เข็มหนู

  • วันที่อัพเดทล่าสุด : 05/09/2017
ชื่อไทย : เข็มหนู
ชื่อท้องถิ่น : กุหลาบดง(อุบลราชธานี) 
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Smitinandia micrantha (Lindl.) Holttum
ชื่อวงศ์ : ORCHIDACEAE
ลักษณะวิสัย : กล้วยไม้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ลำต้น :

ใบ :

รูปขอบขนาน กว้าง 1.4-2 ซม. ยาว 7-12 ซม. ปลายใบเว้าไม่เท่ากัน แผ่นใบค่อนข้างแข็ง เรียงตัวสลับซ้ายขวาเป็นระยะห่างกันเล็กน้อย

ดอก :

กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาวอมชมพูอ่อน กลีบปากสีชมพู แยกเป็น 3 พู ตรงกลางแผ่เป็นรูปไข่ขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่น ออกเป็นช่อทอดเอนไปตามใบหรือห้อยลงเล็กน้อย และสั้นกว่าใบ ดอกในช่อค่อนข้างโปร่ง ขนาดบานเต็มที่ กว้าง 4-6 มม.

ผล :

ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : กุมภาพันธ์ สิ้นสุดระยะติดดอก : เมษายน
เริ่มติดผล : สิ้นสุดระยะติดผล :
สภาพทางนิเวศวิทยา : นิเวศวิทยา พบตามป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคกลาง ถิ่นกำเนิด การกระจายพันธุ์ พบตั้งแต่ตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาหิมาลัยมาจนถึง อินเดีย พม่า อินโดจีน และมาเลเซีย การใช้งานด้านภูมิทัศน์
การปลูกและการขยายพันธุ์ : ปลูกในกระถาง ติดแผ่นไม้ รดน้ำสม่ำเสมอ อย่าให้แฉะ วัสดุปลูกที่ใช้เช่น กาบมะพร้าวสับ หากปลูกติดกิ่งหรือลำต้นควรเลือกต้นที่มีเปลือกที่สามารถดูดซับความชื้นได้ดี ทรงพุ่มไม่หนาทึบ อากาศถ่ายเทสะดวก แดดรำไร ขยายพันธ์โดยการแบ่งกอ หรือเพาะเมล็ด
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ : ปลูกประดับตกแต่งสวน
แหล่งอ้างอิง : [1] องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2551. กล้วยไม้ไทย 2. Thai Native Orchids 2. พิมพ์ครั้งที่ 1. หจก. วนิดาการพิมพ์. เชียงใหม่. [2] อบฉันท์ ไทยทอง. 2552. กล้วยไม้เมืองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 16. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร.
ประเภทของการใช้ประโยชน์ : ไม่ได้ระบุประเภทการใช้ประโยชน์
ที่อยู่ :
Zone B : สวนกล้วยไม้
หมายเหตุ :
มูลนิธิโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารแห่งประเทศไทย
gistda
ธนาคารกรุงไทย