Saturday, May 4, 2024
ชื่นชมอดีต

พุทธมณฑล ดินแดนศักดิ์สิทธิ์เพื่อดวงจิตอันงดงาม

นิตยสารอนุรักษ์ ฉบับที่ 16
เรื่อง/ภาพ: ธีรภาพ โลหิตกุล

พุทธมณฑล

ดินแดนศักดิ์สิทธิ์เพื่อดวงจิตอันงดงาม

เป็นที่ยอมรับกันว่า จุดเด่นอันต้องตาตรึงใจผู้คนที่ไปเยือน “พุทธมณฑล” ณ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม คือพุทธลักษณะอันงามเลิศของพระพุทธรูปยืนปางลีลาขนาดใหญ่ ประดิษฐานเป็นองค์พระประธานพุทธมณฑล พระนามว่า “พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์”

พุทธลักษณะทรงยกพระบาทขวาจะก้าว ห้อยพระหัตถ์ขวาท่าไกว พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระ ป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน หล่อด้วยทองสำริด หนัก ๑๗,๕๔๓ กิโลกรัม โดยแบ่งหล่อเป็นชิ้นต่างๆ ขององค์พระรวม ๑๓๗ ชิ้น

แล้วจึงนำไปประกอบกับโครงเหล็กบนฐานพระพุทธรูปเพื่อเชื่อมรอยต่อและปรับแต่งให้เป็นเนื้อเดียวกัน เป็นพระพุทธรูปสูง ๑๕.๘๗๕ เมตร ถือเป็นพระพุทธรูปลีลาหล่อด้วยทองสำริดที่มีลักษณะงดงามและมีขนาดใหญ่ที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์

ออกแบบโดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ชาวอิตาลี ผู้มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร จนได้รับการยกย่องเป็น “บิดาแห่งวิชาการศิลปะสมัยใหม่”

พุทธมณฑลเป็นพุทธานุสรณีย์เนื่องในวโรกาสมหามงคลกาลที่พระพุทธศาสนาเวียนมาบรรจบครบรอบ ๒,๕๕๐ปี ในวันวิสาขบูชา พ.ศ. ๒๕๕๐

และถึงแม้จะเป็นชาวต่างชาติ แต่ท่านใส่ใจศึกษาเรียนรู้ ศิลปกรรมไทยอย่างลึกซึ้งและแตกฉาน ท่านจึงออกแบบองค์พระประธานพุทธมณฑล โดยประยุกต์พุทธลักษณะ มาจากพระพุทธรูปปางลีลาสมัยสุโขทัย ซึ่งเป็นยุคสมัยที่ พระพุทธศาสนาจําเริญรุ่งเรืองเป็นที่สุดผู้คนพลเมืองมีจิตใจ งดงามเป็นที่สุด จึงปั้นและหล่อพระพุทธรูปออกมาวิจิตรตา อย่างที่สุดเช่นกัน

พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน

โดยในตอนแรกที่ออกแบบนั้น พระพุทธรูปมีความสูง เพียง ๒.๑๔ เมตร แต่เพื่อให้สอดคล้องกับโอกาสที่พระพุทธ ศาสนาอายุครบ ๒,๕๐๐ ปี จึงขยายขนาดเพื่อให้ได้เป็น ๒,๕๐๐ กระเบียด (๑ กระเบียดเท่ากับ ๑/๔ นิ้ว) ดังนั้น พระศรีศากยะทศพลญาณฯ ในปัจจุบัน จึงมีความสูงถึง ๑๕.๔๗๕ เมตร ใหญ่กว่าขนาดต้นแบบ ๗.๕ เท่า

ธรรมจักรศิลาอันตระการตา ประดิษฐาน ณ ตำบลปฐมเทศนาภายในพุทธมณฑล

พุทธมณฑลแห่งนี้ มีมาแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ สมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยความ พร้อมใจของชาวพุทธทั้งประเทศ ร่วมกันจัดสร้าง ปูชนียสถานขึ้นเป็นพุทธานุสรณีย์ เนื่องในวโรกาส มหามงคลกาลที่พระพุทธศาสนาเวียนมาบรรจบครบรอบ ๒,๕๐๐ ปี

ความเป็นมาของพระพุทธรูปปางนี้ มีเรื่องราวเกี่ยวข้อง กับพุทธประวัติตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจําพรรษา ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ภายใต้ไม้ปาริฉัตตกะ ณ ดาวดึงส์ เทวโลก เมื่อออกพรรษามหาปวารณาแล้ว จึงเสด็จลงจาก เทวโลก ในการเสด็จลงจากเทวโลกนั้นเรียกกันว่า “เทโว โรหณสมาคม”

สําหรับพุทธมณฑลแห่งนี้ มีมาแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ สมัย รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยความพร้อมใจของชาว พุทธทั้งประเทศ ร่วมกันจัดสร้างปูชนียสถานขึ้นเป็นพุทธานุ สรณีย์ เนื่องในวโรกาสมหามงคลกาลที่พระพุทธศาสนาเวียน มาบรรจบครบรอบ ๒,๕๐๐ ปี ในวันวิสาขบูชา พ.ศ. ๒๕๐๐ และยังคงเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธมาตราบจนวันนี้

พระศรีศากยะทศพลญาณมีความสูงถึง ๑๕.๘๗๕ เมตรใหญ่กว่าขนาดต้นแบบ ๗.๕ เท่า
พระศรีศากยะทศพลญาณออกแบบโดย ศ. ศิลป พีระศรี บิดาแห่งวิชาการศิลปะสมัยใหม่ของไทย

ภายในพุทธมณฑลประกอบด้วย พระวิหาร พระตําหนักสมเด็จพระสังฆราช ที่พักสงฆ์ อาคันตุกะ หอประชุม หอกลอง สํานักงานพุทธมณฑล ศาลาปฏิบัติ กรรมฐาน พิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนา หอสมุดพระพุทธศาสนา มหาวิหารประดิษฐานพระไตรปิฎกหินอ่อน โรงอาหาร และหอฉัน

สวนไทร ภายในพุทธมณฑล บันดาลความร่มรื่นในจิตใจ
ผู้ไปเยือน

นอกจากนั้นยังมี “สังเวชนียสถาน ๔ ตําบลได้แก่ “ตําบลประสูติ” ประดิษฐานหินรูปดอกบัว ๗ ดอก “ตําบลตรัสรู้” ประดิษฐานหินรูปโพธิบัลลังก์ “ตําบล ปฐมเทศนา” ประดิษฐานหินรูปธรรมจักร และรูปแท่นที่นั่ง ของปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ และ “ตําบลปรินิพพาน” ประดิษฐาน หินสัญลักษณ์ รูปแท่นไสยาสน์

โดยทุกตําบลมีพื้นที่ ๕๐ ไร่ อยู่ท่ามกลางสนามหญ้า สวนไม้ดอกและไม้ประดับที่งดงามตระการตา อีกทั้งยังมีสวนต่างๆ อันเสริมส่งให้พุทธมณฑลร่มรื่นและงดงามยิ่งขึ้น คือ “สวนเวฬุวัน” หรือสวนไผ่ มีต้นไผ่นับร้อยชนิด “สวนอัมพวัน” คือสวนมะม่วง มีมะม่วงพันธุ์ต่างๆ เกือบร้อย ชนิด “สวนธรรม” คือสวนกระถินณรงค์ และ “สวนไทร”

ความร่มรื่นของพุทธมณฑล ดึงดูดใจให้เราเข้าไปแสวงหาความร่มเย็นในชีวิต

ส่วน “สวนสมุนไพร” ในพุทธมณฑล เป็นโครงการ นําร่องเพื่อส่งเสริมให้วัดทั่วประเทศปลูกสมุนไพรในวัด จึง เป็นแหล่งรวบรวมสมุนไพรกว่า ๒๐๐ ชนิด เปิดให้ประชาชน ได้ชมและอุดหนุนตามอัธยาศัย

กล่าวได้ว่า “พุทธมณฑล” คือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ อันสะอาด สงบ สว่าง และอํานวยคุณประโยชน์หลากหลายประการแก่ ชาวพุทธ และศาสนิกชนในทุกศาสนาถ้วนหน้ากันโดยแท้

About the Author

Share:
Tags: พระ / ศิลป์ พีระศรี / วัด ประเพณี วัฒนธรรม การละเล่น / ฉบับที่ 16 / ประติมากรรม / พุทธมณฑล /

เรื่องราวอีกมากมายที่คุณจะชอบ