พระมหาเจดีย์ชเวดากอง ย่างกุ้ง

พระมหาเจดีย์ชเวดากอง ย่างกุ้ง

เจดีย์ชเวดากอง ตั้งอยู่บริเวณเนินเขาสิงคุตระ เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า โดยคำว่า "ชเว" หมายถึง ทอง, "ดากอง" แผลงเป็นภาษามอญเรียกชื่อว่า ตะเกิง คือชื่อดั้งเดิมของเมืองย่างกุ้ง เชื่อกันว่าเป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระโคตมพุทธเจ้าจำนวน 8 เส้น ยอดสุดขององค์เจดีย์บริเวณลูกแก้วหรือหยาดน้ำค้างประดับด้วยเครื่องประดับต่าง ๆ และเพชร 5,448 เม็ด ชั้นบนสุดมีทับทิม 2,317 เม็ดและเพชรเม็ดใหญ่ 76 กะรัต เพื่อรับลำแสงแรกและลำแสงสุดท้ายของดวงอาทิตย์[2] ผู้ที่เข้ามานมัสการหรือเยี่ยมชมจะต้องถอดรองเท้าทุกครั้ง

ตำนานประวัติพระธาตุชเวดากอง (อย่างละเอียด)
ในปีที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นมีพ่อค้าชาวพม่าสองพี่น้อง คนพี่ชื่อตปุสสะ และคนน้องชื่อ ภัลลิกะ(ปฐมอุบาสก) กำลังเดินทางกลับจากอินเดียพบพระพุทธเจ้าใกล้ๆกับต้นโพธิ์ ที่ตรัสรู้บังเกิดความเลื่อมใส จึงนำขนมพิเศษซึ่งเตรียมเป็นเสบียงกรังของตนไปถวายพระพุทธเจ้า
เมื่อ พระพุทธเจ้าฉันเสร็จแล้ว จึงเอาพระหัตถ์ลูบพระเศียร พระเกศาติดพระหัตถ์ออกมา ๘ เส้น จึงมอบให้ตปุสสะและภัลลิกะ

เมื่อทั้งสองพี่น้องกลับสู่พม่าจึงได้นำพระเกศาธาตุ ไปถวายพระเจ้าแผ่นดินแห่งเมืองโอกกะละ (คือย่างกุ้งในปัจจุบัน) โดยกราบทูลว่า " ข้าฯแต่พระเจ้าแผ่นดินผู้ยิ่งใหญ่ พระพุทธองค์ได้ตรัสสั่งว่าให้ประดิษฐานพระเกศาธาตุของพระองค์ ร่วมกับพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์ก่อนโน้น ในสถานที่แห่งเดียวกันด้วยพระเจ้าข้า ณ เจดีย์ ที่ภูเขาสิงฆุตตระ"

พระเจดีย์ชเวดากองได้เริ่มสร้างมาเป็นครั้งแรกตั้งแต่สมัยที่พระพุทธเจ้าทรง ตรัสรู้ หรือเมื่อประมาณ 2,595 ปีมาแล้ว ในสมัยที่ย่างกุ้งยังเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ที่ชื่อว่าเมืองอสิตันชนะหรืออีกชื่อหนึ่งคือเมืองโอกกะละ โดยได้มีพ่อค้าชาวมอญ 2 คนชื่อว่าตผุสสะและภัลลิกะได้เดินทางไปค้าขายยังประเทศอินเดีย ทั้งสองได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งกำลังประทับอยู่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ และได้ถวายภัตตาหารแด่พระองค์ด้วย หลังจากเสวยเสร็จแล้ว พระพุทธเจ้าได้ประทานพระเกศาให้ 8 เส้น เมื่อตผุสสะและภัลลิกะเดินทางกลับ พระราชาแห่งอเชตตะได้ขอแบ่งพระเกศธาตุไป 2 เส้น พญานาคขอไปอีก 2 เส้น เมื่อเดินทางกลับถึงเมืองอสิตันชนะ พระเจ้าโอกกะละปะก็ได้ทรงประกอบพิธีต้อนรับพระเกศธาตุอย่างยิ่งใหญ่ และได้ทรง คัดเลือกสถานที่บนเขาสิงฆุตตระนอกประตูเมืองอสิตันชนะให้เป็นที่สร้างพระ เจดีย์เพื่อบรรจุพระเกศธาตุ แต่ขณะที่กำลังทำการขุดดินก่อสร้างนั้น ก็ได้ค้นพบ พระบริโภคเจดีย์ของอดีตพระพุทธเจ้าองค์อื่น ๆอีก 3 พระองค์ด้วย คือไม้ธารพระกร ภาชนะสำหรับใส่น้ำ และสบง จึงได้บรรจุของทั้งหมดนี้ในพระเจดีย์พร้อมกับพระเกศธาตุด้วย แต่ก่อนที่จะบรรจุ ก็ค้นพบด้วยว่า พระเกศธาตุกลับมี 8 เส้นดังเดิม พระเกศธาตุได้บรรจุไว้ภายในเจดีย์ทอง เงิน ดีบุก ทองแดง ตะกั่ว หินอ่อน และเหล็กตามลำดับ เสร็จแล้วจึงสร้างเจดีย์อิฐสูงประมาณ 66 ฟุตครอบไว้ภายนอก

เจดีย์ชเวดากอง

พระเจ้าโอกกลาปะ ก็ส่งทหารออกค้นหากลางป่าดงพงไพรนานเป็นปีก็ไม่พบ จึงร้อนถึงท้าวสักกะ (หรือที่เราเรียกว่า "ท้าวสหัสนัยน์ไตรตรึงษา") ต้องเสด็จลงมาเลือกช่วยเลือกสถานที่ให้ ในการนี้ท้าวสักกะได้ตรัสสั่งเทวดา ๔ องค์ คือ สุเล อมะยิสะ ยอฮานีและทักษิน ให้ช่วยเหลือด้วย ดังนั้นด้วยอำนาจแห่งเทวฤทธิ์ของเทวดาเหล่านั้น จึงนำเอาพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าในอดีตอีก ๓ พระองค์ คือ พระกกุสันธพุทธะ พระโกนาคมพุทธะ และพระกัสสปพุทธะ พร้อมทั้งไม้เท้า(ของพระกกุสันธะพุทธะ) กระบอกกรองน้ำ(ของพระโกนาคมพุทธะ)และผ้าอาบน้ำ(ของพระกัสสปพุทธะ) มาสมทบบรรจุเข้าในพระเจดีย์ที่จะสร้างใหม่นี้ด้วย

ในอนาคตกาล พระพุทธเจ้าองค์สุดท้ายแห่งภัทรกัปนี้ คือพระศรีอริยเมตไตรย" ในอนาคตเบื้องหน้า จะทรงประทาน " สร้อยพระศกและพระมหามงกุฏ" เป็นพระบรมธาตุประดิษฐาน ณ พระมหาเจดีย์ชเวดากอง

เจดีย์ทองคำแห่งนี้ เป็นสัญลักษณ์ที่จะบอกกับเราว่า "ดินแดนนี้ คือ พม่า ซึ่งไม่มีทางเหมือนกับผืนแผ่นดินใดที่ข้าพเจ้าได้เคยรู้จักมาก่อนหน้า" ซึ่งคำพูดประโยคนี้ได้ถูดกบันทึกเอาไว้ในเรื่องราว "จดหมายจากตะวันออก" ที่ "รุดยาร์ด คิพลลิง" ได้เขียนขึ้นมาเมื่อ ปี ค.ศ. ๑๘๘๙

กว่าร้อยปี มาแล้วที่คิพลิงได้เดินทางล่องเรือไปตามลำน้ำในเมืองย่างกุ้งซึ่งเป็นเมือง หลวงของพม่า ในขณะที่สถูปทองคำเหลืองอร่ามของเจดีย์ชเวดากองส่องแสงแวววาวเด่นสง่าอยู่ เหนือทิวทิศน์ทั่วไปของเมืองใหญ่แห่งนี้ไม่เพียงแต่จะมีความงดงามโดด เด่น ทางด้านสถาปัตยกรรมที่สะดุดตาเท่านั้น หากแต่ "ชเวดากอง" ยังถือว่าเป็นสัญลักษณ์เพียง หนึ่งเดียวของพม่า ซึ่งแม้ว่าจะถูกสร้างขึ้นมาด้วยฝีมือชาวมอญก็ตามที

สาเหตุซึ่งทำให้พระ เจดีย์ทองที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้กลายเป็นจุดเด่นสะดุดตาของนักท่องเที่ยวทั่วไป ที่สามารถมองเห็นได้ไม่ว่าจะมองจากทิศใด ก็เนื่องจากว่า ตั้งอยู่บนเนินเขาเชียงกุตตระ ทางทิศเหนือของใจกลาง เมืองย่างกุ้ง

ในตำนานของเดีย์ชเวดากองนั้น มีเรื่องราวมากมายหลากหลายที่ได้เล่ากันต่อ ๆ มา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับอภินิหาร หรือแม้กระทั่งการสร้างเจดีย์แห่งนี้ขึ้นมาของ พระนางชินสอบู ซึ่งถ้าหากใครสนใจใคร่รู้แล้วจะพบว่า ทุกเรื่องราวที่เล่ามานั้นไม่ธรรมดาเลยทีเดียว
หากจะย้อนกลับไปเมื่อ สมัยพระเจ้าโอกกลาปะ ผู้เป็นกษัตริย์แห่งดินแดนสุวรรณภูมิ ผู้ครองเมืองตะลายง์ซึ่งอยู่ใกล้ กับเชิงเขากุตตระ ว่ากันว่าในขณะนั้น เจ้าชายสิทธัตถะกุมาร ยังคงเป็นเพียงเจ้าชายที่ยังไม่ได้ออกบวช และตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

เนินเขาเชียงกุตตระ เชื่อกันว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่ประดิษฐานของเครื่องบริขาร ของอดีตพระพุทธเจ้าทั้งสามพระองค์ อันได้แก่ ธารพระกร พระธมกรก และจีวร ซึ่ง ในความเชื่อของชาวพุทธเรานั้น ได้เชื่อกันว่า ในทุก ๆ ๕๐๐๐ ปี ก็จะมีพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งอุบัติขึ้นมาองค์หนึ่ง ซึ่งในเวลานั้น อดีตพระพุทธเจ้าทั้งสามพระองค์ก็เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานล่วงไปแล้วเกือบ ๕๐๐๐ ปี ในความเชื่อของทุกคนนั้นไม่ช้า เนินเขาเชียงกุตตระ แห่งนี้ก็จะต้องสูญสิ้นความศักดิ์สิทธิ์ไป เว้นแต่พระพุทธเจ้าที่อุบัติขึ้นมาใหม่นั้นจะได้เสด็จมาปรากฏกายยังที่นี่อีกครั้ง และพระราชทานสิ่งของแทนพระองค์ไว้ให้ทุกคนได้ทำการบูชาสืบต่อไปอีก ๕๐๐๐ ปี

ในครั้งนั้นพระเจ้าโอกกลาปะจึงได้ เสด็จขึ้นไปบำเพ็ญเพียรที่บนยอดเขา โดยทรงเจริญสมาธิภาวนาด้วยหวังจะได้พระธาตุมาบูชาโดยเร็ววัน ก่อนที่ความศักดิ์สิทธิ์จะเสื่อมสลายลง ซึ่งในขณะนั้นเช่นกันที่เป็นช่วงซึ่ง เจ้าชายสิทธัตถะ ได้ออกบำเพ็ญเพียรจนใกล้จะบรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณเช่นกัน และพระองค์ได้ล่วงรู้ถึงภาวนาของพระเจ้าโอกกลาปะ จึงได้แสดงอภินิหารมาปรากฏกายต่อหน้าพระพักตร์ของพระเจ้าโอกกลาปะ และตรัสว่า พระประสงค์ของพระองค์นั้นจะสัมฤทธิ์ผลแน่นอน

กาลเวลาล่วงไป เมื่อองค์พระพุทธเจ้าได้บำเพ็ญเพียรอยู่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นเวลา ๔๙ วันนั้น ได้มี นายวานิชชาวพม่าสองคน พี่น้องเดินทางมาค้าขายจากอุกลชนบท คนหนึ่งชื่อ "ตาปุสสะ" อีกคนหนึ่งชื่อ "ภัทลิกะ" มาพบเข้าจึงเกิดความเลื่อมใส นำข้าวสัตตูไปถวายให้พระองค์เสวย องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงเสยพระเศียรได้เส้นพระเกศา ๘ เส้น พระราชทานให้กับสองพ่อค้าพี่น้องไป ระหว่างทางที่ได้เดินทางกลับพม่านั้น พระราชาแห่งนครอเจตตะ ได้ปล้นชิงเอาพระเกศาธาตุไปจากนายวานิชพี่น้องสองเส้น และขณะที่กำลังล่องเรือข้ามอ่าวเบงกอลมาก็มีพญานาคราชตนหนึ่งผุดจากทะเลขึ้น มาชิงเอาพระเกศาธาตุของพระพุทธองค์ไปอีกสองเส้น

เจดีย์ชเวดากอง

เมื่อกลับมาถึงยังฝั่ง พระนครที่เมืองพม่านั้น พระเจ้าโอกกกลาปะ ทรงจัดพิธีต้อนรับ และเฉลิมฉลองพระเกศธาตุ อย่างยิ่งใหญ่ และได้มีการคัดเลือกสถานที่ซึ่งจะนำพระเกศธาตุที่เหลืออยู่นั้นไปประดิษฐาน เอาไว้

ในตำนานนั้นกล่าวว่า เมื่อพระเจ้าโอกกลาปะ ทรงเปิดกล่องที่บรรจุพระเกศาธาตุออกมาทอดพระเนตรนัน กลับพบว่า เส้นพระเกศาขององค์พระพุทธเจ้าได้แสดงอภินิหารเสด็จคืนกลับมาอยู่ในกล่องดัง กล่าวนั้นทั้ง ๘ เส้น เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง

ขณะที่ทรงทอดพระเนตรเส้น พระเกศธาตุ ด้วยความปลาบปลื้มปิติอยู่นั้น พระเกศธาตุทั้ง ๘ เส้นก็ได้เปล่งรัศมีอันสุกใส ยังความสว่างไสวไปทั่วทั้งแผ่นดิน ในช่วงเวลานั้น คนตาบอดก็พลันได้มองเห็น คนที่พิการเป็นใบก็สามารถพูดได้ คนที่ง่อยเปลี้ยเสียขา ก็กลับกลายสามารถลุกขึ้นเดินได้

ในยามนั้นโลกาตุพลันสะเทือนไปทั่วหล้าพสธากัมปนาทอัสนีบาตฟาดเปรี้ยง เสียงเสนั่นพระพิรุณโปรยปรายลงมาพลัน และสายฝนที่หลั่งลงมานั้นกลับกลายเป็นอัญมณีที่ร่วงหล่นกระจายดารดาษ พระเจ้าโอกกลาปะ เห็นเป็นที่อัศจรรย์อย่างนั้น จึงทรงโปรดเกล้าให้อัญเชิญพระเกศธาตุทั้งหมดนี้ขึ้นไปประดิษฐานเอาไว้บนเนิน เขาเชียงอุตตระและสร้างพระเจดีย์ครอบเอาไว้ เพื่อที่ให้เป็นที่สักการะของชาวพม่าสืบชั่วลูกหลานเหลนโหลน

วันเวลาล่วงมานับจากวันที่เกิดขึ้นในตำนานที่กล่าวกันมาแล้วนั้น จนกระทั่งถึงในสมัยที่อาณาจักรพุกาม เป็นใหญ่ในประเทศนั้น เจดีย์ดังกล่าวแห่งนี้ ก็ได้รับการดูแลบูรณะสืบต่อกันมาไม่เคยขาดซึ่ง พระเจ้าอโนรธามังช่อ ก็เคยเสด็จประพาสเจดีย์ดังกล่าวนี้เมื่อสมัยที่พระองค์ทรงยังทัพลงมาเพื่อ ขยายอาณาเขตทางใต้

เจดีย์ชเวดากอง

ใน พ.ศ. ๑๙๒๕ พระเจ้าบยินยาอู หรือที่เรียกกันว่า พระยาอู่ แห่งเมืองพรโค ได้บูรณะเจดีย์ขึ้นมาใหม่ และในสมัยของพระเจ้าเบีนยาเกียน(พระเจ้าราชาธิราช) นั้นก็ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ยกองค์สถูปขึ้นไปจนสูงถึง ๙๐ เมตร แต่ในสมัยที่พระนางชินสอบู ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์นั้น พระนางได้อภิเษกกัยพระเจ้าอังวะ และเป็นผู้ฝักใฝ่ธรรมะ ศึกษาพระคัมภีร์จนเชี่ยวชาญโดยมีสองสามเณรคอยช่วยเหลือคือ "ธรรมเจดีย์" และ"ธรรมปาล"

ตามตำนานนั้นเล่าว่าเณรทั้งสองรูปนี้มีความเก่งกล้า สามารถในเรื่องเวทมนต์ ไสยศาสตร์ ถึงขนาดที่ว่าได้สามารถนำพาเอาพระนางชินสอบูเสด็จหนีออกมาจาก กรุงอังวะสู่เมืองหงสาวดี และได้มีการเสี่ยงทายหารัชทายาท จนกระทั่งได้ธรรมเจดีย์เป็นผู้ที่สืบต่อราชสมบัติ
พระนางชินสอบู พระองค์นี้ ทรงเป็นนางพญาตะละท้าว ที่ชาวมอญ ทั่วไปต่างก็ให้ความนับถือเป็นอันมาก เพราะในยุคของพระนางนี่เองที่ได้ทำการบูรณะ เจดีย์ชเวดากอง ขึ้นมาจนกลายเป็นเจดีย์ทองที่สุกปลั่งอลังการอย่างในปัจจุบันนี้ โดยโปรดให้มีการนำเอาทองคำน้ำหนักเท่าพระองค์คือ ๔๐ กิโลกรัม ปิดทับลงไปบนองค์พระเจดีย์ที่ทรงมีความศรัทธาเลื่อมใส ซึ่งในสมัยวาระ สุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพของพระนางนันกล่าวกันว่าพระนางชินสอบูทรงเสด็จไป ประทับอยู่ที่หมู่บ้านตะเกิง ทอดพระเนตรยอดเจดีย์ทองของชเวดากองจนถึงวาระสุดท้าย

รัตนะบนยอดเจดีย์ชเวดากอง

พระเจ้าธรรมเจดีย์ ขึ้นครองราชย์ในเวลาต่อมาโดยได้รับขนานนามว่า "พระเจ้ารามาธิบดีชินพะยูเยน" หรือ "ศรีบวรมหาธรรมราชาธิราช" ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งแผ่นดินมอญที่มีพระปรีชาสามารถยิ่งนัก เนื่องจากทรงทำนุบำรุงประเทศจนรุ่งเรือง และทรงสร้างสัมพันธไมตรกับประเทศเพื่อนบ้านจนแผ่นดินมอญอยู่ในความร่มเย็น เป็นสุขตลอดมา แต่ทว่าเมื่อถึงคราวมี่ "บินยายัน" โอรสของพระองค์ ขึ้นครองราชย์สืบต่อนั้น เหตุการณ์กลับเปลี่ยนไป เมื่อได้นำความขัดแย้งกับเมืองตองอูจนเข้าสู่สงคราม และทำให้พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ยกทัพเสด็จมาย่ำยีจนกระทั่ง มอญหมดสิ้นอำนาจในที่สุด

ย้อนกล่าวไปถึงเรื่องราวเมื่อสมัยพระเจ้า ธรรมเจดีย์ขึ้นครองราชย์นั้น พระองค์ทรงสร้างระฆังใบหนึ่งซึ่งหนักราว ๓๐ ตัน เพื่อนำไปประดิษฐานเอาไว้ที่เจดีย์ชเวดากองหากแต่ในเวลาต่อมา ได้ถูกทหารรับจ้างชาวโปรตุเกสแย่งชิงเอาไปเพื่อที่จะนำระฆังใบใหญ่นี้ไปหลอม เป็นปืน แต่ทว่าขณะที่นำระฆังล่องเรือข้ามแม่น้ำบากานนั้น เรือเกิดล่ม ระฆังจมลงสู่ก้อนแม่น้ำจนทำให้ไม่มีใครกู้ได้ หลังจากนั้นอีกสองร้อยกว่าปีต่อมา เจ้าราชบุตรสิงคุ ทรงโปรดเกล้าให้สร้างระฆังสัมฤทิธิ์หนัก ๒๓ ตัน ชื่อว่า "ระฆังมหาคันธ" นำไปประดิษฐานเอาไว้ที่องค์พระเจดีย์สืบมาจนกระทั่งสมัยที่อังกฤษได้ขยาย อิทธิพลเข้ามาในถิ่นนี้และพยายามที่จะขนย้ายระฆังไปเก็บเอาไว้ที่เมืองกัล กัตตา หากแต่ว่าเกิดอุบัติเหตุเรือล่มจมลงกลางแม่น้ำ ทำให้ระฆังดังกล่าวนั้นจมลงไปและไม่มีใครกู้ได้เช่นกัน

ในระหว่างนั้น ทหารอังกฤษพยายามที่จะกู้ระฆังใบนี้ขึ้นมาตลอดเวลา แต่ทว่าไม่สามรถที่จะทำได้ ดังนั้นจึงทำให้ชาวพม่าที่เชื่อกันว่า สาเหตุที่ทำให้เรือล่มและระฆังจมลงไปยังก้นแม่น้ำนันเนื่องเพราะว่า อาถรรพณ์จากการที่มีคนพยายามลบหลู่องค์พระเจดีย์ ด้วยความศรัทธาที่แก่กล้านี้ พวกเขาจึงได้เสนอว่าจะทำการกู้ระฆังขึ้นมา พวกเขาจึงได้เสนอว่าจะทำการกู้ระฆังขึ้นมา หากแต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องนำระฆังกลับไปประดิษฐานเอาไว้ ณ ที่เดิม อังกฤษตกลง เพราะคิดว่าชาวพม่าคงไม่มีที่จะกู้ระฆังได้แน่ แต่กลับผิดคาด เมื่อปรากฏว่าชาวพม่าสามารถกู้ระฆังขึ้นมาโดยใช้วิธีดำน้ำลงไปแล้วผูกแพไม้ ไผ่จำนวนมากรองเอาไว้ใต้ระฆัง จนกระทั่งสามารถหนุนระฆังที่นหักอึ้งถึง ๒๓ ตัน อันนั้นให้ลอยขึ้นสู่พื้นน้ำได้

เจดีย์ชเวดากอง

thepudomdham brand logo white blue text
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า Trustmarkthai
© 2024 บริษัท เทพอุดมธรรม ทราเวล แอนด์ ฮอลิเดย์
TAT LICENSE