"ตามรอยไดโนเสาร์" แผ่นดินอีสาน ท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

เรียนรู้ประวัติศาสตร์ "มรดกโลก บ้านเชียง" แล้ว
ขึ้นรถตู้เดินทางจากอุดรธานีไปที่..."แหล่งเรียนรู้รอยตีนไดโนเสาร์" อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม กันต่อเลยนะคะ
ระยะทางประมาณ 170 กิโลเมตรหรือประมาณ 3 ชั่วโมง ระหว่างทางก็จะมีแวะ...ปั้มน้ำมันให้ 1-2 จุด ให้ยืดเส้นยืดสาย แล้วก็แวะเข้าห้องน้ำกัน
ระหว่างทาง...จะผ่านสกลนคร บึงน้ำขนาดใหญ่สุดลูกหู
ลูกตา ทางขวามือนั่นคือ "หนองหาน" แหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ของภาคอีสาน
หนองหาน สกลนคร
หนองหานสกลนคร เป็นบึงขนาดใหญ่ที่สุดในอีสาน และใหญ่เป็นอันดับ2 ของประเทศ รองจากบึงบระเพ็ด
กำเนิดของหนองหาน เกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลก ชั้นเกลือใต้ดินละลายตัวจนกลายเป็นโพรง จึงยุบตัวลง
คนอีสานเชื่อกันว่า เป็นฝีมือของพญานาคถล่มเมือง ทำให้เมืองจมน้ำลงไป หนองหานที่อีสานมี 2แห่ง คือหนองหานหลวง สกลนคร และหนองหานกุมภวาปี ที่อุดรธานีต
ก่อนถึงอำเภอท่าอุเทน จะมีแม่น้ำชื่อแปลกๆ ชื่อว่าแม่น้ำสงคราม เป็นแม่น้ำสายสำคัญของอีสาน มีความยาวถึง
420 กิโลเมตร ไหลผ่าน4จัฃหวัด และมาลงแม่น้ำโขงที่อำเภอท่าอุเทน
แม่น้ำสงครามสำคัญในฐานะที่เป็นแหล่งน้ำหล่อเลี้ยง
พื้นที่นี้ มีความหลากหลายทางชีวภาพโดยเฉพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด
แม่น้ำสงคราม ภาพจากWWF Thailand
ภายในอาคาร นิทรรศการ "แหล่งเรียนรู้รอยตีนไดโนเสาร์"
และแล้ว...เราก็เดินทางมาถึง "แหล่งเรียนรู้รอยตีนไดโนเสาร์ ท่าอุเทน" ทางเจ้าหน้าที่มาอธิบายความเป็นมาและรายละเอียดต่างๆก่อนไปเดินชมแหล่งรอยตีนไดโนเสาร์และสัตว์ร่วมยุค
เราจึงรู้ว่า...แหล่งรอยตีนไดโนเสาร์และสัตว์ร่วมยุคนั้น
ถูกค้นพบครั้งแรกที่ ภูหลวง จังหวัดเลย เมื่อปีพ.ศ.2527
ต่อมาจึงมีการสำรวจอย่างต่อเนื่อง
และพบว่ามีการกระจายอยู่ทั่วแผ่นดินอีสาน ตามแนวเทือกเขาภูพาน เทือกเขาเพชรบูรณ์ เมือกเขาดงพญาเย็น และเทือกเขาสันกำแพง
ที่ท่าอุเทนนั้น...รอยตีนที่พบจำนวนมากเป็นของไดโนเสาร์กระจอกเทศ ลักษณะรอยตีนเห็นได้ชัดเจน เป็น 3 นิ้ว
คล้ายรอยตีนไก่ ปลายเล็บแหลมคม อีกทั้งยังพบรอยตีน
ไดโนเสาร์ชนิดอื่น และร่องรอยของจระเข้ขนาดเล็กด้วย
ทำไม "รอยตีนไดโนเสาร์"
จำนวนมากมาปรากฎในแผ่นดินอีสาน ???
ในอดีต...ภาคอีสานมีสภาพเป็นหาดทรายริมน้ำ เป็นที่ที่ไดโนเสาร์เดินผ่าน หรือเที่ยวหากินอยู่ในบริเวณหาดทรายชุ่มน้ำนี้ รอยเท้าที่เกิดขึ้นไม่ได้ถูกคลื่นซัดให้ลบเลือน
โดยอาจโผล่พ้นน้ำ ทำให้แดดเผาจนคงรูปร่างอยู่ หลังจากนั้นกระแสน้ำได้พัดพาเอาตะกอนมาปิดทับลงไปเป็นชั้นตะกอนใหม่ รอยเท้านั้นจึงยังคงอยู่ในชั้นตะกอนเดิม
ต่อมาชั้นตะกอนแข็งตัวกลายเป็นหิน รอยเท้านั้นจึงปรากฏอยู่ในชั้นหินนั้น
ปัจจุบันในประเทศไทยค้นพบ...แหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์และสัตว์ร่วมยุค ทั้งหมด 17 แหล่ง ประกอบไปด้วยเจ้าของรอยเท้าหลากหลายกลุ่มเช่น ไดโนเสาร์ อาร์คอซอร์ยุคแรก สัตว์เลท้อยคลานขนาดเล็ก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และนก
แหล่งเรียนรู้รอยตีนไดโนเสาร์@ท่าอุเทน
นี่เพิ่งมาครั้งแรก!!!!...ยังเขียนได้ขนาดนี้เลย
เพราะเจ้าหน้าที่อธิบายได้เข้าใจง่าย มีเอกสารแจก
อีกทั้งมีป้าย+ภาพประกอบให้เข้าใจได้ง่ายๆ อีกด้วย
ยิ่งถ้าใครที่ชอบดูหนังเรื่อง จูราสสิคพาร์ค อยู่แล้ว
ที่นี่...ก็น่าจะเป็นที่ชื่นชอบอีกที่หนึ่งนะคะ
หมายเหตุ: เจ้าหน้าที่บอกว่า การเรียกอวัยวะส่วนเท้า สำหรับสัตว์จะใช้คำว่า "ตีน" ส่วนคำว่า "เท้า" จะใช้กับมนุษย์ท่านั้น
#เที่ยวละไมไปด้วยกัน #พาเที่ยวพากินไปเรื่อย
#geotourism #60แล้วงัยไปเที่ยวกัน
โฆษณา