เอื้องเทียนตะวันตก / -

ประวัติการค้นพบ: กล้วยไม้ชนิดนี้ถูกตั้งชื่อโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ Heinrich Gustav Reichenbach ในปี ค.ศ. 1864 ที่มาชื่อไทย: ลักษณะทั่วไป ลำลูกกล้วยมีผิวมัน ใบมัน และดอกผิวมันเช่นกัน จึงถูกเรียกว่าเอื้องเทียนหรือเอื้องมัน ดอกค่อนข้างมี ขนาดใหญ่ ช่อดอกออกจากโคนต้น มีสามถึงห้าดอก ใบประดับเป็นกาบมีขนาดยาวพอ ๆ กับความ ยาวของกลีบดอก มักมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ที่ปากมักมีแต้มสีสดใสลวดลายต่าง ๆ กันตามชนิด ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ลำลูกกล้วย 1 ลำ มีใบอยู่อยู่บริเวณปลายลำลูกกล้วย ใบรูปหอกปลายแหลมเล็กน้อยขอบใบบิดเป็นคลื่นเล็กน้อย โคนใบแคบสอบบริเวณใกล้ฐาน ช่อดอกมีความยาวประมาณ 4 ซม. (อาจยาวได้ถึง 10 ซม.) ใน 1 ช่อดอก มีดอกจำนวน 1-2 ดอก กลีบเลี้ยงรูปหอก กลีบดอกเป็นแถบปลายเรียวแหลม กลีบปากบริเวณโคนแผ่เป็นถุง บนแผ่นกลีบปากมีปุ่มเป็นแถบ 2 แถบขนานกันตามแนวยาวของกลีบปาก นิเวศวิทยา: ป่าผลัดใบและป่าไม่ผลัดใบทุกภูมิภาค การกระจายพันธุ์: มีรายงานพบในประเทศไทย และพม่า ข้อมูลชีววิทยาอื่นๆ: สถานภาพทางการอนุรักษ์: เอกสารอ้างอิง: Orchidspecies.com การจำแนกพันธุ์และการประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลเอื้องเทียนด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอ, IDENTIFICATION AND ASSESSMENT OF GENETIC RELATIONSHIP AMONG COELOGYNE USING DNA MARKERS (tu.ac.th) https://www.orchids.org/grexes/coelogyne-triplicatula


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Coelogyne triplicatula Rchb.f.

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง