svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ

เฝ้าระวัง “ไข้นกแก้ว” กลับมาระบาด เปิดข้อมูลใครเสี่ยง อาการน่าสงสัย วิธีป้องกัน

10 มีนาคม 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

องค์การอนามัยโรค เตือน "ไข้นกแก้ว" เริ่มกลับมาระบาดเพิ่มขึ้นในยุโรป ขณะกรมควบคุมโรค เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด พร้อมเปิดอาการน่าสงสัยและวิธีการป้องกัน เปิดข้อมูลต่างกับไข้หวัดนกอย่างไร

องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาเตือนเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ถึงการระบาดของ "ไข้นกแก้ว" หรือ โรคซิตตาโคซิส (Psittacosis) ส่งผลกระทบต่อผู้คนที่อาศัยอยู่ในหลายประเทศในยุโรป ซึ่งหวั่นเกรงกันว่าจะเกิดระบาดและเป็นอันตรายร้ายแรง เหมือนที่เคยมี "ไข้หวัดนก" ระบาดเมื่อหลายปีและมีคนเสียชีวิตไปหลายคนมาก

  ทำความรู้จัก "ไข้นกแก้ว" 
"ไข้นกแก้ว" หรือ โรคซิตตาโคซิส เริ่มกลับมาระบาดเมื่อปีที่แล้ว (2566) และยาวจนถึงต้นปี 2567 มีการรายงานผู้เสียชีวิต 5 ราย โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา บ่งชี้ว่า คนสามารถติดโรคไข้นกแก้วได้จากการสูดดมฝุ่น หรือสารคัดหลั่งจากนกที่ติดเชื้อ หรืออาจติดเชื้อล้มป่วยได้หากถูกจะงอยปากของนกจิก หรือสัมผัสกับผิวหนังคน

สำหรับ ไข้นกแก้ว เกิดจากแบคทีเรียในตระกูล Chlamydia ที่พบในนก หรือสัตว์ปีกในป่า และสัตว์เลี้ยงหลายชนิด ซึ่งนกที่ติดเชื้อดูจากภายนอกไม่ได้ ไม่ได้ดูเหมือนนกป่วย แต่นกจะปล่อยแบคทีเรียเมื่อหายใจ หรืออยู่ในมูลของนก

อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาพบว่า ไข้นกแก้วสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ โดยเคสในระยะหลังๆ ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เคยสัมผัสกับสัตว์ปีก หรือนกป่า พร้อมมีอาการป่วยไม่รุนแรง เช่น ปวดศีรษะ, ปวดกล้ามเนื้อ, ไอแห้ง, มีไข้ และหนาวสั่นเป็นเวลาประมาณ 5 – 14 วัน ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ และแทบไม่มีผู้เสียชีวิต
เฝ้าระวัง "ไข้นกแก้ว"

  กรมควบคุมโรค เฝ้าระวัง “ไข้นกแก้ว”  
นพ.วีรวัฒน์ มโนสุทธิ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ และโฆษกกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีพบการระบาด "ไข้นกแก้ว" ในหลายประเทศแถบยุโรป มีผู้เสียชีวิต 5 ราย ว่า โรคไข้นกแก้ว (Psittacosis) ไม่ใช่โรคติดต่ออุบัติใหม่ สามารถรักษาด้วยยาปฏิชีวนะได้ เชื้อนี้มักก่อโรคในนกที่เป็นสัตว์เลี้ยง รวมถึงนกแก้ว ในอดีตเคยมีการระบาดในนกแก้วแล้วหลายประเทศ เช่น เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ คอสตาริกา ออสเตรเลีย

ส่วนในประเทศไทย เคยมีการรายงานผู้ป่วยโรคนี้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2539 จากการวิจัยสำรวจในสัตว์ปีกพบเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้เช่นกัน แต่พบในอุบัติการณ์ที่ต่ำ กรมควบคุมโรคได้ดำเนินการเฝ้าระวังผู้ติดเชื้อโรคไข้นกแก้วอย่างใกล้ชิด พร้อมประสานความร่วมมือเฝ้าระวังโรคทั้งในคนและในสัตว์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ล่าสุดยังไม่พบรายงานผู้ป่วยในประเทศไทย

สำหรับคนจะสามารถติดต่อโรคนี้ได้ผ่านการหายใจเอาละอองเชื้อเข้าไป จากสารคัดหลั่ง ฝุ่นที่ติดอยู่บนขน และมูลแห้งของนก โดยคนกลุ่มเสี่ยงจะเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดกับนก เช่น สัตวแพทย์ ผู้ช่วยสัตวแพทย์ คนเลี้ยงนก รวมถึงผู้ให้อาหารนก เป็นต้น 
นพ.วีรวัฒน์ มโนสุทธิ

ผู้ติดเชื้อ "ไข้นกแก้ว" มักมีการอาการแสดงเพียงเล็กน้อย เช่น ไข้ หนาวสั่น ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ และไอแห้ง ซึ่งผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการ 5-14 วันหลังจากได้รับเชื้อ และสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือผู้เสียชีวิต  มักเป็นกลุ่มคนสูงวัยหรือผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง และการพบผู้เสียชีวิตสามารถพบได้น้อยมาก

สำหรับการป้องกันโรคไข้นกแก้วสามารถทำได้ง่าย โดยประชาชนควรหลีกเลี่ยงใกล้ชิดกับสัตว์ป่วย หากจำเป็นต้องสัมผัสต้องป้องกันตนเองให้ดี สวมหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ และหลังจากสัมผัสสัตว์แล้วล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับนก หมั่นสังเกตอาการตนเองและอาการของสัตว์อยู่เสมอ หากมีอาการไข้รวมถึงอาการทางระบบทางเดินหายใจ ให้รีบพบแพทย์พร้อมแจ้งประวัติเสี่ยงเพื่อการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง 

  ความแตกต่างจาก "ไข้หวัดนก"  
"อาจารย์เจษฎ์" หรือ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ เปิดข้อมูลผ่านเฟจเฟซบุ๊ก "Jessada Denduangboripant" ระบุว่า มีข่าวเตือนเกี่ยวกับโรค "ไข้นกแก้ว" ออกมา แล้วทำให้หลายคนกลัวกันว่า มันจะระบาดและเป็นอันตรายร้ายแรง เหมือนที่เคยมี "ไข้หวัดนก" ระบาดเมื่อหลายปี มีคนเสียชีวิตไปหลายคน 

ข้อเท็จจริง โรคไข้นกแก้ว ไม่ใช่โรคไข้หวัดนก และยังไม่ต้องวิตกกังวลมาก ขอบอกว่า มันเป็นคนละโรคกัน เกิดจากเชื้อโรคคนละชนิดกัน และระดับของอันตรายที่มีต่อสุขภาพ ก็ต่างกันมากครับ 

โรคไข้นกแก้ว นั้นมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Psittacosis (ซิตตาโคซิส) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (ดูรูปประกอบ) และมีอัตราการเสียชีวิตต่ำ ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยยาปฏิชีวนะ ขณะที่โรคไข้หวัดนก มีชื่อว่า avian influenza (หรือ bird flu) เกิดจากเชื้อไวรัส สายพันธุ์ย่อยของไวรัสไข้หวัดใหญ่ (influenza) มีอัตราการเสียชีวิตสูง ต้องรีบให้ยาต้านไวรัสให้ทันเวลา
ภาพประกอบจากเพจเฟซบุ๊ก "Jessada Denduangboripant"
เฝ้าระวัง “ไข้นกแก้ว” กลับมาระบาด เปิดข้อมูลใครเสี่ยง อาการน่าสงสัย วิธีป้องกัน

logoline