ดอยขะม้อ บ่อน้ำทิพย์ ตำนานน้ำศักดิ์สิทธิ์เมืองลำพูน

เมื่อถึงวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 เหนือ จะมีประเพณีตักน้ำทิพย์จาก ดอยขะม้อเพื่อนำไปสรงน้ำพระบรมธาตุ เจ้าหริภุญชัยเป็นประจำทุกปี น้ำจาก บ่อน้ำทิพย์ดอยขะม้อถือได้ว่าเป็นน้ำ ศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองลำพูน มีตำนานเล่าขานถึงบ่อน้ำ ทิพย์แห่งดอยขะม้อไว้ว่า..
เมื่อครั้ง พุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จ จาริกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในที่ต่างๆ เมื่อพระพุทธองค์ทรงห้างบาตรเสร็จจึง ออกบิณฑบาตรไปตามหมู่บ้านต่างๆ แล้วไปแวะพักฉันท์อาหารบนยอดดอย ขะม้อ เมื่อฉันท์อาหารเสร็จไม่มีน้ำเสวย จึงโปรดให้พระอานนท์ไปตักน้ำยังลำห้วยแห่งหนึ่ง ทางทิศเหนือของดอยขะม้อ เมื่อพระอานนท์ไปถึงลำห้วยนั้น ก็ ตีบตันไปหมดไม่สามารถตักน้ำไปจึง กลับมากราบทูลพระพุทธองค์ให้ทรงทราบ พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ภายภาคหน้าคนทั้งหลายจะเรียกลำห้วย แห่งนี้ว่า “แม่ตีบ”

พระอานนท์จึงไปยัง ลำห้วยอีกแห่งหนึ่งทางทิศใต้ของดอยขะม้อ บังเอิญมีเกวียนผ่านไปมาทำให้น้ำ ในลำห้วยนี้ขุ่น พระอานนท์รอ (ท่า) ใน ภาษาล้านนา แปลว่า “รอ” อยู่เป็นเวลานาน น้ำก็ไม่ใสสักทีจึงกลับไปทูลพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ภายภาคหน้าคนทั้งหลายจะเรียกลำธารนี้ว่า “แม่ท่า” ภายหลังเปลี่ยนเป็น “แม่ทา” พระอานนท์จึงไปยังหนองน้ำแห่งหนึ่ง ทางด้านทิศตะวันตกของดอยนี้

เมื่อไปถึงพญานาคที่รักษาหนองน้ำบันดาล ให้น้ำแห้งไปหมดไม่สามารถตัดน้ำได้ พระพุทธองค์จึงตรัสว่าต่อไปคนจะเรียก หนองน้ำนี้ว่า “หนองแล้ง” เมื่อเป็นดังนั้น พระพุทธองค์จึงอธิษฐานถึงบารมีทาน แล้วใช้นิ้วพระหัตถ์กดลงบนแผ่นดินฉับพลัน ก็มีน้ำพุ่งขึ้นมาให้เสวยได้สมพระทัย พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ดูกร อานนท์ เมื่อตถาคตเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว ธาตุของตถาคตจะไปตั้งอยู่ใจกลาง เมืองหริภุญชัย ในสมัยพระยาอาทิตยราชแล้วคนทั้งหลายจักตักเอาน้ำแห่งนี้ ไปสรงพระธาตุของตถาคต”

ปัจจุบันดอยขะม้อตั้งอยู่ใน เขตตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ห่างจากตัวเมืองไปทาง ทิศตะวันออกประมาณ 16 กิโลเมตร คน สมัยก่อนมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับดอยขะม้อว่า มีภูเขาอยู่ลูกหนึ่งลักษณะสูงชันมาก รูปร่างเหมือนหม้อคว่ำ ชาวเมืองเรียกกันมาแต่โบราณว่า “ดอยคว่ำหม้อ” ต่อมา เพี้ยนมาเป็น “ดอยขะม้อ บ่อน้ำทิพย์” สาเหตุที่เรียกเช่นนั้นก็เพราะว่าบนยอด ดอยมีบ่อน้ำที่เกิดกลางแผ่นดินถือกัน มาแต่โบราณว่าเป็นบ่อน้ำทิพย์ ที่บริเวณปากบ่อจะมีป้ายปักไว้ว่า “บริเวณบ่อน้ำทิพย์ห้ามผู้หญิงเข้า” เพราะเมื่อผู้หญิงเข้าไปแล้วน้ำในบ่อจะแห้งทันที

บนยอดดอยขะม้อมีความ กว้างประมาณ 12 เมตร ยาว 30 เมตร ล้อมรอบดอยนี้มีเขาสูงสลับซับซ้อนกัน หลายลูกและมีพันธุ์ไม้นานาชนิดขึ้นอย่างหนาแน่น ปัจจุบันป่าไม้ในบริเวณนี้ ถูกทำลายและโค่นเกือบไม่มีให้เห็นแล้ว บนดอยขะม้อมีพระวิหารตั้งอยู่หลังหนึ่ง กับรอยพระพุทธบาทจำลองอยู่หน้า วิหารมีแผ่นศิลาจารึกเป็นภาษาไทย ล้านนาว่า “ได้สร้างพระวิหารและรอย พระพุทธบาทจำลองเมื่อ พ.ศ.2470

โดย ครูบาสิงห์ชัย วัดสะแล่ง พระครูชัยลังกา วัดศรีชุม ขุนจันทนุปาน กำนันตำบล มะเขือแจ้และนายชัย กำนันตำบล บ้านกลางได้ชักชวนประชาชนสร้างสิ้น ค่าก่อสร้าง 3,000 รูปี ทำบุญฉลองเมื่อ พ .ศ.2472″ บ่อน้ำทิพย์เป็นลักษณะบ่อที่เกิดกลางแผ่นดิน ไม่ใช่บ่อที่มีคนขุด ถึงขุดก็คงขุดไม่ได้ เพราะเป็นหินขนาดใหญ่ และแข็งมาก ปากบ่อกว้างประมาณ 3 เมตร เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเรียว ลึกลงไปเป็นรูปกรวย กล่าวกันว่าความลึกของบ่อน้ำทิพย์ดอยขะม้อนั้นไม่สามารถลงไปวัดได้

นอกจากน้ำทิพย์จากดอยขะม้อจะใช้ในการสรงน้ำพระบรมธาตุหริ ภุญชัยในเทศกาลแปดเป็งแล้ว ยังมีการใช้น้ำทิพย์แห่งนี้ในงานราชพิธีสำคัญต่างๆ ตั้งแต่ครั้งอดีตจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ พระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 6 ปี พ.ศ.2453 ทางราชการจังหวัดลำพูน ได้นำน้ำจากบ่อน้ำทิพย์เข้าร่วมพิธีสรง น้ำศักดิ์สิทธิ์

ต่อมาในปี พ.ศ.2468 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ก็ได้ใช้น้ำทิพย์จากดอยขะม้อ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกด้วย กระทั่งในรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงสรงน้ำมุรธาภิเษก ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อปี พ.ศ.2493 ทำพิธีเสกทำน้ำศักดิ์สิทธิ์ ณ มหาเจดีย์ สถานและพระราชอารามต่างๆ ในราชอาณาจักร จำนวน 178 แห่ง น้ำทิพย์จากดอยขะม้อ ยังถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ 1 ใน 7 แห่งที่ได้มาจากแม่น้ำและแหล่งน้ำสำคัญและเป็นสิริมงคลของประเทศ เพื่อนำมาทำน้ำพุทธมนต์ ณ มหาเจดีย์สถานอันเป็นมหานคร โบราณ 7 แห่ง ได้แก่ น้ำจากแม่น้ำป่าสัก ตำบลท่าราบ น้ำจากทะเลแก้ว พิษณุโลก น้ำโชคชมภู บ่อแก้ว บ่อทอง สวรรคโลก น้ำจากแม่น้ำนครไชยศรี นครปฐม น้ำจากบ่อวัดหน้าพระลาน บ่อวัดเสมาชัย บ่อวัดเสมาเมือง นครศรีธรรมราช น้ำจากบ่อวัดพระธาตุพนม นครพนม และ น้ำทิพย์จากดอยขะม้อ ลำพูน
ประเพณีการตักน้ำจากบ่อ น้ำทิพย์ดอยขะม้อ ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุ หริภุญชัย มีขึ้นในเดือน 8 เหนือ ขึ้น 14 ค่ำหรือเดือนแปดเป็งของทุกปี ส่วนประเพณีตักน้ำทิพย์จากดอยขะม้อนี้มีในเดือนแปดเหนือขึ้น 12 ค่ำก่อนสรงน้ำ พระบรมธาตุหริภุญชัย 3 วัน วันประเพณีตักน้ำจากบ่อน้ำทิพย์ในเวลาเช้ามืดจะต้องนิมนต์พระสงฆ์ จำนวน 9 รูป ขึ้นไปเจริญพระพุทธมนต์ ณ บริเวณยอดดอยขะม้อ จากนั้นตอนค่ำ เวลา 18.00 น. มีการทำพิธีบวชพราหมณ์ จำนวน 4 ตน ซึ่งจะต้องนอนค้างคืน 1 คืน และประมาณพราหมณ์ ทั้ง 4 ตน จะได้ลงตักน้ำทิพย์ ซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำ และบริเวณลานผาลาด จะมีคณะที่คอยรอรับน้ำทิพย์อยู่เชิงบันไดนาค โดย พราหมณ์ทั้ง 4 ตน จะตักน้ำทิพย์ใส่คัน โทยขึ้นเสลี่ยงแบกหามลงมา เพื่ออัญเชิญขึ้นรถบุษบก พอถึงจุดผาลาดมีการใส่บาตรตอนเช้า และจะมีการทำพิธี สมโภชตอนสายตลอดทั้งวัน และช่วงเย็นจะมีการเคลื่อนขบวนไปยังวัดพระธาตุหริภุญชัย โดยจะมีการนำน้ำทิพย์ จากดอยขะม้อเข้าร่วมขบวนกับน้ำสรงพระราชทาน

การเดินทางไปยังดอยขะม้อ เริ่มจากถนนซุปเปอร์สาย เชียงใหม่ – ลำปาง แยกเข้าถนนสาย นิคมอุตสาหกรรม ไปถึงดอยขะม้อระยะ ทางประมาณ 10 กิโลเมตร การจะขึ้นไปบนดอยขะม้อสามารถขึ้นได้ทางบันได พญานาค เมื่อไปถึงยอดดอยจะ สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองลำพูน ได้โดยทั่ว บทความโดย จักรพงษ์ คำบุญเรือง

ร่วมแสดงความคิดเห็น