27 ก.พ. 2020 เวลา 08:57 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ทำไม? หนวดปลาหมึกถึงไม่ดูดตัวเอง
หลายคนอาจไม่เคยได้สงสัย ว่าทำไมหนวดของปลาหมึก(หมึกเป็นสัตว์จำพวกหอยไม่ใช่ปลาแต่ผมขอเรียกว่าปลาหมึกเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ)ถึงไม่ดูดตัวมันเอง ขนาดสายหูฟังที่วางอยู่เฉยๆเผลอแปปเดียวกลับไปพันกันซะแล้ว
แต่หมึกยักษ์ที่มีหนวดถึง 8 หนวดและมีปุ่มดูดอันทรงพลัง ที่สามารถดูดได้แทบทุกพื้นผิว กลับไม่ดูดตัวของมันเอง หรือว่าปลาหมึกมีสติที่ดีมากสามารถควบคุมหนวดและปุ่มดูดนับร้อยได้โดยไม่ให้ดูดตัวเอง หากคุณเริ่มสงสัยผมจะอธิบายให้ฟัง
เริ่มจากวิธีการทำงานของปุ่มดูด(suckers) โดยที่รอบๆของมันจะเป็นเนื้อเยื่ออ่อนๆที่ทำให้สามารถปรับได้ตามสภาพพื้นผิว เมื่อมันแตะกับสิ่งของที่จะดูดแล้ว มันจะปั้มน้ำออกเพื่อให้เป็นสูญญากาศ
ทำให้แรงดันน้ำที่อยู่ด้านนอกดันเข้ามาให้ปุ่มดูดติดอยู่ได้ ทุกการทำงานของปุ่มดูดเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ(Reflect) ตัวปลาหมึกเองก็ไม่รู้ว่าปุ่มดูดของมันไปดูดตรงไหนอยู่บ้าง
เปรียบเสมือนปุ่มดูดทำงานได้ด้วยตัวเองโดยที่ไม่มีใครมาบังคับ แม้จะตัดหนวดออกจากตัวแล้วมันก็ยังทำงานได้ด้วยตัวของมันเองอยู่
มีนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองหาว่าทำไมปุ่มดูดถึงไม่ดูดตัวมันเอง โดยการเอาหนวดปลาหมึกยักษ์ของตัวอื่นหย่อนลงไปในตู้ที่มีปลาหมึกยักษ์ตัวเป็นๆอยู่ ผลปรากฏว่าหนวดของปลาหมึกที่มีชีวิตอยู่ไม่ดูดหนวดปลาหมึกของอีกตัวที่หย่อนลงไป ในขณะที่หย่อนปลาลงไปมันก็ดูดตามปกติ
เลยสงสัยว่ามันจะรู้เพราะรูปร่างและผิวสัมผัสของหนวดหรือสารเคมีที่อยู่ในหนวดกันแน่ นักวิทยาศาสตร์จึงนำหนวดปลาหมึกไปปั่นแล้วทาลงบนพื้นผิวอื่น ผลปรากฏว่าเมื่อหนวดปลาหมึกมาแตะแล้ว มันสัมผัสได้ถึงสารเคมีที่อยู่ในหนวดมันจึงปล่อยไป
จึงสรุปได้ว่าปลาหมึกยักษ์ใช้การตรวจสารเคมีที่อยู่ในหนวดเพื่อบอกว่าอันไหนเป็นปลาหมึกและไม่ควรดูด ซึ่งการรับรู้และตอบสนองนี้ไม่ได้ถูกสั่งมาจากปลาหมึก แต่ปุ่มดูดของมันแต่ละปุ่มสามารถรับรู้และสั่งการในตัวมันเองได้ และถ้าเทียบระหว่างหนวดของปลาหมึกตัวอื่นกับตัวมันเอง ปุ่มดูดจะตอบสนองต่อสารเคมีและไม่ดูดตัวมันเองมากกว่าตอบสนองต่อตัวอื่นๆ🐙
เผื่อใครสนใจอยากจะอ่านแบบเจาะลึกเพิ่มเติมนะครับ
โฆษณา