คำค้นยอดฮิต: ข้าวเหนียวมะม่วง ของขวัญออแกนิค ผลไม้สด
TH | EN
฿ 0.00
สถานีทดลองเกษตรที่สูงอำเภอภูเรือ
สถานีทดลองเกษตรที่สูงอำเภอภูเรือ ตำบลปลาบ่า อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย
Image
Image
Image
Image
สภาพอากาศวันนี้
เปิดทำการ
วันเวลาทำการ
• วันอาทิตย์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันจันทร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันอังคาร
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพุธ
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันพฤหัสบดี
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันศุกร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
• วันเสาร์
: 09:00 น. - 16:00 น.
หมายเหตุ
: -
แผนที่และพิกัดที่ตั้ง
คะแนนรีวิว
0
ความพร้อมสถานที่
0
ความคุ้มค่า
0
การให้บริการ
0
อ่านทั้งหมด >
รายละเอียด
สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือที่ผ่านมา คือ การทดสอบพันธุ์ไม้ผลเมืองหนาวสำหรับปลูกในพื้นที่สูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้แก่ พันธุ์แอปเปิล พันธุ์ท้อสำหรับรับประทานสด และพันนอกจากนี้สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือยังได้มีความพยายามที่จะทำการรวบรวมและศึกษาพันธุ์องุ่นสำหรับทำไวน์ รวมทั้งองุ่นสำหรับรับประทานสด เพื่อพัฒนาพันธุ์และส่งเสริมให้เกษตรกรในจังหวัดเลยทำการปลูกต่อไปอีกด้วย
ประวัติความเป็นมา
เนื่องจากในพื้นที่ภาคอีสานนั้นมีจังหวัดเลยเพียงจังหวัดเดียวที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นและมีระดับความสูงเหมาะสมต่อการเกษตรบนที่สูง กรมวิชาการเกษตร จึงมีความคิดที่จะจัดตั้งสถานีทดลองการเกษตรที่สูงขึ้นเพื่อทำการทดลองพันธุ์พืช ไม้ดอกเมืองหนาว สำหรับส่งเสริมให้แก่เกษตรกรทำการเพาะปลูก ในปี พ.ศ. 2529 ได้มีการสำรวจบริเวณยอดเขาภูครั่ง อำเภอภูเรือ พบว่ามีความสูงเหมาะสมสำหรับทดลองพันธุ์พืชเมืองหนาว จึงดำเนินการจัดตั้งเป็นสถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือขึ้น
ลักษณะเด่น
แปลงไม้ดอกเมืองหนาว ทุ่งซัลเวีย แปลงรวบรวมไม้ผลเมืองหนาว แปลงไม้กฤษณา สวนไม้หอมเฉลิมพระเกียรติ แปลงสตอเบอรี่ แปลงมะคา เดเมียและโรงอบมะคาเดเมีย บ้านไร่ปลายฟ้า (โรงเรือนเพาะชำไม้กระถาง)
ที่มาข้อมูล
Thailand Tourism Directory
ข้อมูลแนะนำ
ราคาค่าเข้าชม
• ราคาค่าเข้าชม: ไม่มีค่าใช้จ่าย
• หมายเหตุ : -
รีวิว (0)
0
จาก 5.0
ความพร้อมสถานที่
ความคุ้มค่า
การให้บริการ
แนะนำแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่คล้ายกัน
สวนสวรรค์สุพรรณบุรี บนเนื้อที่หลายร้อยไร่ ประกอบไปด้วยพืชพันธุ์มากมายหลายชนิด ที่นำมาจัดแสดงให้ชมในแต่ละช่วงเวลา และเทศกาลต่างๆ ตลอดทั้งปี ทั้งไม้ดอกของไทย และต่างประเทศ สีสันสดสวยงามตระการตา และไม้ใบ ไม้ผล ที่ผ่านการค้นคว้าและทำการขยายพันธุ์ จนได้พันธุ์ที่เหมาะสมมีคุณภาพดีที่สุด เพื่อจำหน่ายจ่ายแจกให้เกษตรกรได้นำไป ทำการเพาะปลูกต่อไป
สุพรรณบุรี
สวนมังคุดไทย (สวนคุณปัญญา) มีต้นมังคุดกว่า 300 ต้น และผลไม้อื่นๆ เช่น เงาะ ทุเรียน แก้วมังกร เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและสามารถมาชิมบุฟเฟ่ต์ผลไม้ได้ท่านละ 150 บาท และมีบริการที่พักแบบโฮมสเตย์
ระยอง
หากใครกำลังมองหาที่พักผ่อนหย่อนใจจากการทำงานอย่างหนักหน่วงตลอดทั้งสัปดาห์ ขอเชิญชวนมาท่องเที่ยวชมสวนดอกไม้ ชื่นชมกับธรรมชาติ รับประทานอาหารอร่อย ดื่มกาแฟหอมๆ ถ่ายรูปเล่นมีรถรับส่งเข้าชมไร่
กำแพงเพชร
กลุ่มโคขุนหนองแหน แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้านปศุสัตว์แห่งใหม่ของจังหวัดยโสธร พร้อมเปิดฟาร์มต้อนรับนักท่องเที่ยวให้เข้ามาสัมผัสกับวิถีความเป็นอยู่ของชุมชนคนเลี้ยงโคขุนคุณภาพที่ประสบความสำเร็จในระดับประเทศ โชว์ความแสนรู้ของโคที่เลี้ยงเสมือนหนึ่งสัตว์เลี้ยงแสนรัก พร้อมทั้งให้ความรู้ในเรื่องของการรวมกลุ่มและการเลี้ยงโคขุนสร้างรายได้ นักท่องเที่ยวสามารถไปเช้าเย็นกลับหรือพักค้างคืนได้ในรูปแบบของโฮมสเตย์ อีกทั้งมีเนื้อโคขุนจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยวที่สนใจนำไปประกอบอาหารกันที่บ้านได้ในราคาย่อมเยา
ยโสธร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาเป็นเวลานาน ก่อนคำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOLOAGICAL DIVERSITY)”และอนุรักษ์ (COUSERVATION) จะเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ทอดพระเนตรเห็น ต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทรงมีพระราชทานให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ นำมาปลูก ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ทรงมีพระราชทานพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ ในพระราชวังต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์หวายรวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการสวนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามพระบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ในเดือน มิถุนายน 2535 ซึ่งมีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยนำพระราชดำริ มาเป็นกรอบในการดำเนินการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 นายสุจินต์ ภูนิคม กำนันตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และคณะได้ประสานงานหารือกับผู้อำนวยการบริษัทอุลตร้าโปรดักส์ จำกัด และเกษตรกรจังหวัดชุมพรในการนำพื้นที่สาธารณะประโยชน์ซึ่งตั้ง ณ หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย (ปัจจุบัน หมู่ที่ 5,6 ตำบลสลุย และ หมู่ที่ 4 ,7 ตำบลสองพี่น้อง) เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ ซึ่งขณะนั้น โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาก็กำลังจัดหาพื้นที่เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาทางโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดยศาสตราจารย์พิเศษประชิด วามานนท์ (ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์) พร้อมคณะได้เดินทางมาพบผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายประยูร พรหมพันธุ์) เพื่อปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการโดยใน ระยะ 5 ปี แรกได้ใช้ ชื่อโครงการว่า “โครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณไม้ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการเสนอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและได้จัดส่งเอกสารโครงการไปยังผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อโปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองพระบาทในโอกาสอันสมควรและทางโครงการส่วนพระองค์ได้แจ้งตอบรับ เรื่องการนำโครงการอนุรักษ์พันธุไม้และพิพัฒน์พรรณพืชฯ จังหวัดชุมพร ทราบฝ่าละอองพระบาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2536 และในการดำเนินโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาได้ผนวกโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ และพิพัฒน์พรรณพืชของจังหวัดชุมพร เข้ากับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริในส่วนกลางมีดร.พิศิษฐ์ วรอุไร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการประชุมกรรมการ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 ที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อโครงการอนุรักษ์พันธุ์ไม้และพิพัฒน์พรรณพืช ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร เป็นชื่อ “โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชุมพร”
ชุมพร
ชมผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านดงน้อย สัมผัสวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชาวนครจำปาศรี ณ ชุมชนบ้านดงน้อย หมู่ที่ 4 ตำบลพระธาตุ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม มาเลือกชมและซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากผ้าทอมือ กระเป๋าแปรรูป ผ้าตุ๊กตาของที่ระลึกจากไม้ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ที่ร้านค้าชุมชนบ้านดงน้อย และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ตั้งอยู่ใกล้ๆ หมู่บ้าน นั่นคือ พระบรมธาตุนาดูน ที่เปรียบเสมือนพุทธมณฑลแห่งอีสานแห่งอารยธรรมโบราณแห่งหนึ่งที่มีประวัติอันยาวนานของเมืองนครจัมปาศรีค่า ที่ตั้ง : บ้านดงน้อย หมู่ที่ 4 ตำบลพระธาตุ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
มหาสารคาม
ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี ถือเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการ ฟื้นฟูป่าชายเลนจากนากุ้งร้างเป็นแห่งแรกในประเทศไทย เดิมทีเป็นนากุ้งที่ได้รับสัมปทาน อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองเก่า – คลองคอย ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้วยน้ำพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินมาที่ปราณบุรี กรมป่าไม้ได้สนองพระราชดำริด้วยการยกเลิกสัมปทานนากุ้ง แล้วรวมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ พัฒนาป่าไม้ปากน้ำปราณบุรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมเร่งฟื้นฟูป่าชายเลนและกำหนด ให้เป็นพื้นที่เป้าหมายในการปลูกป่าและพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนในเวลาต่อมา
ประจวบคีรีขันธ์
หมู่บ้านที่รวมกลุ่มกันทำปลูกผักอินทรีย์ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาชมและเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักจากเศษขยะ การทำปุ๋ยน้ำหมักจากหอยเชอรีย์ การปลูกผักอินทรีย์พันธ์พระราชทานจักรพรรณเพ็ญศิริ เข้ามาชมได้ทุกวัน โทร 08199896279
พะเยา
มีจุดเด่นคือผลผลิตที่การันตีคุณภาพตามระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ระดับประเทศและระดับโลก (IFOAM, EU, COR) เพื่อนนำจำหน่ายส่งออกด้วยมาตรฐานคุณภาพเกรด A “สด ใหม่ พร้อมรับประทาน ” มีการจำหน่ายสินค้าจากเกษตรกรมีคุณภาพดี มีกิจกรรมหลากหลาย อาทิเช่น เก็บผักสด ตัดแต่งผัก ท่องเที่ยวเยี่ยมชมฟาร์ม ดูงาน เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ เป็นต้น
ฉะเชิงเทรา
ดงเมืองเตยเป็นเมืองเก่าสมัยขอมจะเป็นเมืองร้างมาแล้วนานเท่าไรไม่ทราบได้ สภาพที่เห็นมาจากปู่ย่าตาทวดหลายชั่วอายุคน ดงเมืองเตยมีป่าไม้ขึ้นสูงข้างล่างโปร่ง มีหมู่ไม้เล็กๆ ขึ้นบ้าง ต้นไม้ใหญ่ได้แก่ ไม้ยาง ไม้ตะแบก ไม้ยางเหียง เป็นป่าหนาแน่นมาก พวกพ่อแม่ปู่ย่าตายายไม่กล้าตัดต้นไม้ในดงนี้ เพราะดงเมืองเตยมีผีดุเรียกว่า ผีปู่ตา ป่าไม้จึงเป็นที่อาศัยของลิง และนกหลายจำพวก บึงรอบบริเวณดงเมืองเตยเป็นหนองน้ำขนาดลึกมีน้ำขังตลอดปี เป็นที่อาศัยและเป็นที่เพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติ นอกจากนกจำพวกต่างๆ แล้วบึงนี้ได้ชื่อว่ามีเต่ามากที่สุด เหตุที่มีเต่ามากเช่นนี้ชาวบ้านนับถือผีปู่ตา ปู่ตาห้ามจับกินทำลายสัตว์พาหนะของท่าน คือ ลิงและเต่า ถ้าเกิดทำอันตรายขึ้นมา จะต้องมีอันเป็นไป” “ต่อมาเมื่อประมาณ 90 ปีมาแล้ว ชาวบ้านสงเปือยมีหมอร่ำเรียนวิชาอาคมมาทำพิธีปราบผีดงเมืองเตยได้ หมอผู้มีวิชาอาคมผู้นี้ชื่อ ผู้ใหญ่สุวอ เหตุการณ์นี้ตรงกับสมัยพ่อใหญ่อัครฮาด เป็นตาแสง เมื่อชาวบ้านใกล้ไกลได้ยินข่าวพ่อใหญ่สุวอข่มผีดงเมืองเตยได้แล้ว ก็พากันหลั่งไหลมาจับเต่าปลาดงเมืองเตยไปเป็นอาหารจนเกือบเกลี้ยงบึง เต่าจึงเกือบสูญพันธุ์มาจนบัดนี้ พ่อใหญ่สุวอได้แบ่งปันที่บึงออกเป็นที่นาให้พี่น้องญาติมิตรทำนามาจนทุกวันนี้ ส่วนบริเวณดงเมืองเตยได้แบ่งบันทำไร่ สวน ปลูกพืชทำกินมาเท่าทุกวันนี้ อันนี้เป็นเรื่องจริง ผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีอายุครบ 90 ปี เช่น พ่อใหญ่อ่อน หอมกลิ่น พ่อใหญ่บู กกเปือย ยังมีชีวิตเป็นพยานอยู่
ยโสธร
ไอดิน ฟาร์มเมล่อน ซอย อดิเรกสาร 3 ตำบล พุแค อำเภอ เฉลิมพระเกียรติ สระบุรี 18240 082 232 3848 https://goo.gl/maps/trgHgHrvKa2wyzaz8
สระบุรี
สวนดอกไม้มากาเร​็ต(ถ้ำปลา)​ ที่ตั้งอยู่ก่อนถึงลานจอดรถถ้ำปลา​ประมาณ 50​ เมตร​ ทางซ้ายมือ เนื้อที่ใช้ปลูกประมาณ ​2 ไร่​ ปลูกดอกไม้ทั้งหมด 3 ชนิด​ คือ​ ดอกมากาเร​็​ต, ดอกคัตเตอร์, ดอกผักเซี่ยงฝรั่งฯ
แม่ฮ่องสอน