชนิดนํ้าหมัก วันที่ 1 วันที่ 2 วันที่ 3 วันที่ 4 วันที่ 5 ค่าเฉลี่ย กลุ่มควบคุม 1 นํ้าเปล่า 3.8 3.5 3.0 3.0 3.0 3.26 กลุ่มทดลอง 2 นํ้าหมักแอปเปิล 4.0 3.5 3.0 3.0 3.0 3.30 3 นํ้าหมักกล้วย 3.7 4.5 3.0 3.0 3.0 3.44 4 นํ้าหมักองุ่น 3.4 3.4 3.0 3.0 3.0 3.16 5 นํ้าหมักแคนตาลูป 3.5 3.5 3.0 3.0 3.0 3.20 6 นํ้าหมักข้าว 3.9 4.0 3.0 3.0 3.0 3.38
  • 40. 31 แผนภูมิที่ 2 แผนภูมิแสดงการเจริญเติบโตเฉลี่ยของยีสต์ (เซนติเมตร) จากตารางที่ 1 พบว่า วันที่ 1 ขวดที่ 1 มีระดับความสูง 3.8 เซนติเมตร ขวดที่ 2 มีระดับความสูง 4.0 เซนติเมตร ขวดที่ 3 มีระดับความสูง 3.7 เซนติเมตร ขวดที่ 4 มีระดับความสูง 3.4 เซนติเมตร ขวดที่ 5 มีระดับความสูง 3.5 เซนติเมตร และขวดที่ 6 มีระดับความสูง 3.9 เซนติเมตร วันที่ 2 พบว่า ขวดที่ 1 มีระดับความสูง 3.5 เซนติเมตร ขวดที่ 2 มีระดับความสูง 3.5 เซนติเมตร ขวดที่ 3 มีระดับความสูง 4.5 เซนติเมตร ขวดที่ 4 มีระดับความสูง 3.4 เซนติเมตร ขวดที่ 5 มีระดับความสูง 3.5 เซนติเมตร และขวดที่ 6 มีระดับความสูง 4.0 เซนติเมตร
  • 41. 32 ภาพการเจริญเติบโตของยีสต์ในวันที่ 2 บันทึกภาพโดย นางสาวปัณณภัทร บุญเทียม วันที่ 3 พบว่า การเจริญเติบโตของยีสต์มีระดับความสูงลดลงไปเท่ากับปริมาณเริ่มต้นของยีสต์ ในการทดลอง ซึ่งจะอยู่ที่ 3.0 เซนติเมตร เท่ากันทุกขวด วันที่ 4 และ 5 การเจริญเติบโตของยีสต์มีระดับความสูงคงที่เท่ากับวันที่ 3 ซึ่งจะอยู่ที่ 3.0 เซนติเมตร เท่ากันทุกขวด การเจริญเติบโตเฉลี่ยของยีสต์ในขวดที่ 1 มีค่าเฉลี่ยเป็น 3.26 ขวดที่ 2 มีค่าเฉลี่ยเป็น 3.30 ขวดที่ 3 มีค่าเฉลี่ยเป็น 3.44 ขวดที่ 4 มีค่าเฉลี่ยเป็น 3.16 ขวดที่ 5 มีค่าเฉลี่ยเป็น 3.20 และขวดที่ 6 มีค่าเฉลี่ยเป็น 3.38