svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ลุงจิตอาสาช่วยยื้อชีวิต "เอื้องมณีฉาย" กล้วยไม้ที่ใกล้จะสูญพันธุ์

19 มิถุนายน 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กลุ่มจิตอาสาสหายสายป่า และกลุ่มเพื่อน "บุหลัน" กว่า 50 คน ได้ร่วมกันทำกิจกรรม "พากล้ามณีฉายกลับบ้าน" ซึ่งเป็นกล้วยไม้หายากที่มีต้นกำเนิดในป่าดิบชื้นบนยอดเขากระโจม เทือกเขาตะนาวศรี ความสูงจากระดับน้ำทะเล กว่า 1,000 เมตร ติดชายแดนไทย เมียนมาร์ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ที่เหลืออยู่แห่งเดียวในประเทศไทย และใกล้ที่จะสูญพันธุ์

มีกลุ่มอนุรักษ์เอื้องมณีฉายของนายสีวรรณ อุดปา อายุ 62 ปี หรือลุงวรจิตอาสาทำดีเพื่อแผ่นดิน ได้นำกิ่งพันธุ์เอื้องมณีฉายที่ขึ้นเกาะติดกับต้นไม้ที่หักโค่นล้มลงมาตามธรรมชาติ แล้วนำกลับมาทดลองเพาะในแปลงจนสำเร็จ และจะนำกลับคืนสู่ป่าถิ่นกำเนิดจำนวนกว่า 200 ต้น

ลุงจิตอาสาช่วยยื้อชีวิต \"เอื้องมณีฉาย\" กล้วยไม้ที่ใกล้จะสูญพันธุ์


 โดย นายสีวรรณ อุดปา กล่าวว่า ตนได้ไปเข้าอบรมดับไฟป่าและเป็นจิตอาสาทำดีเพื่อแผ่นดิน จนเกิดมีจิตสำนึกในการรักษ์ป่า และสังเกตเห็นว่ากล้วยไม้พันธุ์นี้มันหายไปทุกปี ถึงคนไทยไม่เอา ก็มีชาวต่างชาติ มาเอาไป ซึ่งไม่ได้เกิดจากธรรมชาติ เป็นคนมาเอาไป ในตอนนี้บนยอดเขากระโจมมีจำนวนเยอะที่สุด ตนเองก็เคยขับรถไปดูฝั่งประเทศพม่าก็ยังมีน้อยกว่าที่นี่จึงได้มีแนวคิดที่จะอนุรักษ์ โดยจะตอนเป็นข้อ ๆ แล้วจึงเอามาเรียงโดยใส่ตะกร้าสี่เหลี่ยมแล้วนำมาเพาะไว้ จนเป็นต้นแข็งแรง ก่อนจะนำขึ้นไปปลูกได้ เนื่องจากไม่อยากให้สูญพันธุ์จึงได้หาวิธีและอยากจะให้มีคนมาช่วยอนุรักษ์ต่อเนื่องจากตนอายุมากแล้วอีกไม่กี่ปีก็คงจะทำต่อไม่ไหว และพร้อมที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ที่มีให้กับทุกคนที่จะเข้ามาทำงานอนุรักษ์ตรงนี้ 

ลุงจิตอาสาช่วยยื้อชีวิต \"เอื้องมณีฉาย\" กล้วยไม้ที่ใกล้จะสูญพันธุ์

ส่วน นายไชโย สุวรรณ์ นักเขียนนวนิยายเชิงสารคดีนามปากกา "บุหลันรันตี" ที่ชื่นชอบการเดินสำรวจพื้นป่าชายแดนภาคตะวันตกมากว่า 10 ปีแล้วนำเรื่องราวจากประสบการณ์มาเขียนได้กล่าวว่าเอื้องมณีฉายเป็นกล้วยไม้ที่อยู่ในสถานะใกล้จะสูญพันธุ์ ซึ่งหลังจากที่สืบค้นมาน่าจะมีอยู่ที่เดียวในประเทศไทย หลังจากติดตามเอื้องมณีฉายมาประมาณ 10 ปี ไม่มีจำนวนเพิ่มขึ้นมีแต่ลดจำนวนอย่างรวดเร็วจนน่าตกใจ สาเหตุหลัก ๆ เกิดจากคนนำลงไปเลี้ยงเอง ไปขาย หรือนำไปเป็นของฝากบ้างอีกส่วนหนึ่งคือภูมิอากาศที่เกิดจากความแห้งแล้งทำให้ต้นไม้ที่เอื้องมณีฉายเกาะอาศัยตาย ซึ่งในปัจจุบันเปรียบเทียบกับ 4-5 ปี ย้อนหลัง ลดลงถึง 60 % ที่เหลืออยู่ตอนนี้ประมาณ 40% ได้ 

ลุงจิตอาสาช่วยยื้อชีวิต \"เอื้องมณีฉาย\" กล้วยไม้ที่ใกล้จะสูญพันธุ์


สำหรับกิจกรรมวันนี้เราได้รวมตัวกันของกลุ่ม สหายสายป่า กลุ่มจากเพชรบุรี และเพื่อน ๆ จากกลุ่มบุหลัน มาร่วมกันทำกิจกรรม หลังจากที่มีการนำกล้าเอื้องมณีฉายมาทดลองเพาะเลี้ยงไว้ 7-8 ปี จนได้ผลเป็นที่น่าพอใจแล้วจึงได้นำไปคืนสู่ป่าที่เดิมที่เคยอยู่ เพื่อต่อยอดให้เอื้องมณีฉายมีอายุยืนยาวมากขึ้น และขยายจำนวนมากขึ้น เพราะต้นเก่าที่มีอยู่ลดจำนวนลงเรื่อย ๆ และประกอบกับเป็นกล้วยไม้หายากที่ใกล้จะสูญพันธุ์ด้วย ในส่วนของกิ่งที่หักลงมาจากลมหรือจากต้นไม้ที่หักโค่นลง ทุกคนช่วยกันนำกล้ากล้วยไม้เอื้องมณีฉายและกล้วยไม้ชนิดอื่น ๆ กลับคืนสู่ต้นไม้ ไปปลูกเลี้ยงใหม่เพื่อต่อชีวิต

ลุงจิตอาสาช่วยยื้อชีวิต \"เอื้องมณีฉาย\" กล้วยไม้ที่ใกล้จะสูญพันธุ์



ส่วนนายจิระเดช วันพรม เป็นตัวแทนของกลุ่มสหายสายป่าก็บอกว่า รู้สึกดีใจที่จากบางคนไม่รู้จักว่าเอื้องมณีฉายคืออะไรไม่เคยเห็นและไม่รู้ว่าใกล้จะสูญพันธุ์ แต่พอมาได้ทำกิจกรรมในครั้งนี้จึงทราบว่าเป็นกล้วยไม้ที่มีอยู่แค่บนยอดเขากระโจมที่เดียวและใกล้จะสูญพันธุ์เป็นแหล่งสุดท้ายของโลกวันนี้จึงได้ช่วยกันนำเอากล้า ที่ลุงวร เพาะพันธุ์ไว้ประมาณ 200 กล้าช่วยกันนำไปติดตามต้นไม้ตามช่องลม ตามที่กล้วยไม้จะเกาะได้ ถึงแม้จะฝ่าอุปมามากมายกว่าจะถึง แต่ก็รู้สึกมีความสุขที่ได้ทำ และภูมิใจที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์กล้วยไม้พันธุ์นี้ไว้ถึงแม้ต่อไปในอนาคต จะสูญพันธุ์หรือไม่แต่ในวันนี้เราได้ทำและช่วยกันที่จะอนุรักษ์ให้มันอยู่นานที่สุดอยู่คู่กับที่นี่

ลุงจิตอาสาช่วยยื้อชีวิต \"เอื้องมณีฉาย\" กล้วยไม้ที่ใกล้จะสูญพันธุ์


ด้านน.ส.วิบูลย์ลักษ์ ปะภาวโก ซึ่งเป็นผู้ที่เข้าไปร่วมในกิจกรรมนี้ กล่าวว่ากิจกรรมในวันนี้สืบเนื่องจากเคยมาขุดเอื้องมณีฉายไปเพาะแล้วปีหนึ่ง ในปีแรกก็จะมีเยอะยังดูสวยอยู่ พอเข้าปีที่ 2 ก็มีจำนวนลดลง จึงทำให้เกิดความรู้สึกที่จะอนุรักษ์และอยากจะเผยแพร่ให้คนอื่นได้รู้และช่วยกันอนุรักษ์พอเข้าปีที่ 3 จึงได้มีกิจกรรมนี้ขึ้น แล้วได้มีหลาย ๆ กลุ่มเข้ามาช่วยกันเผยแพร่และอนุรักษ์ให้ยังคงอยู่ เพราะเนื่องจากมีที่นี่ที่เดียว ซึ่งจากที่ทุกคนมารวมตัวกันนั้นทำให้รู้สึกอบอุ่นและทำให้คนที่ดูแลและรักษามีกำลังใจ

สำหรับกล้วยไม้เอื้องมณีฉาย เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลักษณะคล้ายช้างงาเดียว แต่ขนาดเล็กกว่า ยาวได้ถึง 50 ซ.ม. ใบรูปรีแคบแกมขอบขนาน กว้าง 2.5-4 ซ.ม. ยาว 10-18 ซ.ม. 

logoline