คณะราษฎร : ย้อนเหตุการณ์สำคัญของไทย บนเส้นทางประชาธิปไตยหลังปฏิวัติสยาม 24 มิ.ย. 2475

ตลอด 88 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและปกครองโดยรัฐสภา มีเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่สะท้อนให้เห็นถึงเกมแห่งอำนาจระหว่างคณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงบ้านเมือง

บีบีซีไทย พาย้อนกลับไปศึกษาผ่านหน้าประวัติศาสตร์สำคัญในอดีตนับตั้งแต่วันที่ 24 มิ.ย. 2475 จนถึงปัจจุบัน

ไทย 88 ปี บนเส้นทางประชาธิปไตยหลังปฏิวัติสยาม

กลุ่มบุคคลในนาม คณะราษฎร ซึ่งนำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินและเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 มาสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและปกครองโดยรัฐสภา การยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองในครั้งนั้นไม่มีการเสียเลือดเนื้อ

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images
"ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร
                                        ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง...
                                        ราษฎร ข้าราชการ ทหาร และพลเรือนที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้าย
                                        ของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว จึงรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรขึ้น
                                        และได้ยึดอำนาจของรัฐบาลของกษัตริย์ไว้ได้แล้ว
                                        คณะราษฎรเห็นว่าการที่จะแก้ความชั่วร้ายนี้ได้ ก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา..."
                                        ประกาศคณะราษฎรที่นำออกแจกจ่ายประชาชนชนช่วงบ่ายวันที่ 24 มิ.ย. 2475
"ข้าพเจ้าเห็นแก่ความเรียบร้อยของอาณาประชาราษฎร์ ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อ กับทั้งเพื่อจัดการโดยละม่อมละไม ไม่ให้ขึ้นชื่อว่าได้จลาจลเสียหายแก่บ้านเมือง และความจริงข้าพเจ้าก็ได้คิดอยู่แล้วที่จะเปลี่ยนแปลงตามทำนองนี้ คือมีพระเจ้าแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญ จึงยอมรับที่จะช่วยเป็นหุ่นเชิด..."
                                        - พระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอบคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหารของคณะราษฎร ลงวันที่ 25 มิ.ย. 2475

พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีคนแรก จัดตั้งรัฐสภาขึ้น ทว่าความขัดแย้งในสภาระหว่างรัฐบาลกับคณะราษฎร ได้นำไปสู่การรัฐประหารโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา โดยเขาขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 5 ปี

ภาพลิขสิทธิ์ กลุ่มงานพิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุ สำนักเลขาธิการสภาฯ

กลุ่มบุคคลที่เรียกตัวเองว่า "คณะกู้บ้านเมือง" นำโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม นำกลุ่มทหารที่นิยมกษัตริย์เข้ายึดบริเวณดอนเมือง และจับฝ่ายรัฐเป็นตัวประกัน เพื่อบีบบังคับให้รัฐบาลของพระยาพหลพลพยุหเสนา ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องโดยให้กลับไปใช้ระบอบราชาธิปไตย ก่อนปะทะและถูกปราบ สุดท้ายเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำจึงถูกเรียกขานว่า "กบฏบวรเดช"

"ข้าพเจ้าเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร..." - พระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ลงวันที่ 2 มี.ค. 2477

รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ประกาศเปลี่ยนชื่อ ราชอาณาจักรสยาม มาเป็น ราชอาณาจักรไทย

ภาพลิขสิทธิ์ หอจดหมายเหตุ มธ.

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลสิ้นพระชนม์

พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 8 เผชิญกับเหตุอื้อฉาวและปัญหาคอร์รัปชัน จนนำไปสู่การทำรัฐประหารโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ เพื่อฟื้นอำนาจจอมพล ป. พิบูลสงคราม จากนั้นได้ให้ พ.ต.ควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้ทหารครองอำนาจต่อไปจนกระทั่งปี 2516

รัฐบาลไทยอนุญาตให้สหรัฐฯ เข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศในระหว่างสงครามเวียดนาม ซึ่งกองทัพไทยได้ร่วมรบในพื้นที่เวียดนามใต้

รัฐประหารโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขจัดฐานอำนาจจอมพล ป. จากนั้นอีก 1 ปี จอมพลสฤษดิ์ได้รัฐประหารตัวเองอีกครั้งเพื่อกระชับอำนาจ

ปัญญาชนนำพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติของ ร. 7 มาตีพิมพ์ในงานเขียนสารคดีต่าง ๆ จนเกิดกระแส "กษัตริย์ประชาธิปไตย"

"ก่อนการปฏิวัติรัฐประหาร พ.ศ. 2475 ไม่กี่ปี
                                        พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สั่งให้ร่างรัฐธรรมนูญขึ้น
                                        เพื่อมอบให้ราษฎรของพระองค์ปกครองตนเอง
                                        หากแต่มีข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนเข้าช่วงชิงทำรัฐประหารเสียก่อน
                                        จึงได้มีเสื้อคลุมประชาธิปไตยมาให้เราใส่อยู่ทุกวันนี้
                                        อันเป็นเสื้อที่ขาด ๆ วิ่น ๆ เปรอะเปื้อนอยู่สักหน่อย..."
                                        ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี และนักการเมืองฝ่ายกษัตริย์นิยมคนสำคัญ
                                        เขียนบทความวิจารณ์คณะราษฎรเมื่อปี 2512

นักศึกษาและประชาชนชุมนุมขับไล่รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร พร้อมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ทำให้เผด็จการถนอมต้องเดินทางออกนอกประเทศ และกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้รัฐบาลทหารสิ้นสุดลง เปิดทางให้จัดการเลือกตั้งเสรี แต่ผลที่ได้คือรัฐบาลที่ขาดเสถียรภาพ

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

นักศึกษาและประชาชนชุมนุมประท้วงการกลับเข้าประเทศในคราบเณรถนอม ก่อนถูกล้อมปราบที่ ม.ธรรมศาสตร์ และรัฐประหารในวันเดียวกัน โดยมีนักศึกษาจำนวนมากหนีเข้าป่า

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521

คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. ยึดอำนาจจากรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ในข้อหาทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยที่แกนนำ รสช. สัญญาว่าจะไม่ดำรงตำแหน่งนายกฯ โดยแต่งตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

ประชาชนชุมนุมคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ. สุจินดา คราประยูร แกนนำ รสช. ที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคสามัคคีธรรม ก่อนถูกล้อมปราบ สุดท้าย พล.อ. สุจินดาต้องลาออก และมีการจัดเลือกตั้งใหม่ในปีเดียวกัน ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้ง ทำให้นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรค ได้เป็นนายกรัฐมนตรี

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

หลังรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ประกาศยุบสภา นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยชนะการเลือกตั้งทั่วไป ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 21

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

รัฐบาลนายบรรหารประกาศยุบสภา เนื่องจากข้อกล่าวหาเกี่ยวกับคอร์รัปชัน ต่อมา พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ชนะการเลือกตั้งได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 22

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

วิกฤตการเงินในเอเชีย : รัฐบาลไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ส่งผลให้บริษัทต่าง ๆ ต้องล้มละลายและมีคนตกงานจำนวนมากจนต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ต่อมา พล.อ.ชวลิตลาออก นายชวน หลีกภัย ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งทั่วไป พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร (ยศก่อนถูกถอด) หัวหน้าพรรค ขึ้นเป็นนายกฯ คนที่ 23

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งท่วมท้น สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว 377 เสียงได้เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ ก่อนเผชิญเสียงวิจารณ์เรื่อง "เผด็จการรัฐสภา

คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ภายใต้การนำของพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลทักษิณ ขณะที่เขาร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ในสหรัฐฯ คปค. แต่งตั้ง พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

พรรคพลังประชาชนภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวช เครือข่ายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชนะการเลือกตั้งทั่วไปในเดือน ธ.ค. 2550 นายสมัครได้เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณเดินทางกลับไทยหลังจากต้องลีภัยในต่างประเทศ

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

พ.ต.ท.ทักษิณ พร้อมครอบครัวเดินทางลี้ภัยในอังกฤษหลังจากไม่ปรากฏตัวในศาลในคดีเอื้อประโยชน์ชินคอร์ป

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

ผู้สนับสนุนทักษิณในนามกลุ่มคนเสื้อแดงจัดชุมนุมประท้วงในหลายพื้นที่ใจกลางกรุงเทพฯ เรียกร้องให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา นำไปสู่การสลายการชุมนุมโดยทหาร ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 98 ราย

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งทั่วไปอย่างถล่มทลาย ทำให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวของทักษิณขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

ประชาชนรวมตัวประท้วงต่อต้านการผลักดันร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม "ฉบับสุดซอย" ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการชุมนุมบนท้องถนนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เพื่อเรียกร้องให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ลาออกจากตำแหน่ง

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

ศาลรธน. มีมติให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ขณะนั้น พ้นตำแหน่งรัฐมนตรี เนื่องจากการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่กี่วันต่อมา กองทัพก็ทำรัฐประหารอีกครั้ง

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ได้รับการรับรองด้วยเสียงท่วมท้นจากประชาชนในการลงประชามติ ซึ่งผู้เห็นต่างไม่ได้รับอนุญาตให้จัดกิจกรรมรณรงค์คัดค้าน รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ยังคงเปิดช่องให้กองทัพเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองได้

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images

ในหลวง รัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 15:52 น. สิริพระชนมพรรษา 88 พรรษา หลังครองราชย์มา 70 ปี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 10

ภาพลิขสิทธิ์ BBC Thai

ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ของไทยเดือน เม.ย. หลังจากผ่านการทำประชามติและพระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในหมวดพระมหากษัตริย์ เปิดทางสู่การเลือกตั้ง ในขณะที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อ่านคำพิพากษาลับหลังในคดีปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว โดยมีคำพิพากษาจำคุกเป็นเวลา 5 ปี น.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่ได้ปรากฏตัวที่ศาลและหลบหนีไปต่างประเทศ

ภาพลิขสิทธิ์ EPA

คสช.ยกเลิกประกาศ คำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ห้ามพรรคการเมืองหรือประชาชนทำกิจกรรมทางการเมืองได้

การเลือกตั้งทั่วไปมีขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2557

ภาพลิขสิทธิ์ BBC Thai

ผลการเลือกตั้งทั่วไปไม่มีพรรคการเมืองใดครองเสียงข้างมากเด็ดขาดในสภาผู้แทนราษฎร โดยพรรคเพื่อไทย เครือข่ายของทักษิณ ครองจำนวนที่นั่งในสภาฯ ขณะนั้นมากที่สุด 136 ที่นั่ง ในขณะที่พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งสนับสนุนกองทัพได้จำนวนที่นั่งเพียง 115 ที่นั่ง

รัฐสภามีมติท่วมท้นเลือก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย ด้วยคะแนน 500 เสียง จาก 750 เสียง โดยที่วุฒิสมาชิกที่ พล.อ.ประยุทธ์แต่งตั้งมาก่อนหน้าพร้อมใจโหวตในทิศทางเดียวกัน

ภาพลิขสิทธิ์ BBC Thai

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ พร้อมเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรค (กก.บห.) เป็นเวลา 10 ปี ในจำนวนนั้นคือนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค

ภาพลิขสิทธิ์ Getty Images
line

ข่าวเกี่ยวข้องกับ "การปฏิวัติ 24 มิ.ย. 2475"