bloggang.com mainmenu search
สถานที่ท่องเที่ยว : วัดร่องขุ่น เชียงราย, เชียงราย Thailand
พิกัด GPS : 19° 49' 27.22" N 99° 45' 47.60" E

ดูแผนที่เพิ่มเติม
 
 
 





ที่พัก  สถานที่ท่องเที่ยว  และร้านอาหารในซีรี่ย์นี้จะเป็น  ที่พัก  สถานที่ท่องเที่ยว  และร้านอาหาร  จากทริปเชียงรายเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่แล้วนะครับ  จริงๆแล้วร้านอาหารจากทริปเขาใหญ่ยังไม่หมดนะครับ  แล้วยังต่อด้วยทริปหัวหินอีก  แต่ที่เอาทริปเชียงรายมาคั่นก็เพราะว่าช่วงนี้เป็นหน้าหนาว  (น้อย)  คนนิยมขึ้นเหนือกันมาก  เลยเอาที่พัก สถานที่ท่องเที่ยวและร้านอาหารมาโพสซะก่อน  เผื่อว่าจะเป็นแนวทางให้คนที่จะวางแผนไปเที่ยวเชียงรายไม่มากก็น้อยครับ
 
 
 


วันนี้จะพาไปเที่ยววัดกันตามปกตินะครับ  เป็นวัดที่มีชื่อเสียง  เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดเชียงรายด้วยครับ
 
 
 





*****  เจ้าของบล็อกได้แต่ถ่ายรูปด้านหน้ามานะครับ  เจ็บกล้ามเนื้อขาเลยไม่ได้เดินเข้าไปดูข้างในพระอุโบสถครับ ****
 
 


 

วัดร่องขุ่น  เชียงราย



 
 
 



วัดร่องขุ่น เป็นวัดในพุทธศาสนา   ตั้งอยู่ที่ริมถนนพหลโยธิน  ต. ป่าอ้อดอนชัย อ. เมือง จ. เชียงราย  ที่วัดร่องขุ่นมีชื่อเสียงมากมายก็เพราะว่าเป็นการออกแบบก่อสร้างและตกแต่งโดย  อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์  ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ในปี พ.ศ. 2554   สร้างขึ้นด้วยแรงปณิธานที่มุ่งมั่นรังสรรค์งานศิลปะที่งดงามแปลกตา ผสานวัฒนธรรมล้านนาได้อย่างกลมกลืน ทั้งลวดลายปูนปั้นประดับกระจกและจิตรกรรรมฝาผนังขนาดใหญ่  ความงดงามของอุโบสถสีขาวประดับด้วยกระจกสีเงินแวววาว และลวดลายปูนปั้นอันวิจิตรเป็นเอกลักษณ์ รวมถึงประดับด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามประณีต  โดยเริ่มทำการก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2540  จนถึงปัจจุบัน  
 
 

 
เมื่อประมาณ  พ.ศ.  2430  มีชาวบ้านเข้ามาจับจองที่ดินทำไร่ทำนาบริเวณบ้านร่องขุ่นในปัจจุบันเพียงไม่กี่หลังคาเรือน  โดยอาศัยลำน้ำสายเล็กๆ ที่ไหลลงสู่แม่น้ำแม่ลาวซึ่งมีลักษณะสีขุ่นเลี้ยงชีพ  ชาวบ้านจึงเรียกกันติดปากว่า
 “บ้านฮ่องขุ่น”  หรือ  “ร่องขุ่น  มาโดยตลอด  


 
ต่อมาขุนอุดมกิจเกษมราษฎร์  (ต้นตระกูล เกษมราษฎร์)  นำครอบครัวญาติมิตรเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านจนเพิ่มจำนวนมากขึ้นกว่า  50  หลังคาเรือน  ท่านจึงได้ดำริที่จะสร้างสำนักสงฆ์ขึ้นภายในหมู่บ้านเพื่อจะได้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชุมชน  
วัดร่องขุ่น  จึงถือกำเนิดครั้งแรก  ณ  ริมฝั่งน้ำแม่ลาวด้านทิศตะวันตกใกล้กับลำน้ำแม่มอญ  ซึ่งอยู่เลยลำน้ำร่องขุ่นไปทางทิศใต้ประมาณ  500  เมตร  คณะศรัทธาจึงได้ร่วมใจกันสร้างศาลาและกุฏิเป็นเรือนไม้แบบง่ายๆ  เพื่อใช้ประกอบศาสนกิจ  โดยชาวบ้านได้อาราธนานิมนต์พระทองสุข  บาวิน  จากวัดสันทรายน้อย  หมู่  13  มาเป็นเจ้าอาวาส  ต่อมาเกิดน้ำเซาะตลิ่งพังจนไม่สามารถรักษาศาสนสถานที่อยู่ริมแม่น้ำไว้
 





 




จนถึงสมัยของคุณพ่อหมี  แก้วเลื่อมใส  เป็นผู้นำชุมชน  ได้ร่วมกันกับชาวบ้านย้าย
วัดร่องขุ่นมาตั้งอยู่ในบริเวณหัวนาของท่าน  ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามของถนนด้านทิศตะวันตกติดกับลำน้ำร่องขุ่น  จากนั้นไม่นานพระทองสุขได้ย้ายออกจากวัดจึงเหลือเพียงสามเณร  3  รูป  ในจำนวนนี้มีสามเณรทา ดีวรัตน์  ได้ลาสิกขาออกมาเป็นฆราวาส  นายทาเป็นผู้ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือจึงได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ใหญ่บ้านและสุดท้ายได้เป็นกำนันประจำตำบลบัวสลี  (กำนันคนแรกของหมู่บ้านร่องขุ่น)  





 


 
กำนันทา  ดีวรัตน์  เห็นว่าหมู่บ้านใหญ่ขึ้นผู้คนมากหลาย  วัดวาคับแคบอีกทั้งเป็นที่ลุ่มใกล้ลำน้ำ  เมื่อถึงฤดูน้ำหลากสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน  กำนันและคณะศรัทธาจึงได้ทำการย้ายวัดมาตั้งอยู่บนที่ดินในปัจจุบันนี้โดยนางบัวแก้ว  ภรรยากำนันทา  เป็นผู้ยกที่ดินให้สร้างวัดจำนวน  4  ไร่เศษ  คณะศรัทธาได้ร่วมกันสร้างศาลาเรือนไม้  1 หลัง  เมื่อแล้วเสร็จจึงร่วมกันเดินทางไปอาราธนานิมนต์พระดวงรส  อาภากโร  จากวัดมุงเมือง  อำเภอเมืองเชียงราย  มาเป็นเจ้าอาวาส  โดยมีพระครูพุทธิสารเวที  (แฮด เทววํโส)  เป็นผู้แนะน  ซึ่งในยุคสมัยพระดวงรส  อาภากโร  เป็นเจ้าอาวาส  วัดเจริญรุ่งเรืองมากมีพระจำพรรษาถึง  4  รูป  สามเณรเกือบ  10  รูป  แม่ชี  2  คน

 
 
ต่อมาพระดวงรสได้ย้ายไปอยู่วัดอื่นทำให้
วัดร่องขุ่นขาดผู้นำคณะสงฆ์  คณะศรัทธาจึงได้ร่วมกันเดินทางไปพบเจ้าคณะอำเภอเมืองเชียงรายเพื่อขอพระภิกษุมาเป็นเจ้าอาวาส  เจ้าคณะอำเภอฯ  ได้ส่งพระอินตามาอยู่จำพรรษา  แต่อยู่ได้เพียงพรรษาเดียวพระอินตาก็ย้ายไปอยู่วัดอื่น  คณะศรัทธาชาวบ้านจึงได้เดินทางไปวัดสันทรายน้อยอีกครั้งเพื่อขออาราธนานิมนต์พระไสว  ชาคโร  มาเป็นเจ้าอาวาสเมื่อปี พ.ศ.2499  พระไสว ชาคโร  เป็นพระที่คณะศรัทธาในหมู่บ้านและต่างแดนเลื่อมใสมาก  ท่านได้สร้างอุโบสถในปี  พ.ศ.2507 ต่อมา  พระไสว  กำนันเป็ง ไชยลังกา  พร้อมคณะศรัทธาอาราธนาพระพุทธรูปหินโบราณ  จากหมู่บ้านหนองสระ  อำเภอแม่ใจ  มาเป็นพระประธานในอุโบสถ





 



ในปี  พ.ศ.2520  ได้รับวิสุงคสีมา  ปี  พ.ศ.2529  ได้บูรณะซ่อมแซมกำแพงวัด  และปี  พ.ศ.2533  สร้างหอฉันและซุ้มประตูวัดด้านข้าง






 

 

ขณะที่
วัดร่องขุ่นเจริญรุ่งเรืองด้วยคณะศรัทธาชาวไทยและชาวจีนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน และบ้างก็แยกย้ายกันออกไปอยู่ต่างถิ่น เมื่อร่ำรวยแล้วก็หวนกลับมาช่วยกันทำนุบำรุงรักษาวัดตามอัตภาพ  ทั้งยังมีคณะศรัทธาต่างถิ่นที่เลื่อมใสศรัทธาในพระไสวเป็นจำนวนมากได้เดินทางมาร่วมทำบุญในการก่อสร้างศาสนสถานจนแล้วเสร็จทั้งหมด  ด้วยความเป็นพระนักพัฒนา  ในปี  พ.ศ.2537  พระไสวได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็นพระครูชาคริยานุยุต
 


ในปี  พ.ศ.2538  พระครูชาคริยานุยุต  ได้ทำการก่อสร้างศาลาอบสมุนไพรขึ้นเพื่อหวังให้การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดซึ่งเป็นโครงการใหญ่ของวัดเพื่อสังคม  แต่ท่านได้อาพาธด้วยโรคอัมพฤกษ์และอัมพาตเสียก่อนจึงล้มเลิกโครงการไป


 
และในปีเดียวกันนี้คณะศรัทธาวัดร่องขุ่นมีความเห็นว่าอุโบสถที่สร้างมาร่วม  38  ปี  อยู่ในสภาพทรุดโทรมมากใช้ทำสังฆกรรมไม่ได้  กลับเป็นที่อยู่ของค้างคาวฝูงใหญ่จึงคิดจะสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้น  เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน  พ.ศ.  2538  จึงได้ทำพิธีรื้อถอนอุโบสถ  และประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ในการก่อสร้างเมื่อวันที่  26 พฤศจิกายน  พ.ศ.  2538


 
วันที่  3  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  2539  ได้เริ่มลงมือก่อสร้างอุโบสถหลังปัจจุบันแต่เสร็จเพียงแค่โครงสร้างตัวอุโบสถองค์กลางเท่านั้นเพราะปัจจัยของวัดเริ่มขาดแคลนเพราะภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่แตก






 

 


ในปี  พ.ศ.  2540  
อาจารย์เฉลิมชัย  โฆษิตพิพัฒน์  จิตรกรผู้มีชื่อเสียงระดับชาติซึ่งเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขคนบ้านร่องขุ่นโดยกำเนิด  ได้ปวารณาตนเข้ามาสานต่อเพื่อสร้างอุโบสถถวายเป็นพุทธบูชาหวังให้เป็น  “งานศิลป์เพื่อแผ่นดิน”  ด้วยปัจจัยของท่านเอง  โดยพระครูชาคริยานุยุตและคณะศรัทธาชาวบ้านไม่ต้องลำบากในการหาเงินมาสร้างวัดในภาวะเศรษฐกิจของชาติที่กำลังตกต่ำ  อาจารย์เฉลิมชัย  ได้เข้ามาทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมแบบแปลนตามปรารถนาของท่าน  จนทำให้วัดร่องขุ่นสวยงามประทับใจผู้คนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่ได้มาเยี่ยมชม  จากวัดร่องขุ่นที่ไม่มีใครรู้จักกลายเป็นวัดที่มีชื่อเสียงเป็นที่เชิดหน้าชูตาของจังหวัดและประเทศชาติ  โครงการก่อสร้างวัดเมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วจะประกอบด้วยหมู่สถาปัตยกรรมทั้งสิ้น 4 หลัง มีอุโบสถ ปราสาทบรรจุพระธาตุ  พิพิธภัณฑ์ศาลาราย  เมรุ  หมู่กุฏิ  ศาลาการเปรียญ  และศาลารับรองแขกที่มาเยี่ยมชมวัด





 


 
อาจารย์เฉลิมชัย  ได้ทำการซื้อที่ดินเพิ่มเพื่อขยายบริเวณวัดทางด้านทิศใต้จำนวน  1  ไร่  200  ตารางวา  และคุณวันชัย  วิชญชาคร  จากกรุงเทพฯ  บริจาคที่ดินเพิ่มต่อจากที่ซื้ออีก  5  ไร่  300  ตารางวา  รวมที่วัดในปัจจุบันเป็นจำนวน  10  ไร่  100  ตารางวา






 

 
 
อาจารย์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างวัดมาจาก 3 สิ่งต่อไปนี้คือ
 



ชาติ : ด้วยความรักบ้านเมือง รักงานศิลป์ จึงหวังสร้างงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่ไว้เป็นสมบัติของแผ่นดิน
 

ศาสนา : ธรรมะได้เปลี่ยนชีวิตของอาจารย์เฉลิมชัยจากจิตที่ร้อนกลายเป็นเย็น จึงขออุทิศตนให้แก่พระพุทธศาสนา
 

พระมหากษัตริย์ : จากการเข้าเฝ้าฯ  ถวายงานพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  หลายครั้งทำให้เฉลิมชัยรักพระองค์ท่านมาก  จากการพบเห็นพระอัจฉริยะภาพทางศิลปะและพระเมตตาของพระองค์ท่าน  จนบังเกิดความตื้นตันและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ  จึงปรารถนาที่จะสร้างงานพุทธศิลป์ถวายเป็นงานศิลปะประจำรัชกา
ลพระองค์ท่า

 
 






 
อาจารย์เฉลิมชัยได้กล่าวไว้ว่า




 “ผมหวังที่จะสร้างงานพุทธศิลป์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของผม ให้ปรากฏเป็นงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่ชิ้นหนึ่งของโลกมนุษย์นี้ให้ได้เพื่อ ประกาศความยิ่งใหญ่ของประเทศชาติของผมไปสู่มวลมนุษยชาติทั้งโลก ผมจึงตั้งความปรารถนาที่จะถวายชีวิตใช้ช่วงเวลาที่ดีที่สุดของตนเอง สร้างงานพุทธศิลป์เพื่อเป็นงานประจำรัชกาลที่ 9 ให้ได้และจะถวายชีวิตไปจนตายคาวัด ”





 


 
เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เวลา 18.05 น. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.3 มีศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย และแผ่นดินไหวตามหลายครั้ง สร้างความเสียหายให้กับวัดร่องขุ่นเป็นอย่างมาก เช่น ผนังโบสถ์ปูนกระเทาะออก กระเบื้องหลุด ยอดพระธาตุหัก ภาพเขียนเสียหายหมด ทำให้ต้องปิดวัดเพื่อซ่อมแซมตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม ปีเดียวกัน





 
 
 




ด้านหน้าทางเข้าจะเจอสระน้ำขนาดใหญ่ มีสะพานทางเดินเข้าสู่ตัววัด หมายถึง การเดินข้ามวัฏสงสารมุ่งสู่พุทธภูมิ  ครึ่งวงกลมเล็ก หมายถึง โลกมนุษย์วงใหญ่ที่มีเขี้ยวเป็นปากของพญามารหรือพระราหู หมายถึง กิเลสในใจแทนขุมนรกคือทุกข์ ผู้ที่จะเข้าเฝ้า พระพุทธเจ้าใน พุทธภูมิต้องตั้งจิตปลดปล่อยกิเลสตัณหาของตนเองลงไปในปากพญามาร เพื่อเป็นการชำระจิตให้ ผ่องใสก่อนที่จะเดินผ่านขึ้น ไปพบกับพระราหูอยู่เบื้องซ้าย และพญามัจจุราชอยู่เบื้องขวา
 
  
 
สระน้ำด้านล่าง หมายถึง สีทันดรมหาสมุทร มีสวรรค์ตั้งอยู่ด้วยกัน 6 ชั้นด้วยกัน ผ่านสวรรค์ 6 เดินลงไปสู่พรหม 16 ชั้น แทนด้วยดอกบัวทิพย์ 16 ดอกรอบพระอุโบสถ


 
 
โบสถ์ เนรมิตวัดให้เหมือนเมืองสวรรค์ เป็นวิมานบนดินที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้โบสถ์ เปรียบเหมือนบ้านของพระพุทธเจ้าสีขาว แทนพระบริสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า กระจกขาว หมายถึง พระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้าที่เปล่งประกายไปทั่วโลกมนุษย์และจักรวาล
 





 






เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 6.30 – 18.00 น.
 
 
 
 



 
 
 
 



 
อีกช่องทางหนึ่งในการติดตาม 
“ทนายอ้วนพาเที่ยว”
 


Chubby Lawyer Tour  -  ทนายอ้วนพาเที่ยว
 
 
 https://www.facebook.com/ChubbyLawyerTour/
 
 


Chubby Lawyer Tour ………………….. เที่ยวไป ............. ตามใจฉัน







 
136137138
Create Date :08 กุมภาพันธ์ 2564 Last Update :8 กุมภาพันธ์ 2564 12:40:54 น. Counter : 1468 Pageviews. Comments :34