/famous library interior design architecture

World Famous Library

ท่องไปในแดนหนังสือ

การได้นั่งอ่านหนังสือดีๆ สักเล่มในบรรยากาศเงียบสงบ สำหรับหนอนหนังสือแค่นี้ก็อาจจะเพียงพอสำหรับความสุขเล็กๆ แต่จะเป็นอย่างไรหากเราได้เข้าไปยังห้องสมุดสุดอลังการที่เต็มไปด้วยหนังสือดีๆ ให้เลือกอ่านอย่างล้นหลาม คลอเคล้าไปกับบรรยากาศความงดงามของห้องสมุด ที่มีเอกลักษณ์และเสน่ห์เฉพาะตัว และสำหรับบทความนี้เราก็ได้รวบรวมห้องสมุดชื่อดังระดับโลก ที่ถูกจัดอันดับว่าสวยงามควรค่าแก่การได้ไปเยือนสักครั้งค่ะ

George Peabody Library I ห้องสมุดจอร์จ พีบอดี้

George Peabody Library Hall
ห้องสมุดจอร์จ พีบอดี้ จัดว่าเป็นห้องสมุดที่สวยงามมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัย จอนส์ ฮอปกินส์ (John Hopkins University) วิทยาเขตพีบอดี้ เมืองบัลติมอร์ รัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา เป็นห้องสมุดเก่าแก่ที่เน้นการสอนและหาข้อมูลงานวิจัยในศตวรรษที่ 19 โดยผู้คนขนานนามว่า “มหาวิหารแห่งหนังสือ”
George Peabody Library Books
George Peabody Library Shelf
เดิมทีห้องสมุดมีชื่อว่า Library of the Peabody Institute of the City of Baltimore สร้างขึ้นเมื่อครั้งก่อตั้งสถาบัน Peabody Institute เมื่อปี ค.ศ. 1857 ซึ่งในปีนั้น จอร์จ พีบอดี้ (George Peabody) เศรษฐีใจบุญชาวแมสซาชูเซตส์ ได้อุทิศสร้างสถาบันพีบอดี้ ให้กับพลเมืองชาวบัลติมอร์ โดยสร้างเสร็จและเปิดใช้ในปี ค.ศ. 1878 ออกแบบโดยสถาปนิกท้องถิ่นนามว่า เอ็ดมุนด์ จอร์จ ลินด์ (Edmund G. Lind) ซึ่งร่วมมือกับดร. นาธาเนียล เอช. มอริสัน (Dr. Nathaniel H. Morison) ผู้บริหารคนแรกของสถาบันพีบอดี้
George Peabody Library Stair
George Peabody Library Reading Area
สำหรับจุดเด่นของห้องสมุดก็คือความอลังการของการออกแบบตกแต่งภายในห้องโถง “สไตล์ นีโอ-กราฟ” (Neo-Greco) และความตระการตาของระเบียงเหล็กหล่อที่เรียงรายทั้ง 5 ชั้น ไล่เรียงขึ้นไปถึงหลังคาสกายไลท์ (Skylight) สูงถึง 61 ฟุต ซึ่งงานระเบียงเหล็กถูกประดิษฐ์โดย บริษัท บาร์ตเลตต์-เฮย์เวิร์ด (Bartlett-Robbins & Company) ซึ่ง ณ ตอนนั้นเป็นบริษัทผลิตโลหะชื่อดังในศตวรรษที่ 19 ของอเมริกา
George Peabody Library Interior
ด้านองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม มีการผสมผสานการออกแบบสไตล์ Baroque, Rococo, and Greco-Roman รวมถึงเสาคลาสสิกที่ประดับด้วยแผ่นทองคำเปลว ด้วยขนาดพื้นที่ภายในที่โอ่อ่ากว้างขวางจึงเต็มไปด้วยหนังสือมากมายกว่า 300,000 เล่ม ที่สะสมมาตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 18 จนถึงต้นศตวรรษที่ 20
George Peabody Library Sky
หากคุณเป็นแฟนตัวยงของหนังรอมคอมเรื่อง “Sleepless in Seattle” ก็คงจำฉากที่ “แอนนี่” (เม็ก ไรอัน) เข้ามาที่ห้องสมุดแห่งนี้เพื่อมาหาพี่ชายของเธอ ซึ่งซีนนั้นได้จำลองภาพบรรยากาศของห้องสมุดแห่งนี้เมื่อ 100 กว่าปีที่ผ่านมา

Private Library at Château De Groussay

ห้องสมุดส่วนตัว “ชาโตว์ เดอ กรุซเซ่”

Private Library at Château De Groussay Interior
Cr. Courtesy of Content in a Cottage
สำหรับใครที่เคยชื่นชมห้องสมุดสุดคลาสสิคของ ศาสตราจารย์เฮนรี่ ฮิกกินส์ จากภาพยนตร์เพลงเรื่อง “My Fair Lady” เวอร์ชั่นปี ค.ศ. 1964 ซึ่งนำแสดงโดยนางเอกดาวค้างฟ้าตลอดกาล ออเดรย์ เฮปเบิร์น (Audrey Hepburn) หลายคนไม่ทราบว่าห้องสมุด 2 ชั้นที่เต็มไปด้วยตู้หนังสือทำจากไม้สีเข้มแกะสลัก และบันไดวนคู่อันวิจิตรบรรจง ภาพยนตร์ได้ถูกถ่ายทำจากห้องสมุดแห่งนี้ ซึ่งก็เป็นสถานที่สำคัญที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์
Private Library at Château De Groussay My Fair Lady
Private Library at Château De Groussay My Fair Lady
My Fair Lady,1964
Cr. hookedonhouses
ห้องสมุด “ชาโตว์ เดอ กรุซเซ่” (Chateau de Groussay) เป็นห้องสมุดส่วนตัวขนาดใหญ่ ทำจากไม้มะฮอกกะนีแกะสลัก สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1815 ตั้งอยู่ที่เมือง Montfort-l’Amaury ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเคยเป็นห้องสมุดส่วนตัวของ ดัชเชส เดอร์ ชาเรสต์ (Duchesse de Charest) ธิดาของมาร์กิส เดอ ตูร์เซล (Marquise de Tourzel) ซึ่งเป็นผู้ปกครองของพระราชวงศ์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระนางมารี อองตัวเนตต์ (Marie Antoinette) ด้วยเพราะเป็นที่พำนักส่วนตัวของราชวงค์ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ห้องสมุดแห่งนี้จะมีตกแต่งภายในที่ดูหรูหรา วิจิตร บรรจง และปราณีตเป็นอย่างมาก
Private Library at Château De Groussay Bookshelf
Private Library at Château De Groussay Atmosphere
Cr. pinterest
ความน่าสนใจของห้องสมุดแห่งนี้อยู่ที่การตกแต่งภายในสไตล์คลาสสิค มีจำนวน 2 ชั้น เอกลักษณ์ที่เป็นภาพจำของห้องนี้ก็คือบันไดเวียนคู่และชั้นหนังสือทำจากไม้มะฮอกกะนีสีเข้มแกะสลักอย่างปราณีต ประดับประดาด้วยภาพวาด ผนังตกแต่ง ของประดับ และเฟอร์นิเจอร์สไตล์ Roccoco หรือที่เรียกกันว่า “ศิลปะแบบหลุยส์” อีกทั้งยังมีหนังสือเก่าแก่ปกหนังหลายพันเล่ม ดังนั้นผู้มาเยือนจึงมักจะถ่ายรูปและคัดลอกหนังสือบางเล่มกลับไปเป็นความทรงจำดีๆ
Private Library at Château De Groussay Overall
Cr. flickr
ตัวปราสาทแห่งนี้คงอยู่ในตระกูลชาเรสต์อยู่นานจนถึงช่วงปี ค.ศ. 1938 จากนั้นได้ถูกขายต่อเปลี่ยนผ่านไปหลายเจ้าของที่ล้วนมีชื่อเสียงในสังคมชั้นสูง จนถูกปรับปรุงไปหลายครั้ง กระทั่งปัจจุบันปราสาท ชาโตว์ เดอ กรุซเซ่ ได้เปิดให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมได้
Cr. Jean Belmondo on Youtube
[https://www.youtube.com/watch?v=xmADMB2utAo]

Qatar National Library I หอสมุดแห่งชาติกาตาร์

Qatar National Library Bookshelf
Cr. thepeninsulaqatar
หอสมุดแห่งชาติกาตาร์ประกอบไปด้วย หอสมุดสาธารณะและหอสมุดมหาวิทยาลัยของโดฮา เป็นที่เก็บรักษามรดกผลงานต้นฉบับอันทรงคุณค่าที่เกี่ยวข้องกับอารยธรรมชาวอาหรับอิสลาม โดยห้องสมุดสาธารณะแห่งนี้มีหนังสือมากกว่าหนึ่งล้านเล่มและมีพื้นที่กว้างขวางถึง 42,000 ตร.ม. จัดเป็น Education City วิทยาเขตด้านวิชาการแห่งใหม่ มีดาวเทียมเชื่อมต่อกับสถาบันการศึกษาชั้นนำจากทั่วโลก
Qatar National Library Interior
Cr. Qatar National Library by OMA
แรมเมินต์ โกลฮาส (Rem Koolhaas) สถาปนิกชื่อดังชาวดัตช์ ผู้ร่วมออกแบบห้องสมุดแห่งนี้กล่าวว่า “เราออกแบบพื้นที่มาเพื่อให้ทุกคนมองเห็นหนังสือทุกเล่มในแบบพาโนรามา” ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการให้ทุกคนสามารถเข้าถึงหนังสือได้ โดยไม่ต้องใช้ความพยายามใดๆเป็นพิเศษ”
Qatar National Library Atmosphere
ด้านสถาปัตยกรรมอาคารภายนอกเป็นคอนกรีตทรงเหลี่ยมรูปเพชร โดยด้านข้างของอาคารแต่ละด้านมีขอบยกขึ้น พื้นที่ภายในจัดเป็นชั้นวางหนังสือ 3 ชั้นล้อมรอบพื้นที่สามเหลี่ยมตรงกลาง ทางเดินหลักเป็นสะพานเชื่อมต่อกัน วัสดุที่ใช้เกือบทั้งหมดเป็นหินอ่อนสีขาวเพื่อสะท้อนแสงสว่างและทำให้รู้สึกโปร่งโล่ง
ลึกลงไป 6 เมตรตรงกลางพื้น คือชั้นหนังสือที่ถูกจัดเก็บเป็นมรดกคอลเล็กชันชิ้นสำคัญของหอสมุด โดยชั้นวางจะหุ้มด้วยหินอ่อนสีเบจ เพื่อให้ความรู้สึกเหมือนพื้นที่ตรงนั้นถูกขุดหลุมลึกลงไป
Qatar National Library Bookshelf
Cr. Delfino Sisto Legnani and Marco Cappelletti
นอกจากนี้ยังมีการทำซุ้มกระจกลูกฟูกและเพดานอะลูมิเนียมสะท้อนแสง ที่ออกแบบมาเพื่อกรองและกระจายแสงแดดจ้าเข้าสู่ตัวอาคารในระดับที่เหมาะสมต่อสายตาสำหรับการอ่านหนังสือโดยเฉพาะอีกด้วย

Tianjin Binhai Library I มหาสมุทรแห่งหนังสือเทียนจิน

Tianjin Binhai Library Iconic
Cr. Azure Megazine
อีกหนึ่งห้องสมุดยอดฮิตที่สามารถพบเห็นได้ตามโซเชียลมีเดียมากที่สุดยุคนี้ ก็คือ Tianjin Binhai Library หรือ “มหาสมุทรแห่งหนังสือเทียนจิน” สาธารณรัฐประชาชนจีน ด้วยการออกแบบสไตล์โมเดิร์นสุดล้ำ ที่ดูแปลกแหวกแนวเกินกว่าจะเป็นห้องสมุด มีจุดดึงสายตาด้วยลูกบอลทรงกลมขนาดยักษ์ การใช้ไลน์เส้นสายพริ้วไหวและสีขาวล้วน เข้ามาเป็นลูกเล่นในการออกแบบ จึงโดนใจหนุ่มสาวรุ่นใหม่อยู่ไม่น้อย
การทำงานร่วมกันระหว่างทีมสถาปนิกชาวเนเธอร์แลนด์จากบริษัท MVRDV และทีมสถาปนิกเมืองเทียนจิน ในนาม Tianjin Urban Planning and Design Institute (TUPDI) ได้ร่วมมือกันออกแบบหอสมุด Tianjin Binhai Library เพื่อตั้งใจให้เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์วัฒนธรรมเมือง โดยมีขนาดพื้นที่ 33,700 ตร.ม.
Tianjin Binhai Library Lighting
Cr. inexhibit
Tianjin Binhai Library Atmosphere
Cr. cntraveller
หอประชุมทรงกลมเรืองแสงและตู้หนังสือที่สูงจากพื้นจรดเพดาน มีจำนวน 5 ชั้น สามารถจุหนังสือได้ถึง 1.2 ล้านเล่ม หอสมุดแห่งนี้เป็นศูนย์กลางทางการศึกษาและพื้นที่ทางสังคมที่เชื่อมโยงหลายๆส่วนของเมืองเข้าด้วยกัน ซึ่งก็คือจุดแลนด์มาร์คของเมืองนั่นเอง
Tianjin Binhai Library Exterior
Cr. New Atlas
Tianjin Binhai Library Interior
Cr. Arch20
ตัวอาคารออกแบบมาให้เหมือนดวงตาขนาดใหญ่ The Eye ที่สื่อให้เห็นถึงความสำคัญของการมองเห็น เป็นนัยยะสำคัญที่หมายถึงการอ่าน โดยแต่ละชั้นจะมีชั้นหนังสือที่แลดูคล้ายระลอกคลื่นกำลังพริ้วไหวในทะเล นอกจากนี้ภายในหอสมุดยังมีพื้นที่เลานจ์สำหรับสังสรรค์และพื้นที่นั่งเล่นสำหรับประชาชนและนักท่องเที่ยวทั่วไปอีกด้วย

De Handelingenkamer I ห้องสมุด เดอร์ เฮนเดลริ่งเอนกาเมอร์

De Handelingenkamer Interior
ภายในอาคารของสภาผู้แทนราษฎรที่เคยเป็นที่ตั้งของกระทรวงยุติธรรม ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีห้องสมุดเก่าแก่สีแดงอันโดดเด่น ซึ่งคนที่นั่นรู้จักกันดีในชื่อ “ห้องสมุด เดอร์ เฮนเดลริ่งเอนกาเมอร์” เป็นห้องสมุดที่ผู้คนทั่วโลกต่างนิยมเดินทางไปเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก
De Handelingenkamer Books
De Handelingenkamer Books 2
ห้องสมุดเก่า เดอร์ เฮนเดลริ่งเอนกาเมอร์ ถือว่าเป็นห้องสมุดที่สวยที่สุดในประเทศเนเธอร์แลนด์ ภายในห้องสมุดมีขนาดความยาว 13.5 เมตร กว้าง 6 เมตร สูง 9 เมตร มีหนังสือทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 30,000 เล่ม โดยตัวอาคารดั้งเดิมได้รับการออกแบบในปี ค.ศ. 1876 โดยสถาปนิกชาวดัตช์ นามว่า คอร์เนลริส เฮนดริค ปีเตอร์ส (Cornelis Hendrik Peters)
De Handelingenkamer Exterior
De Handelingenkamer Atmosphere
Cr.denhaag
ห้องสมุดสีแดงแห่งนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในสไตล์ นีโอ-ดัตช์ เรอเนซองส์ อีกทั้งยังได้รับอิทธิพลจากประเทศจีนเข้ามาผสมผสานในการตกแต่งอย่างมากมาย อย่างการใช้มือจับรูปกรงเล็บมังกร เกล็ดมังกรบนโดมหลังคาและหัวมังกรตกแต่งบนราวบันได มีการนำสีเขียวสไตล์จีนมาใช้เพื่อให้ความรู้สึกสง่างามและยังตกแต่งด้วยสีแดงบนราวบันไดเหล็กหล่อและบันไดวนจนโดดเด่น
De Handelingenkamer Details
Cr.houseofrepresentatives.nl
อาคารแห่งนี้สร้างขึ้นปลายศตวรรษที่ 19 ซึ่งไม่มีไฟฟ้าใช้ ดังนั้นสารที่ติดไฟได้ง่าย เช่น เทียน ตะเกียงแก๊ส จึงจำต้องเก็บให้ห่างจากห้องสมุด และด้วยเพราะต้องการให้แสงแดดส่องเข้ามาถึงข้างใน หลังคาจึงถูกออกแบบเป็นโดมแก้วตะกั่วเพื่อให้แสงอาทิตย์เข้าถึงได้มากที่สุด และถึงแม้ว่าห้องสมุดจะมีความสูงถึง 4 ชั้น แต่แสงก็ยังสามารถส่องลงมาถึงพื้นได้ ซึ่งก็เพียงพอต่อการอ่านหนังสือในเวลากลางวัน แต่ปัจจุบันได้มีการนำหลอดไฟนีออนเข้ามาติดตั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
De Handelingenkamer Roof
Cr.unsplash
สำหรับหนอนหนังสือที่มีใจรักในการเดินทาง หากมีโอกาสก็ลองไปเยือนห้องสมุดที่แนะนำกันไปนะคะ เพราะนอกจากจะได้อ่านหนังสือหายากที่ถูกเก็บสะสมไว้แล้ว ยังได้ดื่มด่ำไปกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ผลงานศิลปะ การออกแบบสถาปัตยกรรมและตกแต่งภายในรูปแบบต่างๆที่งดงามระดับโลกอีกด้วยค่ะ
สามารถติดตามผลงานต่าง ๆ ของทาง Bareo ได้ที่ช่องทางเว็บไซต์ของ Bareo หรือทาง Facebook : Design by Bareo ที่จะคอยอัพเดทข่าวสาร งานดีไซน์ และผลงานการออกแบบตกแต่งภายในมากมาย ให้ท่านผู้อ่านได้รับความรู้ และความสนุกตลอดทั้งปี
หรือหากสนใจจะออกแบบตกแต่งภายในกับทาง Bareo ทางเราก็มีบริการออกแบบภายในครบวงจร โดยสามารถอ่านรายละเอียดการให้บริการของเราได้ที่นี่ คลิ๊ก
ขอบคุณข้อมูลจาก
archive.curbed
locationshub
tweedlandthegentlemansclub.blogspot
dezeen
oma
inexhibit
denhaag

CONTENT RELATED

NEW CONTENT

PORTFOLIO