bloggang.com mainmenu search
"เอื้องกลีบติดชวา" Gastrodia javanica



บานในเดือนเมษายน อาจพบได้ในเดือนตุลาคม พบดอกติดฝักแล้ว ริมทางเดินไปน้ำตกกรุงชิงใกล้กับศาลาดงชิง



"กล้วยมดดอกขาว" Didymoplexis pallens





"กล้วยปลวกม่วง" Stereosandra javanica

ตัวนี้ขึ้นเป็นโคโลนีบริเวณทางเดินเข้าไปดูต้นหลุมพอยักษ์ ออกดอกในเดือนเมษายน





"กล้วยปลวก" Epipogium roseum

พบออกดอกในเดือนเมษายน บริเวณข้างทางไปน้ำตกก่อนถึงศาลาดงชิง





"กล้วยส้ม" Didymoplexiella ornata

Didymoplexiella ornata บางทีก็เรียก"เอื้องกลีบน้ำตาล"บานในเดือนเมษายน พบดอกแรกของช่อกำลังบานเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2552 ดอกขนาดประมาณ 8 มม. ช่อดอกสูงประมาณ 25 ซม. ช่อนี้พบใกล้ทางเดินบริเวณศาลาประตูชัย เคยพบดอกบานในเดือนตุลาคม 2551 ในบริเวณใกล้กันแต่ไม่ได้ถ่ายภาพ














"กล้วยส้มกรุงชิง" Didymoplexiella sp.

Didymoplexiella sp. ต้นนี้พบบานอยู่ริมทางเดินไปน้ำตกกรุงชิงตรงบริเวณศาลาประตูชัย ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ 08° 43’ 14.5” เหนือ และ 99° 40’ 22.0” ตะวันออก เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง 203 เมตร ขึ้นอยู่ใต้ร่มไม้ใหญ่ ดินแน่นแข็งปกคลุมด้วยใบไม้แห้ง พบทั้งหมด 11 ต้นในระยะทางประมาณ 100 เมตร ขึ้นเป็นต้นเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม ๆ ละ 2-3 ต้น

ช่อดอกที่พบบานเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2552 มีร่องรอยของดอกที่เหี่ยวโรยไปแล้วและกำลังติดฝักก็มี

ลักษณะของก้านช่อดอกตั้งตรงหรืออาจโค้งงอถ้ามีใบไม้ปิดอยู่บนช่อดอก ก้านสูง10-30 ซม. มีช่อเดียวประกอบด้วยดอกตูมที่เห็นชัด 5-6 ดอก มีดอกบานช่อละหนึ่งดอกมีขนาดกว้างประมาณ 7 มม. ยาว 12 มม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเป็นสีน้ำตาลอมเขียวมีลายสีขาว กลีบปากสีขาวบริเวณโคนสีม่วง และมีหูที่กลีบปาก

ดอกมีลักษณะคล้ายกับ Didymoplexiella ornata ผสมกับ Didymoplexiella siamensis ซึ่งเป็นเพียงสองชนิดนี้ท่านั้นที่มีรายงานพบในเมืองไทย จุดสังเกตที่แตกต่างคือหูของกลีบปากไม่เหมือนหูกลีบปากของ D. ornata และในขณะที่กลีบปากของ D. siamensis ไม่มีหู

ขณะนี้กำลังส่งรูปให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาว่าเป็นชนิดใด ผมขอเรียกชื่อไทยไปพลาง ๆ ก่อนว่า "กล้วยส้มกรุงชิง" ให้พ้องกับ "กล้วยส้มสยาม"ที่มีลักษณะคล้ายกันมาก





















<<br>
Create Date :27 มกราคม 2550 Last Update :15 มิถุนายน 2552 12:17:59 น. Counter : Pageviews. Comments :1