ตกนรกไม่เกินจริง พยากรณ์อากาศ 2-6 เม.ย.คลื่นความร้อนทะลุ 40 องศาทุกวัน !

ตกนรกไม่เกินจริง พยากรณ์อากาศ 2-6 เม.ย.คลื่นความร้อนทะลุ 40 องศาทุกวัน !

ตกนรกไม่เกินจริง พยากรณ์อากาศ 2-6 เม.ย.คลื่นความร้อนทะลุ 40 องศาทุกวัน !
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เฟซบุ๊กเพจ "พยากรณ์อากาศประเทศไทย" เผยภาพ แผนที่ความร้อนของประเทศไทย โดยใช้แถบสีแสดงอุณหภูมิในช่วงวันที่ 2-6 เมษายน ณ เวลา 13.00 น.ของทุกวัน เป็นสีดำ (ร้อนจัด) เกือบทั่วประเทศ พร้อมระบุข้อความว่า

"ดำเดือด! ไม่ใช่แดงดำเดือด แต่เป็น ดำเดือด! บริเวณดำ คือ อุณหภูมิตั้งแต่ 40 องศาขึ้นไป!

พยากรณ์อุณหภูมิสูงสุด 2-6 เม.ย.! อุณหภูมิ แทนด้วยสี ดังนี้
เหลือง : ตั้งแต่ 20 องศาขึ้นไป แต่น้อยกว่า 25 องศา
ส้ม : ตั้งแต่ 25 องศาขึ้นไป แต่น้อยกว่า 30 องศา
แดง : ตั้งแต่ 30 องศาขึ้นไป แต่น้อยกว่า 35 องศา
แดงเลือดหมู : ตั้งแต่ 35 องศาขึ้นไป แต่น้อยกว่า 38 องศา
แดงดำ : ตั้งแต่ 38 องศาขึ้นไป แต่น้อยกว่า 40 องศา
ดำ : ตั้งแต่ 40 องศาขึ้นไป

รูปนี้แสดงพยากรณ์อุณหภูมิเวลา 13.00 น.!"

ขณะที่ เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา ก็ได้คาดหมายอากาศทั่วไป ในเดือนเมษายน 2567 ระบุว่า สรุปเดือนนี้ คาดว่า อุณหภูมิเฉลี่ยจะสูงกว่าค่าปกติ สำหรับปริมาณฝนรวมส่วนใหญ่จะน้อยกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 30

บริเวณประเทศไทยตอนบน มีอากาศร้อนอบอ้าว และมีอากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่เป็นระยะๆ อุณหภูมิสูงที่สุด 43.0-44.5 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบนของทั้งภาคกลางและภาคตะวันออก

แต่ในบางช่วงจะมีฝนฟ้าคะนองในหลายพื้นที่ ซึ่งจะช่วยคลายความร้อนลงได้ เนื่องจากจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำ จากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนเป็นระยะๆ ประกอบกับจะมีลมใต้หรือลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าวเกือบตลอดช่วง

ส่วนภาคใต้ จะมีอากาศร้อนในหลายพื้นที่ และมีอากาศร้อนจัดบางแห่งในบางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่ส่วนมากในช่วงปลายเดือน เนื่องจากจะมีลมตะวันออกหรือลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ แต่ในช่วงปลายเดือนจะเริ่มเปลี่ยนเป็นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้

ทั้งนี้ ยังระบุอีกว่า ข้อควรระวัง เดือนนี้มักจะมีพายุฤดูร้อน โดยจะมีลักษณะพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและอาจมีลูกเห็บตกในบางแห่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือนและเรือกสวนไร่นาได้ ขอให้ประชาชนจึงควรติดตามข่าวพยากรณ์อากาศประจำวันจากกรมอุตุนิยมวิทยาต่อไปด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook