Header

การคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย โดยจะมีอุบัติการณ์มากขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้นตั้งแต่50ปีขึ้นไป นอกจากนั้นยังมีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงเช่น การตรวจพบติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่(colonic polyp), การมีญาติใกล้ชิดเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, โรคลำไส้อักเสบ(inflammatory bowel disease), การทานผักน้อยและทานเนื้อสัตว์จำนวนมาก เป็นต้น
 

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจมีอาการอย่างไรได้บ้าง

  • ถ่ายอุจจาระปนมูกเลือด
  • มีลักษณะการขับถ่ายอุจจาระที่เปลี่ยนแปลงไป เช่นการถ่ายอุจจาระท้องผูกสลับกับการถ่ายอุจจาระเหลว
  • ลักษณะอุจจาระลีบลง ในบางรายอาจมีอาการลำไส้อุดตันร่วมด้วย ได้แก่ท้องอืดมาก อาเจียนมาก ไม่สามารถอุจจาระหรือผายลมได้
  • มีภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กโดยไม่มีเหตุอื่นอธิบายได้
  • อาการอื่นๆที่อาจพบร่วมได้ เช่น น้ำหนักตัวลดเยอะ, อาการปวดท้อง
     

ทำไมเราถึงควรคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

 การคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ได้ โดยถ้าอาจตรวจพบและกำจัดติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือการตรวจพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะเริ่มต้น อาจสามารถรักษาหายขาดหรือมีผลการรักษาที่ดีกว่าการตรวจพบในระยะท้ายของโรค
 

แนวทางในการคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ในปัจจุบันโดยทั่วไปแนะนำให้เริ่มการคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ตั้งแต่อายุ 50 -75 ปี (ในผู้มีความเสี่ยงสูง อาจพิจารณาเริ่มทำการคัดกรองตั้งแต่อายุน้อยกว่า50ปี) หรือในผู้ที่มีอาการแสดงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โดยวิธีที่ใช้ในการคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มีหลายวิธี ได้แก่

  • การตรวจหาเลือดแดงในอุจจาระ (fecal occult blood test) เป็นการตรวจหาเม็ดเลือดแดงที่ออกมาในอุจจาระในปริมาณน้อยที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า โดยแนะนำให้ทำการตรวจทุก 1ปี
  • การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) โดยแนะนำให้ทำการตรวจทุก10ปี
  • การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย(sigmoidoscopy)โดยแนะนำให้ทำการตรวจทุก5ปี
  • การตรวจเอ็กเรย์คอมพิวเตอร์ลำไส้ใหญ่ (CT colonoscopy) โดยแนะนำให้ทำการตรวจทุก5ปี

จะเห็นได้ว่าโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นโรคใกล้ตัวทุก ๆคน โดยเฉพาะเมื่อเรามีอายุมากขึ้น ซึ่งการตรวจคัดกรอง ด้วยวิธีต่างๆก็จะช่วยป้องกันการเกิดโรค หรือทำให้ตรวจพบโรคในระยะต้นได้มากขึ้นครับ



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคจอประสาทตาเสื่อม

การตรวจคัดกรองดวงตาไม่เพียงช่วยให้ค้นพบความผิดปกติของดวงตาในระยะเริ่มแรก แต่ยังช่วยให้ค้นพบโรคเกี่ยวกับดวงตาในขณะที่ยังไม่แสดงอาการ โดยเฉพาะในผู้สูงวัยที่ต้องพบกับโรคจอประสาทตาเสื่อม

blank บทความโดย : คลินิกจักษุ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคจอประสาทตาเสื่อม

การตรวจคัดกรองดวงตาไม่เพียงช่วยให้ค้นพบความผิดปกติของดวงตาในระยะเริ่มแรก แต่ยังช่วยให้ค้นพบโรคเกี่ยวกับดวงตาในขณะที่ยังไม่แสดงอาการ โดยเฉพาะในผู้สูงวัยที่ต้องพบกับโรคจอประสาทตาเสื่อม

blank บทความโดย : คลินิกจักษุ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ป้องกันตัวเองและคนที่คุณรักได้ง่ายๆ ด้วย 4 วิธีนี้

วัคซีนป้องกันไม่ให้ป่วยหนัก แม้ฉีดวัคซีนครบแล้วแต่ยังมีโอกาสแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่อ่อนแอ

ป้องกันตัวเองและคนที่คุณรักได้ง่ายๆ ด้วย 4 วิธีนี้

วัคซีนป้องกันไม่ให้ป่วยหนัก แม้ฉีดวัคซีนครบแล้วแต่ยังมีโอกาสแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่อ่อนแอ