bloggang.com mainmenu search
{afp}
document.body.background="//www.bloggang.com/data/lazycat/picture/1124160751.gif"
กล้วยไม้สกุลนี้ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1853 โดยนักพฤษศาสตร์ชาวอังกฤษ John Lindley ชื่อสกุลมาจากรากศัพท์ภาษากรีก akampes แปลว่าไม่ยือหยุ่น ซึ่งเป็นการอ้างถึงลักษณะดอกที่มีขนาดเล็กแต่แข็งแรง ทั่วโลกมี 6 ชนิด กระจายพันธุ์อยู่ในทวีปแอฟริกาและเอเชีย ประเทศไทยเราพบอยู่ 4 ชนิด




เอื้องตีนตุ๊กแก, ช้างสารภีน้อย
Acampe papillosa


ลักษณะลำต้นมีการเจริญทางปลายยอด ใบรูปขอบขนาน หนาและแข็ง ปลายใบบุ๋มลึก ช่อดอกแบบเชิงหลั่น มี 10-15 ดอก ช่อดอกสั้นมาก ดอกกว้าง 0.8 เซ็นติเมตร สีเหลืองอมน้ำตาลแดงพาดขวาง กลีบเลี้ยงรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กลีบดอกรูปแถบ กลีบปากรูปขอบขนานสีขาวมีจุดสีม่วงอ่อนกระจาย ผิวด้านบนมีตุ่มเล็กจำนวนมาก โคนกลีบมีเดือยขนาดเล็ก ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม



แหล่งที่สามารถพบเอื้องตีนตุ๊กแก หรือช้างสารภีน้อยได้นั้นคือ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน อุดรธานี นครราชสีมา มุกดาหาร และกาญจนบุรี ลักษณะนิสัยคือจะเกาะไม้อิงอาศัย พบได้บ่อยตามป่าผลัดใบ





ช้างสารภี, เอื้องเจ็ดปอย
Acampe rigida


ช้างสารภีน้อย หรือเอื้องเจ็ดปอย มีลักษณะการเจริญเติบโตทางปลายยอด ใบรูปขอบขนาน หนาและแข็งมาก ปลายใบเว้าบุ๋ม ช่อดอกแบบเชิงหลั่นออกที่ข้างลำต้น มี 5-10 ดอก ดอกกว้าง 1.5 เซ็นติเมตร สีเหลืองอมน้ำตาล มีลายสีน้ำตาลพาดขวาง กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน กลีบปากสั้นเป็นรูปรี ปลายกลีบมีตุ่มเล็กจำนวนมาก ออกดอกช่วงเดือนตุลาคมถึงมกราคม



แหล่งที่สามารถพบได้ คือ เชียงใหม่ ลำปาง สกลนคร กาญจนบุรี และสตูล ลักษณะนิสัยจะเกาะไม้อิงอาศัย พบบ่อยตามป่าผลัดใบและป่าดงดิบ

แหล่งข้อมูล : คู่มือกล้วยไม้ สลิล สิทธิสัจจธรรม นฤมล กฤษณชาญดี (คู่มือฉบับพกพาเพื่อการดูกล้วยไม้ในธรรมชาติ 318 ชนิด)
Create Date :16 สิงหาคม 2548 Last Update :16 สิงหาคม 2548 11:28:19 น. Counter : Pageviews. Comments :7