Advance search

บ้านเขาเทพพิทักษ์

เขาเทพ, ภูเขารูปหัวใจ

บ้านเขาเทพพิทักษ์เป็นสถานที่ตั้งของสะพานแขวนเขาเทพพิทักษ์ และภูเขารูปหัวใจ ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุราษฎร์ธานี

เขาพัง
บ้านตาขุน
สุราษฎร์ธานี
ธำรงค์ บริเวธานันท์
26 เม.ย. 2023
ธำรงค์ บริเวธานันท์
27 เม.ย. 2023
ธำรงค์ บริเวธานันท์
30 เม.ย. 2023
บ้านเขาเทพพิทักษ์
เขาเทพ, ภูเขารูปหัวใจ


ชุมชนชนบท

บ้านเขาเทพพิทักษ์เป็นสถานที่ตั้งของสะพานแขวนเขาเทพพิทักษ์ และภูเขารูปหัวใจ ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุราษฎร์ธานี

เขาพัง
บ้านตาขุน
สุราษฎร์ธานี
84230
เทศบาลตำบลเชี่ยวหลาน โทร. 0-7734-6096
8.949756975
98.82384
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพัง

ตําบลเขาพัง เดิมอยู่ในเขตอําเภอคีรีรัฐนิคม เช่นเดียวกับพื้นที่อำเภอบ้านตาขุนที่ในอดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของอําเภอคีรีรัฐนิคม ภายหลังแยกการปกครองออกมาตั้งเป็นกิ่งอําเภอบ้านตาขุน ประกอบด้วย ตําบลไกรสร (ปัจจุบันยุบรวมกับตําบลเขาพัง) ตําบลเขาวง ตําบลเขาพัง ตําบลพะแสง ตําบลพรุไทย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม ปีเดียวกัน

ชุมชนบ้านเขาเทพพิทักษ์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตําบลเขาพัง อําเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ติดกับลําน้ำคลองแสงต้นแม่น้ำพุมดวงซึ่งไหลลงแม่น้ำตาปี ทิศเหนือ จรด หมู่ที่ 5 ตําบลเขาพัง อําเภอบ้านตาขุน ทิศใต้ จรด พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาสก ทิศตะวันออก จรด หมู่ที่ 4 ตําบลเขาพัง อําเภอบ้านตาขุน ทิศตะวันตก จรด หมู่ที่ 3 ตําบลเขาพัง อําเภอบ้านตาขุน ประชากรในชุมชนกว่า 90 ครัวเรือน ส่วนใหญ่เป็นคนที่อยู่อาศัยมาดั้งเดิม และอีกส่วนหนึ่งที่ย้ายถิ่นฐานจากที่อื่นเมื่อประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา ชุมชนมีความเป็นอยู่แบบเครือญาติ มีการแบ่งปัน พึ่งพาอาศัยกัน คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทําสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน และสวนผลไม้แบบสวนสมรม คือ ปลูกพันธุ์ไม้หลากหลายชนิดผสมผสานกันไป

สภาพพื้นที่ของหมู่บ้านถูกรายล้อมด้วยป่าเขาหินปูนที่อุดมสมบูรณ์เขาแก้วและเขาฮะ เมื่อขึ้นไปยืนบนยอดเขาดังกล่าวจะสามารถมองเห็นทัศนียภาพที่งดงามของหมู่บ้านเขาเทพพิทักษ์ทั้งพื้นที่สวนผลไม้สลับกับสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมันและบ้านริมน้ำ บริเวณลำน้ำคลองแสง ซึ่งเป็นลำน้ำที่ไหลผ่านพื้นที่หมู่บ้าน อีกทั้งยังเป็นเส้นทางคมนาคมออกสู่คลองพุมดวง และแม่น้ำตาปีเพื่อเข้าสู่ตัวเมืองสุราษฎร์ธานี

สภาพภูมิอากาศมีลักษณะแบบร้อนชื้น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ระหว่างช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม และฤดูฝนในช่งเดือนมิถุนายนไปจนถึงเดือนตุลาคม

สถานที่สำคัญ

สะพานแขวนเขาเทพพิทักษ์ หรือสะพานแขวนเขาพัง แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงประจำชุมชนเขาเทพพิทักษ์ แรกสร้างมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการสัญจรข้ามคลองพระแสง ช่วยในการอำนวยความสะดวกแก่ชาวบ้านทั้งสองฝั่งคลองในการขนพืชผลทางการเกษตร แต่เนื่องจากทัศนียภาพที่งดงามของธรรมชาติโดยรอบ โดยเฉพาะภูเขารูปหัวใจที่ตั้งตระหง่านอยู่ด้านหลังสะพาน เป็นสิ่งดึงดูดให้สะพานแขวนแห่งนี้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

อนึ่ง สะพานแขวนเขาเทพพิทักษ์เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรมของคนในชุมชนบ้านเขาเทพพิทักษ์ โดยจะมีการจัดงานประเพณีต่าง ๆ เป็นประจำทุกปี ซึ่งมีการนำมาบูรณาการให้เข้ากับลักษณะการเป็นชุมชนท่องเที่ยว เช่น เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมและรับประทานผลไม้ได้ไม่อั้นในราคาอิ่มละ 100 บาท โดยผลไม้ที่นำมาต้อนรับนักท่องเที่ยว คือ ทุเรียนคลองแสง ผลไม้ขึ้นชื่อของชุมชนบ้านเขาเทพพิทักษ์ ซึ่งเป็นทุเรียนสายพันธุ์พื้นบ้านอายุนับร้อยปี นอกจากนี้ยังมีเงาะ ลองกอง มะพร้าว พร้อมของฝาก เช่น ทุเรียนกวน และพืชผักหลายชนิด ที่ล้วนแล้วแต่เป็นผลผลิตทางการเกษตรของคนในชุมชน

ชุมชนบ้านเขาเทพพิทักษ์ หมู่ที่ 1 ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีประชากรจำนวน 528 คน แยกเป็นชาย จำนวน 277 คน ประชากรหญิง 251 คน 142 หลังคาเรือน 

ในอดีตคนในชุมชนบ้านเขาเทพพิทักษ์ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ สวนผลไม้ สวนหมาก ข้าวไร่ เลี้ยงสัตว์ หาของป่า ปัจจุบันชาวบ้านก็ยังคงประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักอยู่เช่นเดิม แต่เปลี่ยนจากสวนหมากนาข้าว เป็นพื้นที่สวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมันและมีการทำสวนสมรม คือ ภูมิปัญญาการทำสวนจำลองที่ได้รับสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ผลไม้ที่ทำคัญ ได้แก่ เงาะ มังคุด กระท้อน และทุเรียนพันธุ์คลองแสง ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงของชุมชนเขาเทพพิทักษ์ เนื่องจากมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ กลิ่นหอม รสชาติหวานมัน เนื้อสีทองสวยน่ารับประทาน

นอกจากนี้ชุมชนบ้านเขาเทพพิทักษ์ยังมีกิจกรรมวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สามารถสร้างรายได้และสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนให้แก่ชาวบ้านเป็นจำนวนมหาศาล อีกทั้งยังเป็นการสร้างอาชีพเสริม ที่ปัจจุบันแทบตะกลายเป็นรายได้หลักของคนในชุมชน มีการนำอาหารพื้นเมือง สินค้าท้องถิ่น ที่จัดทำไว้สำหรับต้อนรับกลุ่มนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะ รวมถึงสวนผลไม้ของชาวบ้านที่มีกิจกรรมเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปท่องเที่ยวและรับประทานผลไม้ในสวนได้ไม่อั้น ในราคาอิ่มละ 100 บาท

ปฏิทินการทำสวนผลไม้

ทุเรียนคลองแสง

  • เริ่มออกดอก กลางเดือนมกราคม
  • ดอกเริ่มบาน เดือนมีนาคม
  • เป็นลูกรูปก้านไม้ขีด เดือนเมษายน
  • เริ่มติดเป็นลูก เดือนพฤษภาคม
  • ผลทุเรียนเจริญเติบโตเต็มที่ ตั้งแต่เดือนสิงหาคมไปจนถึงเดือนตุลาคม

ลองกอง

  • เริ่มออกดอก เดือนพฤษภาคม
  • เริ่มติดลูก เดือนมิถุนายน
  • ลูกโตเต็มที่พร้อมเก็บเกี่ยว ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม

มังคุด

  • เริ่มออกดอก เดือนพฤษภาคม
  • เริ่มติดลูก เดือนกรกฎาคม
  • ลูกมังคุดเจริญเติบโตเต็มที่ ตั้งแต่เดือนสิงหาคมไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน

ในอดีตชุมชนบ้านเขาเทพพิทักษ์มีประเพณีการก่อกองทรายข้าวเปลือก แข่งเรือยาว การแสดงลิเกป่า หนังตะลุง แต่ด้วยสภาพการดํารงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปทําให้ประเพณี การละเล่น และการแสดงดั้งเดิมของชุมชนได้สูญหายและนับวันจะถูกลบเลือนไปเรื่อย ๆ

ประเพณีท้องถิ่นของชุมชนที่ยังคงหลงเหลืออยู่ปัจจุบัน คือ การเล่นสะบ้า ยิงสะบ้าคลานช้าง และเพลงบอก ซึ่งจะพบในช่วงเทศกาลจบปีจบเดือน (เดือนสิบ) และการละเล่นอื่น ๆ เช่น ตะกร้อหวาย เล่นโบ้ย เดินท่องโย่ หมากเก็บ หมากขุม หมากรุก เป็นต้น ในด้านการแสดงยังพบว่ามีการแสดงมโนราห์ การออกหน้าพราน ในหมู่บ้านยังมีคณะมโนราห์ ชื่อว่า “จินดาศิลป์” ที่มีการสืบทอดมาแต่โบราณ และยังคงมีการแสดงต่อเนื่องทุกปี

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ชุมชนบ้านเขาเทพพิทักษ์มีทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอันเนื่องมาจากลักษณะที่ตั้งของหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ท่ามกลางภูเขาสูงที่อุดมสมบูรณ์ อีกทั้งยังอยู่ติดกับแหล่งน้ำที่สำคัญ คือ คลองแสง และเขื่อนรัชชประภา รวมถึงภายหลังมีการก่อสร้างสะพานแขวนเขาเทพพิทักษ์สำหรับใช้เป็นเส้นทางสัญจรของหมู่บ้านสองฝั่งคลองแสง ซึ่งปัจจัยดังที่กล่าวมาข้างต้น เป็นต้นทุนสำคัญในการต่อยอดการพัฒนาชุมชน โดยบูรณาการร่วมกับวัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตของชาวบ้าน เพื่อจัดกิจกรรมต้อนรับนักท่องเที่ยว ส่งเสริมให้บ้านเขาเทพพิทักษ์กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศอนุรักษ์ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุราษฎร์ธานี อีกทั้งรายได้จากธุรกิจภาคการท่องเที่ยวยังเป็นอาชีพเสริมที่สร้างรายได้หลักให้กับชาวบ้านชุมชนเขาเทพพิทักษ์ได้เป็นกอบกำ 

ภาษาพูด : ภาษาไทยถิ่นใต้ และภาษาไทยกลาง

ภาษาเขียน : ภาษาไทย 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ฤทธิรงค์ ฤทธิกุล และคณะ. (2557). การจัดการท่องที่ยวโดยชุมชนบ้านเขาพัง หมู่ที่ 1 ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สำนักงานกองทันสนับสนุนการวิจัย.

สุภัตรา ไชยนาเคนทร์. (2559). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสะพานแขวนเขาเทพพิทักษ์อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยมลัยลักษณ์.