3 ก.พ. 2020 เวลา 08:00 • ประวัติศาสตร์
พระแสงราชศัสตราประจำเมืองกำแพงเพชร
ดาบสกุลช่างมอญ
มีประวัติสรุปแบบง่ายๆว่า .. พระยากำแพงเพชร(นุช) อดีตเจ้าเมืองกำแพงเพชร ได้รับพระราชทานดาบทองคำจาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ อันเป็นบำเหน็จเมื่อไปทัพแขก (ซึ่งในตอนนั้นยังไม่ใช่พระแสง)... ต่อมา ครั้นรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชโยบายในการแสดงขอบเขตพระราชอาณาจักร จึงทรงมีพระราชบัญชาให้สร้าง “พระแสงราชศัสตราประจำเมือง” เพื่อเป็นดั่งพระราชสัญลักษณ์ ในพระราชอำนาจต่อพื้นที่นั้น ...
ต่อมาวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๔๔๙ เมื่อครั้นทรงเสด็จประพาสต้น มาถึงเมืองกำแพงเพชร หลวงพิพิอภัย ผู้สืบตระกูลมาจากทอดดาบ มาจาก พระยากำแพงเพชร(นุช) ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ดาบทองคำพระราชทานประจำตระกูล เมื่อทรงฟังว่าเป็นดาบพระราชทานจริงและพอดีทรงเห็นว่า เมืองกำแพงเพชรยังไม่มี พระแสงราชศัสตราประจำเมือง จึงทรงพระราชทานและเถลิง ดาบทองคำพระราชทานเล่มนั่น ให้เป็น พระราชแสงศัสตราประจำเมืองกำแพงเพชร ในครานั้น
๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑
พระแสงราชศัสตราประจำเมืองเล่มนี้ เป็น ดาบ “สกุลช่างมอญ” อันวิเคราะห์ได้จาก
1. โครงสร้างใบดาบทรงตรงอย่างมอญ ความหนาใบสม่ำเสมอตลอดเล่ม สันดาบจั่วสูงจรดปลายใบ กระดูกกลางใบตลอดเล่ม
2. ลักษณะการวางรูปแบบด้ามและฝัก เป็นลักษณะที่นิยมในเส้นทางการค้าแนวขวาง เมาะตะมะ-พิษณุโลก-หลวงพระบาง-อันนาม .... แต่เป็นไปตาม สกุลช่างมอญ โดยดูได้ที่ คอดาบ ซึ่งเป็นลักษณะของคอดาบมอญชัดเจนมาก
3. ลักษณะบัวส้นดาบ ดุนลายบัวเล็บช้าง ซึ่งเป็นที่นิยมในสกุลช่างมอญ
4. ลักษณะการวางเส้นลายลวดเกลียว ลวดเรียบ และลวดไข่ปลา เป็นแบบมอญ
1
- ข้อมูลและภาพ จากหนังสือ พระแสงราชศัสตราประจำเมือง
- วิเคราะห์โดยครูหนึ่ง รัฐกฤษ สงสำเภา
โฆษณา