มะเร็งลำไส้ รู้ก่อน รักษาได้

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ปัจจุบันเป็นสาเหตุการเสียชีวิตลำดับที่ 3 ของคนไทย เพราะฉะนั้นหากคุณมีอาการอุจจาระเป็นมูกเลือด เบื่ออาหาร ท้องเสียสลับท้องผูก คุณเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่

สาเหตุของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่แท้จริง อาจจะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ส่วนใหญ่ 80-90% ไม่รู้สาเหตุ มีส่วนน้อยไม่ถึง 10% ที่พบว่าเป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม อาทิ กลุ่มเสี่ยง ได้แก่

  1. มีประวัติคนในครอบครัว โดยเฉพาะพ่อ แม่ พี่น้อง หรือลูก เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
  2. มีภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง
  3. ลำไส้ใหญ่มีความผิดปกติ

มะเร็งลำไส้ใหญ่มีกี่ระยะ

มะเร็งลำไส้ใหญ่ จะมีอยู่ด้วยกัน 4 ระยะ เหมือนมะเร็งชนิดอื่น ๆ

มะเร็งลำไส้ใหญ่ ระยะที่ 1  ก้อนมะเร็งยังอยู่เฉพาะที่ อยู่ในผนังของลำไส้ ยังไม่กระจายหรือลุกลามไปที่อื่น

มะเร็งลำไส้ใหญ่ ระยะที่ 2 ก็ยังอยู่ที่ผนังลำไส้ แต่เริ่มลุกลามไปที่กล้ามเนื้อชั้นลึก

มะเร็งลำไส้ใหญ่ ระยะที่ 3 มะเร็งเริ่มกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง

มะเร็งลำไส้ใหญ่ ระยะที่ 4 มะเร็งเริ่มกระจายและลุกลามไปยังอวัยวะต่าง ๆ เช่น ไปตับ ไปปอด

จากสถิติที่ที่ตรวจพบมักพบว่า 30% จะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 4 อีก 30% เป็นระยะที่ 3 อีก 30% เป็นระยะที่ 2 และตรวจพบเจอในระยะที่ 1 แค่ 10% เพราะฉะนั้นอย่ารอให้มีอาการแล้วค่อยมาพบแพทย์ เพราะถ้ามีอาการแสดงว่า ก้อนนั้นมีขนาดใหญ่พอสมควร หรือมีแผลลึกพอสมควร เพราะฉะนั้นแนะนำให้มาตรวจตั้งแต่ยังไม่มีอาการ หรือการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ใครบ้างควรตรวจ

  • ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่เคยเป็นลำไส้อักเสบเรื้อรัง
  • มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ผู้ที่ดื่มสุรา หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ทำได้ 2 วิธี

วิธีที่ 1 การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) เป็นการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ โดยที่แพทย์สามารถตัดติ่งเนื้อที่ผิดปกติออกมาได้ทันที โดยไม่ต้องผ่าตัดเพิ่ม

วิธีที่ 2 การตรวจเลือดในอุจจาระ เป็นการตรวจเลือดปริมาณเล็กน้อย ที่ออกมากับอุจจาระ

การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้อง คุณหมอตรวจจำพบชิ้นเนื้อ จะมีขั้นตอนในการดำเนินการต่อไปอย่างไร คุณหมอ (นพ.จตุชัย เมธาบดี) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรม รพ.วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย ให้ช้อมูลไว้แบบนี้ค่ะ

หากในระหว่างส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ตรวจพบชิ้นเนื้อ คุณหมอสามารถตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจได้ทันที โดยมีวิธีการดำเนินการอยู่ 2 วิธี

กรณีที่ 1 กรณีที่ชิ้นเนื้อเป็นก้อน อาจจะใช้การตัดชิ้นเนื้อบางส่วนเพื่อส่งตรวจ

กรณีที่. 2 กรณีที่ชิ้นเนื้อที่พบเป็นติ่งเนื้อ ยื่นออกมา ก็จะใช้การตัดแบบคล้อง โดยสามารถตัดออกมาได้ทั้งหมดเลย

 

หากจากการตรวจชิ้นเนื้อ แล้วพบว่าเป็นมะเร็ง มีวิธีการรักษาอย่างไร

หลังที่ตัดชิ้นเนื้อส่งจรวจผลที่กลับมา จะมี 2 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 คือ ผลชิ้นเนื้อไม่เป็นมะเร็ง ก็ถิอว่าสิ้นสุด ไม่ต้องมีการรักษาใดๆ
กลุ่มที่ 2 คือ ผลชิ้นเนื้อเป็นมะเร็ง ขึ้นอยู่กับว่าชิ้นเนื้อที่เราตัดไปเป็นแบบไหน ถ้าชิ้นเนื้อที่เราตัดไปเป็นติ่ง แล้วเราสามารถตัดชิ้นเนื้อออกไปทั้งติ่งได้หมด ขั้นตอนของการผ่าตัดก็ถือว่าสิ้นสุดแล้ว แต่ถ้าหากเราตัดมาได้บางส่วน ขั้นตอนต่อไปก็คือ การผ่าตัดตามขั้นตอนของการผ่าตัดมะเร็ง ซึ่งจะต้องให้เคมีบำบัดหรือฉายแสงต่อ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่พบมะเร็ง

มะเร็งลำไส้ใหญ่ รักษาหายไหม

มะเร็งลำไส้ใหญ่ มีโอกาสการรักษาอละพยากรณ์โรคดีกว่ามะเร็งตับ และมะเร็งปอด โดยเฉพาะ ถ้าหากเราพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะที่ 1 ที่ 2 เป้าหมายในการรักษา คือการหายขาด กรณีที่เป็นเป็นระยะที่ 3 หรือ ระยะที่ 4 โอกาสหายขาดก็จะน้อยลงไป

มะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ได้ไหม

กรณีที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ระยะที่ 4 จะบ่งบอกว่ามีการกระจายไปนอกลำไส้ ไปยังตับ หรือไปยังปอด หากเป็นมะเร็งบริเวณลำไส้ตรง ดดยส่วนใหญ่แล้วมักจะต้องมีการฉายแสงร่วมด้วย

การตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้วยการส่องกล้อง ใช้เวลาพักฟื้นมากน้อยแค่ไหน

ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ภายในเวลา 2-3 ชั่วโมง หลังจากที่ได้สังเกตอาการและมีสัญญาณชีพปกติ

 

ติดต่อ รพ.วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย โทร. 02-441-7899 หรือ 1792
หรือติดต่อได้ผ่านช่องทาง Line
หรือสามารถตรวจเช็ค ตารางแพทย์ออกตรวจ เพื่อขอเข้ารับคำปรึกษาได้เลยค่ะ