top of page

สึสะท้อนความร้อนที่หลังคากับสภาพแวดล้อม

บทความนี้จะอธิบายถึงที่มาของปัญหาโลกร้อนและความสำคัญของการใช้สีสะท้อนความร้อน ประโยชน์ที่จะได้รับ ประเภทของสีสะท้อนความร้อนทั้งด้านการประหยัดพลังงานและในด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งตัวอย่างการคำนวณ

ที่มาของปัญหา

แหล่งพลังงานที่สำคัญที่สุดของโลกคือดวงอาทิตย์ โลกสะสมพลังงานจากดวงอาทิตย์มาเป็นเวลานาน โดยอาศัยพืชรับพลังงานมาใช้ในการสังเคราะห์แสงแปลงพลังงานจากดวงอาทิตย์เพื่อการเจริญเติบโตของพืช และสัตว์ก็ดำรงชีวิตด้วยการกินพืช เมื่อหมดอายุขัยก็ทับถมอยู่ในดินพัฒนากลายเป็นเชื้อเพลิงธรรมชาติเก็บก๊าซคาร์บอนเอาไว้ในรูปของไม้ฟืน ถ่าน ถ่านหิน ทรายน้ำมัน หินน้ำมัน น้ำมันดิน ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ

ความเจริญทำให้พื้นที่ปลูกพืชลดลง กลายเป็นอาคาร ถนน และอื่นๆ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ พลังงานจากดวงอาทิตย์จึงถูกดูดกลืนด้วยพืชลดลง ส่วนที่กลางเป็นความร้อนจึงเพิ่มขึ้น และมีการสะท้อนความร้อนน้อย ทำให้มีบรรยากาศมีอุณหภูมิสูงขึ้นถึงแม้จะแผ่รังสีออกไปนอกบรรยากาศได้เนื่องจากอุณหภูมิสูงขึ้น การใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติที่โลกสะสมมานับล้านปีอย่างต่อเนื่องนอกจากจะทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนพลังงานในอนาคต ยังทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกมากขึ้นแบบทวีคูณ ก๊าซเรือนกระจกนี้มีผลชะลอการระบายความร้อนด้วยการแผ่รังสีออกนอกบรรยากาศจึงทำให้อุณหภูมิของบรรยากาศสูงขึ้นเกิดปัญหาโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ

โลกดูดกลืนพลังงานทั้งสิ้น 89 PW (1PW=1015 W) สะท้อนจากโลกทั้งสิ้น 30.5% ซึ่งเป็นการสะท้อนที่ผิวโลก 7.3% ของพลังงานที่ตกกระทบผิวโลก และบรรยากาศดูดกลืนพลังงานจากแสงอาทิตย์ส่วนหนึ่งด้วย ส่วนการแผ่รังสีของผิวโลกถูกเมฆและก๊าซเรือนกระจกสะท้อนกลับและถูกดูดกลืนในบรรยากาศด้วย บรรยากาศจะแผ่รังสีระบายความร้อนออกในอัตราที่เท่ากันทั้งการนำความร้อนของอากาศ การระเหยของน้ำ และการดูดกลืนของบรรยากาศ

รูปที่ 1. รูปแบบการที่โลกรับพลังงานจากดวงอาทิตย์ (ภาพจาก Solar energy, Wikipedia)

แนวทางการลดความร้อน

การแก้ปัญหาโลกร้อนคือการลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงธรรมชาติเพื่อจำกัดการปลดปล่อยความร้อนที่สะสมไว้ในธรรมชาติ และลดการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจก การเพิ่มการปลูกต้นไม้และการใช้ไม้อย่างยั่งยืนเพื่อให้ไม้ช่วยสะสมพลังงานจากดวงอาทิตย์ เพิ่มการส่งความร้อนออกจากโลก

เทคโนโลยีที่ช่วยลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงธรรมชาติได้แก่การใช้พลังงานทดแทนจากธรรมชาติ จากลม แสงอาทิตย์ คลื่น ปัญหาคือเรื่องความสม่ำเสมอของพลังงาน และปัญหาเรื่องราคาอุปกรณ์ทำให้ระยะเวลาคุ้มทุนยาวมากจนต้องสนับสนุนด้วยค่า Adder เพื่อให้เกิดโครงการและเพื่อให้อุปกรณ์มีราคาถูกลงในอนาคต เทคโนโลยีที่คนส่วนใหญ่สามารถมีส่วนร่วมได้ มีแผงน้ำร้อนสงอาทิตย์ เซลแสงอาทิตย์

การผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลและก๊าซชีวภาพสามารถแก้ปัญหาพลังงานและสิ่งแวดล้อมได้ เพราะเชื้อเพลิงชีวมวลและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาไหม้สามารถหมุนเวียนได้ การนำก๊าซชีวภาพมาผลิตไฟฟ้าช่วยลดปัญหาก๊าซเรือนกระจกลงได้ส่วนหนึ่งเพราะส่วนใหญ่ในก๊าซชีวภาพเป็นก๊าซมีเทนซึ่งมี Global Warming Potential (GWP) 25 เท่าของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

การประหยัดพลังงานช่วยลดการเผาไหม้เชื้อเพลิงธรรมชาติทั้งทางตรงและทางอ้อม และช่วยลดการเกิดก๊าซเรือนกระจก เทคโนโลยีในการประหยัดพลังงานมีมากมายช่วยให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังไม่เร็วพอ ประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่ดีที่สุดยังไม่ถึง 100% มีเพียงเทคโนโลยีปั๊มเม่านั้นที่สามารถให้ความร้อนและความเย็นได้ 5-13 เท่าของพลังงานที่ใช้

ในด้านการระบายความร้อนออกจากโลก ซีกโลกที่เป็นช่วงกลางวันมีกลไกการสะท้อนความร้อนและระบายความร้อนจากโลกตามที่แสดงในรูปที่ 1. การเพิ่มการระบายความร้อนออกจะต้องใช้เทคโนโลยีเพิ่มการสะท้อนความร้อนเป็นหลัก ส่วนในซีกโลกด้านกลางคืนจะต้องอาศัยการแผ่รังสี (Nocturnal cooling)

สีสะท้อนความร้อนที่หลังคา

จากผลการศึกษาทดลองโดย Lawrence Berkeley National Laboratory (LBNL), Heat Island Group , EPA ได้แก่ 2009b, Konopacki et al., 1997, Konopacki and Akbari, 2001; Akbari et al., 1997, Akbari et al., 2009, Rosenfeld et al., 1997, Taha et al., 1997b, Taha 2005, Synnefa et al., 2008) แสดงผลประโยชน์ที่ได้รับจากการลดความร้อนของหลังคาดังต่อไปนี้

1. การใช้หลังคาสะท้อนความร้อนจากดวงอาทิตย์ช่วยลดความร้อนเข้าสู่อาคาร

2. ช่วยประหยัดค่าพลังงานสำหรับเครื่องปรับอากาศได้เฉลี่ย 10-40% ตามลักษณะการก่อสร้างและการใช้อาคาร และลักษณะภูมิอากาศ

3. ช่วยให้เกิดความสุขสบายมากยิ่งขึ้นสำหรับอาคารที่ไม่ปรับอากาส

4. ช่วยลดความต้องการไฟฟ้าเนื่องจากขนาดเครื่องปรับอากาศ/ใช้ขนาดเล็กลงได้ ลดค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟโดยเฉพาะที่เสียค่าไฟฟ้าในแบบที่คิดค่าความต้องการไฟฟ้าสูงสุด

การสะท้อนความร้อนที่หลังคาออกนอกบรรยากาศจะช่วยให้ผิวโลกมีการสะท้อนความร้อนรวมมากขึ้น ระบายพลังงานออกไปก่อนที่จะกลายเป็นความร้อนที่ผิวโลก ประชากรโลกมีประมาณหมื่นล้านคน ถ้าทาสีสะท้อนความร้อนคนละ 1 ตารางเมตร กระจายคนอย่างสม่ำเสมอก็จะได้พื้นที่สะท้อนความร้อนในตอนกลางวันถึงห้าพันล้านตรม. ถ้าความเข้มของพลังงานจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย 300 วัตต์/ตรม. การสะท้อนความร้อนของหลังคา 0.9 จะสะท้อนความร้อนได้ 1.35ล้านเม็กกะวัตต์ ทดแทนพึ้นที่ป่าไม้ที่หายไปได้มาก

รูปที่ 2.การทาสีสะท้อนความร้อนแบบอีราสโตเมอร์บนหลังคา ภาพจาก SUN-MASTER

เมื่อสะท้อนความร้อนออกได้มากอุณหภูมิของหลังคาก็จะลดลง ความร้อนที่ถ่ายเทจากหลังคามาสู่ภายในอาคารจึงลดลง ช่วยให้ประหยัดพลังงานสำหรับระบบปรับอากาศลงได้ กลไกการถ่ายเทความร้อนผ่านหลังคาและต้วอย่างการคำนวณจะแสดงในตอนต่อไป

กลไกการถ่ายเทความร้อนผ่านหลังคา

คุณสมบัติของผิวหลังคาที่สำคัญมีอยู่ 2 ชนิดคือการสะท้อนความร้อน(Reflectance)และการแผ่รังสี(Emittance) การสะท้อนความร้อน มีความหมายเดียวกับ Albedo คืออัตราส่วนของการสะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์ต่อพลังงานทั้งหมด(ทั้งช่วง อูลตร้าไวโอเล็ต อินฟราเรด และแสงสว่างที่มองเห็น) มีเสกล 0-1.0 การทดสอบใช้มาตรฐาน ASTM E 903, ASTM E 1918, or ASTM C 1549.ต่างกันด้วยวัสดุที่จะทดสอบและเครื่องมือทดสอบ การแผ่รังสี คืออัตราส่วนพลังงานที่วัสดุสามารถแผ่รังสีออกจากพลังงานที่วัสดุนั้นดูดกลืนไว้ มีสเกล 0-1.0 การทดสอบใช้มาตรฐาน ASTM E 408 หรือ ASTM C 1371

ที่ด้านบนของหลังคา รังสีจากดวงอาทิตย์เมื่อตกกระทบที่หลังคา ส่วนหนึ่งจะถูกสะท้อนจากคุณสมบัติของผิววัสดุหลังคา ส่วนที่เหลือจะถูกหลังคาดูดกลืนเอาไว้ทำให้ผิวหลังคามีอุณหภูมิสูงขึ้น หลังคาจะแผ่รังสีระบายความร้อนที่ดูดกลืนบางส่วนออกนอกบรรยากาศของโลกไปสู่อวกาศที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าและอีกส่วนระบายให้กับลมที่พัดมากระทบหลังคาด้วยการพา

ที่ด้านใต้ของหลังคา หลังคาจะแผ่รังสีระบายความร้อนให้กับห้อง พร้อมกับการพาความร้อนโดยธรรมชาติ ทุกๆอย่างจะปรับตัวเองจนอยู่ในจุดสมดุลย์ในขณะนั้นๆและสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังต่อไปนี้

รูปที่ 3. ปรากฎการณ์ของความร้อนที่เกิดที่หลังคา

ที่ผิวด้านบนของหลังคา

ที่ผิวด้านล่างของหลังคา

ที่แผ่นหลังคา

ในกรณีที่หลังคาเป็นแผ่นโลหะค่า k สูง หรือวัสดุบาง จากสมการ (3) จะทำให้อุณหภูมิด้านบนและด้านล่างของหลังคาเท่ากัน ความร้อนที่ถ่ายเทผ่านหลังคาจึงขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของหลังคาตามสมการ (1) และ (2) เท่านั้น เมื่อใต้หลังคามีฝ้าเพดานตามรูปที่ 4.

ที่ผิวด้านบนของหลังคา

ความร้อนหลังจากถูกสะท้อนออก = ความร้อนที่แผ่รังสีออกนอกบรรยากาศ + ความร้อนที่ถูกลมพัดพาไป + ความร้อนที่ดูดกลืน ซึ่งสามารถคำนวณได้โดยใช้สมการที่ 1.

ที่ผิวด้านล่างของหลังคา

ความร้อนที่ดูดกลืนไว้จะคายให้ผิวบนของฝ้าเพดานด้วยการแผ่รังสีส่วนหนึ่งและด้วยการพาความร้อนตามสมการที่ 2.

ที่ฝ้าเพดาน

ความร้อนจากผิวบนของฝ้าจะเคลื่อนผ่านฝ้ามาที่ผิวด้านล่างของฝ้าตามสมการที่ 3. และความร้อนนี้จะส่งจากผิวฝ้ามาด้านล่างด้วยการพาและการแผ่รังสีตามสมการที่ 2.

รูปที่ 4. ปรากฎการณ์ของความร้อนที่เกิดที่หลังคาและเพดาน

การลดความร้อนจากหลังคา

การลดความร้อนจากหลังคามีหลักการคือการลดอุณหภูมิของหลังคา ซึ่งมีหลายวิธีได้แก่ การเลือกวัสดุหลังคา การใช้ฉนวน การฉีดน้ำที่หลังคา การทาสีสะท้อนความร้อน การทำหลังคาสีเขียว(ปลูกต้นไม้) และอื่นๆ

การฉีดน้ำที่หลังคานอกจากจะเปลืองน้ำและพลังงานที่ต้องปั๊มน้ำขึ้นไปแล้ว ยังทำให้เกิดตะไคร่และการผุกร่อนที่หลังคาจึงไม่เหมาะสมสำหรับใช้กับหลังคา ส่วนการทำหลังคาสีเขียวใช้ได้เฉพาะหลังคาคอนกรีตที่มีความแข็งแรงเท่านั้นและยังมีค่าใช้จ่ายสำหรับการดูแลรักษามากอีกด้วย

การเลือกหลังคาเพื่อลดอุณหภูมิควรให้ผิวด้านบนมีค่า SRI สูง นั่นคือผิวค้านบนของหลังคาควรมีค่าการสะท้อนความร้อนและการแผ่รังสีความร้อนสูง (สมการที่ 1) ส่วนผิวด้านล่างควรมีการแผ่รังสีน้อยเพื่อให้ส่งความร้อนให้ห้องได้น้อย ซึ่งวัสดุเดียวกันไม่สามารถจะมีคุณสมบัติทั้งสองด้านได้พร้อมกัน ด้านบนของหลังคาจึงควรทาสีเพื่อสะท้อนความร้อน ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ได้ทั้งอาคารใหม่และการปรับปรุงอาคารเก่าโดยไม่กระทบการทำงานภายในอาคาร

ผลการทำงานของสีสะท้อนความร้อน

สีสะท้อนความร้อนที่ผิวด้านบนของหลังคาทำให้สามารถลดอุณหภูมิของหลังคาและลดความร้อนที่ถ่ายเทสู่ด้านล่างได้ตามตัวอย่างการคำนวณที่ 1 ถึง 4 ต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ 1. หลังคา metal sheet ตามรูปที่ 3. สีมีการสะท้อนความร้อน 61% การแผ่รังสี 25% มีความร้อนผ่านหลังคาเท่าไร

Heat absorped ที่ผิวด้านบนหลังคา = Heat transfer มาที่ด้านล่างของหลังคา

คำนวณโดยการ Iterate สมมุติ tR ใช้สมการที่ 2 คำนวณ Heat rransfer แทนในสมการที่ 1. คำนวณวนจนได้ค่าที่คงที่

ตัวอย่างที่ 2.เมื่อใช้สีสะท้อนความร้อนทาที่ด้านบนของหลังคาเหล็ก (ผิวด้านล่างของหลังคาเป็นสีเดิม

ตัวอย่างที่ 3.หลังคาเหล็กตามตัวอย่างที่ 1. ติดตั้งฝ้าเพดานยิบซั่มที่มีคุณสมบัติต่อไปนี้

การคำนวณใช้วิธี iterate ด้วยการสมมุติค่า ความร้อนที่ผ่านลงมาใต้เพดานแล้วจึงคำนวณอุณหภูมิใต้หลังคาด้วยวิธีการเดิมในตัวอย่างที่ 1. คำนวณย้อนจากการหาอุณหภูมิผิวด้านใต้ของเพดานด้วยสมการที่ 2. คำนวณอุณหภูมิผิวด้านบนของเพดานด้วยสมการ 3. แล้วจึงคำนวณความร้อนจากหลังคามาที่ผิวด้านบนของเพดานใหม่จากสมการที่ 2. แก้ไขค่าความร้อนที่ผ่านใต้เพดานที่สมมุติไว้ แล้วจึงคำนวณวนจนได้ค่าที่คงที่

ตัวอย่างที่ 4. เมื่อใช้สีสะท้อนความร้อนทาที่หลังคาเหล็กของตัวอย่างที่ 3. (ผิวด้านล่างของหลังคาเป็นสีเดิม)

จากตัวอย่างที่ 1. และ 2. เมื่อทาสีสะท้อนความร้อนที่ด้านบนของหลังคาเหล็กสามารถลดอุณหภูมิหลังคาลงได้ 9 oC และลดความร้อนได้มากเหลือความร้อนที่ผ่านหลังคาเพียง 15.62 W m-2 ซึ่งต่ำกว่าหลังคาที่มีฝ้าเพดานจากตัวอย่างที่ 3. ที่มีความร้อนผ่านฝ้าเพดานลงมาถึง 58.52 W m-2 จึงไม่จำเป็นต้องทำฝ้าเมื่อใช้สีสะท้อนความร้อน และถึงแม้จะมีฝ้าเพดานอยู่แล้วก็สามารถใช้สีสะท้อนความร้อนทาบนหลังคาเพื่อลดความร้อนผ่านฝ้าเพดานลงมาได้อีกตามตัวอย่างที่ 4. ทำให้สามารถหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องปรับอากาศได้ และในกรณีที่ใช้เครื่องปรับอากาศก็สามารถประหยัดพลังงานของเครื่องปรับอากาศได้มาก ทำให้มีความรู้สึกเย็นขึ้น

การส่งเสริมการใช้สีสะท้อนความร้อน

สหรัฐอเมริกามีโปรแกรมส่งเสริมการใช้สีสะท้อนความร้อนที่หลังคาโดยให้เงินช่วยเหลือตามพื้นที่หลังคาที่ใช้สีสะท้อนความร้อนและข้อกำหนดตามตารางที่ 1. ซึ่งในประเทศเราก็เคยมีการสนับสนุนในลักษณะเดียวกัน ซึ่งในขณะนั้นมีแต่สีซีเลมิก (Ceramic paint) เท่านั้น

นอกจากนี้ยังมีมาตรฐานและองค์กรที่ดำเนินการหรือเกี่ยวข้องกับสีสะท้อนความร้อนที่หลังคาประกอบด้วย โครงการ Leadership in Energy and Environmental Design (LEED), Green Globes, Cool Roof Rating Council(CRRC), และ ENERGY STAR

LEED โครงการ Leadership in Energy and Environmental Design (LEED) โดย the U.S. Green Building Council มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างให้เกิดมาตรฐานในการออกแบบและก่อสร้างอาคารที่มีความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อมโดยใช้การให้การรับรองเพื่อภาพลักษณ์ของอาคารโดยการให้คะแนนเพื่อกำหนดระดับของอาคาร ซึ่งให้คะแนนส่วนหนึ่งจากการใช้สีสะท้อนความร้อนที่หลังคา

Cool Roof Rating Council, CRRC เป็นหน่วยงานอิสระตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1998 มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการตรวจและให้ค่าการสะท้อนความร้อนและการแผ่รังสีความร้อนของหลังคาที่แม่นยำและเชื่อถือได้ ให้บริการตรวจสอบรับรองค่าการสะท้อนและการแผ่รังสีเริ่มต้น ค่าการสะท้อนและการแผ่รังสีหลังใช้งานตามระยะเวลา รับรองผลิตภัณฑ์ และจัดการฝึกอบรม

Green Globes ก่อตั้งในอังกฤษ ปัจจุบันมีที่ตั้งอยู่ในอเมริกา เป็นสถาบันที่ให้การรับรองแก่กิจการทั่วโลกที่ดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนทั้งสิ่งแวดล้อม สังคม คุณภาพ สุขอนามัย และความปลอดภัย ให้การรับรองตั้งแต่ปี ค.ศ.1993 ในหัวข้อสิ่งแวดล้อมจะมีเรื่องการใช้พลังงาน ก๊าซเรือนกระจก ซึ่งกำหนดคุณสมบัติของหลังคาไว้ด้วย

ENERGY STAR เป็นโครงการจัดตั้งขึ้นโดย The Environmental Protection Agency (US. EPA) ในปี ค.ศ.1992 เพื่อให้การสนับสนุนรับรองผลิตภัณฑ์ที่ช่วยประหยัดพลังงานในลักษณะตรามาตรฐาน คุณสมบัติของหลังคากำหนดให้หลังคาที่มีความลาดเอียงต่ำกว่า1:6 ต้องมีการสะท้อนความร้อนเริ่มต้นมากกว่า 0.65 และหลังจาก 3 ปีมากกว่า 0.50 สำหรับหลังคาที่มีความลาดเอียงมากกว่านี้ต้องมีการสะท้อนความร้อนเริ่มต้นมากกว่า 0.25 และหลังจาก 3 ปีมากกว่า 0.15

ตารางที่ 1. โปรแกรมสนับสนุนทางด้านการเงินของหน่วยงานต่างๆในอเมริกาเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Building Envelope (ยกมาเฉพาะเรื่องหลังคาสะท้อนความร้อน)

ตารางที่ 2. เปรียบเทียบข้อกำหนดของหลังคาของมาตรฐานต่างๆ ( จาก Cool roof, Wikipedia)

ประเภทของสีสะท้อนความร้อน

เดิมสีสะท้อนความร้อนใช้ผงซีลิก้าผสมลงในเนื้อสีเพื่อทำหน้าที่สะท้อนพลังงานจากดวงอาทิตย์ เนื้อสีและผงซีลิก้าไม่ใช่เนื้อเดียวกัน ตัวประสาน (binder) ไม่ทนทานต่อรังสีอูตร้าไวโอเล็ท เมื่อใช้งานไประยะเวลาหนึ่งตัวประสานนี้จะเสื่อมเป็นผง ไม่สามารถยึดเม็ดผงซีลิก้าไว้ได้ ทำให้การสะท้อนความร้อนลดลง และเสื่อมสภาพเร็ว

สีสะท้อนความร้อนแบบใหม่เป็นสีอีลาสโตเมอร์ (Elastomeric paint) ซึ่งมีตัวประสาน (binder) มีลักษณะเหมือนน้ำยาง ที่จะแห้งในอากาศแต่ยังคงมีคุณสมบัติยืดหดได้สูงเหมือนยาง มีความคงทนต่อแสงอาทิตย์และสภาพแวดล้อม ยึดเกาะได้ดีกับพื้นผิวทุกประเภททั้งคอนกรีต ไม้ หรือเหล็ก ตัวประสานนี้อาจทำจากโพรีเมอร์ได้หลายประเภทที่ทนทานที่สุดคืออะครีริก สามารถสะท้อนความร้อนได้ดีจากสารที่ผสมให้เกิดสีโดยเฉพาะอย่างยิ่งสีขาวซึ่งมักจะใช้ ไททาเนียมไดออกไซด์ มีอายุการใช้งานมากกว่า 10 ปี ทำให้มีความคุ้มค่าต่อการลงทุนกว่าสีระบบเดิมมาก

บทส่งท้าย

นอกจากการประหยัดพลังงานของเครื่องปรับอากาศ สีสะท้อนความร้อนที่หลังคายังช่วยความจำเป็นในการใช้เครื่องปรับอากาศ สามารถลดปัญหาความร้อนจากดวงอาทิตย์ทดแทนพื้นที่ปลูกต้นไม้ซึ่งลดลงเนื่องจากการนำพื้นที่ไปพัฒนาเป็นถนน โรงงาน ที่อยู่อาศัย จึงควรช่วยกันเผยแพร่ความรู้และส่งเสริมการใช้สีสะท้อนความร้อนกับหลังคาให้มากที่สุด การให้เงินช่วยเหลือกับผู้ที่ใช้สีสะท้อนก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อเร่งให้มีการใช้การใช้ขยายตัวเร็วยิ่งขึ้น ทำให้การลงทุนคุ้มค่าอย่างรวดเร็ว ได้ผลทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่อาจประเมินมูลค่าเป็นเงินได้

เอกสารอ้างอิง

1. 1Sekar, M., 2M. Sakthivel, 3S. Satheesh Kumar and 3C. Ramesh; 1,2Department of Mechanical Engineering, 2Department of Mechanical Engineering, Anna University of Technology, Coimbatore, India 3Department of Thermal Engineering, Government College of Technology, Coimbatore, India,:”ATTAINING THE ROOM COMFORT BY SOLAR REFLECTIVE PAINT”, American Journal of Environmental Science, ISSN: 1553-345X ©2012 Science Publication doi:10.3844/ajessp.2012.556.562 Published Online 8 (5) 2012 (http://www.thescipub.com/ajes.toc)

2. Durability of High-Albedo Roof Coatings; Source/Author: Sarah E. Bretz and Hashem Akbari

Expectation of metal roofing reflected in LEED version 2.2 By Kevin Corcoran and Gene Johnson, METAL ROOFING: FEBRUARY/MARCH 2006

3. ปรเมธ ประเสริฐยิ่ง “ลดความร้อนผ่านหลังคา” CONSTRUCTION. ฉบับที่ 24 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2510


bottom of page