bloggang.com mainmenu search
เมืออาทิตย์ที่แล้วมีสิงโตอยู่หลายชนิดกำลังบานออกดอกอยู่ก็เลยได้ถ่ายรูปมาฝากเพื่อน ๆ ชาวบล็อคให้ชมกันครับ ในบรรดากล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตานี้ ในความเห็นของผมมีหลาย ๆ ประการที่น่าสนใจไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสีสรร หรือลักษณะของดอก อย่างในสิงโต ก้ามปูแดง(ฺBulbophyllum patens)นี้มีลักษณะสีสรรที่เข้มข้นจริง ๆ แถมมีความแวววาวของกลีบและเป็นสิงโตที่เจริญเติบโตแถวภาคใต้ซึ่งเหมาะที่จะใช้เป็นตัวพัฒนาพันธ์ได้เป็นอย่างดี เพราะเลี้ยงง่ายและไม่ต้องการความหนาวเย็นในการออกดอกมากเพราะเป็นสิงโตถิ่นใต้ครับ



จากภาพเราจะเห็นว่าก้านช่อดอกสั้นไม่ยาว และออกดอกเดี่ยวจำนวนดอกไม่มากซึ่งไม่เหมือนกับ สิงโตอีกชนิดหนึ่งที่จะโพสให้ชม นั่นก็คือสิงโตงามซึ่งจะเป็นภาพถัดไปครับ


แหล่งที่พบสิงโตชนิดนี้มีหลายที่ครับ ตั้งแต่นครศรีธรรมราช ตรัง ปัตตานี ฯลฯ


Bulbophyllum affine Lindl. : สิงโตงาม


สิงโตงามนี้ผมเคยเที่ยวป่าที่อ.เชียงดาว เชียงใหม่ พบอยู่ในป่าเต็งรังขึ้นไป(600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล)จนกระถึงป่าสนเขาก็พบครับ ผมคิดว่าเป็นสิงโตที่เลี้ยงง่ายเพราะมักพบอยู่ในที่ค่อนข้างโล่งแจ้ง อุณภูมิไม่หนาวเย็นมากนัก ซึ่งต้นที่ผมโพสให้ชมนี้ บานอยู่ในช่วงวันที่ 25 พ.ค. ที่ผ่านมาครับ ก็เลยจับผสมเข้ากันกับสิงโตก้ามปูแดงและสิงโต Bicolor Lindl.



Bulbophyllum bicolor Lindl. :สิงโตสองสี จะว่าไปอาจจะเห็นมีมากกว่าสองสีครับ แต่ตั้งชื่อตาม Sir John Lindley นักพฤกษศาสตร์ ว่า "B. bicolor" โดยชื่อระบุชนิดมาจากภาษาละติน 2 คำ ที่ว่า bi แปลว่า สอง ส่วนคำว่า color แปลว่า สี ก็น่าจะหมายถึงสีที่ปรากฏอยู่ในดอกของสิงโตชนิดนี้นั่นเอง







ลักษณะของสิงโตชนิดนี้มีข้อเด่นก็คือก้านช่อยาวและมีดอกในก้านช่อหลายดอก จัดว่าดอกใหญ่ครับ
Create Date :01 มิถุนายน 2553 Last Update :1 มิถุนายน 2553 17:53:24 น. Counter : Pageviews. Comments :21