top of page

Knowledge

วัยอนุบาลไม่ใช่วัยแห่งการเรียนวิชาการยากๆ


วัยอนุบาลคือช่วงอายุ 3 - 6 ขวบ

.


สำหรับครูปุ๊กแล้ววัยนี้เป็นวัยที่เด็กรู้สึก “มีตัวตน” อย่างชัดเจน

.


เด็กวิ่งได้เร็วขึ้น เริ่มขี่จักรยาน เล่นเครื่องเล่นสนาม

กล้ามเนื้อมัดเล็กทำงานได้ดีขึ้นกว่าสองปีแรกของชีวิต

เด็กทำงานศิลปะง่ายๆได้ ทากาว ฉีกปะกระดาษ ปั้น

ระบายสี วาดรูป ติดกระดุมเสื้อเองได้

ใส่ถุงเท้าและรองเท้าได้เอง

.


เด็กพูดได้เป็นประโยคมากขึ้น

บอกความต้องการของตัวเองได้

เล่าเรื่องราวที่โรงเรียนได้

เด็กเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมมากขึ้น

.


และคราวนี้เองที่ผู้ใหญ่จะเริ่มจริงจังกับมารยาท

ปลูกฝังจริยธรรม ไม่พูดโกหก ไม่ขโมย

ฝึกให้รอคอยให้เป็น และมีน้ำใจกับผู้อื่น

.


วัยนี้ยังเป็นวัยแห่งความทรงจำของผู้ใหญ่หลายคน

เคยมีคนพูดดีหรือไม่ดีกับเขา

เคยมีคนปฏิบัติดีหรือไม่ดีกับเขา

เขาจำได้ทั้งหมดและอยู่ในความทรงจำตลอดไป

.


วัยนี้จึงเป็นวัยที่เด็ก “รู้สึกตน”

จดจำ เรียนรู้อันเป็นรากฐานชีวิตของเด็กต่อไป

.


ดังนั้น สิ่งที่ต้องปลูกฝังในเด็กวัยอนุบาลคือ

พัฒนาการและการทำงานของสมองที่สมวัย

(ผ่านการเล่นและการลงมือทำ)

.


ความภาคภูมิใจในตนเอง (ผ่านคำชม)

.


การพึ่งพาดูแลตัวเองได้ตามวัย (ผ่านการฝึกทำ)

.


ระเบียบวินัย จริยธรรม

(ผ่านการเลี้ยงดูที่เอาจริงหนักแน่นของพ่อแม่)

.


แต่เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย

ที่เด็กหลายคนมีชีวิตช่วงอนุบาลหมดไปกับการเรียน

ถูกบีบคั้นเร่งให้อ่านเขียนคำนวณก่อนถึงเวลาที่เหมาะสม

บ้างก็มีชีวิตในช่วงอายุ 4 - 6 ขวบ

หมดไปกับการติวเพื่อสอบเข้าเรียนต่อชั้น ป.1

.


“เด็กวัยอนุบาลคือวัยเตรียมความพร้อม

ไม่ใช่วัยที่จะสอนให้เด็กอ่านคำยากๆ

หรือบวกเลข 2 - 3 หลัก”

.


ไม่มีประโยชน์เลยที่เด็กจะอ่านเขียนคำยากๆได้

และบวกเลข 2 - 3 หลักได้แต่เด็กสื่อสารไม่เป็น

.


เรียนพิเศษจนตารางชีวิตเต็มแต่ฟันผุทั้งปาก

.


กลับมาบ้านก็ค่ำแล้วแทบไม่มีเวลาเล่นกับธรรมชาติ

.


แล้ว 3 ปีนี้ก็หมดไปอย่างรวดเร็วไม่หวนกลับมา

.


การเรียนเขียน อ่าน และคำนวณ

สามารถเรียนรู้ได้เท่าทันกันทั้งหมด

เมื่อสมองพร้อม กล้ามเนื้อพร้อม ภาษาพร้อม

จะมีแรงขับตามธรรมชาติจากในตัวเด็ก

ทำให้เด็กเกิดความกระหายใคร่รู้ด้วยตนเอง

.


การเรียนรู้มีจังหวะเวลาของมัน

เมื่อถึงเวลาที่เด็กพร้อมที่จะอ่าน เขียน และคำนวณ

เด็กจะทำมันได้เองโดยไม่ต้องบังคับ

และใช้เวลาไม่นานในการเรียนรู้แต่ละหัวข้อ

.


ครูจึงอยากจะบอกคุณพ่อ คุณแม่ไว้ว่า

“ไม่จำเป็นต้องเร่งให้เกินวัยจนละเลยสิ่งที่ต้องฝึกตามวัย”

ดู 45 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page