กรมอุทยานฯแจงลักษณะช้างไทย

กรมอุทยานฯแจงลักษณะช้างไทย

กรณีที่ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ที่สอนเด็กทั่วประเทศแล้วมีหลายคนแสดงความเป็นห่วง ที่คุณครู นำเอาภาพช้างแอฟริกามาให้เด็กดู แล้วบอกเด็กๆชั้นเรียนอนุบาล 1 ว่า นี่คือสัตว์ประจำชาติไทย ทำให้ผู้เห็นคลิปดังกล่าว แสดงความเป็นห่วงเรื่องการเรียนธรรมชาติศึกษาของเด็ก เพราะครูสอนผิด ถึงลักษณะสัตว์สำคัญๆหลายชนิด เช่น นก ช้าง เป็นต้น

อ่านข่าวเดิม

หมอหม่องห่วง เด็กอนุบาลเรียนธรรมชาติวิทยา เหตุ ครูสอนเรียกสัตว์ไม่ตรงชนิด

 

Advertisement

ล่าสุดนั้น เฟชบุ๊ก ประชาสัมพันธุ์ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า ได้โพสต์ข้อความ คำอธิบายลักษณะของช้าง อ้างจากสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ดังนี้

ช้างไทย กับการจำแนกลักษณะ

ช้างไทยที่เราพบเห็นหรือเรียกว่าช้างไทยนั้น จริงๆแล้วคือ ช้างเอเชีย สายพันธุ์อินเดีย (Elephas maximus indicus)

Advertisement

ซึ่งช้างอินเดีย ยังพบในอีกหลายๆประเทศด้วยกัน ( อินเดีย บังกลาเทศ ภูฐาน เนปาล เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา เวียดนาม จีน มาเลเซีย และไทย )

ในประเทศไทยนั้นเรียกสายพันธุ์นี้ ว่า “ช้างไทย” และได้มีการจำแนกลักษณะช้าง ตัวผู้และตัวเมียออก

โดยหลักๆจะดูจากงา และเพศ ซึ่งสามารถจำแนกได้ตามนี้ ช้างสีดอ คือ ช้างเพศผู้ ที่ไม่มีงา /ช้างพลาย คือ ช้างเพศผู้ ที่มีงา /ช้างพัง คือ ช้างเพศเมีย

นอกจากงาและเพศแล้วยังสามารถสังเกตได้จากจุดอื่นๆได้อีก เช่น ส่วนหัว ตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมีย และมีฐานงวงนูนโป่งกว่าตัวเมีย

ส่วนหลังและบั้นท้าย เมื่อสังเกตจากด้านข้าง ช่วงบั้นท้ายของตัวผู้จะค่อยๆโค้งลาดลง ในขณะที่ของตัวเมียจะหักตรงลงมา

ถุงหุ้มอวัยวะเพศ โดยถุงหุ้มอวัยวะเพศของตัวผู้จะเรียวแหลมลงมา และวางตัวขนานกับท้อง บางครั้งจะเห็นอวัยวะเพศออกมาจากช่องท้องด้วย , ต่างจากตัวเมียถุงหุ้มอวัยวะเพศจะยาวลู่ลงมาในแนวดิ่งที่บริเวณขาหลัง
เต้านม ช้างตัวเมียจะมีเต้านมระหว่างขาคู่หน้า เต้านม จะเต่งนูนขึ้นจนสังเกตเห็นได้ชัด

การตกมัน หลังจากช่วงที่ช้างได้กินอาหารอย่างอุดมสมบูรณ์ช้างตัวผู้ มักจะมีอาการตกมัน โดยจะมีของเหลวข้นกลิ่นแรง ไหลออกมาจากต่อมบริเวณขมับ (Temporal gland) ย้อยลงมาบริเวณแก้มเห็นเป็นแถบสีดำ

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image