192 : อาทิตย์ 3 ดวง คือ การทรงกลดแบบ Sundogs


  

 พวกเราชาวมวลเมฆเว้นว่างจากแง่มุมทางวิชาการเกี่ยวกับเมฆไปพักใหญ่ทีเดียว

กลับมาอีกครั้งครับ เพราะตอนนี้บนท้องฟ้าไม่ค่อยมีเมฆสวยๆ เลย :-(

แต่ไม่เป็นไร ดูจากเว็บและภาพของเพื่อนๆ ที่ส่งมาให้ก็ได้! :-D

 

 

บันทึกนี้จะชวนไปรู้จักกับปรากฏการณ์ทางแสงที่เรียกว่า

Sundog

แปลตรงตัวคือ น้องหมาของดวงอาทิตย์ ครับ 

 

ที่มาของภาพ

เวลาเกิดอาทิตย์ทรงกลด (solar halo) บางทีเราจะเห็นจุดแสง 2 ข้าง

นั่นแหละครับ คุณหมาที่ติดสอยห้อยตามดวงอาทิตย์ (เจ้านายมัน) นั่นเอง!

 

นี่ครับ! แผนภาพแสดงการเกิด SunDog

ต้องมีผลึกน้ำแข็งในเมฆวางตัวแบนๆ ตามแนวระดับอย่างนี้ 

 

เข้าไปดูเส้นทางเดินของแสงในผลึกกันดีกว่าครับ

 

ดาวน์โหลดแผนภาพแสดงการเกิด SunDog แบบเต็มภาพ [ที่มาของภาพ]

 

สังเกต Sundog ดีๆ จะเห็นว่าสีแดง อยู่ฝั่งด้าน....(ใกล้/ไกล)....ดวงอาทิตย์

ถ้าตอบว่า ด้านใกล้ ก็ถูกต้องนะคร้าบ!

 

โปรดดูภาพชัดๆ อีกครั้ง

และภาพนี้อีกสักตัวอย่าง

 

น่ารู้ด้วยว่า หากแถบซันด็อกสว่างมากๆ จะทำให้ดูเหมือนว่ามีดวงอาทิตย์ 3 ดวงอยู่บนท้องฟ้า นี่เองที่ทำให้ฝรั่งเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ม็อคซัน (mock suns) แปลว่า ดวงอาทิตย์เลียนแบบ

ส่วนชื่อแบบหรูๆ ของซันด็อกคือ พาร์ฮีเลีย (parhelia) เป็นภาษาละตินแปลว่า อยู่ข้าง (par-) ดวงอาทิตย์ (helios) ครับ

 


ตำแหน่งปรากฏของซันด็อกขึ้นกับมุมเงยของดวงอาทิตย์ดังภาพนีครับ 

 

 

 ดูตัวอย่างภาพจากฝีมือคุณปู-สรรพศิรินทร์


 

ผมเคยเห็น Sundog ด้วยตาตนเองชัดๆ อยู่ครั้งหนึ่ง

ตอนนั่ง taxi กลับบ้าน (หลังกลับจาก GotoKnow Forum ที่ขอนแก่น นั่นล่ะครับ)

 

แต่มีคุณหมามาตัวเดียว ด้านซ้ายของเรา (ด้านขวาของดวงอาทิตย์) ในวงกลม

ไม่ค่อยชัดเท่าไร...รถวิ่งๆ หยุดๆ ต้องหาจังหวะที่ไม่มีอะไรมาบัง

[ในภาพนี้ มีเมฆนกกระพือปีกตัวใหญ่อยู่ด้วย...เห็นไหม ใหญ่กว่าตึกใบหยกอีก...อิอิ]

 

 ส่วนภาพสุดท้ายนี่ไม่เกี่ยวกับ Sundog ครับ

แต่คิดว่าสวยดี มีหมวกเมฆ (pileus) และปรากฏการณ์สีรุ้งด้วย...อยู่ไหนเอ่ย?

 

 


 

เอาล่ะครับ

ใครถ่ายภาพ Sundog ได้ ช่วยส่งให้ผมหน่อย

จะได้นำไปลงหนังสือคู่กับภาพ Sundog ของคุณ Wanpen - อินเดียนแดงแห่งพะเยา ;-)

 

ขอบคุณมากๆ คร้าบที่แวะมาเยี่ยมชม 

 


 

คำสำคัญ (Tags): #sundog
หมายเลขบันทึก: 304603เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2009 21:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (49)

สวัสดีค่ะ ท้องฟ้าสวยมากค่ะ

 

พี่แดง สวัสดีครับ

        ขอบคุณมากเลยครับ สำหรับภาพเมฆแสนสวย

        ผมกำลังบันทึกเพิ่มเติมอยู่ครับ พอดีกลัวเน็ตจะเจ๊ง เลยค่อยๆ เติมไป เซฟไป ;-)

ก็เลยกระพร่องกระแพร่งอย่างที่เห็นครับ (ฮา)

        เดี๋ยวขอแวะกลับมาชมใหม่นะครับ ภาพสองภาพสุดท้ายนี่ ถ่ายตอนขากลับจากขอนแก่นด้วยครับ!

ได้เลยน้องหนานเกียรติ

        มีบางท่านเคยถ่ายภาพได้ เช่น คุณ Wanpen แห่งพะเยา และรู้ด้วยว่าคือ SunDog

        ส่วนน้องเอ๋-เมฆน้อย นี่ก็เหมือนกันครับ เคยถามพี่เกี่ยวกับเรื่องนี้

        ตอนนี้ว่างขึ้นมาหน่อย ก็เลยนำข้อมูลลึกๆ มาฝากกัน

        จะรักเมฆทั้งที ต้องรู้ให้รอบ รู้ให้ลึก กว่าคนอื่นครับ! ;-)

  • แวะมารายงานตัวไว้ก่อน จะกลับมาอีกค่ะ

เย้! คุณ Wanpen กลับมาแล้วครับพวกเรา....ดีใจมากๆๆๆๆๆ ^__^

       อย่าลืมพา 'น้องหมาของดวงอาทิตย์' ที่คุณ Wanpen เคยถ่ายไว้มาฝากไว้แถวๆ นี้ด้วยนะครับ

       อ้อ! ขอภาพใหญ่ ส่งมาทาง e-mail ผมได้เลยครับ จะนำไปลงหนังสือ 'รื่นรมย์ ชมเมฆ' (ตอนนี้กำลังเร่งมือ...)

       ขอบคุณครับ

ระหว่างรอ...

วันนี้พับกระดาษให้เฌวาครับ

ให้ทายครับว่าตัวอะไร ฮิ ฮิ...

*-* สวัสดีค่ะ อ.ดร.ชิว

เข้ามาอ่านไปทีหนึ่งแล้ว แต่บอกว่าให้รอ ก็เลยมาอีกที

พึ่งรู้ว่า เวลามองเห็นแบบนี้ เขาเรียกว่า sundog

ก็เลยได้ความรู้ไปสอนเด็กๆที่บ้านค่ะ

แมวน้ำ! เจ๋งครับเจ๋ง หลานเฌวาชอบเล่นไหมครับ?

กลับจากโรงเรียนวันนี้เป็นอย่างไรบ้างครับ หลานเฌวาคุยอะไรให้ฟังบ้างไหมครับ

คุณ นู๋ฏวง สวัสดีครับ

        ดีครับ ชวนเด็กๆ มาดูท้องฟ้ากัน เป็นศิลปะที่ดูฟรี ที่ไหนก็ได้ แถมไม่ซ้ำแบบกันทุกวันอีกต่างหาก

        เดี๋ยวจะแวะไปเยี่ยมครับ

ดีครับ อิ่มกำลังดี อย่าให้จุก...อิอิ

 

สวัสดีค่ะพี่ชิว

แวะมาชมท้องฟ้าสวยๆ อีกแล้วค่ะ...ช่วงนี้ท้องฟ้าไม่สดใสเลย ตั้งหน้าตั้งตารอฟ้าใสในฤดูหนาวอยู่ค่ะ

เช้านี้ฟากฟ้ายโสธรมีแต่เมฆหมอกปกคลุม เลยต้องเปลี่ยนหันไปชมบรรยากาศทุ่งนาตอนเช้าๆ ท่ามกลางสายหมอกค่ะ สวยไปอีกแบบค่ะ เสียดายที่ขับรถอยู่ เลยไม่มีโอกาสถ่ายรูปหมอกกลางทุ่งนามาฝากกัน

สวัสดีค่ะ ดร.ชิว

ภาพสวยๆ ทั้งนั้นเลยนะคะ

ช่วงนี้ก็ต้องตามล่าหา sundog เสียแล้วนะคะ

ขอบพระคุณค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ชิว อ๋อ...แบบนี้เค้าเรียก sundog เหรอคะ หนึ่งมาส่งการบ้านก่อนนอนค่ะ อิอิ

หนึ่งทดลองพับกับกระดาษโฆษณาที่ติดมากับใบแจ้งค่าโทรศัพท์ค่า สีก็สวยดีค่ะ อิอิ เห็นว่าผีเสื้อต้องคู่กับดอกไม้ เลยค้นหาดอกไม้ที่มีในบ้าน ก็เลยได้ดอกไม้ที่เป็นยางมัดผมอันนี้ล่ะค่า

 

เมฆสวยงามมากค่ะคุณซิว...ที่อุดรฟ้าหลัวไม่มีก้อนเมฆสวยๆเลยคงหาดูsundogยากส์ค่ะ...คิดถึงเพื่อนๆทุกคน..สบายดีนะคะ

สวัสดีคร๊าบพี่ชิว

ความรู้ใหม่เลยสำหรับเดย์ ^0^ ต้องสังเกตุเพิ่มเติมแล้ว...ต้องรอถึงปีหน้าเลยมั้ยหว่า??

Sundog นี้เรียกอีกอย่างว่า หวังเฉา - หม่าฮั่น ดีมั้ยครับ ยืนซ้าย + ขวา ข้างท่านเปาบุ้นจิ้นเลย 555

แง๊ๆๆๆ จริงด้วยครับพี่...ท้องฟ้าปิด เมฆจำศีล พวกเราปิดเทอม 555 คงต้องขนเอาเมฆที่ดองไว้ในกระปุก ออกมาให้ชมกันพรางๆ(เปรี้ยวแน่เพราะบางภาพอาจถ่ายไว้นาน อิอิ)

ภาพข้างล่าง ไกลๆนั้นคือหมอกแรกของปีที่อุดรครับ 6 โมงเช้าวันที่ 07 ตุลาคม 2552 ที่สนามบิน และเป็นอย่างนี้ทั้งวัน...ทุกวัน ฮือๆ เมฆหายไปนานแน่ๆ :(

                     

ที่ขอนแก่นฟ้าปิดค่ะ 

เลยมองไม่เห็นอะไรมาก

ต้องกลับไปค้นหาภาพที่เคยถ่ายไว้แล้วว่ามี  sundog หรือเปล่า

สวัสดีค่ะเพิ่งรู้ว่าแบบนี้คือ SUNDOG จะพยายามมองท้องฟ้าค่ะ

คนชอบท้องฟ้า
ถ่าย(รูป)มาให้ดู
รูปเดี่ยว รูปหมู่
ดูที่ สะดุด ตา
http://gotoknow.org/blog/sadut-ta

เมฆงามยามบ่าย
ลวดลายหลากหลายพรายนภา
เปลี่ยนแปลงไปไปมามา
ตามประสาความไม่แน่นอน




สวัสดีค่ะ คุณบัญชา และสมาชิกชมรมฯ ทุกท่าน มาส่งภาพ sundog ค่ะ

ภาพแรก เคยส่งไปแจมบล็อก รายงานสดอาทิตย์ทรงกลดที่อุดร ของน้องเดย์ เพราะเข้าใจผิดว่าเป็น อาทิตย์ทรงกลดด้วย แต่เป็นแบบไม่เต็มวง แต่ยังสงสัยว่า ทำไมไปเกิดตอนห้าโมงเย็นนิดๆ วันที่ 2 กรกฎาคม 2552 ก็เลยไปหาข้อมูลและสอบถามไปที่คุณบัญชา

ส่วนภาพนี้เป็นภาพต่อเนื่องจากภาพนกโดโด้ (ลูกสาวคุณบัญชา 2 คนยืนยันว่าใช่) ในบล็อกเมฆแมงป่องของอาจารย์แป๋ว เกิดขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2552 ที่ผ่านมาค่ะ เวลาใกล้เคียงกัน 17.39 น. สถานที่ใกล้เคียงกันอีกต่างหากแต่เยื้องไปทางซ้ายหลายองศา คงเอียงตามพระอาทิตย์ ก็เลยคิดว่าน่าจะได้เห็นอีกปีหน้าค่ะ

กำลังพยายามส่งไฟล์ภาพทั้งหมดมาให้คุณบัญชาอยู่นะคะ สงสัยต้องแยกเป็น 2 ไฟล์ค่ะ

ผมจำได้ติดตา ว่าผมเคยเห็นด้วยตัวเองครั้งหนึ่งครับ ที่ อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท

ในเช้าวันสอบ ตอนเรียนอยู่ชั้นประถมฯ(ไม่แน่ใจว่าปีไหนระหว่างป.5-6-7 ,กว่า30ปีมาแล้วครับ)

มีภาพดวงอาทิตย์เพิ่มมาอีก2ดวงครับ อยู่ทางตอ.เฉียงเหนีอ+เฉียงใต้ของดวงจริง ชัดเจนมากครับ

แต่ตอนนั้นผมเล่าให้ใครฟังก็ไม่มีใครเชื่อ เพราะไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน รวมทั้งในวันนั้นก็ไม่มีคนอื่นเห็นเลยครับ

เป็นเช้าวันหนึ่งในฤดูหนาวที่อากาศสดใส แต่มีเมฆบางๆลอยกระจายอยู่บริเวณขอบฟ้าโดยรอบครับผม

ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรู้ใหม่

เคยเห็นเป็นพระอาทิตย์ทรงกลดที่มี ๒ วง (ที่วัดพระพุทธบาทสระบุรีเมื่อ ๒ ปีก่อน) วงที่อยู่ใกล้พระอาทิตย์จะเต็มวง แต่วงนอกไม่เต็มวง อย่างนี้ เรียกว่าอะไรคะ

สวัสดีค่ะ

  • ชอบมองฟ้า มองเมฆ มองฝน และได้ภาพภาพเก็บไว้บ้างเหมือนกัน มองเมฆแล้วมานั่งทายกันว่าเหมือนอะไรมาตั้งกะเด็กๆ แต่ไม่ศึกษาเรื่องฟ้า เรื่องเมฆ หรือเรื่องฝนเลยค่ะ
  • ต่อไปต้องตั้งใจสังเกตุเสียแล้วค่ะ
  • มาแอบทายว่าหลานเฌวาพับกระดาษรูปอะไร ไดโนเสาร์ ต้องไดโนเสาร์ แน่ๆ
  • อ้าววว แมวน้ำนี่เอง ฮ่า ฮ่า

น้องดาวฟ้า สวัสดีครับ

      งั้นไว้รอชมภาพหมอกเหนือท้องนาแทนก็แล้วกัน ^__^

      หน้าหนาว ฟ้าจะใส หรือไม่ก็มีเมฆซีร์รัสมากกว่าเมฆชนิดอื่นๆ มากหน่อย

      พี่เตรียมโมเดลกับแบบพับไว้แล้ว น่าจะส่งได้ราวพรุ่งนี้นะครับ (วันนี้ไปธุระ)

พี่บางทราย สวัสดีครับ

       ได้เห็นตัวอย่างแบบนี้แล้ว คิดว่าพี่บางทรายต้องมีโอกาสเก็บภาพแนวนี้ได้ในอนาคตแน่ๆ เชื่อฝีมือครับ

       อาทิตย์ทรงกลด หรือ solar halo นี่ยังมีอีกหลายรูปแบบครับ เป็นหลายๆ วงก็มี มีเส้นสัมผัสก็มีครับ เดี๋ยวจะนำภาพไปฝากนะครับ

คุณอิง สวัสดีครับ

       ชวนหลานมี่มาดูเลย จะได้ไปตามหา 'เจ้าหมาของคุณดวงอาทิตย์' ได้ถูกที่ แต่ต้องระวังอย่าไปมองหรือถ่ายที่ดวงอาทิตย์ตรงๆ นะครับ...ปลอดภัยไว้ก่อน!

น้องหนึ่ง-นักพับผีเสื้อ

       แจ๋วมากๆ มีดอกไม้เป็นองค์ประกอบซะด้วย ขออีกๆๆ ลองเลือกโมเดลที่สนใจได้เลยครับ ที่นี่

                    http://portal.in.th/origami 

สวัสดีค่ะพี่ชิว

เคยเห็นsundog เหมือนกันค่ะ แต่ไม่รู้จักคิดว่าเป็นรุ้งที่เมฆบังไว้

เสียดายจังไม่ได้ถ่ายรูปไว้เพราะกำลังขับรถกลับบ้านค่ะ

คุณนุส สวัสดีครับ

          ช่วงหน้าหนาวที่จะมาถึงนี่ ท้องฟ้าจะมีไม่ค่อยมีเมฆ ถ้ามีก็เป็นเมฆซีร์รัส หรือซีร์โรสเตรตัส ซึ่งน่าจะมีอาทิตย์ทรงกลด และ Sundogs มากหน่อยก็เป็นได้ครับ

           เดี๋ยวจะแวะไปเยี่ยมนะครับ

เดย์ 1980

      Hello! ช่วงนี้หายไปหนายยยย....

      Sundogs นี่อาจจะไม่ต้องรอถึงปีหน้า พี่ว่าปลายๆ ปีนี้ พอเริ่มเข้าฤดูหนาว อาจจะมี halo หลายๆ แบบเกิดขึ้นบ่อยก็เป็นได้คร้าบ

      ตอนนี้คนที่ถ่ายภาพ Sundogs เก่งที่สุดคึอ คุณ Wanpen อย่างนี้ต้องให้สมญาว่า Wanpen-เซียน Sundog ซะแล้ว!

คุณกระติก สวัสดีคร้าบบบบ...

        ส่งมาเลยครับ ภาพเมฆที่ไม่ต้องมี Sundogs ก็ด้ายยยย.....ทุกคนรอชมภาพของคุณกระติกอยู่ ;-)

คุณ rinda สวัสดีครับ

        ดีเลยครับ มองท้องฟ้าบ่อยๆ แม้จะไม่เห็น Sundogs แต่ก็มีปรากฏการณ์สวยๆ ให้ชมอีกเป็นกระบุงครับ

คุณสะดุดตา ครับ

          เมฆหน้าสุนัขที่นำมาฝากนี่ ด้านบนมี หมวกเมฆ หรือ ไพลีอุส (pileus) ด้วยนะครับเนี่ย

         

คุณ Wanpen-เซียน Sundogs ครับ ;-)

         ได้นำภาพ Sundogs ของคุณ Wanpen ไปขึ้นบันทึกใหม่แล้วครับ แจ่มจริงๆ ขอบคุณครับ

                       193 : ภาพ Sundog ฝีมือคุณวันเพ็ญ

คุณหมอพรศักดิ์ สวัสดีครับ

        ขอบคุณมากๆ เลยครับที่ไปเล่าประสบการณ์เรื่อง Sundogs ให้พวกเราฟัง

        "ผมจำได้ติดตา ว่าผมเคยเห็นด้วยตัวเองครั้งหนึ่งครับ ที่ อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท

ในเช้าวันสอบ ตอนเรียนอยู่ชั้นประถมฯ(ไม่แน่ใจว่าปีไหนระหว่างป.5-6-7 ,กว่า30ปีมาแล้วครับ)

มีภาพดวงอาทิตย์เพิ่มมาอีก2ดวงครับ อยู่ทางตอ.เฉียงเหนีอ+เฉียงใต้ของดวงจริง ชัดเจนมากครับ

แต่ตอนนั้นผมเล่าให้ใครฟังก็ไม่มีใครเชื่อ เพราะไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน รวมทั้งในวันนั้นก็ไม่มีคนอื่นเห็นเลยครับ

เป็นเช้าวันหนึ่งในฤดูหนาวที่อากาศสดใส แต่มีเมฆบางๆลอยกระจายอยู่บริเวณขอบฟ้าโดยรอบครับผม"

         สามารถเข้าใจได้อย่างชัดเจนเลยครับ ฤดุหนาวนี่ ฟ้ามักจะไม่ค่อยมีเมฆก้อน แต่มีเมฆระดับสูงที่เรียกว่า ซีร์รัส (cirrus) หรือ ซีร์โรสเตรตัส (cirrostratus) พวกนี้มีองค์ประกอบเป็นผลึกน้ำแข็งครับ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ทางแสงแบบต่างๆ ได้มากมาย เช่น การทรงกลด และ Sundogs เป็นต้น

         คุณหมอมีความจำที่ยอดเยี่ยมมากครับ ^__^

สวัสดีครับอาจารย์ศืริวรรณ

          คำถามเรื่อง อาทิตย์ทรงกลด 2 วงนี่ดีมากๆ เลยครับ และทำให้เห็นว่าอาจารย์ช่างสังเกตมากๆ ด้วย

          อาทิตย์ทรงกลดมีหลายแบบครับ แบบที่เราเห็นกันมากที่สุดเรียกว่า อาทิตย์ทรงกลดแบบ 22 องศา (22-degree circular halo)

          อีกวงหนึ่งที่อาจารย์เห็นน่าจะเป็นอาทิตย์ทรงกลดแบบ 46 องศา (46-degree circular halo) ครับ

       อาทิตย์ทรงกลดที่อาจารย์เห็นเป็น 2 วง จะคล้ายๆ แบบนี้นะครับ

      

 

          วงเล็ก (ที่เห็นกันบ่อยกว่า) เรียกว่า อาทิตย์ทรงกลดแบบ 22 องศาครับ

          วงใหญ่ (เห็นยากกว่า) เรียกว่า อาทิตย์ทรงกลดแบบ 46 องศาครับ

                

      ส่วนภาพนี้เป็นแผนภาพอย่างง่ายๆ แสดงการเกิดอาทิตย์ทรงกลดทั้งสองแบบนะครัล ทั้งคู่เกิดจากการที่แสงหักเหในผลึกน้ำแข็ง แต่มีเส้นทางเดินภายในผลึกแตกต่างก้น ทำให้มุมของแสงที่ออกมาต่างกันครับ

          

         ผมขอให้ข้อมูลไว้เท่านี้ก่อนนะครับ ไว้จะหาโอกาสขยายความโดยละเอียดอีกครั้งหนึ่ง แล้วจะแจ้งให้อาจารย์ทราบครับ ^__^

         ขอบคุณมากเลยครับที่อาจารย์มาเล่าประสบการณ์ให้ฟัง น่าสนใจมากๆ ครับ

สวัสดีครับ คุณณัฐพัชร์

        ต้องหันหน้ามองนะครับ หันหลังมองอาจจะไม่เห็น ;-)

        เชื่อว่าคุณณัฐพัชร์จะมีมุมมองใหม่ๆ มาให้พวกเราเห็นครับ อย่าลืมพกกล้องตลอดเวลาด้วยครับ

 

อ.เสือ ที่รัก....

         เมฆเชียงใหม่ฝีมืออาจารย์ห่างหายไปนานนนนนน.....เมื่อไรจะกลับมาอีก คิดถึงๆๆๆๆ ;-)

น้องธารเมฆ

        รู้จัก sundogs แล้ว คราวหน้าไม่พลาดแน่ครับ เชื่อมือ!

ขอบคุณครับ คุณบัญชา ที่ตามไปบอกผมในBikeforheavenด้วย ผมจึงกลับมาขอบคุณที่นี่อีกที แล้วก็ได้เห็นสิ่งดีๆ คือ การรวมเอาความเห็นเข้าไว้ในกรอบเดียวกับคำตอบของคุณบัญชาเอง ว่าแต่ว่าทำได้อย่างไรครับ? คือผมอยากจะทำตามบ้างน่ะครับ ช่วยบอกหน่อยนะครัีบ ขอขอบคุณล่วงหน้า สำหรับความรู้ที่กำลังจะได้รับครับ

คุณหมอพรศักดิ์ สวัสดีครับ

        ขออภัยที่มาตอบช้ามากๆ

        เพียงแค่ copy ข้อความมาครับ คือ

            - นำเคอร์เซอร์ไปไว้ต้นข้อความ
            - คลิกซ้าย แล้วลากไปจนสุดข้อความ
            - คลิกขวา เลือก copy
            - นำเคอร์เซอร์ไปไว้ตรงที่ต้องการ
            - คลิกขวา เลือก paste

      ลองดูนะครับ ^__^

ขอบคุณสำหรับสาระดีๆค่ะ  ยังไม่เคยเห็นจริงๆเลย   ได้ความรู้มากเลย  ปกติเป็นคนสนใจด้านดาราศาสตร์พอสมควรแต่ไม่มีโอกาสหรือเวลาในการศึกษาเท่าไหร่  ขออนุญาตแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยนะคะ เป็นสมาชิกใหม่  ข้อเขียนอาจยังไม่เข้าท่านัก  โปรดชี้แนะและอภัยด้วยค่ะ

คุณวรรณภา ยินดีที่ได้รู้จักครับ

         ตอนนี้ ปรากฏการณ์ Sundogs เป็นข่าวอยู่ครับ ลองดูได้ที่ บันทึกนี้ 

อภิดลน์ เจริญอักษร

<p>อาจารย์บัญชาครับ กรณีที่เห็นเกิน 3 ดวง ก็ยังจัดเป็น Sun Dog&nbsp; มั้ยครับ ขอบคุณครับhttp://www.facebook.com/photo.php?pid=1366406&fbid=1471549262120&id=1035280107

  สิงหาคมปีที่แล้วค่ะ 2012

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท