จิตวิญญาณเชิงช่างมอญ-พม่า สู่อุโบสถกลางน้ำ “วัดสันกำแพง”

คำว่า “สันกำแพง หรือ โคพ-ซโทน-copestone อาจหมายถึงส่วนครอบ ,สันของกำแพง และอำเภอหนึ่งในเชียงใหม่และยังอาจหมายถึงชื่อเรียกชุมชน ตำบล หมู่บ้านและวัดก็ได้  เช่น”วัดสันกำแพง”ต.มะกอก อ.ป่าซาง ห่างจากบ้านหนองเงือก ต.แม่แรงประมาณ 2 กม. วัดแห่งนี้มีหอไตร สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ศิลปะล้านนา หลังคาลดหลั่นสวยงาม กรอบหน้าจั่วเป็นตัวนาค หนึ่งในสัตว์มงคลตามตำนาน มีลวดลายไม้แกะสลัก ประดับกระจกงดงาม หากเดินทางไปวัดนี้โดยใช้ถนนผ่านหน้าวัดสันกำแพง ขับตรงผ่านบ้านมะกอก ระยะทางราวๆ 2 กม. จะบรรจบกับทางหลวง 106 ตรงหลัก กม. 138 ละแวกบ้านมะกอก มีบ้านเรือนไม้หลังคาปั้นหยา และบ้านไม้เก่าอายุกว่า 40-50 ปีหนาแน่น เหมาะสำหรับผู้สนใจศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมอาคารบ้านเรือนในอดีตของล้านนาวัดนี้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นระบุว่าในพศ.2390 มีราษฎรมาแผ้วถางทำไร่ใกล้วัด แล้วพบร่องรอยวัดร้าง สิ่งปลูกสร้างที่เป็นแนวกำแพง 3 ชั้นจึงพากันเรียกวัดสันกำแพง จากนั้นได้นิมนต์ครูบาอุปละ เจ้าอาวาสวัดหนองเงือก มาเป็นประธานบูรณะ จนลุล่วงตามศรัทธาญาติโยม
ช่วงพ.ศ. 2349 เกิดศึกสงครามในแผ่นดินล้านนา มีการกวาดต้อนผู้คนจากหัวเมืองต่างๆ มาช่วยสู้รบ และราษฎรส่วนใหญ่มีสาแหรกมาจากเมืองยอง เป็นกลุ่มไทลื้อ ไทยอง ดังนั้นภายหลังพ้นยุคสมัยยึดครองของพม่าสู่ยุคฟื้นฟูบ้านเมืองราวพุทธศตวรรษที่ 24 จึงได้เห็นการผสานศิลปะวัฒนธรรม
ถ่ายทอดผ่านงานประเพณี เชิงช่าง สถาปัตยกรรม สิ่งปลูกสร้าง ที่มีลักษณะใช้แกนเชื้อชาติ เป็นสิ่งนำ ตามด้วยฝีมือช่างห้วงเวลานั้นสำหรับที่นี่แล้วจะเห็นขนบเชิงช่างท้องถิ่นแบบมอญ ผสมปนเปกับพม่า กลายเป็นงานสกุลช่างท้องถิ่นที่งามระยับแปลกตาไปอีกรูปแบบบางมุม หากมองแบบฉาบฉวยจะเห็นโครงสร้างสกุลช่างทางสุโขทัย บางด้านเห็นการสลักลาย โค้งมน งอนตวัดไปมาแบบชาวเมียนมาร์รามัญ ซึ่งหากมีการรวบรวม ศึกษา วางระบบสถาปัตยกรรมในแต่ละห้วงเวลาของเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่าพันปี นครลำพูน จะต่อการเข้าใจบริบทสังคม เพราะจากการสืบค้นย้อนไปราวๆปีพศ.2548 พบว่าจ.ลำพูนมีวัด 462 แห่ง อยู่ในเขต อ.ป่าซาง 70 วัด มีวัดที่สร้างในสมัยหริภุญชัย 7 แห่งในเขตเมืองลำพูน วัดที่สร้างในยุคสมัยล้านนามี 7 วัด ในอ.ป่าซางมี 3 วัด อ.เมือง2วัด ส่วนอ.แม่ทามี 1 แห่งถ้าเป็นวัดที่สร้างในสมัยพม่ามีอำนาจเหนือล้านนาจะมีราวๆ 42 วัด อยู่ในป่าซางถึง 22 วัด วัดที่สร้างในสมัยฟื้นฟูบ้านเมืองมี 170 วัด อยู่ในเขตอ.เมืองมากสุด 77 วัดส่วนที่อ.ป่าซางมี 20 วัดเท่านั้น อ.แม่ทา 11 วัด อ.ลี้ 17 แห่ง บ้านธิ 12 ทุ่งหัวช้าง 6 บ้านโฮ่ง 19 และอ.เวียงหนองล่อง 8 วัด ยุคมณฑลเทศาภิบาลมี 82 วัด ในเขตอ.ป่าซางมี 13 วัด ในยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งเริ่มเมื่อพ.ศ. 2475 จะมีการสร้างวัด 45 วัด ใน 8 อำเภอสร้างกระจายที่ละ2-3 วัด แต่เมื่อมาถึงยุคปัจจุบันมีการสร้างวัดน้อยมากมีเพียง 6 วัด ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การบูรณะวัดร้าง เก่าแก่และน่าเสียดายที่การฟื้นฟู บูรณะจะมุ่งไปที่การผูกตำนาน ประวัติศาสตร์แต่ละแหล่งมาเรียกร้องกระแสศรัทธา ผสมปนเปกับตำนานแบบสร้างเรื่องให้เชื่อมโยงสิ่งมหัศจรรย์ ปาฎิหาริย์แบบงมงาย รวมถึงนำรูปแบบตามสมัยมาเป็นแกนพัฒนา ฟื้นฟูวัดร้าง เป็นศิลปะแบบร่วมสมัย ไหลไปตามกระแสศรัทธา เงินบริจาค หากญาติโยมไม่รีบหยุดยั้งจะพังเพราะ”อาตมา”นะโยม

ร่วมแสดงความคิดเห็น