bloggang.com mainmenu search
ชื่อภาษาไทย : เอื้องช้างน้าว เอื้องตาควาย

ชื่อภาษาอังกฤษ : Dendrobium pulchellum Roxb.ex.Lindl.

แหล่งกำเนิด :
ภาคใต้: สตูล
ภาคกลาง: สระบุรี อุทัยธานี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: เลย ขอนแก่น
ภาคเหนือ: เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก

การกระจายพันธุ์ : เนปาล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย อัสสัม เมียนมาร์ ไทย ลาว เวียตนาม มาเลเซีย

ลักษณะการเกิด : เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย มีการเจริญทางข้าง ชอบแสงแดดจัด พบอยู่บนกิ่งไม้ คบไม้ ในป่าดิบแล้งหรือป่าผลัดใบ

ลักษณะทั่วไป : ลำลูกกล้วยลักษณะกลม ยาวเรียว มีเส้นสีม่วงตามความยาวของลำลูกกล้วย ลำลูกกล้วยยาวประมาณ 1 - 2 เมตร
แตกก่อใหญ่มาก ลำแก่จะทิ้งใบ ใบยาวรี ยาวประมาณ 10 - 15 ซม. กาบใบมีเส้นสีม่วง ช่อดอกเกิดที่ปลายลำลูกกล้วยที่แก่
ช่อดอกห้อยลงแต่ละช่อมีดอกประมาณ 7 - 10 ดอก ขนาดดอกประมาณ 7 - 12 ซม. ดอกสีเหลืองอ่อนมีเส้นสีชมพูเรื่อ ๆ กระจาย
ขอบกลีบดอกเรียบปลายกลีบปากแผ่ออก มีขนทางด้านบนของกลีบปาก ส่วนทางด้านล่างของกลีบปากมีขนที่ขอบ มีแต้มสีเลือดหมูเข้ม
2 แต้มด้านในของกลีบปาก ผิวกลีบทุกกลีบเป็นมัน

ระบบราก : รากดิน

ฤดูดอกบาน : เดือนธันวาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์







Create Date :07 ธันวาคม 2554 Last Update :19 มีนาคม 2555 12:53:02 น. Counter : Pageviews. Comments :0