SlideShare a Scribd company logo
1 of 174
Download to read offline
จังหวัดลำปางเป็นแหล่งอารยธรรมของล้านนาไทยที่เก่าแก่แห่งหนึ่ง ในอดีตมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ศรีดอนชัย
ลัมภะกัมปนคร เขลางค์นคร เวียงละกอน และ กุกกุฎนคร เมืองเขลางค์นครเป็นเมืองคู่แฝดกับอาณาจักรหริภุญไชย

	
ตั้งอยู่ที่ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง ในปัจจุบัน โดยมีพระเจ้าอนันตยศ พระโอรสแฝดของพระนางจามเทวีเคยมา

	
ปกครองเมืองนี้ในระยะแรกๆ ในภาษาล้านนา คำว่า ขลาง หมายถึง แอ่งกระทะ ซึ่งสอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์ที่มี
ภูเขาล้อมรอบ มีการทับถมของตะกอนดินซากพืชซากสัตว์จนเป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ ชาวลำปางมีชีวิตเรียบง่าย 

	
เลื่อมใสศรัทธาและยึดมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างเหนียวแน่น ซึ่งจะเห็นว่าในจังหวัดลำปางมีพุทธสถานที่สำคัญมากมาย
	
ผักถือเป็นพืชที่นำมารับประทานทั้งสดหรือปรุงให้สุก ในผักนานา ชนิดจะประกอบด้วยสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
ที่สำคัญหลายกลุ่ม เช่น เทอร์พีนอยด์ แอลคาลอยด์ ฟลาโวนอยด์ เป็นต้น องค์ประกอบทางเคมีเหล่านี้จะช่วยให้	


กระบวนการเมแทบอลิซึมในร่างกายเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกายอีกด้วย
คนในสมัยโบราณนิยมรับประทานผักเป็นกิจวัตร โดยนำมาทำเป็นเครื่องเคียงหรือประกอบอาหารโดยตรง เช่น แกงแค 

	
ภูมิปัญญาชาวบ้านหรือของชาวลำปางที่สั่งสมลองผิดลองถูกในการนำผักมาใช้ประโยชน์อย่างถูกต้อง ปลอดภัย ไม่เป็น
อันตรายต่อสุขภาพนั้น ได้มีการสืบทอดมาช้านาน
	
สังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก จนทำให้การนำผักมารับประทานในหมู่เยาวชนแทบจะไม่มีให้เห็น

	
ซ้ำยังปฏิเสธผักอีกด้วย จึงเป็นสิ่งที่น่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นจึงจะต้องช่วยกันรณรงค์ให้เยาวชนหันมารับประทานผัก
ปลอดสารพิษและการปลูกผักไว้ทุกบ้านเรือน นอกจากนี้จะต้องให้ความรู้ถึงประโยชน์และโทษของการไม่รับประทานผัก
อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งในที่นี้หมายรวมถึง “ผักพื้นบ้าน” ด้วย การนำผักพื้นบ้านมาเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักรูปพรรณสัณฐาน
สรรพคุณทางยา และประโยชน์อื่นๆ เป็นแนวทางถึงที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางตระหนักถึง จึงมี
ความพยายามรวบรวมสรรพกำลังกายและความคิดจัดทำหนังสือ “ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร” เล่มนี้ขึ้น
	
คณะวิทยาศาสตร์รู้สึกซาบซึ้งเป็นอย่างมากที่คุณณรงค์ นันทะแสน นักวิชาการ กรมอุทยานสัตว์ป่า
และพั น ธุ ์ พ ื ช กระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ ่ ง แวดล้ อ ม ที ่ ไ ด้ ก รุ ณ าเขี ย นขึ ้ น จาก
ประสบการณ์ แ ละความมุ ่ ง มั ่ นที ่ จ ะให้ ส ื ่ อ เล่ ม นี ้ เป็ น สมบั ต ิ ข องชาวลำปางและผู ้ ส นใจ

	
ตลอดไป ในส่ ว นของเนื ้ อ หาและภาพประกอบได้ ถ ่ า ยทำจากตลาดในจั ง หวั ด ลำปาง

	
แทบทั้งสิ้น ทั้งนี้บางชนิดใกล้สูญพันธ์ุไปแล้วก็มี และมีจำนวนมากที่เยาวชนคนรุ่นหลัง

	
ไม่ทราบชื่อ คณะผู้จัดทำได้แทรกชื่อภาษาล้านนาด้วยการเขียนอักขระตัวเมืองโดยคุณเนตร
กองสิน ปราชญ์ชาวบ้านแห่งอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เพื่อให้เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า	


ผักพื้นบ้านเหล่านี้อยู่คู่กับชาวเขลางค์นครสืบไป
	
ในนามของนักศึกษา คณาจารย์ เจ้าหน้าที่คณะวิทยาศาสตร์ทุกท่าน

	
ต้ อ งขอขอบคุ ณ คุ ณ ณรงค์ นั นทะแสน อี ก ครั ้ ง ที ่ ได้ ส ละเวลาอั น มี ค ่ า	


ตรวจทาน ออกแบบ พร้อมทั้งใส่จิตวิญญาณให้หนังสือนี้สำเร็จลง

	
อย่ า งสมบู ร ณ์ ผู ้ อ ่ า นท่ า นใดมี ม ุ ม มองบางมิ ต ิ ท ี ่ ต ้ อ งการแนะนำ 

	
คณะวิทยาศาสตร์มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง และขอน้อมรับด้วย
ความเต็มใจ ขอคุณความดีของหนังสือเล่่มนี้จงเป็นแรงบันดาลใจ
ให้ผู้อ่านทุกคนร่วมกันอนุรักษ์ เผยแพร่ และสืบสาน ผักพื้นบ้าน
เขลางค์นคร ให้ดำรงอยู่คู่ชาวล้านนาตลอดไป

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิลาศ   พุ่มพิมล)
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์
ผักพื้นบ้านเขลางค์นครฉบับนี้ เป็นความพยายามของ ผศ.ดร.วิลาศ พุ่มพิมล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ

	
คุณณรงค์ นันทะแสน เจ้าหน้าที่สำนักหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนคณะผู้จัดทำได้เก็บรวบรวมผักพื้นบ้านที่มีอยู่ในพื้นที่จังหวัดลำปาง โดยนำมาเสนอให้รู้ถึงชื่อ
ชนิด ลักษณะ ใบ ลำต้น ประโยชน์ด้านอาหาร ประโยชน์ด้านสมุนไพร หรือประโยชน์ทางยา วิธีนำมาใช้ ฯลฯ 

	
ซึ่งองค์ความรู้ทั้งหมดเป็นทั้งทางวิทยาศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่น ผสมผสานคุณค่าอย่างน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง	


นับเป็นผลพวงแห่งความพยายามที่เป็นคุณูปการต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติโดยแท้
	
ผมขอแสดงความชื่นชมในผลงานและขอขอบคุณในนามของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ที่ ผศ.ดร.วิลาศ 

	
พุ่มพิมล คุณณรงค์ นันทะแสน และคณะผู้จัดทำทุกคน ที่ได้ศึกษา ค้นคว้า และนำมาเผยแพร่เพื่อให้ผู้อ่านทุกท่านได้รับ
ประโยชน์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสาระดีๆ ที่มีอยู่ในหนังสือเล่มนี้จะถูกนำไปใช้ในการศึกษา
ค้นคว้าต่อยอด หรือใช้ในการถ่ายทอดเพื่อประโยชน์สุขในสังคมประเทศชาติต่อไป

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์เล็ก   แสงมีอานุภาพ)
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ความพากเพียรและพยายามในการอนุรักษ์ของดีต่างๆ ในท้องถิ่นทั้งด้านวัฒนธรรมและการอนุรักษ์วัฒนธรรม
โดยเฉพาะวั ฒ นธรรมในการบริ โภคอาหารที ่ เป็ น พื ช ผั ก ในท้ อ งถิ ่ น หรื อ ผั ก พื ้ น บ้ า นในแต่ ล ะภาคของแต่ ล ะประเทศ

	
ย่อมจะนำมาเพื่อความมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันในตัวผู้บริโภค คณะวิทยาศาสตร์ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์	
 

ดร.วิลาศ พุ่มพิมล คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ และอาจารย์ณรงค์ นันทะแสน ได้ช่วยกันค้นคว้าและเรียบเรียงเขียนขึ้นมา
เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนในท้องถิ่นจังหวัดลำปางได้รับรู้และเข้าใจมากขึ้น
	
ผมขอแสดงความยินดีและชื่นชมเป็นอย่างยิ่งที่ท่านได้สร้างผลงานที่มีประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นตามเจตนารมณ์
ของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางทีี่ให้บริการทางวิชาการ และเผยแพร่ให้ชุมชนได้สามารถเรียนรู้อย่างถูกต้องและเป็น
วิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะช่วยพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไปอย่างยั่งยืน และหวังว่าสาระดีๆ ที่มีอยู่ในหนังสือ
เล่มนี้จะถูกนำไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนในท้องถิ่น เพิ่มคุณภาพชีวิตให้มีความสุข	
 

ความแข็งแรงของชุมชนและประเทศชาติต่อไป 





(นายประสิทธิ์    สิริศรีสกุลชัย)
ประธานหอการค้าจังหวัดลำปาง
หนังสือผักพื้นบ้านเขลางค์นคร เล่มนี้ ข้าพเจ้ามีความตั้งใจเป็นอย่างยิ่งในการเขียนตลอดจนถ่ายภาพผักต่างๆ
เพื่อที่จะนำเสนอผักให้หลากหลายชนิดที่ชาวนครลำปาง หรือ เขลางค์นคร ในอดีตใช้ในการบริโภคเป็นอาหารมาตั้งแต่
อดีตจวบจนปัจจุบัน ที่มีกรรมวิธีและวัฒนธรรมการบริโภคผักที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น โดยได้รับแรงบันดาลใจจากการที่
ข้าพเจ้าได้มีโอกาสร่วมงานกับคณะวิทยาศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง  จึงได้มีโอกาสศึกษาพฤติกรรมการบริโภค
ผักของนิสิต นักศึกษา ตลอดจนเยาวชนทั่วไปในนครลำปาง ซึ่งส่วนใหญ่ไม่นิยมบริโภคผัก หรือนิยมบริโภคผักที่มาจาก
ต่างแดน หรือจำพวกผักเศรษฐกิจที่มีลักษณะสีสดใส สวยงาม สะดุดตา ซึ่งปัจจัยสำคัญในขบวนการผลิตที่ขาดไม่ได้	
 

คือ สารเคมีปราบคัตรูพืชที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งเยาวชนทั้งหลายไม่ได้ตระหนักถึงอันตรายในเรื่องนี้ ทำให้มองข้าม
ความสำคัญและคุณค่าทางโภชนาการตลอดจนประโยชน์ทางสมุนไพรของผักพื้นบ้าน หากทุกคนไม่ช่วยกันส่งเสริม	


สร้างค่านิยมในการบริโภคผักพืนบ้านอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากจะทำให้สขภาพร่างกายไม่แข็งแรงแล้ว วัฒนธรรมการบริโภค

้
ุ
	
ผักพื้นบ้านที่บรรพบุรุษได้สร้างสมเอาไว้เป็นมรดกทางปัญญาก็จะสูญหายไปในที่สุด ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริม

	
อนุรักษ์วัฒนธรรม ภูมิปัญญาในการบริโภคผัก ข้าพเจ้าพร้อมด้วยคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ตลอดเจ้าหน้าที่บุคลากร

	
ทุกท่าน จึงได้ร่วมมือกันจัดทำหนังสือผักพื้นบ้านเขลางค์นครเล่มนี้ เพื่อใช้เป็นสื่อในการทำความเข้าใจ และให้ความรู้

	
ความกระจ่างแก่นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป  ถึงประโยชน์และคุณค่าของผักพื้นบ้าน ตลอดจนกระตุ้นให้เยาวชนเป็น
ผู ้ ท ี ่ ม ี ค วามรั ก และหวงแหนในวั ฒ นธรรมและภู ม ิ ป ั ญ ญาของบรรพบุ ร ุ ษ ที ่ ได้ ม อบไว้ ให้ ภายในเล่ ม ได้ จ ั ด ภาพและ

	
คำบรรยายลักษณะของผักแต่ละชนิด ตลอดจนขั้นตอนวิธีการนำไปใช้ในการบริโภคและประโยชน์ทางสมุนไพร สำหรับ

	
ชื่อผักนั้นได้ใช้ชื่อพื้นเมืองเป็นชื่อหลักพร้อมเขียนตัวหนังสือล้านนากำกับไว้ด้วย เพื่อให้เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้สมบูรณ์
ที่สุดและใช้เป็นหลักฐานทางวิชาการได้อย่างเป็นสากล จึงได้เขียนชื่อทางวิทยาศาสตร์ของผัก
แต่ละชนิดกำกับไว้อย่างครบถ้วน ข้าพเจ้าหวังว่าหนังสือผักพื้นบ้านเขลางค์นครเล่มนี้
คงจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกท่านที่มีความสนใจศึกษาเกี่ยวกับผักพื้นบ้านที่ชาว

	
นครลำปางใช้ บ ริ โภคมาตั ้ ง แต่ อ ดี ต จวบจนปั จ จุ บ ั น และขอขอบคุ ณ อธิ ก ารบดี	
 

คณบดี เจ้าหน้าที่และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏทุกท่าน   ที่
ได้ให้ความช่วยเหลือในการจัดทำหนังสือ ผักพื้นบ้านเขลางค์นครเล่มนี้ จนสำเร็จ
ความดีของหนังสือที่ได้รับ ข้าพเจ้าขอมอบให้ชาวราชภัฏลำปางทุกท่าน หากมี

	
ข้อบกพร่องประการใด ข้าพเจ้ากราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย





(ณรงค์   นันทะแสน)
เขลางค์นคร เป็นภาษาบาลี หมายถึง เมืองที่มีพื้นที่เป็นแอ่งรูปก้นกระทะซึ่งมีปรากฏอยู่
ในตำนานตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๓ เป็นชื่อเดิมเมืองลำปางในอดีต เมืองเขลางค์นครมีฐานะ

	
เป็นเมืองหลวงคู่แฝดของอาณาจักรหริภุญไชย เมืองเขลางค์นครแห่งอาณาจักรหริภุญไชยแห่งนี้

	
มีผู้ปกครองสืบทอดต่อกันมาตลอด ก่อนที่จะมีการสถาปนาอาณาจักรล้านนาของพระยามังราย

	
ที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มน้ำกกตอนเหนือ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการปฏิรูประบอบการปกครองเป็นระบบ
มณฑล เมื อ งลำปางจึ ง ได้ ข ึ ้ น อยู ่ ก ั บ มณฑลพายั พ (เมื อ งเชี ย งใหม่ ) และมณฑลมหาราษฎร 

	
(เมืองแพร่) ต่อมาจึงได้เปลียนเป็นจังหวัดลำปางในสมัยรัชกาลที่ ๖ จังหวัดลำปางจึงเป็นจังหวัดหนึง
่
่
ในภาคเหนือ ตอนบน ภู ม ิ ป ระเทศ ทิ ศ เหนื อ ติ ด ต่ อ จั ง หวั ด เชี ย งรายและจั ง หวั ด พะเยา ทิศ ใต้

	
ติดต่อจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดตาก ทิศตะวันออกติดต่อจังหวัดแพร่ และทิศตะวันตกติดต่อจังหวัด
เชียงใหม่และจังหวัดลำพูน เมืองลำปางอยู่ในหุบเขารูปแอ่งกระทะล้อมรอบไปด้วยเทือกเขาสูงชัน
บางส่วนก็ผดขึนเป็นแนวหินแกรนิตบนเทือกเขาผีปนน้ำด้านทิศตะวันตก ในบางยุคเกิดการเคลือนตัว
ุ ้
ั
่
ของเปลือกโลกอย่างรุนแรงจึงทำให้เกิดแอ่งที่ราบขนาดใหญ่ และทิวเขาที่ทับซ้อนกัน เมื่อผ่าน

	
กาลเวลามายาวนานส่วนที่เป็นแอ่งก็ได้กลายเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ เกิดการทับถมของตะกอนและ
ซากพืชซากสัตว์จนกลายเป็นผืนดินที่ราบ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นแหล่งน้ำมันและถ่านหินลิกไนต์	
 

ด้วยลักษณะพื้นที่เป็นแอ่งกระทะ จึงทำให้อากาศอบอ้าวแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู โดยได้รับ
อิ ท ธิ พ ลจากมรสุ ม ตะวั นตกเฉี ย งใต้ แ ละมรสุ ม ตะวั นตกเฉี ย งเหนื อ ซึ ่ ง มี อ ากาศแตกต่ า งกั น	


ตามฤดูกาล ในฤดูหนาวค่อนข้างหนาวจัด ส่วนฤดูร้อนจะยาวนาน สำหรับบริเวณที่ราบภูเขาสูงและ
ที่ราบลุ่มฝั่งแม่น้ำอันเป็นที่ราบดินตะกอนเก่า ผืนดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์มีแม่น้ำวังไหลผ่าน

	
บางพื้นที่เป็นแหล่งที่ทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี บางส่วนก็ปกคลุมไปด้วยผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์

	
ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของเมืองลำปาง ดังนั้นวิถีชีวิตของชาวเขลางค์นครหรือชาวเมืองลำปาง
ในอดีตจึงผูกติดอยู่กับการทำเกษตรกรรมและการล่าสัตว์ ตลอดจนการเก็บหาของป่า พืชผักต่างๆ 

	
ที่มีอยู่ในธรรมชาติเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือนตามภูมิปัญญาท้องถิ่นของแต่ละชุมชน ซึ่งอาจมีความ
แตกต่างกันบ้างด้านกรรมวิธี อันที่จริงชุมชนในภาคเหนือโดยเฉพาะชาวลำปางหรือเขลางค์นครนั้น
ถือว่าเป็นชนที่รู้จักผักต่างๆ ในธรรมชาติที่สามารถนำมาบริโภคได้มากที่สุดก็ว่าได้ ต่อมาจึงได้
ถ่ายทอดให้กับลูกหลานสืบต่อกันมา ปัจจุบันได้เรียกพืชผักต่างๆ ที่เก็บหามาได้จากแหล่งธรรมชาติ
เช่น ป่า เขา ห้วย หนอง คลอง บึง และบางชนิดที่ปลูกขึ้นมาว่า ผักป่าบ้าง ผักพื้นบ้านบ้าง 

	
ผักพื้นเมืองบ้าง หลายคนอาจเคยได้ยินได้ฟังคำว่า ผักป่า ผักพื้นบ้าน ผักพื้นเมือง มาบ้างแล้ว หรือ
บางคนอาจบอกว่าได้ยินมาจนชินหูแต่ก็ยังไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงเท่าใดนัก อันที่จริง 

	
คำว่า ผักป่า ผักพื้นบ้าน ผักพื้นเมือง ทั้ง ๓ คำนี้เป็นสิ่งเดียวกัน ถ้าจะแตกต่างกันก็ตรงที่มุมมอง
ของแต่ละบุคคลว่าจะมองด้านไหน มองอย่างไร และมองดูที่ตรงไหน คือ ถ้าคนในชุมชนหรือ	


ชาวบ้านไปเก็บหาผักมาจากป่าเพื่อการบริโภคหรือนำมาขาย เขาก็จะเรียกผักนั้นว่า ผักป่า   แต่
หากมีคนในเขตเมืองมาซื้อหาผักเหล่านั้นเขาก็จะบอกว่า ผักพื้นบ้าน ในขณะที่มีคนมาจากต่างบ้าน
ต่างเมืองจะเป็นการมาท่องเที่ยวหรือมาเพื่อการใดก็สุดแท้แต่ละบุคคล เมื่อมาเจอผักเหล่านั้น

	
หรือเพือนสนิทมิตรสหายแนะนำก็จะบอกว่านีคอ ผักพืนเมือง ดังนัน คำว่า ป่า บ้าน เมือง ทัง ๓ คำนี้
่
้ื
้
้
้
แม้ความหมายจะไม่ค่อยกลมกลืนกันนัก แต่ก็เป็นสิ่งบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกันได้

	
เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในภูมประเทศเขตร้อนทีอดมไปด้วยความหลากหลายทางพันธุกรรมพืช ดังนัน
ิ
ุ่
้
ผักป่า ผักพื้นบ้าน ผักพื้นเมือง จึงเป็นพืชที่ใช้ในการบริโภคและสามารถสร้างคุณค่าเป็นที่ประจักษ์
แก่บุคคลทั่วไป ตลอดจนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของป่าเขตร้อนที่เชื่อมสัมพันธ์กับภูมิปัญญาของ
คนในท้องถิ่น จนกลายเป็นวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นนั้นๆ กล่าวโดยสรุป ผักพื้นบ้าน
หมายถึง พืชชนิดใดก็ได้ที่ชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นๆ สามารถเก็บหาได้จากแหล่งธรรมชาติในแต่ละ
ฤดูกาล แต่ละภูมิภาค ที่แตกต่างกันไป ทั้งป่าเขา ริมลำธาร ลำห้วย หรือตามหัวไร่ ปลายนา
เพื่อใช้ในการประกอบอาหารในแต่ละวันตามวิถีความเป็นอยู่และวัฒนธรรมการบริโภค

	
ของชุมชนนั้นๆ ทั้งยังให้คุณค่าทางโภชนาการตลอดจนใช้เป็นสมุนไพรในครัวเรือน ที่ได้รับ
การถ่ายทอดสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ในการบริโภคพืชผักต่างๆ นั้น ในแต่ละ
ชุมชนยังได้ใช้ภูมิปัญญาในการจำแนกผักออกเป็นกลุ่มต่างๆ ตามวิถีและวัฒนธรรมในการ
บริโภค คือ กลุ่มที่รับประทานส่วนหัวรากและเหง้า, กลุ่มที่รับประทานส่วนใบและยอด,
กลุ่มที่รับประทานส่วนผลและฝัก และกลุ่มที่รับประทานส่วนแกนกลาง สิ่งเหล่านี้เป็น

	
ข้อบ่งบอกถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการบริโภคของคนในแต่ละชุมชน   ซึ่งอาจมีความ

	
แตกต่างกันบ้าง แต่ก็ยังมีผักจากต่างประเทศอีกหลายชนิดที่ถูกนำเข้ามาปลูกเป็นระยะ
เวลานานจนสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและภูมิประเทศได้ดี หลายคนเข้าใจว่า
เป็นผักดังเดิมของท้องถิน เช่น หอมขาว หอมบัว ขิงหยวก บ่ะแคว้ง หอมด่วน จ้ากอมก้อ ฯลฯ
้
่
่
ด้วยเหตุที่ผักเหล่านี้ได้รับความนิยมใช้กับอาหารไทยทั่วไปจึงได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ

	
ผักพื้นบ้านไทยเรื่อยมา ถึงกระนั้นก็ยังมีหลายคนที่มีความรู้สึกว่า ผักพื้นบ้าน ไม่น่า

	
รั บ ประทาน ไม่ อ ร่ อ ย สี ส ั น ไม่ ส วยงามสะดุ ด ตาเหมื อ นพวกผั ก เศรษฐกิ จ จึ ง ไม่ น ่ า มี
ประโยชน์ต่อร่างกาย แท้ที่จริงผักพื้นบ้านหลายชนิดกลับมีคุณค่าทางโภชนาการสูงพอๆ
กับผักเศรษฐกิจหรือมากกว่า เช่น ผักแว่น ผักแค ยอดผักก้านถิน ฯลฯ   ที่ให้วิตามินเอ

	
สูงกว่าผักเศรษฐกิจหลายชนิด ผักเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดเองโดยธรรมชาติตามฤดูกาล ปลอด
ซึ่งสารเคมีปราบศัตรูพืชที่ทำให้เกิดพิษต่อร่างกาย ซึ่งต่างกับผักเศรษฐกิจที่ส่วนใหญ่มักจะ
มีสารเคมีปนเปื้อน เพราะการผลิตผักเศรษฐกิจนั้นสารเคมีปราบศัตรูพืชถือว่าเป็นปัจจัย
สำคัญในการผลิตที่ขาดไม่ได้เนื่องจากเกษตรกรยังมีความต้องการผลผลิตในจำนวนมาก
และมีลักษณะสีสันที่สวยงามปราศจากแมลงเพื่อให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค  
เมื ่ อ นำผั ก เหล่ า นั ้ น ไปบริ โภคอาจได้ ร ั บ สารเคมี ท ี ่ ป นเปื ้ อ นมากั บ ผั ก ซึ ่ ง ถื อ ว่ า มี โทษ

	
ต่อร่างกายอย่างยิง คนทีใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัวจึงหันมาบริโภค
่
่
ผักพื้นบ้านที่ปราศจากสารเคมีปราบศัตรูพืช ผักบางชนิดจึงกลายเป็นผักยอดนิยม เช่น 

	
ผักหวานป่า ผักหวานบ้าน ผักปัง ผักหนาม ผักไผ่ ผักแค ผักพา ผักเสลี่ยมและมะลิดไม้
เป็ นต้ น พื ช ผั ก เหล่ า นี ้ ส ่ ว นใหญ่ จ ะมี ส รรพคุ ณทางสมุ น ไพรพื ้ น บ้ า นที ่ เ ข้ า กั บ สภาพ

	
ภูมประเทศและวัฒนธรรมการบริโภคของคนชุมชนนันๆ เป็นอย่างดี รสของผักแต่ละชนิดจะ
ิ
้
เป็นตัวบ่งบอกถึงสรรพคุณของผักชนิดนั้นๆ เช่น รสฝาด มีสรรพคุณสมานแผล แก้ท้องเสีย
ท้องร่วง รักษาแผล   รสเปรี้ยว   สรรพคุณช่วยกัดเสมหะ กระตุ้นต่อมน้ำลาย ทำให้	


เจริญอาหาร รสหวาน สรรพคุณช่วยทำให้ชมชืน บำรุงกำลัง รสขม มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย
ุ่ ่
ลดไข้ แก้เลือดเป็นพิษ ถอนพิษเมา รสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณขับลมในกระเพาะอาหาร 

	
แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อ รสมัน มีสรรพคุณแก้อาการเส้นเอ็นพิการ ปวดเสียว เคล็ด
ขัดยอก อาการกระตุก เป็นต้น ด้วยรสชาติและสรรพคุณของผักพืนบ้านทีใช้เป็นอาหารและ
้
่
ยาสมุนไพรควบคู่กันได้อย่างกลมกลืน จนกลายเป็นวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่ถูกถ่ายทอด
สืบต่อกันมา ดังนั้น คนในอดีตจึงมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงกว่าคนในปัจจุบันที่นิยมบริโภค
อาหารที่ถูกปรุงแต่งแปลกๆ สีสันสดใส โดยมีส่วนประกอบของสารเคมีต่างๆ หลายชนิด
เป็นเครื่องปรุงแต่ง ซึ่งนับว่ามีโทษต่อร่างกายเป็นอย่างมาก   ดังนั้น เยาวชนคนรุ่นใหม่	


จึงควรใส่ใจในเรื่องการบริโภค โดยเฉพาะการบริโภคผักควรเลือกผักที่เป็นประโยชน์ต่อ
ร่างกาย เช่น ผักพื้นบ้านทั่วไป และสร้างค่านิยมใหม่โดยหันมานิยมการบริโภคผักพื้นบ้าน
ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย สามารถปลูกเองได้ภายในบริเวณบ้าน ถึงแม้ไปซื้อหา
ราคาก็ไม่แพง ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการบริโภคผัก เป็นมรดกทาง
ปัญญาที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ บรรพบุรุษมอบไว้ให้ลูกหลานได้สืบทอดต่อกันมาจากรุ่น
สู่รุ่นเป็นระยะเวลาที่ยาวนานจวบจนปัจจุบัน
๑	....................	กระเจี๊ยบ
	 	
กระเพราช้าง...............	๒
๓	.....................	กล้วยลิอ่อง
	 	
กอก............................	๔
๕	.....................	กอมก้อขาว
	 	
กาซะลอง................	...	๖
๗	.....................	กุ่มน้ำ
	 	
กุ่มบก......................	...	๘	
๙	.....................	เกี๋ยงพาลาบ
	 	
ข่าแกง..........................๑๐
๑๑....................	ข่าหลวง
	 	
ขิงหยวก......................	๑๒
๑๓....................	ขี้เหล็ก
	 	
เครือเขาคำ..................	๑๔
๑๕....................	แคขาว
	 	
แคนา...........................	 ๖
๑
๑๗...................	งิ้ว
	 	
จะค่าน........................	๑๘
๑๙...................	จะไค
	 	
ดอกก้าน..................	..	๒๐
.
๒๑...................	ดีงูว่า
	 	
ดีปลี............................	๒๒
๒๓...................	ตอง
	 	
ต้าง..............................	 ๔
๒
๒๕....................	 าล
ต
	 	
ตูน...............................	๒๖
๒๗....................	ตา
เ
	 	
ถั่วปู............................	๒๘
๒๙....................	 ั่วลันเตา
ถ
	 	
ถั่วเหลือง.....................	๓๐
๓๑....................	เถาวัลย์ด้วน
	 	
เทียนทั้งห้า..................	๓๒
๓๓....................	 างแลว
น
	 	
บวบหอม.....................	๓๔
๓๕...................	บ่ะก้วยเตส
	 	
บ่ะกูด...........................๓๖
๓๗....................	 ่ะขาม
บ

	 	
บ่ะเขือแจ้.....................	๓๘
๓๙....................	 ่ะเขือปั๋ง
บ
	 	
บ่ะเขือผ่อย..................	๔๐	 
๔๑....................	บ่ะเขือส้ม
	 	
บ่ะเขือหำม้า................	๔๒
๔๓....................	 ่ะแขว่น
บ
	 	
บ่ะค้อนก้อม................	๔๔
บ

 ๔๕....................	 ่ะแคว้ง
	 	
บ่ะแคว้งขม.................	๔๖	 
๔๗....................	 ่ะแคว้งเครือขม
บ
	 	
บ่ะจ้ำ.......................	...	๔๘
๔๙....................	 ่ะเดื่อเกลี้ยง
บ
	 	
บ่ะตาเสือ....................	๕๐
๕๑....................	บ่ะตึก
	 	
บ่ะเต้า.........................	๕๒
๕๓....................	 ่ะแตงลาย
บ
	 	
บ่ะนอยงู......................๕๔
๕๕....................	 ่ะนอยจา
บ
	 	
บ่ะนอยเหลี่ยม............	๕๖
๕๗....................	 ่ะน้ำ
บ
	 	
บ่ะป้าว........................	๕๘
๕๙....................	 ่ะปิ่น
บ
	 	
บ่ะปู่............................	๖๐
๖๑....................	บ่ะแปบ
	 	
บ่ะฟักแก้ว...................	๖๒
๖๓....................	บ่ะเฟือง
	 	
บ่ะม่วง.........................	 ๔
๖
๖๕....................	บ่ะเม่าสาย
	 	
บ่ะยม..........................	๖๖
๖๗....................	บ่ะลิดไม้
	 	
บ่ะหนุน.......................	๖๘
๖๙....................	บ่ะห่อย
	 	
บ่ะไห่..........................	๗๐
๗๑....................	บ่ะแฮะ
	 	
บัวกวัก.........................๗๒
๗๓....................	 ้าน
ป
	 	
ปุย............................... ๗๔
๗๕....................	 ูเลย
ป
	 	
ผักกาดจ้อน..................๗๖
๗๗....................	 ักกูด
ผ
	 	
ผักขี้ขวง........................๗๘
๗๙....................	 ักขี้มด
ผ
	 	
ผักขี้มูก........................	๘๐
๘๑....................	ผักขี้หูด	

	 	
ผักเข้า.........................	๘๒
๘๓....................	 ักโขม	
ผ

	 	
ผักคาวตอง..................๘๔
๘๕....................	 ักแค	
ผ

	 	
ผักแคบ.........................๘๖
๘๗....................	 ักจิก	
ผ

	 	
ผักจี.............................	๘๘
๘๙....................	 ักจีอ้อ	
ผ

	 	
ผักเชียงดา...................	 ๐
๙
๙๑....................	ผักด้ามพั่ว	

	 	
ผักตับแก้.....................	๙๒
๙๓....................	 ักติ้วขาว	
ผ

	 	
ผักตุ๊ด...........................๙๔
๙๕....................ผักบั้ง	

	 	
ผักบุ้ง...........................	 ๖	 	
๙
๙๗....................	 ักปอดม้า	
ผ

	 	
ผักปั๋ง...........................	 ๘
๙
๙๙....................	 ักปู่ย่า	
ผ

	 	
ผักแปม........................	 ๐๐
๑
๑๐๑.................ผักแปมป่า	

	 	
ผักเผ็ดขม....................	๑๐๒
๑๐๓.................	ผักเผ็ดน้อย
	 	
ผักไผ่...........................	๑๐๔
๑๐๕.................	ผักพญายอ	

	 	
ผักแว่น........................	๑๐๖
๑๐๗.................	ผักสาบ
	 	
ผักสีเสียด.....................๑๐๘
๑๐๙.................	ผักเสี้ยว	

	 	
ผักแส้ว.........................๑๑๐
๑๑๑.................	ผักหนอก	

	 	
ผักหนอง......................	 ๑๒
๑
๑๑๓.................	ผักหนาม	

	 	
ผักหละ........................	๑๑๔
๑๑๕.................ผักหวานบ้าน
	 	
ผักหวานป่า.................	๑๑๖

๑๑๗.................	ผักหอมป้อม	

	 	
ผักฮ้วนหมู...................	๑๑๘
๑๑๙.................ผักฮากกล้วย	

	 	
ผักฮิน..........................	๑๒๐
๑๒๑.................ผักเฮียด
	 	
ผำ................................	 ๒๒
๑
๑๒๓.................ไผ่ตง	

	 	
พริกแด้........................	๑๒๔
๑๒๕.................เพี้ยฟาน	

	 	
มะแหลบ......................๑๒๖
๑๒๗.................ย่านาง
	 	
ละแอน........................	๑๒๘
๑๒๙.................เล็บครุฑ
	 	
ส้มป่อง........................	๑๓๐
๑๓๑.................ส้มป่อย
	 	
ส้มสะเอาะ..................	๑๓๒	
๑๓๓.................ส้มสังกา
	 	
ส้มเสี้ยน......................	๑๓๔	
๑๓๕.................สลิด
	 	
สะเลียม.......................	 ๓๖
๑
๑๓๗.................สะเลียมหอม
	 	
สะแล.......................	...	๑๓๘
๑๓๙.................หญ้าเอ็นยืด
	 	
หน่อซาง......................	๑๔๐	
๑๔๑.................หน่อไร่
	 	
หน่อฮวก......................	 ๔๒	
๑
๑๔๓.................หวาย
	 	
หอมด่วนหลวง............	๑๔๔	
๑๔๕.................หอมเตียม
	 	
หอมบั่ว........................	 ๔๖
๑
๑๔๗.................หอมป้อมเป้อ
	 	
หอมแย้........................	 ๔๘	
๑
๑๔๙.................เห็ดขอนขาว
	 	
เห็ดไข่ขาว....................	 ๕๐	
๑
๑๕๑.................เห็ดถอบ
	 	
เห็ดเฟือง......................	 ๕๒	
๑
๑๕๓.................เห็ดลม
	 	
เห็ดห้า.........................	๑๕๔
๑๕๕.................เห็ดหูลัวะ
	 	
อังลาว.........................	๑๕๖	
๑๕๗.................อาว
	 	
เอื้องดิน.......................	๑๕๘
ชื่ออื่น	

กระเจี๊ยบแดง  กระเจี๊ยบเปรี้ยว ส้มพอดี


	
กระเจี๊ยบ เป็นไม้พุ่มอายุปีเดียว สูงประมาณ ๑ – ๒ เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ใบ รูปรีแหลม ขอบใบเว้าลึก
๓ หยักหรือเรียบ ก้านใบยาวประมาณ ๕ เซนติเมตร หรือบางครั้งพบใบหลายลักษณะ ดอก เป็นดอกเดี่ยวสีชมพู ออกบริเวณ
ง่ามใบ ตรงกลางดอกมีสีเข้มกว่าด้านนอก ก้านดอกสั้น กลีบรองดอกลักษณะปลายแหลมมีประมาณ ๘ – ๑๒ กลีบ กลีบเลี้ยง

	
จะแผ่ขยายติดกันออกหุ้มเมล็ดไว้ มีสีแดงเข้ม หักง่าย ผล รูปรี ปลายแหลม ผลมีความยาวประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร หุ้มไว้ด้วย
กลีบเลี้ยงสีแดงสด

การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร	
ประโยชน์ทางสมุนไพร	 	

	

	

	

	

	

	

ใบ ใช้ปรุงอาหารทำให้มีรสเปรี้ยว  
ใบอ่ อ น ช่ ว ยย่ อ ยอาหาร ละลายเสมหะ ขั บ ปั ส สาวะ กลี บ เลี ้ ย ง 

	
ขับปัสสาวะ ขับน้ำดี แก้นิ่ว แก้กระหายน้ำ

๑
ชื่ออื่น	

ยี่หร่า โหรพาช้าง กะเพราญวน


	
กระเพราช้าง เป็นไม้พุ่มเตี้ยสูงประมาณ ๕๐ – ๘๐ เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นสีน้ำตาลแก่ ใบ เป็น

	
ใบเดี่ยวออกตรงข้ามคู่กัน ขอบใบหยัก ปลายใบแหลม แผ่นใบสาก ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอดประกอบด้วยดอกขนาดเล็ก	


จำนวนมาก เมล็ด ลักษณะกลมรีขนาดเล็กสีน้ำตาลอ่อน

การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร	
ประโยชน์ทางสมุนไพร	 	




๒

ใบ ใช้ผัดกับเนื้อช่วยดับกลิ่นคาว ใส่แกง เมล็ด ทำเครื่องเทศ
ทั้งต้น เป็นยาขับลม ช่วยย่อย แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
ชื่ออื่น	

กล้วยน้ำว้า กล้วยส้ม  กล้วยนิออง


	
กล้วยลิอ่อง  เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเทียมเกิดจากกาบหุ้มซ้อนกันเป็นลำขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๒ – ๕ เมตร กาบลำต้น
ด้านนอกสีเขียวอ่อน ใบ มีสีเขียวเป็นแผ่นยาวเส้นใบขนานกัน แกนใบเห็นได้ชัดเจน ท้องใบมีนวลขาว ดอก ออกเป็นช่อห้อยลง
กาบหุ้มสีแดงม่วงดอกย้อยติดกันเป็นแผง ฐานดอกเป็นดอกตัวเมีย ส่วนปลายเป็นดอกตัวผู้เมื่อดอกตัวเมียเติบโตเป็นผลดอกตัวผู้
จะเริ่มร่วงหล่น ผล เมื่อดอกเจริญกลายเป็นผลแล้วผลจะประกอบเป็นหวีเครือละประมาณ ๗ – ๑๐ หวี ผลอ่อนจะมีสีเขียว 

	
เมื่อสุกจะมีสีเหลืองอมน้ำตาล เนื้อในสีขาว มีรสหวาน ผลลักษณะเป็นเหลี่ยม เปลือกหนา ก้านผลสั้น แต่ละต้นจะให้ผลเพียง

	
ครั้งเดียวแล้วก็จะเน่าตายไป

การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร	

	

	

	

	

	

ประโยชน์ทางสมุนไพร	

	
	
           


	

	

	

	

ดอก (หัวปลี)  ใช้แกง  รับประทานสดร่วมกับน้ำพริกต่างๆ  แกนกลาง 

	
(หยวก)  ใช้แกง  ดอง 

	
	

ผลดิบแก้ท้องเสีย รักษาโรคกระเพาะอาหาร ผลสุก เป็นยาระบาย 

	
ดอก (หัวปลี) แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ โรคโลหิตจาง ลดน้ำตาลในเส้นเลือด

๓
ชื่ออื่น	

มะกอก  มะกอกป่า กอกเขา


	
กอก เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง ๑๕ – ๒๕   เมตร
ลำต้นเปลาตรง เปลือกหนา สีเทา เรียบมีต่อมระบายอากาศมาก
เรือนยอดเป็นพุ่มกลม โปร่ง กิ่งอ่อน เกลี้ยง ใบ เป็นช่อแบบ

	
ขนนกติดเรียงสลับเวียนกัน แต่ละช่อมีใบย่อยรูปรีแกมรูปไข่ ออก
เป็นคู่ๆ ตรงข้ามหรือเยื้องเล็กน้อยมี ๔ – ๖ คู่ ปลายใบสุดก้านช่อ
จะออกเดี่ยวๆ ขนาดกว้าง ๓ – ๔ เซนติเมตร ยาว ๗ - ๑๒
เซนติเมตร เนื้อใบหนา เนียน เกลี้ยงเป็นมัน ขอบใบเรียบ ใบอ่อน

	
สีน้ำตาลอมแดง ดอก ออกรวมกันเป็นช่อโตตามง่ามใบหรือปลายกิ่ง
มีสีขาว ขนาดเล็ก ผล กลมรี วัดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓ - ๓.๕
เซนติเมตร ผลแก่สีเขียวอ่อน เมล็ดโตและแข็ง มีเมล็ดเดียว ผิวเมล็ด
เป็นเสี้ยนและมีเนื้อเยื่อบางๆ หุ้ม

การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร 
ใบอ่อนและยอดอ่อนใช้เป็นผักแกล้มลาบ หลู้ น้ำพริกปลาร้า ผลสุกมีรสเปรี้ยว
ใช้ปรุงส้มตำ น้ำพริกตาแดง ตำมะม่วง 

ประโยชน์ด้านสมุนไพร 
ผล แก้ เ ลื อ ดออกตามไรฟั น แก้ ธ าตุ พ ิ ก าร แก้ บ ิ ด แก้ ด ี พ ิ ก าร แก้ โรค

	
ขาดแคลเซี่ยม ทำให้ชุ่มคอ เมล็ดแก้ไข้มีพิษร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ


๔
ชื่ออื่น	

แมงลัก  อีตู่


	
กอมก้อขาว เป็นไม้ล้มลุก ต้นสูงประมาณ ๓๐ – ๙๐ เซนติเมตร ทุกส่วนมีกลิ่นเฉพาะ ลำต้นสี่เหลี่ยม กิ่งอ่อน

	
มีสีม่วงแดงแกมเขียว ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปวงรี กว้างประมาณ ๒ – ๓ เซนติเมตร  ยาวประมาณ ๔ – ๖
เซนติเมตร ขอบใบหยักแบบฟันเลือยห่างๆ ดอก ออกเป็นช่อทีปลายยอด กลีบเลียงและกลีบดอกต่างแยกเป็น ๒ ปาก กลีบดอกสีขาว
่
่
้
ปากล่างมีแถบสีม่วงแดงตามยาว ใบประดับสีเขียวแกมม่วง ผล เป็นผลแบบแห้งมี ๔ ผลย่อย

การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร	

	

	

	

	

	

ประโยชน์ด้านสมุนไพร	

	


	

	

	

	

	

ยอดอ่อนลวกรับประทานร่วมกับน้ำพริก ใบสดรับประทานกับขนมจีน  

	
ใส่แกงหน่อ แกงแค  แกงอ่อม  ดับกลิ่นคาวในอาหาร

	
	

ใบสดแก้ท้องอืดเฟ้อ น้ำมันหอมระเหยที่มีในใบช่วยการบีบตัวของ

	
ลำไส้เล็ก สามารถขับลมในลำไส้ได้ดี

๕
ชื่ออื่น	

ปีบ  ก้านของ  กาซะลอง


	
กาซะลอง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง
สูงประมาณ ๑๕ เมตร ลำต้นเปลาตรงเปลือก
หนา สีเทาอมเหลือง แตกเป็นร่องหรือเป็น

	
สะเก็ดเล็กๆ ตามลำต้นและกิ่งก้าน ใบ ออก
เป็นช่อ แต่ละช่อประกอบด้วยใบเล็กๆ รูปไข่
ขอบใบเรี ย บหรื อ อาจหยั ก ห่ า งๆ ปลายใบ
แหลมเป็นติ่งยาว โคนใบมน ดอก สีขาว
กลิ ่ น หอมอ่ อ นๆ ออกรวมกั น เป็ นช่ อ โตๆ
ตามปลายกิ่ง ดอกรูปแตรเรียวยาวได้ถึง ๖
เซนติ เ มตร ปลายดอกห้ อ ยย้ อ ยลง  
ปลายดอกแยกออกเป็น ๕ แฉก ดอก
จะบานในเวลากลางคืน ผล เป็นฝัก
แบนๆ ยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร
หั ว และปลายฝั ก แหลมภายใน

	
มีเมล็ดยาวสีขาว มีกลีบทำให้ปลิว
ไปตามลมได้ระยะไกล



การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร   
ยอดอ่ อ นย่ า งไฟให้ ห อมหรื อ นำมาต้ ม รั บ ประทานร่ ว มกั บ	


น้ำพริก ลาบ หรืออาหารที่มีรสจัด

ประโยชน์ทางสมุนไพร  
ดอกรักษาริดสีดวงจมูก ต้มน้ำดื่มแก้ไอ ราก บำรุงปอดและ
รักษาวัณโรค

๖
ชื่ออื่น	

	

	

กุ่มน้ำ (ทั่วไป)
	
กุ่มน้ำเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงถึง ๒๐ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ
๔๐ เซนติเมตร แผ่กิ่งก้านสาขามาก ใบ ออกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมี ๓ ใบรูปหอก กว้าง
๑.๕ – ๖.๕ เซนติเมตร ยาว ๔.๕ – ๒๓ เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบ
สอบแคบ เนื้อใบหนามันเป็นแผ่นหนัง เส้นกลางใบมีสีค่อนข้างแดงผิวใบด้านล่าง

	
จะมีละอองสีเทาปกคลุมก้านใบแข็งยาว ๔ – ๑๔ เซนติเมตร ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะ
ที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว ๑๐ – ๑๖ เซนติเมตร มี ๒๐ – ๑๐๐ ดอก กลีบรองดอกรูปไข่ปลายแหลม 

	
กลีบดอกกว้าง ๑.๕ – ๒ เซนติเมตร ยาว ๑.๕ – ๓ เซนติเมตร เกสรตัวผู้มีสีม่วง มี ๑๕ – ๒๕ อัน ดอกเมื่อ
บานจะมีสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อแก่ ผล รูปรียาว ๕ – ๘ เซนติเมตร เปลือกหนามีสะเก็ดบางๆ 

	
     เมื่อสุกจะมีสีเทา

การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร	

ยอดอ่อน และดอกอ่อนนำมาดองกับเกลือรับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก

แดง น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกปลาร้า หรือยำกับปลาทู

ประโยชน์ด้านสมุนไพร	

         ผล แก้ไข้ ใบขับเหงื่อ แก้ไข้ แก้ปวดเส้น ดอกแก้เจ็บตา เจ็บคอ เปลือกต้น

	

แก้ไข้ ขับน้ำดี ระงับพิษที่ผิวหนัง ขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ

๗
ชื่ออื่น	

ก่าม
	
กุ่มบก เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ ๗ – ๑๐ เมตร   ใบ เป็นใบประกอบ มี ๓ ใบย่อย กว้าง ๑๓ – ๑๕
เซนติเมตร ยาว ๑๒ – ๑๓ เซนติเมตร มีใบย่อย กว้าง ๒.๗ – ๕ เซนติเมตร ยาว ๖ – ๙ เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาวประมาณ
๐.๕ เซนติเมตร แผ่นใบคล้ายกระดาษ รูปไข่กลับ โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบป้าน ขอบเรียบ ผิวใบทั้ง ๒ ด้านเกลี้ยง ดอก เป็นช่อ
แบบกระจะ ดอกย่อยมีก้านเรียงสลับบนแกนกลาง ช่อดอกยาว ๘ – ๙ เซนติเมตร มีใบประดับคล้ายใบดอกดอกย่อย มีเส้น

	
ผ่าศูนย์กลาง ๒.๕ – ๓ เซนติเมตร ก้านดอกย่อย ยาว ๓.๕ - ๕ เซนติเมตร กลีบเลี้ยงมี ๕ กลีบ โคนติดกัน กลีบดอกมีจำนวน 

	
๔ กลีบ สีขาวรูปรี ปลายมน มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ที่โคนติดกับก้านชูเกสรเพศเมีย ก้านชูเกสรเพศผู้สีชมพูยาวประมาณ 

	
๓ เซนติเมตร เกสรเพศเมียมี ๑ อัน อยู่เหนือวงกลีบมีสีขาวครีม ยาวประมาณ ๓ เซนติเมตร ผล กลมเกลี้ยงเปลือกแข็ง	


เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓ เซนติเมตร ก้านผลยาวประมาณ ๔ เซนติเมตร

การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร	

	

	

	

	

	

ประโยชน์ด้านสมุนไพร	

	


๘

	

	

	

	

	

ยอดอ่อน ดอกอ่อน นำมาดองกับน้ำเกลือรับประทานเป็นผักจิ้มร่วมกับ	


น้ำพริกปลาร้า น้ำพริกตาแดง ยำกับปลาทูนึ่ง

	
	

ผล ขับลม   แก้กลากเกลื้อน เปลือกต้น แก้ปวดท้อง บำรุงไต บำรุง

	
หัวใจ แก้บวม
ชื่ออื่น	

สันพร้าหอม 


	
เกี๋ยงพาลาบ เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ ๑ – ๑.๕ เมตร  ลำต้นสีแดง ทุกส่วนเมื่อขยี้ดมมีกลิ่นหอม ใบ ออกเป็นกระจุก
แคบเรียว เมื่อยังอ่อนขอบใบและเส้นกลางใบด้านท้องใบมีสีแดง และมีขนประปราย ใบ   ยาวประมาณ ๒๐ – ๒๕ เซนติเมตร
ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ปลายใบแหลม  ก้านใบสั้น ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด สีขาวอมชมพูอ่อน ๆ เป็นกระจุกเล็กๆ เมล็ด
ขนาดเล็ก ที่ปลายเมล็ดมีขนหรือ แพพพัส ช่วยในการกระจายพันธ์ุ

การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร	

	

	

	

	

	

ประโยชน์ด้านสมุนไพร	

	
	

	
	

	
	

	
	

	
	

	

ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักสดร่วมกับลาบ หลู้ ส้า น้ำพริก หรืออาหาร

	
ที่มีรสจัด

	
	
	

ทั้งต้นแก้ไข้ เป็นยาชูกำลัง ขับเหงื่อ แก้ท้องอืดเฟ้อ ช่วยให้ลมหายใจ

	
สดชื ่ น กระตุ ้ นทางเพศ น้ ำ ต้ ม รากขั บ พิ ษ และช่ ว ยให้ ป ระจำเดื อ น

	
เป็นปกติ

๙
ชื่ออื่น	

ข่าป่า ข่าลิง


	
ข่าแกง เป็นไม้ล้มลุกข้ามฤดู   สูงประมาณ ๑.๕ – ๒ เมตร ลำต้นอยู่ใต้ดิน (เหง้า) ขนาดเล็ก ลักษณะเป็นข้อๆ และ
ปล้องเห็นได้ชัดเจน ส่วนที่อยู่เหนือดินจะเป็นก้านและใบ ใบ รูปไข่ยาว หรือรูปรีขอบขนาน ปลายใบแหลมกว้างประมาณ ๔ – ๕
เซนติเมตร ยาวประมาณ ๘ – ๑๐ เซนติเมตร สีเขียวเข้มเป็นมัน ออกสลับมีกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็นช่อที่ยอด ก้านดอกยาว
ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาวกระสีน้ำตาล โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกออกเป็น ๓ กลีบ กลีบที่โตสุดมีริ้วสีแดง 

	
ผล กลม เมื่อสุกจะเป็นสีส้มภายในผลจะมีเมล็ด

การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร	

	

	

	

	

	

ประโยชน์ทางสมุนไพร	

	


	

๑๐

	

	

	

	

เหง้า ใช้เป็นเครื่องปรุงน้ำพริก ต้นอ่อน (หน่อ) ต้มรับประทานร่วมกับ

	
น้ำพริกปลาร้า น้ำพริกหนุ่ม

	
	

เหง้า  แก้กามโรค แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียดแน่น ต้น แก้ฝีดาษ ฝีฝักบัว  

	
ใบ แก้โรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน
ชื่ออื่น	

ข่า  ข่าหยวก


	
ข่าหลวง เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ ๑.๕ – ๒ เซนติเมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดิน หรือเหง้าลักษณะเป็นข้อและปล้องชัดเจน  
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้างประมาณ ๗ – ๙ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๐ – ๓๐
เซนติเมตร ดอก   ออกเป็นช่อที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาวโคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ส่วนปลายแยกเป็น	
 

๓ กลีบ กลีบที่โตที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่  ผล เป็นผลแห้ง รูปกลมแตกได้


การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร	

	

	

	

	

	

ประโยชน์ด้านสมุนไพร	
	

	

	

	

	

	

หน่ออ่อน ต้ม ลวก รับประทานร่วมกับน้ำพริก เหง้า ใช้ปรุงอาหาร 

	
ดับกลิ่นคาว เหง้าสดหั่นฝอยใส่ลาบเนื้อ ลาบปลา

	
	

เหง้าต้มน้ำดื่ม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม   เหง้าสดโขลกผสม

	
เหล้าโรงทาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น กลาก เกลื้อน

๑๑
ชื่ออื่น	


	
ขิงหยวก เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ ๓๐ – ๑๐๐ เซนติเมตร 

	
มีลำต้นอยู่ใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวล มีกลิ่น
เฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมตังขึนเหนือผิวดิน ใบ เป็นใบเดียว เรียงสลับ
้ ้
่
รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้างประมาณ ๑ – ๒ เซนติเมตร ยาวประมาณ
๑๕ – ๒๐ เซนติเมตร ดอก ออกเป็นช่อแทงออกจากเหง้า กลีบดอกสีเหลือง
แกมเขียว ใบประดับสีเขียวอ่อน  ผล เป็นแบบผลแห้งมี ๓ พู 




การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร	

	

ขิง ขิงแกลง

	

	

	

	

ประโยชน์ด้านสมุนไพร	



๑๒

	

เหง้ า อ่ อ นรั บ ประทานเป็ น เครื ่ อ งเคี ย งใน เมี ่ ย งคำ ยำ   ยอดอ่ อ น

	
รับประทานเป็นผักสดร่วมกับอาหารที่มีรสจัด

	

เหง้าแก่ทั้งสด และแห้ง เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด แก้ไอ ขับเสมหะ
ชื่ออื่น	

ขี้เหล็กบ้าน  ขี้เหล็กใหญ่  ขี้เหล็กกินดอก  ผักจี้ลี้


	
ขี้เหล็ก เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง ๘ - ๑๕ เมตร ลำต้นมักขดงอเป็นปุ่มปม เปลือก

	
สีเทาหรือน้ำตาลดำ แตกเป็นร่องสะเก็ดทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ยอดอ่อนและใบอ่อน
ออกเป็ น สี แดงเรื ่ อ ๆ ใบ   ออกเป็ นช่ อ แบบขนนกช่ อ ติ ด เรี ย งสลั บ ยาวประมาณ ๓๐
เซนติเมตร แต่ละช่อมีใบย่อยรูปขอบขนานแคบๆ กว้าง ๑ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๓
เซนติเมตร ติดเป็นคู่ตรงข้ามกัน ๕ - ๑๒ คู่ ที่ปลายสุดของช่อเป็นใบเดี่ยว  ดอก  สีเหลือง
ออกเป็นช่อโตๆ ที่ปลายกิ่ง ยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ก้านช่อย่อยมักติดสลับเวียนกัน
ดอกจะเริ่มบานจากโคนช่อสู่ปลายช่อ ผล เป็นฝักแบนสีคล้ำๆ ยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร
กว้างประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดเรียงตัวตามขวางมีประมาณ ๒๐ – ๓๐
เมล็ด

การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร	
ประโยชน์ด้านสมุนไพร	 	

	


	

	

	

	

	

ใบอ่อน ยอดอ่อน และดอกอ่อน ใช้แกง
ใบ แก้ระดูขาว ถ่ายพิษไข้   ดองสุราดื่มแก้อาการนอนไม่หลับ แก่น 

	
แก้เหน็บชา ขับโลหิต แก้กามโรค แก้หนองใน ถ่ายเส้น

๑๓
ชื่ออื่น	

	



ฝอยทอง  ผักไหม  ฝอยไหม


	
เครื อ เขาคำ เป็ น พื ช ล้ ม ลุ ก เจริ ญ เติ บ โตบนต้ น ไม้ อ ื ่ น	
  

โดยดูดอาหารจากต้นไม้ที่เกาะอาศัย   ลำต้นเป็นเถาเลื้อยยาวกลม
อ่อนนุ่มสีเหลืองแตกกิ่งมาก ใบ มีลักษณะเป็นเกล็ด รูปสามเหลี่ยม
เล็ ก ๆ ออกจากลำต้ น แบบสลั บ ใบมี ส ี เหลื อ งเหมื อ นสี ข องลำต้น  
ดอก มีขนาดเล็ก ดอกเป็นช่อสีขาว มีดอกย่อยจำนวนมาก ปลาย
กลีบดอกแยกออกเป็น ๕ กลีบ ลักษณะกลมมน

การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร  
ลำต้นอ่อน  ยอดอ่อน ยำใส่มะเขือ

ประโยชน์ด้านสมุนไพร  
๑๔

ทั้งต้น ช่วยห้ามเลือด  อุจจาระเป็นเลือด  บำรุงไต  แก้ปวดเอวและต้นขา
ชื่ออื่น	

แค แคบ้าน แคดอกแดง
	
แคขาว  เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ ๒ – ๕ เมตร โตเร็วแตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นสีน้ำตาลมีรอยขรุขระ
หนา เปลือกในสีชมพู   ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยขนาดเล็กเรียงเป็นคู่ประมาณ ๑๐ – ๒๕ คู่ ใบย่อยรูปขอบขนาน
ปลายกลมเว้าตื้น มีขนแนบชิดผิวใบทั้ง ๒ ด้าน ขนาดใบยาว ๓ – ๔ เซนติเมตร กว้าง ๑ – ๑.๕ เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาว 

	
๐.๑ – ๐.๒ เซนติเมตร   ดอก   เป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อแบบช่อกระจะ มี ๒ – ๔ ดอก ห้อยลงสีขาวหรือสีแดงเข้ม ยาว 

	
๑.๕ – ๕ เซนติเมตร ก้านดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ยาว ๕ – ๗.๕ เซนติเมตร กว้าง ๓.๕ – ๕ เซนติเมตร  ผล ลักษณะเป็นฝักยาว
ประมาณ  ๒๐ – ๕๐ เซนติเมตร กว้าง ๐.๗ – ๐.๙ เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกออกเป็น ๒ ซีก มีเมล็ดอยู่ตรงกลางมีแถวเดียว
ลักษณะกลมแบนสีน้ำตาลอ่อน แข็ง

การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร	
ประโยชน์ด้านสมุนไพร	 	

ยอดอ่อน ดอก ใช้แกง ลวก นึ่ง รับประทานร่วมกับน้ำพริก
ยอดอ่อน ใบอ่อน  ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้  แก้ลม บำรุงหัวใจ

๑๕
ชื่ออื่น	

แคขาว แคป่า  แคยอดดำ  แคอาว


	
แคนา เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูงประมาณ ๑๐ – ๒๐ เมตร ลำต้นเปลาตรงมักแตกกิ่งต่ำเปลือกต้นสีน้ำตาล
อมเทาบางทีมีประสีดำ เปลือกในสีนวลหรือน้ำตาลปนเหลืองอ่อนๆ เรือนยอดเป็นพุ่มรูปไข่ค่อนข้างทึบ กิ่งอ่อนเกลี้ยงมีช่องระบาย
อากาศทั่วไป ใบ   เป็นช่อแต่ละช่อมีใบย่อยรูปรี ๓ – ๗ ใบ ติดตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ส่วนปลายสุดจะเป็นใบเดี่ยวกว้างประมาณ 

	
๓ – ๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๕ – ๑๐ เซนติเมตร โคนใบสอบปลายใบเรียวแหลม เนื้อใบบางเกลี้ยง ก้านใบยาวประมาณ 

	
๑ – ๓ เซนติเมตร  ดอก  โต สีขาวรูปแตร ออกรวมกันเป็นช่อสั้นๆ ตามปลายกิ่ง ช่อยาว ประมาณ ๒ – ๓ เซนติเมตร มี ๓ – ๗
ดอก กลีบฐานดอกทรงรูปกรวยปลายด้านหนึ่งจะเป็นจะงอย ผิวคล้ำ โคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอดรูปทรงกระบอกตอนครึ่งล่าง
ส่วนครึ่งบนผายโป่งออกผิวกลีบและขอบกลีบจะย่นเป็นริ้ว ฝัก  แบน รูปขอบขนานยาวประมาณ ๘๐ เซนติเมตร ลักษณะคดโค้ง
หรือบิดไปมา

การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร	
ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร	

	

	

๑๖

	

	

	

	

ดอก ต้ม ลวก บีบน้ำออกเพื่อลดความขม ใช้ยำ และจิ้มน้ำพริก
ดอก ขับเสมหะ โลหิต และลม ขับผายลม เมล็ดแก้ปวดประสาท 

	
แก้โรคชัก เปลือก แก้ท้องอืด
ชื่ออื่น	

งิ้วแดง    งิ้วบ้าน 


	
งิ้วเป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ ๒๕ เมตร แตกกิ่ง
ก้านสาข าตามเรือนยอด ลำต้นมีหนามแหลมคม
ทั่วไป ใบ แบบใบรวมประกอบขึ้นจากใบย่อย
รูปร่างแหลมยาว มี ๕ – ๗ ใบ รวมกันยาว
ประมาณ ๓๐ เซนติ เมตร ใบย่ อ ยเรี ย งกั น
คล้ายนิ้วมือ ดอก สีแดงขนาดใหญ่มีเกสร
รวมกันหลายกระจุกอยู่ในวงล้อมเป็นของ
กลีบทั้ง ๕ กลีบรองดอกมีสีเขียว ลักษณะ
เป็นรูปถ้วยมนแข็งกลางดอกจะมีเกสรซ้อนเรียงกัน
อยู ่ ๓ ชั ้ น และตามกลี บ ดอกจะมี ข นมั น เป็ น เงาปกคลุ ม อยู 	
่ 

เวลาออกดอกจะทิ้งใบ ผล มีขนาดใหญ่ รูปมนรีปลายแหลม

	
ทั ้ ง สองข้ า ง ผลอ่ อ นมี ส ี เขี ย วแล้ ว เปลี ่ ย นเป็ น สี น ้ ำ ตาลตอนแก่
เปลือกแข็ง ยาวประมาณ ๑๕ – ๒๐ เซนติเมตร ภายในมีใย

	
เป็นปุยสีขาวและมีเมล็ดสีดำจำนวนมาก
 

การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร  
	

เกสรดอกงิ้วตากแห้งใช้โรยหน้าขนมจีนน้ำเงี้ยว แกงแค

ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร  
	
ดอกตากแห้งนำมาต้มกับน้ำแก้ท้องร่วง เปลือกต้นแก้
กระเพาะอาหารอักเสบ แก้ท้องร่วง


๑๗
ชื่ออื่น	

สะค้าน  สะค้านเนื้อ
	
จะค่าน   เป็นไม้เลื้อย   ลำต้นอวบ   ผิวเป็นตุ่มเล็กๆ แตกกิ่งได้มาก  

	
ข้อโป่งนูน  ก้านใบยาว ๕ - ๗ เซนติเมตร  ใบบางเหนียวสีเขียวอ่อน  เมื่อใบแห้ง
แผ่ น ใบและเส้ น ใบมี ส ี แ ดงคล้ า ยสี อ ิ ฐ   แผ่ น ใบรู ป ไข่ แ กมรู ป หอก   กว้ า ง 

	
๗.๘ - ๑๐ เซนติเมตร  ยาว ๑๔ - ๒๐ เซนติเมตร ฐานใบรูปลิ่ม ปลายใบแหลม  
เส้นใบด้านท้องใบนูนมีจำนวน ๖ - ๗ เส้น ดอก  เป็นช่อห้อยลงช่อดอกเพศผู้
สีเหลือง ก้านช่อดอกยาว ๑ - ๒ เซนติเมตร  แกนช่อดอกมีขนใบประดับรูปกลม  
ด้านล่างมีขน ผล  รูปไข่หรือรูปรี  ช่อผลยาว ๑๕ - ๒๕ เซนติเมตร  ไม่มีก้านผล

การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร	

	

	

	

	

	

ประโยชน์ด้านสมุนไพร	
	

	

๑๘

	

	

	

	

เถาใส่แกงแคเป็นเครื่องชูรส   โดยปอกเปลือกออกแล้วหั่นเป็นแว่นๆ

	
หรือใส่แกงมะหนุน  ใบอ่อนรับประทานเป็นผักแกล้มกับลาบ  ก้อย

	
	

ใบ  ขับลมในลำไส้   แก้แน่นจุกเสียด  ดอกแก้ลมอัมพฤกษ์   ผลแก้ลม

	
ในทรวงอก  รากแก้ไข้  แก้จุกเสียด รักษาธาตุ
ชื่ออื่น	

ตะไคร้  ไคร  คาหอม หัวซิงไค


	
จะไค เป็นพืชล้มลุก ขึ้นเป็นกอ สูงประมาณ ๑ เมตร ลักษณะลำต้นเป็นรูปทรงกระบอกแข็ง เกลี้ยง ตามลำต้นมักมีไข
สีขาวปกคลุม มีอายุหลายปี   ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว แตกใบออกเป็นกอ รูปขอบขนานปลายใบแหลม ผิวใบสากทั้งสองด้าน 

	
เส้นกลางใบแข็ง ขอบใบมีขนขึ้นประปราย กว้างประมาณ ๒ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๖๐ – ๙๐ เซนติเมตร ดอก ออกเป็นช่อ
กระจาย ช่อดอกย่อยมีก้านออกเป็นคู่ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ

การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร	
ประโยชน์ทางสมุนไพร	 	

	


	

	

	

	

	

ลำต้น ใช้ปรุงอาหารเพื่อดับกลิ่น ใส่แกง ซอยใส่ยำ ลาบ  ส้า
ทั้งต้น รักษาอาการหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลม 

	
บำรุงธาตุไฟให้เจริญ

๑๙
ชื่ออื่น	

อีลอก บุก อีลอกเขา


	
ดอกก้าน เป็นไม้ล้มลุกมีเหง้าใต้ดิน ลักษณะกลมผิวขรุขระมีรากโดยรอบ ในฤดูฝนจะมีก้านใบงอกโผล่ขึ้นมาเหนือดิน
ลักษณะอวบน้ำไม่มีแกนยาวประมาณ ๕๐ – ๑๒๐ เซนติเมตร มีลายสีเขียว น้ำตาล และดำ ทั้งแบบเป็นพื้นและจุดด่างหรือแถบ
ลายแตกต่างกันไป ใบ มีก้านใบย่อยแตกออกจากปลายก้านใบ ๒ – ๓ ก้าน และมีใบประกอบ ๑๐ – ๑๒ ใบ ออกเป็นคู่รูปหอก
ยาวประมาณ ๑๕ – ๒๕ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๕ – ๑๐ เซนิเมตร ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้มหรือบางชนิดมีจุดสีขาว
กระจายอยู่ทั่วไปมีหูใบติดก้านใบย่อย ดอก มีก้านยาวออกบริเวณเหง้าลักษณะคล้ายก้านใบ มีดอกอยู่ตรงปลายก้าน มีเกสร

	
เป็นแท่งอยู่ตรงกลาง ผล ลักษณะกลม สีเขียวเรียงติดกันเป็นแท่งยาวประมาณ ๕ – ๘ เซนติเมตร และมีกลีบเลี้ยงห่อด้านหลัง
ผลสุกสีแดงส้ม

การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร	

	

	

	

	

	

ประโยชน์ด้านสมุนไพร	


	


	

ก้านใบและก้านดอกลอกเปลือกออกแล้วนำมาแกงอ่อม แกงหน่อและ

	
แกงร่วมกับเห็ดลม

	

เหง้าใช้พอกกัดฝีหนอง

ข้อควรระวัง ต้องปรุงให้สุกก่อนบริโภค

๒๐
ชื่ออื่น	

เนระพูสีไทย  ค้างคาวดำ  ว่านหูเลย  ม้าถอนหลัก


	
ดีงูว่า เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี   มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ลักษณะรูปทรงกระบอก ลำต้นสูงประมาณ ๓๐ – ๕๐ เซนติเมตร  
ใบ ออกเรียงเวียนสลับ เป็นรัศมีวงรี รูปขอบขนานถึงรูปหอก กว้างประมาณ ๘ – ๑๘ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๒๐ – ๖๐
เซนติเมตร ก้านแผ่เป็นครีบ ดอก ลักษณะคล้ายค้างคาวบิน ออกเป็นช่อแบบซี่ร่ม มีดอกย่อย ๔ – ๖ ดอก สีม่วงแกมเขียว

	
ถึงม่วงดำ มีใบประดับ ๒ คู่ สีเขียวถึงสีมวงดำ เรียงตังฉากกัน ผล เป็นผลสด รูปหอกขนานแกนสามเหลียม มีสนเป็นคลืนตามยาว
่
้
่
ั
่

การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร	
ประโยชน์ทางสมุนไพร	 	



ใบอ่อน ยอดอ่อน ลวก ต้ม รับประทานร่วมกับน้ำพริก ลาบ ส้า หลู้
หัว  หั่นเป็นแว่น ๆ ดองเหล้า ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง  บำรุงกำหนัด

๒๑
ชื่ออื่น	

ดีปลีเชือก  ประดงข้อ บี้ฮวด


	
ดีปลี เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันไปตามไม้อื่น มีรากที่ข้อสำหรับยึดเกาะ ใบ เป็นใบเดี่ยวออกสลับรูปไข่แกมขอบขนาน
กว้างประมาณ ๓ – ๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๗ – ๑๐ เซนติเมตร ผิวเกลี้ยงเป็นมันโคนเบี้ยวปลายแหลม ขอบเรียบ  มีเส้นใบ
ออกจากโคนใบจำนวน ๓ – ๕ เส้น ดอก ออกเป็นช่อมีดอกย่อยเรียงแน่นบนช่อดอก ช่อดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน	


ช่อดอกตัวผู้ยาวประมาณ ๔ – ๕ เซนติเมตร ช่อดอกตัวเมียยาวประมาณ ๓ – ๔ เซนติเมตร ผล อัดกันแน่นบนแกนช่อ ยาว
ประมาณ ๒ – ๕ เซนติเมตร ผลเมื่อสุกจะเป็นสีน้ำตาลแกมแดง

การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร	
ประโยชน์ทางสมุนไพร	 	

	

	

๒๒

	

	

	

	

ผลใส่แกงแค  ใส่แกงโฮะ  ทำเครื่องปรุง
ผล กลิ่นหอม เผ็ดคล้ายพริกไทย เป็นยาขับลม   แก้อาการอ่อนเพลีย  

	
ช่วยย่อยอาหาร เจริญอาหาร ขับระดู ทำให้แท้ง
ชื่ออื่น	

ทองหลางน้ำ ทองหลางหนาม ทองหลางบ้าน


	
ตอง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูงประมาณ ๑๐ – ๑๗ เมตร ตามกิ่งก้านมีหนามแหลมคมทั่วไป ใบ เป็นใบ
ประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ ยาวประมาณ ๒๐ – ๓๐ เซนติเมตร เนื้อใบหนาเหนียว เมื่อแก่ผิวใบด้านล่างมีแป้งขาวปกคลุม	
 

ใบย่อยตอนปลายยอดรูปไข่ขอบขนาน กว้างประมาณ ๘ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๕ เซนติเมตร ดอก   ออกเป็นช่อยาว
ประมาณ ๑๗ มิลลิเมตร มีกลีบดอก ๕ กลีบขนาดไม่เท่ากัน กลีบที่หนาจะใหญ่ที่สุด ส่วนกลีบในสุดจะเล็กและแคบที่สุด	
 

กลีบดอกมีสีม่วงถึงแดงเข้ม ดอกจะออกในช่วงที่ผลัดใบ ผล เป็นฝักลักษณะยาวตรง ยาวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร กว้าง
ประมาณ ๒ เซนติเมตร มีสีน้ำตาลอ่อน  เมล็ด รูปไตยาวประมาณ ๒ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๗ มิลลิเมตร

การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร	

	

	

	

	

	

	

ประโยชน์ด้านสมุนไพร	 	
	


	

	

	

	

	

ยอดอ่ อ น ใบอ่ อ น   รั บ ประทานเป็ น ผั ก สดร่ ว มกั บ น้ ำ พริ ก ตาแดง  

	
น้ำพริกปลาร้า และทำเมี่ยงคำ
เปลือกต้น แก้เสมหะ แก้ลมพิษ แก้ตาแดง   ราก   แก้พยาธิในท้อง 

	
แก้เสมหะและลม แก้ไข้หวัด

๒๓
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร
ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร

More Related Content

What's hot

โครงงานลูกประคบสมุนไพร
โครงงานลูกประคบสมุนไพรโครงงานลูกประคบสมุนไพร
โครงงานลูกประคบสมุนไพรNattakarntick
 
คู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสตคู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสตsivapong klongpanich
 
ตัวอย่างหนังสือยกพระสังฆาธิการขึ้นเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะ
ตัวอย่างหนังสือยกพระสังฆาธิการขึ้นเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะตัวอย่างหนังสือยกพระสังฆาธิการขึ้นเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะ
ตัวอย่างหนังสือยกพระสังฆาธิการขึ้นเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะprapaladmanat
 
2553 โครงการห้องสมุดพี่ให้น้องครั้งที่ 1 กลุ่มจิตอาสา ม.มหิดล
2553 โครงการห้องสมุดพี่ให้น้องครั้งที่ 1 กลุ่มจิตอาสา ม.มหิดล2553 โครงการห้องสมุดพี่ให้น้องครั้งที่ 1 กลุ่มจิตอาสา ม.มหิดล
2553 โครงการห้องสมุดพี่ให้น้องครั้งที่ 1 กลุ่มจิตอาสา ม.มหิดลmahaoath พระมหาโอ๊ท
 
หนังสือรับรอง(เด็กศูนย์ฯ)
หนังสือรับรอง(เด็กศูนย์ฯ)หนังสือรับรอง(เด็กศูนย์ฯ)
หนังสือรับรอง(เด็กศูนย์ฯ)cm carent
 
5.แหล่งน้ำgs ผิวดินบาดาลใช้ประโยชน์
5.แหล่งน้ำgs ผิวดินบาดาลใช้ประโยชน์5.แหล่งน้ำgs ผิวดินบาดาลใช้ประโยชน์
5.แหล่งน้ำgs ผิวดินบาดาลใช้ประโยชน์Wichai Likitponrak
 
ขอความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์โครงการประกวดธนาคารขยะรีไซเคิล ปี 2554
ขอความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์โครงการประกวดธนาคารขยะรีไซเคิล ปี 2554ขอความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์โครงการประกวดธนาคารขยะรีไซเคิล ปี 2554
ขอความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์โครงการประกวดธนาคารขยะรีไซเคิล ปี 2554thanaetch
 
หินอัคนี.pdf
หินอัคนี.pdfหินอัคนี.pdf
หินอัคนี.pdfKru Bio Hazad
 
คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรภายใต้โครงการ Lanna health hub 2013
คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรภายใต้โครงการ Lanna health hub 2013คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรภายใต้โครงการ Lanna health hub 2013
คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรภายใต้โครงการ Lanna health hub 2013Vorawut Wongumpornpinit
 
โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ปี 2555
โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ปี 2555โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ปี 2555
โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ปี 2555kengweb
 
กล่องนม
กล่องนมกล่องนม
กล่องนมNIng Bussara
 
เรื่อง ทบทวนการบวก ลบ คูณ และหารเศษส่วน
เรื่อง  ทบทวนการบวก ลบ คูณ และหารเศษส่วนเรื่อง  ทบทวนการบวก ลบ คูณ และหารเศษส่วน
เรื่อง ทบทวนการบวก ลบ คูณ และหารเศษส่วนkanjana2536
 
ทรัพยากรน้ำ
ทรัพยากรน้ำทรัพยากรน้ำ
ทรัพยากรน้ำJiraporn
 
ประเทศไทยมีกี่ศาล
ประเทศไทยมีกี่ศาลประเทศไทยมีกี่ศาล
ประเทศไทยมีกี่ศาลNanthapong Sornkaew
 
เงามืด เงามัว
เงามืด เงามัวเงามืด เงามัว
เงามืด เงามัวPacharee Nammon
 
การใช้คำลักษณนาม
การใช้คำลักษณนามการใช้คำลักษณนาม
การใช้คำลักษณนามSup Mook
 
ตัวอย่างผลงาน Obec awards ด้านวิชาการ
ตัวอย่างผลงาน Obec awards  ด้านวิชาการตัวอย่างผลงาน Obec awards  ด้านวิชาการ
ตัวอย่างผลงาน Obec awards ด้านวิชาการptv534224
 

What's hot (20)

โครงงานลูกประคบสมุนไพร
โครงงานลูกประคบสมุนไพรโครงงานลูกประคบสมุนไพร
โครงงานลูกประคบสมุนไพร
 
คู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสตคู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสต
 
ตัวอย่างหนังสือยกพระสังฆาธิการขึ้นเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะ
ตัวอย่างหนังสือยกพระสังฆาธิการขึ้นเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะตัวอย่างหนังสือยกพระสังฆาธิการขึ้นเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะ
ตัวอย่างหนังสือยกพระสังฆาธิการขึ้นเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะ
 
2553 โครงการห้องสมุดพี่ให้น้องครั้งที่ 1 กลุ่มจิตอาสา ม.มหิดล
2553 โครงการห้องสมุดพี่ให้น้องครั้งที่ 1 กลุ่มจิตอาสา ม.มหิดล2553 โครงการห้องสมุดพี่ให้น้องครั้งที่ 1 กลุ่มจิตอาสา ม.มหิดล
2553 โครงการห้องสมุดพี่ให้น้องครั้งที่ 1 กลุ่มจิตอาสา ม.มหิดล
 
หนังสือรับรอง(เด็กศูนย์ฯ)
หนังสือรับรอง(เด็กศูนย์ฯ)หนังสือรับรอง(เด็กศูนย์ฯ)
หนังสือรับรอง(เด็กศูนย์ฯ)
 
5.แหล่งน้ำgs ผิวดินบาดาลใช้ประโยชน์
5.แหล่งน้ำgs ผิวดินบาดาลใช้ประโยชน์5.แหล่งน้ำgs ผิวดินบาดาลใช้ประโยชน์
5.แหล่งน้ำgs ผิวดินบาดาลใช้ประโยชน์
 
ขอความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์โครงการประกวดธนาคารขยะรีไซเคิล ปี 2554
ขอความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์โครงการประกวดธนาคารขยะรีไซเคิล ปี 2554ขอความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์โครงการประกวดธนาคารขยะรีไซเคิล ปี 2554
ขอความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์โครงการประกวดธนาคารขยะรีไซเคิล ปี 2554
 
หินอัคนี.pdf
หินอัคนี.pdfหินอัคนี.pdf
หินอัคนี.pdf
 
คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรภายใต้โครงการ Lanna health hub 2013
คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรภายใต้โครงการ Lanna health hub 2013คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรภายใต้โครงการ Lanna health hub 2013
คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรภายใต้โครงการ Lanna health hub 2013
 
โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ปี 2555
โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ปี 2555โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ปี 2555
โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ปี 2555
 
กล่องนม
กล่องนมกล่องนม
กล่องนม
 
เรื่อง ทบทวนการบวก ลบ คูณ และหารเศษส่วน
เรื่อง  ทบทวนการบวก ลบ คูณ และหารเศษส่วนเรื่อง  ทบทวนการบวก ลบ คูณ และหารเศษส่วน
เรื่อง ทบทวนการบวก ลบ คูณ และหารเศษส่วน
 
ทรัพยากรน้ำ
ทรัพยากรน้ำทรัพยากรน้ำ
ทรัพยากรน้ำ
 
ประเทศไทยมีกี่ศาล
ประเทศไทยมีกี่ศาลประเทศไทยมีกี่ศาล
ประเทศไทยมีกี่ศาล
 
ใบลาป่วยลากิจ
ใบลาป่วยลากิจใบลาป่วยลากิจ
ใบลาป่วยลากิจ
 
เงามืด เงามัว
เงามืด เงามัวเงามืด เงามัว
เงามืด เงามัว
 
การใช้คำลักษณนาม
การใช้คำลักษณนามการใช้คำลักษณนาม
การใช้คำลักษณนาม
 
4.ภาระงาน
4.ภาระงาน4.ภาระงาน
4.ภาระงาน
 
คำสรรพนาม
คำสรรพนามคำสรรพนาม
คำสรรพนาม
 
ตัวอย่างผลงาน Obec awards ด้านวิชาการ
ตัวอย่างผลงาน Obec awards  ด้านวิชาการตัวอย่างผลงาน Obec awards  ด้านวิชาการ
ตัวอย่างผลงาน Obec awards ด้านวิชาการ
 

Viewers also liked

งานวิจัยโยเกิร์ตข้าวโพด
งานวิจัยโยเกิร์ตข้าวโพดงานวิจัยโยเกิร์ตข้าวโพด
งานวิจัยโยเกิร์ตข้าวโพดKanitha Panya
 
9789740328322
97897403283229789740328322
9789740328322CUPress
 
เภสัชตำรับโรงพยาบาลแผนปัจจุบัน จาก สมุนไพร 49 v3 0
เภสัชตำรับโรงพยาบาลแผนปัจจุบัน จาก สมุนไพร 49 v3 0เภสัชตำรับโรงพยาบาลแผนปัจจุบัน จาก สมุนไพร 49 v3 0
เภสัชตำรับโรงพยาบาลแผนปัจจุบัน จาก สมุนไพร 49 v3 0Pongpithak Supakitjaroenkula
 
Paper การแยกแบคทีเรียแลคติกที่สามารถผลิตแบคทีริโอซินจากผัก ผลไม้ และธัญพืชหมัก
Paper การแยกแบคทีเรียแลคติกที่สามารถผลิตแบคทีริโอซินจากผัก ผลไม้ และธัญพืชหมักPaper การแยกแบคทีเรียแลคติกที่สามารถผลิตแบคทีริโอซินจากผัก ผลไม้ และธัญพืชหมัก
Paper การแยกแบคทีเรียแลคติกที่สามารถผลิตแบคทีริโอซินจากผัก ผลไม้ และธัญพืชหมักKanitha Panya
 
PROBIOTICS Alternative Microorganisms for Health
PROBIOTICS Alternative Microorganisms for HealthPROBIOTICS Alternative Microorganisms for Health
PROBIOTICS Alternative Microorganisms for HealthUtai Sukviwatsirikul
 

Viewers also liked (6)

งานวิจัยโยเกิร์ตข้าวโพด
งานวิจัยโยเกิร์ตข้าวโพดงานวิจัยโยเกิร์ตข้าวโพด
งานวิจัยโยเกิร์ตข้าวโพด
 
Unit1 organism
Unit1 organismUnit1 organism
Unit1 organism
 
9789740328322
97897403283229789740328322
9789740328322
 
เภสัชตำรับโรงพยาบาลแผนปัจจุบัน จาก สมุนไพร 49 v3 0
เภสัชตำรับโรงพยาบาลแผนปัจจุบัน จาก สมุนไพร 49 v3 0เภสัชตำรับโรงพยาบาลแผนปัจจุบัน จาก สมุนไพร 49 v3 0
เภสัชตำรับโรงพยาบาลแผนปัจจุบัน จาก สมุนไพร 49 v3 0
 
Paper การแยกแบคทีเรียแลคติกที่สามารถผลิตแบคทีริโอซินจากผัก ผลไม้ และธัญพืชหมัก
Paper การแยกแบคทีเรียแลคติกที่สามารถผลิตแบคทีริโอซินจากผัก ผลไม้ และธัญพืชหมักPaper การแยกแบคทีเรียแลคติกที่สามารถผลิตแบคทีริโอซินจากผัก ผลไม้ และธัญพืชหมัก
Paper การแยกแบคทีเรียแลคติกที่สามารถผลิตแบคทีริโอซินจากผัก ผลไม้ และธัญพืชหมัก
 
PROBIOTICS Alternative Microorganisms for Health
PROBIOTICS Alternative Microorganisms for HealthPROBIOTICS Alternative Microorganisms for Health
PROBIOTICS Alternative Microorganisms for Health
 

Similar to ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร

งานคนไทยภาคกลาง
งานคนไทยภาคกลางงานคนไทยภาคกลาง
งานคนไทยภาคกลางorawan155
 
อมรรัตน์ สีโสดา
อมรรัตน์ สีโสดา อมรรัตน์ สีโสดา
อมรรัตน์ สีโสดา MoRn5622040022
 
การศึกษาคุณภาพน้ำบริเวณแม่น้ำน่านโดยใช้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นตัวบ่งชี้
การศึกษาคุณภาพน้ำบริเวณแม่น้ำน่านโดยใช้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นตัวบ่งชี้การศึกษาคุณภาพน้ำบริเวณแม่น้ำน่านโดยใช้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นตัวบ่งชี้
การศึกษาคุณภาพน้ำบริเวณแม่น้ำน่านโดยใช้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นตัวบ่งชี้praewdao
 
ธรรมชาติยาตรา เพื่อลำน้ำชี
ธรรมชาติยาตรา เพื่อลำน้ำชีธรรมชาติยาตรา เพื่อลำน้ำชี
ธรรมชาติยาตรา เพื่อลำน้ำชีbawtho
 
รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์Kobwit Piriyawat
 
จังหวัดมหาสารคาม
จังหวัดมหาสารคามจังหวัดมหาสารคาม
จังหวัดมหาสารคามsunisa2538
 
หนังสือประกอบบทเรียน "ภูผาม่าน ตำนานเมืองทองคำ"
หนังสือประกอบบทเรียน "ภูผาม่าน ตำนานเมืองทองคำ"หนังสือประกอบบทเรียน "ภูผาม่าน ตำนานเมืองทองคำ"
หนังสือประกอบบทเรียน "ภูผาม่าน ตำนานเมืองทองคำ"Krujanppm2017
 
งานนำเสนอ1 โครงการพระราชดำริ
งานนำเสนอ1 โครงการพระราชดำริงานนำเสนอ1 โครงการพระราชดำริ
งานนำเสนอ1 โครงการพระราชดำริPare Taepthai
 
นางสาวธมลวรรณ เทพไทย ม.4/6 เลขที่ 31
นางสาวธมลวรรณ เทพไทย ม.4/6 เลขที่ 31นางสาวธมลวรรณ เทพไทย ม.4/6 เลขที่ 31
นางสาวธมลวรรณ เทพไทย ม.4/6 เลขที่ 31Pare Taepthai
 
1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว
1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว
1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพวSircom Smarnbua
 
ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทราภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทราnungruthai2513
 
Advanced Reading English Book: Doonlamphan nature trail
Advanced Reading English Book: Doonlamphan nature trailAdvanced Reading English Book: Doonlamphan nature trail
Advanced Reading English Book: Doonlamphan nature trailKrukatesada
 
20080801 Carena Pmd
20080801 Carena Pmd20080801 Carena Pmd
20080801 Carena PmdAkradech M.
 
ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชน
ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชนผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชน
ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชนnok Piyaporn
 
ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชน
ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชนผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชน
ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชนpiyapornnok
 
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ธรรมนูญชีวิต
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   ธรรมนูญชีวิตพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   ธรรมนูญชีวิต
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ธรรมนูญชีวิตTongsamut vorasan
 

Similar to ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร (20)

งานคนไทยภาคกลาง
งานคนไทยภาคกลางงานคนไทยภาคกลาง
งานคนไทยภาคกลาง
 
File
FileFile
File
 
อมรรัตน์ สีโสดา
อมรรัตน์ สีโสดา อมรรัตน์ สีโสดา
อมรรัตน์ สีโสดา
 
การศึกษาคุณภาพน้ำบริเวณแม่น้ำน่านโดยใช้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นตัวบ่งชี้
การศึกษาคุณภาพน้ำบริเวณแม่น้ำน่านโดยใช้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นตัวบ่งชี้การศึกษาคุณภาพน้ำบริเวณแม่น้ำน่านโดยใช้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นตัวบ่งชี้
การศึกษาคุณภาพน้ำบริเวณแม่น้ำน่านโดยใช้สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นตัวบ่งชี้
 
ธรรมชาติยาตรา เพื่อลำน้ำชี
ธรรมชาติยาตรา เพื่อลำน้ำชีธรรมชาติยาตรา เพื่อลำน้ำชี
ธรรมชาติยาตรา เพื่อลำน้ำชี
 
รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
รายงานผลการวิจัย ปี 2553 การจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
 
โลกดึกดำบรรพ์โคราช
โลกดึกดำบรรพ์โคราชโลกดึกดำบรรพ์โคราช
โลกดึกดำบรรพ์โคราช
 
จังหวัดมหาสารคาม
จังหวัดมหาสารคามจังหวัดมหาสารคาม
จังหวัดมหาสารคาม
 
หนังสือประกอบบทเรียน "ภูผาม่าน ตำนานเมืองทองคำ"
หนังสือประกอบบทเรียน "ภูผาม่าน ตำนานเมืองทองคำ"หนังสือประกอบบทเรียน "ภูผาม่าน ตำนานเมืองทองคำ"
หนังสือประกอบบทเรียน "ภูผาม่าน ตำนานเมืองทองคำ"
 
วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55
วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55
วารสารยางพารา ฉ 33 ปี 55
 
งานนำเสนอ1 โครงการพระราชดำริ
งานนำเสนอ1 โครงการพระราชดำริงานนำเสนอ1 โครงการพระราชดำริ
งานนำเสนอ1 โครงการพระราชดำริ
 
นางสาวธมลวรรณ เทพไทย ม.4/6 เลขที่ 31
นางสาวธมลวรรณ เทพไทย ม.4/6 เลขที่ 31นางสาวธมลวรรณ เทพไทย ม.4/6 เลขที่ 31
นางสาวธมลวรรณ เทพไทย ม.4/6 เลขที่ 31
 
1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว
1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว
1รายงานโครงการดอนปู่ตาภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ป่าชุมชน2556ศพว
 
ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทราภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
 
แนะนำจังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอราชสาส์น
แนะนำจังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอราชสาส์นแนะนำจังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอราชสาส์น
แนะนำจังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอราชสาส์น
 
Advanced Reading English Book: Doonlamphan nature trail
Advanced Reading English Book: Doonlamphan nature trailAdvanced Reading English Book: Doonlamphan nature trail
Advanced Reading English Book: Doonlamphan nature trail
 
20080801 Carena Pmd
20080801 Carena Pmd20080801 Carena Pmd
20080801 Carena Pmd
 
ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชน
ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชนผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชน
ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชน
 
ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชน
ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชนผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชน
ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชน
 
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ธรรมนูญชีวิต
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   ธรรมนูญชีวิตพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   ธรรมนูญชีวิต
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ธรรมนูญชีวิต
 

More from Intrapan Suwan

จดหมายเหตุภาพ2475
จดหมายเหตุภาพ2475จดหมายเหตุภาพ2475
จดหมายเหตุภาพ2475Intrapan Suwan
 
มหากาพย์จำนำข้าว สู่มหกรรมกอบกู้สุจริต
มหากาพย์จำนำข้าว สู่มหกรรมกอบกู้สุจริตมหากาพย์จำนำข้าว สู่มหกรรมกอบกู้สุจริต
มหากาพย์จำนำข้าว สู่มหกรรมกอบกู้สุจริตIntrapan Suwan
 
นโยบายและแผนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1
นโยบายและแผนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1นโยบายและแผนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1
นโยบายและแผนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1Intrapan Suwan
 
รายงานวิจัย ฯ เศรษฐกิจพอเพียง
รายงานวิจัย ฯ เศรษฐกิจพอเพียงรายงานวิจัย ฯ เศรษฐกิจพอเพียง
รายงานวิจัย ฯ เศรษฐกิจพอเพียงIntrapan Suwan
 
เกษตรทฤษฎีใหม่
เกษตรทฤษฎีใหม่เกษตรทฤษฎีใหม่
เกษตรทฤษฎีใหม่Intrapan Suwan
 
งานวิจัยข้าวหอมมะลิแดง
งานวิจัยข้าวหอมมะลิแดงงานวิจัยข้าวหอมมะลิแดง
งานวิจัยข้าวหอมมะลิแดงIntrapan Suwan
 

More from Intrapan Suwan (7)

จดหมายเหตุภาพ2475
จดหมายเหตุภาพ2475จดหมายเหตุภาพ2475
จดหมายเหตุภาพ2475
 
มหากาพย์จำนำข้าว สู่มหกรรมกอบกู้สุจริต
มหากาพย์จำนำข้าว สู่มหกรรมกอบกู้สุจริตมหากาพย์จำนำข้าว สู่มหกรรมกอบกู้สุจริต
มหากาพย์จำนำข้าว สู่มหกรรมกอบกู้สุจริต
 
นโยบายและแผนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1
นโยบายและแผนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1นโยบายและแผนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1
นโยบายและแผนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1
 
รายงานวิจัย ฯ เศรษฐกิจพอเพียง
รายงานวิจัย ฯ เศรษฐกิจพอเพียงรายงานวิจัย ฯ เศรษฐกิจพอเพียง
รายงานวิจัย ฯ เศรษฐกิจพอเพียง
 
เกษตรทฤษฎีใหม่
เกษตรทฤษฎีใหม่เกษตรทฤษฎีใหม่
เกษตรทฤษฎีใหม่
 
กุดชุม
กุดชุมกุดชุม
กุดชุม
 
งานวิจัยข้าวหอมมะลิแดง
งานวิจัยข้าวหอมมะลิแดงงานวิจัยข้าวหอมมะลิแดง
งานวิจัยข้าวหอมมะลิแดง
 

ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร

  • 1.
  • 2. จังหวัดลำปางเป็นแหล่งอารยธรรมของล้านนาไทยที่เก่าแก่แห่งหนึ่ง ในอดีตมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ศรีดอนชัย ลัมภะกัมปนคร เขลางค์นคร เวียงละกอน และ กุกกุฎนคร เมืองเขลางค์นครเป็นเมืองคู่แฝดกับอาณาจักรหริภุญไชย ตั้งอยู่ที่ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง ในปัจจุบัน โดยมีพระเจ้าอนันตยศ พระโอรสแฝดของพระนางจามเทวีเคยมา ปกครองเมืองนี้ในระยะแรกๆ ในภาษาล้านนา คำว่า ขลาง หมายถึง แอ่งกระทะ ซึ่งสอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์ที่มี ภูเขาล้อมรอบ มีการทับถมของตะกอนดินซากพืชซากสัตว์จนเป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ ชาวลำปางมีชีวิตเรียบง่าย เลื่อมใสศรัทธาและยึดมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างเหนียวแน่น ซึ่งจะเห็นว่าในจังหวัดลำปางมีพุทธสถานที่สำคัญมากมาย ผักถือเป็นพืชที่นำมารับประทานทั้งสดหรือปรุงให้สุก ในผักนานา ชนิดจะประกอบด้วยสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ที่สำคัญหลายกลุ่ม เช่น เทอร์พีนอยด์ แอลคาลอยด์ ฟลาโวนอยด์ เป็นต้น องค์ประกอบทางเคมีเหล่านี้จะช่วยให้ กระบวนการเมแทบอลิซึมในร่างกายเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกายอีกด้วย คนในสมัยโบราณนิยมรับประทานผักเป็นกิจวัตร โดยนำมาทำเป็นเครื่องเคียงหรือประกอบอาหารโดยตรง เช่น แกงแค ภูมิปัญญาชาวบ้านหรือของชาวลำปางที่สั่งสมลองผิดลองถูกในการนำผักมาใช้ประโยชน์อย่างถูกต้อง ปลอดภัย ไม่เป็น อันตรายต่อสุขภาพนั้น ได้มีการสืบทอดมาช้านาน สังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก จนทำให้การนำผักมารับประทานในหมู่เยาวชนแทบจะไม่มีให้เห็น ซ้ำยังปฏิเสธผักอีกด้วย จึงเป็นสิ่งที่น่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นจึงจะต้องช่วยกันรณรงค์ให้เยาวชนหันมารับประทานผัก ปลอดสารพิษและการปลูกผักไว้ทุกบ้านเรือน นอกจากนี้จะต้องให้ความรู้ถึงประโยชน์และโทษของการไม่รับประทานผัก อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งในที่นี้หมายรวมถึง “ผักพื้นบ้าน” ด้วย การนำผักพื้นบ้านมาเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักรูปพรรณสัณฐาน สรรพคุณทางยา และประโยชน์อื่นๆ เป็นแนวทางถึงที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางตระหนักถึง จึงมี ความพยายามรวบรวมสรรพกำลังกายและความคิดจัดทำหนังสือ “ผักพื้นบ้านเขลางค์นคร” เล่มนี้ขึ้น คณะวิทยาศาสตร์รู้สึกซาบซึ้งเป็นอย่างมากที่คุณณรงค์ นันทะแสน นักวิชาการ กรมอุทยานสัตว์ป่า และพั น ธุ ์ พ ื ช กระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ ่ ง แวดล้ อ ม ที ่ ไ ด้ ก รุ ณ าเขี ย นขึ ้ น จาก ประสบการณ์ แ ละความมุ ่ ง มั ่ นที ่ จ ะให้ ส ื ่ อ เล่ ม นี ้ เป็ น สมบั ต ิ ข องชาวลำปางและผู ้ ส นใจ ตลอดไป ในส่ ว นของเนื ้ อ หาและภาพประกอบได้ ถ ่ า ยทำจากตลาดในจั ง หวั ด ลำปาง แทบทั้งสิ้น ทั้งนี้บางชนิดใกล้สูญพันธ์ุไปแล้วก็มี และมีจำนวนมากที่เยาวชนคนรุ่นหลัง ไม่ทราบชื่อ คณะผู้จัดทำได้แทรกชื่อภาษาล้านนาด้วยการเขียนอักขระตัวเมืองโดยคุณเนตร กองสิน ปราชญ์ชาวบ้านแห่งอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เพื่อให้เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ผักพื้นบ้านเหล่านี้อยู่คู่กับชาวเขลางค์นครสืบไป ในนามของนักศึกษา คณาจารย์ เจ้าหน้าที่คณะวิทยาศาสตร์ทุกท่าน ต้ อ งขอขอบคุ ณ คุ ณ ณรงค์ นั นทะแสน อี ก ครั ้ ง ที ่ ได้ ส ละเวลาอั น มี ค ่ า ตรวจทาน ออกแบบ พร้อมทั้งใส่จิตวิญญาณให้หนังสือนี้สำเร็จลง อย่ า งสมบู ร ณ์ ผู ้ อ ่ า นท่ า นใดมี ม ุ ม มองบางมิ ต ิ ท ี ่ ต ้ อ งการแนะนำ คณะวิทยาศาสตร์มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง และขอน้อมรับด้วย ความเต็มใจ ขอคุณความดีของหนังสือเล่่มนี้จงเป็นแรงบันดาลใจ ให้ผู้อ่านทุกคนร่วมกันอนุรักษ์ เผยแพร่ และสืบสาน ผักพื้นบ้าน เขลางค์นคร ให้ดำรงอยู่คู่ชาวล้านนาตลอดไป (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิลาศ พุ่มพิมล) คณบดีคณะวิทยาศาสตร์
  • 3. ผักพื้นบ้านเขลางค์นครฉบับนี้ เป็นความพยายามของ ผศ.ดร.วิลาศ พุ่มพิมล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ คุณณรงค์ นันทะแสน เจ้าหน้าที่สำนักหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนคณะผู้จัดทำได้เก็บรวบรวมผักพื้นบ้านที่มีอยู่ในพื้นที่จังหวัดลำปาง โดยนำมาเสนอให้รู้ถึงชื่อ ชนิด ลักษณะ ใบ ลำต้น ประโยชน์ด้านอาหาร ประโยชน์ด้านสมุนไพร หรือประโยชน์ทางยา วิธีนำมาใช้ ฯลฯ ซึ่งองค์ความรู้ทั้งหมดเป็นทั้งทางวิทยาศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่น ผสมผสานคุณค่าอย่างน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง นับเป็นผลพวงแห่งความพยายามที่เป็นคุณูปการต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติโดยแท้ ผมขอแสดงความชื่นชมในผลงานและขอขอบคุณในนามของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ที่ ผศ.ดร.วิลาศ พุ่มพิมล คุณณรงค์ นันทะแสน และคณะผู้จัดทำทุกคน ที่ได้ศึกษา ค้นคว้า และนำมาเผยแพร่เพื่อให้ผู้อ่านทุกท่านได้รับ ประโยชน์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสาระดีๆ ที่มีอยู่ในหนังสือเล่มนี้จะถูกนำไปใช้ในการศึกษา ค้นคว้าต่อยอด หรือใช้ในการถ่ายทอดเพื่อประโยชน์สุขในสังคมประเทศชาติต่อไป (ผู้ช่วยศาสตราจารย์เล็ก แสงมีอานุภาพ) อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • 4. ความพากเพียรและพยายามในการอนุรักษ์ของดีต่างๆ ในท้องถิ่นทั้งด้านวัฒนธรรมและการอนุรักษ์วัฒนธรรม โดยเฉพาะวั ฒ นธรรมในการบริ โภคอาหารที ่ เป็ น พื ช ผั ก ในท้ อ งถิ ่ น หรื อ ผั ก พื ้ น บ้ า นในแต่ ล ะภาคของแต่ ล ะประเทศ ย่อมจะนำมาเพื่อความมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันในตัวผู้บริโภค คณะวิทยาศาสตร์ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิลาศ พุ่มพิมล คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ และอาจารย์ณรงค์ นันทะแสน ได้ช่วยกันค้นคว้าและเรียบเรียงเขียนขึ้นมา เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนในท้องถิ่นจังหวัดลำปางได้รับรู้และเข้าใจมากขึ้น ผมขอแสดงความยินดีและชื่นชมเป็นอย่างยิ่งที่ท่านได้สร้างผลงานที่มีประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นตามเจตนารมณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางทีี่ให้บริการทางวิชาการ และเผยแพร่ให้ชุมชนได้สามารถเรียนรู้อย่างถูกต้องและเป็น วิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะช่วยพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไปอย่างยั่งยืน และหวังว่าสาระดีๆ ที่มีอยู่ในหนังสือ เล่มนี้จะถูกนำไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนในท้องถิ่น เพิ่มคุณภาพชีวิตให้มีความสุข ความแข็งแรงของชุมชนและประเทศชาติต่อไป (นายประสิทธิ์ สิริศรีสกุลชัย) ประธานหอการค้าจังหวัดลำปาง
  • 5. หนังสือผักพื้นบ้านเขลางค์นคร เล่มนี้ ข้าพเจ้ามีความตั้งใจเป็นอย่างยิ่งในการเขียนตลอดจนถ่ายภาพผักต่างๆ เพื่อที่จะนำเสนอผักให้หลากหลายชนิดที่ชาวนครลำปาง หรือ เขลางค์นคร ในอดีตใช้ในการบริโภคเป็นอาหารมาตั้งแต่ อดีตจวบจนปัจจุบัน ที่มีกรรมวิธีและวัฒนธรรมการบริโภคผักที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น โดยได้รับแรงบันดาลใจจากการที่ ข้าพเจ้าได้มีโอกาสร่วมงานกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จึงได้มีโอกาสศึกษาพฤติกรรมการบริโภค ผักของนิสิต นักศึกษา ตลอดจนเยาวชนทั่วไปในนครลำปาง ซึ่งส่วนใหญ่ไม่นิยมบริโภคผัก หรือนิยมบริโภคผักที่มาจาก ต่างแดน หรือจำพวกผักเศรษฐกิจที่มีลักษณะสีสดใส สวยงาม สะดุดตา ซึ่งปัจจัยสำคัญในขบวนการผลิตที่ขาดไม่ได้ คือ สารเคมีปราบคัตรูพืชที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งเยาวชนทั้งหลายไม่ได้ตระหนักถึงอันตรายในเรื่องนี้ ทำให้มองข้าม ความสำคัญและคุณค่าทางโภชนาการตลอดจนประโยชน์ทางสมุนไพรของผักพื้นบ้าน หากทุกคนไม่ช่วยกันส่งเสริม สร้างค่านิยมในการบริโภคผักพืนบ้านอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากจะทำให้สขภาพร่างกายไม่แข็งแรงแล้ว วัฒนธรรมการบริโภค ้ ุ ผักพื้นบ้านที่บรรพบุรุษได้สร้างสมเอาไว้เป็นมรดกทางปัญญาก็จะสูญหายไปในที่สุด ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริม อนุรักษ์วัฒนธรรม ภูมิปัญญาในการบริโภคผัก ข้าพเจ้าพร้อมด้วยคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ตลอดเจ้าหน้าที่บุคลากร ทุกท่าน จึงได้ร่วมมือกันจัดทำหนังสือผักพื้นบ้านเขลางค์นครเล่มนี้ เพื่อใช้เป็นสื่อในการทำความเข้าใจ และให้ความรู้ ความกระจ่างแก่นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ถึงประโยชน์และคุณค่าของผักพื้นบ้าน ตลอดจนกระตุ้นให้เยาวชนเป็น ผู ้ ท ี ่ ม ี ค วามรั ก และหวงแหนในวั ฒ นธรรมและภู ม ิ ป ั ญ ญาของบรรพบุ ร ุ ษ ที ่ ได้ ม อบไว้ ให้ ภายในเล่ ม ได้ จ ั ด ภาพและ คำบรรยายลักษณะของผักแต่ละชนิด ตลอดจนขั้นตอนวิธีการนำไปใช้ในการบริโภคและประโยชน์ทางสมุนไพร สำหรับ ชื่อผักนั้นได้ใช้ชื่อพื้นเมืองเป็นชื่อหลักพร้อมเขียนตัวหนังสือล้านนากำกับไว้ด้วย เพื่อให้เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้สมบูรณ์ ที่สุดและใช้เป็นหลักฐานทางวิชาการได้อย่างเป็นสากล จึงได้เขียนชื่อทางวิทยาศาสตร์ของผัก แต่ละชนิดกำกับไว้อย่างครบถ้วน ข้าพเจ้าหวังว่าหนังสือผักพื้นบ้านเขลางค์นครเล่มนี้ คงจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกท่านที่มีความสนใจศึกษาเกี่ยวกับผักพื้นบ้านที่ชาว นครลำปางใช้ บ ริ โภคมาตั ้ ง แต่ อ ดี ต จวบจนปั จ จุ บ ั น และขอขอบคุ ณ อธิ ก ารบดี คณบดี เจ้าหน้าที่และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏทุกท่าน ที่ ได้ให้ความช่วยเหลือในการจัดทำหนังสือ ผักพื้นบ้านเขลางค์นครเล่มนี้ จนสำเร็จ ความดีของหนังสือที่ได้รับ ข้าพเจ้าขอมอบให้ชาวราชภัฏลำปางทุกท่าน หากมี ข้อบกพร่องประการใด ข้าพเจ้ากราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย (ณรงค์ นันทะแสน)
  • 6. เขลางค์นคร เป็นภาษาบาลี หมายถึง เมืองที่มีพื้นที่เป็นแอ่งรูปก้นกระทะซึ่งมีปรากฏอยู่ ในตำนานตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๓ เป็นชื่อเดิมเมืองลำปางในอดีต เมืองเขลางค์นครมีฐานะ เป็นเมืองหลวงคู่แฝดของอาณาจักรหริภุญไชย เมืองเขลางค์นครแห่งอาณาจักรหริภุญไชยแห่งนี้ มีผู้ปกครองสืบทอดต่อกันมาตลอด ก่อนที่จะมีการสถาปนาอาณาจักรล้านนาของพระยามังราย ที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มน้ำกกตอนเหนือ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการปฏิรูประบอบการปกครองเป็นระบบ มณฑล เมื อ งลำปางจึ ง ได้ ข ึ ้ น อยู ่ ก ั บ มณฑลพายั พ (เมื อ งเชี ย งใหม่ ) และมณฑลมหาราษฎร (เมืองแพร่) ต่อมาจึงได้เปลียนเป็นจังหวัดลำปางในสมัยรัชกาลที่ ๖ จังหวัดลำปางจึงเป็นจังหวัดหนึง ่ ่ ในภาคเหนือ ตอนบน ภู ม ิ ป ระเทศ ทิ ศ เหนื อ ติ ด ต่ อ จั ง หวั ด เชี ย งรายและจั ง หวั ด พะเยา ทิศ ใต้ ติดต่อจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดตาก ทิศตะวันออกติดต่อจังหวัดแพร่ และทิศตะวันตกติดต่อจังหวัด เชียงใหม่และจังหวัดลำพูน เมืองลำปางอยู่ในหุบเขารูปแอ่งกระทะล้อมรอบไปด้วยเทือกเขาสูงชัน บางส่วนก็ผดขึนเป็นแนวหินแกรนิตบนเทือกเขาผีปนน้ำด้านทิศตะวันตก ในบางยุคเกิดการเคลือนตัว ุ ้ ั ่ ของเปลือกโลกอย่างรุนแรงจึงทำให้เกิดแอ่งที่ราบขนาดใหญ่ และทิวเขาที่ทับซ้อนกัน เมื่อผ่าน กาลเวลามายาวนานส่วนที่เป็นแอ่งก็ได้กลายเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ เกิดการทับถมของตะกอนและ ซากพืชซากสัตว์จนกลายเป็นผืนดินที่ราบ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นแหล่งน้ำมันและถ่านหินลิกไนต์ ด้วยลักษณะพื้นที่เป็นแอ่งกระทะ จึงทำให้อากาศอบอ้าวแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู โดยได้รับ อิ ท ธิ พ ลจากมรสุ ม ตะวั นตกเฉี ย งใต้ แ ละมรสุ ม ตะวั นตกเฉี ย งเหนื อ ซึ ่ ง มี อ ากาศแตกต่ า งกั น ตามฤดูกาล ในฤดูหนาวค่อนข้างหนาวจัด ส่วนฤดูร้อนจะยาวนาน สำหรับบริเวณที่ราบภูเขาสูงและ ที่ราบลุ่มฝั่งแม่น้ำอันเป็นที่ราบดินตะกอนเก่า ผืนดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์มีแม่น้ำวังไหลผ่าน บางพื้นที่เป็นแหล่งที่ทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี บางส่วนก็ปกคลุมไปด้วยผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของเมืองลำปาง ดังนั้นวิถีชีวิตของชาวเขลางค์นครหรือชาวเมืองลำปาง ในอดีตจึงผูกติดอยู่กับการทำเกษตรกรรมและการล่าสัตว์ ตลอดจนการเก็บหาของป่า พืชผักต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือนตามภูมิปัญญาท้องถิ่นของแต่ละชุมชน ซึ่งอาจมีความ แตกต่างกันบ้างด้านกรรมวิธี อันที่จริงชุมชนในภาคเหนือโดยเฉพาะชาวลำปางหรือเขลางค์นครนั้น ถือว่าเป็นชนที่รู้จักผักต่างๆ ในธรรมชาติที่สามารถนำมาบริโภคได้มากที่สุดก็ว่าได้ ต่อมาจึงได้ ถ่ายทอดให้กับลูกหลานสืบต่อกันมา ปัจจุบันได้เรียกพืชผักต่างๆ ที่เก็บหามาได้จากแหล่งธรรมชาติ เช่น ป่า เขา ห้วย หนอง คลอง บึง และบางชนิดที่ปลูกขึ้นมาว่า ผักป่าบ้าง ผักพื้นบ้านบ้าง ผักพื้นเมืองบ้าง หลายคนอาจเคยได้ยินได้ฟังคำว่า ผักป่า ผักพื้นบ้าน ผักพื้นเมือง มาบ้างแล้ว หรือ บางคนอาจบอกว่าได้ยินมาจนชินหูแต่ก็ยังไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงเท่าใดนัก อันที่จริง คำว่า ผักป่า ผักพื้นบ้าน ผักพื้นเมือง ทั้ง ๓ คำนี้เป็นสิ่งเดียวกัน ถ้าจะแตกต่างกันก็ตรงที่มุมมอง ของแต่ละบุคคลว่าจะมองด้านไหน มองอย่างไร และมองดูที่ตรงไหน คือ ถ้าคนในชุมชนหรือ ชาวบ้านไปเก็บหาผักมาจากป่าเพื่อการบริโภคหรือนำมาขาย เขาก็จะเรียกผักนั้นว่า ผักป่า แต่ หากมีคนในเขตเมืองมาซื้อหาผักเหล่านั้นเขาก็จะบอกว่า ผักพื้นบ้าน ในขณะที่มีคนมาจากต่างบ้าน ต่างเมืองจะเป็นการมาท่องเที่ยวหรือมาเพื่อการใดก็สุดแท้แต่ละบุคคล เมื่อมาเจอผักเหล่านั้น หรือเพือนสนิทมิตรสหายแนะนำก็จะบอกว่านีคอ ผักพืนเมือง ดังนัน คำว่า ป่า บ้าน เมือง ทัง ๓ คำนี้ ่ ้ื ้ ้ ้ แม้ความหมายจะไม่ค่อยกลมกลืนกันนัก แต่ก็เป็นสิ่งบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกันได้ เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในภูมประเทศเขตร้อนทีอดมไปด้วยความหลากหลายทางพันธุกรรมพืช ดังนัน ิ ุ่ ้ ผักป่า ผักพื้นบ้าน ผักพื้นเมือง จึงเป็นพืชที่ใช้ในการบริโภคและสามารถสร้างคุณค่าเป็นที่ประจักษ์ แก่บุคคลทั่วไป ตลอดจนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของป่าเขตร้อนที่เชื่อมสัมพันธ์กับภูมิปัญญาของ คนในท้องถิ่น จนกลายเป็นวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นนั้นๆ กล่าวโดยสรุป ผักพื้นบ้าน หมายถึง พืชชนิดใดก็ได้ที่ชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นๆ สามารถเก็บหาได้จากแหล่งธรรมชาติในแต่ละ ฤดูกาล แต่ละภูมิภาค ที่แตกต่างกันไป ทั้งป่าเขา ริมลำธาร ลำห้วย หรือตามหัวไร่ ปลายนา
  • 7. เพื่อใช้ในการประกอบอาหารในแต่ละวันตามวิถีความเป็นอยู่และวัฒนธรรมการบริโภค ของชุมชนนั้นๆ ทั้งยังให้คุณค่าทางโภชนาการตลอดจนใช้เป็นสมุนไพรในครัวเรือน ที่ได้รับ การถ่ายทอดสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ในการบริโภคพืชผักต่างๆ นั้น ในแต่ละ ชุมชนยังได้ใช้ภูมิปัญญาในการจำแนกผักออกเป็นกลุ่มต่างๆ ตามวิถีและวัฒนธรรมในการ บริโภค คือ กลุ่มที่รับประทานส่วนหัวรากและเหง้า, กลุ่มที่รับประทานส่วนใบและยอด, กลุ่มที่รับประทานส่วนผลและฝัก และกลุ่มที่รับประทานส่วนแกนกลาง สิ่งเหล่านี้เป็น ข้อบ่งบอกถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการบริโภคของคนในแต่ละชุมชน ซึ่งอาจมีความ แตกต่างกันบ้าง แต่ก็ยังมีผักจากต่างประเทศอีกหลายชนิดที่ถูกนำเข้ามาปลูกเป็นระยะ เวลานานจนสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและภูมิประเทศได้ดี หลายคนเข้าใจว่า เป็นผักดังเดิมของท้องถิน เช่น หอมขาว หอมบัว ขิงหยวก บ่ะแคว้ง หอมด่วน จ้ากอมก้อ ฯลฯ ้ ่ ่ ด้วยเหตุที่ผักเหล่านี้ได้รับความนิยมใช้กับอาหารไทยทั่วไปจึงได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ ผักพื้นบ้านไทยเรื่อยมา ถึงกระนั้นก็ยังมีหลายคนที่มีความรู้สึกว่า ผักพื้นบ้าน ไม่น่า รั บ ประทาน ไม่ อ ร่ อ ย สี ส ั น ไม่ ส วยงามสะดุ ด ตาเหมื อ นพวกผั ก เศรษฐกิ จ จึ ง ไม่ น ่ า มี ประโยชน์ต่อร่างกาย แท้ที่จริงผักพื้นบ้านหลายชนิดกลับมีคุณค่าทางโภชนาการสูงพอๆ กับผักเศรษฐกิจหรือมากกว่า เช่น ผักแว่น ผักแค ยอดผักก้านถิน ฯลฯ ที่ให้วิตามินเอ สูงกว่าผักเศรษฐกิจหลายชนิด ผักเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดเองโดยธรรมชาติตามฤดูกาล ปลอด ซึ่งสารเคมีปราบศัตรูพืชที่ทำให้เกิดพิษต่อร่างกาย ซึ่งต่างกับผักเศรษฐกิจที่ส่วนใหญ่มักจะ มีสารเคมีปนเปื้อน เพราะการผลิตผักเศรษฐกิจนั้นสารเคมีปราบศัตรูพืชถือว่าเป็นปัจจัย สำคัญในการผลิตที่ขาดไม่ได้เนื่องจากเกษตรกรยังมีความต้องการผลผลิตในจำนวนมาก และมีลักษณะสีสันที่สวยงามปราศจากแมลงเพื่อให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค เมื ่ อ นำผั ก เหล่ า นั ้ น ไปบริ โภคอาจได้ ร ั บ สารเคมี ท ี ่ ป นเปื ้ อ นมากั บ ผั ก ซึ ่ ง ถื อ ว่ า มี โทษ ต่อร่างกายอย่างยิง คนทีใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัวจึงหันมาบริโภค ่ ่ ผักพื้นบ้านที่ปราศจากสารเคมีปราบศัตรูพืช ผักบางชนิดจึงกลายเป็นผักยอดนิยม เช่น ผักหวานป่า ผักหวานบ้าน ผักปัง ผักหนาม ผักไผ่ ผักแค ผักพา ผักเสลี่ยมและมะลิดไม้ เป็ นต้ น พื ช ผั ก เหล่ า นี ้ ส ่ ว นใหญ่ จ ะมี ส รรพคุ ณทางสมุ น ไพรพื ้ น บ้ า นที ่ เ ข้ า กั บ สภาพ ภูมประเทศและวัฒนธรรมการบริโภคของคนชุมชนนันๆ เป็นอย่างดี รสของผักแต่ละชนิดจะ ิ ้ เป็นตัวบ่งบอกถึงสรรพคุณของผักชนิดนั้นๆ เช่น รสฝาด มีสรรพคุณสมานแผล แก้ท้องเสีย ท้องร่วง รักษาแผล รสเปรี้ยว สรรพคุณช่วยกัดเสมหะ กระตุ้นต่อมน้ำลาย ทำให้ เจริญอาหาร รสหวาน สรรพคุณช่วยทำให้ชมชืน บำรุงกำลัง รสขม มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย ุ่ ่ ลดไข้ แก้เลือดเป็นพิษ ถอนพิษเมา รสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อ รสมัน มีสรรพคุณแก้อาการเส้นเอ็นพิการ ปวดเสียว เคล็ด ขัดยอก อาการกระตุก เป็นต้น ด้วยรสชาติและสรรพคุณของผักพืนบ้านทีใช้เป็นอาหารและ ้ ่ ยาสมุนไพรควบคู่กันได้อย่างกลมกลืน จนกลายเป็นวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่ถูกถ่ายทอด สืบต่อกันมา ดังนั้น คนในอดีตจึงมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงกว่าคนในปัจจุบันที่นิยมบริโภค อาหารที่ถูกปรุงแต่งแปลกๆ สีสันสดใส โดยมีส่วนประกอบของสารเคมีต่างๆ หลายชนิด เป็นเครื่องปรุงแต่ง ซึ่งนับว่ามีโทษต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ดังนั้น เยาวชนคนรุ่นใหม่ จึงควรใส่ใจในเรื่องการบริโภค โดยเฉพาะการบริโภคผักควรเลือกผักที่เป็นประโยชน์ต่อ ร่างกาย เช่น ผักพื้นบ้านทั่วไป และสร้างค่านิยมใหม่โดยหันมานิยมการบริโภคผักพื้นบ้าน ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย สามารถปลูกเองได้ภายในบริเวณบ้าน ถึงแม้ไปซื้อหา ราคาก็ไม่แพง ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการบริโภคผัก เป็นมรดกทาง ปัญญาที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ บรรพบุรุษมอบไว้ให้ลูกหลานได้สืบทอดต่อกันมาจากรุ่น สู่รุ่นเป็นระยะเวลาที่ยาวนานจวบจนปัจจุบัน
  • 8. ๑ .................... กระเจี๊ยบ กระเพราช้าง............... ๒ ๓ ..................... กล้วยลิอ่อง กอก............................ ๔ ๕ ..................... กอมก้อขาว กาซะลอง................ ... ๖ ๗ ..................... กุ่มน้ำ กุ่มบก...................... ... ๘ ๙ ..................... เกี๋ยงพาลาบ ข่าแกง..........................๑๐ ๑๑.................... ข่าหลวง ขิงหยวก...................... ๑๒ ๑๓.................... ขี้เหล็ก เครือเขาคำ.................. ๑๔ ๑๕.................... แคขาว แคนา........................... ๖ ๑ ๑๗................... งิ้ว จะค่าน........................ ๑๘ ๑๙................... จะไค ดอกก้าน.................. .. ๒๐ . ๒๑................... ดีงูว่า ดีปลี............................ ๒๒ ๒๓................... ตอง ต้าง.............................. ๔ ๒ ๒๕.................... าล ต ตูน............................... ๒๖ ๒๗.................... ตา เ ถั่วปู............................ ๒๘ ๒๙.................... ั่วลันเตา ถ ถั่วเหลือง..................... ๓๐ ๓๑.................... เถาวัลย์ด้วน เทียนทั้งห้า.................. ๓๒ ๓๓.................... างแลว น บวบหอม..................... ๓๔ ๓๕................... บ่ะก้วยเตส บ่ะกูด...........................๓๖ ๓๗.................... ่ะขาม บ บ่ะเขือแจ้..................... ๓๘ ๓๙.................... ่ะเขือปั๋ง บ บ่ะเขือผ่อย.................. ๔๐ ๔๑.................... บ่ะเขือส้ม บ่ะเขือหำม้า................ ๔๒ ๔๓.................... ่ะแขว่น บ บ่ะค้อนก้อม................ ๔๔ บ ๔๕.................... ่ะแคว้ง บ่ะแคว้งขม................. ๔๖ ๔๗.................... ่ะแคว้งเครือขม บ บ่ะจ้ำ....................... ... ๔๘ ๔๙.................... ่ะเดื่อเกลี้ยง บ บ่ะตาเสือ.................... ๕๐ ๕๑.................... บ่ะตึก บ่ะเต้า......................... ๕๒ ๕๓.................... ่ะแตงลาย บ บ่ะนอยงู......................๕๔ ๕๕.................... ่ะนอยจา บ บ่ะนอยเหลี่ยม............ ๕๖ ๕๗.................... ่ะน้ำ บ บ่ะป้าว........................ ๕๘ ๕๙.................... ่ะปิ่น บ บ่ะปู่............................ ๖๐ ๖๑.................... บ่ะแปบ บ่ะฟักแก้ว................... ๖๒ ๖๓.................... บ่ะเฟือง บ่ะม่วง......................... ๔ ๖ ๖๕.................... บ่ะเม่าสาย บ่ะยม.......................... ๖๖ ๖๗.................... บ่ะลิดไม้ บ่ะหนุน....................... ๖๘ ๖๙.................... บ่ะห่อย บ่ะไห่.......................... ๗๐ ๗๑.................... บ่ะแฮะ บัวกวัก.........................๗๒ ๗๓.................... ้าน ป ปุย............................... ๗๔
  • 9. ๗๕.................... ูเลย ป ผักกาดจ้อน..................๗๖ ๗๗.................... ักกูด ผ ผักขี้ขวง........................๗๘ ๗๙.................... ักขี้มด ผ ผักขี้มูก........................ ๘๐ ๘๑.................... ผักขี้หูด ผักเข้า......................... ๘๒ ๘๓.................... ักโขม ผ ผักคาวตอง..................๘๔ ๘๕.................... ักแค ผ ผักแคบ.........................๘๖ ๘๗.................... ักจิก ผ ผักจี............................. ๘๘ ๘๙.................... ักจีอ้อ ผ ผักเชียงดา................... ๐ ๙ ๙๑.................... ผักด้ามพั่ว ผักตับแก้..................... ๙๒ ๙๓.................... ักติ้วขาว ผ ผักตุ๊ด...........................๙๔ ๙๕....................ผักบั้ง ผักบุ้ง........................... ๖ ๙ ๙๗.................... ักปอดม้า ผ ผักปั๋ง........................... ๘ ๙ ๙๙.................... ักปู่ย่า ผ ผักแปม........................ ๐๐ ๑ ๑๐๑.................ผักแปมป่า ผักเผ็ดขม.................... ๑๐๒ ๑๐๓................. ผักเผ็ดน้อย ผักไผ่........................... ๑๐๔ ๑๐๕................. ผักพญายอ ผักแว่น........................ ๑๐๖ ๑๐๗................. ผักสาบ ผักสีเสียด.....................๑๐๘ ๑๐๙................. ผักเสี้ยว ผักแส้ว.........................๑๑๐ ๑๑๑................. ผักหนอก ผักหนอง...................... ๑๒ ๑ ๑๑๓................. ผักหนาม ผักหละ........................ ๑๑๔ ๑๑๕.................ผักหวานบ้าน ผักหวานป่า................. ๑๑๖ ๑๑๗................. ผักหอมป้อม ผักฮ้วนหมู................... ๑๑๘ ๑๑๙.................ผักฮากกล้วย ผักฮิน.......................... ๑๒๐ ๑๒๑.................ผักเฮียด ผำ................................ ๒๒ ๑ ๑๒๓.................ไผ่ตง พริกแด้........................ ๑๒๔ ๑๒๕.................เพี้ยฟาน มะแหลบ......................๑๒๖ ๑๒๗.................ย่านาง ละแอน........................ ๑๒๘ ๑๒๙.................เล็บครุฑ ส้มป่อง........................ ๑๓๐ ๑๓๑.................ส้มป่อย ส้มสะเอาะ.................. ๑๓๒ ๑๓๓.................ส้มสังกา ส้มเสี้ยน...................... ๑๓๔ ๑๓๕.................สลิด สะเลียม....................... ๓๖ ๑ ๑๓๗.................สะเลียมหอม สะแล....................... ... ๑๓๘ ๑๓๙.................หญ้าเอ็นยืด หน่อซาง...................... ๑๔๐ ๑๔๑.................หน่อไร่ หน่อฮวก...................... ๔๒ ๑ ๑๔๓.................หวาย หอมด่วนหลวง............ ๑๔๔ ๑๔๕.................หอมเตียม หอมบั่ว........................ ๔๖ ๑ ๑๔๗.................หอมป้อมเป้อ หอมแย้........................ ๔๘ ๑ ๑๔๙.................เห็ดขอนขาว เห็ดไข่ขาว.................... ๕๐ ๑ ๑๕๑.................เห็ดถอบ เห็ดเฟือง...................... ๕๒ ๑ ๑๕๓.................เห็ดลม เห็ดห้า......................... ๑๕๔ ๑๕๕.................เห็ดหูลัวะ อังลาว......................... ๑๕๖ ๑๕๗.................อาว เอื้องดิน....................... ๑๕๘
  • 10. ชื่ออื่น กระเจี๊ยบแดง กระเจี๊ยบเปรี้ยว ส้มพอดี กระเจี๊ยบ เป็นไม้พุ่มอายุปีเดียว สูงประมาณ ๑ – ๒ เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ใบ รูปรีแหลม ขอบใบเว้าลึก ๓ หยักหรือเรียบ ก้านใบยาวประมาณ ๕ เซนติเมตร หรือบางครั้งพบใบหลายลักษณะ ดอก เป็นดอกเดี่ยวสีชมพู ออกบริเวณ ง่ามใบ ตรงกลางดอกมีสีเข้มกว่าด้านนอก ก้านดอกสั้น กลีบรองดอกลักษณะปลายแหลมมีประมาณ ๘ – ๑๒ กลีบ กลีบเลี้ยง จะแผ่ขยายติดกันออกหุ้มเมล็ดไว้ มีสีแดงเข้ม หักง่าย ผล รูปรี ปลายแหลม ผลมีความยาวประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร หุ้มไว้ด้วย กลีบเลี้ยงสีแดงสด การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร ประโยชน์ทางสมุนไพร ใบ ใช้ปรุงอาหารทำให้มีรสเปรี้ยว ใบอ่ อ น ช่ ว ยย่ อ ยอาหาร ละลายเสมหะ ขั บ ปั ส สาวะ กลี บ เลี ้ ย ง ขับปัสสาวะ ขับน้ำดี แก้นิ่ว แก้กระหายน้ำ ๑
  • 11. ชื่ออื่น ยี่หร่า โหรพาช้าง กะเพราญวน กระเพราช้าง เป็นไม้พุ่มเตี้ยสูงประมาณ ๕๐ – ๘๐ เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นสีน้ำตาลแก่ ใบ เป็น ใบเดี่ยวออกตรงข้ามคู่กัน ขอบใบหยัก ปลายใบแหลม แผ่นใบสาก ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอดประกอบด้วยดอกขนาดเล็ก จำนวนมาก เมล็ด ลักษณะกลมรีขนาดเล็กสีน้ำตาลอ่อน การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร ประโยชน์ทางสมุนไพร ๒ ใบ ใช้ผัดกับเนื้อช่วยดับกลิ่นคาว ใส่แกง เมล็ด ทำเครื่องเทศ ทั้งต้น เป็นยาขับลม ช่วยย่อย แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • 12. ชื่ออื่น กล้วยน้ำว้า กล้วยส้ม กล้วยนิออง กล้วยลิอ่อง เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเทียมเกิดจากกาบหุ้มซ้อนกันเป็นลำขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๒ – ๕ เมตร กาบลำต้น ด้านนอกสีเขียวอ่อน ใบ มีสีเขียวเป็นแผ่นยาวเส้นใบขนานกัน แกนใบเห็นได้ชัดเจน ท้องใบมีนวลขาว ดอก ออกเป็นช่อห้อยลง กาบหุ้มสีแดงม่วงดอกย้อยติดกันเป็นแผง ฐานดอกเป็นดอกตัวเมีย ส่วนปลายเป็นดอกตัวผู้เมื่อดอกตัวเมียเติบโตเป็นผลดอกตัวผู้ จะเริ่มร่วงหล่น ผล เมื่อดอกเจริญกลายเป็นผลแล้วผลจะประกอบเป็นหวีเครือละประมาณ ๗ – ๑๐ หวี ผลอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อสุกจะมีสีเหลืองอมน้ำตาล เนื้อในสีขาว มีรสหวาน ผลลักษณะเป็นเหลี่ยม เปลือกหนา ก้านผลสั้น แต่ละต้นจะให้ผลเพียง ครั้งเดียวแล้วก็จะเน่าตายไป การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร ประโยชน์ทางสมุนไพร ดอก (หัวปลี) ใช้แกง รับประทานสดร่วมกับน้ำพริกต่างๆ แกนกลาง (หยวก) ใช้แกง ดอง ผลดิบแก้ท้องเสีย รักษาโรคกระเพาะอาหาร ผลสุก เป็นยาระบาย ดอก (หัวปลี) แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ โรคโลหิตจาง ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ๓
  • 13. ชื่ออื่น มะกอก มะกอกป่า กอกเขา กอก เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง ๑๕ – ๒๕ เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกหนา สีเทา เรียบมีต่อมระบายอากาศมาก เรือนยอดเป็นพุ่มกลม โปร่ง กิ่งอ่อน เกลี้ยง ใบ เป็นช่อแบบ ขนนกติดเรียงสลับเวียนกัน แต่ละช่อมีใบย่อยรูปรีแกมรูปไข่ ออก เป็นคู่ๆ ตรงข้ามหรือเยื้องเล็กน้อยมี ๔ – ๖ คู่ ปลายใบสุดก้านช่อ จะออกเดี่ยวๆ ขนาดกว้าง ๓ – ๔ เซนติเมตร ยาว ๗ - ๑๒ เซนติเมตร เนื้อใบหนา เนียน เกลี้ยงเป็นมัน ขอบใบเรียบ ใบอ่อน สีน้ำตาลอมแดง ดอก ออกรวมกันเป็นช่อโตตามง่ามใบหรือปลายกิ่ง มีสีขาว ขนาดเล็ก ผล กลมรี วัดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓ - ๓.๕ เซนติเมตร ผลแก่สีเขียวอ่อน เมล็ดโตและแข็ง มีเมล็ดเดียว ผิวเมล็ด เป็นเสี้ยนและมีเนื้อเยื่อบางๆ หุ้ม การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร ใบอ่อนและยอดอ่อนใช้เป็นผักแกล้มลาบ หลู้ น้ำพริกปลาร้า ผลสุกมีรสเปรี้ยว ใช้ปรุงส้มตำ น้ำพริกตาแดง ตำมะม่วง ประโยชน์ด้านสมุนไพร ผล แก้ เ ลื อ ดออกตามไรฟั น แก้ ธ าตุ พ ิ ก าร แก้ บ ิ ด แก้ ด ี พ ิ ก าร แก้ โรค ขาดแคลเซี่ยม ทำให้ชุ่มคอ เมล็ดแก้ไข้มีพิษร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ ๔
  • 14. ชื่ออื่น แมงลัก อีตู่ กอมก้อขาว เป็นไม้ล้มลุก ต้นสูงประมาณ ๓๐ – ๙๐ เซนติเมตร ทุกส่วนมีกลิ่นเฉพาะ ลำต้นสี่เหลี่ยม กิ่งอ่อน มีสีม่วงแดงแกมเขียว ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปวงรี กว้างประมาณ ๒ – ๓ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๔ – ๖ เซนติเมตร ขอบใบหยักแบบฟันเลือยห่างๆ ดอก ออกเป็นช่อทีปลายยอด กลีบเลียงและกลีบดอกต่างแยกเป็น ๒ ปาก กลีบดอกสีขาว ่ ่ ้ ปากล่างมีแถบสีม่วงแดงตามยาว ใบประดับสีเขียวแกมม่วง ผล เป็นผลแบบแห้งมี ๔ ผลย่อย การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร ประโยชน์ด้านสมุนไพร ยอดอ่อนลวกรับประทานร่วมกับน้ำพริก ใบสดรับประทานกับขนมจีน ใส่แกงหน่อ แกงแค แกงอ่อม ดับกลิ่นคาวในอาหาร ใบสดแก้ท้องอืดเฟ้อ น้ำมันหอมระเหยที่มีในใบช่วยการบีบตัวของ ลำไส้เล็ก สามารถขับลมในลำไส้ได้ดี ๕
  • 15. ชื่ออื่น ปีบ ก้านของ กาซะลอง กาซะลอง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ ๑๕ เมตร ลำต้นเปลาตรงเปลือก หนา สีเทาอมเหลือง แตกเป็นร่องหรือเป็น สะเก็ดเล็กๆ ตามลำต้นและกิ่งก้าน ใบ ออก เป็นช่อ แต่ละช่อประกอบด้วยใบเล็กๆ รูปไข่ ขอบใบเรี ย บหรื อ อาจหยั ก ห่ า งๆ ปลายใบ แหลมเป็นติ่งยาว โคนใบมน ดอก สีขาว กลิ ่ น หอมอ่ อ นๆ ออกรวมกั น เป็ นช่ อ โตๆ ตามปลายกิ่ง ดอกรูปแตรเรียวยาวได้ถึง ๖ เซนติ เ มตร ปลายดอกห้ อ ยย้ อ ยลง ปลายดอกแยกออกเป็น ๕ แฉก ดอก จะบานในเวลากลางคืน ผล เป็นฝัก แบนๆ ยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร หั ว และปลายฝั ก แหลมภายใน มีเมล็ดยาวสีขาว มีกลีบทำให้ปลิว ไปตามลมได้ระยะไกล การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร ยอดอ่ อ นย่ า งไฟให้ ห อมหรื อ นำมาต้ ม รั บ ประทานร่ ว มกั บ น้ำพริก ลาบ หรืออาหารที่มีรสจัด ประโยชน์ทางสมุนไพร ดอกรักษาริดสีดวงจมูก ต้มน้ำดื่มแก้ไอ ราก บำรุงปอดและ รักษาวัณโรค ๖
  • 16. ชื่ออื่น กุ่มน้ำ (ทั่วไป) กุ่มน้ำเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงถึง ๒๐ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๔๐ เซนติเมตร แผ่กิ่งก้านสาขามาก ใบ ออกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมี ๓ ใบรูปหอก กว้าง ๑.๕ – ๖.๕ เซนติเมตร ยาว ๔.๕ – ๒๓ เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบ สอบแคบ เนื้อใบหนามันเป็นแผ่นหนัง เส้นกลางใบมีสีค่อนข้างแดงผิวใบด้านล่าง จะมีละอองสีเทาปกคลุมก้านใบแข็งยาว ๔ – ๑๔ เซนติเมตร ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะ ที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว ๑๐ – ๑๖ เซนติเมตร มี ๒๐ – ๑๐๐ ดอก กลีบรองดอกรูปไข่ปลายแหลม กลีบดอกกว้าง ๑.๕ – ๒ เซนติเมตร ยาว ๑.๕ – ๓ เซนติเมตร เกสรตัวผู้มีสีม่วง มี ๑๕ – ๒๕ อัน ดอกเมื่อ บานจะมีสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อแก่ ผล รูปรียาว ๕ – ๘ เซนติเมตร เปลือกหนามีสะเก็ดบางๆ เมื่อสุกจะมีสีเทา การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร ยอดอ่อน และดอกอ่อนนำมาดองกับเกลือรับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก แดง น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกปลาร้า หรือยำกับปลาทู ประโยชน์ด้านสมุนไพร ผล แก้ไข้ ใบขับเหงื่อ แก้ไข้ แก้ปวดเส้น ดอกแก้เจ็บตา เจ็บคอ เปลือกต้น แก้ไข้ ขับน้ำดี ระงับพิษที่ผิวหนัง ขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ๗
  • 17. ชื่ออื่น ก่าม กุ่มบก เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ ๗ – ๑๐ เมตร ใบ เป็นใบประกอบ มี ๓ ใบย่อย กว้าง ๑๓ – ๑๕ เซนติเมตร ยาว ๑๒ – ๑๓ เซนติเมตร มีใบย่อย กว้าง ๒.๗ – ๕ เซนติเมตร ยาว ๖ – ๙ เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาวประมาณ ๐.๕ เซนติเมตร แผ่นใบคล้ายกระดาษ รูปไข่กลับ โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบป้าน ขอบเรียบ ผิวใบทั้ง ๒ ด้านเกลี้ยง ดอก เป็นช่อ แบบกระจะ ดอกย่อยมีก้านเรียงสลับบนแกนกลาง ช่อดอกยาว ๘ – ๙ เซนติเมตร มีใบประดับคล้ายใบดอกดอกย่อย มีเส้น ผ่าศูนย์กลาง ๒.๕ – ๓ เซนติเมตร ก้านดอกย่อย ยาว ๓.๕ - ๕ เซนติเมตร กลีบเลี้ยงมี ๕ กลีบ โคนติดกัน กลีบดอกมีจำนวน ๔ กลีบ สีขาวรูปรี ปลายมน มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ที่โคนติดกับก้านชูเกสรเพศเมีย ก้านชูเกสรเพศผู้สีชมพูยาวประมาณ ๓ เซนติเมตร เกสรเพศเมียมี ๑ อัน อยู่เหนือวงกลีบมีสีขาวครีม ยาวประมาณ ๓ เซนติเมตร ผล กลมเกลี้ยงเปลือกแข็ง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓ เซนติเมตร ก้านผลยาวประมาณ ๔ เซนติเมตร การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร ประโยชน์ด้านสมุนไพร ๘ ยอดอ่อน ดอกอ่อน นำมาดองกับน้ำเกลือรับประทานเป็นผักจิ้มร่วมกับ น้ำพริกปลาร้า น้ำพริกตาแดง ยำกับปลาทูนึ่ง ผล ขับลม แก้กลากเกลื้อน เปลือกต้น แก้ปวดท้อง บำรุงไต บำรุง หัวใจ แก้บวม
  • 18. ชื่ออื่น สันพร้าหอม เกี๋ยงพาลาบ เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ ๑ – ๑.๕ เมตร ลำต้นสีแดง ทุกส่วนเมื่อขยี้ดมมีกลิ่นหอม ใบ ออกเป็นกระจุก แคบเรียว เมื่อยังอ่อนขอบใบและเส้นกลางใบด้านท้องใบมีสีแดง และมีขนประปราย ใบ ยาวประมาณ ๒๐ – ๒๕ เซนติเมตร ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ปลายใบแหลม ก้านใบสั้น ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด สีขาวอมชมพูอ่อน ๆ เป็นกระจุกเล็กๆ เมล็ด ขนาดเล็ก ที่ปลายเมล็ดมีขนหรือ แพพพัส ช่วยในการกระจายพันธ์ุ การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร ประโยชน์ด้านสมุนไพร ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักสดร่วมกับลาบ หลู้ ส้า น้ำพริก หรืออาหาร ที่มีรสจัด ทั้งต้นแก้ไข้ เป็นยาชูกำลัง ขับเหงื่อ แก้ท้องอืดเฟ้อ ช่วยให้ลมหายใจ สดชื ่ น กระตุ ้ นทางเพศ น้ ำ ต้ ม รากขั บ พิ ษ และช่ ว ยให้ ป ระจำเดื อ น เป็นปกติ ๙
  • 19. ชื่ออื่น ข่าป่า ข่าลิง ข่าแกง เป็นไม้ล้มลุกข้ามฤดู สูงประมาณ ๑.๕ – ๒ เมตร ลำต้นอยู่ใต้ดิน (เหง้า) ขนาดเล็ก ลักษณะเป็นข้อๆ และ ปล้องเห็นได้ชัดเจน ส่วนที่อยู่เหนือดินจะเป็นก้านและใบ ใบ รูปไข่ยาว หรือรูปรีขอบขนาน ปลายใบแหลมกว้างประมาณ ๔ – ๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๘ – ๑๐ เซนติเมตร สีเขียวเข้มเป็นมัน ออกสลับมีกาบหุ้มลำต้น ดอก ออกเป็นช่อที่ยอด ก้านดอกยาว ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาวกระสีน้ำตาล โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกออกเป็น ๓ กลีบ กลีบที่โตสุดมีริ้วสีแดง ผล กลม เมื่อสุกจะเป็นสีส้มภายในผลจะมีเมล็ด การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร ประโยชน์ทางสมุนไพร ๑๐ เหง้า ใช้เป็นเครื่องปรุงน้ำพริก ต้นอ่อน (หน่อ) ต้มรับประทานร่วมกับ น้ำพริกปลาร้า น้ำพริกหนุ่ม เหง้า แก้กามโรค แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียดแน่น ต้น แก้ฝีดาษ ฝีฝักบัว ใบ แก้โรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน
  • 20. ชื่ออื่น ข่า ข่าหยวก ข่าหลวง เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ ๑.๕ – ๒ เซนติเมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดิน หรือเหง้าลักษณะเป็นข้อและปล้องชัดเจน ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้างประมาณ ๗ – ๙ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๐ – ๓๐ เซนติเมตร ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาวโคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ส่วนปลายแยกเป็น ๓ กลีบ กลีบที่โตที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผล เป็นผลแห้ง รูปกลมแตกได้ การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร ประโยชน์ด้านสมุนไพร หน่ออ่อน ต้ม ลวก รับประทานร่วมกับน้ำพริก เหง้า ใช้ปรุงอาหาร ดับกลิ่นคาว เหง้าสดหั่นฝอยใส่ลาบเนื้อ ลาบปลา เหง้าต้มน้ำดื่ม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม เหง้าสดโขลกผสม เหล้าโรงทาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น กลาก เกลื้อน ๑๑
  • 21. ชื่ออื่น ขิงหยวก เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ ๓๐ – ๑๐๐ เซนติเมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวล มีกลิ่น เฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมตังขึนเหนือผิวดิน ใบ เป็นใบเดียว เรียงสลับ ้ ้ ่ รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้างประมาณ ๑ – ๒ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๕ – ๒๐ เซนติเมตร ดอก ออกเป็นช่อแทงออกจากเหง้า กลีบดอกสีเหลือง แกมเขียว ใบประดับสีเขียวอ่อน ผล เป็นแบบผลแห้งมี ๓ พู การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร ขิง ขิงแกลง ประโยชน์ด้านสมุนไพร ๑๒ เหง้ า อ่ อ นรั บ ประทานเป็ น เครื ่ อ งเคี ย งใน เมี ่ ย งคำ ยำ ยอดอ่ อ น รับประทานเป็นผักสดร่วมกับอาหารที่มีรสจัด เหง้าแก่ทั้งสด และแห้ง เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด แก้ไอ ขับเสมหะ
  • 22. ชื่ออื่น ขี้เหล็กบ้าน ขี้เหล็กใหญ่ ขี้เหล็กกินดอก ผักจี้ลี้ ขี้เหล็ก เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง ๘ - ๑๕ เมตร ลำต้นมักขดงอเป็นปุ่มปม เปลือก สีเทาหรือน้ำตาลดำ แตกเป็นร่องสะเก็ดทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ยอดอ่อนและใบอ่อน ออกเป็ น สี แดงเรื ่ อ ๆ ใบ ออกเป็ นช่ อ แบบขนนกช่ อ ติ ด เรี ย งสลั บ ยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร แต่ละช่อมีใบย่อยรูปขอบขนานแคบๆ กว้าง ๑ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๓ เซนติเมตร ติดเป็นคู่ตรงข้ามกัน ๕ - ๑๒ คู่ ที่ปลายสุดของช่อเป็นใบเดี่ยว ดอก สีเหลือง ออกเป็นช่อโตๆ ที่ปลายกิ่ง ยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ก้านช่อย่อยมักติดสลับเวียนกัน ดอกจะเริ่มบานจากโคนช่อสู่ปลายช่อ ผล เป็นฝักแบนสีคล้ำๆ ยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดเรียงตัวตามขวางมีประมาณ ๒๐ – ๓๐ เมล็ด การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร ประโยชน์ด้านสมุนไพร ใบอ่อน ยอดอ่อน และดอกอ่อน ใช้แกง ใบ แก้ระดูขาว ถ่ายพิษไข้ ดองสุราดื่มแก้อาการนอนไม่หลับ แก่น แก้เหน็บชา ขับโลหิต แก้กามโรค แก้หนองใน ถ่ายเส้น ๑๓
  • 23. ชื่ออื่น ฝอยทอง ผักไหม ฝอยไหม เครื อ เขาคำ เป็ น พื ช ล้ ม ลุ ก เจริ ญ เติ บ โตบนต้ น ไม้ อ ื ่ น โดยดูดอาหารจากต้นไม้ที่เกาะอาศัย ลำต้นเป็นเถาเลื้อยยาวกลม อ่อนนุ่มสีเหลืองแตกกิ่งมาก ใบ มีลักษณะเป็นเกล็ด รูปสามเหลี่ยม เล็ ก ๆ ออกจากลำต้ น แบบสลั บ ใบมี ส ี เหลื อ งเหมื อ นสี ข องลำต้น ดอก มีขนาดเล็ก ดอกเป็นช่อสีขาว มีดอกย่อยจำนวนมาก ปลาย กลีบดอกแยกออกเป็น ๕ กลีบ ลักษณะกลมมน การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร ลำต้นอ่อน ยอดอ่อน ยำใส่มะเขือ ประโยชน์ด้านสมุนไพร ๑๔ ทั้งต้น ช่วยห้ามเลือด อุจจาระเป็นเลือด บำรุงไต แก้ปวดเอวและต้นขา
  • 24. ชื่ออื่น แค แคบ้าน แคดอกแดง แคขาว เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ ๒ – ๕ เมตร โตเร็วแตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นสีน้ำตาลมีรอยขรุขระ หนา เปลือกในสีชมพู ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยขนาดเล็กเรียงเป็นคู่ประมาณ ๑๐ – ๒๕ คู่ ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายกลมเว้าตื้น มีขนแนบชิดผิวใบทั้ง ๒ ด้าน ขนาดใบยาว ๓ – ๔ เซนติเมตร กว้าง ๑ – ๑.๕ เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาว ๐.๑ – ๐.๒ เซนติเมตร ดอก เป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อแบบช่อกระจะ มี ๒ – ๔ ดอก ห้อยลงสีขาวหรือสีแดงเข้ม ยาว ๑.๕ – ๕ เซนติเมตร ก้านดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ยาว ๕ – ๗.๕ เซนติเมตร กว้าง ๓.๕ – ๕ เซนติเมตร ผล ลักษณะเป็นฝักยาว ประมาณ ๒๐ – ๕๐ เซนติเมตร กว้าง ๐.๗ – ๐.๙ เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกออกเป็น ๒ ซีก มีเมล็ดอยู่ตรงกลางมีแถวเดียว ลักษณะกลมแบนสีน้ำตาลอ่อน แข็ง การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร ประโยชน์ด้านสมุนไพร ยอดอ่อน ดอก ใช้แกง ลวก นึ่ง รับประทานร่วมกับน้ำพริก ยอดอ่อน ใบอ่อน ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ลม บำรุงหัวใจ ๑๕
  • 25. ชื่ออื่น แคขาว แคป่า แคยอดดำ แคอาว แคนา เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูงประมาณ ๑๐ – ๒๐ เมตร ลำต้นเปลาตรงมักแตกกิ่งต่ำเปลือกต้นสีน้ำตาล อมเทาบางทีมีประสีดำ เปลือกในสีนวลหรือน้ำตาลปนเหลืองอ่อนๆ เรือนยอดเป็นพุ่มรูปไข่ค่อนข้างทึบ กิ่งอ่อนเกลี้ยงมีช่องระบาย อากาศทั่วไป ใบ เป็นช่อแต่ละช่อมีใบย่อยรูปรี ๓ – ๗ ใบ ติดตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ส่วนปลายสุดจะเป็นใบเดี่ยวกว้างประมาณ ๓ – ๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๕ – ๑๐ เซนติเมตร โคนใบสอบปลายใบเรียวแหลม เนื้อใบบางเกลี้ยง ก้านใบยาวประมาณ ๑ – ๓ เซนติเมตร ดอก โต สีขาวรูปแตร ออกรวมกันเป็นช่อสั้นๆ ตามปลายกิ่ง ช่อยาว ประมาณ ๒ – ๓ เซนติเมตร มี ๓ – ๗ ดอก กลีบฐานดอกทรงรูปกรวยปลายด้านหนึ่งจะเป็นจะงอย ผิวคล้ำ โคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอดรูปทรงกระบอกตอนครึ่งล่าง ส่วนครึ่งบนผายโป่งออกผิวกลีบและขอบกลีบจะย่นเป็นริ้ว ฝัก แบน รูปขอบขนานยาวประมาณ ๘๐ เซนติเมตร ลักษณะคดโค้ง หรือบิดไปมา การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร ๑๖ ดอก ต้ม ลวก บีบน้ำออกเพื่อลดความขม ใช้ยำ และจิ้มน้ำพริก ดอก ขับเสมหะ โลหิต และลม ขับผายลม เมล็ดแก้ปวดประสาท แก้โรคชัก เปลือก แก้ท้องอืด
  • 26. ชื่ออื่น งิ้วแดง งิ้วบ้าน งิ้วเป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ ๒๕ เมตร แตกกิ่ง ก้านสาข าตามเรือนยอด ลำต้นมีหนามแหลมคม ทั่วไป ใบ แบบใบรวมประกอบขึ้นจากใบย่อย รูปร่างแหลมยาว มี ๕ – ๗ ใบ รวมกันยาว ประมาณ ๓๐ เซนติ เมตร ใบย่ อ ยเรี ย งกั น คล้ายนิ้วมือ ดอก สีแดงขนาดใหญ่มีเกสร รวมกันหลายกระจุกอยู่ในวงล้อมเป็นของ กลีบทั้ง ๕ กลีบรองดอกมีสีเขียว ลักษณะ เป็นรูปถ้วยมนแข็งกลางดอกจะมีเกสรซ้อนเรียงกัน อยู ่ ๓ ชั ้ น และตามกลี บ ดอกจะมี ข นมั น เป็ น เงาปกคลุ ม อยู ่ เวลาออกดอกจะทิ้งใบ ผล มีขนาดใหญ่ รูปมนรีปลายแหลม ทั ้ ง สองข้ า ง ผลอ่ อ นมี ส ี เขี ย วแล้ ว เปลี ่ ย นเป็ น สี น ้ ำ ตาลตอนแก่ เปลือกแข็ง ยาวประมาณ ๑๕ – ๒๐ เซนติเมตร ภายในมีใย เป็นปุยสีขาวและมีเมล็ดสีดำจำนวนมาก การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร เกสรดอกงิ้วตากแห้งใช้โรยหน้าขนมจีนน้ำเงี้ยว แกงแค ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร ดอกตากแห้งนำมาต้มกับน้ำแก้ท้องร่วง เปลือกต้นแก้ กระเพาะอาหารอักเสบ แก้ท้องร่วง ๑๗
  • 27. ชื่ออื่น สะค้าน สะค้านเนื้อ จะค่าน เป็นไม้เลื้อย ลำต้นอวบ ผิวเป็นตุ่มเล็กๆ แตกกิ่งได้มาก ข้อโป่งนูน ก้านใบยาว ๕ - ๗ เซนติเมตร ใบบางเหนียวสีเขียวอ่อน เมื่อใบแห้ง แผ่ น ใบและเส้ น ใบมี ส ี แ ดงคล้ า ยสี อ ิ ฐ แผ่ น ใบรู ป ไข่ แ กมรู ป หอก กว้ า ง ๗.๘ - ๑๐ เซนติเมตร ยาว ๑๔ - ๒๐ เซนติเมตร ฐานใบรูปลิ่ม ปลายใบแหลม เส้นใบด้านท้องใบนูนมีจำนวน ๖ - ๗ เส้น ดอก เป็นช่อห้อยลงช่อดอกเพศผู้ สีเหลือง ก้านช่อดอกยาว ๑ - ๒ เซนติเมตร แกนช่อดอกมีขนใบประดับรูปกลม ด้านล่างมีขน ผล รูปไข่หรือรูปรี ช่อผลยาว ๑๕ - ๒๕ เซนติเมตร ไม่มีก้านผล การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร ประโยชน์ด้านสมุนไพร ๑๘ เถาใส่แกงแคเป็นเครื่องชูรส โดยปอกเปลือกออกแล้วหั่นเป็นแว่นๆ หรือใส่แกงมะหนุน ใบอ่อนรับประทานเป็นผักแกล้มกับลาบ ก้อย ใบ ขับลมในลำไส้ แก้แน่นจุกเสียด ดอกแก้ลมอัมพฤกษ์ ผลแก้ลม ในทรวงอก รากแก้ไข้ แก้จุกเสียด รักษาธาตุ
  • 28. ชื่ออื่น ตะไคร้ ไคร คาหอม หัวซิงไค จะไค เป็นพืชล้มลุก ขึ้นเป็นกอ สูงประมาณ ๑ เมตร ลักษณะลำต้นเป็นรูปทรงกระบอกแข็ง เกลี้ยง ตามลำต้นมักมีไข สีขาวปกคลุม มีอายุหลายปี ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว แตกใบออกเป็นกอ รูปขอบขนานปลายใบแหลม ผิวใบสากทั้งสองด้าน เส้นกลางใบแข็ง ขอบใบมีขนขึ้นประปราย กว้างประมาณ ๒ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๖๐ – ๙๐ เซนติเมตร ดอก ออกเป็นช่อ กระจาย ช่อดอกย่อยมีก้านออกเป็นคู่ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร ประโยชน์ทางสมุนไพร ลำต้น ใช้ปรุงอาหารเพื่อดับกลิ่น ใส่แกง ซอยใส่ยำ ลาบ ส้า ทั้งต้น รักษาอาการหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลม บำรุงธาตุไฟให้เจริญ ๑๙
  • 29. ชื่ออื่น อีลอก บุก อีลอกเขา ดอกก้าน เป็นไม้ล้มลุกมีเหง้าใต้ดิน ลักษณะกลมผิวขรุขระมีรากโดยรอบ ในฤดูฝนจะมีก้านใบงอกโผล่ขึ้นมาเหนือดิน ลักษณะอวบน้ำไม่มีแกนยาวประมาณ ๕๐ – ๑๒๐ เซนติเมตร มีลายสีเขียว น้ำตาล และดำ ทั้งแบบเป็นพื้นและจุดด่างหรือแถบ ลายแตกต่างกันไป ใบ มีก้านใบย่อยแตกออกจากปลายก้านใบ ๒ – ๓ ก้าน และมีใบประกอบ ๑๐ – ๑๒ ใบ ออกเป็นคู่รูปหอก ยาวประมาณ ๑๕ – ๒๕ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๕ – ๑๐ เซนิเมตร ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้มหรือบางชนิดมีจุดสีขาว กระจายอยู่ทั่วไปมีหูใบติดก้านใบย่อย ดอก มีก้านยาวออกบริเวณเหง้าลักษณะคล้ายก้านใบ มีดอกอยู่ตรงปลายก้าน มีเกสร เป็นแท่งอยู่ตรงกลาง ผล ลักษณะกลม สีเขียวเรียงติดกันเป็นแท่งยาวประมาณ ๕ – ๘ เซนติเมตร และมีกลีบเลี้ยงห่อด้านหลัง ผลสุกสีแดงส้ม การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร ประโยชน์ด้านสมุนไพร ก้านใบและก้านดอกลอกเปลือกออกแล้วนำมาแกงอ่อม แกงหน่อและ แกงร่วมกับเห็ดลม เหง้าใช้พอกกัดฝีหนอง ข้อควรระวัง ต้องปรุงให้สุกก่อนบริโภค ๒๐
  • 30. ชื่ออื่น เนระพูสีไทย ค้างคาวดำ ว่านหูเลย ม้าถอนหลัก ดีงูว่า เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ลักษณะรูปทรงกระบอก ลำต้นสูงประมาณ ๓๐ – ๕๐ เซนติเมตร ใบ ออกเรียงเวียนสลับ เป็นรัศมีวงรี รูปขอบขนานถึงรูปหอก กว้างประมาณ ๘ – ๑๘ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๒๐ – ๖๐ เซนติเมตร ก้านแผ่เป็นครีบ ดอก ลักษณะคล้ายค้างคาวบิน ออกเป็นช่อแบบซี่ร่ม มีดอกย่อย ๔ – ๖ ดอก สีม่วงแกมเขียว ถึงม่วงดำ มีใบประดับ ๒ คู่ สีเขียวถึงสีมวงดำ เรียงตังฉากกัน ผล เป็นผลสด รูปหอกขนานแกนสามเหลียม มีสนเป็นคลืนตามยาว ่ ้ ่ ั ่ การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร ประโยชน์ทางสมุนไพร ใบอ่อน ยอดอ่อน ลวก ต้ม รับประทานร่วมกับน้ำพริก ลาบ ส้า หลู้ หัว หั่นเป็นแว่น ๆ ดองเหล้า ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด ๒๑
  • 31. ชื่ออื่น ดีปลีเชือก ประดงข้อ บี้ฮวด ดีปลี เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันไปตามไม้อื่น มีรากที่ข้อสำหรับยึดเกาะ ใบ เป็นใบเดี่ยวออกสลับรูปไข่แกมขอบขนาน กว้างประมาณ ๓ – ๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๗ – ๑๐ เซนติเมตร ผิวเกลี้ยงเป็นมันโคนเบี้ยวปลายแหลม ขอบเรียบ มีเส้นใบ ออกจากโคนใบจำนวน ๓ – ๕ เส้น ดอก ออกเป็นช่อมีดอกย่อยเรียงแน่นบนช่อดอก ช่อดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ช่อดอกตัวผู้ยาวประมาณ ๔ – ๕ เซนติเมตร ช่อดอกตัวเมียยาวประมาณ ๓ – ๔ เซนติเมตร ผล อัดกันแน่นบนแกนช่อ ยาว ประมาณ ๒ – ๕ เซนติเมตร ผลเมื่อสุกจะเป็นสีน้ำตาลแกมแดง การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร ประโยชน์ทางสมุนไพร ๒๒ ผลใส่แกงแค ใส่แกงโฮะ ทำเครื่องปรุง ผล กลิ่นหอม เผ็ดคล้ายพริกไทย เป็นยาขับลม แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยย่อยอาหาร เจริญอาหาร ขับระดู ทำให้แท้ง
  • 32. ชื่ออื่น ทองหลางน้ำ ทองหลางหนาม ทองหลางบ้าน ตอง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูงประมาณ ๑๐ – ๑๗ เมตร ตามกิ่งก้านมีหนามแหลมคมทั่วไป ใบ เป็นใบ ประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ ยาวประมาณ ๒๐ – ๓๐ เซนติเมตร เนื้อใบหนาเหนียว เมื่อแก่ผิวใบด้านล่างมีแป้งขาวปกคลุม ใบย่อยตอนปลายยอดรูปไข่ขอบขนาน กว้างประมาณ ๘ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๕ เซนติเมตร ดอก ออกเป็นช่อยาว ประมาณ ๑๗ มิลลิเมตร มีกลีบดอก ๕ กลีบขนาดไม่เท่ากัน กลีบที่หนาจะใหญ่ที่สุด ส่วนกลีบในสุดจะเล็กและแคบที่สุด กลีบดอกมีสีม่วงถึงแดงเข้ม ดอกจะออกในช่วงที่ผลัดใบ ผล เป็นฝักลักษณะยาวตรง ยาวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร กว้าง ประมาณ ๒ เซนติเมตร มีสีน้ำตาลอ่อน เมล็ด รูปไตยาวประมาณ ๒ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๗ มิลลิเมตร การใช้ประโยชน์ด้านอาหาร ประโยชน์ด้านสมุนไพร ยอดอ่ อ น ใบอ่ อ น รั บ ประทานเป็ น ผั ก สดร่ ว มกั บ น้ ำ พริ ก ตาแดง น้ำพริกปลาร้า และทำเมี่ยงคำ เปลือกต้น แก้เสมหะ แก้ลมพิษ แก้ตาแดง ราก แก้พยาธิในท้อง แก้เสมหะและลม แก้ไข้หวัด ๒๓