6 มกราคม 2566 สัญญาณหายนะ ยุโรปเจอคลื่นความร้อนหลงฤดู วิกฤติที่ไม่ควรมองข้าม

ที่มา : https://www.thansettakij.com/sustainable/zero-carbon/552200

เพิ่งเริ่มต้นปี แต่ยุโรปได้ทำลายสถิติสภาพอากาศที่น่าตกใจเนื่องจากความร้อนจัดแผ่กระจายไปทั่วทวีป แม้ว่าช่วงเวลานี้ในช่วงที่หลายประเทศในยุโรปอยู่ในฤดูหนาว แต่จากรายงานของ CNN ระบุว่า เมื่อช่วงที่ผ่านมาในระยะเข้าสู่ปีใหม่ได้ไม่กี่ชั่วโมง ชาวยุโรปเผชิญกับคลื่นความร้อน ด้วยอุณหภูมิทุบสถิติตั้งแต่วันแรกของปี 2023 โดยเฉพาะใน 8 ประเทศ ได้แก่ ลิกเตนสไตน์ สาธารณรัฐเช็ก โปแลนด์ เนเธอร์แลนด์ เบลารุส ลิทัวเนีย เดนมาร์ก และลัตเวีย

นักภูมิอากาศวิทยาซึ่งติดตามสถานการณ์อุณหภูมิร้อนจัดทั่วโลก กล่าวว่า นี่คือคลื่นความร้อนที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ยุโรป โดยพิจารณาจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเหนือระดับปกติ เมืองที่มักถูกปกคลุมด้วยหิมะกลับมีอุณหภูมิสูงขึ้นถึงระดับที่มักจะเห็นในฤดูร้อน โดยอุณหภูมิในหลายพื้นที่ของยุโรปอยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงหน้าหนาวถึง 4-10 องศาเซลเซียส   

ไม่เพียงแต่ความร้อนจะรุนแรงผิดปกติเท่านั้น แต่ยังแผ่ขยายเป็นบริเวณกว้าง ตั้งแต่พรมแดนของยุโรปกับเอเชียไปจนถึงตอนเหนือของสเปน ถือเป็นครั้งแรกที่คลื่นความร้อนในยุโรปสามารถเทียบเคียงกับความรุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีมาในอเมริกาเหนือ

วาดุซ เมืองหลวงของลิกเตนสไตน์ มีอุณหภูมิสูงสุดที่ 20 องศาเซลเซียส (68 ฟาเรนไฮต์) เมือง Javornik ของสาธารณรัฐเช็กมีอุณหภูมิสูงถึง 19.6 องศาเซลเซียส (67.3 ฟาเรนไฮต์) และหมู่บ้าน Jodłownik ในโปแลนด์ ทำสถิติสูงสุดที่ 19 องศาเซลเซียส องศาเซลเซียส (66 ถือ.2 ฟาเรนไฮต์)

กรมอุตุนิยมวิทยากล่าวว่า ยังเร็วเกินไปที่จะระบุอย่างมั่นใจว่า ความร้อนจัดนี้มาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ขณะที่นักวิทยาศาสตร์เตือนว่าเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วกำลังเกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงมากขึ้น

สำหรับ คลื่นความร้อน (heat wave) นั้น เป็นผลที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศสุดขั้วที่เห็นได้ชัด รวมทั้ง  ฝนตกรุนเเรงเเละน้ำท่วมหนัก (extreme rainfall and flood) ภัยเเล้งที่ยืดเยื้อ (droughts) เเละการเกิดไฟป่าเพิ่มขึ้น (wildfires)

ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์พบว่าการเกิดคลื่นความร้อนบ่อยครั้งนั้นมีสาเหตุมาจากการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมของมนุษย์ มีการศึกษาระบุว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเพิ่มแนวโน้มการเกิดคลื่นความร้อนบนพื้นทวีปราว 5 เท่า เพิ่มแนวโน้มการเกิดคลื่นความร้อนในมหาสมุทร 20 เท่า งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งยังระบุว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังเพิ่มโอกาสที่จะเกิดคลื่นความร้อนในทวีปไซบีเรียมากถึง 600 เท่า

ปัจจุบันสภาพภูมิอากาศสุดขั้วนานาประเทศเเละองค์การระหว่างประเทศทั่วโลกให้ความสนใจเเละร่วมกันหาเเนวทางจัดการ

– จำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 °C กว่าช่วงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม
หรือช่วงกลางของศตวรรษที่ 18

– กำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) หรือให้เข้าใกล้ศูนย์ให้ได้มากที่สุด หรือกระทั่งไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเลย

– ความตกลงปารีส (Paris Agreement) มุ่งจำกัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เเละสนับสนุนให้ประเทศที่ร่ำรวยช่วยเหลือประเทศที่ฐานะด้อยกว่าในการจัดการกับการเปลี่ยนเเปลงของสภาพภูมิอากาศผ่านเงินทุน

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณรับได้กับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ยอมรับ อ่านเพิ่มเติม

Privacy & Cookies Policy
slot online situs slot gacor hari ini daftar istanaslot https://buletin303.com/ https://134.209.107.98:777/ https://188.166.233.138/

https://gangster4d.netlify.app/

gangster4d slot

gangster4d

Skip to content