bloggang.com mainmenu search
สถานที่ท่องเที่ยว : วัดช้างล้อม อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย สุโขทัย, สุโขทัย Thailand
พิกัด GPS : 17° 25' 54.36" N 99° 47' 8.92" E



ดูแผนที่เพิ่มเติม






ได้เกริ่นตอนท้ายของบล็อกท่องเที่ยวไทยคราวที่แล้วว่า  Entry ในบล็อกท่องเที่ยวไทยจะพาไปวัดที่สำคัญที่สุดในอุทยาประวัติศาตร์ศรีสัชนาลัยครับ




วัดช้างล้อม อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย สุโขทัย





ที่ที่เราได้ไปเที่ยวกันมาแล้วก็มี



ประตูรามณรงค์

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=chubbylawyer&month=06-2016&date=10&group=44&gblog=2



วัดนางพญา

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=chubbylawyer&month=06-2016&date=14&group=44&gblog=3



วัดหลักเมือง วัดหน้าเมือง และ วัดป่าอุดมสัก

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=chubbylawyer&month=06-2016&date=19&group=44&gblog=4


วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=chubbylawyer&month=06-2016&date=23&group=44&gblog=5



วัดเจดีย์เจ็ดแถว

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=chubbylawyer&month=06-2016&date=29&group=44&gblog=6





อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยอยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองสุโขทัยขึ้นไปประมาณ50กิโลเมตรสามารถเดินทางไปได้2เส้นทางคือจากจังหวัดพิษณุโลกวิ่งตรงขึ้นไปใช้เส้นทางหมายเลข101โดยไม่แยกเข้าตัวเมืองสุโขทัยหรือจะแยกเข้าตัวเมืองสุโขทัยแล้วใช้เส้นทาง1201วิ่งเลียบแม่น้ำยมขึ้นไปผ่านท่าอากาศยานสุโขทัยเส้นทางนี้จะค่อนข้างคดเคี้ยวตามลำน้ำยมแต่ก็จะถึงอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยเลยถ้าวิ่งเส้น101จะต้องอ้อมขึ้นไปแล้ววกลงมาอีกทีครับแต่เส้นทางจะเป็นถนนที่ตรงมากกว่า



วัดช้างล้อม (ศรีสัชนาลัย) ตั้งอยู่ในกำแพงเมืองเก่าศรีสัชนาลัยในแนวแกนหลักของวัดสำคัญในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยเกือบๆจะอยู่กึ่งกลางของเมือง บริเวณที่ราบเนินเขาพนมเพลิง เนินเขาที่อยู่ในเขตกำแพงเมืองเก่าศรีสัชนาลัย - ที่ต้องมีวงเล็บท้ายชื่อวัดว่าศรีสัชนาลัยก็เพราะว่ามีชื่อวัดที่ซ้ำกันอยู่ด้วยก็เลยต้องวงเล็บชื่อเอาไว้ให้รู้ว่าเป็นที่ศรีสัชนาลัยครับ







เคยสันนิษฐานกันว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงประมาณปี พ.ศ. 1826 โดยพ่อขุนรามคำแหงโปรดให้ขุดพระธาตุที่ฝังอยู่กลางเมืองขึ้นมาให้ประชาชนบูชาแล้วฝังกลับลงๆไปและก่อพระเจดีย์ทับ



“1207 ศก ปีกุน ให้ขุดเอาพระธาตุออก ทั้งหลายเห็น กระทำบำเรอแก่พระธาตุได้เดือนหกวัน จึงเอาฝังในกลางเมืองศรีสัชนาลัย ก่อพระเจดีย์เหนือหกเข้าจึ่งแล้วตั้งเวียงผาสามเข้าจึ่งแล้ว...”



เมื่อมีการขุดสำรวจเจดีย์วัดช้างล้อม  (ศรีสัชนาลัย) ในปี พ.ศ. 2528 – 2529 พบเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หยวนอยูภายใต้เจดีย์ เครื่องถ้วยชามแบบนี้ผลิตขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 19 - 20 ประกอบกับการศึกษาศิลปกรรมอย่างอื่นของเจดีย์วัดช้างล้อม (ศรีสัชนาลัย) จึงมีการกำหนดอายุของเจดีย์วัดช้างล้อม (ศรีสัชนาลัย) กันใหม่ นักวิชาการเชื่อกันใหม่ว่าเจดีย์วัดช้างล้อม (ศรีสัชนาลัย) น่าจะสร้างขึ้นไม่เก่ากว่าพุทธศตวรรษที่ 20 ซึ่งน่าจะอยู่ในสมัยพญาลิไท พระนัดดา (หลาน) ของพ่อขุนรามคำแหง (“มหาธาตุ” ดร.ธนธร กิตติกานต์ หน้า 129)



เมื่อกรมศิลปากรทำการขุดสำรวจบริเวณฐานช้างทิศตะวันตกพบโครงกระดูกฝังลึกลงไป 130 เซนติเมตร มีภาชนะดินเผาวางอยู่ใกล้ๆ 2 ใบ และที่บรืเวณศรีษะมีภาชนะดินเผาทรงหม้อน้ำวางอยู่อีกข้างละใบซึ่งดูเหมือนเป็นการวางตามพิธีกรรมเพื่ออุทิศสิ่งของให้ผู้ตายตามะรรมเนียมโบราณก่อนที่จะนิยมการเผาศพตามแบบศาสนาพุทธ นอกจากนี้ที่ไหล่ขวาและที่กระดูกเชิงกรานยังมีรอยหลุมเสากดทับลงไป นักโบราณคดีเชื่อว่าเดิมคงมีการสร้างอาคารในบริเวณนี้ก่อนแต่ถูกรื้อไปเมื่อจะสร้างเจดีย์ ส่วนอาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงศ์ อธิบายว่าบริเวณนี้คงเป้นสุสานของคนรุ่นเก่าและเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มาก่อนกระทั่งเมื่อเปลี่ยนไปนับถือพุทธศาสนาจึงเปลี่ยนที่สำคัญแห่งนี้ให้เป็นพุทธสถานโดยการสร้างเป็นวัด







จากหลักฐานทางโบราณคดีทั้งหมดจึงเกิดแนวคิดใหม่ว่า “พระเจดีย์กลางเมืองศรีสัชนาลัยที่พ่อขุนรามคำแหงโปรดเกล้าให้สร้างขึ้นน่าจะหมายถึงพระเจดีย์วัดพระศรีมหาธาตุ ศรีสัชนาลัย มากกว่า”







อาณาเขตของวัดมีขนาดใหญ่มากๆ ใหญ่กว่าวัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ ถูกล้อมรอบด้วยกำแพงทำด้วยศิลาแลงและอิฐบางส่วน คิดว่าน่าจะผ่านการบูรณะในยุคหลังๆ เพราะสิ่งก่อสร้างในยุคสุโขทัยส่วนใหญ่จะสร้างด้วยศิลาแลง เมื่อเดินผ่านซุ้มประตูทางเข้ามีทางเดินทอดยาวไปถึงพระวิหาร







พระวิหารเป็นอาคารขนาด 5 ห้อง เสาในพระวิหารเป็นเสา 8 เหลี่ยมสอบปลายเล็กน้อย ตามรูปแบบสันนิษฐานแล้วหลังคาน่าจะเป็นทรงจั่วที่มีหลังคาลดเป็นชั้นๆ ด้านหน้ามีมุขยืนออกมา มีบันขึ้นข้างหน้า 3 ทาง ด้านหลัง 2 ทาง











ด้านหลังพระวิหารมีเจดีย์ประธานซึ่งนับว่าเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของจังหวัดสุโขทัย พระเจดีย์ตั้งอยู่ในกำแพงแก้วอีกชั้นเป็นกำแพงหนา มีซุ้มประตูทางเข้าอย่างสวยงาม 4 ด้าน มีเพียงประตูทางด้านหน้าที่อยู่หลังพระวิหารและด้านหลังเท่านั้นที่สามารถเดินผ่าน เข้า - ออก ได้ ส่วนประตูด้านอื่นๆเป็นซุ้มประตูหลอก ไม่สามารถเดินผ่าน เข้า - ออก ได้









เป็นเจดีย์ทรงกลมแบบลังกาบนฐานประทักษิณสูงรูปสี่เหลียมจัตุรัส รอบฐานประทักษิณมีประติมากรรมลอยตัวรูปช้างประดับอยู่โดยรอบด้านละ 9 เชือก ยกเว้นด้านหน้าที่มีเพียง 8 เชือก แต่ละมุมมีช้างขนาดใหญ่กว่าอีกมุมละเชือกรวม 39 ตัว เฉพาะช้างที่มุมแต่ละมุมเป็นช้างทรงเครื่องมีลวดลายปูนปั้นเป็นเครื่องประดับรอบคอ ต้นขา และรอบข้อเท้าทั้ง 4 ระหว่างรูปช้างปูนปั้นที่ฐานจะสลับด้วยเสาประทีบศิลาแลงและด้านหน้าช้างแต่ละเชือกจะมีพุ่มดอกบัวตูมปูนปั้นประดับอยู่ด้วย ปัจจุบันช้างที่ประดับอยู่ที่ฐานพระเจดีย์ผุผังเป็นส่วนใหญ่เหลือแต่เพียงโครงที่เป็นศิลาแลง ที่เห็นเป็นปูนปั้นสมบูรณ์มีน้อยมาก ในเอกสารโบราณเรียกการสร้างรูปปั้นช้างที่ฐานเจดีย์ว่า “หัตถีปราการ”












คติการสร้างเจดีย์ที่มีช้างล้อมของไทยมีอิทธิพลมาจากประเทศศรีลังกา ดร.จุฬิศพงษ์ จุฬารัตน์ ได้กล่าวถึง “ช้างกับสายสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ ไทย - ศรีลังกา” ในเวบไซต์ ARTgazine Article เมื่อ 30 สิงหาคม 2550 โดยสรุปว่า - ช้างเป็นสัตว์ที่อยู่ทู่กับวัฒนธรรมของศรีลังกามาช้านานและเชื่อว่าพระพุทธเจ้าเคยเสวยชาติเป็นพระยาช้างคล้ายๆกับคนไทย จึงเกิดธรรมเนียมการสร้างรูปปั้นช้างหนุนที่ฐานเจดีย์ขึ้น เช่น รุวันเวลิเสยา หรือ เจดีย์ รุวันเวลิ สถูปช้างล้อมที่สร้างในรัชสมัยพระเจ้าทุฐฎคามณี กษัตริย์ลังกา สมัยอนุราธปุระ พ.ศ. 705







ด้านหน้าพระเจดีย์มีบันไดทอดไปสู่ฐานประทักษิณ เหลือฐานประทักษิณมีซุ้มจรนำประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยจำนวน 20 ซุ้ม เหลือที่เป็นพระพุทธรูปดั้งเดิมอยู่เพียงองค์เดียวทางด้านทิศเหนือ ทีเห็นอยู่เป็นพระพุทธรูปที่กรมศิลปากรจำลองแบบขึ้นมาแล้วนำมาประดิษฐานเอาไว้ครับ










องค์ระฆังตั้งอยู่เหนือชั้นบัวถลาและบัวปากระฆัง รองรับบัลลังก์รูปเหลี่ยม ก้านฉัตรประดับด้วยประติมากรรมนูนต่ำรูปพระพุทธรูปปางลีลาโดยรอบ จำนวน 17 องค์









ภายในบริเวณวัดช้างล้อม  (ศรีสัชนาลัย)  ยังมีวิหารหลังเล็กและเจดียฺ์อยู่ด้านหลังวิหารอยู่ด้านหน้าพระวิหารหลังใหญ่  พระวิหารหลังเล็กกว่านี้ตามรูปแบบสันนิษฐานน่าจะเป็นวิหารโถง  ไม่มีฝาผนัง  (ซึ่งเป็นที่นิยมในการสร้างพระวิหารในยุคต้นๆของล้านนา)  พระเจดีย์องค์เล็กเป็นเจดีย์ทรงระฆังตั้งอยู่บนฐานไพทีสี่เหลี่ยม  มีฐานเขียงในผังสี่เหลี่ยมรองรับ  ถัดขึ้นไปเป็นชั้นบัวถลา  3  ชั้น  และเป็นองค์ระฆัง  ตั้งแต่ชั้นบัลลังก์หักหายไป









ขอบคุณ code เพลงจากบล็อก  "ป้ากล้วย"  ครับ






อีกช่องทางหนึ่งในการติดตามการท่องเที่ยวแบบตามใจทนายอ้วนครับ



ทนายอ้วนพาเที่ยว - ChubbyLawyer Tour



https://www.facebook.com/ChubbyLawyerTour/






Chubby Lawyer Tour …………… เที่ยวไป...........ตามใจฉัน





SmileySmileySmiley

Create Date :04 กรกฎาคม 2559 Last Update :4 กรกฎาคม 2559 14:10:51 น. Counter : 2922 Pageviews. Comments :17