ต้นเนระพูสีไทย สายพันธุ์ไม้ล้มลุกหายากที่มีกลิ่นเฉพาะตัว

ต้นเนระพูสีไทย สายพันธุ์ไม้ล้มลุกหายากที่มีกลิ่นเฉพาะตัว

ต้นไม้หายากในโลกมีหลากหลายชนิดและ Tacca chantrieri ก็ถือเป็นอีกชนิดหนึ่งที่มีความเฉพาะตัว ถ้าเรียกแบบไทย ๆ ชื่อของมันคือ เนระพูสีไทย โดย Tacca chantrieri เป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์ ต้นไม้ชนิดนี้เป็นสายพันธุ์ไม้ล้มลุก มักเติบโตจากใต้พื้นดิน มีใบที่ปลายเรียวและมีความแหลมขอบใบของมันจะเรียบไม่มีหยัก ก้านของใบจะมีสีเขียวออกเข้มไปจนถึงสีดำคล้ำและมีความสูงจากตัวพื้นดินประมาณหนึ่งเลยทีเดียว ตัวดอกนั้นจะออกมารวมกันเป็นกระจุกและมีดอกที่ค่อนข้างแน่นและส่วนตรงกลางนั้นจะมีเกสรทั้งตัวเมียและตัวผู้เป็นสีดำสนิท ปกติแล้วตัวดอกของมันจะมีด้วยกัน 6 กลีบและมีช่วงโคนติดต่อกันทั้งหมด บริเวณรังไข่ที่อยู่ช่วงใต้ของกลีบดอกจะมีลักษณะเป็นเส้น ๆ ห้อยออกมา โดยรวมแล้วมองเผิน ๆ จะมีความคล้ายคลึงกับค้างคาวที่กำลังบินอยู่มากเลยทีเดียว

ดอกของต้น Tacca chantrieri นั้น ในช่วงเวลากลางคืนจะมีกลิ่นเหม็นสาบคล้ายกับกลิ่นอับชื้นที่อยู่ในถ้ำหรือกลิ่นที่เป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาวออกมา มักจะพบเจอมันได้ในพื้นที่ที่เป็นป่าดิบทั้งแล้งและชื้น มีการออกดอกในช่วงของเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงช่วงเดือนสิงหาคม สามารถพบเจอได้ในประเทศอินเดีย ไทย พม่า ลาว มาเลเซีย อินโตนีเซียและทางตอนใต้ของประเทศจีน ในเมืองไทยนั้นจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปตามพื้นที่ คือ ว่านหัวลา ว่านหัวฟ้า มังกรดำ ค้างคาวดำ ชื่อต่าง ๆ ที่มีการเรียกขานมาล้วนแล้วแต่มาจากลักษณะของตัวต้นของมันนั่นเอง ถือว่าเป็นต้นไม้หายากในโลกที่มีสีดำคล้ำอย่างชัดเจน

ในประเทศไทยนั้นสามารถพบต้น Tacca chantrieri ทางภาคใต้บริเวณที่เป็นป่าดงดิบ เป็นพื้นที่ที่มีหุบเขาและก็มีคนนำไปปลูกเช่นเดียวกัน ซึ่งวิธีการที่นำไปปลูกนั้นควรใช้ดินร่วนและสามารถระบายน้ำได้ดี หรืออาจจะใช้เป็นดินปนทรายเพื่อที่จะช่วยให้มันสามารถเจริญเติบโตได้อย่างดี ไม่ควรนำไปตากแดดมากจนเกินไปเพราะต้นไม้หายากในโลกชนิดนี้ชอบแดดบาง ๆ เท่านั้น เป็นไปได้ควรปลูกในพื้นที่ที่ไม่ต้องโดนแดดมากจนเกินไปและสามารถรดน้ำได้ในตอนเช้าและเย็น

นอกจากนั้นในทางวิทยาศาสตร์ยังพบประโยชน์ของมันว่าสามารถลดอาการปวด ลดไข้และมีความสามารถในการลดการอักเสบของร่างกายได้ด้วย ในบางพื้นที่นำไปทำเป็นยาสมุนไพรเพื่อใช้รักษาอาการไอ ปวดท้อง อาหารเป็นพิษ และสารสกัดจากเหง้าของมันยังสามารถใช้เพื่อกันแมลงไม่ให้ไปทำลายพืชได้อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามควรศึกษาข้อมูลให้แน่ชัดก่อนการนำไปรักษาโรคโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อความปลอดภัย

 ไม้ประดับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *