bloggang.com mainmenu search

พระอริยสงฆ์ผู้เป็นตนบุญ ผู้ที่มีความพรั่งพร้อมด้วยลาภยศ สรรเสริญ มาตั้งแต่เกิด ผู้มีชาติกำเนิดเป็นเจ้านายชั้นสูงทางเหนือ แต่มีจิตใจใฝ่ในพระธรรม จนต้องขอใช้ชีวิตที่เหลือภายใต้ร่มกาสาวพัสต์ จนได้รับการยกย่องเป็นพระอริยสงฆ์แห่งล้านนา เป็นเจ้าพระคุณท่านไหนไปไม่ได้ นอกจาก “หลวงพ่อเกษม เขมโก”




หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง | ศาสนาพุทธ, ภาพหายาก, ศรัทธา
 

ปฏิปทาและจริยาวัตรที่โดดเด่นของหลวงพ่อเกษม เขมโก

ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความกตัญญูรู้คุณ ความสันโดษ มักน้อย ความเมตตากรุณาต่อสรรพสิ่ง ความไม่ถือตัว อารมณ์ขัน ความกล้าแข็งของอำนาจจิต “แยกกายออกจากจิต” ความมุ่งมั่นตั้งใจและความอดทนอดกลั้น






สวัสดีค่ะเพื่อนๆ วันนี้พาเพื่อนๆไปนมัสการหลวงพ่อเกษมเขมโกที่สุสานไตรลักษณ์กันค่ะ

ก่อนอื่นมาอ่านประวัติของหลวงพ่อแต่พอสังเขปก่อนนะคะ

 ประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก

หลวงพ่อเกษม เขมโก กำเนิดเมื่อวันพุธที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๕ เป็นบุตรชายคนแรกของเจ้าน้อยหนู และเจ้าแม่บัวจ้อน เมื่อให้กำเนิดลูกชายคนแรกจึงตั้งชื่อให้ว่า “เกษม” เนื่องด้วยเจ้าน้อยหนู และเจ้าแม่บัวจ้อน มีเชื้อสายของเจ้าผู้ครองเมือง จึงทำให้เด็กน้อยเกษมได้รับการยกย่องให้มีศักดิ์เทียบเท่ากับเจ้าชายทางเหนือ


ครูบาเจ้าเกษม เขมโก(หลวงพ่อเกษม เขมโก) | พระเครื่อง-เครื่องราง-ของขลัง  (หนึ่ง ตู้ม้า)



 

ในวัยเด็กเจ้าเกษม เป็นเด็กรูปร่างเล็ก ผิวขาว แต่แข็งแรง เฉลียวฉลาด เรียนจบชั้นประถมที่ ๕ ของโรงเรียนบุญทวงศ์อนุกุล อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เริ่มบวชครั้งแรกเมื่ออายุได้ ๑๓ ปี ด้วยเหตุที่ว่าเจ้าอาวาสวัดป่าดัวะ จังหวัดลำปาง มรณภาพ เป็นการบวชหน้าไฟเป็นระยะเวลา ๗ วัน



2336.ภาพมงคลหาชมยาก หลวงพ่อเกษม เขมโก

คำทำนายของครูบาศรีวิชัย

เมื่อราว ๆ พ.ศ.๒๔๖๗ นักบุญแห่งล้านนา ครูบาศรีวิชัย เดินทางไปวัดพระแก้วดอนเต้า จังหวัดลำปาง เพื่อไปบูรณะปฏิสังขรณ์พระวิหารหลวง ได้ทำนายเอาไว้ว่า “วันหน้า ตนบุญจะมาเกิดในเมืองเวียงละกอน บ่าเดียวยังน้อยอยู่” ชาวลำปางจึงเฝ้าคอยการมาของตนบุญอย่างใจจดใจจ่อ

คำว่า “ตนบุญ” หมายถึง นักบุญ นักบวช ที่มีความเคร่งครัด มีวัตรปฏิบัติน่าศรัทธาเลื่อมใส




เกร็ดประวัติ หลวงพ่อเกษม เขมโก โดย อ.เล็ก พลูโต 05


 

อีกสองปีต่อมาเจ้าเกษมได้บวชบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบุญยืน โดยฝากตัวเป็นศิษย์กับท่านครูบาเหมย (สุธรรม) เจ้าอาวาสวัดบุญยืน สามเณรเกษมมีปฏิปทา วัตรปฏิบัติที่งดงามเรียบร้อย ตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัย และพระปริยัติธรรม ทำให้สอบนักธรรมชั้นตรีได้ตั้งแต่อายุ ๑๗ ปี



รูปถ่ายเก่าหลวงพ่อเกษม เขมโก - Kaidee

 

เมื่อย่างเข้าอายุ ๒๑ ปี สามเณรเกษมได้ขออนุญาตกับโยมแม่ อุปสมบทเป็นพระภิกษุศึกษาพระธรรมต่อ ได้รับฉายาว่า “เขมโก” หลังอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้ฝึกปฏิบัติวิปัสสนา เพื่อดำเนินตามรอยพระพุทธเจ้าเพื่อให้เข้าถึงพระธรรม




พ.ศ. 2479 ท่านสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก ท่านเรียนรู้ภาษาบาลีจนสามารถเขียนและแปลได้ รวมทั้งสามารถแปลเป็นภาษาบาลีได้เป็นอย่างดี แต่ท่านไม่ยอมสอบเอาวุฒิ จนครูบาอาจารย์ทุกรูปต่างเข้าใจว่าพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ไม่ต้องการมีสมณะศักดิ์สูง ๆ เรียนเพื่อจะนำเอาวิชาความรู้มาใช้ในการศึกษาค้นคว้าพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาเท่านั้น





2372.อำนาจจิตหลวงพ่อเกษม


 

เมื่อสำเร็จทางด้านปริยัติธรรมแล้ว ท่านแสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนา จนกระทั่ง ท่านทราบข่าวว่ามีพระเกจิรูปหนึ่งมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนา คือ ครูบาแก่น สุมโน ท่านจึงฝากตัวเป็นศิษย์ ท่านได้ตามครูบาแก่น สุมโน ออกท่องธุดงค์ไปแสวงหาความวิเวกและบำเพ็ญเพียรตามป่าลึก จนถึงช่วงเข้าพรรษาซึ่งพระภิกษุจำเป็นต้องยุติการท่องธุดงค์ชั่วคราวท่านจึงต้องแยกทางกับพระอาจารย์ และกลับมาจำพรรษาที่วัดบุญยืนตามเดิม พอครบกำหนดออก ก็ติดตามอาจารย์ออกธุดงค์บำเพ็ญภาวนา



หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง | พระพุทธเจ้า, ศาสนาพุทธ, ย้อนยุค



 

ต่อมา เจ้าอธิการคำเหมย เจ้าอาวาสวัดบุญยืน มรณภาพลง ทางคณะสงฆ์ได้ประชุมกันเพื่อหาเจ้าอาวาสรูปใหม่และต่างลงความเห็นพ้องต้องกันเห็นควรว่า พระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อท่านได้รับเลือกเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ท่านก็ไม่ยินดียินร้าย แต่ท่านก็ห่วงทางวัดเพราะท่านเคยจำวัดนี้ ท่านเห็นว่าถือเป็นภารกิจทางศาสนาเพราะท่านเองต้องการให้พระศาสนานี้ดำรงอยู่ จึงยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืน หลังจากนั้นท่านก็ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสหลายครั้งเนื่องจากท่านอยากจะออกธุดงค์ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ดังนั้น ท่านจึงออกจากวัดบุญยืนไปที่ศาลาวังทานพร้อมเขียนข้อความลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาสไว้ด้วย










รูป​ถ่ายหลวงพ่อเกษม​ เขมโก​ (ยืน)​ วัดนางเหลียว​ ปี​ 2514​ ขนาด​ 3.5×5.5​  ซม.​ พร้อมซองกระดาษทองเดิมๆ รูปนี้จัดเป็น​ (รูปถ่ายสี)​ ยุค​ต้นๆของหลวง พ่อเกษมด้วยครับ | ID:5640942788804608 | พระชุดหลวงพ่อพรหม-หลวงปู่ โต๊ะ-ท่านเจ้าคุณนร-หลวงพ่อเกษม-หลวงปู่แหวน ...

โดยการถือวัตรปฏิบัตรธุดงควัตร เมื่อการปฏิบัติก้าวหน้า หลวงพ่อจึงออกธุดงค์กับท่านครูบาแก่น อดีตเจ้าอาวาสวัดประตูป่อง ส่วนในช่วงที่ไม่ได้ออกธุดงค์ จะฝึกปฏิบัติโสสานิกธุดงค์ (การถืออยู่ในป่าช้าเป็นวัตร)



รูปถ่ายพระเอก หลวงพ่อเกษม เขมโก ยุคต้น ๆ คมชัด สวย,สมบูรณ์ ขนาด 5*7นิ้ว -  พระเมืองเหนือ | บริษัท พระเมืองเหนือ จำกัด

หลวงพ่อเกษม เขมโก ออกเดินธุดงค์ไปปฏิบัติในป่าช้าหลาย ๆ ที่ มีเรื่องอัศจรรย์มากมาย จนกระทั่งออกธุดงค์มาจนถึงที่ป่าช้าประตูม้า เป็นสถานที่ที่มีบรรยากาศเงียบสงัด สงบ ทำให้หลวงพ่อเกษม เขมโก ตัดสินใจเลือกเป็นสถานที่ปฏิบัติโสสานิกธุดงค์สมถกัมฐาน และวิปัสสนากรรมฐานเรื่อยมา


Photo 2

ป้ายสุสานไตรลักษณ์ลำปาง ตั้งอยู่ที่ ถนนลำปาง-แจ้ห่ม ต.เวียงเหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง 52000




พร... - ผู้นิยมพระเครื่องพระบูชา หลวงพ่อเกษม เขมโกและพระทั่วไป | Facebook




หลวงพ่อเกษม เขมโก เป็นพระสายวิปัสสนาธุระ ไม่ยึดติดแม้แต่สถานที่ ท่านได้ปฏิบัติธรรม ณ สุสานไตรลักษณ์ตลอดชนชีพ ท่านปฏิบัติศีลบริสุทธิ์ตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ติดยึดในกิเลสทั้งปวง ท่านเป็นพระที่เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดลำปางและพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ



รูป​ถ่ายหลวงพ่อเกษม​ เขมโก​ (ยืน)​ วัดนางเหลียว​ ปี​ 2514​ ขนาด​ 3.5×5.5​  ซม.​ พร้อมซองกระดาษทองเดิมๆ รูปนี้จัดเป็น​ (รูปถ่ายสี)​ ยุค​ต้นๆของหลวง พ่อเกษมด้วยครับ | ID:4865208143052800 | พระชุดหลวงพ่อพรหม-หลวงปู่ โต๊ะ-ท่านเจ้าคุณนร-หลวงพ่อเกษม-หลวงปู่แหวน ...




หรือแม้กระทั่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ก็ทรงมีความเคารพศรัทธาในความที่ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ได้เคยเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการท่านหลายครัง


เกร็ดธรรมน่ารู้ : พระราชปุจฉา วิสัชนาธรรม และวิธีภาวนา ของในหลวง ร.9 กับ หลวงพ่อเกษม เขมโก

ในสถานที่แห่งนี้หลวงพ่อเกษม ได้ให้ชื่อใหม่ว่า “สุสานไตรลักษณ์” และที่นี่เองเป็นที่หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้ละสังขารลงเมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๙ ในเวลา ๑๙.๔๐ น. สิริรวมอายุ ๘๓ ปี ๑ เดือน ๑๗ วัน ๖๓ พรรษา ศิษยานุศิษย์ได้เก็บรักษาสังขารของหลวงพ่อเกษม เขมโก ไว้ที่ ณ สุสานไตรลักษณ์ เพื่อให้ศิษยานุศิษย์และญาติโยมที่เคารพศรัทธาได้เข้ามากราบนมัสการ

 Photo 8

สรีระของหลวงพ่อถูกบรรจุไว้ภายในโรงแก้วเพราะไม่เน่าไม่เปื่อย




Photo 7



"ท่านเขมโกภิกษุ หลวงปู่เกษม หรือหลวงพ่อเกษม เขมโก ที่เราท่านเคารพบูชา และรำลึกภาวนาขอ บารมีจากท่านช่วยคุ้มครอง ปกป้องจากอันตรายยามเมื่อเกิดความทุกข์ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด เพราะบารมี หลวงพ่อที่เพียรเจริญวิปัสสนากรรมฐานด้วยความมานะบากบั่นยากที่จะมีผู้ปฏิบัติได้เสมือนนั้น สร้าง ศรัทธาและความเชื่อมั่นสูงยิ่งนัก" หลวงพ่อเกษมท่านเจริญวิปัสสนาด้วยถือสันโดษเป็นที่ตั้ง ใช้อำนาจจิต ควบคุมร่างกายเข้าสู่สมาธิภาวนา เบื้องหน้าเชิงตะกอน ท่านไม่ติดรสอาหารเมื่อมีผู้นำมาถวาย แม้อาหาร จะเสียจนราขึ้น ถ้าหลวงพ่อท่านยังมิได้แผ่เมตตาท่านก็จะรับประเคนบาตรแล้วแผ่เมตตาให้ หลวงพ่อ เป็นผู้มีศีลอันบริสุทธิ์ และเมตตาธรรมสูงส่ง ท่านหมดสิ้นแล้วกิเลสและเปี่ยมล้นด้วยบารมี ทุกวันนี้ หลวงพ่อยังเป็นดุจร่มโพธิ์ร่มไทรที่ให้ความร่มเย็นแก่พวกเราทุกคน "



 

Photo 3
 

ด้านหน้าของสถานปฏิบัติธรรมหลวงพ่อเกษมเขมโก

 







 

 

Photo 5


ด้านหน้าของมณฑปทรงไทยประยุกต์





 

 


Photo 9

มณฑปทรงไทยประยุกต์
















Photo 4

รูปปั้นท้าวเวสสุวรรณอยู่ทางด้านหลัง










ขอจากกันด้วยภาพนี้นะคะไว้พบกันใหม่บล็อกหน้าค่ะ








ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยือนและให้กำลังใจค่ะ

ขอขอบคุณประวัติและภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

ขอขอบคุณเพลงบรรเลงประกอบจากยูทูบ

ขอขอบคุณบีจีสวยๆจากบล็อกแกงค์

พบกันใหม่บล็อกหน้าค่ะ

สวัสดี

ความรู้ทั่วไป
Create Date :25 กุมภาพันธ์ 2565 Last Update :5 มิถุนายน 2565 13:08:13 น. Counter : 3674 Pageviews. Comments :22