bloggang.com mainmenu search



ปลายเดือนสิงหาคม ถนนสายลำปางเชียงใหม่เขียวได้ใจจริง ๆ








กำลังลงเขาขุนตานสู่ลำพูน








ที่ราบลุ่มน้ำทา ... อ.แม่ทา จ.ลำพูน








แวะถ่ายรูปสถานีรถไฟศาลาแม่ทา ต.ทาสบเส้า














อยู่ระหว่าง








ด้านนี้ ไปหนองหล่ม - ลำพูน - เชียงใหม่








ด้านนี้ จากผ่านทางลอดใต้ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ไปทาชมภู - ถ้ำขุนตาน - ลำปาง 








ยังเป็นเทือกเขาขุนตาน

เมื่อแม่น้ำทา ไหลผ่าน ตำบลต่าง ๆ ของ อ.แม่ทา ดังนั้นทุกตำบลจึงมีคำว่าทา


ทา คือแม่น้ำทา สบ แปลว่า มาไหลลง เส้า คือแม่น้ำเส้า

ตำบลทาสบเส้า คือ ตำบลที่แม่น้ำเส้าไหลลงแม่น้ำทา


หล่าย แปลว่า บริเวณ หรือแถว ๆ (มั้ง) ... บ้านหล่ายทา แปลว่า แถว ๆ หรือด้านแม่น้ำทา

คือหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บริเวณเม่น้ำทา ณ ที่ แม่น้ำเส้าไหลลงแม่น้ำทา








แม่น้ำทา ไหลไปลงแม่น้ำปิง ที่ อ.ป่าซาง

ถนนสายนี้เลียบน้ำทาไปเรื่อย ๆ จนถึงป่าซาง








นาริมขุนตาน








เวลาเยอะขับข้ามแม่น้ำทาไปหานาสวย ๆ 








และนี่คือแม่น้ำทา








และนี่คือนาสวย ๆ








และนี่คือนาสวย ๆ 








แวะตลาดทาทุ่งหลวง

พยายามจะถ่ายภาพ "รถเคื่องพ่วงเปี๊ยด" หลายครั้งแล้ว คราวนี้จะจะ

มอเตอร์ไซด์ภาษาเหนือเรียกรถเคื่อง เครื่องนั่นแหละ

กระบุงเรียกเปี๊ยด








หางหมูทอด เหมือนแคบหมูเลย








และนี่คือแม่น้ำทา








และนี่คือนาที่แสนสวย








รถไถใส่ยางไว้เดินถนน ถนนก็ไม่เสีย รถไถก็ไม่เสีย วิน-วิน








ผ่านวัดสวย ๆ








กำลังจะถึงป่าซาง ซ้ายมือ เห็นหน้าบันหอไตรเก่า ๆ สวย ๆ แวบเลี้ยวกลับไปชม








เป็นวัดหมูเปิ้ง ... เปิ่ง คือ พึ่ง

เดิมเคยเป็นวัดร้าง มีหมูป่ามาอาศัยอยู่ จึ่งตั้งชื่อว่า หมูเปิ้ง

เพราะมีคำว่าหมู คนที่เกิดปีกุลก็นิยมมาไหว้พระที่่วัดนี้

โบสถ์สวย และใหญ่มาก ปกติโบสถ์ทางเหนือจะเล็กและไม่ให้ผู้หญิงเข้า














โบราณสถานที่เหลืออยู่เป็นซุ้มประตูโขง








ก่ออิฐฉาบปูน

ตรงกลางประตูมีรูปปั้นหมู เราเข้าใจว่าคงสร้างขึ้นภาพหลังที่มาบูรณะวัด

เพราะซุ้มประตูโขงเป็นซุ้มประตูทางเดินเข้าวัด













ลวดลายตรงกลาง เป็น ลายประจำยาม ... คล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

กาบบนและล่างเป็นลายเครือล้านนา ... ขมวดกลมแล้วเลื้อยออกไป








และอีกโบราณสถานคือหอพระไตรปิฎก








ใต้ถุนชั้นล่างมีพระประธานแบบพม่า ... องค์สีขาว คิ้วโก่ง ปากสีแดงเข้ม

แสดงว่าใช้ประกอบศาสนกิจด้วย








หลังคาคลุมสองชั้น








หน้าบันแกะสลักไม้เป็นลายพันธุ์พฤกษาประดับแก้วอังวะ หรือแก้วจืน

เป็นแก้วที่บางมีสีสันตอกตะปูตรึงได้ โดยผ่านการหุง ตะก่อนอาจนำมาจากพม่า








ไม้แกะฉลุดูสวยนุ่มนวลบอบบาง















ต้นไม้ต้นนี้ตัดแบบอนุรักษ์มาก








บนสะพานข้ามน้ำปิง ระหว่าง อ.ป่าซาง ลำพูน และ อ.ดอยหล่อ เชียงใหม่














ดอยอินทนนท์ กลางรูปค่อนมาทางขวาคือดอยหัวเสือ














เก็บภาพดอยรอบเชียงใหม่ก่อนต้นไม้ข้างทางจะโตจนบังหมด














บนเส้นทางบายพาสที่ตัดระหว่าง อ.สันป่าตอง และ อ.แม่วาง

มีเจดีย์เก่าอยู่ทางตะวันตกของถนน วันนี้จึงแวะถ่ายภาพ









เป็นเจดีย์ร้าง มีร่องรอยถูดขุด ชื่อเจดีย์กู่คำ ซึ่งใกล้ ๆ มีวัดร่องซุ้ม วัดเก่าแต่ไม่ร้าง

ฐานเขียงสี่เหลี่ยม เรือนธาตุสี่เหลี่ยมย่อมุม รองรับทรงระฆัง








เหตุที่มีเจดีย์เก่าอยู่กลางทุ่ง เพราะ

วัดร่องซุ้ม และวัดกู่คำ เป็นศูนย์กลางของเวียงแม เวียงโบราณยุคหริภุญไชย

ซึ่ง เมืองโบราณเหล่านั้นได้แก่ เวียงท่ากาน เวียงกุมกาม เวียงเถาะ เวียงมะโน เวียงแม



เครดิต กูเกิลแมป





จึงไปค้นภาพเจดีย์ที่คล้ายกันในเวียงท่ากาน พบเจดีย์ที่ที่วัดอุโบสถ








มุมนี้ปูนด้านบนที่โบกไว้ เหลือมากกว่าทุกด้าน







กลับเชียงใหม่คราวหน้าคงต้องไปสำรวจ เวียงแม เวียงมะโน เวียงเถาะเสียแล้ว



Create Date :04 กันยายน 2558 Last Update :17 เมษายน 2565 15:38:19 น. Counter : 412 Pageviews. Comments :20