bloggang.com mainmenu search
{afp}
เอื้องช้างน้าว
Dendrobium puchellum Roxb. ex Lindl.
มีชื่ออื่นๆเรียกอีก เช่น เอื้องคำตาควาย เอื้องตาควาย สบเป็ด


แหล่งที่พบในไทย ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคกลาง
ลักษณะ ต้นเป็นลำตรง หรือโค้งเล็กน้อย ยาวประมาณ 1 เมตร หรือมากกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางต้นประมาณ 1-1.5 ซม. ปลายเรียวขึ้นเป็นกลุ่มไม่มีทิศทางที่แน่นอน ใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก แผ่นใบหนาค่อนข้างเหนียว ใบมีสีเขียวอมน้ำตาล หรืออมม่วงแดง เรียงตัวกันเกือบตลอดลำต้น ช่อดอกเกิดปลายต้นเป็นพวงห้อยลง ขนาดช่อประมาณ 12-20 X 10-12 ซม. ดอกในช่อมี 5-10 ดอก ก้านดอกยาว 5-6 ซม. ขนาดดอกประมาณ 6 ซม. ผิวกลีบด้านในค่อนข้างมันวาว กลีบปากมีขนอ่อนนุ่ม ดอกบานทนประมาณ 5 วัน เป็นกล้วยไม้ที่สวยงามสะดุดตา

ออกดอกเดือน กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม

































































........................................................................................................
และเอื้องช้างน้าว บางต้น ที่แทนที่ดอกจะมีแต้มสองแต้มสีน้ำตาลเข้มที่กลีบปาก บางต้นก็ไม่มี และสีของดอก กลีบดอกก็ออกสีเหลืองนวลๆ สวยงามมาก แถมตาไม่มีอีกต่างหาก เราก็เลยเรียกว่า เอื้องช้างน้าวเผือก

ตัวอย่างเช่น รูปต่อไปนี้ สวยงามไปอีกแบบ
..............................................................


























Create Date :24 มีนาคม 2551 Last Update :5 เมษายน 2551 8:07:03 น. Counter : Pageviews. Comments :2