พาราเซตามอล,ยาพาราเซตามอล,การใช้ยาพาราเซตามอล
หน้าแรก
พาราเซตามอล ยาสามัญที่อาจสาหัส
พาราเซตามอล ยาสามัญที่อาจสาหัส

พาราเซตามอล ยาสามัญประจำบ้านที่หลายบ้านมีติดไว้เพื่อใช้ในการลดไข้ บรรเทาอาการปวดในชีวิตประจำวัน ถือเป็นยาที่เข้าถึงได้ง่ายและจัดเป็นยาที่ไม่อันตราย ใช้ได้ทุกเพศทุกวัยแต่ในขณะเดียวกันหากใช้ยาไม่ถูกต้องอาจทำให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน

ทำความรู้จักกับยาพาราเซตามอล

พาราเซตามอล เป็นยาบรรเทาอาการปวดระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง บางครั้งใช้ลดไข้ในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งออกฤทธิ์โดยการยับยั้งสารเคมีบางชนิดในสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับอาการปวด เช่น สารโพรสตาแกลนดิน (prostaglandin) และจะทำให้เกิดกลไกการลดอุณหภูมิหรือลดไข้ของร่างกายลง

พาราเซตามอล,ยาพาราเซตามอล,การใช้ยาพาราเซตามอล

การใช้ยาพาราเซตามอล

  • ในการกินยา 1 ครั้ง ใช้ยาขนาด 10-15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
  • กินครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง
  • ไม่ควรกินเกิน 8 เม็ด/วัน หรือ 4 กรัม/วัน ในผู้ใหญ่
  • สามารถกินก่อนหรือหลังอาหารก็ได้
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะการทำงานของตับบกพร่องหรือน้ำหนักตัวน้อยอาจจำเป็นต้องปรับขนาดยา
  • เป็นยารักษาตามอาการ หากไม่มีอาการปวดหรือไม่มีไข้ไม่จำเป็นต้องกินยา
  • กรณีลืมกินยา สามารถกินได้ทันทีที่นึกขึ้นได้โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยา

ปัญหาที่พบจากการใช้ ยาพาราเซตามอล

  1. ใช้ยาบ่อยเกินควร
    การกินยาติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้ตับทำงานผิดปกติ และอาจจะทำให้ร่างกายดื้อยาได้
  2. ใช้ยาเกินขนาด
    การกินยาต่อครั้งต้องกินยาขนาด 1-2 เม็ด หากกินมากเกิน 2 เม็ด ต้องดูที่น้ำหนักตัวของผู้ป่วยด้วย หากขนาดยาเกินกว่า 10-15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แปลว่า ใช้ยาเกินขนาด
  3. ใช้ยาทั้งที่ไม่มีอาการ
    การใช้ยาทั้งที่ไม่มีอาการ เช่น การกินยาดักไว้ก่อน เพื่อป้องกันอาการไข้ จะทำให้ยาไม่เกิดประสิทธิภาพในการรักษา และยังเกิดผลข้างเคียงจากยาได้

พาราเซตามอล,ยาพาราเซตามอล,การใช้ยาพาราเซตามอล

ข้อควรระวังในการใช้ ยาพาราเซตามอล

  • ผู้ป่วยที่มีภาวะการทำงานของตับผิดปกติ ต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนการใช้ยาเสมอ
  • ไม่ควรใช้ยากับผู้ป่วยที่มีอาการแพ้ยาพาราเซตามอลเด็ดขาด อาการแพ้ เช่น ผื่นขึ้น แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก
  • ไม่ควรใช้ยาที่หมดอายุ

 

ข้อมูลจาก
ภญ.นันทพร เล็กพิทยา
หัวหน้างานเภสัชกรรมคลินิก ฝ่ายเภสัชกรรม
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
บทความสุขภาพ
07-05-2024

4

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
02-05-2024

2

บทความ เรื่อง ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ ผิวหนัง เรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรค มะเร็งผิวหนัง
ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ผิวหนังเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรคมะเร็งผิวหนัง ได้
บทความสุขภาพ
01-05-2024

12

บทความ เรื่อง ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาล แลคโตส ที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาลแลคโตสที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
บทความสุขภาพ
26-04-2024

7