bloggang.com mainmenu search
ที่ตั้ง
        วัดพระธาตุพระลอตั้งอยู่ที่บ้านธาตุพระลอ หมู่ ๑ ตำบลบ้านกลาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่
ประวัติ:
        วัดพระธาตุพระลอเป็นที่ตั้งของพระธาตุพระลอซึ่งมีประวัติเกี่ยวเนื่องกับเวียงสองซึ่งเป็นชุมชนโบราณขนาดใหญ่ นอกกำแพงเมืองของเวียงสองโบราณทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีซากเจดีย์เก่าแก่ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นอนุสรณ์ความรักของพระลอแห่งแมนสรวงกับพระเพื่อน พระแพง พระธิดาเมืองสรองซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเรื่องจริงและเป็นที่มาของวรรณคดีสมัยอยุธยาเรื่องลิลิตพระลอ  ในอดีตชาวบ้านเรียกว่า “ธาตุหินส้ม” เพราะเดิมมีซากอิฐและหินกองใหญ่ซึ่งมีลักษณะเป็นหินส้ม (มีรสเปรี้ยว) อยู่และเรียกชื่อเมืองนี้ว่าเมืองหินส้ม  เวียงหินส้มถูกทิ้งร้างมานานนับ ๑๐๐ ปีก่อนจะมีผู้มาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนขึ้นใหม่  พระธาตุพระลอที่เห็นอยู่ในปัจจุบันสร้างขึ้นราว พ.ศ. ๒๔๖๐ โดยประชาชนอำเภอสองได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์ให้นายส่างไสเป็นหัวหน้าช่างก่อสร้างเจดีย์ลักษณะศิลปะพม่าขึ้นทับองค์เดิม

ที่ตั้งภาพจิตรกรรม: 
ในวิหาร ศาลาโครงการสวดมนต์เฉลิมพระเกียรติและศาลาพระลอ

เนื้อหา: 
        ในวิหาร  บริเวณเหนือหน้าต่างและประตูเขียนภาพนิทานพื้นบ้านทางเหนือ ๓ เรื่อง โดยผนังตรงข้ามพระประธานเหนือประตูทางเข้าเล่าเรื่องเต่าน้อยอองคำ ผนังฝั่งขวาพระเรื่องก่ำก๋าดำและฝั่งซ้ายพระเรื่องแสงเมืองหลงถ้ำ  สำหรับผนังบริเวณที่อยู่ระหว่างหน้าต่างและประตู มีการเขียนเล่าเนื้อหาของชาดกทั้ง ๓ เรื่องอยู่ ๕ ผนัง  ที่เหลือเป็นภาพเจ้าคณะอำเภอสองตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๖ จนถึงปัจจุบัน
        ในศาลาโครงการสวดมนต์เฉลิมพระเกียรติ เขียนเล่าประเพณี ๑๒ เดือนของทางเหนือห้องละ ๑ เดือนโดยแทรกภาพวิถีชีวิตด้านต่างๆ ในแต่ละเดือนไว้ด้วย
        ในศาลาพระลอ เขียนเล่าวรรณคดีเรื่องพระลอ



วิหาร

พระประธาน

ก่ำก๋าดำช่วยตายายทำงาน

ก่ำก๋าดำในสวนหลวง

แสงเมืองหลงถ้ำ



นางเกี๋ยงคำกับนกแขกเต้า



เต่าน้อยอองคำ



ตัวอย่างภาพ
เจ้าคณะอำเภอสอง

โครงการสวดมนต์
เฉลิมพระเกียรติ

ภายในศาลา



บุญปอยน้อย



บุญปอยหลวง



ตำข้าว

กระบวนการทอผ้า

ทำใบยาสูบ

ตลาด

ศาลาพระลอ 

ภายในศาลาพระลอ

ปู่เจ้า

พระลอชมสวน


Wat Phra That Phra Lor, Phrae
Location:
          Mu 1, Tambon Ban Klang, Amphoe Song, Phrae.

Location of murals: Inside the Vihara (the main assembly hall) as well as in 2 pavilions.

Stories: 
          Above the doors and windows in the Vihara are 3 popular Northern folktales: Kum Ka Dum, Saeng Muang Long Thum (Saeng Muang Lost in a Cave) and Tao Noi Orng Khum (The Little Gold Turtle).  The areas between doors and windows are used to write the details of the 3 stories and paint the portraits of the Song District Buddhist Deans from 1933 to present.           In one pavilion, one can find the 12 months’ traditions and ways of life in the North whereas in the other, the story of Phra Lor, a Thai classic literature.

แผนที่


(คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น)









บล็อค "ชวนชม"  จะเปลี่ยนวัดใหม่ทุกวันที่ ๑, ๑๑  และ ๒๑ ของเดือนนะคะ
A new set of murals will be uploaded on the 1st, 11th and 21st of the month.

ขอขอบคุณกรมส่งเสริมวัฒนธรรมสำหรับการสนับสนุนเบื้องต้นในการจัดทำคลังภาพจิตรกรรม
Create Date :28 พฤษภาคม 2558 Last Update :21 สิงหาคม 2558 0:37:26 น. Counter : 1139 Pageviews. Comments :0