โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

"งูพริกท้องแดง" Calliophis bivirgatus งูพิษ ที่พบได้ยาก และการกลับมาอีกครั้ง หลังหายไปนานกว่า 10 ปี

สวพ.FM91

อัพเดต 04 ก.ค. 2564 เวลา 17.54 น. • เผยแพร่ 04 ก.ค. 2564 เวลา 17.54 น.

รู้จัก "งูพริกท้องแดง" Calliophis bivirgatus งูพิษ ที่พบได้ยาก และการกลับมาอีกครั้ง หลังหายไปนานกว่า 10 ปี ที่ อช.เขาน้ำค้าง
จากกรณีนายพริษฐ์ นราสฤษฏ์กุล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง เปิดเผยเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของธรรมชาติในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง ซึ่งเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนเชิงคุณภาพออกปฏิบัติหน้าที่และพบร่องรอยสัตว์ป่า รวมถึงสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่งซึ่งจากข้อมูลไม่พบมานานกว่า 10 ปีแล้ว นั่นก็คือ "งูพริกท้องแดง" วันนี้เรานำข้อมูลของงูชนิดนี้จากฐานข้อมูลของสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่ามาให้ทุกท่านได้รู้จักกันมากขึ้น ดังนี้
งูพริกท้องแดง Blue Long-glanded Coral Snake Calliophisbivirgatusflaviceps (Cantor, 1839) มีลักษณะทั่วไป เป็นงูที่มีความยาวจากหัวถึงปลายหางยาวประมาณ 1.85 เมตรลำตัวด้านบนสีน้ำเงินเข้ม หรือสีด้าน้ำเงิน ส่วนหัว หาง ท้อง และด้านข้างลำตัวสีแดงเข้ม ในชนิดย่อยอาจจำแนกบนพื้นฐานของสีและรูปแบบที่แตกต่างออกไป ชนิดย่อย bivirgatus มีเส้นกลางหลังสีขาวแคบ ชนิดย่อย flaviceps มีเส้นกลางหลังสีฟ้าจาง ชนิดย่อย tetrataenia มีเส้นด้านข้าง 4 เส้น ซึ่งเส้นนอกสุดจะแถบกว้างที่สุด เป็นงูที่ลำตัวเพรียว หัวสั้นแยกออกจากคอไม่ชัดเจน ตาเล็กมีลูกตาดำกลม หางสั้น ปลายหางแหลม ด้านหลังเรียบ
จากรายงายพบการแพร่กระจายในประเทศไทยกัมพูชามาเลเซียสิงคโปร์ และอินโดนีเซีย C.b.flaviceps พบในประเทศพม่า ไทยมาเลเซียสิงคโปร์และอินโดนีเซีย การแพร่กระจายในไทยตรัง (เขาบรรทัด, เขาช่อง); สงขลา (โตนงาช้าง); นราธิวาส (แว้ง) สถานที่พบครั้งแรกเกาะชวาประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งงูชนิดนี้เป็นงูที่มีพิษอันตราย แต่พบเห็นได้ไม่บ่อยนัก เมื่อถูกศัตรูคุกคามจะม้วนส่วนหางชูขึ้นให้เห็นส่วนใต้หางที่มีสีแดงเป็นการข่มขู่ศัตรูให้กลัว
ที่มา : ประชาสัมพันธ์กรมอุทยานแห่งชาติฯ , อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0