bloggang.com mainmenu search
วัดป่าตาล

เลขที่. 49 หมู่.4 ตำบล.บวกค้าง อำเภอ.สันกำแพง จังหวัด.เชียงใหม่





1611. วัดป่าตาล หมู่.4 ตำบล.บวกค้าง อำเภอ.สันกำแพง จังหวัด.เชียงใหม่





1623. ห้องสมุด พุทธศาสนา วัฒนธรรม วัดป่าตาล




1614. ประตูทางเข้า วัดป่าตาล ม.4 ต.บวกค้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่





1612. พิพิธภัณฑ์จาวยอง ปั๊บสาใบลาน






1615. ถนน.บริเวณหน้าวัด วัดป่าตาล ต.บวกค้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่





1616. ร้านค้าอยู่ฝั่งตรงกันข้ามกับวัดป่าตาล ที่ผมชอบใจคือ ร้านนี้มีป้ายบอกว่า ไม่จำหน่าย สุรา เบียร์ และ บุหรี่ แบบนี้ถือเป็นการดูแลสังคมโดยตรง





1617. ประตูทางเข้า วัดป่าตาล ม.4 ต.บวกค้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่






1618. ป้ายชื่อ วัดป่าตาล จารึกด้วย อักษร "เมือง"






1619.





1620.





1621. ครูบาศรีวิชัย





1622. พระวิหาร วัดป่าตาล ม.4 ต.บวกค้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่






1623. ห้องสมุด พระพุทธศาสนา วัฒนธรรม วัดป่าตาล





1624.





1625. ประตู พระวิหาร วัดป่าตาล





1626. รูปหล่อ ครูบาศรีวิชัย





1627. ภายในพระวิหาร วัดป่าตาล





1628. เข้าใจว่า เป็นสถานที่จัดเตรียมเพื่อทำพิธี "เสดาะเคราะห์" ครับ






1629.





1631. พระประธาน แห่ง พระวิหาร วัดป่าตาล





1632. 1 ในภาพจิตรกรรมฝาผนังภายใน พระวิหาร วัดป่าตาล





1633.




1634.





1635.





1636.





1637. ชมรม สมุนไพรชาวยอง





1638.





1639.





1640.






1641. พระวิหาร วัดป่าตาล





1642.





1643. พระเจดีย์ แห่ง วัดป่าตาล ม.4 ต.บวกค้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่





1644. พระเจดีย์ แห่ง วัดป่าตาล ม.4 ต.บวกค้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่





Moonfleet ได้มาเยือน วัดป่าตาล ม.4 ต.บวกค้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่

และบันทึกภาพ ในวันเสาร์ ที่ 15 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553



ข้อมูลเพิ่มเติมจาก //www.watpatan.com/?cid=293735


ประวัติและความเป็นมาวัดป่าตาล







วัดป่าตาล ตั้งอยู่เลขที่ 49 บ้านป่าตาล หมู่ที่ 4 ต.บวกค้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ สังกัดคณะ สงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 2 ไร่ 3 งาน 37 ตารางวา อาณาเขตมีที่ธรณีสงฆ์ 1 แปลง เนื้อที่ 1 ไร่ 84 ตารางวา วัดป่าตาลสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2325 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2487 มีคณะศรัทธา 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านป่าตาล บ้านต้นดู่และบ้านแม่แต รวม 300 หลังคาเรือน

วัดป่าตาลเริ่มสร้างขึ้นในคราวที่ชนพม่าไตยยองได้อพยพมาจากเมืองสิบสองปันนาในปี พ.ศ.2348 มาอยู่เมืองลำพูนและ บางส่วนได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ตามชายแดนเมืองเชียงใหม่ด้านทิศใต้ เช่นตำบลบวกค้างในปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิมบริเวณนี้เป็นป่าไม้ไผ่และหญ้าคา ขณะนั้นมีสองตายายมาอาศัยอยู่ทางทิศเหนือของวัดและปลูกฝักทองขึ้นปกคลุมขึ้นที่เป็นกู่ (เจดีย์ร้าง) จึงมองเห็นบริเวณนี้เป็นกู่คงเป็นวัดร้างมาก่อน สมควรจะเป็นวัดสืบต่อไปจึงได้ชักชวนกันแผ้วถางก่อสร้างวัดขึ้นมา และบริเวณที่เป็นกู่คือตรงที่พระประธานในวิหารของวัดทรงประทับอยู่มาจนถึงปัจจุบันนี้





ยุครุ่งเรืองของวัดป่าตาลเมื่อในอดีต สมัยเจ้าอธิการคำอ้าย ปุญญทินโน เป็นเจ้าอาวาสท่านครองวัดนี้นานกว่า 60 ปี (พ.ศ.2450–2513) ได้ทำการสร้างถาวรภายในวัดให้รุ่งเรืองมีพระภิกษุเข้ามาบวชอยู่จำพรรษาอยู่เป็นจำนวนมากจนขนาดที่ว่าวัดใกล้เคียงที่ขาดพระอยู่จำพรรษาต้องมาขอเอาพระจากวัดป่าตาลไปอยู่ อย่างเช่นวัดพญาชมพู อำเภอสารภี เมื่อในอดีตว่าเว้นเจ้าอาวาสศรัทธาชาวบ้านได้มานิมนต์เอาพระอธิการดวงดี สุมโน จากวัดป่าตาลไปเป็นเจ้าอาวาส พระครูรัตนถิราจาร(ครูบาอิ่นแก้ว กาวิโร) วัดศรีดอนมูล อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ก็บวชที่วัดป่าตาลแล้วได้ย้ายไปอยู่ที่เชียงแสนและเป็นเจ้าอาวาสอยู่วัดศรีดอนมูล ดังนั้นพอที่จะแสดงให้เห็นว่าวัดป่าตาลในสมัยก่อนมีความรุ่งเรืองมาตามลำดับ โดยมีเจ้าอาวาสครองวัดและมีพระภิกษุอยู่จำพรรษาอยู่มิได้ขาดจนถึงปัจจุบัน

การเดินทางมา เมื่อท่านเดินทางมาจากตัวจังหวัด บนถนนสายเชียงใหม่-อำเภอแม่ออน สายตัดใหม่ (ถนนเส้นซุปเปอร์ดอนจั่น) ถึงบริเวณสี่แยกบ้านต้นดู่ ให้เลี้ยวขวา ก็จะเป็นหมู่บ้านต้นดู่และติดๆกันนั้นก็จะเป็นหมู่บ้านป่าตาล และวัดป่าตาล ภายในวัดก็จะมีถาวรวัตถุประกอบด้วยพระวิหาร มีพระประธานซึ่งก่อด้วยอิฐถือปูนที่มีพุทธลักษณะอันอ่อนช้อยงดงาม หมู่กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ศาลาบาตร ซุ้มประตูและกำแพง ปัจจุบันทางวัดได้ดำเนินการก่อสร้างพระธาตุเจ้าจอมยอง และวิหารเพื่อไว้ประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่คู่วัดขึ้น นอกจากนั้นยังมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่จัดแสดงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวยองเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ให้กับชุมชนและผู้ที่สนใจทั่วไปได้เยี่ยมชม





ปัจจุบันวัดป่าตาลมีพระอาจารย์สมุห์มงคล ฐิตมฺงคโล เป็นเจ้าอาวาส และเป็นผู้ที่ริเริ่มในการอนุรักษ์และเก็บร่วมรวมข้าวของเครื่องใช้ในวิถีชีวิตของคนยองมาจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านขึ้น ร่วมถึงเป็นผู้ที่มีบทบาทในการส่งเสริมวัฒนธรรมและให้ลูกหลานชาวยองให้รู้จักขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวยองตลอดจนการพูดภาษายอง

ลำดับเจ้าอาวาสวัดป่าตาล

1. ครูบาคำ (มาจากเมืองแพร่ )
2. ครูบาจ๋อม
3. ครูบาปัน
4. เจ้าอธิการคำอ้าย ปุญญทินโน พ.ศ. 2450 -2513
5. พระอธิการบุญทา อินทเนตโต พ.ศ.2513 - 2515
6. พระอธิการจันตา อินทเนตโต พ.ศ.2515 - 2536
7. พระอธิการประเสริฐ ทพพชาติโก พ.ศ. 2536 – 2539
8. พระอธิการไพศาล พิมพสิริวณโณ พ.ศ.2539-2547
9. พระอธิการมงคล ฐิตมงฺคโล พ.ศ. 2547 - ถึงปัจจุบัน




ปัจจุบัน มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่ จำนวน 2 รูป สามเณร จำนวน 5 รูป รวม 7 รูป

พระสมุห์มงคล ฐิตมงฺคโล
พระเลื่อน สุภทฺโท
สามเณรญาณวิทย์ วงค์ริยะ
สามเณรศรีณรงค์ ก้างออนตา
สามเณรนิรุธ เบ็ญชา
สามเณรวีระพงศ์ แก้วเงิน
สามเณรภากร ใจชมพู
พระเลื่อน สุภทฺโท อายุ 60 พรรษา 5 กำลังศึกษานักธรรมชั้นตรี สามเณรทั้ง 5 รูป กำลังศึกษานักธรรมชั้นโทและชั้นเอก และกำลังศึกษาพระปริยัติธรรมโรงเรียนบาลีสาธิต วัดสวนดอก อ.เมือง จ.เชียงใหม่






คำขวัญวัดป่าตาล

“ส่งเสริมการศึกษา วิทยากล้าแกร่ง
แหล่งรวมธรรมะ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
พิพิธภัณฑ์ชาวยอง”


วัดป่าตาลเป็นสถานที่ตั้ง

1. สำนักงานคณะสงฆ์ตำบลบวกค้าง
2. ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
3. พิพิธภัณฑ์จาวยอง – ปั๊บสาใบลาน
4. แหล่งการเรียนรู้ศิลปะ ศาสนาและวัฒนธรรม
5. ห้องสมุดพุทธศาสนา
6. ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.)
7. ชมรมผู้สูงอายุตำบลบวกค้าง


Create Date :16 พฤษภาคม 2553 Last Update :16 พฤษภาคม 2553 18:55:47 น. Counter : Pageviews. Comments :3