5 มี.ค. 2021 เวลา 07:38 • ไลฟ์สไตล์
🌳การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช(Plant tissue culture)🌳
🌼การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หมายถึงการนำเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะเนื้อเยื่อเซลล์ หรือเซลล์ไม่มีผนัง มาเลี้ยงในอาหารเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อจุลินทรีย์ และอยู่ในสภาพควบคุมอุณหภูมิ แสงและความชื้นเพื่อให้เซลล์พืชที่นำมาเพาะเลี้ยงนั้น ปราศจากเชื้อที่มารบกวนและทำลายการเจริญเติบโตของพืช
🌿เป็นเทคนิคที่ใช้เพิ่มปริมาณต้นพืชให้ได้ปริมาณมากมาย จากชิ้นเนื้อเยื่อพืชเพียงไม่กี่ชิ้น หรือจะเริ่มจากเซลล์ก็ได้
🌸โดยนำมาเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ที่ใส่สารอาหาร ธาตุอาหารทั้งหลักและรองที่จำเป็นต่อพืช
🌱รวมถึงฮอร์โมนต่างๆในการชักนำให้เกิดต้นอ่อนใหม่ๆขึ้นมา
เนื่องจากพืชมีศักยภาพที่เรียก Totipotency ในการเจริญกลับเป็นเนื้อเยื่อเจริญเกิดต้นใหม่ได้ จากเนื้อเยื่อถาวรเดิม จึงใช้เนื้อเยื่อแรกเริ่มจากอวัยวะใดก็ได้ เช่น ใบ ยอด หรือ ข้อปล้อง
🌼ในสูตรอาหารมักมีการชักนำให้เกิดเป็นกลุ่มเซลล์ที่เรียกแคลลัส (Callus) ซึ่งจะเจริญต่อไปได้ทั้งเป็นยอดและรากต่อไป โดยมีการเติมฮอร์โมนพืชได้แก่ ออกซิน(Auxin) และไซโตไคนิน(Cytokinin) ลงไปในอัตราส่วนที่เท่าๆกัน
🌿การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ นิยมใช้กับพืชที่มีปัญหาในเรื่องของการขยายพันธุ์ หรือพืชที่มีปัญหาเรื่องโรค เช่น กล้วยไม้ หรือพืชเศรษฐกิจ เช่น กุหลาบ ข้าว คาร์เนชั่น เยอร์บีร่า ไม้ใบ เช่น ฟิโลเดนดรอน และพืชตระกลูไม้อวบน้ำ
🌵พืชตระกูล ไม้อวบน้ำ (succulent) เป็นกลุ่มพืชที่มีลักษณะโดดเด่น เช่น เต่งตึง ฉ่ำน้ำ หรือมีตุ่มหนาม ปลูกในกระถางเล็กๆ ลำต้นหลายแบบ ดูแปลกตา มีหลายสกุล ปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมและสนใจมากขึ้น เพราะไม้อวบน้ำแต่ละสกุลมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สะดุดตา การดูแลไม่ยุ่งยาก ใช้พื้นที่น้อย มีราคาถูกถึงแพง การขยายตัวของตลาดไม้อวบน้ำมีเพิ่มขึ้น มีการนำเข้าพันธุ์ใหม่และลูกผสมจากต่างประเทศ การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด แยกหน่อ หรือชำใบ ทำได้ในปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการ การนำเทคนิคเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาใช้ขยายพันธุ์ไม้อวบน้ำที่เป็นลูกผสมใหม่ๆหรือพันธุ์แปลกๆซึ่งมีจำนวนน้อยและราคาแพงจะสามารถผลิตต้นพันธุ์ได้ปริมาณมาก ตัวอย่างไม้อวบน้ำที่นำมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เช่น แคคตัส (cactus) อโล (Aloe ) และ ฮาโวเทีย (haworthia)
🌸ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
🍂การเตรียมอาหาร คือ การนำธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการในการเจริญเติบโต และธาตุอาหารรองมาผสมกับวุ้น ฮอร์โมนพืช วิตามินและน้ำตาล ในอัตราส่วนที่เหมาะสม แล้วนำไปฆ่าเชื้อ ใส่ลงในขวดอาหารเลี้ยง
🍁การฟอกฆ่าเชื้อส่วนเนื้อเยื่อ เป็นวิธีการใช้สารเคมี ที่ทำให้ชิ้นส่วนของพืชที่นำมาเลี้ยงในอาหารเลี้ยง ปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ
🍂นำเนื้อเยื่อลงขวดเลี้ยง เป็นการนำเอาชิ้นส่วนของพืชที่ฟอกฆ่าเชื้อแล้ว วางลงบนอาหารเลี้ยงที่ปลอดเชื้อ โดยใช้เครื่องมือและปฏิบัติการในห้องหรือตู้ย้ายเนื้อเยื่อโดยเฉพาะ
🍁การย้ายเนื้อเยื่อออกจากขวด เมื่อกลุ่มของต้นอ่อนเกิดขึ้น ให้แยกต้นอ่อนออกจากกัน เพื่อนำไปเลี้ยงบนอาหารเลี้ยงใหม่ จนต้นอ่อนแข็งแรงดีแล้ว จึงนำต้นอ่อนที่สมบูรณ์ออกจากขวด ปลูกในแปลงเลี้ยงต่อไป
ข้อดีของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ🌿🌸
🌱ได้ต้นไม้ปริมาณมาก
🌼ได้ต้นไม้ที่มีลักษณะพันธุกรรมเหมือนต้น ต้นเเบบ
🌿ใช้เวลารวดเร็ว
🌸ใช้พื้นที่น้อย
🌱ได้ต้นไม้ที่สะอาดปลอดจากเชื้อโรค
🌼เป็นการเก็บรักษาและขยายพันธุ์พืชที่หายากหรือใกล้สูญพันธุ์ได้
🌿เป็นการเก็บรักษาพืชที่มีลักษณะที่ดีที่ต้องการได้
1
🍂เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มายได้มีโอกาสลองเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อครั้งแรก(ตื่นเต้นสุดๆ55) ต้องขอขอบคุณเพื่อนที่ชวนและอาจารย์ที่ให้โอกาสมายได้เข้าไปเรียนรู้ ขอบคุณพี่ๆที่คอยสอนกันในทุกขั้นตอนเลยนะคะ เอาจริงๆก็เป็นอะไรที่สนุก ตื่นเต้น ท้าทายมากๆ คือต้องมีสติตลอดเวลาขณะที่ทำ เพราะเราอยู่กับตะเกียงไฟและแอลกอฮอล์ ฮร่าๆ และยังต้องทำตัวให้สะอาดที่สุดเท่าที่จะสะอาดได้(แทบจะอาบแอลกอฮอล์กันเลยทีเดียว🤣) เนื่องจากทุกขั้นตอนต้องทำในตู้ปลอดเชื้อ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์แปลกปลอม เช่น เชื้อราและแบคทีเรีย ขั้นตอนการทำก็ไม่ได้ง่ายเกินไป จะซับซ้อนนิดหนึ่ง แต่ไม่ได้ยากเกิดความสามารถหรอกค่ะ ขอแค่มีใจรัก และตั้งใจที่จะทำจริงๆ💓
#My music "plants"💓🌵🌱
โฆษณา